วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 13:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


วิบากกรรม คำนี้มักได้ยิน ได้เห็น คนใช้กันบ่อยๆนะคะ

กรรม VS วิบากกรรม

อยากทราบว่าหลายๆคนในที่นี้เข้าใจคำว่าวิบากกรรมว่า
อย่างไรกันบ้างคะ ต่างจากกรรมยังไงบ้าง

มาร่วมสนทนากันนะคะ แต่ขอให้การสนทนาเป็นไปแบบ
นุ่มนวล แนะนำกันเบาๆ แบบกัลยาณมิตรนะคะ แบบฮาร์ด
คอร์ไม่เอานะคะ กระทู้นี้ขอพักเรื่องฮาร์ดคอร์ไว้ก่อนนะ
ลองคุยกันแบบอบอุ่น นุ่มนวลดูบ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังเพลงเก่าๆ กันนะคะ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


จะสะดวกมั้ยคะ หากจะบอกเพื่อนสมาชิกว่า ให้แสดงความคิดเห็นตามความเข้าใจของ
เราเอง ไม่ต้องไปก็อบมาหรือหามาจากพี่กุ๊ก ไม่ได้บังคับนะคะ แต่แค่อยากทราบว่าใคร
เข้าใจหรือไม่เข้าใจว่าอย่างไรกันบ้าง จะได้มีเพื่อนสมาชิกหลายๆคน ช่วยๆแนะนำกันได้
แต่จะไปก็อบมาก็ไม่ว่ากันนะคะ ดิฉันไม่อยากปิดกั้นค่ะ เดี๋ยวจะโดนหาว่าจุ้นจ้านอีก แย่เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
วิบากกรรม คำนี้มักได้ยิน ได้เห็น คนใช้กันบ่อยๆนะคะ

กรรม VS วิบากกรรม

อยากทราบว่าหลายๆคนในที่นี้เข้าใจคำว่าวิบากกรรมว่า
อย่างไรกันบ้างคะ ต่างจากกรรมยังไงบ้าง

มาร่วมสนทนากันนะคะ แต่ขอให้การสนทนาเป็นไปแบบ
นุ่มนวล แนะนำกันเบาๆ แบบกัลยาณมิตรนะคะ แบบฮาร์ด
คอร์ไม่เอานะคะ กระทู้นี้ขอพักเรื่องฮาร์ดคอร์ไว้ก่อนนะ
ลองคุยกันแบบอบอุ่น นุ่มนวลดูบ้าง

ไม่เหมือนกันซะทีเดียว วิบาก แปลว่า ผล เมื่อรวมกับกรรม คือ วิบากกรรม
วิบากกรรม คือกรรมที่กำลังให้ผลทั้งทางที่ดีและไม่ดี ตามทวารทั้ง ๖ เช่น เห็นดี เห็นไม่ดี
ได้ยินที่ดี ได้ยินไม่ดี ได้กลิ่นที่ดี ได้ลิ้มรสที่ดี และได้ลิ้มรสที่ไม่ดี เป็นต้น หรือ
เช่นว่าในเวลาที่เป็นปัจจุบันนี้ เรามีสุข หรือทุกข์ เรารับวิบากกรรมมาจากอดีตที่เราทำไว้ทั้งสิ้น

ส่วนกรรมนั้นเป็นการกระทำขึ้นเพื่อให้ผลเกิดขึ้น เช่น ทำกุศลกรรม และอกุศลกรรม
ที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ เช่น ทำบุญใส่บาตร รักษาศีล ถ้ากรรมที่ไม่ดีก็ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เป็นต้น
เช่นนี้เรียกว่าทำ"กรรม"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2013, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กิริยา วิบาก กิริยา มโนกรรม วิบาก กิริยา มโนกรรม วิบาก

วงรอบจิต หรือ ลูป หรือ วัฏจักร ก็แล้วแต่ ของปุถุชน ที่เกิดขึ้นเป็นไป ตลอดวัน ไม่พูดถึงหลับฝันนะ

มันไม่มีจุดเริ่มต้น เพราะ มันหมุนวน มาไม่รู้เท่าไร ต่อเท่าไร

แต่จะขออธิบาย จากเมื่อตื่น คือ กิริยาจิต เกิดขึ้นก่อน เป็นจิตที่เกิดขึ้นตามกลไกของมันเช่นนั้นเอง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดวิบากจิต เกิดสืบต่อ เพื่อรับผลกรรมที่เคยทำเอาไว้เมื่ออดีต ซึ่งดีบ้าง ไม่ดีบ้าง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะมีกิริยาจิตเกิดคั่น ตามกลไกธรรมชาติ อีกเช่นกัน ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ ที่ได้รับมาว่าจะเอายังไงดี

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิต ทีคิดดีไม่ดี เป็นมโนกรรม
จิตนี้จะเกิดดับ เกิดดับ สืบต่ออยู่หลายดวง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิตวิบาก สืบต่อ อีกหลายต่อหลายดวง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดกิริยาจิต ตามกลไกของมันอีก

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิตที่สร้างมโนกรรม ขึ้นอีกหลายดวง เป็นอนุกรม

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิตที่เสวยผลกรรม คือวิบากจิต เกิดขึันอีก มากมายหลายดวง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะกลับไปเริ่มต้น วงรอบใหม่กันอีก

สรุป

จิตนี่เอง สร้างกรรม
จิตนี่เอง รับผลกรรม

การตัดสินใจที่จะสร้างกรรมดี หรือกรรมไม่ดี เป็นเพราะกิเลส ที่เกิดขึ้นประกอบกับจิตในช่วงนั้น

หมายเหตุ จิตเกิดได้ทีละดวง แต่เกิดสืบต่อ ไม่มีระหว่างคั่น

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 01:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องวิบากกรรมหรือกรรม ส่วนตัวไม่ถนัดเลยครับ ความเห็นผมคือวิบากกรรมเป็น ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด ที่มีเหตุได้เกิดขึ้นแล้ว รอส่งผลให้เกิดขึ้นนับตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงอนาคตข้างหน้า โดยเหตุที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเกิดขึ้นในอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ต่างจากกรรมอย่างไร ผมว่าวิบากกรรมเป็นกรรมฝ่ายอกุศล ผลที่ออกมาจะทำให้เกิดความเดือนร้อน แต่กรรมนั้นมีทั้งกุศลกรรมและ อกุศลกรรม กรรมดีก็ส่งผลให้เกิดความสุข กรรมชั่วก็ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
กิริยา วิบาก กิริยา มโนกรรม วิบาก กิริยา มโนกรรม วิบาก

วงรอบจิต หรือ ลูป หรือ วัฏจักร ก็แล้วแต่ ของปุถุชน ที่เกิดขึ้นเป็นไป ตลอดวัน ไม่พูดถึงหลับฝันนะ

มันไม่มีจุดเริ่มต้น เพราะ มันหมุนวน มาไม่รู้เท่าไร ต่อเท่าไร

แต่จะขออธิบาย จากเมื่อตื่น คือ กิริยาจิต เกิดขึ้นก่อน เป็นจิตที่เกิดขึ้นตามกลไกของมันเช่นนั้นเอง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดวิบากจิต เกิดสืบต่อ เพื่อรับผลกรรมที่เคยทำเอาไว้เมื่ออดีต ซึ่งดีบ้าง ไม่ดีบ้าง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะมีกิริยาจิตเกิดคั่น ตามกลไกธรรมชาติ อีกเช่นกัน ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ ที่ได้รับมาว่าจะเอายังไงดี

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิต ทีคิดดีไม่ดี เป็นมโนกรรม
จิตนี้จะเกิดดับ เกิดดับ สืบต่ออยู่หลายดวง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิตวิบาก สืบต่อ อีกหลายต่อหลายดวง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดกิริยาจิต ตามกลไกของมันอีก

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิตที่สร้างมโนกรรม ขึ้นอีกหลายดวง เป็นอนุกรม

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะเกิดจิตที่เสวยผลกรรม คือวิบากจิต เกิดขึันอีก มากมายหลายดวง

เมื่อจิตนี้ดับไป ก็จะกลับไปเริ่มต้น วงรอบใหม่กันอีก

สรุป

จิตนี่เอง สร้างกรรม
จิตนี่เอง รับผลกรรม

การตัดสินใจที่จะสร้างกรรมดี หรือกรรมไม่ดี เป็นเพราะกิเลส ที่เกิดขึ้นประกอบกับจิตในช่วงนั้น

หมายเหตุ จิตเกิดได้ทีละดวง แต่เกิดสืบต่อ ไม่มีระหว่างคั่น


มโนกรรม เข้าใจแล้วค่ะ กรรมที่เกิดขึ้นทางใจ คิดร้ายต่อใครก็เป็นมโนกรรม
แล้วยังมีอีกนะคะ วจีกรรม การใช้วจีทุจริต นี่ก็เป็นกรรม จัดอยู่ในประเภทเดียว
กับกรรมที่เกิดทางกาย ที่ยังสงสัยอยู่คือวิบากกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวดิฉันคิดว่า วิบากกรรม คือ กรรมที่เกิดจากผลแห่งการกระทำทุกชนิด
เช่น วจีกรรม มโนกรรม ฯลฯ

วิบาก = ผล, ผลแห่งกรรมที่ทำไว้ในอดีต
กรรม = การกระทำ

วิบากกรรม จึงหมายความว่า ผลแห่งการกระทำที่เราได้เป็นผู้กระทำไว้ในอดีต
ส่งผลให้เราได้รับวิบากกรรมในปัจจุบัน ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว โดยจะส่งผลได้
ทั้งกุศลวิบาก กรรมวิบาก เช่น

หากในอดีตเราสร้างมิตร ทำแต่กุศลกรรม สร้างแต่ความดี ปัจจุบันเราจึงมีมิตรดี
มีมิตรมาก แต่หากเราสร้างกรรมไม่ดี สร้างแต่อกุศลกรรม ปัจจุบันเราจึงมีแต่ศัตรู
มีแต่อุปสรรคในชีวิต เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม มี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ มโนกรรม และ กายากรรม

มโนกรรม(กรรมที่เกิดขึ้นทางใจ) เช่น
คิดร้ายต่อผู้อื่น
ลวนลามผู้อื่นทางใจ
แสร้งทำดีกับผู้อื่นแต่ภายในใจคิดอกุศล
ฯลฯ

กายากรรม(กรรมที่เกิดทางกาย)
ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฆ่าผู้อื่น
เอารัดเอาเปรียบ
พูดหรือกระทำให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ เสียใจ
ฯลฯ

ส่วนวิบากกรรม สามารถจัดอยู่ได้ทั้ง มโนกรรม และ กายากรรม
เพราะวิบากกรรมคือ ผลที่เกิดจาก มโนกรรม และ กายากรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
วิบากกรรม คำนี้มักได้ยิน ได้เห็น คนใช้กันบ่อยๆนะคะ
กรรม VS วิบากกรรม

อยากทราบว่าหลายๆคนในที่นี้เข้าใจคำว่าวิบากกรรมว่า
อย่างไรกันบ้างคะ ต่างจากกรรมยังไงบ้าง

มาร่วมสนทนากันนะคะ แต่ขอให้การสนทนาเป็นไปแบบ
นุ่มนวล แนะนำกันเบาๆ แบบกัลยาณมิตรนะคะ แบบฮาร์ด
คอร์ไม่เอานะคะ กระทู้นี้ขอพักเรื่องฮาร์ดคอร์ไว้ก่อนนะ
ลองคุยกันแบบอบอุ่น นุ่มนวลดูบ้าง

ด้วยความนับถือคุณพี่หญิงไทยใจงาม กระผมนายโฮฮับ
ขออนุญาติแสดงความเห็นเล็กๆน้อยๆในกระทู้คุณพี่หญิงไทยหน่อยนะขอรับ

ถ้ามีคำไหนที่กระผมพลั่งเผลอพูดจาขาดความอบอุ่น นุ่มนวลไปบ้าง
ต้องขออภัย ที่เป็นแบบนี้
"เพราะทางบ้านเน้นคุณธรรม ไม่เน้นมรรยาทจ้า"(เอามาจาก...นายเอมเมอรัล) :b32:

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า กรรมเสียก่อน กรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึง กิริยาที่ร่างกายไปกระทำการอันใด
กรรมในทางพุทธศาสนาหมายถึง........การกระทำทางใจนั้นก็หมายความว่า ใจมีเจตนาต่อการกระทำนั้นๆ

แล้วอะไรที่เรียกว่า เจตนาของใจ ก็คือการปรุงแต่งของขันธ์จนเกิดเป็น กุศลหรืออกุศล
ตัวกุศลและอกุศลของจิตนี้แหล่ะ...เป็นตัวก่อให้เกิดวิบากกรรม

ในศาสนาพุทธ กรรมหรือวิบากกรรม ไม่ใช่การการกระดี ชั่ว แล้วไปนรกหรือสวรรค์
แต่กรรมและวิบากหมายถึง การเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า....อิทัปปัจจยตา

ขันธ์ห้าเป็นกรรมที่มีเจตนาในกุศลและอกุศล ก่อให้เกิดวิบากก็คือปฏิจจสมุบาท(การเวียนว่าตายเกิด)

สรุปก็คือ กรรมไม่ใช่การทำดีทำชั่วบุญบาป วิบากกรรมก็ไม่ใชผลที่เป็นความสุขหรือความลำบาก
กรรมคือความเป็นกุศลและอกุศล วิบากกรรมคือวัฏฏสงสาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


มาฟังความเห็นของคุณน้องเกี่ยวกับกรรมและวิบากกรรมกันบ้าง คุณน้องขออธิบายแบบสามัญชนคนธรรมดาๆนะเจ้าค่ะ อาจจะไม่ตรงกับพุทธบัญญัติก็ขอประธานอภัยล่วงหน้า เพราะรู้จากญานทัศนะของตนเอง :b12: (รู้ด้วยความเพียร)
กรรม หมายถึง การกระทำของเรานั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
วิบากกรรม หมายถึง ผลของกรรมการกระทำของเราที่ทำไปแล้วจะในอดีตหรือเมื่อครู่นี้เพิ่งทำลงไปก็เป็นวิบาก ฟังแล้วอาจจะงง จะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ คนที่ชอบทำแต่กุศลกรรม เช่นชอบปล่อยนกปล่อยปลา เมื่อเค้าปล่อยปลา การที่เค้าปล่อยปลาคือการกระทำ เป็นกุศลกรรม เมื่อทำแล้วก็ก่อให้เกิดจิตใจที่เป็นสุขสดชื่นแจ่มใสก็เป็นผลของวิบากกรรมดี วิบากจะเกิดกับจิตเราโดยตรง หรือถ้าบางทีเผลอไปฆ่าสัตว์แล้วการกระทำนั้นส่งผลทำให้จิตใจเราเป็นทุกข์ เศร้า นั่นก็คือวิบากกรรม เป็นผลของอกุศลที่เรากระทำลงไป วิบากกรรมคือผลของการกระทำที่เราต้องเสวย วิบากกรรมไม่ใช่แค่การกระทำของเราฝ่ายเดียว ผู้อื่นอาจจะเป็นฝ่ายกระทำต่อเราและเราก็ต้องรับวิบากกรรมนั้นคือต้องเสวยวิบากนั้น ยกตัวอย่าง คนที่โดนสามีทิ้ง แล้วต้องมาทุกข์ร้องไห้เสียใจคร่ำครวญ เพราะการกระทำของคนอื่นส่งผลต่อความรู้สึกของเรา วิบากกรรมก็คือผลของการกระทำของเราหรือผลของการกระทำผู้อื่นแล้วส่งผลต่อความรู้สึกเรา ผลของวิบากอาจจะสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุข์ก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วยค่ะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า กรรมเสียก่อน กรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึง กิริยาที่ร่างกายไปกระทำการอันใด
กรรมในทางพุทธศาสนาหมายถึง........การกระทำทางใจนั้นก็หมายความว่า ใจมีเจตนาต่อการกระทำนั้นๆ


พี่หญิงเข้าใจว่า กรรม หรือวิบากกรรม คือผลจากการกระทำที่เกิดขึ้นทั้งทางกายและทางใจนะคะ
ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ที่ตั้งใจก็อย่างเช่นเรานินทาผู้อื่น พูดให้ผู้อื่นเสียใจ เป็นวจีกรรม คือกรรม
ทางกาย(ใช้ปากพูด) เห็นผู้หญิงสวย เราก็จินตนาการไปถึงไหนต่อไหน อันนี้เป็นมโนกรรม(กรรม
ทางใจ) ลวนลามเขาทางใจ ที่กล่าวมานี่คือเจตนา

ส่วนที่ไม่เจตนาก็อย่างเช่น เราไปแซวคนอื่น คิดว่าแค่เล่นกันขำๆ แต่เราแซวแรงไป
จากตลกเลยกลายเป็นว่าทำให้เขาได้รับความอับอาย เจ็บช้ำน้ำใจ มันก็เลยไม่ขำ แต่
กลายเป็นเครียดแทน อันนี้ไม่เจตนา แต่ก็เป็นกรรม แบบนี้ในวงการบันเทิงมีเยอะเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
มาฟังความเห็นของคุณน้องเกี่ยวกับกรรมและวิบากกรรมกันบ้าง คุณน้องขออธิบายแบบสามัญชนคนธรรมดาๆนะเจ้าค่ะ อาจจะไม่ตรงกับพุทธบัญญัติก็ขอประธานอภัยล่วงหน้า เพราะรู้จากญานทัศนะของตนเอง :b12: (รู้ด้วยความเพียร)


พี่หญิงก็อยากให้เป็นแบบนั้นแหล่ะค่ะ เอาตามที่เราเข้าใจ ไม่ต้องใช้คำศัพท์หรูหรา
บัญญัติเลิศหรู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ว่าความเห็นของผมต่อนะครับ

อ้างคำพูด:
จิตนี่เอง สร้างกรรม
จิตนี่เอง รับผลกรรม


จิตเกิดขึ้น รับผลกรรม(วิบากกรรม) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ห้าทางนะครับ ที่เรียกว่าวิบากจิตน่ะแหละ

จิตที่สร้างกรรม เขาเรียกกุศลจิต และอกุศลจิต แล้วแต่ว่าจะคิดดี หรือคิดชั่ว

แล้ว วจีกรรม กับ กายกรรม ล่ะ ............ คำถาม

ช่วงที่เกิด กุศลจิต ถ้ามีกำลังแรง มาก ก็จะพาลให้ออกทางวาจา หรือออกอาการทางกาย

วจีวิญญัติ นับเป็น พอร์ตเอาท์พุทของจิต จิตกุศลที่มีกำลังแรง ก็จะทำให้เกิดรูปคือ วจีวิญญัติ
คือ มีคำพูด คำจา ออกมา เป็นวจีกรรม

กายวิญญัติ ก็เป็นพอร์ทเอาท์พุทของจิต อีกพอร์ตหนึ่ง ถ้าจิตกุศลมีกำลังแรงมาก ก็จะทำให้เกิดรูปคือ กายวิญญัติ เป็นการเคลื่อนไหวของกาย ก่อเกิด กายกรรม

จิตที่เป็นอกุศล ก็ทำงานเช่นเดียวกันกับที่อธิบายข้างบน

สรุป อีกที แบบไม่เอารายละเอียด คือ
จิตเกิดขึ้นรับผลกรรม และเกิดขึ้นสร้างกรรม สลับกันไป ตลอดวัน ตลอดคืน

สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้จิตสร้างกรรมดี หรือกรรมชั่ว ก็คือสติ ปัญญา และกิเลส

เขาเรียกว่า วัฏฏะ 3 กิเลส กรรม วิบาก
หรือจะว่า วิบาก กิเลส กรรม .............................. ก็แล้วแต่

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
กรรม มี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ มโนกรรม และ กายากรรม

มโนกรรม(กรรมที่เกิดขึ้นทางใจ) เช่น
คิดร้ายต่อผู้อื่น
ลวนลามผู้อื่นทางใจ
แสร้งทำดีกับผู้อื่นแต่ภายในใจคิดอกุศล
ฯลฯ

กายากรรม(กรรมที่เกิดทางกาย)
ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฆ่าผู้อื่น
เอารัดเอาเปรียบ
พูดหรือกระทำให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ เสียใจ
ฯลฯ

ส่วนวิบากกรรม สามารถจัดอยู่ได้ทั้ง มโนกรรม และ กายากรรม
เพราะวิบากกรรมคือ ผลที่เกิดจาก มโนกรรม และ กายากรรม

กรรม มี ๓ ชนิด ท่านแบ่งไว้ชัดเจนดังนี้ ..

กายกรรม เช่น ตีรันฟันแทง เข่นฆ่ากัน กระทบกระทั้งทางกาย
วจีกรรม พูดจาเสียดสี ทิ่มแทง เยาะเย้ยถากถาง ดูถูกดูหมิ่น ฯลฯ
มโนกรรม ต้องการลักโขมย ต้องการฆ่าฟัน แต่ยังไม่ได้ลงมือ

ในกรรมบทสิบ ท่านก็แบ่งไว้ ..

- กายกรรม สาม
- วจีกรรม สี่
- มโนกรรม สาม

รวมเป็นสิบ .. :b1:


.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร