วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 12:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 21:07
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมศึกษา เรื่อง จิตกับเจตสิกแล้ว แต่่ก็ยังงง
อยากรู้ว่า ความคิดไหนควรคิด ความคิดไหนไม่ควรคิดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆเราจะรู้เรื่องเจตสิกได้ เราต้องฝึกเจริญสติบ่อยๆ คือตามดูรู้ทันของสภาวะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัณขณะนั้น
และสามารถระลึกขึ้นได้โดยไม่ไหลไปตามความรู้สึกนึกคิดของตน ถ้าอยากรู้ว่าจิตอยู่ตรงไหน ก็ต้องรู้ว่าความรู้สึกอยู่ตรงไหน จิตก็จะอยู่ตรงนั้น(เพราะเจตสิกคืออาการของจิตนั่นเองเปรียบเสมือนน้ำใสที่ผสมน้ำแดงเฮลูบอยหรือน้ำเขียวหรือน้ำส้มกะว่าไป : :b32: ) และที่ถามว่า ความคิดไหนควรคิดหรือไม่ควรคิด
ความคิดเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และมีเหตุปัจจัยมันถึงเกิด คิดให้เป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันกระทบถึงเกิด..การกระทบ กระทบจากอะไร ความคิดเกิด..เพราะไปรับรู้ผัสสะ(สิ่งที่กระทบ)ทางตา ความคิดเกิดเพราะไปรับรู้ผัสสะทางหู ความคิดเกิดเพราะไปรับรู้ผัสสะทางลิ้น (ชอบใจไม่ชอบใจ)ความคิดเกิดเมื่อผัสสะมากระทบทางจมูก(ชอบใจไม่ชอบใจ) ความคิดเกิดเมื่อมีผัสสะมากระทบทางใจ บางทีความคิดอาจจะเกิดจากมโนทวารคือไประลึกรู้สัญญาที่เป็นเรื่องราว ธรรมมารมณ์ในใจ ทำให้เกิดความคิด หรือคนที่ชอบระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตทั้งที่มันดับไปแล้วเพิ่มด้วยลืม ความคิดเกิดเมื่อมีผัสสะมากระทบทางกาย อิอิ :b13:
แต่ถ้าเราตามรู้ทันในสภาวะที่เกิดขึ้นแล้ว และหยุดได้ทันโดยไม่ปรุงแต่งออกไปให้ฟุ้ง เราก็มีสติในระดับหนึ่ง แต่เราไม่ต้องไปห้ามหรอกเจ้าค่ะว่าสิ่งใดควรคิดสิ่งใดไม่ควรคิด บางครั้งเราคิดไม่ดี แต่เรารู้ทันสติจะเป็นเครื่องที่ทำให้เราระลึกความคิดที่ดีขึ้นมาแทน หรือจะเรียกว่า อกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกุศล แล้วเมื่อเกิดความคิดทั้งสองอย่างนี้สลับไปสลับมา เราก็รู้ทันมันซะ เพราะความคิดมันเป็นสังขาร มันก็เกิดขึ้นแล้วดับไป คิดดีก็รู้คิดชั่วก็รู้ คิดอะไรยังไงก็รู้ รู้แล้วก็หยุดแค่นั้น วางลง เด่วมันก็สลายไปเอง เพราะความคิดมันเป็นสภาพไม่เที่ยง เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เมื่อมันเกิดขึ้น มันก็ดับลงไป ไม่มีสาระอะไรให้เราเข้าไปยึด และการฝึกรู้ทัน รู้ตามที่มันเป็น จะเป็นเหตุให้เกิดปัญญา รู้ทันมันบ่อยๆนะเจ้าค่ะ เราเป็นผู้อยู่เหนือความคิดนั้นอย่าให้ความคิดนั้นเป็นผู้ที่อยู่เหนือเรา สู้ๆ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


mox2537 เขียน:
ผมศึกษา เรื่อง จิตกับเจตสิกแล้ว แต่่ก็ยังงง
อยากรู้ว่า ความคิดไหนควรคิด ความคิดไหนไม่ควรคิดครับ


จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ รู้ได้ทั่วไปหมดทุกสิ่งอย่าง
เจตสิกคือธรรมชาติที่ประกอบกับจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต มีวัตถุอาศัยเกิดเดียวกับจิต

สิ่งใดควรคิด ก็คือ คิดดี สภาพจิตที่เป็นกุศล ประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ
คิดอย่างไรเรียกว่าคิดดี เช่น คิดไม่โลภ คิดไม่พยาบาท คิดด้วยสัมมาทิฏฐิ

ควรคิดเรื่องทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ ปฏิปาทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ความคิดชั่ว สภาพจิตเป็นอกุศล ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
เช่น คิดโลภ คิดพยาบาท คิดด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรคิด

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ
เป็นบ้า เดือดร้อน ฯ


สิ่งที่ไม่ควรคิดคืออจินไตย ๔ ได้แก่
พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑
ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑
วิบากแห่งกรรม ๑
ความคิดเรื่องโลก ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อกล่าวถึงจิตและเจตสิกนั้น

ผมจะกล่าวว่า จิต เปรียบเสมือนน้ำที่ใสสะอาด แต่เจตสิกเปรียบเหมือนสีที่ผสมและเป็นตัวปรุงแต่ง
จิตนั้นเอง
ความคิดนนั้นเมื่อเราเจริญวิปัสสนา เราไม่สามารถที่จะไม่ให้คิดได้ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เราเพียงรู้สักแต่ว่าคิด สักพักความคิดก็จะหายไป ความคิดนั้นมันไม่เที่ยง เราไม่สามารถที่จะคิดเรื่องเดิมๆได้ตลอด ลองสังเกตุดูนะครับ เห็นไหมว่าความคิดนั้นเป็นนามครับ เราเอาสติไปกำหนด นามรู้นาม
ขออนุโมทนาบุญนะครับ

ขอเชิญ่านอื่นร่วมแสดงความเห็นได้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2013, 03:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


mox2537 เขียน:
ผมศึกษา เรื่อง จิตกับเจตสิกแล้ว แต่่ก็ยังงง
อยากรู้ว่า ความคิดไหนควรคิด ความคิดไหนไม่ควรคิดครับ


ความคิดที่เห็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ว่ามีการเสื่อมลงทั้งหมด ไม่เที่ยงแท้แน่นอน บังคับไม่ได้ เช่นเมื่อคิดถึงความเป็นหนุ่มสาว เราก็ควรคิดถึงความแก่ลงในภายภาคหน้าด้วย เมื่อคิดถึงความเป็นเจ้าของเราก็ควรคิดถึงวันข้างหน้าว่าการพัดพรากต้องมี

สิ่งที่ไม่ควรคิดคือ การผูกโกรธ การอาฆาตแค้นผู้ที่ทำไม่ดีกับเรา การจินตนาการในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เช่น คิดในเชิงชู้สาวกับหญิงที่ไม่ใช่คู่เรา เช่นจับมือถือแขนในขณะที่ความจริงไม่ใช่ อย่างนี้เป็นต้น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 21:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


mox2537 เขียน:
ผมศึกษา เรื่อง จิตกับเจตสิกแล้ว แต่่ก็ยังงง
อยากรู้ว่า ความคิดไหนควรคิด ความคิดไหนไม่ควรคิดครับ

หมั่นฝึกปฏิบัติเจริญภาวนาดูจิตตนเองไปเรื่อยๆ จนเมื่อจิตของเราละเอียดพอถึงที่ก็จะเห็นเจตสิกเองครับ ไม่ต้องรีบร้อนที่จะรู้เกินไปครับ กินข้าวทีละเม็ดแต่กินไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเราก็อิ่มครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร