วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลายที่ใฝ่ศรัทธาในทางพุทธศาสนา บ้างก็คงแก่เรียน โดยเอาตำราเป็นที่ตั้ง บางครั้ง ก็มองข้ามหลักความจริง ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า "สัจจะ" อีกทั้งในทางพุทธศาสนา มักจะมีผู้นำเอาคำว่า
"สมมุติ สัจจะ" และ "ปรมัตถ์ สัจจะ" มาแบ่งแยกว่า สิ่งนั้น ภาษานั้น ภาษานี้ เป็น "สมมุติ" หรือ สิ่งนั้น ภาษานั้น ภาษานี้ เป็น "ปรมัตถ์"

สมมุติ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือ คิดเอาว่าน่าจะมีจริง หรือ สิ่งที่ตกลงยอมรับกันเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพความเป็นจริง (ขยายความจาก พจนานุกรมไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถานฯ)

ปรมัตถ์ หมายถึง เรื่อง หรือ สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง , ความหมายที่สูงสุด หรือ ข้อความหรือหลักการที่ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนคนทั่วไปจะทำความเข้าใจได้ (ขยายความจาก พจนานุกรมไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน)

หลายๆท่าน หรือ ผู้คงแก่เรียน บางท่าน มักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ สมมุติ กับ ปรมัตถ์ ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว "สมมุติ" ก็คือ "ปรมัตถ์" อย่างหนึ่ง เพราะสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นมาทั้งสิ้น อย่างน้อยที่สุด ก็ถูกสมมุติด้วยภาษา เช่น "ขันธ์ ๕" รูป เวทนา สัญญา สังขาร ก็เป็นเพียงสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นใช้เรียก ร่างกายของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) แต่ผู้คงแก่เรียนหรือผู้รู้หลายๆท่าน มักจะเข้าใจเอาว่า เป็น "ปรมัตถ์ สัจจะ" ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้วมันคนละเรื่องกัน
เรื่องของ ปรมัตถ์ นั้น ถ้าจะกล่าวกันไปแล้ว ทุกเรื่องล้วนเป็น ปรมัตถ์ทั้งสิ้น หมายความว่า ทุกหลักวิชาการที่มีอยู่ ต่างก็ล้วนเป็น ปรมัตถ์ แต่ ก็ย่อมต้องมี บางหลักวิชาการที่มนุษย์ปุถุชนคนทั่วไป ยากที่จะทำความเข้าใจได้ เหตุเพราะในตำราไม่มีสอนไว้ ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของ "ฌาน"(ชาน)
ข้าพเจ้าเคยสอนไว้อยู่บ่อยครั้งว่า "ฌาน(ชาน) เป็น ลักษณะงานลักษณะหนึ่งของระบบร่างกาย กล่าวคือ ลักษณะชอง ฌาน(ชาน)นั้น จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ และเป็นไปตามลำดับ อย่างที่มีปรากฎในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ว่า ถ้านั่งสมาธิ แล้วจะได้ ฌาน(ชาน)ขั้นนั้นขั้นนี้ อย่างนี้เป็นต้น

บางท่านที่มีความรู้มาตามที่ได้รับเล่าเรียนมาก อาจจะเห็นว่า ศัพท์ภาษา ต่างๆ เป็นเพียง "สมมุติ สัจจะ" แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว ก็พวกศัพท์ภาษา ต่างๆนั้นแหละที่ทำให้ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่น ไม่สับสน วุ่นวาย แล้วพวกท่านทั้งหลาย คิดกันบางไหมว่า ทำไมจึง พากันเข้าใจว่า ศัพท์ภาษาต่างๆ เป็นเพียง สมมุติสัจจะ ทั้งๆที่ ศัพท์ภาษาต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้ เกิดความเข้าใจ ในหลักวิชาการทุกด้าน

ความเข้าใจผิดของพวกเขาเหล่านั้น ควรได้รับการแก้ไข และได้ทำความเข้าใจเอาว่า คำว่า "สมมุติ" หมายถึง "สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือ สิ่งที่ไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่"
ส่วนคำว่า "ปรมัตถ์" หมายถึง หลักการ หรือข้อความ หรือ เรื่อง หรือ สิ่ง ที่เป็นโยชน์สูงสุด ,ความจริงอันเป็นที่สุด ,ลึกซึ้ง อย่างที่สุด
ไม่ต้องไปแบ่งแยกดอกขอรับว่า อันไหนเป็น สมมุติสัจจะ ,อันไหนเป็น ปรมัตถ์สัจจะ เหตุเพราะ หลักธรรมทั้งหลาย ก็ล้วนมาจากสิ่งสมมุติ เพื่ออธิบายให้เกิด ปรมัตถ์ ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2013, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่พี่เทตัวจริงเปล่าครับเนี่ย ไ่ม่เป็นลายเซ็นกำกับ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2013, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมติบัญญัติ ปรมัตถ์ อยากฟังจากปากสองเจ้าสำนัก คือ สามแยก กับ อ้อน้อย ดวลไมค์กัน อัพเดทล่าสุดมีข่าวว่า ยังไม่เลิกความตั้งใจ ทีแรกทำท่าเหมือนไม่มีรายการดวลกันแล้ว :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2013, 11:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b11:
อ้างคำพูด:
ไม่ต้องไปแบ่งแยกดอกขอรับว่า อันไหนเป็น สมมุติสัจจะ ,อันไหนเป็น ปรมัตถ์สัจจะ เหตุเพราะ หลักธรรมทั้งหลาย ก็ล้วนมาจากสิ่งสมมุติ เพื่ออธิบายให้เกิด ปรมัตถ์ ฉะนี้

:b20:
เป็นคำสรุปที่น่าฟังจริงๆนะครับท่านพี่ Sriariya
:b27:
อีกสำนวนหนึ่งนั้น......สมมุติ......คือการตั้งชื่อให้กับสิ่งต่าง

สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงตามธรรม.......เรียกว่า.......สมมุติบัญญัติ....เช่น คน...หมา....นก....เก้าอี้....สมุด ...ดินสอ

สิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรม เรียกว่า ......ปรมัตถบัญญัติ......เช่น ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นิพพาน สุข ทุกข์ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
:b39:
onion onion
เราจะพบเห็นปรมัตถ์ได้ที่ไหน?

เราจะพบเห็นปรมัตถ์ได้เมื่อ ความนึกคิด หยุดทำงาน เหลือแต่สภาวธรรมที่เป็นปรมัตถ์ แสดงให้รู้ที่ใจตรงๆ
:b48:
ปรมัตถธรรมนี่เขาจะรู้ที่ใจตรงๆ อธิบายเป็นคำพูดได้ยากหรือไม่ได้ ต้องสัมผัสที่ใจ บางที หรือจริงๆแล้วก็เรียกว่า "ธรรม"
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สมมุติ คือไม่จริง ใช้เพื่อสื่อสาร เช่น คน ช้าง ม้า ฯลฯ
นายแดง นายดำ นางสาวพิ้งกี๊ นางสาวตุกกี๊ เป็นต้น

บัญญัติ เช่น ธาตุบัญญัติ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ
ขันธ์บัญญัติ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ปรมัตถ ยอดเยี่ยม หรือความจริงของจริงอันยี่ยม คือ
สิ่งที่สมมุติ หรือบัญญัติ ล้วนไม่ใช่ตัวตนเราเขายึดเอาไม่ได้
ไม่มีสาระแก่นสาร บังคับไม่ได้ ฯลฯ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ..

ความคิดเห็นส่วนตัว

:b1:


.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 11:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติ ก็คือ สมมุติ

วิมมุติ ก็คือ วิมุตติ

ปรมัติ ก็ประมาณ วิมุตติ รึเปล่า... :b10: :b10:

:b12:

อันนี้ คำถามนะ ไม่ใช่ความเห็น...

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมติตามความเข้าใจคุณน้องนะ คือ สิ่งที่ถูกเรียกสภาวธรรมตามความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น(ปรมัตถ์) ไม่ทราบว่าตนเองเข้าใจถูกรึเปล่านะ แต่ที่เข้าใจทั้งหมดก็เกิดจากความเข้าใจของตน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคลใด ผิดถุกอย่างไรก็ช่วยพิจารณาด้วยนะเจ้าค่ะ
ปรมัตถ์คือ สภาวธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนเพราะเป็นสิ่งที่รู้ด้วยวิญญาณขันธ์ แต่เมื่อเราต้องการสื่อสารให้คนอื่นได้รู้ เราก็ต้องมีสมมติบัญยัติเกิดขึ้น ยกตัวอย่าง คน หรือ มนุษย์ นี่คือสมมติ เมื่อมีสมตติแล้วก็บัญยัติว่าคน คนนี้นี่คือใคร เช่น พี่กรัชกาย คุนน้อง พี่เอกอน พี่วิริยะ เป็นต้น แต่ทางปรมัตถ์คือธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม มีองค์ประกอบอะไรบ้างก็ว่าไป นี่คือสภาวธรรมตามความเป็นจริง
ยกตัวอย่างอีกอย่างนึง สิ่งที่ปรากฏรู้ตามความเป็นจริงว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อื่นๆ นี่ก็คือปรมัตถ์ สิ่งที่ถูกรู้ตามความเป็นจริง เช่นก้อนหิน สิ่งที่ถูกรู้ตามความเป็นจริงของก้อนหินคือ ลักษณะแข็ง อย่างนี้เป็นต้น..
เวลารับประทานอาหาร สิ่งที่ถูกรู้ในขณะเรากินอาหารเป็นเช่นไร เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน นั่นคือสภาวะที่ถูกรู้ตามความเป็นจริง แต่ถามว่า คนเราถ้าไม่เคยสัมผัสสภาวะธรรมตามความเป็นจริง ย่อมไม่สามารถเข้าใจสมมติได้ เช่น เด็กที่ไม่เคยรู้ว่าเผ็ดเป็นเช่นไร เราบอกเค้าว่าอย่ามันเผ็ดห้ามกิน แต่เค้าก็ไม่รู้เพราะไม่เคยสัมผัส แต่เมื่อเค้าสัมผัสสภาวธรรมที่ถูกรู้ว่าเผ้ดเป็นเช่นไร เขาถึงจะเข้าใจว่าเผ็ดคือแบบนี้นี่เอง...หรือเราบอกว่าอย่าไปเตะไฟนะ มันร้อน เด็กอ่อนย่อมไม่สามารถเข้าใจได้ว่าร้อนเป็นอย่างไรเพราะไม่เคยสัมผัส แต่ถ้าเขาเอามือไปเเตะเทียน เขาก็ถูกรู้ขึ้นมาในขณะนั้น เขาก็จะเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่าร้อนเป็นเช่นนี้นี่เอง..คุณน้องเข้าใจถุกรึเปล่าค่ะ :b1:
คุณน้องเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะเจ้าค่ะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
สมมุติ ก็คือ สมมุติ

วิมมุติ ก็คือ วิมุตติ

ปรมัติ ก็ประมาณ วิมุตติ รึเปล่า... :b10: :b10:

:b12:

อันนี้ คำถามนะ ไม่ใช่ความเห็น...

:b9: :b9: :b9:

คำว่าสมมุติ ก็ คือ เป็นสิ่งที่ชาวโลกสมมุติกันขึ้นเพื่อใช้แทนเรียกแทนสิ่งนั้น เช่น คน ก็เป็นการสมมุติขึ้นเพื่อให้รู้ว่า รูปร่างหน้าตาแบบนี้เรียกว่าคน และยังสมมุติว่าหน้าตาแบบนี้เป็นผู้ชายหน้าแบบนี้เป็นผู้หญิง และยังสมมุติขึ้นเรียกเป็นชื่อขึ้นอีก เช่น นายดำ นายแดง หรือ นางมี นางมา ดญ. ดช. รวมความว่า สมมุติก็ยังซ้อนสมมุติ แม้แต่สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ ก็ถูกสมขึ้น เช่น สภาวที่แข็ง และอ่อน ก็สมมุติกันว่า ดิน สภาวที่ไหล และเกาะกุม ก็ยังมีชื่อสมมติเรียกกันว่า น้ำ สภาวที่ร้อนและเย็น ก็สมมุตเรียกว่า ไฟ สภาวที่ไหวและเคร่งตึง ก็สมมติกันว่า ลม เหล่านี้เป็นต้น ดิน น้ำ ไฟ ลม นี้ แม้จะมีบัญญัติชื่อเพื่อเรียกให้รู้กันในหมู่คน คือ เพื่อสือสารกันเท่านั้น แท้จริง ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้นมีสภาวปรมัตถ์รับรองอยู่ ปรมัตถ์แท้ๆไม่สามารถกล่าวโดยทางวาจาได้ ถ้ากล่าวออกมาจะต้องมีสมมติและบัญญัตเกิดขึ้นทั้นที เพราะ ดิน ไฟ ลม สัมผัสได้ทางทวารกายเท่านั้น ส่วน น้ำ นั้นจะรู้ได้ก็ทางทวารใจอย่างเดียวเหมือนกัน ตา ก็ไม่สามารถ เห็นดิน เห็นน้ำ เห็นไฟ เห็นลมได้

ส่วนคำว่าวิมุติ แปลว่า หลุดพ้น จะใช้ได้กับ พระนิพพานอย่างเดียว

ส่วนปรมัติ ก็ใช้กับคำว่า วิมุติได้ วิมติก็เป็น ปรมัติ และยังใช้กับ รูป ทั้ง ๒๘ รูปได้ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น รวมว่า ปรมัตถ์ ก็ได้แก่ รูปกับนาม หรือ ที่เรียกว่าขันธ์ ๕ นันเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูรากศัพท์และความหมาย คำว่า สมมติ (เขียน "สมมุติ" ก็ได้) สักหน่อย :b1:

มติ หรือ มุติ แปลว่า ความรู้ เมื่อใส่ สํ=>สม (เอานิคหิตเป็น ม = สม) เป็น สมมติ (สมมุติ) ก็แปลว่า รู้ร่วมกัน ยอมรับ หรือตกลงกัน คือรู้กัน ตกลงกันว่า อันนั้นอันนี้ คนนั้นคนนี้ เรียกชื่อว่าอย่างนั้นอย่างนี้ (กรัชกาย...รู้กัน ตกลงกัน คือตกลงกับลานธรรมจักรว่า นี่กรัชกายนะ...)

จนกระทั่ง สภาวะนี้ เรียกว่าจิต ธรรมนี้เรียกว่าฌาน ตลอดจนในเชิงสังคม หรือในการอยู่ร่วมกัน เราจะทำเรื่องนี้กันอย่างนี้ๆ ให้ของ ให้คน ให้หมู่ชนนั้นๆ ได้ชื่อ ได้สถานะเป็นอย่างนี้ๆ เป็นต้น (=สมมติ -รู้ร่วมกัน - ตกลงกัน)



ปรมัตถ์ (ปรม+อัตถะ) มีความหมายสูงสุด มีเนื้อความอย่างยิ่ง ซึ่งก็คือ ฉากหลังสมมติ หรือมองให้ทะลุสมมติ นั่นแหละปรมัตถ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 14:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ถ้ากล่าวออกมาจะต้องมีสมมติและบัญญัตเกิดขึ้นทั้นที เพราะ ดิน ไฟ ลม สัมผัสได้ทางทวารกายเท่านั้น ส่วน น้ำ นั้นจะรู้ได้ก็ทางทวารใจอย่างเดียว.....


ลุงหมานนำเสนอซะ...เอกอนไม่รู้จะตั้งคำถาม...ยังไง

หุหุ นึกไม่ถึง
ว่าจะมีคนพูดถึงเรื่องนี้... :b1:
จริง ๆ เคยมีสมาชิกท่านหนึ่ง
เคยเกริ่น ๆ ถึงเรื่องนี้ ในอีกลักษณะ
แต่คงเป็นเพราะว่า การนำเสนอออกจะเป็นแนวเพ้อเจ้อ ออกแนวฟุ้งซ่านในธรรม
ก็เลยดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจที่จะหาคำตอบที่มาที่ไป
และถึงจะมีคนถามถึงที่มาที่ไป
เขาคนนั้นก็คงตอบไม่ได้ ... เพราะเขาก็ จำเอาคำบอกเล่ามาจากอาจารย์มาแสดงต่ออีกที

แต่นี่...เอกอนเห็นว่าเป็นการแสดงความเห็นโดย...ลุงหมาน
ผู้มีความรอบรู้ชำนาญในทางอภิธรรม

:b1: :b1: :b1:

มีพระสูตร หรือ อภิธรรมบทไหน กล่าวถึง สภาวะที่จิตรับรู้ "น้ำ" มั๊ย
เอกอนอยากเข้าใจความเป็นไปแห่งสภาวะนี้

smiley smiley smiley


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 25 ส.ค. 2013, 17:23, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
สมมุติ ก็คือ สมมุติ

วิมมุติ ก็คือ วิมุตติ

ปรมัติ ก็ประมาณ วิมุตติ รึเปล่า... :b10: :b10:

:b12:

อันนี้ คำถามนะ ไม่ใช่ความเห็น...

:b9: :b9: :b9:

สมมุติ ก็คือ สมมุติ ถูกอ่ะ
วิมุติ ก็คือ วิมุติ ถูกคร้าบ
ปรมัติ(ปรมัตถ์) คือ ความจริงหรือสภาวะที่เป็นจริง
วิมุติ หมายถึงความหลุดพ้น หรือความรู้แจ้งเห็นจริงในปรมัตถ์ด้วยปัญญาตน


nongkong เขียน:
ยกตัวอย่าง คน หรือ มนุษย์ นี่คือสมมติ เมื่อมีสมตติแล้วก็บัญญัติว่าคน คนนี้นี่คือใคร เช่น
พี่กรัชกาย คุนน้อง พี่เอกอน พี่วิริยะ เป็นต้น

ชื่อคนก็เป็นสมมุติ อย่างที่ลุงหมานหรือท่านกรัชกายอธิบาย คือ สมมุติซ้อนสมมุติ

ส่วนบัญญัติ ท่านบัญญัติไว้หกหัวข้อคือ ..

๑. ขันธบัญญัติ อันได้แก่บัญญัติ รูป กับ นามให้เป็นขันธ์ห้า
๒. อาตยนบัญญัติ ขยาย รูป กับ นาม ออกให้เป็น อายตนะหก อายตนะสิบสอง
๓. ธาตุบัญญัติ คือ บัญญัติ ขันธ ์อายตนะ เสียใหม่ ได้แก่ ย่อ ขันธ์ อายตนะ
เหล่านั้นที่เป็นรูปวัตถุให้เป็นธาตุสี่ แล้วก็รวมเอาทั้งรูปวัตถุกับนามเข้ามาบัญญัติให้เป็นธาตุสิบแปด
๔. สัจจบัญญัติ คือ รวมเอาบัญญัติทั้งสามเบื้องต้นเข้ามาเป็นสัจจบัญญัติ
เพราะบัญญัติทั้งสามนั้นเป็นบ่อเกิดที่ตั้งของอริยสัจสี่
๕. อินทรียบัญญัติ คือ มาขยายบัญญัติสามเบื้องต้น นั้นให้เห็นเป็นนามธรรมและรูปธรรม
หรืออีกนัยหนึ่งคือ ขยายธรรมออกมาให้เห็นเป็นบุคคลด้วย ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะเรียกบุคคลไม่ถูก
ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร จะมีแต่ขันธ์-อายตนะ-ธาตุ ไปหมด
๖. บุคคลบัญญัติ เมื่อแยก ขันธ์ -อายตนะ-ธาตุออกมาเป็นบุคคลให้เห็นชัดแล้ว
จะต้องแบ่งบุคคลนั้นออกให้เป็น บุคคลสิบสองประเภท ตามคุณสมบัติ คือ เป็นปุถุชนสี่ เป็นพระอริยะแปด

คนเราหลงสมมุติ เช่นคนนั้นสวย คนนี้งาม นางสาวตุ๊กกี๊งามแต๊ ๆ เจ้า เป็นต้น ฯลฯ ท่านเลยบัญญัติทับสมมุติขึ้น
เพื่อให้เราได้พิจารณาบัญญัติธรรม จะได้ไม่หลงสมมุติ ได้เห็นปรมัตถ์ธรรม เกิดวิมุติ ความหลุดพ้นในที่สุด ..


:b1:

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... hes_26.htm

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อาโป

คำว่า อาโปธาตุ หรือ อาโปรูป เป็นรูปปรมัตถที่รู้ได้ด้วยใจ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือ เกาะกุม
ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปคฺฆรณ ลกฺขณา มีการไหล เป็นลักษณะ
พฺยูหน รสา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วยมีความเจริญ เป็นกิจ
สงฺคห ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเกาะกุมรูปที่เกิดร่วมกัน เป็นผล ปรากฏ
อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเกาะกุมก็ดี การไหลก็ดี ที่มีอยู่ในร่างกายนั้น เรียกว่า อาโปธาตุ
อาโปธาตุนี้ มีจำนวนพอประมาณในวัตถุใด ก็ทำหน้าที่เกาะกุมอย่างเหนียว แน่น วัตถุนั้นจึงแข็ง
ถ้าวัตถุใดมีอาโปธาตุมากก็เกาะกุมไม่เหนียวแน่น จึงทำให้ วัตถุนั้นอ่อนลงและเหลวมากขึ้น
หากว่าในวัตถุใดมีอาโปธาตุเป็นจำนวนมากแล้ว การเกาะกุมก็น้อยลง ทำให้วัตถุนั้นเหลวมากจน
ถึงกับไหลไปได้

เมื่ออาโปธาตุถูกความร้อน ปัคฆรณลักษณะ หรือทรวภาวะ ปรากฏ คือ ทำให้ไหล แต่ถ้าอาโปธาตุ
ถูกความเย็น อาพันธนลักษณะ ปรากฏ คือทำให้เกาะกุม เช่น เหล็กหรือขี้ผึ้งถูกความร้อนก็เหลว
จนไหลได้ เมื่อเย็นแล้วกลับแข็งตัวตามเดิม หรือน้ำแข็ง ถ้าถูกความร้อนก็ละลายและไหล เมื่อให้
ถูกเย็นจัด ก็จะจับกันเป็นก้อน น้ำแข็งอีก
อาโปธาตุ ธาตุน้ำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ก. ลกฺขณอาโป หรือ ปรมตฺถอาโป ได้แก่ ลักษณะไหลและเกาะกุม อันมี อยู่ทั้งในสิ่งที่มีวิญญาณ
และในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ซึ่งมี ๒ ลักษณะ คือ

(๑) ปคฺฆรณ ลกฺขณ หรือ ทรวภาว มีลักษณะ หรือสภาพที่ไหล

(๒) อาพนฺธน ลกฺขณ มีลักษณะเกาะกุม

ปรมัตถอาโป เป็นอาโปธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธาตุน้ำ และธาตุน้ำในที่นี้ หมายถึงธาตุน้ำ
ที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือเกาะกุม ไม่ใช่น้ำที่มองเห็นหรือ ใช้ดื่มกันอยู่นี้ น้ำที่ใช้ดื่ม
ใช้สอยกันอยู่นี้ เป็นน้ำโดยสมมติ เป็นสสัมภารอาโป หรือสมมติอาโป น้ำโดยปรมัตถที่เรียกว่า
ธาตุน้ำนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ ปรากฏรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตา หรือสัมผัสได้
ด้วยกายปสาท เพียงรู้ ได้ด้วยใจเท่านั้น

ธรรมชาติที่รักษาสหชาติรูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า อาโป
หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า ธรรมชาติที่แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดร่วมกับตน แล้วตั้งอยู่กับรูป
เหล่านั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป

อาโปธาตุนี้ มองเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ส่วนน้ำที่เรามองเห็นกัน ใช้กันอยู่นี้
เป็นการเห็นธาตุต่าง ๆ รวมกันอยู่ในลักษณะอ่อนหรือเหลว เพราะมี ปฐวีธาตุน้อย มีอาโปธาตุมาก
ไม่ได้เห็นอาโปธาตุโดยส่วนเดียว ความปรากฏเป็น ลักษณะอ่อนเหลวของน้ำที่เราใช้ดื่มกันอยู่นี้
เนื่องด้วยอาโปธาตุนั้น

มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง
มีเตโชธาตุ ตามรักษา
มีวาโยธาตุ กระพือพัด

เมื่อใดที่อาโปธาตุมาก มีปฐวีธาตุน้อย ปรมาณูต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่นี้จะไหล ไปได้ ที่เราพูดกันว่า
น้ำไหล ๆ นั้น แท้จริงเป็นการไหลของปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นทำหน้า
ที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ เพราะปฐวีธาตุปรากฏน้อย จึงปรากฏอ่อนเหลว และไหลไปได้ ธรรมชาติ
ที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ แล้วไหลไปได้ นั่นเอง ที่เป็นอาโปธาตุ
อาโปธาตุนั้นมีอยู่ทั่วไปในวัตถุต่าง ๆ ที่แข็งและเหลวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ข. สสมฺภารอาโป ได้แก่ สสัมภาระธาตุต่าง ๆ ที่ประชุมรวมกันอยู่สมมติ เรียกว่า " น้ำ " หรือ ธาตุน้ำ

ตามนัยแห่งพระสูตร แบ่งออกเป็น ๒ อย่างดังนี้
(๑) อชฺฌตฺติกอาโป ธาตุน้ำภายใน ได้แก่ ธาตุน้ำที่เป็นส่วนประกอบ
ภายใน ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย
โดยยกเอาอาการ ๓๒ ที่มีลักษณะเหลว สงเคราะห์เป็น ธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ

เมทจฺฉกฺก
ปิตฺตํ - น้ำดี
เสมฺหํ - น้ำเสมหะ
ปุพฺโพ - น้ำหนอง
โลหิตํ - น้ำเลือด
เสโท - น้ำเหงื่อ
เมโท - น้ำมันข้น

มุตฺตจฺฉกฺก
อสฺสุ - น้ำตา
วสา - น้ำมันเหลว
เขโฬ - น้ำลาย
สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก
ลสิกา - ไขข้อ
มุตฺตํ - น้ำมูตร

(๒) พาหิรอาโปธาตุ น้ำภายนอก หมายถึง ธาตุน้ำอันเป็นส่วนประกอบ
ที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่นน้ำจากผลไม้ น้ำจากเปลือกไม้ น้ำจากลำต้นไม้ น้ำจาก ดอกไม้ เป็นต้น
ค. กสิณอาโป หรือ อารมฺมณอาโป ได้แก่น้ำที่นำมาใช้เป็นอารมณ์ในการ เพ่งกสิณ
ง. ปกติอาโป หรือ สมฺมติอาโป ได้แก่ น้ำที่สมมติเรียกกันว่า " น้ำ " ได้แก่ น้ำที่ใช้ดื่ม ใช้อาบ น้ำในคลอง น้ำในแม่น้ำ เป็นต้น ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า สสัมภารอาโป สำหรับปรมัตถอาโปธาตุนั้นเป็นรูปธาตุ ทำหน้าที่สมานเกาะกุมรูปทั้งหลายอันเกิดร่วมกับตน ทำให้รูปต่าง ๆ รวมกันอยู่ได้ ไม่ให้กระจัดกระจายไป เหมือนดังน้ำผึ้งที่ประสมกับยาผงเพื่อประสานให้ปั้นติดกันเป็นก้อนเป็นยาลูกกลอน ได้ฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 17:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ปรมัตถอาโป เป็นอาโปธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธาตุน้ำ และธาตุน้ำในที่นี้ หมายถึงธาตุน้ำ
ที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือเกาะกุม ไม่ใช่น้ำที่มองเห็นหรือ ใช้ดื่มกันอยู่นี้ น้ำที่ใช้ดื่ม
ใช้สอยกันอยู่นี้ เป็นน้ำโดยสมมติ เป็นสสัมภารอาโป หรือสมมติอาโป น้ำโดยปรมัตถที่เรียกว่า
ธาตุน้ำนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ ปรากฏรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตา หรือสัมผัสได้
ด้วยกายปสาท เพียงรู้ ได้ด้วยใจเท่านั้น

ธรรมชาติที่รักษาสหชาติรูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า อาโป
หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า ธรรมชาติที่แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดร่วมกับตน แล้วตั้งอยู่กับรูป
เหล่านั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป

อาโปธาตุนี้ มองเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ส่วนน้ำที่เรามองเห็นกัน ใช้กันอยู่นี้
เป็นการเห็นธาตุต่าง ๆ รวมกันอยู่ในลักษณะอ่อนหรือเหลว เพราะมี ปฐวีธาตุน้อย มีอาโปธาตุมาก
ไม่ได้เห็นอาโปธาตุโดยส่วนเดียว ความปรากฏเป็น ลักษณะอ่อนเหลวของน้ำที่เราใช้ดื่มกันอยู่นี้
เนื่องด้วยอาโปธาตุนั้น

มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง
มีเตโชธาตุ ตามรักษา
มีวาโยธาตุ กระพือพัด


:b8: :b8: :b8:

เห็น อาโป ได้อย่างนี้
"นิพพิทาญาณ" น่าจะปรากฎตามมาอย่างแน่นอน...มั๊ย...ลุงหมาน
เอกอนคิดว่าน่าจะ...นะ


:b1: :b12: :b12:

คือแบบว่า บางทีเอกอนเห็นผู้ปฏิบัติบางราย
มักจะสับสนใน อารมณ์ญาณ กับ อารมณ์อะไรต่อมิอะไร
เพราะ ยังติดที่เอาความรู้สึกเป็นที่ตั้ง และน้อมอารมณ์ที่รู้สึกไปโยงไปใน ตำรา
จนบางทีเอกอนนั่งอ่าน ก็... :b23: :b5:
เพราะ มักเจอแต่ผู้ปฏิบัติที่มักจะคุยว่า ตนได้อะไร แต่กลับไม่รู้ วิชชา
เป็นอาจารย์ก็เยอะ... :b14: :b14: :b14:

แต่โดยธรรมชาติของ ญาณอารมณ์ น่าจะมี วิชชา เป็นตัวส่ง... ใช่มั๊ย ...

อิอิ เป็นคำถามอีกแล้ว...

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ถูกใจ-ไม่ถูกใจ

เมื่อไม่สามารถรู้แค่ในใจ ยังไม่ได้ จึงปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางวจีกรรม กายกรรม

ถูกใจอีกฝ่าย จะมีแต่ถ้อยคำยกยอปอปั้น

ไม่ถูกใจอีกฝ่าย ถ้อยคำจะมีการกล่าวเบียดเบียน


เหตุของอวิชชา ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ สร้างเหตุของการ ก่อภพก่อชาติใหม่ ให้เกิดขึ้นเนืองๆ ไม่รู้จบ


สิ่งที่นำมาอธิบาย เชิงปริยัตินี่ ก็ลอกกันมาทั้งนั้นแหละ
เพียงแต่คนที่ลอกมา จะลงมั๊ย ว่านำมาจากไหน เท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เห็น อาโป ได้อย่างนี้
"นิพพิทาญาณ" น่าจะปรากฎตามมาอย่างแน่นอน...มั๊ย...ลุงหมาน
เอกอนคิดว่าน่าจะ...นะ

คือแบบว่า บางทีเอกอนเห็นผู้ปฏิบัติบางราย
มักจะสับสนใน อารมณ์ญาณ กับ อารมณ์อะไรต่อมิอะไร
เพราะ ยังติดที่เอาความรู้สึกเป็นที่ตั้ง และน้อมอารมณ์ที่รู้สึกไปโยงไปใน ตำรา
จนบางทีเอกอนนั่งอ่าน ก็...
เพราะ มักเจอแต่ผู้ปฏิบัติที่มักจะคุยว่า ตนได้อะไร แต่กลับไม่รู้ วิชชา
เป็นอาจารย์ก็เยอะ...

แต่โดยธรรมชาติของ ญาณอารมณ์ น่าจะมี วิชชา เป็นตัวส่ง... ใช่มั๊ย ...

อิอิ เป็นคำถามอีกแล้ว...

การปฏิบัติของนักปฏิบัติ พอได้ญานที่ ๑ คือ นามรูปปริเฉทญาน
ญานนี้ก็เห็นนามรูปแล้วแยกนามแยกรูปได้แล้ว พอญานที่ ๒ ปัจจยปริคหญาน
คือจะเห็นปัจจัยของรูปของนาม ตรงนี้อาจจะมั่นใจได้ว่าผู้ปฎิบัติอาจได้มรรคผลอย่างแน่นอน
ถ้าไม่ไปติดกับอุปกิเลส ๑๐ เสียก่อน ที่ว่านิพพิทาญานนั้นเป็นญานที่ ๘ ตรงนี้แหละยังติดสังโยชน์อยู่

สายนี้เป็นสายปัญญา โดยเจริญสติปัฎฐาน ๔
โดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ ถ้านักปฏิบัติคุยโอ้อวดได้ญาณนั้นญานนี้
อาจเป็นไปได้เขาอาจพบกับอุปกิเส ๑๐ ที่คอยสะกัดกั้นที่เรียกว่าสังโยขน์
ท่านเหล่านั้นก็คงผ่านญาณนี้ไม่ได้เช่นกัน เพราะเขาถูกอุปกิเลสที่ชื่อว่า
นิกันติตัณหา คือไปยินดีพอใจในญานเหล่านั้นก็เป็นได้ครับ
ปัญหาของนักปฏิบัติจะล่มสลายก็เพราะตรงนี้เอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 92 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร