วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็น คำว่าอินทรีย์๒๒มา และมีผู้ให้ความหมายคำว่า..อินทรีย์ไว้ดังนี้
สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=349

อยากถามเพื่อนๆว่า มีความเข้าใจ ในความหมายข้างบนนี้มั้ยอย่างไร
ความเป็นใหญ่ในกิจของตน เป็นอย่างไร
ทำให้ธรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน อย่างไร :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 07:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


สะสมสิ่งนั้นๆมาเพียงพอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ หมายความว่า ความเป็นใหญ่หรือเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิด ร่วมด้วยตน หรือเป็นใหญ่ในการที่จะให้สำเร็จกิจการในหน้าที่ของตน ๆ คือเป็น ใหญ่ในกิจการนั้น ๆ เช่น
ตา เป็นใหญ่ในการ เห็น
หู เป็นใหญ่ในการ ได้ยิน
จมูก เป็นใหญ่ในการ รู้กลิ่น
ลิ้น เป็นใหญ่ในการ รู้รส
กาย เป็นใหญ่ในการ รู้สัมผัส
ใจ เป็นใหญ่ในการ รู้เรื่องราวนึกคิดต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น
เช่น จักขุนทรีย องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป อันว่าจักขุปสาทรูปนี้ มีธรรมที่เกิดร่วมด้วย ๙ รูป
คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา และ ชีวิตรูป รวมทั้งตัวเอง คือ จักขุปสาทรูปด้วย ก็เป็น ๑๐ รูปด้วยกัน ในจำนวน ๑๐ รูปนี้ ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่การงานในการที่จะให้ สำเร็จกิจในด้านรับรูปารมณ์แล้ว จักขุปสาทรูปนี่แหละเป็นใหญ่ในการนี้แต่ผู้เดียว รูปอื่นๆ อีก ๙ รูป ที่เกิดร่วมกับจักขุปสาทรูปนั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่รับ รูปารมณ์ได้เลย เพียงคล้อยตามทำหน้าที่ไปกับอินทรีย์นั้นๆ ดังนั้นจักขุปสาทรูปจึงเป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ เรียกความเป็นใหญ่นั้นว่า อินทรีย และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ทางจักขุ จึงมีชื่อว่า จักขุนทรีย์
แม้ว่าการเห็นนั้นจะมีอินทรีย์อื่นเกิดร่วมด้วยแต่ก็ไม่สามารถที่จะเป็นอินทรีย์ได้ เพราะอินทรีย์คือความเป็นใหญ่จะต้องมีหนึ่งเดียวคือในหน้าที่ของตน เช่น ชีวิตินทรีย์ ก็เกิดร่วมด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นใหญ่ในการเห็น เพียงแต่เป็นใหญ่ในการรักษารูปที่เกิดร่วมกับตน คือเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนๆ จะไม่ปะปนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผมเห็น คำว่าอินทรีย์๒๒มา และมีผู้ให้ความหมายคำว่า..อินทรีย์ไว้ดังนี้
สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=349

อยากถามเพื่อนๆว่า มีความเข้าใจ ในความหมายข้างบนนี้มั้ยอย่างไร
ความเป็นใหญ่ในกิจของตน เป็นอย่างไร
ทำให้ธรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน อย่างไร :b32:

คำอธิบายความข้างบน ถึงแม้ผมจะยกมาเอง แต่ผมไม่เห็นด้วยในบางประการครับ
ถ้าเราจะกล่าวตามสถาวะธรรม สถาวะที่เกิดภายในกายใจเรา มันเป็นสังขาร
เกิดแล้วก็ดับ ดังนั้นความหมายอินทรีย์ที่แปลว่า ความเป็นใหญฺ่
มันน่าจะหมายถึง สภาวะธรรมใดที่จิตรู้ในปัจจุบันขณะ

อย่างเช่น ถ้ากำลังรู้ว่าเห็นรูป อินทรีย์ในขณะนั้นก็คือจักษุอินทรีย์
แต่ถ้าเรารู้หรือมองเห็นรูปในขณะนั้นว่าเป็นหญิง อินทรีย์ก็คืออิตถีอินทรีย์
พิจารณาดู จริงแล้วเหตุแรกหรืออินทรีย์แรก ควรจะเป็นจักษุอินทรีย์
แต่เพราะเราหลงอยู่ ไม่รู้หรือรู้ไม่ทันรูปที่มากระทบ มารู้ต่อเมื่อเกิดการปรุงแต่งแล้ว
การรู้รูปว่าเป็นหญิง ความเป็นใหญ่ในสภาวะปัจจุบัน จึงเป็นอิตถีอินทรีย์ ไม่ใช่จักษุอินทรีย์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมเห็น คำว่าอินทรีย์๒๒มา และมีผู้ให้ความหมายคำว่า..อินทรีย์ไว้ดังนี้
สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=349

อยากถามเพื่อนๆว่า มีความเข้าใจ ในความหมายข้างบนนี้มั้ยอย่างไร
ความเป็นใหญ่ในกิจของตน เป็นอย่างไร
ทำให้ธรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน อย่างไร :b32:

คำอธิบายความข้างบน ถึงแม้ผมจะยกมาเอง แต่ผมไม่เห็นด้วยในบางประการครับ
ถ้าเราจะกล่าวตามสถาวะธรรม สถาวะที่เกิดภายในกายใจเรา มันเป็นสังขาร
เกิดแล้วก็ดับ ดังนั้นความหมายอินทรีย์ที่แปลว่า ความเป็นใหญฺ่
มันน่าจะหมายถึง สภาวะธรรมใดที่จิตรู้ในปัจจุบันขณะ

อย่างเช่น ถ้ากำลังรู้ว่าเห็นรูป อินทรีย์ในขณะนั้นก็คือจักษุอินทรีย์
แต่ถ้าเรารู้หรือมองเห็นรูปในขณะนั้นว่าเป็นหญิง อินทรีย์ก็คืออิตถีอินทรีย์
พิจารณาดู จริงแล้วเหตุแรกหรืออินทรีย์แรก ควรจะเป็นจักษุอินทรีย์
แต่เพราะเราหลงอยู่ ไม่รู้หรือรู้ไม่ทันรูปที่มากระทบ มารู้ต่อเมื่อเกิดการปรุงแต่งแล้ว
การรู้รูปว่าเป็นหญิง ความเป็นใหญ่ในสภาวะปัจจุบัน จึงเป็นอิตถีอินทรีย์ ไม่ใช่จักษุอินทรีย์ :b13:


อ่านความคิดความเห็นของโฮฮับแต่ละ คห.ๆทั้งอดีตและปัจจุบันแล้ว ทำให้นึกถึงกลุ่มคนโกนหัวไม่โกนคิ้วกลุ่มหนึ่ง ความคิดคล้ายๆกันเนี่ยไปด้วยกันได้ คือตำราเขาอธิบายเฉพาะประเด็นอินทรีย์ แต่แกก็ตะแบงไปเอานั่นนี่มายึดมาโยงจนเสียกระบวน มิจฉาทิฏฐิกบุคคลตัวพ่อเลยเนี่ย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อินทรีย์ หมายความว่า ความเป็นใหญ่หรือเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิด ร่วมด้วยตน หรือเป็นใหญ่ในการที่จะให้สำเร็จกิจการในหน้าที่ของตน ๆ คือเป็น ใหญ่ในกิจการนั้น ๆ เช่น
ตา เป็นใหญ่ในการ เห็น
หู เป็นใหญ่ในการ ได้ยิน
จมูก เป็นใหญ่ในการ รู้กลิ่น
ลิ้น เป็นใหญ่ในการ รู้รส
กาย เป็นใหญ่ในการ รู้สัมผัส
ใจ เป็นใหญ่ในการ รู้เรื่องราวนึกคิดต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น

คำว่าอินทรีย์ที่หมายถึง ความเป็นใหญ่ ไม่ใช่หมายถึงว่า เมื่อเราเห็นรูป
แล้วบอกว่า ตาเป็นใหญ่ในการเห็นหรือจักขุนทรีย์คือตานะครับ

จักขุในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงตา แต่หมายถึงมีจักขุปสาทเป็นปัจจัยร่วม
นั้นก็คือ มีผัสสะ มีจักขุปสาทและจักขุวิญญาณ เกิดร่วมกันอยู่
การเกิดร่วมนี้ เราเรียกว่า จักขุนทรีย์ฯลฯ
ปสาทอื่นๆก็เช่นกัน

ลุงหมาน เขียน:
เช่น จักขุนทรีย องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป อันว่าจักขุปสาทรูปนี้ มีธรรมที่เกิดร่วมด้วย ๙ รูป
คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา และ ชีวิตรูป รวมทั้งตัวเอง คือ จักขุปสาทรูปด้วย ก็เป็น ๑๐ รูปด้วยกัน ในจำนวน ๑๐ รูปนี้ ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่การงานในการที่จะให้ สำเร็จกิจในด้านรับรูปารมณ์แล้ว จักขุปสาทรูปนี่แหละเป็นใหญ่ในการนี้แต่ผู้เดียว รูปอื่นๆ อีก ๙ รูป ที่เกิดร่วมกับจักขุปสาทรูปนั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่รับ รูปารมณ์ได้เลย เพียงคล้อยตามทำหน้าที่ไปกับอินทรีย์นั้นๆ ดังนั้นจักขุปสาทรูปจึงเป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ เรียกความเป็นใหญ่นั้นว่า อินทรีย และโดยเหตุที่เป็นใหญ่ทางจักขุ จึงมีชื่อว่า จักขุนทรีย์
แม้ว่าการเห็นนั้นจะมีอินทรีย์อื่นเกิดร่วมด้วยแต่ก็ไม่สามารถที่จะเป็นอินทรีย์ได้ เพราะอินทรีย์คือความเป็นใหญ่จะต้องมีหนึ่งเดียวคือในหน้าที่ของตน เช่น ชีวิตินทรีย์ ก็เกิดร่วมด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นใหญ่ในการเห็น เพียงแต่เป็นใหญ่ในการรักษารูปที่เกิดร่วมกับตน คือเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนๆ จะไม่ปะปนกัน

ที่ลุงหมานบอกมาว่า จักขุปสาทมีองค์ธรรมเกิดร่วมด้วย๙รูป ผมว่าลุงหมานคลาดเคลื่อน
หรือไม่ก็สับสนอยู่นะครับ
มันไม่ใช่ว่า จักขุปสาทรูปมีองค์ธรรมเกิดร่วมด้วย๙รูปแล้ว จักขุปสาทรูปจะเป็นใหญ่หรือเป็น
จักขุนทรีย์ครับ

สิ่งที่ลุงพูดมาไม่ได้เกี่ยวกับอินทรีย์เลยครับ มันเป็นเรื่องของรูปธรรมครับ
จักขุปสาทรูปต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งหมดที่ลุงพูดมาครับ มันจึงจะเรียกว่า จักขุปสาทรูป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2013, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นผม ถือเอา ทำกิจนั้นๆ ในสภาวะอัปปนาสมาธิ(เริ่มต้นที่สุด) ตั้งครับ คือการระงับลงของนิวรณ์5 ด้วยอาศัยอินทรีย์ เช่นเมื่อเกิดความสนใจในเสียง หรือตั้งใจเอาเสียงมาพิจารณา ก็ต้องเข้าไปรู้ รู้ในที่นี้คือรู้ว่าธาตุรู้ปรากฏออกมาเป็นอย่างไร ตามรู้จนเห็นการเกิดขึ้นและดับลง ด้วยอาศัยเหตุคือผัสสะที่เกิดจากโสต หรืออาศัยกายเป็นที่ตั้งของอารมณ์ ไม่ว่าจะมือทับมือ หายใจเข้าออก เป็นการอาศัยกายเพื่อเข้าไปรู้ นั่นคือการทำกิจนั้นๆ ด้วยความเป็นใหญ่ของอินทรีย์

หากไม่ใช่อัปปนาสมาธิสภาวะ(เริ่มต้นที่สุด) ความเห็นของผมคือ ยังไม่ได้เริ่มทำกิจ แต่อินทรีย์ถูกใช้งานด้วยอำนาจของกิเลส ไม่ว่าการฟังเสียง เพราะถือเอาความพอใจ หรือไม่พอใจ หรือเฉยๆ เพราะขาดตัวรู้ในการพิจารณาครับ (ยังถูกบดบังด้วยนิวรณ์ทั้ง5)

ผิดอย่างไรก็ขออภัยนะครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 08:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ 5 กับ พละ 5 ต่างกันอย่างไร?...จากอินทรรย์..ไป..พละ....มีข้อปฏิบัติอย่างไร? ...หนอ!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อินทรีย์ 5 กับ พละ 5 ต่างกันอย่างไร?...จากอินทรรย์..ไป..พละ....มีข้อปฏิบัติอย่างไร? ...หนอ!

อินทรีย์ ไม่ใช่จะเกิดขึ้นเอง การเกิดของอินทรีย์จะต้องอาศัย ...การทำกรรมฐาน
กรรมฐานที่ว่าก็คือการเจริญสติ การเจริญสติก็คือการระลึกรู้รูปนาม
สติที่ไประลึกรู้รูปนาม เรียกว่า....สตินทรีย์

การจะมีสตินทรีย์ได้บ่อยๆจะต้องอาศัย ความเพียรที่เรียกว่าวิริยะ ความเพียรในการทำให้เกิด
สติหรือสตินทรีย์เราเรียกความเพียรนั้นว่า.....วิริยินทรีย์

การใช้วิริยะหมั่นทำให้เกิดสติบ่อยๆและต่อเนื่อง การเกิดของอินทรีย์ทั้งสองอย่างต่อเนื่องแบบนี้
เราเรียกว่า อินทรีย์ทั้งสองว่ากำลังหรือ.......พละ

นี่เป็นการอธิบายแบบคร่าวๆ ถ้าเป็นการทำสติปัฏฐานสี่ จะต้องมี..ปัญญินทรีย์
เขามาเกี่ยวข้องด้วย

พูดง่ายๆก็คือ สตินทรีย์ของปุถุชนไประลึกรู้กุศลเพื่อละอกุศล
ส่วนสตินทรีย์ของอริยะ ไประลึกรู้ปัญญาเพื่อละกิเลส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อินทรีย์ 5 กับ พละ 5 ต่างกันอย่างไร?...จากอินทรรย์..ไป..พละ....มีข้อปฏิบัติอย่างไร? ...หนอ!


อินทรีย์ ไม่ใช่จะเกิดขึ้นเอง การเกิดของอินทรีย์จะต้องอาศัย ...การทำกรรมฐาน
กรรมฐานที่ว่าก็คือการเจริญสติ การเจริญสติก็คือการระลึกรู้รูปนาม
สติที่ไประลึกรู้รูปนาม เรียกว่า....สตินทรีย์

การจะมีสตินทรีย์ได้บ่อยๆจะต้องอาศัย ความเพียรที่เรียกว่าวิริยะ ความเพียรในการทำให้เกิด
สติหรือสตินทรีย์เราเรียกความเพียรนั้นว่า.....วิริยินทรีย์

การใช้วิริยะหมั่นทำให้เกิดสติบ่อยๆและต่อเนื่อง การเกิดของอินทรีย์ทั้งสองอย่างต่อเนื่องแบบนี้
เราเรียกว่า อินทรีย์ทั้งสองว่ากำลังหรือ.......พละ

นี่เป็นการอธิบายแบบคร่าวๆ ถ้าเป็นการทำสติปัฏฐานสี่ จะต้องมี..ปัญญินทรีย์
เขามาเกี่ยวข้องด้วย

พูดง่ายๆก็คือ สตินทรีย์ของปุถุชนไประลึกรู้กุศลเพื่อละอกุศล
ส่วนสตินทรีย์ของอริยะ ไประลึกรู้ปัญญาเพื่อละกิเลส



เห็นแล้วนึกถึงการเรียงหมอนไม้ หรือท่อนซุงที่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้จับจากคนที่ลักลอบตัดไม้ นำมาเรียงๆไว้ตามข้างทาง ใครที่นั่งรถขึ้นไปทางภาคเหนือคงเคยเห็น


คือต้องชมความสามารถนายโฮฮับอยู่อย่างหนึ่ง คือเธอสามารถจับศัพท์ทางธรรมมาเรียงกันโยงกันไปกันมาเหมือนเรียงหมอนไม้ คิกๆๆ :b4: :b32: เข้ากันได้เป็นปี่เป็นขลุย (ดนตรีไทย)


เพื่อให้เห็นภาพที่พูด จึงจับศัพท์มาเรียงๆกันเหมือนเรียงท่อนซุง ก็ได้ดังนี้

อินทรีย์
กรรมฐาน
เจริญสติ
รูปนาม
สตินทรีย์
วิริยะ
วิริยินทรีย์
พละ
สติปัฏฐานสี่
ปัญญินทรีย์
ปุถุชน
กุศล
อกุศล
อริยะ
อริยะ
กิเลส

แต่ถ้าถามว่า ไหนลองย่อยให้เป็นแผ่นๆ (เป็นตัวไม้) เพื่อจะนำมาปลูกบ้านพักอาศัยคุ้มแดดคุ้มฝนได้ให้ดูดิ โฮฮับจะหายไปครั้ง 7 วัน :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2013, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อินทรีย์ ไม่ใช่จะเกิดขึ้นเอง การเกิดของอินทรีย์จะต้องอาศัย ...การทำกรรมฐาน
กรรมฐานที่ว่าก็คือการเจริญสติ การเจริญสติก็คือการระลึกรู้รูปนาม
สติที่ไประลึกรู้รูปนาม เรียกว่า....สตินทรีย์

การจะมีสตินทรีย์ได้บ่อยๆจะต้องอาศัย ความเพียรที่เรียกว่าวิริยะ ความเพียรในการทำให้เกิด
สติหรือสตินทรีย์เราเรียกความเพียรนั้นว่า.....วิริยินทรีย์

การใช้วิริยะหมั่นทำให้เกิดสติบ่อยๆและต่อเนื่อง การเกิดของอินทรีย์ทั้งสองอย่างต่อเนื่องแบบนี้
เราเรียกว่า อินทรีย์ทั้งสองว่ากำลังหรือ.......พละ

นี่เป็นการอธิบายแบบคร่าวๆ ถ้าเป็นการทำสติปัฏฐานสี่ จะต้องมี..ปัญญินทรีย์
เขามาเกี่ยวข้องด้วย

พูดง่ายๆก็คือ สตินทรีย์ของปุถุชนไประลึกรู้กุศลเพื่อละอกุศล
ส่วนสตินทรีย์ของอริยะ ไประลึกรู้ปัญญาเพื่อละกิเลส

สตินทรีย์ของปุถุชน เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า ที่เรียกว่า สังขารขันธ์
ที่เป็นขันธ์สังขารขันธ์ก็เพราะ ต้องอาศัย อกุศลมาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกุศลเรียกว่าสติ

ส่วนสตินทรีย์ของพระอริยะไม่ใช่ขันธ์ห้าหรือสังขารขันธ์ ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า
สตินทรีย์ของพระอริยะไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด แต่สตินทรีย์ที่ว่าเป็นการกระทำของจิตเอง
เขาเรียกการกระทำนี้ว่า...สติปัฏฐาน หมายความว่า จิตระลึกรู้ปัญญา(สติ)มาเป็นธัมมารมณ์
ก่อนที่จะเกิดกระบวนการขันธ์ ดังนั้นนามธรรมที่เกิดจึงเป็นแค่กระบวนการความคิดไม่ใช่ขันธ์
เราเรียกกระบวนการความคิดนั้นว่า.....กิริยาจิต :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2013, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อินทรีย์ ไม่ใช่จะเกิดขึ้นเอง การเกิดของอินทรีย์จะต้องอาศัย ...การทำกรรมฐาน
กรรมฐานที่ว่าก็คือการเจริญสติ การเจริญสติก็คือการระลึกรู้รูปนาม
สติที่ไประลึกรู้รูปนาม เรียกว่า....สตินทรีย์

การจะมีสตินทรีย์ได้บ่อยๆจะต้องอาศัย ความเพียรที่เรียกว่าวิริยะ ความเพียรในการทำให้เกิด
สติหรือสตินทรีย์เราเรียกความเพียรนั้นว่า.....วิริยินทรีย์

การใช้วิริยะหมั่นทำให้เกิดสติบ่อยๆและต่อเนื่อง การเกิดของอินทรีย์ทั้งสองอย่างต่อเนื่องแบบนี้
เราเรียกว่า อินทรีย์ทั้งสองว่ากำลังหรือ.......พละ

นี่เป็นการอธิบายแบบคร่าวๆ ถ้าเป็นการทำสติปัฏฐานสี่ จะต้องมี..ปัญญินทรีย์
เขามาเกี่ยวข้องด้วย

พูดง่ายๆก็คือ สตินทรีย์ของปุถุชนไประลึกรู้กุศลเพื่อละอกุศล
ส่วนสตินทรีย์ของอริยะ ไประลึกรู้ปัญญาเพื่อละกิเลส

สตินทรีย์ของปุถุชน เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า ที่เรียกว่า สังขารขันธ์
ที่เป็นขันธ์สังขารขันธ์ก็เพราะ ต้องอาศัย อกุศลมาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกุศลเรียกว่าสติ

ส่วนสตินทรีย์ของพระอริยะไม่ใช่ขันธ์ห้าหรือสังขารขันธ์ ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า
สตินทรีย์ของพระอริยะไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด แต่สตินทรีย์ที่ว่าเป็นการกระทำของจิตเอง
เขาเรียกการกระทำนี้ว่า...สติปัฏฐาน หมายความว่า จิตระลึกรู้ปัญญา(สติ)มาเป็นธัมมารมณ์
ก่อนที่จะเกิดกระบวนการขันธ์ ดังนั้นนามธรรมที่เกิดจึงเป็นแค่กระบวนการความคิดไม่ใช่ขันธ์
เราเรียกกระบวนการความคิดนั้นว่า.....กิริยาจิต :b13:


อยากรู้จังว่าไปเอาความรู้แบบนี้มาจากไหน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2013, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับทิ้งบ้านอีกแระ

พูดแทงใจดำโกรธเป็นฟืนเป็นไฟเลยนะ คิกๆๆ กรัชกายจะบอกให้นะเอาบูญ ไปเรียนนักธรรมบ้างนะ อย่างน้อยเอานักธรรมก็พอไหว
จะให้ดีไปเรียนบาลีบ้างด้วย จะได้ไม่มั่วเลอะเทะไปมากกว่านี้เสียหายหมด นี่พูดด้วยความหวังดีนะ นี่พูดจริงๆนะ ไม่ได้กลัวอะไร :b12: ถ้ากลัวไม่อยู่จนป่านนี้หรอกจะบอกให้ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร