วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2013, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
กรัชกาย เขียน:
nongkong เขียน:
amazing เขียน:
nongkong เขียน:
ทำไมค่ะ ตั้งแต่เกิดมาน้องไม่เคยลองไปปฏิบัติที่สำนักไหนเลย น้องอยากลองมีประสบการณ์แบบนี้บ้างนี่ค่ะ เพราะทุกวันนี้คลำผิดคลำถูก มั่วไปหมด55+

ไปเถอะท่านอโศกะท่านมีความรู้จริงในเรื่องการปฎิบัติ ผมแนะนำนะ

ค่ะ ถ้ามีโอกาสจะชวนพี่ๆคนอื่นไปปฏิบัติด้วยกัน :b39:
ไม่แน่ปีใหม่



สหายอเมสซิ่ง กรัชกายก็ไม่เบานะ ตอนนี้จะเริ่มแนะนำ ตัดต้นของปัญหา คือ ทำลาย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพื่อตัดเสบียงส่งไปให้จิตใจ (ตัดท่อน้ำเลี้ยง) :b14:

เอาเลยสหายกรัชกายแสดงมา


ตา (จักขุ) หู (โสต) จมูก (ฆาน) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กาย) เป็นต้นทางของปัญหาเป็นประตูของความทุกข์โทมนัสของจิตใจทั้งมวล :b2:

ให้เอาไม้เสียบลูกชิ้นปิ้งแทงสองตาให้บอดเสีย จักขุวิญญาณก็ไม่เกิด

หลังจากนั้น ก็แทงหูให้ทะลุทะลวงจนใช้ฟังเสียงไม่่ไ้ด้ โสตวิญญาณก็ไม่เกิด แทงจมูกให้ใช้การใช้ดมไม่รู้่กลิ่น ฆานวิญญาณก็ไม่เกิด ตัดลิ้นออก (ให้เหมือนจระเข้) ชิวหาวิญญาณก็ไม่เกิด ตัดเส้นเอ็นน้อยใหญ่ที่ร่างกายให้ขาดสะบั่น กายวิญญาณก็ไม่่เกิด

ทีนี้แหละขอรับ ความยุ่งยากทางใจก็ดับ คือมโนวิญญาณก็ไม่เกิด เพราะเราตัด-ปิดต้นทางของจิตใจไ้้ด้แล้ว :b35: (ตัดท่อน้ำเลี้ยง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ต.ค. 2013, 18:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2013, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


asoka เขียน:
amazing เขียน:
asoka เขียน:
amazing เขียน:
asoka เขียน:
amazing เขียน:
ท่านอโศก อยุ่จังหวัดอะไรตอนนี้ครับ


เจียงใหม่ครับ

:b38:
:b11:
wink
เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมหรือเปล่าหรือเป็นบ้านเจ้า

:b12: :b12: :b12:
อยู่ทั้ง 2 ที่ ครับ สลับไปมาตามเหตุ ปัจจัยและโอกาส

มีผู้สนใจ สนทนาธรรม ปฏิบัติธรรมมาก็ไปพบกันที่สำนัก หมดงานที่สำนักก็กลับมาทำงานที่บ้าน อยู่กับงานเผยแพร่ธรรมออนไลน์ครับ


:b8:
สำนักชื่ออะไรครับ ผมไปอยุ่ตลอดชีวิตได้ป่าวครับ

:b8:
ถ้าตั้งใจจริงๆที่จะไปอยู่ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ก็สามารถอยู่ได้จนตลอดชีวิตครับ.....กำลังต้องการคนจริงอย่างนี้ครับ

สำนักชื่อ "ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่า" บ้านห้วยบอน ม.13 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110 โทร 08-9838-6213

:b27:

สังเกตดูในรูปทำไมสถานที่นี้มีแต่ชีกับผู้หญิงไปปฏิบัติธรรมกัน
ผู้ชายหมู่บ้านนี้ไม่สนใจไปดูบ้างหรือครับ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2013, 20:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


การเดินทางไปที่นั้นอยู่ไกลจากตัวเมืองมากมั้ยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2013, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
asoka เขียน:
amazing เขียน:
asoka เขียน:
amazing เขียน:
ท่านอโศก อยุ่จังหวัดอะไรตอนนี้ครับ


เจียงใหม่ครับ

:b38:
:b11:
wink
เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมหรือเปล่าหรือเป็นบ้านเจ้า

:b12: :b12: :b12:
อยู่ทั้ง 2 ที่ ครับ สลับไปมาตามเหตุ ปัจจัยและโอกาส

มีผู้สนใจ สนทนาธรรม ปฏิบัติธรรมมาก็ไปพบกันที่สำนัก หมดงานที่สำนักก็กลับมาทำงานที่บ้าน อยู่กับงานเผยแพร่ธรรมออนไลน์ครับ


:b8:
สำนักชื่ออะไรครับ ผมไปอยุ่ตลอดชีวิตได้ป่าวครับ

อะเมซิ่งจะไปอยู่ตลอดชีวิต แสดงว่าหมดภาระทางโลกแล้วใช่มั้ยค่ะ
ถ้าเป็นเช่นนั้นคุนน้องก็ขออนุโมทนา :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2013, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


งั้นเอาแบบนี้ :b1: (ข้ออุปมายาวๆตัดออก)


๑. อินทรียภาวนา: “ดูกรอานนท์ ก็อินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน เป็นอย่างไร?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็น รูป ด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) อย่างนี้ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วแก่เราเช่นนี้ ก็แต่ว่าสภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เป็นภาวะปรุงแต่งเป็นของหยาบอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สภาวะนี้จึงสงบ สภาวะนี้จึงประณีต กล่าวคืออุเบกขา (ใจเฉยโดยตระหนักรู้อยู่ในดุล) สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้นก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิทโดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษ มีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือหลับตา แล้วลืมตา ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันยอดเยี่ยมในวินัยของอริยชน


“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วย ลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ทำนองเดียวกับข้อก่อน) ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีกำลังเอาหยาดน้ำสองหรือสามหยาด หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน การหยดลงไปแห่งหยาดน้ำนั้น ยังช้า (ไม่ทันที) หยาดน้ำนั้น ก็ถึงความเหือดหายหมดสิ้นไป ฉับพลัน ทันใด โดยแน่แท้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ อันยอดเยี่ยมในวินัยของอริยชน

“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอินทรียภาวนา อันยอดเยี่ยมในวินัยของอริยชน.



๒. ก) เสขปาฏิบท (ผู้ยังฝึกศึกษา) “ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธออึดอัด เบื่อหน่ายรังเกียจ ด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะ ดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ....เธออึดอัด เบื่อหน่ายรังเกียจด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะ ผู้ยังปฏิบัติอยู่



๒.ข) ภาวิตินทรีย์ (ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว) “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) เป็นอย่างไร ?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เธอนั้น หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึง ทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอนั้น....หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึง ทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2013, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ปฏิกูล ไม่พึงมองความหมายแคบๆ อย่างมักเข้าใจทำนองว่าสกปรก ยกตัวอย่า่งตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือของไม่งาม เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชมหรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในปฏิกูลเป็นไม่ปฏิกูล คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูลเป็นปฏิกูล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 10:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
การเดินทางไปที่นั้นอยู่ไกลจากตัวเมืองมากมั้ยครับ

smiley
อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 155 กม. ห่างจากตลาดฝาง 3 กม.
มีรถทัวร์วิ่งตรงจากหมอชิตถึงตลาดฝาง ออก เย็น ถึงเช้า ถ้าโทรแจ้งล่วงหน้าจะมีรถมารับไปส่งถึงวัดครับ
:b8: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 16:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 02:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คำว่า ปฏิกูล ไม่พึงมองความหมายแคบๆ อย่างมักเข้าใจทำนองว่าสกปรก ยกตัวอย่า่งตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือของไม่งาม เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชมหรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในปฏิกูลเป็นไม่ปฏิกูล คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูลเป็นปฏิกูล


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คำว่า ปฏิกูล ไม่พึงมองความหมายแคบๆ อย่างมักเข้าใจทำนองว่าสกปรก ยกตัวอย่า่งตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือของไม่งาม เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชมหรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในปฏิกูลเป็นไม่ปฏิกูล คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูลเป็นปฏิกูล


"ปฏิกูล" เป็นหลักที่ใช้ในการพิจารณาธรรมในส่วนของกาย
ไอ้ที่กรัชกายอธิบายมามันเป็นคนล่ะเรื่อง

การรับรู้โดยทวารหรือปสาทห้า เป็นเรื่องของปสาทรูปไม่ใช่กาย
การพิจารณาในเรื่องรูปเราต้องใช้หลักของ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะรูปเป็นสังขตธรรม

การใช้หลักของปฏิกูล เราเอามาใช้ในการพิจารณา สภาพธรรม
กายไม่ใช่รูปปรมัตถ์และไม่ใช่สังขตธรรม
กายเป็นอสังขตะธรรม ดังนั้นจะเอาหลักของอนิจจตามาพิจารณาไม่ได้
จะต้องใช้กายคตาสติเป็นหลักในการพิจารณา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คำว่า ปฏิกูล ไม่พึงมองความหมายแคบๆ อย่างมักเข้าใจทำนองว่าสกปรก ยกตัวอย่า่งตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือของไม่งาม เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชมหรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในปฏิกูลเป็นไม่ปฏิกูล คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูลเป็นปฏิกูล


"ปฏิกูล" เป็นหลักที่ใช้ในการพิจารณาธรรมในส่วนของกาย
ไอ้ที่กรัชกายอธิบายมามันเป็นคนล่ะเรื่อง

การรับรู้โดยทวารหรือปสาทห้า เป็นเรื่องของปสาทรูปไม่ใช่กาย
การพิจารณาในเรื่องรูปเราต้องใช้หลักของ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะรูปเป็นสังขตธรรม

การใช้หลักของปฏิกูล เราเอามาใช้ในการพิจารณา สภาพธรรม
กายไม่ใช่รูปปรมัตถ์และไม่ใช่สังขตธรรม
กายเป็นอสังขตะธรรม ดังนั้นจะเอาหลักของอนิจจตามาพิจารณาไม่ได้
จะต้องใช้กายคตาสติเป็นหลักในการพิจารณา



อ้างคำพูด:
กายไม่ใช่รูปปรมัตถ์ และไม่ใช่สังขตธรรม
กายเป็นอสังขตะธรรม


ปรมัตถธรรมมี 4 คือ จิต เจตสิก รูป =>(ร่างกาย) นิพพาน

นิพพานเป็นอสังขตธรรม ที่เหลือ เป็นสังขตธรรมซึ่งถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งสิ้น

แต่พี่โฮว่า กาย เป็นอสังขตะ ถึงว่า "ธรรมบ๊อกซึ่งเล" ที่สำคัญยิ่งชีวิต คือ พี่โฮยังไม่รู้จักเข้าใจตัวเองเลยเนี่ย คิกๆๆ อาบน้ำฟอกสบู่ยังไม่รู้เลยฟอกอะไรถูอะไร เด็กถามตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้จักร่างกาย กาย รูป ฮี่ๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

"ปฏิกูล" เป็นหลักที่ใช้ในการพิจารณาธรรมในส่วนของกาย
ไอ้ที่กรัชกายอธิบายมามันเป็นคนล่ะเรื่อง

การรับรู้โดยทวารหรือปสาทห้า เป็นเรื่องของปสาทรูปไม่ใช่กาย
การพิจารณาในเรื่องรูปเราต้องใช้หลักของ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะรูปเป็นสังขตธรรม

การใช้หลักของปฏิกูล เราเอามาใช้ในการพิจารณา สภาพธรรม
กายไม่ใช่รูปปรมัตถ์และไม่ใช่สังขตธรรม
กายเป็นอสังขตะธรรม ดังนั้นจะเอาหลักของอนิจจตามาพิจารณาไม่ได้
จะต้องใช้กายคตาสติเป็นหลักในการพิจารณา



อ้างคำพูด:
กายไม่ใช่รูปปรมัตถ์ และไม่ใช่สังขตธรรม
กายเป็นอสังขตะธรรม
และเป็นร่างกาย


ปรมัตถธรรมมี 4 คือ จิต เจตสิก รูป =>(ร่างกาย) นิพพาน

นิพพานเป็นอสังขตธรรม ที่เหลือ เป็นสังขตธรรมซึ่งถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งสิ้น

แต่พี่โฮว่า กาย เป็นอสังขตะ ถึงว่า "ธรรมบ๊อกซึ่งเล" ที่สำคัญยิ่งชีวิต คือ พี่โฮยังไม่รู้จักเข้าใจตัวเองเลยเนี่ย คิกๆๆ อาบน้ำฟอกสบู่ยังไม่รู้เลยฟอกอะไรถูอะไร เด็กถามตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้จักร่างกาย กาย รูป ฮี่ๆๆ


ถึงได้พูดอยู่เสมอว่า พูดธรรมอย่าพูดในลักษณะของอวิชา
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงล้วนเป็นวิชชา

กายเป็นวิชชา มันเป็นเพียงธาตุสี่ เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง ย่อมไม่เป็นสังขาร
ธาตุสี่จึงเป็อสังขตธรรม คือธรรมที่ไม่ปรุงแต่งแล้ว

กายของพระอรหันต์เรียกว่าธาตุสี่ นิพพานเป็นสภาวะธรรมของพระอรหันต์
นิพพานเป็นอสังขตธรรม กายของพระอรหันต์จึงเป็นอสังขตธรรม

เพราะปุถุชนถูกอวิชาบดบังความเป็นจริงของกายไว้
จึงทำให้มองไม่เห็นความเป็นอสังขตของกายหรือธาตุสี่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:

"ปฏิกูล" เป็นหลักที่ใช้ในการพิจารณาธรรมในส่วนของกาย
ไอ้ที่กรัชกายอธิบายมามันเป็นคนล่ะเรื่อง

การรับรู้โดยทวารหรือปสาทห้า เป็นเรื่องของปสาทรูปไม่ใช่กาย
การพิจารณาในเรื่องรูปเราต้องใช้หลักของ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะรูปเป็นสังขตธรรม

การใช้หลักของปฏิกูล เราเอามาใช้ในการพิจารณา สภาพธรรม
กายไม่ใช่รูปปรมัตถ์และไม่ใช่สังขตธรรม
กายเป็นอสังขตะธรรม ดังนั้นจะเอาหลักของอนิจจตามาพิจารณาไม่ได้
จะต้องใช้กายคตาสติเป็นหลักในการพิจารณา



อ้างคำพูด:
กายไม่ใช่รูปปรมัตถ์ และไม่ใช่สังขตธรรม
กายเป็นอสังขตะธรรม
และเป็นร่างกาย


ปรมัตถธรรมมี 4 คือ จิต เจตสิก รูป =>(ร่างกาย) นิพพาน

นิพพานเป็นอสังขตธรรม ที่เหลือ เป็นสังขตธรรมซึ่งถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งสิ้น

แต่พี่โฮว่า กาย เป็นอสังขตะ ถึงว่า "ธรรมบ๊อกซึ่งเล" ที่สำคัญยิ่งชีวิต คือ พี่โฮยังไม่รู้จักเข้าใจตัวเองเลยเนี่ย คิกๆๆ อาบน้ำฟอกสบู่ยังไม่รู้เลยฟอกอะไรถูอะไร เด็กถามตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้จักร่างกาย กาย รูป ฮี่ๆๆ


ถึงได้พูดอยู่เสมอว่า พูดธรรมอย่าพูดในลักษณะของอวิชา
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงล้วนเป็นวิชชา

กายเป็นวิชชา มันเป็นเพียงธาตุสี่ เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง ย่อมไม่เป็นสังขาร
ธาตุสี่จึงเป็อสังขตธรรม คือธรรมที่ไม่ปรุงแต่งแล้ว

กายของพระอรหันต์เรียกว่าธาตุสี่ นิพพานเป็นสภาวะธรรมของพระอรหันต์
นิพพานเป็นอสังขตธรรม กายของพระอรหันต์จึงเป็นอสังขตธรรม

เพราะปุถุชนถูกอวิชาบดบังความเป็นจริงของกายไว้
จึงทำให้มองไม่เห็นความเป็นอสังขตของกายหรือธาตุสี่


อ้างคำพูด:
กายเป็นวิชชา มันเป็นเพียงธาตุสี่


ออกทะเล จนพ้นทะเล ถึงมหาสมุทรแล้วตอนนี้ พูดมาไ้ด้กายเป็นวิชชา เป็นธาตุ 4 คิกๆ

วิชชาเป็นปัญญา เป็นนามธรรม ซึ่งตรงข้ามกับอวิชชา (ความไม่รู้) ธาตุ 4 เป็นกาย เป็นรูปธรรม Onion_R

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 161 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร