วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 64 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้อริยบุคคลขั้นต้นคือ โสดาบัน อาการยกตนข่มท่าน พูดดูหมิ่นผู้อื่นซ้ำๆ พรำเพรื่อ ..เห็นผู้เคยต้องปฏิฆะไม่ได้. จะแล่นไปแขวะขบกัดทันที่....ทำไมอาการอย่างนี้จึงไม่มีแก่ท่าน??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 03:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดว่า สัมมาทิฏฐิ นั่นเองที่ลดอาการยกตนข่มท่าน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แม้อริยบุคคลขั้นต้นคือ โสดาบัน อาการยกตนข่มท่าน พูดดูหมิ่นผู้อื่นซ้ำๆ พรำเพรื่อ ..เห็นผู้เคยต้องปฏิฆะไม่ได้. จะแล่นไปแขวะขบกัดทันที่....ทำไม่อาการอย่างนี้จึงไม่มีแก่ท่าน??

พระอริยะเบื้องต้นคือพระโสดาบัน
แม้ว่าท่านยังไม่ได้ละ มานะ โทสะ
แต่ท่านก็ได้ทำให้ มานะ โทสะ เบาบางลงได้แล้ว
อาการเหล่านี้จึงไม่เกิดแก่ท่าน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 06:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างstudent ว่า..สัมมาทิฏฐิ...ก็รวมความทั้งหมดคือกินรวบใว้แล้ว

ถ้าแจกแจงลงไปอีกนิด..ก็อย่างลุงหมานว่า..คือ...เพราะมานะ..โทสะ..ได้ถูกทำให้เบาบางลงแล้ว

บางท่านอาจจะแปลกใจ..ว่ามานะมันเป็นสังโยชน์เบื้องสูงนี้นา..มาเกี่ยวอะไรกับโสดาบันที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำแค่3?..

อันนี้ผมเห็นว่า..อาการของมานะหยาบๆ. มันอยู่ในสักกายทิฏฐิ..นี้แหละ...

ส่วนตัวคิดว่า...การจะบรรลุคุณธรรมขั้นใดก็ตาม...มันไม่ใช่แค่ละสังโยชน์เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น
แต่คุณธรรมข้ออื่นๆก็พัฒนาตามขึ้นมาด้วย...ไม่ว่าจะเป็นพรหมวิหารธรรม....ความเข้าใจกฎของกรรม...ทุกสิ่งที่เราได้รับล้วนเป็นสิ่งที่เราเคยทำมาแล้วทั้งสิ้น...และอื่น ๆ อีก. เป็นต้น

เพื่อนๆมีอะไรจะเพิ่มเติมอีก...ก็เชิญนะครับ..จะรอฟังความคิด ดี..ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 07:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อย่างstudent ว่า..สัมมาทิฏฐิ...ก็รวมความทั้งหมดคือกินรวบใว้แล้ว

ถ้าแจกแจงลงไปอีกนิด..ก็อย่างลุงหมานว่า..คือ...เพราะมานะ..โทสะ..ได้ถูกทำให้เบาบางลงแล้ว

บางท่านอาจจะแปลกใจ..ว่ามานะมันเป็นสังโยชน์เบื้องสูงนี้นา..มาเกี่ยวอะไรกับโสดาบันที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำแค่3?..

อันนี้ผมเห็นว่า..อาการของมานะหยาบๆ. มันอยู่ในสักกายทิฏฐิ..นี้แหละ...

ส่วนตัวคิดว่า...การจะบรรลุคุณธรรมขั้นใดก็ตาม...มันไม่ใช่แค่ละสังโยชน์เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น
แต่คุณธรรมข้ออื่นๆก็พัฒนาตามขึ้นมาด้วย...ไม่ว่าจะเป็นพรหมวิหารธรรม....ความเข้าใจกฎของกรรม...ทุกสิ่งที่เราได้รับล้วนเป็นสิ่งที่เราเคยทำมาแล้วทั้งสิ้น...และอื่น ๆ อีก. เป็นต้น

เพื่อนๆมีอะไรจะเพิ่มเติมอีก...ก็เชิญนะครับ..จะรอฟังความคิด ดี..ดี
กบรู้ได้ไง กบบ่นอะไร สงสัยอะไร. อย่าคิดมากจิ ไม่มีใครรู้จริงเดาเอาทั้งนั้น โสดาบันละแค่ความเห็นเท่านั้น กิเลสตัวหลักยังไม่รู้เรื่องเลย โดนจิ้มหน่อยออกกระทู้เลย อยากได้แต่คำหวานๆเหรอ กัดกายเขายังนิ่งเลย กบเอ๋ยกบนี่แค่ตัวหนังสือนะกบมันไม่เจ็บหรอก อย่าออกอาการจิ ชิวๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 09:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้บ่น....หรือสงสัยอะไร....คิดอยู่ว่าอยากตั้งกระทู้เชิงตรวจสอบภายในตน....ทบทวน...อะไรทำนองนี้....เพราะส่วนตัวแล้ว...มักจะได้อะไรใหม่ๆ จากการตั้งคำถาม...หรือ...การตอบคำถามของกัลยาณมิตร...นะครับ

กบนอกกะลา เขียน:
แม้อริยบุคคลขั้นต้นคือ โสดาบัน อาการยกตนข่มท่าน พูดดูหมิ่นผู้อื่นซ้ำๆ พรำเพรื่อ ..เห็นผู้เคยต้องปฏิฆะไม่ได้. จะแล่นไปแขวะขบกัดทันที่....ทำไมอาการอย่างนี้จึงไม่มีแก่ท่าน??


น่าจะมาคิดเล่นๆนะอเมสซิ่ง....แม้ยังไม่เป็นอริยะก็ตาม....หรือ ท่านใดเป็นอริยะแล้ว..เราก็จะได้ข้อคิด ดี ดี..เป็นธรรมทานไปในตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แม้อริยบุคคลขั้นต้นคือ โสดาบัน อาการยกตนข่มท่าน พูดดูหมิ่นผู้อื่นซ้ำๆ พรำเพรื่อ ..เห็นผู้เคยต้องปฏิฆะไม่ได้. จะแล่นไปแขวะขบกัดทันที่....ทำไมอาการอย่างนี้จึงไม่มีแก่ท่าน??


นานๆทีคุณกบจะเริ่มประเด็น ผมอยากร่วมด้วย ขอตอบว่า

เพราะท่านมีศีลที่พัฒนาแล้ว

เพราะสติท่านพัฒนาแล้ว

เพราะปกติท่านเหล่านี้มีช่วงหยุดคิดก่อนจะทำอะไร

เพราะมันเหนื่อยเปล่า

เพราะมันไม่คุ้ม

เพราะท่านเหล่านั้นคิดว่าจริงๆตัวเองก็ไม่ได้ต่างจากคนทั่วไปเท่าไร อารมณ์เหล่านั้นเกิดกับท่านเองเหมือนกัน ต่างกันแค่ท่านควบคุมมันได้แล้วเท่านั้นเอง

ถูกบ้างหรือเปล่าน๊า

:b1:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 09:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แม้อริยบุคคลขั้นต้นคือ โสดาบัน อาการยกตนข่มท่าน พูดดูหมิ่นผู้อื่นซ้ำๆ พรำเพรื่อ ..เห็นผู้เคยต้องปฏิฆะไม่ได้. จะแล่นไปแขวะขบกัดทันที่....ทำไมอาการอย่างนี้จึงไม่มีแก่ท่าน??


นานๆทีคุณกบจะเริ่มประเด็น ผมอยากร่วมด้วย

เพราะท่านมีศีลที่พัฒนาแล้ว

เพราะสติท่านพัฒนาแล้ว

เพราะปกติท่านเหล่านี้มีช่วงหยุดคิดก่อนจะทำอะไร

เพราะมันเหนื่อยเปล่า

เพราะมันไม่คุ้ม

เพราะท่านเหล่านั้นคิดว่าจริงๆตัวเองก็ไม่ได้ต่างจากคนทั่วไปเท่าไร อารมณ์เหล่านั้นเกิดกับท่านเองเหมือนกัน ต่างกันแค่ท่านควบคุมมันได้แล้วเท่านั้นเอง

ถูกบ้างหรือเปล่าน๊า

:b1:

คิดเอง ไม่มีใครรู้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 09:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่ได้บ่น....หรือสงสัยอะไร....คิดอยู่ว่าอยากตั้งกระทู้เชิงตรวจสอบภายในตน....ทบทวน...อะไรทำนองนี้....เพราะส่วนตัวแล้ว...มักจะได้อะไรใหม่ๆ จากการตั้งคำถาม...หรือ...การตอบคำถามของกัลยาณมิตร...นะครับ

กบนอกกะลา เขียน:
แม้อริยบุคคลขั้นต้นคือ โสดาบัน อาการยกตนข่มท่าน พูดดูหมิ่นผู้อื่นซ้ำๆ พรำเพรื่อ ..เห็นผู้เคยต้องปฏิฆะไม่ได้. จะแล่นไปแขวะขบกัดทันที่....ทำไมอาการอย่างนี้จึงไม่มีแก่ท่าน??


น่าจะมาคิดเล่นๆนะอเมสซิ่ง....แม้ยังไม่เป็นอริยะก็ตาม....หรือ ท่านใดเป็นอริยะแล้ว..เราก็จะได้ข้อคิด ดี ดี..เป็นธรรมทานไปในตัว
กบ ถ้ากบยังยึดติดโลกธรรมอยู่ กบก็จะมีอาการแบบนี้แหล่ะ จะหาความหมายของมัน มองให้เป็นธรรมดา. มันไม่มีสาระหรอก เพราะสิ่งที่คาดเดาว่าสิ่งนั้นต้องมีอาการอย่างนี้ สิ่งนี้ต้องมีอาการอย่างนั้น เพราะวาสนาของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน และที่สุดแล้วไม่มีใครรู้หรอกว่าเจตนาจริงๆแล้วคืออะไร พูดแย่กันทักกันและจิ้มกันบ้างหรือเคืองกันก็เป็นไปได้ไม่ผิดปรกติ และที่ถามเห็นผู้อื่นมีปฎิฆะไม่ได้ จะแล่นแขวะขบกัดทันที ทำไมอาการแบบนี้จึงไม่มีแกท่าน ? กบรู้ได้ไงว่าไม่มีแก่ท่าน คำถามนี้เป็นคำถามที่ขบแขวะซะเอง เพราะกบไม่รู้หรอกที่จริงท่านจะมีหรือไม่มี กบเพียงต้องการกระทำบางอย่างเท่านั้น อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาบัน ๓ จำพวก


ก. สัทธานุสารี

ภิกษุ ท .! จักษุ....โ ส ต ะ ....ฆ า น ะ ....ชิว ห า ...ก า ย ะ ...ม น ะ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ;

บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม(ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ) ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ

ไม่อาจที่จะกระทำ กรรม อันกระทำ แล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.


ข. ธัมมานุสารี

ภิกษุ ท.! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมานอันยิ่ง
แห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ ;

บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ
ไม่อาจที่จะกระทำกรรมอันกระทำ แล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
และไม่ควรที่จะกระทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.



ค. โสตาปันนะ

ภิกษุ ท.! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้
ด้วยอาการอย่างนี้ (ตามที่กล่าวแล้วในข้อบน มีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ;

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส)
ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม)
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต) มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).


- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.


สารีบุตร ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส (โสต)
ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๑.




หมายเหตุ:


เมื่อน้อมใจเชื่อแบบนี้

ภิกษุ ท .! จักษุ....โ ส ต ะ ....ฆ า น ะ ....ชิว ห า ...ก า ย ะ ...ม น ะ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้


เมื่อเห็นแจ้งสภาวะไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

ภิกษุ ท.! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมานอันยิ่ง
แห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้



เมื่อเแจ้งนิพพาน

ภิกษุ ท.! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้
ด้วยอาการอย่างนี้ (ตามที่กล่าวแล้วในข้อบน มีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ;

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส)
ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม)
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต) มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน)


ความติดใจ ยืดเยื้อ ที่ก่อให้เกิดความพยาบาท ย่อมไม่มี
หรือถ้ายังมี ย่อมรู้ลงที่ใจ จบลงที่ใจ คือ กระทำไว้ในใจ

แต่ไม่สร้างเหตุออกไป ทางวจีกรรม กายกรรม
ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ


ชั่วขณะ ที่เกิดผัสสะ แล้วไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
เป็นการสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ตามพระธรรมคำสอน ที่ทรงแสดงไว้





ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.
อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.


ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.
อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.



ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.
อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.



ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือเมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.
อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.



ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.
อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.



นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.


เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม
รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว
กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.



เมื่อสร้างเหตุของการหยุดสร้างเหตุนอกตัว ดังนี้
สภาวะเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นเองเนืองๆ ตามเหตุปัจจัย



ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ;

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ;

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว,
ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.
ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.
ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.
ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.


ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,

ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.



หมายเหตุ:

เมื่อเห็นเนืองๆ ถึงเหตุปัจจัยที่มีอยู่(ผัสสะ) ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย

เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายกับผัสสะที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดการปล่อยวางลงเอง ตามเหตุปัจจัย

เมื่อจิตเกิดการปล่อยวาง จะเห็นแจ้งสภาวะไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง
ปราศจาก การน้อมเอา คิดเอา หรือมีความพยายามกระทำเพื่อให้เกิดขึ้น




พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 265

เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ

ดูก่อนอานนท์ ธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมนี้แล
ซึ่งพระอริยาสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว

เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบาย ทุคคติและวินิบาต สิ้นแล้ว

ฉันเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า ดังนี้.



หมายเหตุ

การหยุดสร้างเหตุนอกตัว เป็นสภาวะศิล ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เมื่อกระทำดังนี้ได้ ชั่วขณะที่หยุดสร้างเหตุนอกตัว(สำรวม สังวร ระวัง) สมาธิย่อมเกิดขึ้นเอง

จึงเป็นสภาวะศิล ที่ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 10:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่ฝึกมาดีแล้ว ย่อมรู้ว่าตัวเองกำลังจะทำอะไร ย่อมเกิดปัญญาว่าทำแล้วผลจะเป็นอย่างไร

เมื่อรู้ว่าผลจะไม่ดี ก็รีบดับเหตุเสียก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 10:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ระวังใบมีดโกนอาบน้ำผึ้งนะ มันหวานแต่มันแสบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ระวังใบมีดโกนอาบน้ำผึ้งนะ มันหวานแต่มันแสบ

ดีนะเป็นมีดโกนอาบน้ำผึ้งอย่างมากก็แค่เป็นแผลแสบนิดหน่อย ถ้าเป็นน้ำผึ้งผสมยาพิษนี่สิ ตอนกินมันอร่อยนะ แต่ผลของมันภายหลังนี่สิ อาจจะดิ้นพรวดพลาดขาดใจตาย 555+ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แม้อริยบุคคลขั้นต้นคือ โสดาบัน อาการยกตนข่มท่าน พูดดูหมิ่นผู้อื่นซ้ำๆ พรำเพรื่อ ..เห็นผู้เคยต้องปฏิฆะไม่ได้. จะแล่นไปแขวะขบกัดทันที่....ทำไมอาการอย่างนี้จึงไม่มีแก่ท่าน??

เด่วจะลองกำหนดรู้ตัวเองก่อนนะเจ้าค่ะ ว่ามีอาการยกตนข่มท่านรึป่าว เพราะทุกวันนี้ก็ไม่ค่อยได้ข่มใครเพราะยังไม่เจอใครมาข่มหรือมาดูหมิ่นอ่ะนะ :b12: และคุณน้องก็ขี้เกียจพยายามอยากจะบรรลุธรรมแล้วเพราะเมื่อก่อนพยายามมากไป :b32: อยากเป็นคนปกติที่ไม่ทุกข์กายทุกใจก็พอ :b9: แต่ก็มีบ้างแหละเจ้าค่ะ ที่ออกอาการ :b13:
อยากมากก็แค่สะกิดเล่น หยอกเล่น แล้วก็หัวเราะสนุกสนาน มันก็ไม่ได้ทุกข์นะจิตใจก็โล่งปกติดี 555+
สงสัยแถวบ้านเค้าเรียกพวกเพี้ยนหรือสติไม่ดี :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


เราคิดว่า คงจะเห็นความไม่เที่ยงไงล่ะ เพราะทุกสิ่งมีเกิดมีดับ มีการเจอแล้วก็มีการพลัดพราก
ทุกสิ่งทุกอย่างคืออนิจจัง แล้วจะต้องไปยกตนข่มท่านเพื่ออะไร ใช่ม๊ะ :b1: :b41: :b55: :b49:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 64 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร