วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
คำถามแรก
จิตกับวิญญาณขันธ์ เป็นคนละตัวกัน คุณเอามาจากไหนครับ


เอาวิญญาขันธ์ก่อน......................
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

http://www.84000.org/tipitaka/read/?17/95/58

คุณคงเห็นแล้วน่ะครับตรงที่ผมมาร์คตัวใหญ๋ไว้ ความหมายก็คือ......
วิญญานขันธ์มีเหตุปัจจัยมาจากวิญญาน

ที่นี่มาดูว่าวิญญานคืออะไร.....

[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 302&Z=1378

ผมเอามาให้ดูแค่นี้ก่อน คุณพิจารณาดูซิว่า วิญญานขันธ์มันเป็นอะไร
มันมีเหตุปัจจัยมาจากไหน มันก็เกิดมาจากวิญญานที่ดับไป

แล้วดูซิว่าวิญญานมาจากไหน วิญญานก็คือวิญญาน๖
และวิญญาน๖คืออะไร.....ก็คือ จักขุวิญญาน โสตวิญญาน ฆานวิญญาน ชิวหาวิญญาน
กายวิญญาน

ดูซิว่า มันเป็นจิตอย่างคุณว่ามั้ย ไอ้วิญญานขันธ์

ยังมีอีกน่ะ ถ้าอยากรู้ว่าวิญญาน๖มาจากไหน
ที่อ้างมาเป็นสภาวะที่เกิดดับเป็นเหตุปัจจัยแก่กันน่ะ ไม่ได้เกิดพร้อมกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
เรื่องอรรถกถา ที่ผมยกมาเป็นอรรถกถาแปลไทย
จากพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลไทยชุดมหามงกุฏ 91 เล่ม

ย้ำอีกทีว่าไม่ได้เอามาจากอภิธัมมัตถสังคหะ
บนหน้ากระดาษก็มีแสดงให้เห็น ยังหาเรื่องแถออกไปโน่นอีก


คุณไม่รู้เรื่องจริงๆหรือว่า ไอ้จิต เจตสิก รูปที่คุณอ้างถึง มันเป็นพระอภิธรรมมัตถฯ
แล้วที่คุณบอกว่าวิญญานเป็นจิต มันก็เป็นเรื่องในอภิธรรมมัตถ์ฯ

ในพระธรรมวินัยแท้ๆ จิตก็คือจิต เป็นส่วนหนึ่งในนามรูป
สังขารก็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน

ในพระธรรมวินัย วิญญานเป็นสังขาร(สังขตธรรม) ไม่ใช่จิต

ไอ้เรื่องอรรถกถาน่ะ ที่คุณเอามาตอนหลังใช่เป็นอรรถกถาแปล
แต่ที่คุณเอามาอ้างเอามาแย้งผมตอนแรกไม่ใช่ มันเป็นเพียงความเห็นของใครก็ไม่รู้

นี่ครับที่คุณเอามาอ้างตอนแรก แล้วบอกเป็นอรรถกถา
cantona_z เขียน:
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ

ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ




ดูซิว่ามันเป็นอรรถกถาแปลตามที่คุณแถตอนท้ายหรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ้า จะยอมเสียเวลาถกต่อ

อ้างคำพูด:
เอาวิญญาขันธ์ก่อน......................
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

http://www.84000.org/tipitaka/read/?17/95/58


ที่ยกมาน่ะเข้าใจความหมายไหม ศึกษารึยัง? วิญญาณอดีตคืออะไร วิญญาณปัจจุบันคืออะไร
วิญญาณอนาคตคืออะไร วิญญาณภายในภายนอก คืออะไร...


ก่อนที่จะบอกว่าคนละอย่างกับวิญญาณ6น่ะ รู้หรือยัง? ศึกษาหรือยัง?
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... =309&Z=392
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์
เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
*วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต

วิญญาณอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง
ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง
ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต
วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด
ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม
แล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโน-
*วิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน

[๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ
บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน

วิญญาณภายนอก เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ-
*วิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก


ศึกษาให้จบก่อนค่อยโม้

อ้างคำพูด:
ที่นี่มาดูว่าวิญญานคืออะไร.....

[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 302&Z=1378



เห็นไหมว่ามันคือตัวเดียวกัน จักขุโสตฆานชิวหากายมโนวิญญาณเหมือนกัน
เป็นแค่ช่วงลำดับเวลา อดีตปัจจุบันอนาคต ของตัวเอง ของคนอื่น แค่นั้นเอง

ไม่ได้ต่างกันเลยทั้งสอง
ไหนบอกคล่องพระไตร?



และที่สำคัญที่สุด
ตรงไหนประโยคไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนละอย่างกับวิญญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 19:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดูซิว่ามันเป็นอรรถกถาแปลตามที่คุณแถตอนท้ายหรือ


ก็อ่านดูตามที่ผมขีดเส้นใต้สิครับ เนื้อความมันต่างกันไหม ความหมายต่างกันไหม
มีอะไรที่เป็นการบิดเบือนไหม

กรุณาอย่าหาเรื่องออกทะเลครับ
ผมรำคาญ

วนไปวนมาอยุ่ได้
ไอ้ที่ตอบมาก็ตอบไม่ตรงคำถามซักกะที

คำถามแรกยังรอคำตอบนะครับ
ตรงไหนประโยคไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนละอย่างกับวิญญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

คำถามที่สอง
จิตเป็นอัตตา คุณเอามาจากไหนครับ


คำถามนี่ผมตอบไปแล้ว ผมบอกว่า ผมใช้หลักการพิจารณาธรรม ธัมมวิยะ
และบอกว่า จิตเป็นอัตตาเป็นจิตของปุถุชนและพระเสขะ

แล้วผมพิจารณาธรรมจากไหน นั้นก็คือ....อนัตตลักขณสูตร
ในบทที่ว่าด้วย ยถาภูติญานทัสสนะ

รบกวนคุณไปเปิดพระสูตรดูเอง พระสูตรบทนี้หาง่าย

cantona_z เขียน:
คำถามที่สาม
อ้างคำพูด:
ไอ้ที่ว่าจิตเกิดดับ ท่านให้ความหมายว่า จิตที่มีต่อผัสสะ เมื่อเกิดผัสสะแล้วจิตที่มีต่อผัสสะก็ดับ
หมายความว่าผัสะดับหรืออาการณุ้นั้นดับไป


คำพูดที่คุณกล่าวมาข้างบน เอามาจากไหนครับ


ผมก็เอามาจากคุณนั้นแหล่ะ คุณแสดงควาเห็นคลาดเคลื่อน
คุณบอกว่าจิตเกิดดับ เป็นเพราะคุณไปยึดตำราพระอภิธรรมมัตถฯ
ในตำรานั้นบัญญัติให้วิญญานเป็นจิต เมื่อวิญญานเป็นจิตตามตำรานั้น
วิญญานมันเกิดดับ จิตก็เลยเกิดดับ

เมื่อเป็นแบบนี้ผมไม่เห็นด้วย ก็เลยเอาวิธีการแบบในพระไตรปิฎก(พระธรรมวินัยแท้ๆ)
มาแย้งแล้วก็อธิบายตามวิถีของพระธรรมวินัยแท้ๆ
ผมมาแก้ให้ว่า ที่เข้าใจว่า ที่คุณเข้าใจว่าจิตเกิดดับ แท้จริงแล้วเป็นวิญญาน๖
เพราะวิญญาน๖เป็นอาการที่จิตรู้การกระทบที่ทวารหรือสฬารยตนะ


ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อ
สฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไร
หนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีย่อมเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อนามรูป
มีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามที่สอง
จิตเป็นอัตตา คุณเอามาจากไหนครับ
คำถามนี่ผมตอบไปแล้ว ผมบอกว่า ผมใช้หลักการพิจารณาธรรม ธัมมวิยะ
และบอกว่า จิตเป็นอัตตาเป็นจิตของปุถุชนและพระเสขะ

แล้วผมพิจารณาธรรมจากไหน นั้นก็คือ....อนัตตลักขณสูตร
ในบทที่ว่าด้วย ยถาภูติญานทัสสนะ

รบกวนคุณไปเปิดพระสูตรดูเอง พระสูตรบทนี้หาง่าย


ผมรู้จักครับ บทนี้บทโปรด ผมอ่านหลายรอบจำได้ครับ
ยถาภูตญาณทัสสนะ คือญาณที่ทำให้กำหนดรู้ตามความเป็นจริง
คือพูดง่ายๆว่าเห็นสภาพอนิจจังทุกขังอนัตตาของสภาวะธรรมที่กำลังพิจารณากำหนดรู้อยู่

อนัตตลักขณสูตร ก็ว่าด้วยรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณไม่ให้ยึดเป็นของตน
โดยพระพุทธองค์ให้พิจารณาว่าเทีย่งไหม เมื่อไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไหม เมื่อเป็นทุกข์ควรหรือจะยึดเป็นตัวตนของตน


มีตรงไหนในอนัตตลักขณสูตร แสดงว่า จิตเป็นอัตตา ครับ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
และที่สำคัญที่สุด
ตรงไหนประโยคไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนละอย่างกับวิญญาณ


ผมตอบคุณตรงนี้ก่อน มันจะได้จบๆ และจะบอกให้คนรำคาญมันต้องเป็นผมไม่ใช่คุณ

ปัญหามันไม่ใช่ว่า ตรงไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนอย่างกับวิญญาน
แต่ในพระธรรมวินัยแท้ๆ ที่ท่านไม่กล่าวว่าว่าจิตเป็นคนล่ะอย่างกับวิญญาน
ก็เพราะถ้ามันเป็นอย่างเดียวกัน พระธรรมวินัยจะกล่าวว่าเป็นอย่างเดียวกัน


ตามที่พูดไปเป็นร้อยครั้งแล้ว สภาวะที่เป็นสังขตธรรม
มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป สภาวะหนึ่งดับ สภาวะใหม่มาแทนที่

แล้วมันจะเป็นตัวเดียวกันได้อย่างไร
อย่าอ้างสัตติอีกน่ะ สันตติมันปิดบังอนิจลักษณะ
มันไม่เกี่ยวกับการสืบต่อ


ไปนอนก่อน อยากระบายอะไรก็เชิญพรุ่งนี้จะมาตอบให้ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉบับเต็ม ว่าด้วย วิญญาณขันธ์


วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน


[๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 240&Z=1498

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
cantona_z เขียน:
คำถามที่สาม
อ้างคำพูด:
ไอ้ที่ว่าจิตเกิดดับ ท่านให้ความหมายว่า จิตที่มีต่อผัสสะ เมื่อเกิดผัสสะแล้วจิตที่มีต่อผัสสะก็ดับ
หมายความว่าผัสะดับหรืออาการณุ้นั้นดับไป

คำพูดที่คุณกล่าวมาข้างบน เอามาจากไหนครับ

ผมก็เอามาจากคุณนั้นแหล่ะ คุณแสดงควาเห็นคลาดเคลื่อน
คุณบอกว่าจิตเกิดดับ เป็นเพราะคุณไปยึดตำราพระอภิธรรมมัตถฯ
ในตำรานั้นบัญญัติให้วิญญานเป็นจิต เมื่อวิญญานเป็นจิตตามตำรานั้น
วิญญานมันเกิดดับ จิตก็เลยเกิดดับ


เมื่อเป็นแบบนี้ผมไม่เห็นด้วย ก็เลยเอาวิธีการแบบในพระไตรปิฎก(พระธรรมวินัยแท้ๆ)
มาแย้งแล้วก็อธิบายตามวิถีของพระธรรมวินัยแท้ๆ

ผมมาแก้ให้ว่า ที่เข้าใจว่า ที่คุณเข้าใจว่าจิตเกิดดับ แท้จริงแล้วเป็นวิญญาน๖
เพราะวิญญาน๖เป็นอาการที่จิตรู้การกระทบที่ทวารหรือสฬารยตนะ




ผมเอาพระอภิธัมมัตถสังคหะตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
พระสูตรที่ผมยกมาก็แสดงว่าจิตเกิดดับไม่อ่านหรือครับ
ยกมาก็หลายอัน ก็บอกหลายที่แล้วว่าที่ยกมาเป็นพระสูตรพระอภิธรรมและอรรถกถา

อย่าพาออกทะเลครับ

นี่พระสูตรไหมครับ
Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน [/color]เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
กิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน



จิตบ้างมโนบ้างวิญญาณบ้าง ตกลงเป็นสิ่งเดียวกันไหมครับ?

ดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน ใช่จิตไหมครับ?
เกิดดับไหมครับ?

แล้วคุณเอามาจากไหนครับว่าจิตไม่เกิดดับ?

คือคิดเองเออเองไม่มีที่มาที่ไป ก็ตรูอยากจะคิดแบบนี้และเพื่อให้ดูเท่ห์ตรูเลยเรียกโยนิโสไง
โยนิโสที่คุณว่า ผมว่าเรียกว่า"จิ้น"ดีกว่าครับ




อ้างคำพูด:
ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อ
สฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไร
หนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีย่อมเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อนามรูป
มีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ...


ครับ
แล้วไงต่อครับ จะสื่ออะไรครับ ว่ามาต่อให้จบสิครับ


อ้างคำพูด:
ตรงไหนประโยคไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนละอย่างกับวิญญาณ

ผมตอบคุณตรงนี้ก่อน มันจะได้จบๆ และจะบอกให้คนรำคาญมันต้องเป็นผมไม่ใช่คุณ
ปัญหามันไม่ใช่ว่า ตรงไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนอย่างกับวิญญาน
แต่ในพระธรรมวินัยแท้ๆ ที่ท่านไม่กล่าวว่าว่าจิตเป็นคนล่ะอย่างกับวิญญาน
ก็เพราะถ้ามันเป็นอย่างเดียวกัน พระธรรมวินัยจะกล่าวว่าเป็นอย่างเดียวกัน :b13:



ก็พระไตรปิฏกกล่าวไว้ว่าเป็นตัวเดียวกันไงครับ
พระสูตรที่ยกมาตั้งหลายรอบ พระอภิธรรมปิฏกอีก
ยกมากี่ทีแล้วล่ะครับ



อ้างคำพูด:
ตามที่พูดไปเป็นร้อยครั้งแล้ว สภาวะที่เป็นสังขตธรรม
มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป สภาวะหนึ่งดับ สภาวะใหม่มาแทนที่

แล้วมันจะเป็นตัวเดียวกันได้อย่างไร
อย่าอ้างสัตติอีกน่ะ สันตติมันปิดบังอนิจลักษณะ
มันไม่เกี่ยวกับการสืบต่อ

ไปนอนก่อน อยากระบายอะไรก็เชิญพรุ่งนี้จะมาตอบให้


อย่าเนียนออกทะเลด้วยภาษาครับ ผมไม่ออกทะเลด้วยครับ


เราถกกันว่า จิต กับ วิญญาณ เป็นสภาวะเดียวกันไหม
เราไม่ได้ถกว่า จิตดวงที่หนึ่งกับจิตดวงที่สองเป็นดวงเดียวกันไหม
หรือวิญญาณดวงที่หนึ่งกับวิญญาณดวงที่สองเป็นดวงเดียวกันไหม

อย่ามั่วครับ


สรุปสามคำถาม ที่ผมถามไปคุณไม่มีคำตอบอะไรให้ผมเป็นเนื้อเป็นหนังเหมือนเคยเป็นรอบที่สอง


สิ่งที่คุณแย้งผมไม่มีในพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม
หาอะไรมายืนยันไม่ได้



คุณ"จิ้น"ของคุณเองล้วนๆ



ถ้าหมดปัญญาหาอะไรมายืนยันก็บอกหมดปัญญาเถอะครับ
เสียเวลาผม


แก้ไขล่าสุดโดย cantona_z เมื่อ 05 ม.ค. 2014, 20:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณ วลัยพรครับ
จะบอกว่าผมเป็นแฟนตัวยงของ blogคุณเลยครับ
เขียนอธิบายธรรมได้ดีมากครับ
ยินดีมากที่ได้คุยกับตัวจริงครับผม
s007


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
เอ้า จะยอมเสียเวลาถกต่อ

อ้างคำพูด:
เอาวิญญาขันธ์ก่อน......................
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

http://www.84000.org/tipitaka/read/?17/95/58


ที่ยกมาน่ะเข้าใจความหมายไหม ศึกษารึยัง? วิญญาณอดีตคืออะไร วิญญาณปัจจุบันคืออะไร
วิญญาณอนาคตคืออะไร วิญญาณภายในภายนอก คืออะไร...


ก่อนที่จะบอกว่าคนละอย่างกับวิญญาณ6น่ะ รู้หรือยัง? ศึกษาหรือยัง?
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... =309&Z=392
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์
เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
*วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต

วิญญาณอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง
ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง
ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต
วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด
ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม
แล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโน-
*วิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน

[๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ
บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน

วิญญาณภายนอก เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ-
*วิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก


ศึกษาให้จบก่อนค่อยโม้

อ้างคำพูด:
ที่นี่มาดูว่าวิญญานคืออะไร.....

[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 302&Z=1378



เห็นไหมว่ามันคือตัวเดียวกัน จักขุโสตฆานชิวหากายมโนวิญญาณเหมือนกัน
เป็นแค่ช่วงลำดับเวลา อดีตปัจจุบันอนาคต ของตัวเอง ของคนอื่น แค่นั้นเอง

ไม่ได้ต่างกันเลยทั้งสอง
ไหนบอกคล่องพระไตร?



และที่สำคัญที่สุด
ตรงไหนประโยคไหนที่บอกว่าจิตเป็นคนละอย่างกับวิญญาณ





เรื่อง วิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง

กับ เรื่อง วิญญารขันธ์ ที่คุณ cantona_z นำมาตอบกลับ
เป็นคนละตัว คนละสภาวะกับวิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง


จากที่นำมาอ้างอิง ของคุณโฮฮับ
อ้างคำพูด:
เอาวิญญาขันธ์ก่อน......................
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

http://www.84000.org/tipitaka/read/?17/95/58



วิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง
เป็นวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย





วิญญาณขันธ์ ที่คุณcantona_z นำมาตอบกลับ
เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ(การทำงานของอายตนะ) เป็นเหตุปัจจัย


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... =309&Z=392
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์
เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
*วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต

วิญญาณอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง
ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง
ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต
วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด
ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม
แล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโน-
*วิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน

[๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ
บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน

วิญญาณภายนอก เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ-
*วิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก



[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 302&Z=1378

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 05 ม.ค. 2014, 20:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
ขอบคุณคุณ วลัยพรครับ
จะบอกว่าผมเป็นแฟนตัวยงของ blogคุณเลยครับ
เขียนอธิบายธรรมได้ดีมากครับ
ยินดีมากที่ได้คุยกับตัวจริงครับผม
s007




เรามีเหตุปัจจัยร่วมกันค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 21:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง
เป็นวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ที่เกิดจาก สังขาร เป็นเหตุปัจจัย


วิญญาณขันธ์ ที่คุณcantona_z นำมาตอบกลับ
เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ(การทำงานของอายตนะ) เป็นเหตุปัจจัย


วิญญาณขันธ์กับวิญญาณ6 เป็นสิ่งเดียวกันครับ

วิญญาณที่เกิดจากสังขารเป็นเหตุปัจจัยมาจากปฏิจจสมุปบาท
ต้องเข้าใจว่าสังขารตัวนี้ไม่ใช่สังขารขันธ์
แต่เป็นสังขารที่มี 2 นัยยะคือ
1ในปฏิจจสมุปบาทวงคร่อมภพคร่อมชาติ (สุตตันตภาชนียนัย)
ปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร เป็นหตุปัจจัยของปฏิสนธิวิญญาณ
(ซึ่งจัดเข้าได้เป็นมโนวิญญาณในวิญญาณ6)
คือพูดแบบสมมติสัจจ์ง่ายๆว่าทำบุญทำบาปแบบไหนตายไปก็เกิดปฏิสนธิตามความเหมาะสม
ดูเรื่องจิตดวงแรก กรณีพระกุมารกัสสปะ ในพระวินัย

2ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น
ดูเรื่องเจตนาสูตร


แม้กระนั้น วิญญาณทั้งสองนัยยะ ก็ยังสามารถอนุเคราะห์หรือจัดเข้าพวกกับวิญญาณ6 ได้อยู่ดี

แต่สิ่งที่คุณวลัยพรยกมาคือวิญญาณ6 หรือวิญญาณขันธ์ในนัยยะหรือมุมมองที่ต่างออกไปเช่น
มุมของเวลาเกิด อดีตปัจจุบันอนาคต หรือมุมวิญญาณของตนเอง ของผู้อื่น หรือมุมวิญญาณนั้นสัมปยุตด้วยธรรมแบบไหนจึงหยาบละเอียด หรือวิญญาณนั้นใกล้ไกลเมื่อเทียบกับวิญญาณที่นำมาเทียบเป็นต้น
แต่โดยรวมยังจัดอยู่ในวิญญาณ6 ครับ


และวิญญาณทั้งสองนัยยะ(ข้อ1และ2)ที่ผมยกมานั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีผัสสะเช่นกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

เรื่อง วิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง

กับ เรื่อง วิญญารขันธ์ ที่คุณ cantona_z นำมาตอบกลับ
เป็นคนละตัว คนละสภาวะกับวิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง


จากที่นำมาอ้างอิง ของคุณโฮฮับ
อ้างคำพูด:
เอาวิญญาขันธ์ก่อน......................
[๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้.
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

http://www.84000.org/tipitaka/read/?17/95/58



วิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง
เป็นวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย




ได้แก้ไขข้อความแล้ว

ข้อความเก่าที่เขียนไว้

เขียนไว้ว่า เป็นวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ที่เกิดจาก สังขาร เป็นเหตุปัจจัย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


มีใครบอก ว่า คนขับรถ กับ รถเก๋ง ... เหมือนกัน ไม่ต่างกัน

จิต เหมือน คนขับ

ขันธ์ เหมือน รถเก๋ง

การพิจารณา เมื่อเกิด กรณี รถชน

คนขับหนี ..เหลือแต่รถเก๋ง...

เวลาสืบคดี เขาตามตัวที่ ผู้ขับใช่ไหม

คนขับ ก็เหมือน จิต นั้นแหละ

จะเห็นจิต ได้ ก็ต้อง รู้ประจักษ์ ว่า จิตเป็นจิต ขันธ์เป็นขันธ์ ทุกข์เป็นทุกข์


คนทั่วๆไป จะพิจารณา แกงไก่เขียวหวาน ว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง คนทาน ยากจะรู้

เหมือนตอนที่ มีทิฏฐิ มีตัณหาผิดๆ อยู่ เสวยรับผล อยู่ไม่อาจจะสูตรลับ การปรุงขึ้นมาได้เลยฉันนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร