วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 07:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 22:27
โพสต์: 76

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่น ในช่วงนี้ กระผมได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยกับเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมหลายคน รวมถึงเรื่องการทำบุญ ทานต่างๆ นานา ประเด็นที่กระผมขัดข้องใจ อยู่คือเรื่องวัดป่ากับวัดบ้าน ซึ่งหลายท่านได้บอกให้ไปปฏิบัติธรรม หรือทำบุญกับวัดป่า ไม่ขออธิบายต่อนะครับว่าเพราะอะไร เพราะพูดถึงเรื่องนี้แล้วท่านทั้งหลายคงทราบกันดี

แต่ในความคิดของ :b8: กระผมนั้น การที่เราจะเลือกศรัทธานั้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ว่าจะศรัทธาวัดไหน ตามที่จะศรัทธา แต่กลายเป็นว่ากระผมเห็น และได้ยินได้ฟังมากระผมไม่ค่อยสบายใจเลย ที่กระผมไม่สบายใจนั้นคือเพื่อนกัลยามิตรหลายคนนั้นกำลังเดินหลง เข้าไปกับการยึดถือ เพียงสิ่งที่แบ่ง อุปทานว่านั้น ป่า นี้บ้าน นั้นมหา นี้ยุต ซึ่งสิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าทรงมิได้ตรัสสอนว่า ท่านแบ่งเข้านับถือป่า ท่านเข้านับถือบ้าน แล้วท่านจะนิพพาน หรือไม่นับถือป่า หรือไม่นับถือบ้านท่านจะไม่ถึงนิพาน พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านทรงตรัสสอนให้ปฎิบัติในหลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าเพียงเท่านั้น ฉะนั้นเราชาวพุทธจะเเบ่งว่านี้ป่า นี้บ้าน ไปทำไม เรามาช่วยกันทำนุบำรุงศาสนา ช่วยกันปฏิบัติ ให้เดินทางหานิพพานโดยยึดถือเอาหลักธรรมคำสั่งสอนเเห่งพระศาสดา เป็นที่พึ่งเถิด :b8: พุทโธ ธัมโม สังโฆ เพียงเท่านี้ อย่าได้ได้เอา ป่า หรือ บ้าน มายึดเลย.... จะเสียเวลาเปล่าๆ :b8: ช่วยกันทำบุญ ปฏิบัติ รักษาศีล ภาวนา ตามธรรม กันเถิด .....สาธุ :b8:

ท่านทั้งหลาย

กระผมคิดอย่างนี้ถูกไหมครับ ......ขอบคุณครับ

.....................................................
".....มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห....."
".....อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ....."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ว่าจะเรื่องอะไร ลงถ้าขัดข้อง หงุดหงิดใจแล้ว

คิดผิดทั้งนั้นล่ะครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: ต่างคนต่างวาสนาบารมีกันไปค่ะ
มันไม่ถูกใจเราเท่านั้นเอง

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 21:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

onion
ผมจะเรียนวิชาว่ายน้ำผมจะเลือกครูคนไหน?

ครูคนที่ 1 เก่งมากในทฤษฎีการว่ายน้ำ รู้ทุกท่าและทุกเทคนิคของการว่ายน้ำ....แต่ไม่เคยลงว่ายน้ำจริงๆเลย

ครูคนที่ 2 ว่ายน้ำอยู่เป็นประจำทุกวัน


s006
พระป่า กับพระบ้าน ต่างกันตรงปฏิบัติการนี่แหละครับ.....

พระป่า ทำ มากกว่าพูด

พระบ้าน พูด มากกว่า ทำ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 02:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฎิบัติธรรมนั้น ต่อให้เราเข้าวัดป่า หาอาจารย์ดีแค่ไหนก็ตาม หากตัวเราไม่มีปัญญา มันก็ไม่เกิดประโยชน์มาก เพราะจุดมุ่งหมายของทุกคนคือการปฏิบัติเพื่อปัญญาเป็นหลัก

การปฎิบัตินั้น มันต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา ไม่ใช่เริ่มต้นที่วัด เมื่อเรามีความเห็นที่ถูก จะเข้าวัดบ้าน หรือวัดป่า ก็ไม่มีใครมาทำลายความเห็นเราลงไปได้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า มี ๕ ประเภท ดังนี้ ๕ ประเภท คืออะไร ได้แก่ ผู้ที่อยู่ป่า เพราะเป็นผู้โง่เขลา เพราะงมงาย ๑ ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอยู่ป่า ๑ ผู้อยู่ป่าเพราะความเสียจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ ผู้อยู่ป่าเพราะเห็นว่า การอยู่ป่านี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธสาวกทั้งหลายสรรเสริญ ๑ ผู้อยู่ป่า เพราะอาศัยความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี ๑ ....บรรดาผู้อยู่ป่า ๕ ประเภทเหล่านี้ ผู้ที่อยู่ป่าเพราะความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี นี้เป็นอย่างเลิศ ประเสริฐ นำหน้า สูงสุด ดีเยี่ยม ในบรรดาผู้อยู่ป่าทั้ง ๕ ประเภทเหล่านี้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


พระพุทธเจ้า: ดูกรคหบดี ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ?

ทารุกัมมิกะ: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่ ก็แล ทานนั้น ข้าพระองค์ถวายในประดาท่านพระภิกษุทั้งหลาย ชนิดที่เป็นผู้่อยู่ป่า ถือบิณฑบาต ครองผ้าบังสุกุล ซึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเข้าถึงอรหัตมรรค

พระพุทธเจ้า: ดูกรคหบดี ท่านซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ...ยากจะรู้ได้ถึงความข้อนั้นว่า ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือท่านเหล่านี้เป็นผู้เข้าถึงอรหัตมรรค

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีสติกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงเป็นภิกษุอยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีสติกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นภิกษุถือบิณฑบาต...ถึงจะเป็นภิกษูรับนิมนต์...ถึงจะเป็นภิกษูครองผ้าบังสุกุล....ถึงจะเป็นภิกษูครองจีวรที่คหบดีถวาย...(ก็เช่นเดียวกัน)


ดูกรคหบดี เชิญท่านให้ทานในสงฆ์เถิด...."

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า มี ๕ ประเภท ดังนี้ ๕ ประเภท คืออะไร ได้แก่ ผู้ที่อยู่ป่า เพราะเป็นผู้โง่เขลา เพราะงมงาย ๑ ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอยู่ป่า ๑ ผู้อยู่ป่าเพราะความเสียจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ ผู้อยู่ป่าเพราะเห็นว่า การอยู่ป่านี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธสาวกทั้งหลายสรรเสริญ ๑ ผู้อยู่ป่า เพราะอาศัยความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี ๑ ....บรรดาผู้อยู่ป่า ๕ ประเภทเหล่านี้ ผู้ที่อยู่ป่าเพราะความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี นี้เป็นอย่างเลิศ ประเสริฐ นำหน้า สูงสุด ดีเยี่ยม ในบรรดาผู้อยู่ป่าทั้ง ๕ ประเภทเหล่านี้.

ต่อ


พระพุทธเจ้า: ดูกรคหบดี ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ?

ทารุกัมมิกะ: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่ ก็แล ทานนั้น ข้าพระองค์ถวายในประดาท่านพระภิกษุทั้งหลาย ชนิดที่เป็นผู้่อยู่ป่า ถือบิณฑบาต ครองผ้าบังสุกุล ซึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเข้าถึงอรหัตมรรค

พระพุทธเจ้า: ดูกรคหบดี ท่านซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ...ยากจะรู้ได้ถึงความข้อนั้นว่า ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือท่านเหล่านี้เป็นผู้เข้าถึงอรหัตมรรค

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีสติกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงเป็นภิกษุอยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีสติกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นภิกษุถือบิณฑบาต...ถึงจะเป็นภิกษูรับนิมนต์...ถึงจะเป็นภิกษูครองผ้าบังสุกุล....ถึงจะเป็นภิกษูครองจีวรที่คหบดีถวาย...(ก็เช่นเดียวกัน)


ดูกรคหบดี เชิญท่านให้ทานในสงฆ์เถิด...."


สาธุ สาธุ สาธุ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า มี ๕ ประเภท ดังนี้ ๕ ประเภท คืออะไร ได้แก่ ผู้ที่อยู่ป่า เพราะเป็นผู้โง่เขลา เพราะงมงาย ๑ ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอยู่ป่า ๑ ผู้อยู่ป่าเพราะความเสียจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ ผู้อยู่ป่าเพราะเห็นว่า การอยู่ป่านี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธสาวกทั้งหลายสรรเสริญ ๑ ผู้อยู่ป่า เพราะอาศัยความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี ๑ ....บรรดาผู้อยู่ป่า ๕ ประเภทเหล่านี้ ผู้ที่อยู่ป่าเพราะความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี นี้เป็นอย่างเลิศ ประเสริฐ นำหน้า สูงสุด ดีเยี่ยม ในบรรดาผู้อยู่ป่าทั้ง ๕ ประเภทเหล่านี้.


กรัชกาย เขียน:
ต่อ


พระพุทธเจ้า: ดูกรคหบดี ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ?

ทารุกัมมิกะ: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่ ก็แล ทานนั้น ข้าพระองค์ถวายในประดาท่านพระภิกษุทั้งหลาย ชนิดที่เป็นผู้่อยู่ป่า ถือบิณฑบาต ครองผ้าบังสุกุล ซึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเข้าถึงอรหัตมรรค

พระพุทธเจ้า: ดูกรคหบดี ท่านซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ...ยากจะรู้ได้ถึงความข้อนั้นว่า ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือท่านเหล่านี้เป็นผู้เข้าถึงอรหัตมรรค

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีสติกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงเป็นภิกษุอยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีสติกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นภิกษุถือบิณฑบาต...ถึงจะเป็นภิกษูรับนิมนต์...ถึงจะเป็นภิกษูครองผ้าบังสุกุล....ถึงจะเป็นภิกษูครองจีวรที่คหบดีถวาย...(ก็เช่นเดียวกัน)


ดูกรคหบดี เชิญท่านให้ทานในสงฆ์เถิด...."



:b8: :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 130 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร