วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 14:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2013, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 13:41
โพสต์: 171

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2013, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




ฟังธรรมเทศนา.jpg
ฟังธรรมเทศนา.jpg [ 76.05 KiB | เปิดดู 2578 ครั้ง ]
:b20: 5 อานิสงส์ของการฟังธรรม :b20:

ธรรมสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์ของการฟังธรรม
หมายถึง ผลดีหรือส่วนดีที่เกิดขึ้นทันทีที่คนเรามีความตั้งใจฟังธรรม
คือ หลักคำสั่งสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า
ที่พระภิกษุค้นคว้านำมาเทศน์ ปาฐกถา
บรรยายหรือบอกเล่ากล่าวสอนในกาลเทศะต่างๆ
โดยไม่ต้องรอการให้ผลในชาติหน้า มี 5 ประการ ดังนี้

:b44: 1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
หมายถึงว่า การฟังธรรมนั้นเป็นการหาความรู้ที่ดีอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวกับหลักพระพุทธศาสนาจากพระภิกษุผู้มีภูมิธรรมศึกษา
ปฏิบัติพุทธธรรมตามหลักพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกอย่างเชี่ยวชาญ
พร้อมที่จะนำออกเผยแผ่แก่ประชาชน
โดยมีคุณสมบัติของการเป็นนักเทศน์หรือนักสอนธรรมที่ดี


โดยเหตุที่ผู้ฟังคือคฤหัสถ์หรือชาวบ้านนั้น
เป็นผู้มีโอกาสน้อยที่จะได้ศึกษาค้นคว้าหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎกโดยตรง
ดังนั้น จึงต้องอาศัยการฟังจากพระภิกษุที่เมตตาแสดงธรรม


เมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอน เป็นประการแรก
ก็คือได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
เพราะพระภิกษุนั้นท่านย่อมจะมีวิธีการนำเสนอหลักธรรมที่ไม่ซ้ำๆ กันอย่างชาญฉลาด
พร้อมทั้งให้ข้อคิดความเห็นแปลกๆ ใหม่ๆ โดยปรับปรุงวิธีการเทศน์การสอน
ที่ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ


:b44: 2. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
หมายความว่า ธรรมข้อใด หรือเรื่องใดที่เคยฟังมาแล้วจากการแสดงธรรมเป็นต้น
ของพระภิกษุในครั้งก่อน แต่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง
เมื่อตั้งใจฟังอีกครั้ง อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอนเป็นประการที่ 2
ก็คือความเข้าใจ ชัดแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการทบทวนความรู้เดิมที่ดีอีกด้วย


:b44: 3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
หมายความว่า ตามปกติ ของผู้ไม่มีโอกาสศึกษาหลักพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง
ย่อมจะเกิดความสงสัยในเรื่องนามธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
เช่น เรื่องบาป บุญ คุณ โทษเป็นอย่างไร มีผลอย่างไร
อะไรเป็นบุญกุศล อะไรคือบาปอกุศล ผลของบาปหรือบุญมีจริงหรือไม่
ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ เป็นต้น ความสงสัยเช่นนี้ จะบรรเทาลงได้
ถ้าตั้งใจฟังธรรม ซึ่งนับเป็นอานิสงส์ประการที่ 3
ที่ผู้ฟังธรรมจะได้รับทันทีเมื่อฟังธรรมจากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการเทศน์
ซึ่งจะอธิบายเรื่องที่เป็นนามธรรม ด้วยการสาธกยกอุปมาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย


:b44: 4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
หมายถึงว่า เพราะคฤหัสถ์ ชาวบ้านบางคนได้นับถือพระพุทธศาสนา
ตามที่บรรพบุรุษนับถือมา ดังนั้น จึงอาจจะมีความคิดเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรมได้
เช่น เห็นว่าทำดีเมื่อไม่มีคนเห็น ก็ไม่ได้รับผลดี
หรือเห็นว่าจะดีหรือชั่ว ก็แล้วแต่โชคชะตาฟ้าลิขิต เป็นต้น


การมีความคิดเห็นเช่นนี้จะถูกทำลายลงได้ คือเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ
ก็ต่อเมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ จากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการแสดงธรรม
ที่จะพรรณาสาธกยกเหตุผลประกอบจนผู้ฟังนั้นคล้อยตาม
ปรับความเห็นให้ถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งในใจ


:b44: 5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
หมายถึงว่า การตั้งใจฟังธรรมนั้น ท่านจัดเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนา
คือการฝึกอบรมพัฒนาจิตให้ เกิดปัญญา เพราะเมื่อตั้งใจฟัง
จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส อันเป็นคุณสมบัติของสมาธิจิต
เมื่อจิตผ่องใสตั้งมั่นเป็นสมาธิ ย่อมมีพลานุภาพที่จะคิดอ่านทำการต่างๆ
อย่างสร้าง สรรค์ด้วยปัญญา สามารถที่จะรู้และเข้าใจธรรมต่างๆ
ที่ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพได้ง่าย
และอานิสงส์ข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากอานิสงส์ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวมา


พระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญต่อการฟังธรรมเป็น อย่างมาก
เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา
คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม ข้อนี้มีพระพุทธภาษิตตรัสรับรองไว้ว่า
สุสฺสุสํ ลภเต ปัญญํ ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา


การฟังธรรมท่านจัดเป็น 1 ในบุญกิริยาวัตถุ 10 (ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการฟัง)
ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่ง ความดีในการพัฒนาตนให้มีความคิดสติปัญญาที่ถูกต้อง
เป็นสัมมาทิฏฐิ และเจริญงอกงามในพุทธธรรมต่อไป


แต่การฟังธรรมนั้น ผู้ฟังจะได้รับอานิสงส์หรือจะสำเร็จ ผลได้อย่างแท้จริง
ต้องอาศัยความตั้งใจฟังโดยเคารพ คือมีสติสัมปชัญญะคอยควบคุมจิต
ให้มุ่งดำเนินไปตามกระแสธรรมที่พระภิกษุท่านนำมาแสดง
ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่าง ๆ จึงจะได้รับอานิสงส์ทั้ง 5 ประการดังที่แสดงมา


แต่หากว่าผู้ฟังแสดงอาการไม่เคารพในการฟัง เช่น ในขณะฟัง
หรือในขณะที่พระท่านเทศน์ กลับพูดคุยกัน แข่งแย่งกันพูด
บ่นว่าปวดเมื่อยหรือรำคาญ แสดงอาการเหม่อ ใจลอย หรือหลับ
ไม่ใช้สติปัญญาคิดพิจารณาตามกระแสธรรม
การฟังธรรมก็จะไม่สำเร็จประโยชน์เป็นอานิสงส์ใด ๆ แก่ผู้ฟังเลย
กลับจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

ขอบพระคุณที่มา ::
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=34722

:b44: ♡✿(◕‿◕)✿♡ กราบอนุโมทนาบุญกับกัลยาณมิตรและกัลยาณธรรมทุกท่าน ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองนะเจ้าค่ะ ♡✿(◕‿◕)✿♡ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร