วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า สมุฏฐาน กับคำว่า ปัจจัย
คำว่า สมุฏฐาน กับคำว่า ปัจจัยในเรื่องรูปนี้มีความหมายต่างกัน
สมุฏฐาน หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้รูปเกิด
ปัจจัยนั้น หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้รูปเกิด และยังตามอุปาการะรูปที่เกิดต่อไปอีกด้วย
ฉะนั้น ปัจจัยจึงมีความหมายกว้างขวางกว่าสมุฏฐาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 17:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
สมุฏฐาน เป็นชื่อของ.....เหตุ.....ที่แปลงร่างไป น่าจะใช่ไหมครับ ลุงหมาน

เพราะ ตามธรรมดาโลกแล้ว เหตุ มักจะเป็นคู่กัดกับ ปัจจัย

เหตุ กระทบปัจจัย เกิด กรรม แล้วต่อไปเป็นผล หรือ วิบาก
:b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b27:
สมุฏฐาน เป็นชื่อของ.....เหตุ.....ที่แปลงร่างไป น่าจะใช่ไหมครับ ลุงหมาน

เพราะ ตามธรรมดาโลกแล้ว เหตุ มักจะเป็นคู่กัดกับ ปัจจัย

เหตุ กระทบปัจจัย เกิด กรรม แล้วต่อไปเป็นผล หรือ วิบาก
:b43:

ขออธิบายดังนี้ครับ
คำว่าสมุฏฐาน ก็ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ทั้ง ๔ อย่างนี้ไม่ใช่เหตุ แต่เป็นสมุฏฐานให้รูปเกิด ฉะนั้นรูปทั้งหมดมี ๒๘ รูปเป็น อเหตุกะเหตุ เหตุจะมีแต่ฝ่ายนามธรรมมี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหะเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ยกตัวอย่างนามธรรม เช่น โลภเหตุ ดวงแรก มีเจตสิกเกิดร่วม ๑๙ ดวง มีเหตุ ๒ คือ โลภเหตุ โมหะเหตุ เมื่อยกเหตุทั้ง ๒ ออก จะเหลือปัจจัยที่เกิดร่วม ๑๗ ดวง ที่ไม่ใช่เหตุ เป็นธรรมที่เกิดร่วมกัน ฉะนั้นเหตุกับปัจจัยจึงเป็นของคู่กัน

เหตุกับปัจจัยเป็นสหชาตปัจจัย(เป็นธรรมที่เกิดพร้อมกัน)เหตุก็เป็นปัจจัยด้วย แต่ปัจจัยนั้นเป็นเพียงแค่ปัจจัยอย่างเดียว ปัจจัยไม่ใช่เหตุ เหตุมิใช่จะเกิดขึ้นมาลอยๆโดยมิต้องอาศัยธรรมอื่นๆหรือปัจจัยอื่นๆ นั้นไม่ได้เลย อย่างเช่นรูปทั้งหมดก็ยังต้องอาศัยธรรมอื่นหรือสมุฏฐานอื่นด้วย

ส่วนวิบากนั้นสืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อเหตุเกิดขึ้น ผลก็ย่อมปรากฎเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน เมื่อทำเหตุแล้วจะไม่ให้เกิดผลก็ไม่ได้ เหตุกับผลเป็นธรรมคนละอย่างกันแต่เกี่ยวเนื่องกัน
และส่วนมากจะใช้คำพูดว่า แล้วแต่เหตุปัจจัยซึ่งเป็นคำพูดที่รวมกันไปเลยไม่ได้แยกปัจจัยออกจากเหตุ
เช่นว่า เมล็ดพืชเป็นเหตุ ดินน้ำอากาศ เป็นปัจจัย มีเมล็ดพืชอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะงอกเป็นลำต้นขึ้นมาได้ เมล็ดพืชเมื่องอกแล้วก็ไม่ใช่เหตุอีกต่อไป ที่นี้ก็เหลือแต่ปัจจัยอย่างเดียวที่ตามรักษาต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกติ ชอบพูดคำว่า แล้วแต่เหตุปัจจัย

ทำไมจึงชอบพูดแบบนั้น เพราะ มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ

แล้วแต่เหตุปัจจัยที่ได้เคยกระทำไว้(อดีต)
และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่ ณ ปัจจุบันขณะ(ปัจจุบัน)


กรรม(เหตุ) ที่เคยกระทำไว้ในอดีต กรรมนั้นๆ สามารถล่วงตกไปได้
ขึ้นอยู่กับ กรรม(เหตุ) ที่ทำขึ้นในปัจจุบัน

เช่น สามเณร ที่อยู่กับพระสารีบุตร ที่จะต้องหมดอายุไข เหตุจาก วิบากกรรมที่ทำไว้

ระหว่างที่สามเณร กำลังเดินกลับบ้าน ได้ช่วยชีวิตสัตว์ไว้(กรรม/เหตุ ณ ปัจจุบัน)

แทนที่สามเณรจะหมดอายุไข ตามเหตุปัจจัยที่ได้เคยกระทำไว้

กลับกลายเป็นว่า โดนกรรมใหม่ตัดรอน ให้ตกสิ้นไปทันที

จริงแล้วจะต้องตาย(เหตุจากกรรมเก่า) กลับไม่ตาย(เหตุจากกรรมใหม่)

การกระทำทุกชนิด ไม่สามารถคาดเดาผลที่เกิดขึ้นนั้นๆได้

เพราะทุกสรรพสิ่ง แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
ที่ทำให้เกิดขึ้นใหม่ ณ ปัจจุบันขณะ ทุกๆขณะ ของการกระทำ



สิ่งที่พระองค์ทรงสอนไว้ ที่ควรนำมาเป็นแนวทาง เพื่อดับเหตุของการเกิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ

เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์



[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.



อะไรที่พูดแล้ว ไม่ใช่การดับเหตุของการเกิด(มีแต่การสร้างเหตุของการเกิด) พระองค์ไม่ทรงสอน

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคล บางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น นำเขาไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย…

ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่าวว่า
คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้

เมื่อเป็นอย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ

ส่วนใครกล่าวว่า
คนทำกรรมอันจะพึงให้ผล อย่างใดๆ
ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้


เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.
ติก. อํ. ๒๐/๓๒๐/๕๔๐.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


เลิกกินเจเพราะเหตุปัจจัยด้วยหรือเปล่าครับแล้วเหตุปัจจัยเพราะอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปกติ ชอบพูดคำว่า แล้วแต่เหตุปัจจัย

ทำไมจึงชอบพูดแบบนั้น เพราะ มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ

แล้วแต่เหตุปัจจัยที่ได้เคยกระทำไว้(อดีต)
และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่ ณ ปัจจุบันขณะ(ปัจจุบัน)


กรรม(เหตุ) ที่เคยกระทำไว้ในอดีต กรรมนั้นๆ สามารถล่วงตกไปได้
ขึ้นอยู่กับ กรรม(เหตุ) ที่ทำขึ้นในปัจจุบัน


มีพุทธสุภาษิตว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เจตนานั่นแหละเป็นกรรม" อันมาจากพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทาง กาย วาจา ใจ

ฉะนั้นการกล่าวว่า กรรม(เหตุ) นั้นคงไม่ใช่

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในนิพเพธิกสูตร ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม

เจตนาได้แก่ ความตั้งใจกระทำ ซึ่งแบ่งได้เป็น ๓ อย่างคือ
๑. บุพเจตนา เจตนาก่อนทำ
๒. มุญจนเจตนา เจตนาในขณะที่กระทำ
๓. อปราปรเจตนา เจตนาเมื่อได้กระทำไปแล้ว

เรื่องสามเณรนั้น เป็นกรรมดีที่ส่งผลมาจากอดีต มาเป็นอุปปีฬกรรม หรือ อุปฆาตกรรม
ในขณะที่กระทำอยู่นั้น เป็นการตัดรอนผลของกรรมอื่นให้ตกล่วงไป พร้อมกับส่งผลด้วย

สนใจเรื่องกรรมโปรดอ่านในลิ้งนี้ครับ
v
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=45642

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เรื่องสามเณรนั้น เป็นกรรมดีที่ส่งผลมาจากอดีต มาเป็นอุปปีฬกรรม หรือ อุปฆาตกรรม
ในขณะที่กระทำอยู่นั้น เป็นการตัดรอนผลของกรรมอื่นให้ตกล่วงไป พร้อมกับส่งผลด้วย



คงอ่านหนังสือคนละเล่มกัน

สามเณรติสสะ

“พระสารีบุตรเถระ ซึ่งเป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้า มีสามเณรองค์หนึ่งชื่อติสสะ อายุ 7 ปี มาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนกับท่านเป็นระยะเวลาหนึ่งปี วันหนึ่งพระสารีบุตรสังเกตเห็นลักษณะของสามเณรว่าจะมีอายุได้อีก 7 วันเท่านั้น
ก็จะถึงแก่มรณภาพ

ท่านพระสารีบุตรจึงเรียกสามเณรมาบอกึงความจริงให้ทราบว่า ตามรำราหมอดูและตำราดูลักษณะเธอจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน ดังนั้น ให้เธอกลับบ้านล่ำลา โยมพ่อ แม่ และญาติเสีย

สามเณรมีความโศกเศร้าเสียใจมากร้องไห้ร่ำไรน่าสงสาร นมัสการอาจารย์แล้วเดินทางกลับบ้านด้วยดวงหน้าอันหม่นหมอง

ระหว่างที่สามเณรเดินทางผ่านไปนั้น ได้พบปลาน้อยใหญ่ในสระน้ำซึ่งกำลังแห้งเขิน เมื่อสามเณรไปถึงปลากำลังดิ้นทุรนทุรายเพราะน้ำไม่เพียงพอ สามเณรจึงรำพึงว่า

เออ! เรานี้จะตายภายใน 7 วัน ปลานี้หากไม่มีน้ำจะต้องตายในวันนี้แล้ว
อย่ากระนั้นเลยถึงเราจะต้องตายก็ควรจะโปรดสัตว์ก็คือปลาเหล่านี้ให้พ้นจากความตายเถิด

สามเณรจึงช้อนปลาน้อยใหญ่ทั้งหมดไว้ในภาชนะคือ บาตรของตนเพื่อนำไปปล่อยแม่น้ำใหญ่ ระหว่างทางพบอีเก้ง ถูกแร้วของนายพราน สามเณรก็ปล่อยอีเก้งอีก

เมื่อเดินทางไปถึงบ้าน ได้บอกเรื่องที่ตนจะตายแก่ญาติมีบิดามารดาเป็นต้น
ต่างก็ร่ำไห้สงสารสามเณรยิ่งนัก ทุกคนต่างคอยเวลาที่สามเณรจะมรณภาพด้วยดวงใจที่แสนเศร้า

เลยกำหนดหนึ่งวันสองวันตามลำดับ จนล่วงกำหนดไป 7 วัน สามเณรก็ยังไม่ตายกลับมีผิวพรรณผ่องใสยิ่งขึ้น ญาติจึงบอกให้สามเณรกลับไปหาพระสารีบุตรเถระ สามเณรเดินทางไปถึง

พระสารีบุตรมีความประหลาดใจ ถึงกับจะเผาตำราทิ้ง

สามเณรติสสะจึงกราบเรียนให้ทราบเกี่ยวกับการนำปลาไปปล่อยในน้ำ และปล่อยอีเก้งจากแร้วของนายพราน การกรทำเพื่อยืดชีวิตสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จึงเป็นบุญกรรมที่เป็นพลังให้พ้นจากความตายได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม


ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

๓ ประการเหล่าไหนเล่า ?
๓ ประการ คือ :-

โลภะ (ความโลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด

เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้วในเนื้อนาดี.

อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ
มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.

กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่าง ในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอปรปริยายะ (คือ ในเวลาต่อมาอีก) ก็ตาม.

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ
มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด;

กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ
มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด;

กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง

ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใดสนใจเรื่องกรรม อ่านในกระทู้นี้ ก็ดีนะ

พุทธวจนะจากพระโอษฐ์ ว่าด้วยเรื่องของกรรม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=38295

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ผู้ใดสนใจเรื่องกรรม อ่านในกระทู้นี้ ก็ดีนะ

พุทธวจนะจากพระโอษฐ์ ว่าด้วยเรื่องของกรรม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=38295

ทำไมเลิกกินเจล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
asoka เขียน:
:b27:
สมุฏฐาน เป็นชื่อของ.....เหตุ.....ที่แปลงร่างไป น่าจะใช่ไหมครับ ลุงหมาน

เพราะ ตามธรรมดาโลกแล้ว เหตุ มักจะเป็นคู่กัดกับ ปัจจัย

เหตุ กระทบปัจจัย เกิด กรรม แล้วต่อไปเป็นผล หรือ วิบาก
:b43:

ขออธิบายดังนี้ครับ
คำว่าสมุฏฐาน ก็ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ทั้ง ๔ อย่างนี้ไม่ใช่เหตุ แต่เป็นมุฏฐานให้รูปเกิด ฉะนั้นรูปทั้งหมดมี ๒๘ รูปเป็น อเหตุกะเหตุ เหตุจะมีแต่ฝ่ายนามธรรมมี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหะเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ยกตัวอย่างนามธรรม เช่น โลภเหตุ ดวงแรก มีเจตสิกเกิดร่วม ๑๙ ดวง มีเหตุ ๒ คือ โลภเหตุ โมหะเหตุ เมื่อยกเหตุทั้ง ๒ ออก จะเหลือปัจจัยที่เกิดร่วม ๑๗ ดวง ที่ไม่ใช่เหตุ เป็นธรรมที่เกิดร่วมกัน ฉะนั้นเหตุกับปัจจัยจึงเป็นของคู่กัน

เหตุกับปัจจัยเป็นสหชาตปัจจัย(เป็นธรรมที่เกิดพร้อมกัน)เหตุก็เป็นปัจจัยด้วย แต่ปัจจัยนั้นเป็นเพียงแค่ปัจจัยอย่างเดียว ปัจจัยไม่ใช่เหตุ เหตุมิใช่จะเกิดขึ้นมาลอยๆโดยมิต้องอาศัยธรรมอื่นๆหรือปัจจัยอื่นๆ นั้นไม่ได้เลย อย่างเช่นรูปทั้งหมดก็ยังต้องอาศัยธรรมอื่นหรือสมุฏฐานอื่นด้วย

ส่วนวิบากนั้นสืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อเหตุเกิดขึ้น ผลก็ย่อมปรากฎเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน เมื่อทำเหตุแล้วจะไม่ให้เกิดผลก็ไม่ได้ เหตุกับผลเป็นธรรมคนละอย่างกันแต่เกี่ยวเนื่องกัน
และส่วนมากจะใช้คำพูดว่า แล้วแต่เหตุปัจจัยซึ่งเป็นคำพูดที่รวมกันไปเลยไม่ได้แยกปัจจัยออกจากเหตุ
เช่นว่า เมล็ดพืชเป็นเหตุ ดินน้ำอากาศ เป็นปัจจัย มีเมล็ดพืชอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะงอกเป็นลำต้นขึ้นมาได้ เมล็ดพืชเมื่องอกแล้วก็ไม่ใช่เหตุอีกต่อไป ที่นี้ก็เหลือแต่ปัจจัยอย่างเดียวที่ตามรักษาต่อไป


:b8: อนุโมทนาค่ะ คุณลุง

ขอถามต่อนะคะ
การที่รูปเกิดจากสมุฏฐานทั้งสี่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป เป็นผลให้รูปมีลักษณะเกิดขึ้นแล้วหมดไปคือมีลักษณะเสื่อมสลายๆไปอยู่ตลอดเวลา...การเสื่อมสลายไปของรูปแต่ละรูปจะมากหรือน้อยในแต่ละบุคคลมีไม่เท่ากันมีความแตกต่างกันไปตามสมุฏฐานทั้งสี่ที่มีความต่างกันในแต่ละคนใช่หรือเปล่าคะ...

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คงอ่านหนังสือคนละเล่มกัน

สามเณรติสสะ


จริงแล้วๆ ถ้าน่าจะคุยกันคนละเรื่องแล้วหละ
หัวข้อกระทู้ตั้งไว้เพื่อคุยกันเรื่อง สมุฎฐาน และปัจจัย
แต่ทำไมเป๋ไปเป็นเรื่องเหตุเรื่องกรรม เรื่องสามเณรได้ก็ไม่รู้
พอจะตามไปคุยเรื่องกรรมด้วยก็ว่าอ่านหนังสือคนละเล่ม
เพราะเรื่องของสามเณรก็เป็นเรื่องของกรรม แค่นี้แหละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่บอกว่า "คงอ่านหนังสือคนละเล่มกัน" ไม่เห็นต้องเอามาเป็นอารมณ์

ที่บอกว่า คงอ่านคนละเล่ม เพราะที่ลุงหมานอ่าน เป็นแบบนี้

ลุงหมาน เขียน:
เรื่องสามเณรนั้น เป็นกรรมดีที่ส่งผลมาจากอดีต มาเป็นอุปปีฬกรรม หรือ อุปฆาตกรรม
ในขณะที่กระทำอยู่นั้น เป็นการตัดรอนผลของกรรมอื่นให้ตกล่วงไป พร้อมกับส่งผลด้วย


ที่วลัยพรอ่าน เป็นแบบนี้ คือ กรรมปัจจุบัน(ช่วยชีวิตสัตว์) ส่งผลให้กรรมในอดีตตกสิ้นไป
คือ แทนที่จะต้องตาย กลับไม่ตาย

walaiporn เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
เรื่องสามเณรนั้น เป็นกรรมดีที่ส่งผลมาจากอดีต มาเป็นอุปปีฬกรรม หรือ อุปฆาตกรรม
ในขณะที่กระทำอยู่นั้น เป็นการตัดรอนผลของกรรมอื่นให้ตกล่วงไป พร้อมกับส่งผลด้วย


คงอ่านหนังสือคนละเล่มกัน

สามเณรติสสะจึงกราบเรียนให้ทราบเกี่ยวกับการนำปลาไปปล่อยในน้ำ และปล่อยอีเก้งจากแร้วของนายพราน การกรทำเพื่อยืดชีวิตสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จึงเป็นบุญกรรมที่เป็นพลังให้พ้นจากความตายได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอถามต่อนะคะ
การที่รูปเกิดจากสมุฏฐานทั้งสี่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป เป็นผลให้รูปมีลักษณะเกิดขึ้นแล้วหมดไปคือมีลักษณะเสื่อมสลายๆไปอยู่ตลอดเวลา...การเสื่อมสลายไปของรูปแต่ละรูปจะมากหรือน้อยในแต่ละบุคคลมีไม่เท่ากันมีความแตกต่างกันไปตามสมุฏฐานทั้งสี่ที่มีความต่างกันในแต่ละคนใช่หรือเปล่าคะ...

เปรียบเทียบความเกิดดับสิ้นไปของจิต
จิตเกิดดับไป ๑๗ ขณะจิต รูปจะเกิดดับไป ๑ ขณะ
ความเกิดดับของสมุฎฐานทั้ง ๔ จะเป็นการเกิดดับเหมือนกันหมด
ไม่มีความแตกต่างกันเลย แต่ถ้าปฏิสนธิขณะแรก
กัมมชรูป จะหยั่งลงก่อนที่อุปาททักขณะของปฏิสนธิจิต และย่อมเกิดขึ้นต่อไปทุกๆขณะของจิต
อุตุชรูป จะลงขณะต่อไปที่ฐีติขณะ ของปฏิสนธิจิต และย่อมเกิดติดต่อกันไปทุกๆขณะของจิตจนถึงตาย
จิตตรูป จะลงที่อุปาทักขณะของปฐมภวังดวงแรก และย่อมเกิดติดต่อกันไปทุกๆ อุปาทักขณะของจิต
ส่วนอาหารรูป จะหยั่งลงที่ในราว สัปดาห์ที่ ๒-๓ นับตั้งแต่ปฏิสนธิ และย่อมเกิดติดต่อไปทุณะจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณลุงหมาน คุณ walaiporn

ผมอ่านคำอธิบายของ คุณลุงหมาน กับ คุณ walaiporn แล้ว ผมไม่แน่ใจว่า
จะสรุปได้ถูกต้อง หรือไม่ ขออนุญาตถามดีกว่านะครับ

ถ้าผมจะสรุปว่า สมุฏฐาน กับ ปัจจัย จำแนกออกได้เป็นธรรมสองประเภท คือ

สมุฏฐาน กับ ปัจจัย อันเป็น กุศลธรรม ประเภทหนึ่ง

สมุฏฐาน กับ ปัจจัย อันเป็น อกุศลธรรม ประเภทหนึ่ง

แบบนี้จะถูกต้อง หรือไม่ครับ กรุณาให้คำแนะนำด้วย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร