วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2014, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พุทธคุณไม่แน่ใจ ถามตัวเองบ่อยๆเวลาเกิดอาการดังต่อไปนี้
แต่ไม่แน่ใจว่าอารมณ์แบบนี้เรียกว่าอะไร อยากจะกราบขอความ
กรุณาจากท่านสมาชิกที่เคยมีประสพการณ์แบบเดียวกัน หรือ
ท่านสมาชิกที่รู้ช่วยให้คำแนะนำด้วยนะครับ

คืออารมณ์ประมาณว่า มีอารมณ์เกิดความสุขขึ้นในใจ เป็นอารมณ์
ที่อธิบายไม่ได้นะครับ แต่อยู่ดีๆก็รู้สึกมีความสุข บางครั้งเงินก็ไม่มี
ถูกกดดันจากหลายๆเรื่อง ปัญหาข้างหน้ามากมาย แต่พอกลับมาถึง
บ้านก็วางสิ่งต่างๆไว้หมด(แต่ไม่ได้ลืมนะ แค่วางไว้ชั่วคราว) นั่ง
จิบชาเพลินๆ มองทุกอย่างในแง่ดี ทุกอย่างสวยงามหมด คือมอง
ตามจริงนะครับ แต่บางครั้งก็แอบมีเพ้อฝันเล็กน้อย แต่สภาพจิต
ตอนนี้ก็สงบ สบาย เหมือไปยืนอยู่หัวเรื่อไททานิคแล้วทำท่าเหมือน
โรสในภาพยนตร์ยังไงยังงั้น แบบนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ

โปรดให้คำแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2014, 19:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
่คำตอบอยู่ตรงนี้ไงครับ

(แต่ไม่ได้ลืมนะ แค่วางไว้ชั่วคราว)

แต่เป็นแค่สุขปลอม เพราะอำนาจความวางหรือจิตว่างไปชั่วครู่ไปบังทุกขังไว้

ถ้าจะให้สุขจริง ต้องเอาใจเป็น กู ที่ยินดีในความสุขนั้นออก ทีนี่สุขจริง ไม่ต้องอิงอะไรเลยครับ เพราะไม่มีใครไปวางหรือไปยกแบกหามอะไรอีก ทุกสิ่งดำเนินไปตามเหตุ ปัจจัยและผลครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2014, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำหลักมาให้ดู



หลักการทั่วไปเกี่ยวกับความสุข ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา หลักการทั่วไป หรือหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนาสำหรับปฏิบัติต่อความสุข มี ๓ หัวข้อ ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามจะมีผล ความเพียรจะมีผลได้อย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑) ไม่เอาทุกข์ทับถมตน ที่ไม่มีทุกข์ทับถม
๒) ไม่ละทิ้งความสุขที่ชอบธรรม
๓) ไม่หมกมุ่นสยบในความสุข แม้ที่ชอบธรรมนั้น

แต่หลักการใหญ่นั้น ไม่ได้จบแค่ ๓ ข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปถึงตอนสำคัญ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้เป็นข้อที่ ๔ ว่า พึงเพียรพยายามกำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป ข้อนี้เป็นเกณฑ์ตัดสินสุดท้าย ที่จะให้ถึงจุดหมาย เพราะจะบรรลุธรรมสูงสุด สิ้นทุกข์สุขสมบูรณ์ ก็ต้องกำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้น

พร้อมกันนั้น การทำความเพียรเพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์นี้ เมื่อว่าตามหลักของการปฏิบัติตามลำดับ ก็พูดได้อีกสำนวนหนึ่งว่า เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสุขที่สูงสุดขึ้นไป จนถึงสุขสูงสุดที่เป็นภาวะอันไร้ทุกข์โดยสิ้นเชิง
ดังนั้น จึงสรุปหลักที่ตรัสซึงจัดได้เป็น วิธีปฏิบัติต่อความสุข ๔ ข้อ ดังนี้

๑. ไม่เอาทุกข์ทับถมตน ที่ไม่เป็นทุกข์
๒. ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม
๓. แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่หมกมุ่นสยบ
๔. เพียรทำเหตุแห่งทุกข์ในหมดสิ้นไป

นี้เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐาน ที่ชาวพุทธจะพึงใช้ปฏิบัติ ในการเกี่ยวข้องกับความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2014, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


พี่เต้ก็เป็นค่ะ พี่เต้ก็เลยคิดว่าพี่เต้คงจะติดสุข จากการที่ชอบทำจิตให้เป็นสมาธิบ่อยๆ
พอปัญหาอะไรเข้ามา จิตจะนิ่ง ถ้าเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ก็วางไว้ก่อน
ถ้าเป็นปัญหาที่แก้ได้ก็รีบทำ ทุกสิ่งทุกอย่างจะได้จบๆกันไป
แต่การติดสุขอย่างนี้ ถ้านานๆต่อไป จะมีปัญหาอะไรหรือปล่าวก็ไม่รู้นะ :b1: :b41: :b55: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2014, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกคนเมื่อยังไม่เข้าถึงความเป็นจริงย่อมติดสุขด้วยกันทั้งนั้น
ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อใดถูกทุกข์เข้าครอบงำแล้ว
เขาเหล่านั้นก็ต้องพยายามแสวงหาความสุขมาทดแทน
เพื่อให้ความทุกข์นั้นหมดไป คือจะต้องแสวงหาความสุขมาเติมตลอดเวลา เช่น

ทางตา ก็ต้องการดูรูปสวยๆงามๆที่เป็นที่พอใจ เช่นว่า สีสวยๆ ท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ฯลฯ
ทางหู ก็ต้องแสวงหาเสียงที่ไพเราะชอบใจ เช่นฟังเพลง ฯลฯ
ทางจมูก ก็ต้องแสวงหากลิ่นที่หอมๆที่ถูกใจ เช่นกลิ่นดอกไม้ น้ำหอม เป็นต้น
ทางลิ้น ก็ต้องแสวงหารสที่อร่อยๆที่ถูกใจมารับทาน เช่นไปหาร้านอาหารที่อร่อยๆ ฯลฯ
ทางกาย ก็ต้องแสวงหา ที่เย็นหรือร้อน อ่อนแข็ง สัมผัสแล้วถูกใจ เป็นต้น
ทางใจ ก็ต้องแสวงหาอารมณ์ที่นึกคิดเรื่องราวต่างๆที่ถูกใจ หรือโดยอาศัยทวารทั้ง ๕ เป็นต้น
ดังจะเห็นได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นการแสวงหาความสุขเพราะเราติดสุขด้วยกันทั้งสิ้นตามทวารต่างๆ

ขอย้ำอีกครั้ง เช่น เมื่อนั่งนานๆก็จะมีอาการปวดเมื่อย เราก็ต้องเปลี่ยนกิริยาบท เปลี่ยนเป็นท่านั่งบ้าง
ยืนบ้าง เดินบ้าง ล้วนแล้วเราก็แสวงหาสุขเพราะเราติดสุข หรือขณะที่นั่งดูทีวีเราดูแล้วเราไม่ถูกใจ
เราก็จะหาช่องที่ถูกใจ เมื่อหาช่องที่ถูกใจไม่ได้เราก็จะปิดทีวี หรือไปหาอะไรกินที่มันอร่อยๆดีกว่า
เหล่านี้เป็นต้น รวมความว่าความสุขที่เราแสวงหาอยู่นี้ก็คงหนีไม่พ้นจาก ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง
กายบ้าง ใจบ้าง คือมันจะไม่นอกจากนี้เลย แต่เราเข้าถึงความจริงของสัจจธรรมแล้วสิ่งเหล่านี้แหละ
ที่เป็นหนทางก้าวเข้าสู่ความสุขที่แท้จริงคือพระนิพพานอย่างไม่ต้องสงสัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2014, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณลุงสมานเขียน


อ้างคำพูด:
ทุกคนเมื่อยังไม่เข้าถึงความเป็นจริงย่อมติดสุขด้วยกันทั้งนั้น
ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อใดถูกทุกข์เข้าครอบงำแล้ว
เขาเหล่านั้นก็ต้องพยายามแสวงหาความสุขมาทดแทน
เพื่อให้ความทุกข์นั้นหมดไป คือจะต้องแสวงหาความสุขมาเติมตลอดเวลา เช่น

ทางตา ก็ต้องการดูรูปสวยๆงามๆที่เป็นที่พอใจ เช่นว่า สีสวยๆ ท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ฯลฯ
ทางหู ก็ต้องแสวงหาเสียงที่ไพเราะชอบใจ เช่นฟังเพลง ฯลฯ
ทางจมูก ก็ต้องแสวงหากลิ่นที่หอมๆที่ถูกใจ เช่นกลิ่นดอกไม้ น้ำหอม เป็นต้น
ทางลิ้น ก็ต้องแสวงหารสที่อร่อยๆที่ถูกใจมารับทาน เช่นไปหาร้านอาหารที่อร่อยๆ ฯลฯ
ทางกาย ก็ต้องแสวงหา ที่เย็นหรือร้อน อ่อนแข็ง สัมผัสแล้วถูกใจ เป็นต้น
ทางใจ ก็ต้องแสวงหาอารมณ์ที่นึกคิดเรื่องราวต่างๆที่ถูกใจ หรือโดยอาศัยทวารทั้ง ๕ เป็นต้น
ดังจะเห็นได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นการแสวงหาความสุขเพราะเราติดสุขด้วยกันทั้งสิ้นตามทวารต่างๆ




ที่คุณลุงเขียนมาทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่ติดสุขในโลกแสงสีค่ะ ต้องมีปัจจัยหนุนด้วยถึงจะสุขได้
แต่บางสิ่งบางอย่าง เงินไม่สามารถที่จะซื้อได้ ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

แต่ถ้าติดสุขทางธรรม ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหา ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ใจเรานี่หล่ะคะ
แค่ลด รัก-โลภ-โกรธ-หลง ลง ความสุขมันก็เกิดได้ทุกเวลาค่ะ
เพราะเหตุที่เราวางมันแล้วไงล่ะ ทุกข์ก็ให้รู้ว่านี่คือทุกข์ จะไปโวยวายโมโห
มันก็ไม่ได้ช่วยให้ทุกข์นั้นมันหายไป มันก็ยังคงอยู่ ในเมื่อทุกข์นั้นมันอยากจะอยู่กับเรา
ก็ปล่อยมันไป เธออยู่ส่วนของเธอ ฉันอยู่ส่วนของฉัน
ทุกวันนี้ตัวเราคิดอย่างนี้ อะไรจะเกิด จะดีหรือร้ายนิ่งอย่างเดียวค่ะ
สำหรับเต้ เต้ติดสุขอย่างนี้ค่ะ :b8: :b41: :b55: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2014, 23:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6:

ไม่...ฉันไม่ติดหรอก สุข น่ะ

ฉันแค่ติดเฟสบุ๊ค ติดLine

ติดลานธรรม

:b14: :b14: :b14:

:b32: :b32: :b32:

คิดมาก ขำ ขำ

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะเป็นอารมณ์ของความทุกข์ที่เจือจางลง เนื่องจากว่าเราอาจจะ

1 ยังเป็นหนุ่มสาว ความทุกข์ทางกายไม่ได้เบียดเบียนอะไรมาก
2 ความทุกข์ทางใจลดน้อยลง อาจจะเป็นเพราะว่าเราปล่อยวางปัญหาลง หรือปัญหาใหญ่ยังไม่กระทบเรามาก บ้านยังอยู่ รถยังอยู่ ไม่มีหนี้สิน ไม่ตกงาน อะไรแบบนี้ครับ

ผมเองปัญหาใหญ่นั้นควบคุมยาก มันบีบคั้นจิตใจจริงๆหากเกิดขึ้น เช่นความกลัวตาย ตอนจะขึ้นเครื่องบิน อารมณ์แบบนี้จะขึ้นมาแล้ว หรือแค่ไปฉีดยา ก็จะเป็นอารมณ์กลัวตาบ จึงแปลกใจว่า ทำไมเราถึงเป็นคนกลัวตายขนาดนี้ คือไม่ได้กลัวจนแบบเสียการเสียงาน แต่อารมณ์ผุดขึ้นมา เราก็รู้แล้วว่า เรานั้นก็ขี้ขลาดเหมือนกัน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่พูดๆกันมายังขาดความเข้าใจ.....เรื่อง สุข

หลายคนอาจเข้าใจไปว่า สุขตรงข้ามกับทุกข์

แต่ในความเป็นจริงหาใช่เช่นนั้นไม่ .....

โดยเนื้อแท้แห่งธรรมแล้ว...ความสุขเป็นเหตุแห่งทุกข์หรือทำให้เกิดทุกข์

ความสุขเป็นกิเลส(สังโยชน์) ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ในอริยสัจจ์ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
พุทธคุณไม่แน่ใจ ถามตัวเองบ่อยๆเวลาเกิดอาการดังต่อไปนี้
แต่ไม่แน่ใจว่าอารมณ์แบบนี้เรียกว่าอะไร อยากจะกราบขอความ
กรุณาจากท่านสมาชิกที่เคยมีประสพการณ์แบบเดียวกัน หรือ
ท่านสมาชิกที่รู้ช่วยให้คำแนะนำด้วยนะครับ

คืออารมณ์ประมาณว่า มีอารมณ์เกิดความสุขขึ้นในใจ เป็นอารมณ์
ที่อธิบายไม่ได้นะครับ แต่อยู่ดีๆก็รู้สึกมีความสุข บางครั้งเงินก็ไม่มี
ถูกกดดันจากหลายๆเรื่อง ปัญหาข้างหน้ามากมาย แต่พอกลับมาถึง
บ้านก็วางสิ่งต่างๆไว้หมด(แต่ไม่ได้ลืมนะ แค่วางไว้ชั่วคราว) นั่ง
จิบชาเพลินๆ มองทุกอย่างในแง่ดี ทุกอย่างสวยงามหมด คือมอง
ตามจริงนะครับ แต่บางครั้งก็แอบมีเพ้อฝันเล็กน้อย แต่สภาพจิต
ตอนนี้ก็สงบ สบาย เหมือไปยืนอยู่หัวเรื่อไททานิคแล้วทำท่าเหมือน
โรสในภาพยนตร์ยังไงยังงั้น แบบนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ

โปรดให้คำแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ


บางทีสถานที่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผ่อนคลายได้ บ้านหรือสถานที่ที่ตนเองพอใจก็มีส่วนให้รู้สึกดีขึ้นค่ะ แต่อารมณ์ที่เกิดสุขนั้นก็ไม่ได้เป็นสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมใดๆ เพราะเป็นโลภะมีความยินดีพอใจเพราะสถานที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นอาณาจักรส่วนตัวจะทำอะไรได้ตามใจปราถนา ก็ทำให้รู้สึกสบายนั่งจิบชา คิดโน้นคิดนี้ไปเรื่อย คือสุขด้วยความยินดีพอใจในอารมณ์ที่ได้รับ กับฟุ้งซ่าน บางทีก็เหมือนเฉยจากทุกสิ่งได้นั้น เฉยด้วยปัญญากับเฉยด้วยโมหะมีเพียงสติเท่านั้นที่ไปตามดูจิตหรือดูเวทนาว่าขณะนั้นเฉย ขณะนั้นสุข จึงจะเกิดกุศลได้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2014, 10:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
นางวธีราเถรีตอนจิตถึงธรรมธรรมถึงจิตได้กล่าวรำพึงออกมาว่า

"มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป"

นี่เป็นการเห็นด้วยตาญาณปัญญาจริงๆ
จนพระบรมศาสดาเสด็จมารับรองคำพูดของนาง

ดังนั้นสุขที่พุทธคุณเข้าใจ ก็คงคือ ทุกข์ นั่นเอง แต่ด้วยหูตายังไม่สว่างจึงเห็นว่าเป็นสุข

สุขที่แท้จริงไม่มีหรือ...มีอยู่..อยู่ที่ความไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ตายไม่เกิด หมดภาระต้องแบกหาม ไม่มีใครต้องแบกหามอะไร ที่ท่านเรียกว่า "นิพพาน"

ไปให้ถึงนิพพานให้ได้เสียไวๆจะได้หมดป้ัญหาเรื่องติดสุขไม่ติดสุขนะครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2014, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
นางวธีราเถรีตอนจิตถึงธรรมธรรมถึงจิตได้กล่าวรำพึงออกมาว่า

"มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป"

นี่เป็นการเห็นด้วยตาญาณปัญญาจริงๆ
จนพระบรมศาสดาเสด็จมารับรองคำพูดของนาง

ดังนั้นสุขที่พุทธคุณเข้าใจ ก็คงคือ ทุกข์ นั่นเอง แต่ด้วยหูตายังไม่สว่างจึงเห็นว่าเป็นสุข

สุขที่แท้จริงไม่มีหรือ...มีอยู่..อยู่ที่ความไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ตายไม่เกิด หมดภาระต้องแบกหาม ไม่มีใครต้องแบกหามอะไร ที่ท่านเรียกว่า "นิพพาน"

ไปให้ถึงนิพพานให้ได้เสียไวๆจะได้หมดป้ัญหาเรื่องติดสุขไม่ติดสุขนะครับ
:b8:


อ้างคำพูด:
ไปให้ถึงนิพพานให้ได้เสียไวๆจะได้หมดป้ัญหาเรื่องติดสุขไม่ติดสุขนะครับ


ถ้าไปถึงนิพพาน ก็ไปเจอ "นิพพานํ ปรมํ สุขํ" แปลว่า นิพพาน เป็นสุขอย่า่งยิ่ง แล้วจะหนีไปไหนอีกทีนี้ คิกๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2014, 14:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วชิราสูตร

พุทธพจน์ และ พระสูตร ๔๑.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕



พระสูตรที่แสดงธรรมของท่านวชิราภิกษุณี ที่แสดงต่อมารที่มารบกวนท่าน ด้วยหวังจะล่อลวงด้วยถ้อยคำถามให้หลงผิดย่อท้อ แต่ท่านกลับแสดงธรรมตอบคำถามของมารอย่างอาจหาญ อย่างปรมัตถ์ ยิ่งนัก จนมารต้องหนีหาย หรืออันตรธานไปจากจิตของท่าน จนบันทึกอยู่ในพระไตรปิฏกตราบเท่าทุกวันนี้ในบท วชิราสูตร นี้, ธรรมที่ท่านได้กล่าวแสดงแก่มารจนเป็นที่เลื่องระบือ ดังเช่น สังขารในพระไตรลักษณ์ ที่ย่อมประกอบขึ้นแต่เหตุปัจจัย อันท่านได้อุปมาอุปไมยโดยอาศัยรถ ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยประกอบหรือปรุงแต่งกัน จึงเป็นสิ่งที่เรียกกันโดยสมมติสัจจะว่า รถ, และยังตอบปัญหามารถึงเรื่องสัตว์บุคคลเขาเรา ถึงความแตกต่างของบุคคลตัวตนหรือสัตว์ที่หมายถึงมีชีวิต ที่แม้ไม่มีตัวตนและเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นเดียวกับ รถ โดยแสดงเหตุปัจจัยที่ยังความแตกต่างกับ รถ กล่าวคือ บุคคลตัวตนหรือสัตว์แม้ต่างก็ไม่มีอัตตาตัวตนแท้จริงเช่นเดียวดังรถ เพราะสิ่งที่เห็นหรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามที เป็นเพียงกลุ่ม หรือก้อน หรือมวล(ฆนะ)ของเหตุที่มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยกันขึ้นนั้นๆจึงขึ้นหรืออิงหรือเนื่องสัมพันธ์กับเหตุปัจจัยนั้นๆ จึงไม่ใช่ตัวใช่ตนที่หมายถึงเราหรือของเราอย่างแท้จริง เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราอย่างแท้จริง, ส่วนบุคคลตัวตนหรือสัตว์นั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งของขันธ์ต่างๆครบ จึงพากันเรียกสิ่งนั้นกันโดยสมมติหรือโดยสมมติสัจจะว่าสัตว์บุคคลเขาเราหรือชีวิต เป็นอนัตตาเพราะแม้แลดูประหนึ่งว่าเป็นเราเป็นของเรา แต่ความจริงแล้วก็ยังเป็นเพียงกลุ่ม หรือก้อน หรือมวลรวมของขันธ์ทั้ง ๕ เท่านั้นที่มาประชุมกัน นั่นจึงไม่ใช่เรา เราจึงไม่ใช่นั่น นั่นจึงไม่ใช่ตัวใช่ตนของเรา และยังได้แสดงโฉลกธรรมแก่มารในเรื่องของ สังขารต่างๆรวมทั้งตัวตนเขาเรา ตลอดจนสังขารความสุขความทุกข์ว่าความจริงแล้ว ล้วนเป็นทุกข์ไว้อย่างปรมัตถ์ จนเป็นพุทธภาษิตหรือคติธรรมที่ได้ยินและกล่าวอ้างอิงกันอยู่เนืองๆโดยทั่วไปในพระศาสนา เพราะความที่เป็นปรมัตถ์ยิ่งนัก จึงเป็นจริงอย่างที่ท่านกล่าวไว้ตั้ง ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วในหมู่ผู้รู้ธรรมที่แสวงหาในโลกุตระธรรม


วชิราสูตรที่ ๑๐


[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี

เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน

ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ

[๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า

และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า

สัตว์นี้ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ

[๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ

ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาปใคร่จะให้เรา บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว

ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ

ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า

ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่า สัตว์ฯ

ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่า สัตว์ ฯ

(กองสังขารล้วนนี้ จึงหมายถึง เฉพาะกองร่างกายล้วนๆที่ยังไม่ได้ประกอบด้วยปัจจัยครบทั้ง ๕ ขันธ์ของชีวิต ผู้รู้จึงย่อมยังไม่ได้ให้ชื่อว่าสัตว์หรือชีวิต จึงยังเป็นเพียงกองรูปหรือรูปขันธ์หรือซาก ที่เหมือนดังแค่รถ ดังที่จะกล่าวต่อไป)

เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลาย(ต่างๆ ให้)เข้า(กันเรียบร้อย) เสียงว่ารถ ย่อมมีฉันใด ฯ

(จึงเป็นไปเหมือนดังรถเท่านั้น ที่ยังเป็นเพียงการประกอบกันเข้าของปัจจัยต่างๆทางรูปเท่านั้น จนเห็นเป็นสิ่งที่เรียกกันโดยสมมติสัจจะว่า รถ เท่านั้น จึงไม่มีชีวิตหรือเรียกไม่ได้ว่าสัตว์)

(แต่)เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่(ครบทั้ง ๕ เมื่อใดเมื่อนั้นจึงถึง)การสมมติว่าสัตว์(จึง)ย่อมมี(ขึ้น) ฉันนั้น ฯ

(แต่เมื่อประกอบหรือมีปัจจัยปรุงแต่งครบด้วยขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ จึงพากันเรียกโดยสมมติสัจจะว่า เป็นสัตว์หรือชีวิตขึ้น แต่ยังเป็นอนัตตา กล่าวคือชีวิตที่เห็นนั้นเกิดแต่เหตุปัจจัยมาปรุงกันขึ้น จึงขึ้นหรืออิงเนื่องสัมพันธ์อยู่กับเหตุคือขันธ์ ๕ ที่มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงไม่ใช่ีอัตตาที่หมายถึงความเป็นเราหรือของเราอย่างแท้จริง, ท่านจึงกล่าวว่าหรือเรียกว่า สัตว์ ก็ล้วนโดยสมมติ และเมื่อเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งกันเหล่านั้นถูกบีบคั้นหรือแปรปรวนไปด้วยเหตุอันใดก็ดี ก็เกิดสภาวะของการดับไปหรือเรียกกันโดยสมมติสัจจะโดยทั่วไปว่า ตาย ขึ้นนั่นเอง)

(หรือกล่าวอย่างง่ายๆก็คือ สัตว์หรือชีวิตนั้นไม่มีอัตตาตัวตนหรอก มีแต่คำสมมติของสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เรียกกันว่า สัตว์หรือชีวิต)

ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป

นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

จบภิกษุณีสังยุต



เหตุที่ท่านวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้ดังนั้น เป็นการพิจารณาเห็นความจริงในพระไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบันธรรม เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวง จึงไม่ว่ารถ, สัตว์, สิ่งของ, แม้กระทั่งสุข, ทุกข์ ฯลฯ. (กล่าวคือ ทุกสรรพสิ่งพึงยกเว้นแต่อสังขตธรรมเท่านั้น) ต่างล้วนเป็นสังขตธรรม อันเกิดแต่เหตุปัจจัยหรือปฏิจจสมุปบันธรรม จึงมีลักษณะโดยทั่วไปหรือที่เรียกกันว่าสามัญญลักษณะ ที่มีความไม่เที่ยง๑ เป็นทุกข์ กล่าวคือ สภาพทนอยู่ได้ยาก หรือสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปเป็นที่สุด๑ ล้วนเป็นอนัตตา๑

ดังนั้นสังขารทั้งหลายทั้งปวง อันย่อมครอบคลุมถึง ตัวตนหรือสัตว์๑ ตลอดจนความทุกข์๑ อันย่อมล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งเช่นกัน จึงเรียกกันโดยสมมติว่าเกิดขึ้น แล้วมีการตั้งอยู่อย่างแปรปรวนไปมา แล้วดับไปเป็นที่สุด และด้วยเหตุที่สังขารทั้งสองต่างมีสามัญญลักษณะประจำตัวคือทุกข์หรือทุกขัง ดังกล่าวไว้ข้างต้นหรือในพระไตรลักษณ์ จึงล้วนย่อมมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เฉกเช่นเดียวกัน จึงไม่ควรไปยึดมั่น ไม่ปล่อยวาง ให้ยืดยาวเป็นทุกข์ไปนั่นเอง

ถ้ามองกันในแง่ของความสุขความทุกข์แล้ว เหตุที่ท่านกล่าวว่า มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ ก็เพราะว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ อย่างปรมัตถ์ กล่าวคือ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น และขณะเมื่อทุกข์ดับไปเป็นสภาวะที่เราเรียกกันโดยสมมติเป็นภาษาโลกว่า สุข นั่นเอง เป็นมายาหรือมารยาของจิตที่หลอกล่อ ด้วยอวิชชา จึงมองไม่เห็น

ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นจากดับทุกข์นั้นเล่า แม้เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตเช่นกัน ที่เกิดจากดับไปของทุกข์ จึงสมหวังเป็นสุข จึงยังคงมีอยู่เป็นธรรมดา แต่ตามความจริงอย่างปรมัตถ์แล้ว ก็คือ ยังเป็นทุกข์ อย่างละเอียดลึกซึ้งนั่นเอง กล่าวคือย่อมมีอาการของทุกขังคือคงทนอยู่ได้ยากจึงต้องดับไปเช่นกัน ดังนั้น ผู้มิได้สดับในธรรมของพระองค์ท่าน เมื่อเกิดเหล่าสุขหรือก็คือสุขเวทนาไม่ว่าจักเกิดจากกามคุณ ๕ หรือรูปฌาน หรืออรูปฌานก็ตามที อันเป็นสภาวธรรมของชีวิตที่เมื่อมีเหตุปัจจัยยังคงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมก่อให้เกิดปริเทวะอันเป็นหนึ่งในอาสวะกิเลสอันคือเกิดอาการโหยไห้ อาลัยหาในสุขนั้นในภายภาคหน้าขึ้นอีก เนื่องจากการเพลิดเพลินหรือติดเพลิน หรือยึดมั่นในกิเลสอันคือสุขนั้นนั่นเอง จึงกล่าวว่า สุขก็คือทุกข์อันละเอียดอ่อนที่นอนเนื่องต่อไปนั่นเอง อันย่อมยังให้เกิดทุกข์ขึ้นเป็นที่สุดในลำดับต่อมา กล่าวคือสุขทุกข์ต่างล้วนเป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้

สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป

ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป

อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.

(จูฬเวทัลลสูตร)

ดังนั้นไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด กล่าวคือ ในแง่ของทุกขังจึงทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป จึงเป็นทุกข์ หรือมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด ที่ดับ หรือในแง่ของความรู้สึกสุขความรู้สึกทุกข์ก็ตามที ทั้งสัตว์ ทั้งความสุขความทุกข์ จึงต่างก็ล้วนอยู่ภายใต้ทุกขัง จึงก่อให้เกิดทุกข์ และยิ่งเป็น ทุกข์อุปาทาน อันเร่าร้อนเผาลนถ้าไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทาน

ด้วยเหตุดั่งนี้นี่เอง สัตว์ทั้งปวงผู้ยังไม่ได้สดับ ผู้ยังไม่รู้จักโลกุตตรสุข

สัตว์,บุคคล,เขา,เรา จึงล้วนมีสภาพ และประสบกับสภาวะทุกข์ ดังที่ท่านวชิราภิกษุณีกล่าวไว้ คือ

มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น จึงมีแต่ทุกข์ที่ตั้งอยู่ จึงมีแต่ทุกข์ที่ดับไป

นอกจากทุกข์แล้ว จึงไม่มีอะไรเกิด

นอกจากทุกข์แล้ว จึงไม่มีอะไรดับ

เพราะความที่ล้วนเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่ง จึงไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ นั่นเอง

ส่วนผู้ที่อยู่ในโลกุตตรสุข นั้นมีข้อแตกต่างกัน ถึงแม้ มีอะไรเกิด มีอะไรดับ อันเป็นสภาวธรรมเช่นนั้นเอง

ก็ล้วนไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลส(อุปาทาน)นั่นเอง

ทุกข์เหล่านั้น ถึงจะเกิด ถึงจะดับ ตามสภาวธรรมจึงมารบกวนท่านไม่ได้

กล่าวคือเป็นโลกุตตรสุข ที่ สุข สะอาด สงบ บริสุทธ์


http://www.nkgen.com/388.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2014, 17:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
นางวธีราเถรีตอนจิตถึงธรรมธรรมถึงจิตได้กล่าวรำพึงออกมาว่า

"มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป"

นี่เป็นการเห็นด้วยตาญาณปัญญาจริงๆ
จนพระบรมศาสดาเสด็จมารับรองคำพูดของนาง

ดังนั้นสุขที่พุทธคุณเข้าใจ ก็คงคือ ทุกข์ นั่นเอง แต่ด้วยหูตายังไม่สว่างจึงเห็นว่าเป็นสุข

สุขที่แท้จริงไม่มีหรือ...มีอยู่..อยู่ที่ความไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ตายไม่เกิด หมดภาระต้องแบกหาม ไม่มีใครต้องแบกหามอะไร ที่ท่านเรียกว่า "นิพพาน"

ไปให้ถึงนิพพานให้ได้เสียไวๆจะได้หมดป้ัญหาเรื่องติดสุขไม่ติดสุขนะครับ
:b8:


อ้างคำพูด:
ไปให้ถึงนิพพานให้ได้เสียไวๆจะได้หมดป้ัญหาเรื่องติดสุขไม่ติดสุขนะครับ


ถ้าไปถึงนิพพาน ก็ไปเจอ "นิพพานํ ปรมํ สุขํ" แปลว่า นิพพาน เป็นสุขอย่า่งยิ่ง แล้วจะหนีไปไหนอีกทีนี้ คิกๆๆๆ

:b13:
นิพพานสุข เป็นสุขที่ไม่มีใครติดอะไร กรัชกายไม่รู้หรือครับ?
:b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2014, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
นางวธีราเถรีตอนจิตถึงธรรมธรรมถึงจิตได้กล่าวรำพึงออกมาว่า

"มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป"

นี่เป็นการเห็นด้วยตาญาณปัญญาจริงๆ
จนพระบรมศาสดาเสด็จมารับรองคำพูดของนาง

ดังนั้นสุขที่พุทธคุณเข้าใจ ก็คงคือ ทุกข์ นั่นเอง แต่ด้วยหูตายังไม่สว่างจึงเห็นว่าเป็นสุข

สุขที่แท้จริงไม่มีหรือ...มีอยู่..อยู่ที่ความไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่ตายไม่เกิด หมดภาระต้องแบกหาม ไม่มีใครต้องแบกหามอะไร ที่ท่านเรียกว่า "นิพพาน"

ไปให้ถึงนิพพานให้ได้เสียไวๆจะได้หมดป้ัญหาเรื่องติดสุขไม่ติดสุขนะครับ
:b8:


อ้างคำพูด:
ไปให้ถึงนิพพานให้ได้เสียไวๆจะได้หมดป้ัญหาเรื่องติดสุขไม่ติดสุขนะครับ


ถ้าไปถึงนิพพาน ก็ไปเจอ "นิพพานํ ปรมํ สุขํ" แปลว่า นิพพาน เป็นสุขอย่า่งยิ่ง แล้วจะหนีไปไหนอีกทีนี้ คิกๆๆๆ

:b13:
นิพพานสุข เป็นสุขที่ไม่มีใครติดอะไร กรัชกายไม่รู้หรือครับ?
:b3:


อ้างคำพูด:
นิพพานสุข เป็นสุขที่ไม่มีใครติดอะไร กรัชกายไม่รู้หรือครับ


ไม่รู้ครับ มันยังไงหรือครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร