วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 15:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG0232A_resize.jpg
IMG0232A_resize.jpg [ 38.95 KiB | เปิดดู 14836 ครั้ง ]
:b8:
"นัตถิ สันติ ปรังสุขขัง...สุขอื่นเสมอด้วยความสงบไม่มี"

พุทธภาษิต หรือธรรมภาษิตบทนี้ เป็นเครื่องชี้ให้ผู้ที่เผชิญหน้าอยู่กับทุกข์ ถูกย่ำยี บีฑา ราวีและมีชีวิตจมอยู่ในห้วงทุกข์ จนอาจบ่นออกมาว่า "มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่ดับไป" เหมือนดั่งนางวธีราเถรี เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล

ให้ได้รู้ว่าโดยความเป็นจริง สุขนั้นมีอยู่ มีอยู่ในความสงบ ดังพุทธภาษิตนั่นเอง

ในท่ามกลางกระแสแห่งทุกข์ที่รุมเร้าเราอาจพอหาสุขได้บ้างจาก "ความสงบ"

ที่ใดหรือคือที่ๆเรียกว่า "สงบ"

สงบขนาดไหนหรือ จึงจะเกิดสุข?


ถ้าเราจะมองดูในมุมทุกข์.....เราก็จะเห็นว่า สิ่งที่เป็นภาระ ต้องแบกหาม รับรู้ ทั้งหมดคือ ทุกข์......
อุปมาเหมือนบุรุษหรือสตรี ที่แบกหามสิ่งของหรือภาระอันหนักอึ้งไว้บนบ่าบนไหล่ของตนเองน้ำหนักทั้งหมดที่แบกรับนั่นคือทุกข์

หากน้ำหนักที่แบกนั้นลดลงไปสัก 1 กิโลกรัม เขาอาจรู้สึกถึงความเบาที่เกิดขึ้น 1 กก. ความเบาที่เกิดขึ้นนั้นเราอาจเรียกได้ว่า สุข แต่เป็นสุข ระดับ 1 กก. หรือพูดอีกมุมหนึ่งว่า ทุกข์ลดลงไป 1 กก. แต่ก็ยังมีทุกข์อีกมากอยู่ที่ยังต้องแบกหาม

ดังนั้น การลดน้ำหนักของสิ่งที่แบกหามลงไปได้ ทุก 1 กก. ก็คือ สุขที่เพิ่มขึ้น ทุก 1 กก.

เทียบกลับมาสู่ "ความสงบ".......ความสงบยิ่งเพิ่มมากขึ้นมากเท่าไหร่ ความสุขก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เป็นปฏิภาคโดยตรงกันไปตลอด...

หรืออีกทางหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า "ความสงบยิ่งมากขึ้นเท่าไร ความทุกข์ก็จะยิ่งลดน้อยลงเท่านั้น" เป็นปฏิภาคผกผันกัน ระหว่างความสงบกับความทุกข์

onion
"ที่ใดหรือคือที่ๆเรียกว่า "สงบ"
s006
"ที่ที่กายและจิตหมดงาน หรือหยุดทำงานไปชั่วคราว นั่นคือที่ๆสงบ"
:b43:
ที่ๆจิตหมดงานคือ นิพพาน" "ที่ๆที่จิตหยุดทำงานไปชั่วคราว คือ สมาธิ ระดับฌาณ 4 หรือ สังขารุเปกขาญาณ"
:b20:
:b37:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลสแล้ว ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็น สุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจาก สุขเวทนา เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

จึงเป็นปัญหาต่อไปว่า สุขจะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน เพราะพระนิพพาน ไม่มีการเสวยอารมณ์
ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ หน้า ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวย อารมณ์นั้นแหละ เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง
ดังนั้น สุขเวทนา ซึ่งเป็นสุขที่ได้จากการเสวยอารมณ์ จึงได้ชื่อว่า วิปริฌามทุกข์ เพราะความสุขนั้นจะ
ต้องวิปริตผันแปรไปเป็นทุกข์อย่างแน่นอน
ส่วน สุขในนิพพาน ไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็น สันติสุข จึงไม่มีวันที่จะ ผันแปรไปเป็นอื่นเลย
การกล่าวถึงพระนิพพานเป็นการยากอย่างยิ่ง เพราะพระนิพพานไม่มีอะไร ไม่ใช่อะไร ไม่เหมือนอะไร ไม่คล้ายอะไร ในโลกทั้ง ๓ นี้เลย ทั้งพระบาลีก็มีห้าม ไว้ออกรอบทิศว่า
คมฺภีโร จายํ ธมฺโม ธรรมคือพระนิพพานเป็นของลึกซึ้ง
ทุทฺทโส อันบุคคลเห็นได้ยาก
ทุรานุโพโธ อันบุคคลตรัสรู้ตามด้วยยาก
สนฺโต เป็นของสงบระงับ
ปณีโต เป็นของประณีต
อตกฺกาวจโร ไม่เป็นที่เที่ยวแห่งการตรึก คือบุคคลจะนึกคาดคะเน เอาเองไม่ได้
นิปุโณ เป็นของละเอียด
ปณฺฑิตเวทนิโย เป็นของอันบัณฑิต คือพระอริยเจ้าจะพึงรู้
เมื่อยก พุทธภาษิต นี้ขึ้นอ้างแล้ว ก็เป็นอันว่าจะทราบซึ้งในพระนิพพานอย่าง แท้จริง ก็ต่อเมื่อได้แจ้งประจักษ์
ด้วยตนเอง เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงเตือนว่า
อกฺขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นผู้บอกทางให้
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อันความเพียรนั้นท่านทั้งหลายต้องทำเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 13:25
โพสต์: 41

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลสแล้ว ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็น สุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจาก สุขเวทนา เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

จึงเป็นปัญหาต่อไปว่า สุขจะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน เพราะพระนิพพาน ไม่มีการเสวยอารมณ์
ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ หน้า ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวย อารมณ์นั้นแหละ เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง
ดังนั้น สุขเวทนา ซึ่งเป็นสุขที่ได้จากการเสวยอารมณ์ จึงได้ชื่อว่า วิปริฌามทุกข์ เพราะความสุขนั้นจะ
ต้องวิปริตผันแปรไปเป็นทุกข์อย่างแน่นอน
ส่วน สุขในนิพพาน ไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็น สันติสุข จึงไม่มีวันที่จะ ผันแปรไปเป็นอื่นเลย
การกล่าวถึงพระนิพพานเป็นการยากอย่างยิ่ง เพราะพระนิพพานไม่มีอะไร ไม่ใช่อะไร ไม่เหมือนอะไร ไม่คล้ายอะไร ในโลกทั้ง ๓ นี้เลย ทั้งพระบาลีก็มีห้าม ไว้ออกรอบทิศว่า
คมฺภีโร จายํ ธมฺโม ธรรมคือพระนิพพานเป็นของลึกซึ้ง
ทุทฺทโส อันบุคคลเห็นได้ยาก
ทุรานุโพโธ อันบุคคลตรัสรู้ตามด้วยยาก
สนฺโต เป็นของสงบระงับ
ปณีโต เป็นของประณีต
อตกฺกาวจโร ไม่เป็นที่เที่ยวแห่งการตรึก คือบุคคลจะนึกคาดคะเน เอาเองไม่ได้
นิปุโณ เป็นของละเอียด
ปณฺฑิตเวทนิโย เป็นของอันบัณฑิต คือพระอริยเจ้าจะพึงรู้
เมื่อยก พุทธภาษิต นี้ขึ้นอ้างแล้ว ก็เป็นอันว่าจะทราบซึ้งในพระนิพพานอย่าง แท้จริง ก็ต่อเมื่อได้แจ้งประจักษ์
ด้วยตนเอง เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงเตือนว่า
อกฺขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นผู้บอกทางให้
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อันความเพียรนั้นท่านทั้งหลายต้องทำเอง


คำว่าพระนิพพานสุขอย่างยิ่ง คำว่าสุข หรือพระนิพพาน หรือ อย่างยิงมันเป็นเพียงศัพท์บรรญัติเท่านั้นเองนะคะคุณลุงหมาน อย่าเอามาปรุงแต่ง นิพพานคือสภาวะที่ว่าง ท่านก็บอกไว้แล้ว คุณลุงหมานยังจะเอามาปรุงแต่งทำไมกันกับคำว่าสุขซึ่งเป็นคำเล็กๆน้อยๆ ที่ต้องมีคำว่าสุข ท่านเพียงชี้ให้เห็นถึงสภาวะที่ว่างปราศจากกิเลสเท่านั้นเอง ไม่ได้หมายถึงการเสยอารมณ์อะไรทั้งนั้น คุณลุงหมานอย่าติดคำว่าสุขสิ่ค่ะ ถ้าไม่ให้เขาบัญญัติคำว่าสุขมาใช้แล้วคุณลุงหมานจะให้เขาใช้คำว่าอะไรคะ นิพพานอย่างยิ่ง อย่างยิ่งอย่างยิ่ง หรือนิพพานนิพพาน ดีล่ะ แล้วจะรู้มั้ยว่าเรื่องอะไรถ้าเขาบัญญัติมาแบบนี้ พอเขาไม่ใช้คำว่าสุขอย่างยิ่ง เดี๋ยวก็มีคนไปหยิบศัพท์บัญญัตินิพพานนิพพานมาตีความให้งงอีกว่านิพพานนิพพานเป็นแบบนั้นแบบนี้ไม่ใช่แบบนั้นแบบนี้ เมื่อเป็นแบบนั้นแบบนี้แล้วจะเป็นแบบนี้ได้อย่างไร มันคือการเล่นคำ สำบัดสำนวนเท่านั้นเอง เวลาเราตีความขอให้เราใช้ความเข้าใจดีกว่าค่ะ อย่าไปยึดกับคำศัพท์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2013, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb_resize.jpg
กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb_resize.jpg [ 45.99 KiB | เปิดดู 14732 ครั้ง ]
:b8:
"นิพพานัง ปรมัง สุขัง"....นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

อนุโมทนาสาธุกับคำอธิบายของลุงหมานครับ

อย่าพากันสงสัย หรือพยายามอธิบายเรื่องนิพพาน กันเลยครับ

พากันมาบอกกล่าว เล่า สอน ชี้แนะกันถึง เทคนิคและวิธีการที่จะเข้าถึง นิพพานกันจะดีกว่านะครับ


:b27: :b20: :b11:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานออกแบบ.jpg
ลุงหมานออกแบบ.jpg [ 116.58 KiB | เปิดดู 14716 ครั้ง ]
เอาอย่างนี้นะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2013, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
อย่าพากันสงสัย หรือพยายามอธิบายเรื่องนิพพาน กันเลยครับ

พากันมาบอกกล่าว เล่า สอน ชี้แนะกันถึง เทคนิคและวิธีการที่จะเข้าถึง นิพพานกันจะดีกว่านะครับ


เห็นด้วยค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2013, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg
ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg [ 43.75 KiB | เปิดดู 14609 ครั้ง ]
:b36:
สติ + สมาธิ ....กับ....ปัญญานี่เขาทำงานร่วมกัน เป็นคู่กันอยู่ตลอดเวลาอุปมาเหมือนวัวเทียมเกวียน

สติ+สมาธิเป็นวัวตัวซ้าย

ปัญญาเป็นวัวตัวขวา

จิต เป็นผู้ขับเกวียน

ถ้าเน้นสติ+สมาธิมาก เหมือนเร่งแต่วัวตัวซ้าย ถ้าวัวตัวขวาตามไม่ทัน เกวียนก็จะหมุนไปตกข้างทางด้านขวา

ในทำนองกลับกัน ถ้าเน้นปัญญามาก สติ+สมาธิตามไม่ทัน ก็เหมือนเร่งวัวตัวขวาจนวัวตัวซ้ายตามไม่ทัน ผลก็ทำให้เกวียนหมุนไปทางซ้าย เกวียนเลยวิ่งไม่ตรงทาง

ถ้าจะบังคับวัวให้ลากเกวียนขันธ์ 5 นี้ไปบนเส้นทางสายกลางคือมรรคมีองค์ 8 ต้องฉลาดในการบังคับวัวที่เทียมเกวียน ให้เหมาะสมกับสภาพของทาง

รู้จักดึงและเร่งวัว ตัวขวาและซ้ายให้เลี้ยว ซ้าย ขวา หรือเดินตรง ให้พอเหมาะพอดี ได้สัดส่วน สมดุลย์ จึงจะพาเกวียนไปได้ตลอดรอดฝั่ง

จึงขอให้เน้นทั้ง สติ+สมาธิ และ ปัญญาไปพร้อมๆกัน เด้อ บอกต่อกันไปด้วยเน้อ

onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2013, 12:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 18:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


wink
ผู้คนทั้งโลกต่างพากันแสวงหาความสุขจากความสงบด้วยวิธีการต่างๆ

วิธีหนึ่งที่นิมใช้กันมากที่สุด จนทำให้เกิดเป็นศาสนาและลัทธิใหญ่ในโลก นั่นคือการ สวดมนต์

เราลองมาวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ สู่กันฟังว่า ทำไมการสวดมนต์จึงทำให้เกิด "สันติสุข"
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2013, 15:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
การสวดมนต์ คือการทำสมาธิหมู่ หรือสมาธิเดี่ยวโดยใช้เสียง ท่วงทำนองการสวดมนต์เป็นเครื่องกล่อมจิตให้รวมเป็นหนึ่งอยู่กับคำสวดมนต์ เมื่อจิตรวมแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับเสียงสวดมนต์แล้ว จิตจะหยุดคิดนึกฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ความคิดสงบลงเกิดความสุข
เพราะลืมโลกแห่งความเป็นจริงไปชั่วคราว
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2013, 19:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


สวดมนต์พอเป้นสมาธิแล้วความคิดสงบลง..นี้....ผมว่า...มีน้อยนะ....เพราะมันจะสวดต่อไม่ได้...
ส่วนใหญ่....จะมีความคิด..ดี..ดี...แบบไม่ได้ตั้งใจคิด...เกิดปีติ...จากธรรมอันนั้น..ซะมากกว่า..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2013, 05:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตถสังคหะ

พระนิพพาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/083.htm

สภาพของพระนิพพาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/084.htm

วจนัตถะของนิพพาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/085.htm

นิพพานโดยการณูปจารนัย
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/086.htm

นิพพาน โดยอาการที่เข้าถึง
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/087.htm

ตัณหา
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/026.htm

๒. กล่าวโดยอาการที่เป็นไป คือเมื่อมีความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์ ๖ นั้นแล้วก็มีอาการที่เป็นไป ๓ อย่างที่เรียกว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา มีอาการเป็นไปดังนี้

ก. กามตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ ทั้ง ๕ แต่ไม่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ

ข. ภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วยความเห็น ดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คือ

(๑) ติดใจในกามภพ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา

(๒) ติดใจในรูปภพ การได้เกิดเป็นรูปพรหม

(๓) ติดใจในอรูปภพ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม

(๔) ติดใจในฌานสมาบัติ การได้รูปฌาน อรูปฌาน

(๕) ติดใจในตัวตน คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน และตัวตนนี้ไม่สูญหายไป ไหน ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกาย ตัวตนที่เป็นมนุษย์ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตนที่ เป็นสัตว์อย่างใด ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นอีก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเห็นว่า เที่ยงอันเป็นความเห็นผิดที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ (ข้อ ข. นี้มีมาใน สุตตันตมหาวัคค อรรถกถา)

ค. วิภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ คือ ติดใจในความเห็นที่ว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีตัวมีตนอยู่ แต่ว่าตัวตนนั้นไม่ สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไป ย่อมต้องสูญต้องสิ้นไปทั้งหมด ตลอดจนการกระทำ ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็สูญหายไปสิ้นเช่นเดียวกัน แม้ผู้ ที่มีความเห็นว่า พระนิพพานมีตัวมีตน แล้วปรารถนาพระนิพพานเช่นนั้น ความ ปรารถนาเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า วิภวตัณหา

รวมความในข้อ ๒ นี้ได้ว่า อาการที่เป็นไปในตัณหา ๓ ก็ได้แก่ พวกหนึ่ง มีอุจเฉททิฏฐิเห็นว่าสูญ พวกหนึ่งมีสัสสตทิฏฐิเห็นว่าเที่ยง ส่วนอีกพวกหนึ่งติดใจ อยากได้โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นสิ่งที่สูญหรือเที่ยงแต่อย่างใด ๆ เลย
--------------------------------------------------------------




จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๖ นิพพานปรมัตถ์

ความปรารถนานิพพาน ที่จัดว่าเป็นวิภวตัณหาได้นั้น คือผู้ที่ไม่เข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของนิพพานดีพอ เมื่อได้ยินว่านิพพานนั้นไม่มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ แต่ประการใด มีแต่ความสุข เพราะเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เช่นนี้แล้วก็เกิดความอยากได้นิพพาน เพราะต้องการความสุขกาย สุขใจ ที่ไม่เกี่ยวกับโลก และไม่ต้องการความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่คิดไม่ถึงว่าสภาพความไม่เกิดของนิพพานนั้นคืออะไร (ธรรมดาความสุขกาย สุขใจ จะเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ที่อยู่ในภูมิต่างๆนั้นไม่มี) ฉะนั้น ความปรารถนานิพพานของบุคคลจำพวกนี้ จึงจัดเป็นวิภวตัณหา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2013, 06:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับลุงหมาน ที่นำหลัก ปรมัตถธรรม ของ พระนิพพาน มาแสดง

เพิ่มเติมจาก ที่หลวงพ่อเสือ ได้อธิบายไว้

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/krasae.doc

ความหมายของพระนิพพานมี ๕ ประการคือ
๑. เป็นพระปรมัตถ์เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ
๒. เป็นธรรมที่ไม่ตาย คือ ไม่มีทั้งความเกิดและความตาย
๓. เป็นธรรมที่เที่ยง พ้นจากความเป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต
๔. เป็นธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใด ๆ ทั้งสิ้น
๕. เป็นธรรมที่ประเสริฐยิ่ง หาธรรมอื่นประเสริฐกว่าไม่มี
คุณลักษณะของพระนิพพานมี ๓ ประการ คือ
๑. มีความสงบจากกิเลสและขันธ์ เป็นลักษณะ
๒. ไม่มีความแตกดับ คือ มีความเที่ยง เป็นกิจ
๓. ไม่มีนิมิตเครื่องหมายใด ๆ เป็นผลปรากฏ
พระนิพพานเป็นสันติสุข คือ สุขอันเกิดขึ้นจากความสงบ จากกิเลส สงบจากขันธ์ ไม่ใช่ความสุขชนิดที่ได้จากการเสวยอารมณ์ที่สบายกาย สบายใจในกามเทพ หรือในภพต่างๆ ซึ่งยังมีที่ไป เพราะเมื่อมีสถานที่ไปก็ต้องมีการเกิด เมื่อมีการเกิดแล้วไม่มีใครปฏิเสธความทุกข์ที่จะต้องพ่วงติดมาด้วยได้ ฉะนั้นเมื่อยังเกิดอยู่ ต้องมีทุกข์อย่างแท้จริง จึงไม่ใช่พระนิพพาน เป็นเพียง “สะพาน” ยืนอยู่ตรงนี้นึกว่ามีความสุข เกิดความชอบแล้วมันก็ไม่เที่ยง ยืนนาน ๆ ก็ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้คือพระนิพพานพ้นจากกิเลส พ้นจากการเกิด พ้นจากสังสารวัฎ
ความสุขของพระนิพพานจึงเรียกว่า “สันติสุข” เพราะเป็นความสุขที่เกิดจากการพ้นจากกิเลสและพ้นจากขันธ์ ๕ โดยการรื้อสัญญาและล้างสังโยชน์ คือไม่มีสักกายทิฎฐิ ไม่มีความเข้าใจผิดว่าเป็น “ฉัน” เป็น “ของฉัน” ไม่มีความลังเลสงสัย ไม่มีความประมาท ไม่มีการยินดีติดใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่มีการกระทบกระทั่งของจิต ไม่มีการติดอยู่ในรูป ไม่มีการติดอยู่ในนาม ไม่มีมานะ ไม่มีอุทธัจจะ ไม่มีอวิชชา นั่นคืออรหัตตมรรค อรหัตตผล คือสิ้นสุดการเกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2013, 06:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับ หลักปรมัตถธรรม ที่ผมนำมาแสดงนี้ คงจะขัดกับ ทิฏฐิของผู้ที่เชื่อ

นิพพาน เป็นดินแดน เป็นอัตตา ที่พระอรหันต์ ไปเกิด เสวยสูข เป็น อมตะ ไม่มีวันตาย

และสามารถนั่งสมาธิ ได้กายธรรม ไปติดต่อ พระพุทธเจ้า องค์ปฐม ถึง องค์ปัจจุบัน ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2013, 09:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้าว....แล้วหลวงพ่อเสือ..อยู่ไหนละ...?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร