วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2013, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามความเรื่อง ทาน กับ จาคะ มีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สาธุค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2013, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


จาคะ หมายถึงการสละสิ่งของและความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และหมายรวมถึง การสละละทิ้งกิเลส ละความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่

ทานคือการให้และการเสียสละซึ่งมีความหมายเหมือนกัน แต่การบำเพ้ญทานบารมีนั้นเปนการละคามตระหนี่และทำตามกำลังของตนเอง และขณะให้ไม่มีความหวงแหนต่อทรัพย์สินที่บริจาค และต้องยินดี กับการให้ทาน ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ และไม่ให้ทานแล้วสามารถ นำมาเจริญจาคานุสติกรรมฐาน คือ การระลึกถึงทานเป็นอารมณ์กรรมฐานซึ่งเป็นสมถะอย่างหนึ่งในกรรมฐาน 40 กอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2013, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทาน กับ จาคะ
เหมือนกัน แปลว่า การให้
แตกต่างกัน คือ เป็นคำบาลี กับคำไทย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2013, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
เรียนถามความเรื่อง ทาน กับ จาคะ มีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สาธุค่ะ :b8:



ทาน มีความหมายเพลากว่า จาคะ จาคะมีความหมายลึกกว่า ทาน

ข้อธรรม ๕ ประการ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ สุตะ และปัญญา เป็นคุณสมบัติของอริยสาวก ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เน้นอยู่เสมอ และใช้เป็นเครื่องวัดความเจริญก้าวหน้าของอริยสาวก ทั้งก่อนบรรลุโสดาปัตติผล และเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว นอกจากนั้น ยังมีขอบเขตครอบคลุมโสตาปัตติยังคะ (องค์คุณของพระโสดาบัน) เข้าไว้ด้วย (ให้ดูความหมายของเฉพาะ จาคะ)


มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2013, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จาคะ แปลว่า การสละ หรือสละให้ หมายถึงการให้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นการสละออกไป สละทั้งนอกข้างใน ข้างนอกสละวัตถุ ข้างในสละกิเลส ความโลภ ไม่มีความรู้สึกตระหนี่หวงแหน ไม่ปรารถนาผลได้ตอบแทนใดๆไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สุข หรือสวรรค์ ก็ตาม

ลักษณะด้านจาคะของอริยสาวก เท่าที่ท่านบรรยายไว้ เช่นคำว่า ชอบให้ ชอบบริจาค (ทานสังวิภาครัต = ยินดีในการให้การแจก) แสดงอยู่ในตัวถึงการมีความสุขสบายใจในการกระทำเช่นนั้น และการที่มิได้กระทำเพรามุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทนแก่ตน อริยสาวกจึงไม่มีปัญหาในเรื่องที่จะมาเกิดความทุกข์ความเดือดร้อน หรือความเศร้าโศกผิดหวังในภายหลังว่า ทำแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนี้ เพราะในเมื่อความโลภไม่ครอบงำใจ ไม่หมายใจคิดจะเอา ไม่มีความหวงแหนปิดบังอยู่ข้างในแล้ว ใจก็เปิดกว้างออก ความเข้าใจผู้อื่นก็เกิดขึ้น มองเห็นความทุกข์ความเดือดร้อนของเขาโดยง่าย จิตใจก็โน้มน้อมไปเองในทางที่จะให้ มุ่งแต่จะสงเคราะห์ช่วยเหลือ ให้เขาได้รับประโยชน์ แก้ปัญหาให้เขา ทำให้เขามีความสุข มีความยินดีพอใจสุขใจในการให้

การสละ และการแบ่งปันนั้นๆ ถ้าจะคิดในแง่ผลตอบแทน การให้นั่นแหละเป็นการได้อยู่ในตัว เพราะอริยสาวกมีฉันทะในกุศลธรรม คือต้องการทำความดี หรือต้องการให้มีสิ่งที่ดีงาม ด้วยการให้นั้น อริยสาวกก็เป็นอันได้กระทำสิ่งที่ดีงาม และความดีงามก็ได้เกิดมีขึ้น อริยสาวกมีเมตตา ปรารถนาให้โลกมีความสุข และที่ได้ให้นั้น ก็ด้วยอำนาจเมตตากรุณา ด้วยการให้นั้น โลกก็มีความสุขเพิ่มขึ้นแล้ว

นอกจากนั้น อริยสาวกยังได้ความมีใจบริสุทธิ์ ความมีจิตผ่องใส ความมีกิเลสลดน้อยลงไป การได้ฝึกฝนอบรมตน ความก้าวหน้าในธรรม ความสุขความอิ่มใจจากสภาพที่เป็นบุญเป็นกุศลเหล่านั้น และความเข้าใกล้จุดหมายของพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น


ในเรื่องนี้พึงอ้างวจนะของพระสารีบุตรที่ว่า


“บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้ทานเพราะเห็นแก่อุปธิสุข (สุขเจือกิเลส คือโลกิยสุข หรือสุขในไตรภพ) ย่อมไม่ให้ทานเพื่อภพใหม่ แต่บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมให้ทานเพื่อกำจัดกิเลส เพื่อไม่ก่อภพต่อไป”

นอกจากการให้การแบ่งปัน เพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์ทั่วไปแล้ว จาคะของอริยสาวกยังแสดงออกอีกด้านหนึ่ง หรืออีกขั้นหนึ่ง คือสามารถเฉลี่ยสิ่งของต่างๆกับคนที่มีศีลมีกัลยาณธรรม (คนประพฤติชอบและมีความดีงาม) ทั้งหลายได้ เหมือนดังว่า ย่อมให้ทรัพย์สมบัติของตนเป็นของสาธารณะ สำหรับคนมีศีลธรรมจะร่วมใช้ร่วมบริโภคได้ทั้งหมด หรือว่า ในสังคมของคนมีศีลธรรม แต่ละคนยินดีสมัครใจให้ทรัพย์สินของตนเป็นของกลาง ให้สอยบริโภคร่วมกันได้


อนึ่ง ในฐานะที่อริยสาวกเป็นสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่ท่านเน้นไว้เกี่ยวกับการให้อย่างสัตบุรุษ ได้แก การให้โดยเคารพ คือให้ด้วยความตั้งใจจริง ให้ความสำคัญแก่ผู้รับ แก่สิ่งของที่ให้และแก่การให้นั้น ไม่ว่าผู้รับจะตกอยู่ในภาพอย่างใด ต่ำต้อยด้อยเพียงไร ก็ไม่ดูถูกเหยียดหยาม ไม่แสดงอาการดังว่าจะทิ้งเสีย หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดรำคาญ แต่มีเมตตากรุณา ให้ด้วยความเต็มใจ มุ่งให้เขารับประโยชน์*


มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2013, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


*การให้อย่างสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสทาน กำหนดอาการและคุณสมบัติต่างๆ ของผู้ให้ ที่นอกเหนือออกไปจากการคำนึ่งถึงความต้องการของผู้รับ ท่านแสดงไว้หลายหมวด หมวดหนึ่งมี ๕ คือ
๑. ให้โดยเคารพ
๒. ให้โดยอ่อนน้อม
๓. ให้ด้วยมือของตน
๔. ให้มิใช่ดังทิ้งขว้าง (บางแห่งเป็น ให้ของบริสุทธิ์ หรือให้ของไม่เป็นเดน)
๕ . ให้โดยเข้าใจถึงผลที่จะตามมา (อาคมนทิฏฐิก อรรถกถาว่า เห็นว่าจะมีผลบ้าง เชื่อกรรมและผลกรรมบ้าง)

อีกหมวดหนึ่งมี ๕ คือ
๑. ให้ด้วยศรัทธา
๒. ให้โดยเคารพ
๓ ให้โดยกาลอันควร คือถูกเวลา
๔ ให้โดยจิตใจไม่มีแง่งอน (คือใจโปร่ง.โล่ง มีจาคะเต็มที่ ไม่มีเงื่อนงำ นี้แปลตามอรรถกถา บางท่านแปลว่า โดยมีจิตอนุเคราะห์)
๕ ให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น (เช่นไม่ใช่เพื่อยกตนข่มผู้อื่น)

อีกหมวดหนึ่งมี ๘ คือ
๑. ให้ของสะอาด
๒. ให้ของประณีต
๓. ให้ถูกเวลา
๔. ให้ของสมควร
๕. ให้ด้วยวิจารณญาณ
๖. ให้เนืองๆ
๗. เมื่อให้จิตผ่องใส
๘. ให้แล้วเบิกบานใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2013, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายคำว่า ทาน ในบุญกิริยาวัตถุ ให้ดูทั้งสามข้อเพราะว่าชาวบ้านๆ

บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ


๑. ทาน การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน เป็นการให้เพื่ออนุเคราะห์ เช่น ช่วยเหลือผู้ยากไร้ตกทุกข์ ขาดแคลนบ้าง ให้เพื่อสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ สมานไมตรี แสดงน้ำใจ สร้างสามัคคี บ้าง ให้เพื่อบูชาคุณความดี เพื่อยกย่องส่งเสริมสนับสนุนคนดีบ้าง เป็นการให้ในด้านทรัพย์สินสิ่งของ ปัจจัยเครื่องใช้ยังชีพ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ก็มี ให้ความรู้ศิลปะวิทยาการ ให้คำแนะนำสั่งสอน บอกแนวทางดำเนินชีวิต หรือให้ธรรม ก็มี ให้ความมีส่วนร่มในการบำเพ็ญกิจที่ดีงาม ก็มี ตลอดจนให้อภัยที่เรียกว่า อภัยทาน

๒. ศีล ความประพฤติดีงาม และการหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต ความมีระเบียบวินัย และมีกิริยามารยาทงดงาม เฉพาะอย่างยิ่ง เน้นศีลในระดับการไม่เบียดเบียน หรือการอยู่ร่วมกันด้วยดีโดยสงบสุขในสังคม

ศีลที่เน้นในระดับนี้ ก็คือ ศีล ๕ ได้แก่ การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย การไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์กัน การไม่ละเมิดต่อของรัก ไม่ประทุษร้ายจิตใจหลหลู่เกียรติทำลายตระกูลวงศ์ของกันและกัน การไม่หักรานลิดรอนผลประโยชน์กันด้วยวิธีประทุษร้ายทางวาจา และการไม่ซ้ำเติมตนเองด้วยสิ่งเสพติดซึ่งทำให้เสื่อมทรามเสียสติสัมปชัญญะ ที่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งป้องกันจากความผิดพลาดเสียหายและคุ้มตัวไว้ในคุณความดี

นอกจากนี้ อาจฝึกตนเพิ่มขึ้นในด้านการงดเว้นสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขต่างๆ และหัดให้เป็นอยู่ง่ายๆ มีชีวิตเป็นอิสระจากวัตถุมากขึ้น ด้วยการรักษาอุโบสถ ถือ ศีล ๘ ตลอดจนศีล ๑๐ ตามโอกาส หรืออาจปฏิบัติในทางบวก เช่น ขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ร่วมมือและบริการต่างๆ ((ไวยาวัจกรรม)

๓. ภาวนา การฝึกปรือจิตและปัญญา คือ พัฒนาฝึกอบรมจิตใจให้เจริญขึ้นด้วยคุณธรรมต่างๆ ให้เข็มแข็งมั่นคงหนักแน่น และให้มีปัญญารู้เท่าทันสังขาร พูดอย่างสมัยใหม่ว่า รู้เท่าทันโลกและชีวิต หรือมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง

ภาวนาในที่นี้ ก็คือสมาธิ และปัญญา ในไตรสิกขา พูดเต็มว่า สมาธิภาวนา หรือจิตตภาวนา และปัญญาภาวนา นั่นเอง แต่ไม่ย้ำเน้นแต่ละอย่างให้เด่นนัก จึงผ่อนเอามารวมจัดเข้าเป็นหัวข้อเดียวกัน มีความหมายคลุมตั้งแต่สัมมาวายามะ ที่ให้เพียรละกิเลส เพียรอบรมปลูกฝังกุศลธรรมในหมวดสมาธิ จนมาถึงการมีสัมมาทิฏฐิและความดำริชอบ ในหมวดปัญญา โดยเน้นเมตตาภาวนา อันเป็นที่มาของความสุขทั้งในตนเองและในสังคม

วิธีการและข้อปฏิบัติที่ท่านแนะนำ สำหรับการพัฒนาจิตและปัญญาในระดับเหมารวมอย่างนี้ ก็คือ การแสวงปัญญาและชำระจิตใจ ด้วยการสดับธรรม (รวมทั้งอ่าน) ที่เรียกว่าธรรมสวนะ การแสดงธรรม สนทนาธรรม การแก้ไขปลูกฝังความเชื่อ ความเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้อง การเจริญเมตตา และการควบคุมขัดเกลากิเลสโดยทั่วไป

เป็นอันเห็นได้ชัดว่า พระพุทธเจ้า เมื่อผ่อนกระจายจุดหมายของชีวิต หรือจุดหมายของการปฏิบัติธรรมออกเป็นระดับต่างๆ จนถึงขั้นต้นๆแล้ว ก็ได้ผ่อนจัดระบบชีวิตดำเนินชีวิตหรือวิธีประพฤติปฏิบัติธรรมให้สอดคล้องกันด้วย

ในระบบที่ผ่อนลงมานี้ เน้นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางกาย วาจา การปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์ หรือความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นการกระทำที่ปรากฏรูปร่าง มองเห็นได้ชัด ปฏิบัติง่ายกว่าแยกกระจายเป็น ๒ ข้อ คือ ทาน และศีล มุ่งให้ขัดเกลาทำชีวิตจิตใจภายในให้ประณีตเจริญงอกงามขึ้น โดยใช้การกระทำภายนอกที่หยาบกว่าเป็นเครื่องมือ เรียกตามสำนวนทางธรรมว่า เพื่อกำจัดกิเลสหยาบ

ส่วนการปฏิบัติขั้นสมาธิ และปัญญา หรืออธิจิตต์ และอธิปัญญา ซึ่งเน้นหนักด้านภายในโดยตรง เป็นเรื่องยากละเอียดลึกซึ้ง ระบบบุญกิริยาไม่แยกเน้น แต่เอามาจัดรวมเสีย และพยายามชี้แนะเนื้อหาที่เบาลงในทางปฏิบัติ

ในสมัยต่อๆมา มักเป็นที่รู้กันว่า ระบบของมรรคในรูปบุญกิริยา ๓ นี้ ท่านจัดไว้ให้เหมาะสำหรับสอนคฤหัสถ์ คือชาวบ้าน ส่วนระบบที่ออกรูปเป็นไตรสิกขา เป็นแบบแผนใหญ่ยืนพื้น เป็นหลักกลางสำหรับการปฏิบัติธรรมเต็มตามกระบวน ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2013, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แถม เหตุที่คนให้ทาน

มีพุทธพจน์แสดงเหตุที่คนให้ทานอยู่ ๒-๓ หมวด

หมวดหนึ่งว่า
๑. บางคนหวังผลจึงให้ มีจิตผูกพันกันจึงให้ หวังจะสะสมจึงให้ คิดว่า เราจากโลกนี้ไปแล้ว จะได้กินได้ใช้จึงให้
๒.บางคนให้โดยคิดว่า การให้เป็นการกระทำที่ดี
๓. บางคนให้ด้วยคิดว่า พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เคยให้ เคยทำมา เราไม่ควรให้เสียประเพณีเก่าของวงศ์ตระกูล
๔ บางคนให้ด้วยคิดว่า เราหุงหากินเองได้ คนเหล่านี้หุงหาไม่ได้ เมื่อเรายังหุงหาได้ ไม่ควรจะไม่ให้แก่คนที่หุงหาไม่ได้
๕. บางคนให้ด้วยคิดว่า การให้ การแจกทานของเรานี้ จะเป็นเหมือนดังมหายัญ ของฤๅษีบางก่อนทั้งหลาย (มุ่งเกียรติ)
๖. บางคนให้ด้วยคิดว่า เมื่อเราจิตจะผ่องใส เกิดโสมนัสแช่มชื่นใจ
๗. บางคนให้โดยฐานเป็นอลังการ เป็นบริขารของจิต (เป็นเครื่องประกอบสิ่งเสริมคุณภาพของจิต แต่งจิตให้ดีงาม คือเป็นการปลูกฝังเจริญเมตตากรุณาธรรม เช่น ตังใจว่า ขอให้คนตกทุกข์ จงกลายเป็นผู้มีสุข เป็นต้น พูดตามภาษาวิชาการว่า เป็นเครื่องประกอบ หรือเป็นส่วนช่วยแก่สมถะและวิปัสสนา) ทั้งหมดนี้ และต่อจากนี้ เรียงลำดับจากเหตุจูงใจอย่างต่ำขึ้นไปหาสูง ตามลำดับ

อีกหมวดหนึ่งว่า
๑. ให้เพราะประจวบเหตุ (มีผู้รับมาถึงเข้า)
๒. ให้เพราะกลัว
๓. ให้เพราะนึกว่า เขาเคยให้แก่เรา
๔. ให้เพราะคิดว่า เขาจักให้แก่เรา (หวังตอบแทน)
๕ ให้เพราะคิดว่า การให้เป็นสิ่งดี
๖ = ๔ ให้หมวดแรก
๗. ให้เพราะคิดว่า เมื่อเราให้ กิตติศัพท์อันงามจะเฟื่องฟุ้ง
๘. ให้เพื่อเป็นอลังการ เป็นบริขารของจิต


อีกหมวดหนึ่งว่า
๑. ให้เพราะชอบกัน
๒.ให้เพราะโกรธ
๓.ให้เพราะหลง
๔. ให้เพราะกลัว
๕= ๓ ในหมวดแรก
๖. ให้เพราะคิดว่าเราให้ทานนี้แล้ว เมื่อตาย จะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๗.= ๖ ในหมวดแรก
๘= ๗ ในหมวดแรก

ท้ายพุทธพจน์หมวดแรก มีข้อความกล่าวถึงภพที่ผู้ให้ด้วยเหตุจูงใจนั้น จะไปเกิดด้วย แต่ข้อนั้น เป็นการกล่าวถึงผลที่จะเกิดมีมาตามเหตุโดยธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับความปรารถนาของผู้ให้ทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2013, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ขอบพระคุณทุกท่านนะคะ :b20: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 126 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร