วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 20:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
วิญญาณขันธ์ ที่คุณโฮฮับนำมาอ้างอิง
เป็นวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ที่เกิดจาก สังขาร เป็นเหตุปัจจัย


วิญญาณขันธ์ ที่คุณcantona_z นำมาตอบกลับ
เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ(การทำงานของอายตนะ) เป็นเหตุปัจจัย


วิญญาณขันธ์กับวิญญาณ6 เป็นสิ่งเดียวกันครับ

วิญญาณที่เกิดจากสังขารเป็นเหตุปัจจัยมาจากปฏิจจสมุปบาท
ต้องเข้าใจว่าสังขารตัวนี้ไม่ใช่สังขารขันธ์
แต่เป็นสังขารที่มี 2 นัยยะคือ
1ในปฏิจจสมุปบาทวงคร่อมภพคร่อมชาติ (สุตตันตภาชนียนัย)
ปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร เป็นหตุปัจจัยของปฏิสนธิวิญญาณ
(ซึ่งจัดเข้าได้เป็นมโนวิญญาณในวิญญาณ6)
คือพูดแบบสมมติสัจจ์ง่ายๆว่าทำบุญทำบาปแบบไหนตายไปก็เกิดปฏิสนธิตามความเหมาะสม
ดูเรื่องจิตดวงแรก กรณีพระกุมารกัสสปะ ในพระวินัย

2ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น
ดูเรื่องเจตนาสูตร


แม้กระนั้น วิญญาณทั้งสองนัยยะ ก็ยังสามารถอนุเคราะห์หรือจัดเข้าพวกกับวิญญาณ6 ได้อยู่ดี

แต่สิ่งที่คุณวลัยพรยกมาคือวิญญาณ6 หรือวิญญาณขันธ์ในนัยยะหรือมุมมองที่ต่างออกไปเช่น
มุมของเวลาเกิด อดีตปัจจุบันอนาคต หรือมุมวิญญาณของตนเอง ของผู้อื่น หรือมุมวิญญาณนั้นสัมปยุตด้วยธรรมแบบไหนจึงหยาบละเอียด หรือวิญญาณนั้นใกล้ไกลเมื่อเทียบกับวิญญาณที่นำมาเทียบเป็นต้น
แต่โดยรวมยังจัดอยู่ในวิญญาณ6 ครับ


และวิญญาณทั้งสองนัยยะ(ข้อ1และ2)ที่ผมยกมานั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีผัสสะเช่นกันครับ





คุณโฮฮับ สนทนาเรื่อง ว่าด้วย วิญญาณ และ จิต กับคุณ cantona_z

เหมือนคุยกันคนละเรื่อง คุณโฮฮับ มุ่งประเด็นเรื่อง วิญญาณขันธ์ ที่เกิดจาก หลายๆเหตุปัจจัย

ส่วนคุณ cantona_z มุ่งประเด็นเดียว เป็นวิญญาณขันธ์ประเภท วิญญาณ ๖



ก็อ่านอยู่นะ เห็นข้อคิดเห็นของคุณ cantona_z เกี่ยวกับ วิญญาณขันธ์ ที่รู้อยู่เพียง เรื่อง วิญญาณขันธ์ ประเภท วิญญาณ ๖ ส่วนวิญญาณขันธ์ ประเภทอื่นๆ ที่เกิดจาก เหตุปัจจัยอื่นๆ ไม่รู้จัก


ทำไมจึงกล่าวว่า คุณ cantona_z รู้จักวิญญาณขันธ์ เพียงประเภทเดียว
คือ ดูจาก การแสดงข้อคิดเห็นอื่นๆ และจากตรงนี้

"2ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น
ดูเรื่องเจตนาสูตร


แม้กระนั้น วิญญาณทั้งสองนัยยะ ก็ยังสามารถอนุเคราะห์หรือจัดเข้าพวกกับวิญญาณ6 ได้อยู่ดี"


ไปจัดภพ เข้ากับพวก วิญญาณ ๖ ได้อย่างไร

เจตนาสูตรที่ ๑
[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัย
เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ
มีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส
และอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือ
ภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสก-
*ปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
มีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี
อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่
เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่
ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 730&Z=1750


ภพก็ส่วนภพ เป็นวิญญาณขันธ์ประเภท สเหตุกะ กับ อเหตุกะ

คนละสภาวะกับวิญญาณ ๖ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต




วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน


[๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 240&Z=1498





"ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น"


หาอยู่นะ ไม่รู้คุณนำประโยคทั้งหมดมาจากตรงส่วนไหน ของพระไตรปิฎก
ช่วยนำลิงค์มาแนบให้อ่าน ได้ไหมคะ?

มโน วจี กาย ทำงานคนละส่วนกัน

มโน ก็ส่วน มโน

ถ้าก้าวล่วงออกมา จึงเกิดเป็น วจีกรรม และ กายกรรม


อรรถกถาเจตนาสูตรที่ ๘

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=16&i=145



"วิญญาณที่เกิดจากสังขารเป็นเหตุปัจจัยมาจากปฏิจจสมุปบาท
ต้องเข้าใจว่าสังขารตัวนี้ไม่ใช่สังขารขันธ์
แต่เป็นสังขารที่มี 2 นัยยะคือ
1ในปฏิจจสมุปบาทวงคร่อมภพคร่อมชาติ (สุตตันตภาชนียนัย)
ปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร เป็นหตุปัจจัยของปฏิสนธิวิญญาณ
(ซึ่งจัดเข้าได้เป็นมโนวิญญาณในวิญญาณ6)"


นี่อีก นำวิญญารขันธ์ ประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ
ก็ไปจัดเป็นพวกเดียวกับ วิญญาณขันธ์ประเภท วิญญาณ ๖ ได้อย่างไรกัน

หากนำมาจากส่วนไหนของพระไตรปิฎก ช่วยนำลิงค์มาแนบให้อ่านทีค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 06 ม.ค. 2014, 09:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ ธรรมชาติใด ย่อมรู้แจ้งซึงอารมณ์ เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า จิต

วิญญาณ แปลตามแบบว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์


นึกถึงเพลงนี้ :b32:

กบร้องท้องปวด

http://www.youtube.com/watch?v=ayXlVU3x5H8

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 10:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ"
ที่กล่าวมาทั้งหมด มันเป็นอาการที่จิตไปรู้รูป นั้นก็คือสฬารยตนะ๖
อาการที่รู้เรียกวิญญาน
สิ่งที่ถูกรู้เรียกสฬารยตนะหรือประสาทรูป๖ได้แก่....จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กายและมโน

ความต่างกันของวิญญาน๖ก็คือ สิ่งที่ถูกรู้คือสฬารยตนะและอาการรู้(วิญญาน)
ส่วนความเหมือนก็คือ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดจากจิตผู้รู้


อันนี้ก็จิ้นอีก
ที่มาครับที่มา เอามาจากไหน
จิ้นเอาล้วนๆ
อ้างคำพูด:
นพระสูตรท่านไม่ได้กล่าวว่า จิตเกิดดับ แต่ในความของคำว่า...
จิต.. มโน.. วิญญานก็คือ.....ผัสสะ(มโนสัมผัส)

ส่วนผมบอกว่าคุณมั่ว เพราะคุณเอานิยามของอนุธาจาย์ที่ว่า จิตเป็นวิญญาน
มามั่วในพระสูตร เพราะในพระสูตรเป็นการบอกให้รู้ว่า วิญญานเป็นตัวรู้(เป็นสังขตธรรม)
ส่วนตัวผู้รู้คือจิต จิตในความหมายของพุทธองค์คือ...นามในนามรูป



พระสูตรท่านบอกว่าจิตเกิดดับครับ
อ่านยังไงเป็นจิตไม่เกิดดับ

Quote Tipitaka:
ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน




อ้างคำพูด:
จิตของพระพุทธองค์ เมื่อบุคคลยังมีชีวิต จิตจะตั้งอยู่ในลักษณะของธรรมฐิติ
ที่ไม่ไปข้องเกี่ยวกับสังขาร(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)


นี่ก็จิ้นอีก เอามาจากไหนครับ


อ้างคำพูด:
การที่บุคคลคิดว่าจิตกับวิญญานเป็นสภาวะเดียวกัน ก็เป็นเพราะจิตของปุถุชน
ชอบที่จะเข้าไปยึดสิ่งที่มากระทบ เลยทำให้หลงเข้าใจไปว่า มันเป็นสิ่งเดียวกัน

แต่ในพระอริยชน ท่านแยกนามรูป ดูสังขารอันเกิดจากการกระทบ
โดยไม่ให้นามรูปของท่านไปพัวพันกับสังขารที่เกิดขึ้น

สรุปเรื่องจิตกับวิญญานให้ฟังสั้น ในปุถุชนวิญญานในสังขารก็คือจิต
เพราะว่าปุถุชนยังมีอวิชา

แต่พระอริยชน จิตของท่านคือนามรูป ส่วนวิญญานคือสังขาร(สังขตะ)
ถ้าจะให้จิตเป็นวิญญานก็ได้ แต่ต้องเป็นวิญญานในปฏิจจสมุปบาท
เพราะวิญญานในปฏิจจ์คือผู้รู้นามรูป

วิญญานในปฏิจจสมุบาทกับวิญญานในสังขาร(สังขต)
เป็นคนล่ะอย่างกัน


นี่ก็จิ้นอีก

เฮ้อ

เอางี้แล้วกันครับ
ผมขี้เกียจถกกับความมั่วของคุณแล้ว
คนนึงอาศัยพุทธพจน์ คนนึงอาศัยจิ้นเอาเอง
คนนนึงบอกแมวมีหนวดมีสี่ขาร้องเมี๊ยวชอบกินปลาทู อีกคนบอกแมวร้องโฮ่งๆชอบกินกระดูก
ศัพท์เดียวกันคนนนึงอาศัยพุทธพจน์และอรรถกถาธิบาย อีกคนจิ้นเอาเอง


เพราะขนาดสูตรที่คุณยกมาอย่างอนัตตลักขณสูตร กับสิ่งที่คุณอธิบาย
ยังเป็นไปคนละทิศละทาง

ส่วนใอ้ที่จิ้นเอาไม่ต้องพูดถึง
ขันธ์ 5 ผัสสะ อายตนะ12 กลับไปทำความเข้าใจให้เคลียร์ก่อนดีกว่าครับ
เข้าใจนิยามให้ชัดแล้วค่อยกระโดดไปปฏิจจสมุปบาท กระโดดไปธรรมฐิติธรรมนิยาม
กระโดดไปสังขตอสังขต

อย่ามั่วเอาเองครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 10:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"2ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น
ดูเรื่องเจตนาสูตร


แม้กระนั้น วิญญาณทั้งสองนัยยะ ก็ยังสามารถอนุเคราะห์หรือจัดเข้าพวกกับวิญญาณ6 ได้อยู่ดี"


ไปจัดภพ เข้ากับพวก วิญญาณ ๖ ได้อย่างไร


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือ
ภพใหม่ต่อไปจึงมี


จงใจดำริ ครุ่นคิด เกิดขี้นที่ทวารไหนครับ
วิญญาณกับภพเป็นคนละตัวครับ ผมไม่เคยบอกว่าภพเป็นวิญญาณ6
ชั้นวิญญาณหรือจิต ทีอยู่ในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร เป็นภพ

ชั้นของวิญญาณ กับวิญญาณ คนละอย่างกันครับ
คุณวลัย กำลังเข้าฌาน4 จิตคุณเป็นรูปาวจรจิต ชั้นของจิตเป็นรูปาวจร มีอุเบกขากับเอกัคตาเป็นอารมณ์
เกิดที่ทวารไหนอายตนะไหนครับ? มโนใช่ไหมครับ
เสียงเกิดที่หูมีผัสสะไปได้ยินไหมครับ ไม่มีใช่ไหม?
แต่ขณะนั้นวิญญาณยังมีใช่ไหม อยู่ที่มนายตนะใช่ไหม
จัดเป็นมโนวิญญาณไหมครับ

อย่าว่าแต่วิญญาณ หมวดละ 2 เลยครับ ต่อให้หมวดละ 10 ที่สหรคตด้วยธรรมต่างๆ
ก็อนุเคราห์จัดประเภทลงวิญญาณ 6 ได้
เพราะวิญญาณ6 เป็นการจัดแบ่งโดยนัยยะของอายตนะที่เกิดวิญญาณนั้นขึ้นรับรู้
วิญญาณทั้ง 10 หมวดที่คุณวลัยยกมา แม้จะเกิดด้วยเหตุที่ต่างกันนัยยะในการแบ่งหมวดที่ต่างกัน
ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นนอกไปจากอายตนะภายในทั้ง6 นี้ได้ครับ


อ้างคำพูด:
"ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น"


หาอยู่นะ ไม่รู้คุณนำประโยคทั้งหมดมาจากตรงส่วนไหน ของพระไตรปิฎก
ช่วยนำลิงค์มาแนบให้อ่าน ได้ไหมคะ?

มโน วจี กาย ทำงานคนละส่วนกัน

มโน ก็ส่วน มโน

ถ้าก้าวล่วงออกมา จึงเกิดเป็น วจีกรรม และ กายกรรม


ผมกล่าวยุบๆให้มันสั้นครับ ถ้ากล่าวให้เต็มคือ
กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร หรืออีกนัยหนึ่ง กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา มโนสัญเจตนา

นัยยะในการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ดูได้จากในอรรถกถาเลยครับ
ผมไม่ได้ออกนอกแนวอรรถกถาเลยครับ

อ้างคำพูด:
"วิญญาณที่เกิดจากสังขารเป็นเหตุปัจจัยมาจากปฏิจจสมุปบาท
ต้องเข้าใจว่าสังขารตัวนี้ไม่ใช่สังขารขันธ์
แต่เป็นสังขารที่มี 2 นัยยะคือ
1ในปฏิจจสมุปบาทวงคร่อมภพคร่อมชาติ (สุตตันตภาชนียนัย)
ปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร เป็นหตุปัจจัยของปฏิสนธิวิญญาณ
(ซึ่งจัดเข้าได้เป็นมโนวิญญาณในวิญญาณ6)"


นี่อีก นำวิญญารขันธ์ ประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ
ก็ไปจัดเป็นพวกเดียวกับ วิญญาณขันธ์ประเภท วิญญาณ ๖ ได้อย่างไรกัน

หากนำมาจากส่วนไหนของพระไตรปิฎก ช่วยนำลิงค์มาแนบให้อ่านทีค่ะ


อย่างที่บอกตอนต้นคือวิญญาณ6 เป็นการจัดแบ่งประเภทวิญญาณตามนัยยะของอายตนะที่เกิด
วิญญาณประเภทสเหตุกะ กับอเหตุกะ เกิดที่อายตนะทั้งหกไหมครับ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
Quote Tipitaka:
ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ
วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้นก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ
วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ

เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้
ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
......


ไฟติดที่หยากเยื่อ แต่จุดด้วยไฟแช็คเรียกไฟหยากเยื่อ
ไฟติดที่หยากเยื่อ แต่จุดด้วยถ่านเรียกไฟหยากเยื่อ
ไฟติดที่หยากเยื่อ แต่จุดด้วยไต้เรียกไฟหยากเยื่อ
ก็เหมือนกับวิญญาณขันธ์ทั้ง 10หมวด ไม่ว่าจะแบ่งด้วยนัยยะใด
แต่เมื่อมองจากนัยยะของที่เกิดแล้ว ก็ไม่พ้นอายตนะภายในทั้งหก คือหูตาจมูกลิ้นกายใจไปได้
ดังนั้นวิญญาณทั้ง 10 หมวด ย่อมสงเคราะห์ลงวิญญาณหกได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ก็เป็นแบบนี้ไง ถามหาที่มาพอบอกที่มาให้ ......ดันจะเอาปัจจัตตังของเราด้วย
ถ้าอ่านยถาภูติญานทัสสนะเข้าใจจริงๆ มันต้องเข้าใจในส่วนที่พระพุทธองค์ตรัสถามปัญจวัคคีย์
ในส่วนนี้แหล่ะที่พระพุทธองค์ทรงชี้ให้ปัญจวัคคีย์เห็น......ความเป็นอัตตา

และที่ถามว่าตรงส่วนไหนแสดงว่าจิตเป็นอัตตา
จะบอกให้ว่า ท่านไม่บอก ถึงจะบอกคุณก็ไม่รู้เรื่อง เพราะต้องอาศัยหลักของธัมมวิจยะหรือ
ที่คุณเรียกว่าจิ้นนั้นแหล่ะ เรื่องแบบนี้มันตัวใครตัวมัน



ยอมรับว่าจิ้นเองก็ดีครับจะได้ไม่ต้องคุยต่อ
ธรรมะคิดเองเออเองจิ้นเอง ก็ยอมรับเองไปเถอะครับ
ผมยอมรับพระไตรปิฏกครับ ไม่ได้ยอมรับธรรมของปุถุชนขี้กลากขี้เกลื้อนคิดเองเออเอง


ถ้าคิดว่าปัญญามันเป็นตัวอักษร คุณก็นั่งท่องไปเถอะครับ
และถ้าอยากเจอพระอรหันต์ ไปแถวท่าเตียนกับวังน้อย แถวนั้นมีเยอะแยะไปหมด
พระอรหันต์เป็นเณรยังมีเลย

เคยได้ยินมั้ยครับ อรหันต์ ดีกรีพุทธศาสตร์บัณฑิต................ :b32:

cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
และขออธิบายกับคำว่าจิต จิตที่เป็นพุทธพจน์แท้ ไม่ใช่สังขตธรรม
ตัวจิตเป็นส่วนหนึ่งใน นามรูป นามรูปเป็นธรรมฐิติ เป็นปฏจจสมุปบาทเป็น อสังขตธรรม


หามาหน่อยซิครับ อย่าจิ้น
ตรงไหน ประโยคไหนที่บอกจิตไม่ใช่สังขตธรรม

คุณเพิ่งยกธรรมที่เป็นจิต ธรรมที่ไม่เป็นจิตมาเองเมื่อหน้า3


นั้นเป็นเพราะคุณ เอาธรรมที่เป็นอวิชามาอ้างกับผม
เอาสิ่งที่เป็นปุถุชนมาพูด ผมก็ต้องอธิบายไปตามเหตุปัจจัยที่คุณอ้าง
เพราะในจิตของผู้มีอวิชา วิญญานจะเป็นวิญญานขันธ์
ในกระบวนการของขันธ์ห้า จะมีสภาวะวิญญานเกิดร่วมกับสังขารตัวอื่นเสมอ
นั้นก็คือไปรู้สภาวะของสังขารเช่น รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขาร(ขันธ์)

ในขณะที่มีการกระทบ แล้ววิญญานไปรู้ปสาทรูปและอายตนะภายนอกที่มากระทบ
จิตจะยึดเอาผัสสะ นั้นคือยึดปสาทรูปแลัวิญญาน จนเกิดเป็นรูปขันธ์และวิญญานขันธ์
เมื่อวิญญานตัวแรกเป็นขันธ์ วิญญานขันธ์(ที่จิตยึดไว้) ไปรู้เวทนา ทำให้เวทนาเป็นขันธ์
ไปรู้สัญญา สัญญาจึงเป็นขันธ์ รู้สังขารทำให้สังสารเป็นขันธ์

พระธรรมที่ผมยกมา ที่บอกว่าเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
ไม่ได้มีธรรมเป็นจิต เพราะเป็นสิ่งที่จิตไปรู้

และที่วิญญานขันธ์เป็นจิต ไม่ใช่ว่าวิญญานเป็นจิต แต่เป็นเพราะจิตไปยึดวิญญานไว้
มันเป็นอุปาทาน ที่จิตหลงไปกับผัสสะตัวแรกนั้น
จึงเรียกมันว่าวิญญานขันธ์ สังขารที่เกิดตามมา จึงเป็นขันธ์ตามเหตุปัจจัยแห่งวิญญานขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
"2ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น
ดูเรื่องเจตนาสูตร


แม้กระนั้น วิญญาณทั้งสองนัยยะ ก็ยังสามารถอนุเคราะห์หรือจัดเข้าพวกกับวิญญาณ6 ได้อยู่ดี"


ไปจัดภพ เข้ากับพวก วิญญาณ ๖ ได้อย่างไร


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือ
ภพใหม่ต่อไปจึงมี


จงใจดำริ ครุ่นคิด เกิดขี้นที่ทวารไหนครับ
วิญญาณกับภพเป็นคนละตัวครับ ผมไม่เคยบอกว่าภพเป็นวิญญาณ6
ชั้นวิญญาณหรือจิต ทีอยู่ในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร เป็นภพ

ชั้นของวิญญาณ กับวิญญาณ คนละอย่างกันครับ
คุณวลัย กำลังเข้าฌาน4 จิตคุณเป็นรูปาวจรจิต ชั้นของจิตเป็นรูปาวจร มีอุเบกขากับเอกัคตาเป็นอารมณ์
เกิดที่ทวารไหนอายตนะไหนครับ? มโนใช่ไหมครับ
เสียงเกิดที่หูมีผัสสะไปได้ยินไหมครับ ไม่มีใช่ไหม?
แต่ขณะนั้นวิญญาณยังมีใช่ไหม อยู่ที่มนายตนะใช่ไหม
จัดเป็นมโนวิญญาณไหมครับ

อย่าว่าแต่วิญญาณ หมวดละ 2 เลยครับ ต่อให้หมวดละ 10 ที่สหรคตด้วยธรรมต่างๆ
ก็อนุเคราห์จัดประเภทลงวิญญาณ 6 ได้
เพราะวิญญาณ6 เป็นการจัดแบ่งโดยนัยยะของอายตนะที่เกิดวิญญาณนั้นขึ้นรับรู้
วิญญาณทั้ง 10 หมวดที่คุณวลัยยกมา แม้จะเกิดด้วยเหตุที่ต่างกันนัยยะในการแบ่งหมวดที่ต่างกัน
ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นนอกไปจากอายตนะภายในทั้ง6 นี้ได้ครับ


อ้างคำพูด:
"ในปฏิจจสมุปบาทวงชั่วขณะจิต(อภิธัมมภาชนียนัย)
กายวจีมโนสังขาร(หรืออีกนัยคือกายวจีมโนสัญญเจตนา)เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณตั้งมั่น
เมื่อตั้งเจตนาวิญญาณก็เกิดตั้งมั่นทำงานตามเจตนานั้น"


หาอยู่นะ ไม่รู้คุณนำประโยคทั้งหมดมาจากตรงส่วนไหน ของพระไตรปิฎก
ช่วยนำลิงค์มาแนบให้อ่าน ได้ไหมคะ?

มโน วจี กาย ทำงานคนละส่วนกัน

มโน ก็ส่วน มโน

ถ้าก้าวล่วงออกมา จึงเกิดเป็น วจีกรรม และ กายกรรม


ผมกล่าวยุบๆให้มันสั้นครับ ถ้ากล่าวให้เต็มคือ
กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร หรืออีกนัยหนึ่ง กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา มโนสัญเจตนา

นัยยะในการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ดูได้จากในอรรถกถาเลยครับ
ผมไม่ได้ออกนอกแนวอรรถกถาเลยครับ

อ้างคำพูด:
"วิญญาณที่เกิดจากสังขารเป็นเหตุปัจจัยมาจากปฏิจจสมุปบาท
ต้องเข้าใจว่าสังขารตัวนี้ไม่ใช่สังขารขันธ์
แต่เป็นสังขารที่มี 2 นัยยะคือ
1ในปฏิจจสมุปบาทวงคร่อมภพคร่อมชาติ (สุตตันตภาชนียนัย)
ปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร เป็นหตุปัจจัยของปฏิสนธิวิญญาณ
(ซึ่งจัดเข้าได้เป็นมโนวิญญาณในวิญญาณ6)"


นี่อีก นำวิญญารขันธ์ ประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ
ก็ไปจัดเป็นพวกเดียวกับ วิญญาณขันธ์ประเภท วิญญาณ ๖ ได้อย่างไรกัน

หากนำมาจากส่วนไหนของพระไตรปิฎก ช่วยนำลิงค์มาแนบให้อ่านทีค่ะ


อย่างที่บอกตอนต้นคือวิญญาณ6 เป็นการจัดแบ่งประเภทวิญญาณตามนัยยะของอายตนะที่เกิด
วิญญาณประเภทสเหตุกะ กับอเหตุกะ เกิดที่อายตนะทั้งหกไหมครับ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
Quote Tipitaka:
ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ
วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้นก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ
วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ

เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้
ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น
ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
......


ไฟติดที่หยากเยื่อ แต่จุดด้วยไฟแช็คเรียกไฟหยากเยื่อ
ไฟติดที่หยากเยื่อ แต่จุดด้วยถ่านเรียกไฟหยากเยื่อ
ไฟติดที่หยากเยื่อ แต่จุดด้วยไต้เรียกไฟหยากเยื่อ
ก็เหมือนกับวิญญาณขันธ์ทั้ง 10หมวด ไม่ว่าจะแบ่งด้วยนัยยะใด
แต่เมื่อมองจากนัยยะของที่เกิดแล้ว ก็ไม่พ้นอายตนะภายในทั้งหก คือหูตาจมูกลิ้นกายใจไปได้
ดังนั้นวิญญาณทั้ง 10 หมวด ย่อมสงเคราะห์ลงวิญญาณหกได้ครับ






"อย่างที่บอกตอนต้นคือวิญญาณ6 เป็นการจัดแบ่งประเภทวิญญาณตามนัยยะของอายตนะที่เกิด
วิญญาณประเภทสเหตุกะ กับอเหตุกะ เกิดที่อายตนะทั้งหกไหมครับ"


เมื่อยังมีเหตุของการเกิด ย่อสั้นๆ ได้แก่ กายและจิตนี้(นามรูป)

ถ้าตามคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งแนวทางไว้ให้ จะเป็นแบบนี้

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 041&Z=8506


หมายเหตุ:

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

หมายถึง เมื่อมี กายและจิต อายตนะ จึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

หมายถึง เมื่อมีอายตนะ ผัสสะ ย่อมมี





ส่วนพระไตรปิฎก ที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่ แล้วอ้างอิงไปยังคำสอน ที่พระพุทธเจ้า

จะมีความแตกต่างตรงนี้


[๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา
[๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-
*ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญ-
*เจตนา เป็นจิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
[๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
[๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
[๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนาย-
*ตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
[๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-
*สัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
[๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 732&Z=3845



เหตุนี้ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า คร่อมภพ คร่อมชาติ
จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

เมาน้ำหมักชีวภาพเหรอครับ

ปฏิจจสมุปบาทบ้านคุณสิครับเป็นอสังขตธรรม
ถ้าปฏิจเป็นอสังขตธรรม ทุกข์จะดับได้หรือครับ นิพพานจะเกิดได้หรือครับ
พระอริยบุคคลละอวิชชา วงปฏิจจก็หยุด ทุกข์ก็ดับ เข้าถึงนิพพาน
อสังขตธรรมบ้านคุณหยุดได้ แปรเปลี่ยนได้สินะครับ


ใครเขาให้คุณดับทุกข์ครับ พระพุทธองค์ท่านให้สาวก ดับเหตุแห่งทุกข์ครับ
และเหตุแห่งทุกข์คือสิ่งทีเป็นสังขารในกายใจเราครับ

และดับอะไร ก็ดับไอ้ที่คุณสาธยายมาทั้งหมดนั้นแหล่ะครับ
ไม่รู้เป็นชาวพุทธเมืองไหน เอาอวิชามาพูดเสียเป็นคุ้งเป็นแคว
แถมไม่รู้อีกว่ามันเป็นอวิชา คุยกับคุณคันฯ ผ่อนคลายดีครับ :b32:


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
อนึ่งที่คุณเคยปรามาสท่านพุทธทาส ที่ว่าด้วยเรื่อง การคร่อมภพชาติปฏิจจสมุปบาท
คุณต้องเข้าใจ เรื่องนามรูปในปฏิจจสมุปบาท


ถ้าลงบอกแบบนี้อย่ามาอวดเก่งสอนผมเลยครับ
ความรู้ปริยัติคุณไม่แม่นเลย แค่จับศัพท์มาชนกันงูๆปลาๆเท่านั้นเอง


ถ้าคุณคิดแบบนั้นก็ตามใจครับ ..........อยากแนะนำคนหนึ่งให้รู้จักครับ
เป็นคนคอเดียวกับคุณเลย ขานั้นก็ชอบสนทนาลักษณะเดียวกับคุณเดี๊ยะ
ถ้าคุณได้เล่นทายยี่สิบคำถามกับอีตาคนนี้ คุณจะลืมเว็บพาลถีบไปเลย
ไปรู้จักไว้น่ะครับเขาชื่อกรัชกาย คุณแค่ตั้งคำศัพท์หนึ่งคำปะเดียวจะเป็นร้อยในทันที่ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
โปรดเข้าใจซะใหม่ด้วยว่า ยถาภูติญานทัสสนะ ก็คือ ให้บุคคลใช้ปัญญา
หาความเป็นอัตตา ตัวตนในกายใจตนเอง แล้วดับมันเสีย ด้วยปัญญาของตน
ดังนั้นอย่าเที่ยวเร่ถามคนอื่นว่าเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน มันอายเขา


ผมก็ชักเริ่มอายแล้วล่ะครับ
ยถาภูตญาณทัสสนะไม่ใช่ให้หาความเป็นอัตตาครับ
ทั้งกายใจไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็นอัตตา
ยถาภูต ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า รุปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณแท้จริงแล้วเป็นอนัตตา ครับ
แล้วให้ละอุปาทานที่ไปหลงผิดยึดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอัตตา

มั่วมากครับคุณโฮ

ธรรมะจิ้นเอง เก็บไว้ใช้คนเดียวเถอะครับ


อาการของคุณเขาเรียกว่าหลงครับ อ่านหนังสือเขาบอกว่า
ไม่มีอะไรเป็นตัวตน คุณก็บอกเป็นนกแก้วตามเขาว่า ไม่มีอะไรเป็นตัวตน

สังขารมันไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นเพราะจิตไปยึดสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน
มันส่งผลให้จิตเกิดเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาเป็นกองขันธ์กองทุกข์....เข้าใจมั้ย

อัตตาไม่ใช่สังขาร แต่อัตตาท่านหมายถึงจิต :b32:


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณคันฯครับ ในบทสรุปของพระสูตร มันมีแต่"จิต"คำเดียวหรือครับ
มโนหายไปไหนและวิญญานอีกล่ะทำไมไม่พูดถึง
พุทโธ่! มันต้องเอาทั้งสามคำมาพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่เอาตรงนี้นิด
หยิบตรงนี้หน่อย มาอ้าง

จะบอกให้ที่ท่านกล่าวถึง "จิต..มโน...วิญญาน" โดยไม่กล่าวเพียงอย่างเดียวเพราะว่า
พระองค์กำลังบอกว่า สภาวะนั้นคือ.....มโนสัมผัสหรือผัสสะ

และที่บอก"จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปทั้งวันทั้งคืน" ท่านหมายถึง..
มโนผัสสะที่กล่าวในตอนต้น

การเปรียบเทียบจิตกับลิง มันก็บ่งบอกให้รู้ว่า ตัวบุคคลชอบที่จะคิดโน้นคิดนี้
ความคิดก็เหมือนอาการเกาะต้นไม้ของลิง เขาให้ดูเฉพาะอาการของลิง ไม่ใช่ตัวลิง
ตัวลิงเป็นจิต อาการที่กระโดดไปกระโดดมามันเป็นมโนผัสสะ

การเกิดดับมันเป็นเพียงการเปรียบ แต่นั้นความเป็นจริง
คือลักษณะการเกิดของผัสสะและการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังขารตัวอื่น

ผมเคยยกพระสูตรมาให้ดู ก็เพื่อจะให้คุณรู้ว่าแท้จริงแล้ว
บัญญัติที่ว่าจิตน่ะ มันมีเหตุปัจจัยมาจากไหน ให้คุณไล่หาเหตุให้จบที่นามรูป
คุณก็จะรู้ว่าจิตคืออะไร และอย่าถามน่ะว่าคำอธิบายข้างบนผมเอามาจากไหน
ผมก็เอามาจากพระสูตรที่คุณอ้างอิงนั้นแหล่ะ

ถามหน่อย คุณว่าในมหาภูติรูปสี่มีจิตมั้ย :b32:


อันนี้ก็จิ้นเองทั้งนั้น
เฮ้อ
มหาภูติรูปสี่บ้านคุณโฮมีจิตสินะครับ


พูดแค่นี้ก็รู้แล้ว ท่องจำคำศัพท์ .......

ถ้าธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีธาตุรู้หรือจิตผู้รู้
จะยังเป็นมหาภูติรูปสี่ได้หรือครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
และในส่วนนี้ผมกำลังอธิบายว่า....จิตเป็นคนล่ะตัวกับวิญญานขันธ์
กรุณาดูประเด็นอย่าพยายามเอาบัญญัติ มาสร้างให้ประเด็นมันบิดเบี้ยวซิครับ


พูดง่ายๆว่ากำลังจิ้น อย่าเอาพระไตรปิฏกมาขัด ว่างั้นสินะครับ


อ้างคำพูด:
และในส่วนที่คุณยกมา เป็นเรื่องที่บอกให้รู้ว่า ความเป็นขันธ์เกิดกับวิญญานได้อย่างไร
ในความเป็นขันธ์ก็มีสาเหตุของมัน นั้นก็คือเหล่าวิญญานที่กล่าวมา มันเป็นสังขตธรรม
มันเป็นไตรลักษณ์ เมื่อมันเกิดหรือยังไม่เกิด ล้วนแล้วแต่เป็นไตรลักษณ์
เมื่อจิตเข้าไปยึดสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มันจึงเป็นอัตตาหรือวิญญานขันธ์

ในพระธรรมท่านกล่าวทั้งคววามเป็นวิชชาและความเป็นอวิชาเอาไว้
อ่านพระธรรมต้องแยกแยะ
พระธรรมบางบทท่านอธิบายว่า อะไรคืออวิชา อ่านแล้วอย่ายึดซิครับ
คุณคันฯ คุณรู้ตัวหรือเปล่าว่า คุณกำลังความเป็นอวิชามาแย้งวิชชา :b13:



เมื่อจิตเข้าไปยึดสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มันจึงเป็นอัตตาหรือวิญญานขันธ์
บ้านคุณสิครับ
เมื่อจิตเข้าไปยึดสิ่งที่ไม่ใชตัวตน เขาเรียกอุปาทานครับ
ร้อยละร้อยไม่พ้นการยึดมั่นในขันธ์ภายในภายนอกว่าเป็นอัตตา
จึงเรียกอีกว่าเป็นอุปาทานขันธ์5


คุณนี่ปริยัติมั่วนิ่มมาก จิ้นเอาเองทั้งนั้น
ธรรมคิดเองเออเองแบบนี้ อย่ามาทำเก่งสอนคนอื่นเลยครับ


มั่วอีกแล่ะ! อุปาทานมันเป็นเหตุภายนอก เหตุภายในเขาเรียกว่าโมหะ
จิตที่เป็นโมหะ ท่านเรียกว่าอุปาทาน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"อย่าว่าแต่วิญญาณ หมวดละ 2 เลยครับ ต่อให้หมวดละ 10 ที่สหรคตด้วยธรรมต่างๆ
ก็อนุเคราห์จัดประเภทลงวิญญาณ 6 ได้ "


เมื่อยึดมั่นถือมั่นว่า วิญญาณทั้งหมด จัดลงเป็น วิญญาณ ๖

งั้นสิ่งที่เรียกว่า มโนกรรม ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย
(วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ)

คงกลับกลายเป็น ถูกจัดลงในวิญญาณ ๖




เหตุของ อวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
ไม่รู้ชัดในเวทนาที่เกิดขึ้นจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

จึงมีสถานะ ไม่ต่างกับเด็ก



รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก


กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่นและมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง

เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น

ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

กุมารนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง

เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.



posting.php?mode=reply&f=1&t=47096

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอพูดคำว่าธรรมะเท่านั้น เรามองข้ามธรรมะไปเลย :b32: มาเริ่มเรียนธรรมะกัน





สฬายตนะ = อายตนะ ๖ คือ ๑. จักขุ (ตา) ๒. โสตะ (หู) ๓. ฆาน (จมูก. ๔. ชิวหา (ลิ้น) ๕. กาย (ร่างกาย) ๖. มโน (ใจ)

เต็มๆก็ดังนี้ ๑. จักขายตนะ ๒. โสตายตนะ ๓. ฆานายตนะ ๔.ชิวหายตนะ ๕.กายายตนะ ๖. มนายตนะ

เมื่อท่านอธิบายชีวิตนี้โดยความเป็นธาตุ ก็เอาธาตุต่อท้ายศัพท์นั่นเข้าไป เช่น จักขุธาตุ โสตธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ

เมื่อท่านต้องการอธิบายชีวิตนี้โดยความเป็นอินทรีย์ก็เอาคำอินทรีย์ต่อท้ายศัพท์นั่นเข้าไป เช่น จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฯลฯ มนินทรีย์

แล้วก็เรียกวิญญาณที่รับรู้อารมณ์ตามช่อง (ทวาร, ประตู) ทั้ง ๖ แต่ละช่องๆนั่นเอง เช่น วิญญาณที่รู้อารมณ์ทางจักขุ (ตา) เรียกว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ ตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 12:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อยึดมั่นถือมั่นว่า วิญญาณทั้งหมด จัดลงเป็น วิญญาณ ๖

งั้นสิ่งที่เรียกว่า มโนกรรม ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย
(วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ)

คงกลับกลายเป็น ถูกจัดลงในวิญญาณ ๖


มโนกรรมไม่ได้เกิดจากผัสสะเป็นเหตุปัจจัยครับ
กรรมนั้นจะเกิดขี้นต้องมีเจตนาครับ
หรือถ้าพูดตามภาษาอภิธรรม ก็ต้องบอกว่าเกิดขึ้นด้วยกุศลจิตและอกุศลจิตถึงจะเป็นกรรม

หรือไล่แบบนี้ครับ

ขณะที่เกิดผัสสะ มโนวิญญาณเกิดขึ้นรู้อายตนะภายในคือใจและอายตนะภายนอกคือธรรมารมณ์
หากมโนวิญญาณนั้นเป็นไปด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต หรือพูดง่ายๆว่ามีเจตนาอันเป็นกุศลหรืออกุศล
มโนวิญญาณนั้นก่อให้เกิดกรรม
ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เจตนานั้นแหละเป็นกรรม
กรรมนั้นแหละทำให้ก่อภพต่อไปทั้งกรรมภพและปฏิสนธิภพ

หากมโนวิญญาณนั้นไม่ได้เกิดด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต
เช่นพระอรหันต์มีจิต แต่เป็นจิตที่เรียกว่ามหากิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่ใช่กุศลและอกุศล
หรือพูดง่ายๆว่าไม่เกิดเจตนาอันเป็นกุศลหรืออกุศล
มโนวิญญาณนั้นไม่ก่อให้เกิดกรรม

เมื่อไม่มีกรรมก็ไม่ก่อภพก่อชาติต่อไป
พระอรหันต์จึงสิ้นแล้วทั้งการก่อภพชาติทางใจและทางกาย





อ้างคำพูด:
เหตุของ อวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
ไม่รู้ชัดในเวทนาที่เกิดขึ้นจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

จึงมีสถานะ ไม่ต่างกับเด็ก


ครับ ปุถุชนไม่ว่า ผู้ใหญ่หรือเด็กก็ยังมีอวิชชานอนเนื่องในจิต
เมื่อมีผัสสะเกิด ก็ไม่รู้ชัดในเวทนา สัญญา ที่เกิดจากผัสสะนั้นว่าเกิดขี้นเพราะมีเหตุปัจจัย

เมื่อได้เสพเวทนาอันเป็นสุขทุกข์ ก็เกิดติดใจเพลิดเพลินเกิดนันทิราคะ
เกิดตัณหาทำให้มีอุปาทานก่อภพก่อชาติต่อไปไม่รู้จบสิ้น

ต่อเมื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดมีความเกิดขี้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา
จึงเห็นการทำงานของปฏิจจสมุปบาท เกิดเป็นดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบัน
เมื่อละราคะโทสะได้ก็เป็นอนาคามีบุคคล
จนเมื่อละโมหะได้ก็ละอวิชชาอันเป็นเหตุให้ปฏิจจสมุปบาททำงานนั้นสิ้นเสีย
จึงไม่ก่อภพก่อชาติทั้งทางใจและทางกายต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พอพูดคำว่าธรรมะเท่านั้น เรามองข้ามธรรมะไปเลย :b32: มาเริ่มเรียนธรรมะกัน





สฬายตนะ = อายตนะ ๖ คือ ๑. จักขุ (ตา) ๒. โสตะ (หู) ๓. ฆาน (จมูก. ๔. ชิวหา (ลิ้น) ๕. กาย (ร่างกาย) ๖. มโน (ใจ)

เต็มๆก็ดังนี้ ๑. จักขายตนะ ๒. โสตายตนะ ๓. ฆานายตนะ ๔.ชิวหายตนะ ๕.กายายตนะ ๖. มนายตนะ

เมื่อท่านอธิบายชีวิตนี้โดยความเป็นธาตุ ก็เอาธาตุต่อท้ายศัพท์นั่นเข้าไป เช่น จักขุธาตุ โสตธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ

เมื่อท่านต้องการอธิบายชีวิตนี้โดยความเป็นอินทรีย์ก็เอาคำอินทรีย์ต่อท้ายศัพท์นั่นเข้าไป เช่น จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฯลฯ มนินทรีย์

แล้วก็เรียกวิญญาณที่รับรู้อารมณ์ตามช่อง (ทวาร, ประตู) ทั้ง ๖ แต่ละช่องๆนั่นเอง เช่น วิญญาณที่รู้อารมณ์ทางจักขุ (ตา) เรียกว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ ตามลำดับ



สรุปให้เห็นอีกทีว่า อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖ มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้

๑. จักขุ - ตา - เป็นแดนรับรู้ รูป - รูป - เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ -- เห็น

๒. โสตะ- หู - เป็นแดนรับรู้ สัททะ - เสียง - เกิดความรู้คือ โสตวิญญาณ – ได้ยิน

๓. ฆานะ – จมูก - เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น - เกิดความรู้คือ ฆานะวิญญาณ- ได้กลิ่น

๔. ชิวหา - ลิ้น - เป็นแดนรับรู้ - รส - รส - เกิดความรู้คือ ชิวหาวิญญาณ – รู้รส

๕. กาย – กาย – เป็นแดนรับรู้ โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย เกิดความรู้คือ กายวิญญาณ - รู้สิ่งต้องกาย

๖. มโน – ใจ เป็นแดนรับรู้ - ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ เกิดความรู้คือ มโนวิญญาณ - รู้เรื่องในใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2014, 13:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 13:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โฮฮับ
พูดแค่นี้ก็รู้แล้ว ท่องจำคำศัพท์ .......

ถ้าธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีธาตุรู้หรือจิตผู้รู้
จะยังเป็นมหาภูติรูปสี่ได้หรือครับ :b32:


ยังแถไปอีก
ก้อนหิน ประกอบจากมหาภูตรูปไหมครับ
มีความแข็งไหม มีความชื่นอยู่ภายในไหม มีอุณหภูมิไหม มีการเคลื่อนที่ภายในอะตอมของก้อนหินไหม
ในเมื่อก้อนหินมีมหาภูตรูป4 ครบ
ถ้างั้นตามตรรกะที่คุณว่า ก้อนหินก็มีจิตด้วยสิครับ

ธาตุรู้น่ะ พระพุทธเจ้าเรียกไว้อยู่แล้วว่าวิญญาณธาตุครับ
ธาตุ4 มีมหาภูตรูป4
ธาตุ6 มีมหาภูรูป4 อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ

ถึงบอกไงครับ มหาภูตรูปบ้านคุณโฮมั้งครับที่มีจิต

เลิกเหอะครับ เอาเรื่องที่ตัวเองจิ้นเอาเองไม่มีที่มาที่ไปมาตำหนิผมเนี่ย
ตั้งแต่ต้นกระทู้ หาที่มาไม่ได้เลย จิ้นเอาท้ั้งนั้น

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มโนปวิจารณ์ คุณไม่รู้เลย จับแพะชนแกะมั่วไปหมด
เลิกเหอะครับ
เสียเวลาผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
เมื่อยึดมั่นถือมั่นว่า วิญญาณทั้งหมด จัดลงเป็น วิญญาณ ๖

งั้นสิ่งที่เรียกว่า มโนกรรม ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย
(วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ)

คงกลับกลายเป็น ถูกจัดลงในวิญญาณ ๖


มโนกรรมไม่ได้เกิดจากผัสสะเป็นเหตุปัจจัยครับ
กรรมนั้นจะเกิดขี้นต้องมีเจตนาครับ
หรือถ้าพูดตามภาษาอภิธรรม ก็ต้องบอกว่าเกิดขึ้นด้วยกุศลจิตและอกุศลจิตถึงจะเป็นกรรม

หรือไล่แบบนี้ครับ

ขณะที่เกิดผัสสะ มโนวิญญาณเกิดขึ้นรู้อายตนะภายในคือใจและอายตนะภายนอกคือธรรมารมณ์
หากมโนวิญญาณนั้นเป็นไปด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต หรือพูดง่ายๆว่ามีเจตนาอันเป็นกุศลหรืออกุศล
มโนวิญญาณนั้นก่อให้เกิดกรรม
ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เจตนานั้นแหละเป็นกรรม
กรรมนั้นแหละทำให้ก่อภพต่อไปทั้งกรรมภพและปฏิสนธิภพ

หากมโนวิญญาณนั้นไม่ได้เกิดด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต
เช่นพระอรหันต์มีจิต แต่เป็นจิตที่เรียกว่ามหากิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่ใช่กุศลและอกุศล
หรือพูดง่ายๆว่าไม่เกิดเจตนาอันเป็นกุศลหรืออกุศล
มโนวิญญาณนั้นไม่ก่อให้เกิดกรรม

เมื่อไม่มีกรรมก็ไม่ก่อภพก่อชาติต่อไป
พระอรหันต์จึงสิ้นแล้วทั้งการก่อภพชาติทางใจและทางกาย




cantona_z เขียน:
มโนกรรมไม่ได้เกิดจากผัสสะเป็นเหตุปัจจัยครับ



ไหงงั้น จึงกลับกลายเป็นเช่นนี้ไปได้

สิ่งที่ก่อ ให้เกิดการกระทำ ได้แก่ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับ มโนกรรม


cantona_z เขียน:
หากมโนวิญญาณนั้นไม่ได้เกิดด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต
เช่นพระอรหันต์มีจิต แต่เป็นจิตที่เรียกว่ามหากิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตที่ไม่ใช่กุศลและอกุศล
หรือพูดง่ายๆว่าไม่เกิดเจตนาอันเป็นกุศลหรืออกุศล
มโนวิญญาณนั้นไม่ก่อให้เกิดกรรม

เมื่อไม่มีกรรมก็ไม่ก่อภพก่อชาติต่อไป
พระอรหันต์จึงสิ้นแล้วทั้งการก่อภพชาติทางใจและทางกาย



ไม่ต้องเป็นพระอรหันต์หรอก เรื่องที่ว่า ไม่ก่อให้เกิดกรรม

ถึงแม้จะรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น หากยังมีกิเลสอยู่ มโนกรรม ย่อมมีเกิดขึ้นได้
ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)

และไม่เป็นทั้งกุศล อกุศล หากไม่มีเหตุปัจจัย กับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร