วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 01:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม ตามแนว สติปัฏฐาน๔ บทที่ ๒

ในบทที่ ๒ แห่งการเรียนรู้ถึง หลักปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม ตามแนว สติปัฏฐาน๔ ข้าพเจ้าจะได้อธิบาย และทำความเข้าใจ ในหลักปฏิบัติอันเกี่ยวข้อง ซึ่งข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้ว่า การปฏิบัติตามแนว สติปัฏฐาน๔ สามารถปฏิบัติได้ตั้งแต่ระดับ ปุถุชน คนทั่วไปเพื่อการดำรงชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ไปจนถึงระดับอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันจวบจนนิพพานตามหลักพุทธศาสนาที่มีปรากฏอยู่
การปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม ตามแนวสติปัฏฐาน๔ ตามหลักพุทธศาสนา ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก จะมีสอนไว้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติได้ทุกคนทุกชนชั้น ไปจนถึงระดับสามารถทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมชั้นอริยะบุคคลได้ตามลำดับ เพียงแต่ในพระไตรปิฎกนั้นจะขาดหลักธรรมที่เป็นแก่นแท้ในการฝึกปฏิบัติ ที่ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎก มีแต่หลักธรรมอันเป็นกุศลธรรม ซึ่งในทางพระไตรปิฎกให้ชื่อว่า มรรคอันมีองค์ ๘ และ อื่นๆอีกหลากหลาย ส่วนหลักธรรมที่เป็นอกุศลก็มีปรากฏอยู่หลายข้อหลายหมวด ซึ่งท่านทั้งหลายควรได้ศึกษาค้นคว้า ด้วยตัวท่านเอง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ยิ่งขึ้น
การปฏิบัติธรรม ตามแนว สติปัฏฐาน ๔ ขั้นพื้นฐาน หรือขั้นเบื้องต้นจะเป็นการฝึกปฏิบัติโดยรวมแห่ง กาย,เวทนา,จิต,ธรรม โดยแบ่งแยกออกเป็น ๔๐ กอง รวมเรียกว่า กัมมัฏฐาน ซึ่งจะเป็นแบบเรียนหรือวิธีปฏิบัติโดยรวมชั้นพื้นฐาน หรือขั้นเบื้องต้น อันเกี่ยวกับ กาย,เวทนา,จิต,ธรรม ซึ่งท่านทั้งหลายที่มีความศรัทธาควรได้ฝึกอบรมหรือปฏิบัติหรือทำความเข้าใจให้เป็นไปตามลำดับขั้นลำดับข้อ หรือขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของตัวท่านทั้งหลายว่าควรจะนำเอา กัมมัฏฐานข้อใด มาคิดมาพิจารณา ปฏิบัติหรือฝึกอบรมให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติที่ไม่เกินความสามารถและศักยภาพของตัวท่าน ที่สำคัญ ความจำแห่งกัมมัฏฐานแต่ละข้อล้วนเชื่อมโยงต่อเนื่องกันจะเป็นบันไดแห่งปัญญา นำท่านไปสู่มรรคผลนิพพานได้
หลายๆท่านที่เคยได้เรียนรู้หรือได้ศึกษาเกี่ยวกับกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กองมาก่อน อาจจะมีข้อโต้แย้ง หรือมีความคิดโต้แย้ง เพราะความรู้ที่ท่านทั้งหลายได้รับมา กับความรู้ที่ข้าพเจ้าจะอธิบายคนละอย่างกัน คนละมุมมองกัน เพราะการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าผ่านการปฏิบัติ แบบ กัมมัฏฐาน ๔๐ กองมาแล้ว ก็จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนั้นท่านทั้งหลายควรได้อ่านได้ศึกษาทำความเข้าใจโดยใช้สติปัญญาคิดพิจารณาให้ดี จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ขึ้นอยู่กับการคิดพิจารณาของตัวท่านทั้งหลาย ซึ่งกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กองได้แก่
กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, อนุสสติ ๑๐, พรหมวิหาร ๔, อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, จตุธาตุววัตถาน ๑ ,อรูป ๔
ในที่นี้จะไม่อธิบายหรือขยายความในกัมมัฏฐานแต่ละกอง แต่จะแนะแนวทางให้ได้รู้ว่า กัมมัฏฐานหมวดใด เป็นการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน๔ ในข้อใดโดยจะแยกให้ได้ศึกษาเป็นอย่างๆไป ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่แยกจากกัน เพียงแต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น จึงอธิบายแนะแนวแบบแยกออกเป็นส่วนๆดังนี้.-
กสิณ ๑๐ เป็นการฝึกอบรมหรือการปฏิบัติเกี่ยวกับจิต(ธรรมชาติรับรู้อารมณ์) คือ พื้นฐานของความรู้เกี่ยวกับจิต(ธรรมชาติรับรู้อารมณ์) ปฏิบัติเพื่อให้จิตมั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน หรือจะเรียกสั้นๆว่า ฝึกเพื่อให้เกิดสมาธิ ก็ได้ อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง หากได้คิดพิจารณาต่อยอดไปก็จะรู้และเข้าใจว่า ความฟุ้งซ่าน ไม่สงบใจเกิดจากอะไร เกิดจากสิ่งใด เกิดขึ้นได้อย่างไรซึ่งจะเกี่ยวโยงไม่ถึงเรื่องของ “ฌาน”(ชาน)ด้วย
อสุภะ ๑๐ เป็นการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ กาย หรือ ร่างกาย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งยังผสมรวมการปฏิบัติเกี่ยวกับ เวทนา, และ จิต เข้าไปด้วยพร้อมกัน ข้อสำคัญท่านทั้งหลายควรได้ฝึกปฏิบัติหรือฝึกอบรมจิตในข้อกสิณมาก่อน จึงจะดี แต่จุดมุ่งหมายของ อสุภะ ๑๐ คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ร่างกาย ซึ่งย่อมเชื่อมโยงเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไปถึง เวทนา,และจิต ด้วยโดยอัตโนมัติ
อนุสสติ ๑๐ ในข้อนี้เป็นการฝึกอบรมหรือปฏิบัติโดยรวมทั้ง เรื่องของ กาย ,เวทนา,จิต,ธรรม เป็นการปฏิบัติชั้นพื้นฐาน เพื่อมิให้จิตฟุ้งซ่าน มีสมาธิ ,เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเศร้าหมอง หรือเพื่อทำให้จิตใจสบาย ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ก็เรียกว่า เป็นการปลอบใจตัวเองโดยใช้ประสบการณ์ต่างๆที่ดี เข้ามาช่วยทำให้จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน หรืออารมณ์ ความรู้สึกที่ดี ไม่เศร้าหมอง
พรหมวิหาร ๔ เป็นการฝึกปฏิบัติพร้อมกันสามด้าน คือ ทั้งเกี่ยวกับ เวทนา,จิต,ธรรม เพราะพรหมวิหาร ๔ นี้ แท้จริงแล้วเป็นสภาพสภาวะแห่งจิต อารมณ์ ความรู้สึก ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) จะเรียกว่า เป็นธรรมชาติของมนุษย์ล้วนต้องมีสภาพ พรหมวิหาร ๔ ด้วยกันทุกคนก็ว่าได้ เพียงแต่มนุษย์จะไม่รู้ว่าสภาพสภาวะจิตใจเหล่านั้นเรียกว่าอะไร ดังนั้นจึงเกิดเป็นธรรมพรหมวิหาร ๔ เพื่อเตือนสติของแต่ละบุคคลหากระลึกนึกถึงอยู่เสมอ
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ เป็นการฝึกอบรมหรือปฏิบัติเรื่องของ กาย ทั้ง กายภายนอก และกายภายใน ในข้อนี้จงพิจารณาให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติหรือจะพิจารณาให้เป็นไปตามหลักการทำงานของร่างกาย ก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจในชั้นพื้นฐานในเรื่องของร่างกายทั้งภายนอกและภายใน อันจักต่อยอดไปถึงสภาพร่างกายที่มี เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายที่เคยได้เรียนได้ศึกษามาจากพระไตรปิฎก อาจมีความคิดโต้แย้ง แต่ท่านทั้งหลายต้องคิดพิจารณาให้ดีว่า อาหารที่แต่ละบุคคลได้รับประทานเข้าไปนั้น ก่อนที่จะกลายเป็นปฏิกูล มีประโยชน์หรือมีคุณต่อร่างกายของแต่ละบุคคลอย่างไร ประกอบไปด้วยอะไร เรารับประทานอาหารเพียงด้วยรสชาติ หรือด้วยคุณประโยชน์ อย่างนี้เป็นต้น
จตุธาตุววัตถาน ๑ จะเป็นการฝึกอบรมหรือปฏิบัติที่ต่อเนื่องจากข้อ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ให้ได้รู้ว่า ทั้งกายภายใน ทั้งกายภายนอก มีต้นตอมาจากสิ่งใด เมื่อขึ้น และเมื่อดับไป เป็นเช่นไร เป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยว กาย ซึ่งย่อมต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ เวทนา,จิต,ธรรม อีกด้วย ในข้อนี้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในอันที่จะต่อยอดไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุธรรมชั้น อริยบุคคล ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา ในอันที่จะคิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติก่อนหน้านี้ตามลำดับ
อรูปฌาน ๔ เป็นการฝึกอบรมหรือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในด้าน เวทนาและจิต เป็นหลัก เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสภาพที่แท้จริงของ เวทนา และ จิต ของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) อันจักเป็นพื้นฐานของการรู้จักขจัดอาสวะให้สิ้น จะได้รู้จักสภาพของ เวทนา และจิต ที่ปราศจาก อาสวะเป็นเช่นใด อาสวะคืออะไร ประกอบไปด้วยสิ่งใดบ้าง ในข้อนี้ล้วนจักต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้หลักปฏิบัติในข้อก่อนหน้านี้มาตามลำดับ
ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในตอนต้น กัมมัฏฐาน ๔๐ กอง ล้วนเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ และเกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้ง กาย ,เวทนา,จิต,ธรรม ข้าพเจ้าเพียงแต่ แยกแยะให้เห็นเป็นอย่างๆเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจสำหรับท่านทั้งหลาย ที่มีความศรัทธาและต้องการจะปฏิบัติธรรม ทั้งในชีวิตประจำวัน หรือจะปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุถึงชั้นอริยบุคคลก็ตามแต่ ข้อควรจำต้องเข้าใจคำว่า “พื้นฐานหรือเบื้องต้นให้ถ่องแท้” ส่วนรายละเอียดของกัมมัฏฐานแต่ละกองนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายค้นคว้าศึกษาด้วยตัวท่านเองเถิด

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 22:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
ท่านศรีอริยะจะมาชวนผู้คนไปเดินอ้อม ทำสมถะภาวนา อีกหรือครับ

ตัวย่างเช่นกสิณ 10 เป็นสมถะภาวนา วิชาของฤาษีชัดๆเลย
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2013, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s006
ท่านศรีอริยะจะมาชวนผู้คนไปเดินอ้อม ทำสมถะภาวนา อีกหรือครับ

ตัวย่างเช่นกสิณ 10 เป็นสมถะภาวนา วิชาของฤาษีชัดๆเลย
s004


คุณขอรับ อย่าหาว่าข้าพเจ้าดูหมิ่นดูถูกคุณเลยนะขอรับ ระดับสมองสติปัญญาของคุณมันตื้นเกินไปขอรับ คุณกลับไปอ่านที่ข้าพเจ้าสอนแล้วคิดพิจารณาช้าๆซิว่า ที่คุณกล่าวว่า กสิณ ๑๐ เป็น สมถะภาวนา วิชาของฤาษี อะไรนั่น มันเกี่ยวข้องกับสติปัฏฐาน สี่ในข้อใด อ่านแล้วหัดใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาให้ถ่องแท้ อย่าทำเป็นสู่รู้ อวดรู้เลยขอรับ แล้วอย่างคุณไม่ใช่อวดรู้อวดฉลาดอย่างเดียว แถมยังแถเก่งซะด้วย กลับไปอ่านแล้วคิดพิจารณาให้ดีเถอะขอรับ แล้วจะร้องว่า "อ๋อ..อ๋อ....อ๋อ.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2013, 22:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
คุณศรีอริยะทราบหรือเปล่าครับว่า มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นไม่ใช่จะฝึกปฏิบัติได้ทุกคนเสมอไปและไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมาปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐานสูตรเสียก่อนจึงจะได้บรรลุธรรม

พระสูตรทั้ง 21,000 สูตรนั้นแต่ละสูตรล้วนแล้วแต่ทำให้คนหรือกลุ่มชนต่างๆบรรลุธรรมได้ทั้งนั้น

มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเหมาะสำหรับคนที่มีปัญามาก มีความฉลาดเฉลียวและมีความเพียรมากเหมือนชาวกุรุ ซึ่งเป็นกลุ่มของปัญญาชนในสมัยนั้น พระบรมศาสดาจึงได้ทรงเลือกเอาธรรมมหาสติปัฏฐานสูตรขึ้นมาสอน.

เอาแค่สติปัฏฐานสูตรธรรมดาคือพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แล้วเอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียได้น่าจะฟังดูง่ายกว่า สั้นกว่าสำหรับผู้คนส่วนใหญ่

ที่มาแสดงความเห็นมิได้ตั้งใจมาขวางธรรมแต่อยากมาติงให้ลองคิดพิจารณากันให้ดีว่าอย่านำผู้คนมาเข้าเบ้าหลอมเบ้าเดียว โดยอ้างเอาพระวาจาที่ว่า "เอกายโนมรรคโค" แล้วมากล่าวว่า มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นทางอันเอกเพียงสายเดียว ใครประสงค์จะบรรลุธรรมต้องมาเดินทางสายนี้เท่านั้น พระพุทธบิดาทรงมีคำสอนไว้ตั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ที่จะทำให้คนบรรลุธรรม

ตัวอย่าเช่นอาทิตตปริยายสูตรนำชฎิล 3 พีน้องพร้อมบริวารเป็นพันๆ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

บทเยธัมมา.......ทำท่าอุปติสสะและท่านโกลิตตะบรรลุธรรมทันที

บทธัมมจักกัปวัตนสูตรแลอนัตตลักขณะสูตร ทำท่านปัญจวัคคีย์สำเร็จธรรม

พิจารณากันดูให้ดีนะครับ มหาสติปัฏฐานสูตรไม่ใช่ง่ายหรือเหมาะกับคนทั่วๆไปนะครับ
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2013, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
คุณศรีอริยะทราบหรือเปล่าครับว่า มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นไม่ใช่จะฝึกปฏิบัติได้ทุกคนเสมอไปและไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมาปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐานสูตรเสียก่อนจึงจะได้บรรลุธรรม

พระสูตรทั้ง 21,000 สูตรนั้นแต่ละสูตรล้วนแล้วแต่ทำให้คนหรือกลุ่มชนต่างๆบรรลุธรรมได้ทั้งนั้น

มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเหมาะสำหรับคนที่มีปัญามาก มีความฉลาดเฉลียวและมีความเพียรมากเหมือนชาวกุรุ ซึ่งเป็นกลุ่มของปัญญาชนในสมัยนั้น พระบรมศาสดาจึงได้ทรงเลือกเอาธรรมมหาสติปัฏฐานสูตรขึ้นมาสอน.

เอาแค่สติปัฏฐานสูตรธรรมดาคือพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แล้วเอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียได้น่าจะฟังดูง่ายกว่า สั้นกว่าสำหรับผู้คนส่วนใหญ่

ที่มาแสดงความเห็นมิได้ตั้งใจมาขวางธรรมแต่อยากมาติงให้ลองคิดพิจารณากันให้ดีว่าอย่านำผู้คนมาเข้าเบ้าหลอมเบ้าเดียว โดยอ้างเอาพระวาจาที่ว่า "เอกายโนมรรคโค" แล้วมากล่าวว่า มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นทางอันเอกเพียงสายเดียว ใครประสงค์จะบรรลุธรรมต้องมาเดินทางสายนี้เท่านั้น พระพุทธบิดาทรงมีคำสอนไว้ตั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ที่จะทำให้คนบรรลุธรรม

ตัวอย่าเช่นอาทิตตปริยายสูตรนำชฎิล 3 พีน้องพร้อมบริวารเป็นพันๆ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

บทเยธัมมา.......ทำท่าอุปติสสะและท่านโกลิตตะบรรลุธรรมทันที

บทธัมมจักกัปวัตนสูตรแลอนัตตลักขณะสูตร ทำท่านปัญจวัคคีย์สำเร็จธรรม

พิจารณากันดูให้ดีนะครับ มหาสติปัฏฐานสูตรไม่ใช่ง่ายหรือเหมาะกับคนทั่วๆไปนะครับ
:b11:


ขออภัยนะขอรับ คุณผู้ใช้ชื่อว่า asoka กับ เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า โฮฮับ น่าจะเป็นคนๆเดียวกันนะขอรับ เพราะมีทั้งทิฏฐิ อวดรู้ อวดฉลาด อ่านสิ่งที่ข้าพเจ้าสอนให้แล้วไม่คิดพิจารณา ไม่รู้ว่า ศาสนาเขามีหลักการเรียนการสอนอย่างไร แต่อวดรู้ หลงตัวเองคิดว่ารู้มาก รู้ตำรา แต่ไม่ได้รู้ให้เป็นไปตามหลักความจริง จะว่าคุณบิดเบือน ก็ยังได้

[b]ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์โลกอย่างคุณเอาไว้ว่า ศาสนามีหลักการเรียนการสอนที่ไม่เหมือนการเรียนการสอนในหลักวิชาการอื่นๆ ศาสนา สอนข้อเดียว ใช้ได้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงระดับอริยะบุคคล หมายความว่า สามารถใช้ฝึกปฏิบัติหรือพิจารณาได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไปจนถึงระดับอริยะบุคคล จะปฏิบัติรู้มากรู้น้อย ก็ขึ้นอยู่กับสมองสติปัญญาของแต่ละบุคคล [/b]

คุณผู้ใช้ชื่อว่า asoka ก็ยังดันทุรังเถียง โอ้อวด เหมือนผู้ที่ใช้ชื่อว่า "โฮฮับ" ไม่มีผิด
กลับไปอ่านสิ่งที่ข้าพเจ้าสอนแล้วคิดพิจารณา ฝึกปฏิบัติ แล้วก็จะรู้เอง ไม่ต้องยกเอา พระสูตรนั้นพระสูตรนี้มาอ้าง อันนั้นมันในตำรา แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าสอน คือหลักปฏิบัติ ซึ่งก็ย่อมรวมเอาหลักวิชาการ อันเกิดจากการคิดพิจารณา กลายเป็นความรู้ความเข้าใจผสมอยู่ด้วย (จะเรียกว่าเกิด "ปัญญา" ก็ว่าได้)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron