วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
walaiporn เขียน:
โฮฮับ เขียน:
cantona_z เขียน:
ผมยังงงๆไม่เข้าใจความหมายของคุณวลัยพรครับ
linkที่คุณวลัยพรให้ผมมาเชื่อมต่อไปยัง
พระอภิธรรมปิฏก จากพระไตรปิฎกแปลไทยสยามรัฐ เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ๖. ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

โดยแปลตรงตัวมาจากพระไตรปิฏกฉบับบาลี มาเป็นภาษาไทย

ทำไมคุณวลัยพรจึงเห็นว่าเป็นการทำขึ้นใหม่แล้วอ้างอิงคำสอนพระพุทธเจ้า นำเอามาตีความอีกทีล่ะครับ?
หรือเห็นว่าการที่แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นการตีความใหม่ครับ?

หรือคุณวลัยพรเห็นว่าพระไตรปิฏกแปลไทยนี้เป็นฉบับตีความซึ่งเนื้อหาในนี้ต่างจากฉบับบาลีครับ?
หรือเห็นว่าพระไตรปิฏกทั้งบาลีทั้งไทยนี้ ต่างจากธรรมวินัยที่พระสาวก500 มุขปาฐะครั้งปฐมสังคายนาครับ?

คือคำพูดคุณวลัยผมอ่านแล้วยังไม่เคลียร์ เลยอยากให้ช่วยอธิบายความหมายให้ชัดกว่านี้ครับ


มันไม่แปลกที่คุณจะงง เล่นเอาบัญญัติของพระอนุรุทธาจารย์มาพูด
ยังไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นพระไตรปิฎกแปล

เวลาอ้างอิงพระไตรปิฎกแปล มันถึงได้เป็นหัวมังกุท้ายมังกร
เวลาพูดๆอย่าง พออ้างอิงดันเป็นอีกอย่าง :b32:




ที่คุณโฮฮับอธิบายน่ะ ตามนั้น

เพียงแต่ วลัยพร ไม่รู้ที่มาของลิงค์ว่า เป็นของใครเขียนขึ้นมา หรือ นำมาจากไหนกัน

คำแปล รู้ไว้น่ะดี

แต่ถ้าวางไม่ถูกตำแหน่ง สภาวะที่เกิดขึ้น ของสิ่งๆนั้น จะเปลี่ยนไปทันที


คุณวลัยพรยืนยันเหตุผลตามคุณโฮฮับ
ลิ้งค์ที่คุณวลัยพรยกมาเป็นพระไตรปิฏก
ผมก็ถามถึงพระไตรปิฏก
ทั้งหมดไม่มีอะไรที่โยงกับอภิธรรมัตถสังคหะ

แล้วพระอนุรุธาจารย์มาเกี่ยวอะไรด้วย?
แล้วที่บอกคำที่พระอนุรุธาจารย์บัญญัติ
ท่านไปบัญญัติตอนไหน? คำทั้งหลายเหล่านี้ เช่นปุญญาอปุญญาอเนญชาภิสังขาร
มีปรากฏในชั้นพุทธพจน์ มีปรากฏในปฏิสัมภิทามรรค เกิดตั้งแต่พศ0
พระอนุรุธาจารย์เขียนอภิธัมมัตถสังคหะ พศ 1000
เขียนมาทีหลังตั้งพันปี ท่านไปบัญญัติศัพท์พวกนี้ตอนไหน?

คือเขียนเคลียร์ พอจะถามให้เคลียร์ก็บอก ไม่ถนัดในเรื่อง การอธิบายอะไรๆ ที่ยืดยาว
บอกคือ ประมาณว่า ถ้าเห็นว่า อีกฝ่าย รู้แค่ไหน
ให้อธิบายเกินจากนั้น อธิบายยังไงๆ ก็แค่นั้นเอง



ผมงงครับ ผมไม่ได้ถามว่าสภาวะผัสสะเป็นแบบไหน
ผมถามว่าคำว่า"รู้ชัด" น่ะ คุณวลัยพรนิยามไว้อย่างไร

อ้างคำพูด:
เช่น อธิบายเรื่อง สภาวะนิพพาน แต่อีกฝ่าย ยังไม่รู้ชัดในสภาวะนิพพาน จะคุยกันรู้เรื่องไหม



อ้างคำพูด:
cantona_z เขียน:


ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าสอนสามารถอธิบายโดยนัยยะหลายๆแบบครับ
ทั้งคร่อมภพชาติและชั่วขณะจิต




ช่วยอธิบาย และนำลิงค์มาแนบ ด้วยได้ไหม
อย่าไปหยิบยกมาเพียงบางข้อความ แล้วไม่มีการแนบ ที่มาของสิ่งที่หยิบยกมา
เพราะ วลัยพรจะอ่านข้อความ จากที่มาทั้งหมด ไม่ใช่แค่ที่หยิบยกนำมาวางไว้


ด้่วยตรรกะเดียวกับเรื่องนิพพานด้านบน
เราก็อย่าพูดเรืองปฏิจจสมุปบาทดีไหมครับ
เพราะจะพูดถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติหรือชั่วขณะจิตไปทำไม?
ในเมื่อคนที่จะรุ้ชัดปฏิจจสมุปบาทนั้นต้องเป็นชั้นโสดาบันขึ้นไป
ผมน่ะเป็นปุถุชนแน่ และคุณวลัยพรเป็นโสดาบันหรือครับ

อธิบายยังไงๆ ก็แค่นั้นเอง

ในเมื่อไม่ใช่ทั้งคู่ อย่าพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาทกันดีกว่ากระมังครับ




เรื่องพระไตรปิฎก ที่คุณถามมา ไม่เป็นไร วันใดวันหนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม คุณจะแยกแยะพระไตรปิฎก ตามพระไตรปิฎกที่มีอยู่จริง กับ สิ่งที่นำมาอธิบาย คำสอนของพระพุทธเจ้า ในแต่ละประโยค ของคำเรียกนั้นๆ ซึ่งใช้คำว่า พระไตรปิฎก

ความต่างกัน อยู่ตรงนี้แหละ


เรื่องโสดาบัน ที่คุณนำมาพูด

นั่นก็ ท่องจำมาเหมือนกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
ไหงงั้น จึงกลับกลายเป็นเช่นนี้ไปได้

สิ่งที่ก่อ ให้เกิดการกระทำ ได้แก่ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับ มโนกรรม


ความไม่รู้ชัดในผัสสะพูดง่ายๆคืออวิชชาถูกไหมครับ
คุณวลัยพรเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ แค่เห็นเฉยๆ เกิดผัสสะไหมครับ
คุณวลัยพรยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังมีอวิชชาไหมครับ
ถ้างั้นการมองเห็นจอคอมพิวเตอร์เป็นกรรมไหมครับ

กรรมจะเป็นกรรมได้ต้องมีเจตนาครับ ไม่ได้มีแค่ผัสสะครับ


ผัสสะของพระเสขะและของปุถุชน เมื่อเกิดแล้วจะเป็นกรรมเสมอไป
สิ่งที่ทำให้เกิดผัสสะได้ จะต้องมีวิญญานเป็นหลัก
ในขณะที่มีการสัมผัส ถ้าวิญญานไปไปรู้ถึงการสัมผัสนั้น
ผัสสะก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ตัวอย่างในขณะที่เราคิดอะไรเพลินๆ มีคนเรียกแต่เราไม่ได้ยิน
ทั้งๆที่คนนั่งข้างๆกลับได้ยิน เป็นเพราะวิญญานไปอยู่ที่มโนทวาร

ถึงแม้จะมีเสียงมากระทบที่ปสาทหูแล้วก็ตาม
ลักษณะนี้จะเกิดกรรมขึ้นในส่วนของความคิด แต่ที่เป็นเสียงไม่เกิดเป็นกรรม

อย่าลืมว่า เกิดวิญญานไปรู้การกระทบหรือสัมผัส ย่อมเกิดกรรมแล้ว
แต่เป็นเฉพาะพระเสขะและปุถุชน ยกเว้นพระอรหันต์

ถ้าพูดในลักษณะของจิต กรรมที่ว่านี่แหล่ะก่อให้เกิดเจตนา ไม่ใช่เจตนาก่อให้เกิดกรรม
ส่วนเจตนาที่ก่อให้เกิดกรรม เป็นเรื่องของมโนสังขาร กายสังขาร จวีสังขาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 19:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรื่องพระไตรปิฎก ที่คุณถามมา ไม่เป็นไร วันใดวันหนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม คุณจะแยกแยะพระไตรปิฎก ตามพระไตรปิฎกที่มีอยู่จริง กับ สิ่งที่นำมาอธิบาย คำสอนของพระพุทธเจ้า ในแต่ละประโยค ของคำเรียกนั้นๆ ซึ่งใช้คำว่า พระไตรปิฎก

ความต่างกัน อยู่ตรงนี้แหละ


ขอบคุณที่แนะนำครับ

อ้างคำพูด:
เรื่องโสดาบัน ที่คุณนำมาพูด

นั่นก็ ท่องจำมาเหมือนกัน



ท่องจำแน่ซะยิ่งกว่าแน่ครับ
ผมยังปุถุชนครับ


อ้อ
ตกลงพระอนุรุธาจารย์ไปเกี่ยวอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

อ้างคำพูด:
ไม่ต้องเป็นพระอรหันต์หรอก เรื่องที่ว่า ไม่ก่อให้เกิดกรรม

ถึงแม้จะรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น หากยังมีกิเลสอยู่ มโนกรรม ย่อมมีเกิดขึ้นได้
ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)

และไม่เป็นทั้งกุศล อกุศล หากไม่มีเหตุปัจจัย กับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)


รู้ชัดในผัสสะของคุณวลัยพรหมายถึงอะไรครับ
ในความหมายที่ผมเข้าใจ
การรู้ชัดหมายถึงรู้เหตุ รู้ปัจจัย รู้ชัดว่าสภาวะธรรมนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน บังคับควบคุมไม่ได้
รู้แบบที่ปัญญาเกิดขึ้นมารู้ทัน ไม่ใช่รู้แบบจำได้จากการศึกษา


ที่คุณพูดมามันเป็นเรื่องของ โยนิโสฯน้อมนำเอาปัญญามาพิจารณาขันธ์ห้า
มันเป็นส่วนหนึ่งของธัมมานุปัสสนาฯ

ก็พูดแบบนี้แหล่ะ มันเป็นการจำมาพูด เพราะมันผิดๆถูกๆ :b32:

cantona_z เขียน:

ดังนั้นการรู้ชัดในสภาวะธรรมที่ผมเข้าใจคือ เกิดปัญญารู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทขึ้นแล้ว
อย่างน้อยก็ต้องเข้าวิปัสสนาญาณขั้นกลางไปแล้วครับ

ส่วนที่บอกว่าหากมีกิเลสมโนกรรมเกิดขึ้นได้ อันนี้เห็นด้วยครับ
แต่คำว่าหากไม่มีเหตปัจจัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เข้าใจความหมายครับ


การรู้ชัดในสภาวธรรมคือการรู้แจ้งในสังขาร(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)
มันไม่ใช่รู้แจ้งปฏิจจสมุปบาท
การจะรู้แจ้งปฏิจจฯ จะต้องละสังโยชน์ให้ได้เสียก่อน
ที่พูดมาเป็นคนล่ะเรื่อง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 20:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้เป็นส่วนที่ติดคุณวลัยพรไว้ครับ เรื่องปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติ
ท่องจำมาเอ๊ย ไม่ได้ท่องจำ อันนี้ลอกมาครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 130&Z=1218
Quote Tipitaka:
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ
เป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ



และอีกอันนึง ครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A%B9%B8%D4
Quote Tipitaka:
[๕๑๙] ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ-
*มหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘
ประการเป็นไฉน ฯ
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
*ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูล
เป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล เป็นสห-
*ชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
อกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นอัพยากฤต
เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ก็มีนามรูป
ในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
*ปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
*ปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
วิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๘ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นวิปปยุตตปัจจัย กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล
เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอแทรกนิดหนึ่งน่ะค่ะ คุณน้ำค่ะศึกษาธรรมะกับปฎิบัติธรรม
แตกต่างกันอย่างไรค่ะ แล้วถ้าจะศึกษาธรรมมะ
ต้องเริ่มต้นจากตรงไหนค่ะ :b8:
ขอคำอธิบายยาวๆ แบบคุณโฮฮับน่ะค่ะ :b12: :b41: :b55: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อันนี้เป็นส่วนที่ติดคุณวลัยพรไว้ครับ เรื่องปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติ
ท่องจำมาเอ๊ย ไม่ได้ท่องจำ อันนี้ลอกมาครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 130&Z=1218
Quote Tipitaka:
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ
เป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ



และอีกอันนึง ครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A%B9%B8%D4
Quote Tipitaka:
[๕๑๙] ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ-
*มหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘
ประการเป็นไฉน ฯ
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
*ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูล
เป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล เป็นสห-
*ชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
อกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นอัพยากฤต
เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ก็มีนามรูป
ในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
*ปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
*ปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
วิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๘ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นวิปปยุตตปัจจัย กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล
เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ ฯ




ที่คุณนำมาแสดงทั้งหมดนั้น ไม่ใช่พระไตรปิฎก ที่เป็นพุทธวจนะ

แต่เป็นพระไตรปิฎก ตัดแต่ง ตามทิฏฐิ ของผู้เขียน

พระไตรปิฎกประเภทนี้ ที่มีคนนำคำแปลของผู้อื่น มาสอดแทรกลงไว้ โดยใช้ชื่อว่า พระไตรปิฎก

วลัยพรจะเรียกว่า พระไตรปิฎกประเภทนี้ว่า พระไตรปิฎกยัดไส้ หรือ การทำสัทธรรมปฏิรูป

เอาเป็นว่า ขนาดพระไตรปิฎก คุณยังแยกแยะไม่ได้ว่า ฉบับไหน ที่เป็นพุทธวจนะ ฉบับไหน สอดไส้

คงคุยกันไม่ตรงประเด็นนะคะ เพราะที่วลัยพรสนทนา มุ่งคำสอน พระพุทธเจ้า เป็นหลักค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือชีวืต

ปฏิจจจสมุปบาท ก็เรื่องของชีวิต ท่านแยกเป็นสองสาย สายที่ ๑ ปฏิจจสมุปบาท สมุัทัยวาร (เกิดทุกข์ -ทุกข์ของชีวิต) สายที่ ๒ ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร (ดับทุกข์ - ดับทุกข์ของชีวิต) :b1: :b32:

เป็นสภาวธรรมทั้งนั้นเนี่ยะ ท่านไม่พูดถึงสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาเลยนะเนี่ย คิกๆๆ สภาวะล้วนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือชีวืต

ปฏิจจจสมุปบาท ก็เรื่องของชีวิต ท่านแยกเป็นสองสาย สายที่ ๑ ปฏิจจสมุปบาท สมุัทัยวาร (เกิดทุกข์ -ทุกข์ของชีวิต) สายที่ ๒ ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร (ดับทุกข์ - ดับทุกข์ของชีวิต) :b1: :b32:

เป็นสภาวธรรมทั้งนั้นเนี่ยะ ท่านไม่พูดถึงสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาเลยนะเนี่ย คิกๆๆ สภาวะล้วนๆ


วงจรแห่งปฏิจจสมุปบาทก็ดี กฎแห่งไตรลักษณ์ก็ดี รวมอยู่ที่ชีวิตนี้จะดับทุกข์ต้องดับที่นี่ :b1:


ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕ หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ ที่จะมาเป็นเจ้าของหรือควรคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาเอาขันธ์ ๕ เป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ


ชีวิต เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปัจจสมุปบาท คือมีอยู่ในรูปเป็นกระแสแห่งปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป พร้อมกับที่ปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆกัน ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผล และคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน



ในภาวะเช่นนี้ ชีวิตหรือขันธ์ ๕ จึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดดับเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีที่เป็นตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัว จะเข้ายึดครองเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความปรารถนาของตนจริงจังไม่ได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้น และสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้และยึดติดถือมั่น


กระบวนการแห่งชีวิต ซึ่งดำเนินไปพร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกขณะ โดยไม่มีส่วนที่เป็นตัวเป็นตนคงที่อยู่นี้ ย่อมเป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์แก่กันล้วนๆ ตามวิถีทางแห่งธรรมชาติของมัน


แต่ในกรณีของชีวิตมนุษย์ปุถุชน ความฝืนกระแสจะเกิดขึ้น โดยที่จะมีความหลงผิดเกิดขึ้น และยึดเอารูปปรากฎของกระแส หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของกระแส ว่าเป็นตัวตน และปรารถนาให้ตัวตนนั้นมีอยู่ หรือเป็นไปในรูปใดรูปหนึ่ง ในเวลาเดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในกระแส ก็ขัดแย้งต่อความปรารถนา เป็นการบีบคั้น และเร่งเร้าให้เกิดความยึดอยากรุนแรงยิ่งขึ้น ความดิ้นรนหวังให้มีตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง และให้ตัวตนนั้นเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้คงที่เที่ยงแท้ถาวรอยู่ในรูปที่ต้องการก็ดี ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อไม่เป็นไปตามที่ยึดอยาก ความบีบคั้นก็ยิ่งแสดงผลเป็นความผิดหวัง ความทุกข์ความคับแค้นรุนแรงขึ้นตามกัน


พร้อมกันนั้น ความตระหนักรู้ในความจริงอย่างมัวๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน และตัวตนที่ตนยึดอยู่ อาจไม่มี หรืออาจสูญสลายไปเสีย ก็ยิ่งความยึดอยากให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น พร้อมกับความกลัว ความประหวั่นพรั่นพรึง ก็เข้าแฝงตัวร่วมอยู่ด้วยอย่างลึกซึ้ง และสลับซับซ้อน ภาวะจิตเหล่านี้ ก็คือ อวิชชา (ความไม่รู้ตามเป็นจริงหลงผิดว่ามีตัวตน) ตัณหา (ความอยากให้ตัวตนที่หลงว่ามีนั้นได้ เป็น หรือไม่เป็น ต่างๆ) อุปาทาน (ความยึดถือผูกตัวตนในความหลงผิดนั้นไว้กับสิ่งต่างๆ) กิเลสเหล่านี้ แฝงลึกซับซ้อนอยู่ในจิตใจ และเป็นตัวคอยบังคับบัญชาพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลให้เป็นไปต่างๆ ตามอำนาจของมัน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ตลอดจนเป็นตัวหล่อหลอมบุคลิกภาพ และมีบทบาทสำคัญในการชี้ชะตากรรมของบุคคลนั้นๆ กล่าวในวงกว้าง มันเป็นที่มาแห่งความทุกข์ของมนุษย์ปุถุชนทุกคน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
:b8: ขอแทรกนิดหนึ่งน่ะค่ะ คุณน้ำค่ะศึกษาธรรมะกับปฎิบัติธรรม
แตกต่างกันอย่างไรค่ะ แล้วถ้าจะศึกษาธรรมมะ
ต้องเริ่มต้นจากตรงไหนค่ะ :b8:
ขอคำอธิบายยาวๆ แบบคุณโฮฮับน่ะค่ะ :b12: :b41: :b55: :b47:




ที่คุณเต้ ถามมาว่า ศึกษาธรรมะ กับ ปฏิบัติธรรม แตกต่างกันอย่างไร

การศึกษาธรรม และ ปฏิบัติธรรม ไม่มีความแตกต่าง

เพราะ การศึกษาธรรม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรม ก็เป็นการศึกษาธรรม

คือ กายและจิต นี่เอง




ที่ทำให้แตกต่าง คือ

แตกต่างตรงเรื่อง เหตุปัจจัยที่ทำมา(อดีต)
และ เหตุที่กระทำให้เกิด ขึ้นใหม่ ((มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม) )
ณ ปัจจุบัน ขณะ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


เหตุปัจจัยที่ทำมา หมายถึง เราไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่า เกิดมานานเท่าไหร่แล้ว
เคยปฏิบัติ หรือ เคยศึกษาปริยัติ มาบ้างไหม?


เหตุที่กระทำขึ้นใหม่ ณ ปัจจุบัน ขณะ หมายถึง ทุกๆขณะ ที่ผัสสะเกิดขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆนานา มีทั้งดีและไม่ดี(มโนกรรม)

เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่ ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้นว่า ทำไม สิ่งๆนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงไม่หยุดอยู่ที่ความคิด แต่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป
ให้เกิดการสร้างเหตุออกไป ทางวจีกรรม กายกรรม

ซึ่งมีผลกระทบกลับมา ให้ได้รับทั้งใชีวิต(สุข ทุกข์)
และ มีผลกระทบ ต่อการปฏิบัติ(นิวรณ์)



ที่คุณเต้ ถามว่า ถ้าศึกษาธรรม ต้องเริ่มต้นจากตรงไหน

ตรงไหนก็ได้ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์ ท่านแบ่งเป็น ๒ แบบ หรือ ๒ สาย

-สายที่หนึ่ง แสดงการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ ๒ คือ สมุทัยอริยสัจ

- สายที่สอง แสดงการดับไปแห่งทุกข์ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ ๓ คือ นิโรธอริยสัจ

โดยสรุป แสดงกระบวนธรรม ๒ สาย คือ

๑. สมุทัย = ปฏิจจสมุปบาท สมุทัยวาร: อวิชชา => สังขาร => วิญญาณ ฯลฯ => ชาติ => ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส = เกิดทุกข์

๒. นิโรธ = ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร: อวิชชาดับ => สังขารดับ => วิญญาณดับ ฯลฯ => ชาติดับ => ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ดับ = ดับทุกข์

การที่จะแสดงสมุทัย ก็เพราะมีทุกข์เป็นตัวปัญหา เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ต้องสืบค้นหาสาเหตุ ดังนั้น ได้บรรยายเรื่องสภาวธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา คือ ความทุกข์นั้นไว้แต่ต้น

ส่วนนิโรธก็มีความหมายกว้าง นอกจากหมายถึงกระบวนการที่จะทำให้ทุกข์ดับ คือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวารแล้ว ยังกินความถึงนิพพานที่เป็นภาวะดับทุกข์ หรือภาวะไร้ทุกข์ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 23:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่คุณนำมาแสดงทั้งหมดนั้น ไม่ใช่พระไตรปิฎก ที่เป็นพุทธวจนะ

แต่เป็นพระไตรปิฎก ตัดแต่ง ตามทิฏฐิ ของผู้เขียน

พระไตรปิฎกประเภทนี้ ที่มีคนนำคำแปลของผู้อื่น มาสอดแทรกลงไว้ โดยใช้ชื่อว่า พระไตรปิฎก

วลัยพรจะเรียกว่า พระไตรปิฎกประเภทนี้ว่า พระไตรปิฎกยัดไส้ หรือ การทำสัทธรรมปฏิรูป

เอาเป็นว่า ขนาดพระไตรปิฎก คุณยังแยกแยะไม่ได้ว่า ฉบับไหน ที่เป็นพุทธวจนะ ฉบับไหน สอดไส้

คงคุยกันไม่ตรงประเด็นนะคะ เพราะที่วลัยพรสนทนา มุ่งคำสอน พระพุทธเจ้า เป็นหลักค่ะ




ที่ผมยกมาไม่ใช่พุทธวจนะครับ
เป็นคำสอนพระสารีบุตรที่ถ่ายทอดให้พระอานนท์ตั้งแต่ครั้งพระอานนท์ยังอุปัฏฐากพระศาสดาอยู่
เรียกว่าปฏิสัมภิทามรรคครับ
คำสอนนี้เกิดขี้นก่อนพระศาสดาปรินิพพานครับ
และพระอานนท์ได้มุขปาฐะให้พระเถระ500 ในครั้งปฐมสังคายนา

ก็เป็นทิฏฐิของคุณวลัยพรนั่นเองที่เห็น
คำสอนพระอริยเจ้าระดับพระสารีบุตรที่มีปัญญารองจากพระพุทธเจ้าผู้ที่พระองค์กล่าวยกย่องไว้มากมาย
ว่าเป็นพระไตรปิฏกยัดไส้หรือสัทธรรมปฏิรูปไปเสีย

ผมขอถือโอกาสในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมเว็บว่า(ไม่ได้แช่งนะครับ)
หากคำสอนนี้ไม่ใช่ปฏิสัมภิทามรรคดั้งเดิมก็ถือว่าโชคดีครับ
หากเป็นปฏิสัมภิทามรรรคดั้งเดิมจริง
กรรมนี้อาจเข้าขั้นอริยุปวาทมรรคผลที่ต้องการอาจไม่มีวันถึงในชาตินี้
ถ้าอย่างไรขอให้ลองพิจารณาดูดีๆสักครั้งนะครับ

อย่างไรก็เป็นสิทธิ์ของคุณวลัยพรครับ ผมไม่เกี่ยว

แต่เอ ปฏิจจสมุปบาทข้ามชาติภพเป็นเรื่องแต่งใหม่สำหรับคุณวลัยพรเหมือนกันไช่ไหมครับ
งั้นคงไม่เป็นไรหรอกครับ

ส่วนเรื่องพระอภิธรรมไปเกี่ยวอะไรกับพระไตรปิฏกแต่งใหม่
และเรื่องพระอนุรุทธาจารย์ไปเกี่ยวอะไรกับศัพท์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธกาลที่ผมถามไว้
ดูจากคำตอบนี้แล้วผมพอจะรับทราบระดับและทิฏฐิคุณวลัยพรได้พอสมควรแล้ว
ก็เป็นอันว่าคำถามเรื่องพระไตรปิฏกไม่ต้องตอบแล้วครับ
ผมจะพยายามไม่ถามเพิ่มด้วยเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อันนี้เป็นส่วนที่ติดคุณวลัยพรไว้ครับ เรื่องปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติ
ท่องจำมาเอ๊ย ไม่ได้ท่องจำ อันนี้ลอกมาครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 130&Z=1218
Quote Tipitaka:
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ
เป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร
ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ



และอีกอันนึง ครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A%B9%B8%D4
Quote Tipitaka:
[๕๑๙] ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ-
*มหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘
ประการเป็นไฉน ฯ
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
*ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูล
เป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล เป็นสห-
*ชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
อกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นอัพยากฤต
เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ก็มีนามรูป
ในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
*ปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
*ปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
วิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๘ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ...
เป็นวิปปยุตตปัจจัย กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล
เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ ฯ





cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ที่คุณนำมาแสดงทั้งหมดนั้น ไม่ใช่พระไตรปิฎก ที่เป็นพุทธวจนะ

แต่เป็นพระไตรปิฎก ตัดแต่ง ตามทิฏฐิ ของผู้เขียน

พระไตรปิฎกประเภทนี้ ที่มีคนนำคำแปลของผู้อื่น มาสอดแทรกลงไว้ โดยใช้ชื่อว่า พระไตรปิฎก

วลัยพรจะเรียกว่า พระไตรปิฎกประเภทนี้ว่า พระไตรปิฎกยัดไส้ หรือ การทำสัทธรรมปฏิรูป

เอาเป็นว่า ขนาดพระไตรปิฎก คุณยังแยกแยะไม่ได้ว่า ฉบับไหน ที่เป็นพุทธวจนะ ฉบับไหน สอดไส้

คงคุยกันไม่ตรงประเด็นนะคะ เพราะที่วลัยพรสนทนา มุ่งคำสอน พระพุทธเจ้า เป็นหลักค่ะ




ที่ผมยกมาไม่ใช่พุทธวจนะครับ
เป็นคำสอนพระสารีบุตรที่ถ่ายทอดให้พระอานนท์ตั้งแต่ครั้งพระอานนท์ยังอุปัฏฐากพระศาสดาอยู่
เรียกว่าปฏิสัมภิทามรรคครับ
คำสอนนี้เกิดขี้นก่อนพระศาสดาปรินิพพานครับ
และพระอานนท์ได้มุขปาฐะให้พระเถระ500 ในครั้งปฐมสังคายนา

ก็เป็นทิฏฐิของคุณวลัยพรนั่นเองที่เห็น
คำสอนพระอริยเจ้าระดับพระสารีบุตรที่มีปัญญารองจากพระพุทธเจ้าผู้ที่พระองค์กล่าวยกย่องไว้มากมาย
ว่าเป็นพระไตรปิฏกยัดไส้หรือสัทธรรมปฏิรูปไปเสีย

ผมขอถือโอกาสในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมเว็บว่า(ไม่ได้แช่งนะครับ)
หากคำสอนนี้ไม่ใช่ปฏิสัมภิทามรรคดั้งเดิมก็ถือว่าโชคดีครับ
หากเป็นปฏิสัมภิทามรรรคดั้งเดิมจริง
กรรมนี้อาจเข้าขั้นอริยุปวาทมรรคผลที่ต้องการอาจไม่มีวันถึงในชาตินี้
ถ้าอย่างไรขอให้ลองพิจารณาดูดีๆสักครั้งนะครับ

อย่างไรก็เป็นสิทธิ์ของคุณวลัยพรครับ ผมไม่เกี่ยว

แต่เอ ปฏิจจสมุปบาทข้ามชาติภพเป็นเรื่องแต่งใหม่สำหรับคุณวลัยพรเหมือนกันไช่ไหมครับ
งั้นคงไม่เป็นไรหรอกครับ

ส่วนเรื่องพระไตรปิฏกแต่งใหม่ที่ผมถามไว้
ดูจากคำตอบนี้แล้วผมพอจะรับทราบระดับและทิฏฐิคุณวลัยพรได้พอสมควรแล้ว
ก็เป็นอันว่าคำถามเรื่องพระไตรปิฏกไม่ต้องตอบแล้วครับ
ผมจะพยายามไม่ถามเพิ่มด้วยเช่นกัน





ลิงค์ที่คุณนำมาน่ะ เป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค

แต่คนที่นำมาลง ต่างหาก ที่นำไปโพสทำนองว่า เป็นพระไตรปิฎก
เพราะคุณไม่รู้ จึงคิดว่า เป็นพระไตรปิฎก ก็หน้าที่แสดงอยู่ เขียนไว้อย่างนั้น

แถมคนที่นำมาลง ก็ไม่นำมาลงทั้งหมด เอาแค่ถูกใจตน

ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้มีการแก้ไข เพิ่มเติม กลับไม่นำมาลง


วลัยพรก็มีอยู่ หนังสือเล่มนี้ ข้อความที่คุณนำมาโพส ตามลิงค์น่ะ ในหนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็มี

คุณน่ะกล่าวตู่เอาเองว่า เป็นคำสอนพระสารีบุตรที่ถ่ายทอดให้พระอานนท์

ถ้าอยากรู้ หาในกูเกิ้ลสิ มีอยู่ วลัยพรไม่แนบลิงค์ให้ อยากให้คุณหาเอง


ลักษณะพระไตรปิฎก ที่พระอานนท์พูด ส่วนมากขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้า ได้สดับมาดังนี้

หรือ ถ้าเป็นพระสารีบุตร สนทนากับใคร จะมีชื่อย่อ เช่น ถ้าเป็นพระอานนท์ จะย่อว่า อา.

พระพุทธเจ้า จะย่อว่า พ. พระสารีบุตร จะย่อว่า สา.

แต่ ก็เชื่อไม่ได้ทั้งหมด เพราะ พระไตรปิฎกในกูเกิ้ล ส่วนมาก จะแอบนำคำสอนพระพุทธเจ้า แล้วนำคำอธิบาย ที่คิดว่าใช่(จากที่อื่น) สอดแทรกลงไป

ควรอ่านพระไตรปิฎก เป็นเล่ม ที่มีอยู่จริง ไม่ใช่หาอ่านในกูเกิ้ลอย่างเดียว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2014, 00:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลิงค์ที่คุณนำมาน่ะ เป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แต่คนที่นำมาลง ต่างหาก ที่นำไปโพสทำนองว่า เป็นพระไตรปิฎก
เพราะคุณไม่รู้ จึงคิดว่า เป็นพระไตรปิฎก ก็หน้าที่แสดงอยู่ เขียนไว้อย่างนั้น
แถมคนที่นำมาลง ก็ไม่นำมาลงทั้งหมด เอาแค่ถูกใจตน
ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้มีการแก้ไข เพิ่มเติม กลับไม่นำมาลง

วลัยพรก็มีอยู่ หนังสือเล่มนี้ ข้อความที่คุณนำมาโพส ตามลิงค์น่ะ ในหนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็มี
คุณน่ะกล่าวตู่เอาเองว่า เป็นคำสอนพระสารีบุตรที่ถ่ายทอดให้พระอานนท์
ถ้าอยากรู้ หาในกูเกิ้ลสิ มีอยู่ วลัยพรไม่แนบลิงค์ให้ อยากให้คุณหาเอง




ผมไม่ได้กล่าวตู่ครับ ไปเช็คดูให้ทั่วถึง
ปฏิสัมภิทามรรคครับ ไม่ใช่วิสุทธิมรรค
บทที่กล่าวมา เป็นเรื่องของญาณที่กำหนดเหตุปัจจัยในปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียด
เรียกว่าธรรมฐิติญาณ
เป็นญาณสำคัญในญานวัตถุ 77 ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ด้วย
พระสารีบุตรท่านจึงนำมาอธิบายโดยละเอียดในปฏิสัมภิทามรรค
ถ้าจะปรากฏในวิสุทธิมรรคก็ไม่แปลก
เพราะพระพุทธโฆสะท่านก็หยิบเอาปฏิสัมภิทามรรคมาใช้อธิบายออกจะบ่อยครับ

แต่หนังสือสองเล่มนี้ต่างกันเกือบพันปีครับ ไล่ลำดับดูให้ดีก่อนจะออกตัวแรง
อริยุปวาทไม่สนุกนะครับ สำหรับนักปฏิบัติ




อ้างคำพูด:
ลักษณะพระไตรปิฎก ที่พระอานนท์พูด ส่วนมากขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้า ได้สดับมาดังนี้
หรือ ถ้าเป็นพระสารีบุตร สนทนากับใคร จะมีชื่อย่อ เช่น ถ้าเป็นพระอานนท์ จะย่อว่า อา.
พระพุทธเจ้า จะย่อว่า พ. พระสารีบุตร จะย่อว่า สา.
แต่ ก็เชื่อไม่ได้ทั้งหมด เพราะ พระไตรปิฎกในกูเกิ้ล ส่วนมาก จะแอบนำคำสอนพระพุทธเจ้า แล้วนำคำอธิบาย ที่คิดว่าใช่(จากที่อื่น) สอดแทรกลงไป

ควรอ่านพระไตรปิฎก เป็นเล่ม ที่มีอยู่จริง ไม่ใช่หาอ่านในกูเกิ้ลอย่างเดียว



ลักษณะพระไตรปิกเป็นเช่นนั้นจริง แต่ไม่ทุกครั้งครับ
อย่าพึงเข้าใจว่า หากไม่มี ภิกขุเว ดุกรภิกษุทั้งหลายนำหน้า แปลว่าไม่ใช่พุทธพจน์
หากไม่มี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้. แปลว่าคนเล่าพระไตรปิฏกส่วนนี้ไม่ใช่พระอานนท์

ดูท่าทางขนาดปฏิสัมภิทามรรคไม่เอา พวกนิเทสเถรภาษิตกับอรรถกถาคงไม่ต้องพูดถึงสินะครับ

กถาในปฏิสัมภิทามรรคเกี่ยวกับสติปัฏฐานและอานาปานสติขยายความเรื่องการพิจารณาธรรมไว้ดีมาก
เรียกว่าไขข้อข้องใจในการเจริญสติได้มากทีเดียว

น่าเสียดายนะครับ

ย้ำอีกทีครับ ระวังพลาดนะครับ
อริยุปวาท ขอขมาได้นะครับ รีบเช็ครีบทำ จะเป็นการดี
ไม่ยากหรอกครับ เดินเข้าวัดเปิดพระไตรปิฏกฉบับ hard copy ว่ามีอย่างผมว่าจริงไหม
ส่วนเรื่องที่ให้เช็คใน google ไม่เป็นไรครับ
เผอิญผมมี ทั้ง สยามรัฐ จุฬา แล้วก็มหามงกุฏ และได้เช็คเรียบร้อยแล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2014, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
ลิงค์ที่คุณนำมาน่ะ เป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แต่คนที่นำมาลง ต่างหาก ที่นำไปโพสทำนองว่า เป็นพระไตรปิฎก
เพราะคุณไม่รู้ จึงคิดว่า เป็นพระไตรปิฎก ก็หน้าที่แสดงอยู่ เขียนไว้อย่างนั้น
แถมคนที่นำมาลง ก็ไม่นำมาลงทั้งหมด เอาแค่ถูกใจตน
ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้มีการแก้ไข เพิ่มเติม กลับไม่นำมาลง

วลัยพรก็มีอยู่ หนังสือเล่มนี้ ข้อความที่คุณนำมาโพส ตามลิงค์น่ะ ในหนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็มี
คุณน่ะกล่าวตู่เอาเองว่า เป็นคำสอนพระสารีบุตรที่ถ่ายทอดให้พระอานนท์
ถ้าอยากรู้ หาในกูเกิ้ลสิ มีอยู่ วลัยพรไม่แนบลิงค์ให้ อยากให้คุณหาเอง




ผมไม่ได้กล่าวตู่ครับ ไปเช็คดูให้ทั่วถึง
ปฏิสัมภิทามรรคครับ ไม่ใช่วิสุทธิมรรค
บทที่กล่าวมา เป็นเรื่องของญาณที่กำหนดเหตุปัจจัยในปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียด
เรียกว่าธรรมฐิติญาณ
เป็นญาณสำคัญในญานวัตถุ 77 ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ด้วย
พระสารีบุตรท่านจึงนำมาอธิบายโดยละเอียดในปฏิสัมภิทามรรค
ถ้าจะปรากฏในวิสุทธิมรรคก็ไม่แปลก
เพราะพระพุทธโฆสะท่านก็หยิบเอาปฏิสัมภิทามรรคมาใช้อธิบายออกจะบ่อยครับ

แต่หนังสือสองเล่มนี้ต่างกันเกือบพันปีครับ ไล่ลำดับดูให้ดีก่อนจะออกตัวแรง
อริยุปวาทไม่สนุกนะครับ สำหรับนักปฏิบัติ




อ้างคำพูด:
ลักษณะพระไตรปิฎก ที่พระอานนท์พูด ส่วนมากขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้า ได้สดับมาดังนี้
หรือ ถ้าเป็นพระสารีบุตร สนทนากับใคร จะมีชื่อย่อ เช่น ถ้าเป็นพระอานนท์ จะย่อว่า อา.
พระพุทธเจ้า จะย่อว่า พ. พระสารีบุตร จะย่อว่า สา.
แต่ ก็เชื่อไม่ได้ทั้งหมด เพราะ พระไตรปิฎกในกูเกิ้ล ส่วนมาก จะแอบนำคำสอนพระพุทธเจ้า แล้วนำคำอธิบาย ที่คิดว่าใช่(จากที่อื่น) สอดแทรกลงไป

ควรอ่านพระไตรปิฎก เป็นเล่ม ที่มีอยู่จริง ไม่ใช่หาอ่านในกูเกิ้ลอย่างเดียว



ลักษณะพระไตรปิกเป็นเช่นนั้นจริง แต่ไม่ทุกครั้งครับ
อย่าพึงเข้าใจว่า หากไม่มี ภิกขุเว ดุกรภิกษุทั้งหลายนำหน้า แปลว่าไม่ใช่พุทธพจน์
หากไม่มี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้. แปลว่าคนเล่าพระไตรปิฏกส่วนนี้ไม่ใช่พระอานนท์

ดูท่าทางขนาดปฏิสัมภิทามรรคไม่เอา พวกนิเทสเถรภาษิตกับอรรถกถาคงไม่ต้องพูดถึงสินะครับ

กถาในปฏิสัมภิทามรรคเกี่ยวกับสติปัฏฐานและอานาปานสติขยายความเรื่องการพิจารณาธรรมไว้ดีมาก
เรียกว่าไขข้อข้องใจในการเจริญสติได้มากทีเดียว

น่าเสียดายนะครับ

ย้ำอีกทีครับ ระวังพลาดนะครับ
อริยุปวาท ขอขมาได้นะครับ รีบเช็ครีบทำ จะเป็นการดี
ไม่ยากหรอกครับ เดินเข้าวัดเปิดพระไตรปิฏกฉบับ hard copy ว่ามีอย่างผมว่าจริงไหม
ส่วนเรื่องที่ให้เช็คใน google ไม่เป็นไรครับ
เผอิญผมมี ทั้ง สยามรัฐ จุฬา แล้วก็มหามงกุฏ และได้เช็คเรียบร้อยแล้วครับ





เป็นเอามาก :b6:


พูดไป สองไพเบี้ย นิ่งเสีย ตำลึงทอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron