วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2013, 17:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:22
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมต้องขึ้นด้วย ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เพราะเหตุใดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2013, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นหนทางการปฏิบัติตั้งแต่ระดับพื้นฐานของพุทธบริษัท4 จนกระทั่งระดับปัญญาอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ทั้งนี่ทั้งนั้น ข้อปฏิบัติเหล่านี้ก็คือ พรหมจรรย์ หรือ ความประพฤติที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกันให้สมบูรณ์ตลอดชีวิต

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำให้ทำกิจที่ควรทำได้ง่าย

ลองศึกษาเรื่องนี้ต่อไหมครับ http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/f ... index.html

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 09:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:22
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ ขอบพระคุณครับ ทางเดินคือ อริยสัจสี่ สู่พระนิพพานด้วยอริยมรรคหรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


เดี๋ยวก็รู้

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2013, 21:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


อมันตรา เขียน:
ทำไมต้องขึ้นด้วย ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เพราะเหตุใดครับ


onion
สังเกตดูให้ดีนะครับคุณ อมันตรา ตอนที่จะสอนคนชั่ว..คนโง่เขลา มืดบอด...คนบาปหยาบช้าสาโหด ให้เป็นคนดีต้องสอนเรียงลำดับอย่างที่คุณว่ามานี้...ถูกต้องแล้ว
:b27: :b20:
แต่ตอนที่จะสอนคนดี คือกัลยาณชนผู้ประกอบด้วยศีลด้วยธรรมทั้งหลายให้เดินทางเข้าสู่พระนิพพาน...พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับทรงสอนให้เอาปัญญานำหน้าแล้วตามหนุนมาด้วยศีลและสมาธิ

เป็น.....ปัญญา.....ศีล......สมาธิ

ลองดูมรรค 8.....พระองค์ทรงเอาปัญญามรรคขึ้นก่อนคือ
1.สัมมาทิฏฐิ.....ความเห็นถูกต้อง.....ภาคปฏิบัติคือปัญญาที่ไป...ดู.....เห็น.....รู้

2.สัมมาสังกัปปะ.....ความคิดถูกต้อง.....ภาคปฏิบัติคือปัญญาที่ไป.....สังเกต.....พิจารณา

แล้วตามด้วยศีลมรรคคือ
3.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ...คือการพูดที่นอกเหนือจากการพูดเท็จ....พูดคำหยาบ...พูดส่อเสียด....พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

4.สัมมากัมมันตะ....การทำการงานชอบ...จำง่ายๆคือ....การงานที่ไม่ผิดศีล 5 ข้อ

5.สัมมาอาชีวะ....การประกอบอาชีพชอบ....จำง่ายๆคือ...อาชีพที่ไม่ผิดศีล 5 และไม่สนับสนุนให้ผิดศีล 5

หนุนท้ายด้วยสมาธิมรรค...คือ

6.สัมมาวายามะ....ความเพียรชอบ...แบ่งย่อยเป็น 4 ข้อคือ
6.1.บาปอกุศลเก่าๆที่เราเคยทำ.....เพียรละ.....บาปกรรมเก่าในอดีตผุดขึ้นเป็นนิวรณ์ในใจ ให้ละทันทียอมรับความจริงเสีย...แล้วใจจะไม่เศร้าหมองทำภาวนาได้
6.2.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด....เพียรระวัง........ไม่ให้เกิด......จำง่ายๆคือไม่ล่วงศีล 5 ข้อ
6.3.กุศลเก่าๆที่เราเคยทำ......เพียรรักษา.....และทำให้เจริญงอกงามยิ่งๆขึ้นไป
6.4.กุศลใหม่ๆทียังไม่เกิด... .เพียรทำให้เกิด .........กุศลใหม่ๆในทางสายกลางนี้พระพุทธองค์ทรงหมายถึง.......มรรค 4 มรรค ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในจิตในใจมาก่อนเลย..........พึงทำให้เกิด

7.สัมมาสติ............ความระลึกรู้ชอบ.......ในภาคปฏิบัติคือ........รู้ทันปัจจุบันอารมณ์......ระลึกได้....ไม่ลืม....

8.สัมมาสมาธิ...............ความตั้งใจมั่นชอบ.........ในบัญญัติท่านกล่าวถึงการที่จิตสงบตั้งมั่นตามฌาณตั้งแต่ 1 -2- 3- 4 ................ในภาคปฏิบัติความตั้งใจมั่นชอบคือความตั้งใจมั่นอยู่กับการเจริญวิปัสสนาภาวนาเพื่อค้นหาให้พบ......เหตุทุกข์....แล้วเอาเหตุทุกข์ออกให้ได้...........เรื่องนิโรธหรือนิพพานนั้นเป็นเรื่องของ....ผล....เขาจะเกิดตามมาเองถ้าเหตุถูกต้องและเพียงพอ
:b53: :b51: :b45: :b50: :b49: :b48: :b47: :b46: :b43: :b43: :b44:
.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 00:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฐิ...เป็นปัญญา..คือความรู้...รู้ทุกข์...รู้เหตุให้เกิดทุกข์...รู้ความดับทุกข์...มันเป็นผล...
ผลเกิดจากเหตุ....

เหตุ..คือได้ฟังธรรมของของกัลญาณมิตร..เข้าใจธรรมของกัลยาณมิตร...จนเป็นกัลยาณชน

ถ้าฟังครั้งเดียวแล้วตาสว่าง....การฟังนั้นต้องประกอบด้วยศีล...คือความปกติของใจ...สมาธิ..คือ..ความตั้งมั่น

ดังนั้น...สัมมาทิฐิจะเกิดได้....ศีล....สมาธิ...ต้องเกิดก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 09:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สัมมาทิฐิ...เป็นปัญญา..คือความรู้...รู้ทุกข์...รู้เหตุให้เกิดทุกข์...รู้ความดับทุกข์...มันเป็นผล...
ผลเกิดจากเหตุ....

เหตุ..คือได้ฟังธรรมของของกัลญาณมิตร..เข้าใจธรรมของกัลยาณมิตร...จนเป็นกัลยาณชน

ถ้าฟังครั้งเดียวแล้วตาสว่าง....การฟังนั้นต้องประกอบด้วยศีล...คือความปกติของใจ...สมาธิ..คือ..ความตั้งมั่น

ดังนั้น...สัมมาทิฐิจะเกิดได้....ศีล....สมาธิ...ต้องเกิดก่อน

:b11:
สัมมาทิฏฐิที่เกิดจากการได้ฟังธรรมใคร่ครวญตามธรรมที่กัลยาณมิตรบอกกล่าวนั้น....เป็นสัมมาทิฏฐิโดยทฤษฎี....ยังไม่สามารถทำลายมิจฉาทิฏฐิ...ความเห็นผิดได้โดยเด็ดขาด....ต้องลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมจริงๆ

ตอนพิสูจน์ธรรมจริงๆนี่แหละที่จะต้องเอาปัญญามานำหน้า....สติ...สมาธิเป็นกองหนุน...จึงจะสามารถทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิโดยภาคปฏิบัติ หรือสัมมาทิฏฐิที่แท้จริง...ทำลายมิจฉาทิฏฐิได้จริงๆ
:b27: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 13:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังแล้วตาสว่างในที่นั้เดียว....มันมีขึ้นได้...ไม่ใช่จำได้แบบทฤษฎี...

มันไม่ได้มีแค่อย่างเดียวหรอก....ใครเขาได้มันก็เรื่องของเขา..

และ..ที่ผมว่ามา...ก็เป็นการยกตัวอย่างว่า...ถ้า...

อิอิ..จุดประสงค์ก็คือต้องการพูดเรื่องศีล...สมาธิ...
แม้..สัมมาทิฐิอันแรกจะยังมาอาจฆ่ากิเลสทั้งหมดในคราวเดียวได้...อาจจะเป็นเพียงความเห็นที่ถูกต้องเท่านั้น...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 13:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การฟัง....การพิจารณาตามธรรมที่กำลังฟังอยู่....นี้แหละการปฏิบัติ..หรือว่า...การปฏิบัติของอโศกะต้องไปในที่ที่พิเศษ..นั้งเงียบ ๆ...อิอิ..

การฟังธรรม....การฟัง.เป็นปริยัติ
การพิจารณาตาม...เป็นปฏิบัติ
ใจที่สงบจากการระงับธรรมอันนั้นได้...เป็นปฏิเวท

จะเห็นว่าการฟังธรรมอย่างเดียว....เราได้ทำครบทั้ง 3 อย่างคือ....ได้ทึ้ง...ปริยัติ....ปฏิบัติ...และ..ปฏิเวท....

ถ้าทำเป็น...อะนะ..อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2013, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อมันตรา เขียน:
ทำไมต้องขึ้นด้วย ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เพราะเหตุใดครับ

ไม่เคยได้ยิน ได้ยินแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา เพิ่มเองหรือเปล่าค่ะ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2013, 10:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:22
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


หรือว่าเป็น ถือศีลอย่างมีสติ ทำสมาธิอย่างมีสติ เดินปัญญาอย่างมีสติ ก็เลยนำสติมาควบคุม กาย วาจา ใจ ผิดถูกประการใดขออภัยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2013, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นศีล สมาธิ ปัญญา แบบนี้ เพราะเรียงลำดับตามเหตุไปหาผล

สำหรับคนที่ยังไม่ถึงผล ปรารถนาจะได้ผล ควรใส่ใจทำเหตุของผลนั้นให้มาก จะสังเกตได้ว่าข้อธรรมส่วนมากมักนำเหตุขึ้นก่อนผลเสมอ

ปัญญาบางอย่าง เกิดไม่ได้ถ้าใจไม่เป็นกลาง

ใจเป็นกลางได้ยาก ถ้ากายและวาจายังไม่เป็นกลาง

ศีล ใช้ควบคุมกายและวาจาให้เป็นกลาง ผลของศีลคือไลฟสไตล์แบบนี้จะมีเรื่องร้อนใจรบกวนน้อย การใช้ชีวิตเป็นที่สบายของใจ ใจจะสงบได้ง่ายขึ้น เป็นเหตุให้เกิดสมาธิง่ายขึ้น นอกจากนี้ คนมีศีลคือใจมีพื้นฐานรักความดี เกรงกลัวความชั่ว จิตใจแบบนี้เข้ากันได้กับธรรมะ คนแบบนี้จะรับธรรมะเข้าสู่ใจได้ง่าย

สติกับสมาธิ ถ้าเจริญอย่างถูกต้องก็จะเป็นเรื่องเดียวกัน ผลคือทำให้ใจเป็นกลาง

เมื่อใจเป็นกลาง ก็จะรับรู้เรื่องต่างๆที่ผ่านเข้ามาอย่างปราศจากอคติ ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆในแง่มุมใหม่

วันดีคืนดีก็จะเกิดความตระหนักในความจริงของสิ่งที่เห็น และพร้อมกันนั้นก็จะรู้ในความผิดปกติของใจอันเป็นนิสัยความเคยชินเดิมที่ทำให้มองสิ่งเดียวกันนั้นผิดไปมาตลอด

นี่ก็คือปัญญาที่พวกเราอยากได้ ปัญญาที่ทำให้หายทุกข์

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2013, 13:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
เป็นศีล สมาธิ ปัญญา แบบนี้ เพราะเรียงลำดับตามเหตุไปหาผล

สำหรับคนที่ยังไม่ถึงผล ปรารถนาจะได้ผล ควรใส่ใจทำเหตุของผลนั้นให้มาก จะสังเกตได้ว่าข้อธรรมส่วนมากมักนำเหตุขึ้นก่อนผลเสมอ

ปัญญาบางอย่าง เกิดไม่ได้ถ้าใจไม่เป็นกลาง

ใจเป็นกลางได้ยาก ถ้ากายและวาจายังไม่เป็นกลาง

ศีล ใช้ควบคุมกายและวาจาให้เป็นกลาง ผลของศีลคือไลฟสไตล์แบบนี้จะมีเรื่องร้อนใจรบกวนน้อย การใช้ชีวิตเป็นที่สบายของใจ ใจจะสงบได้ง่ายขึ้น เป็นเหตุให้เกิดสมาธิง่ายขึ้น นอกจากนี้ คนมีศีลคือใจมีพื้นฐานรักความดี เกรงกลัวความชั่ว จิตใจแบบนี้เข้ากันได้กับธรรมะ คนแบบนี้จะรับธรรมะเข้าสู่ใจได้ง่าย

สติกับสมาธิ ถ้าเจริญอย่างถูกต้องก็จะเป็นเรื่องเดียวกัน ผลคือทำให้ใจเป็นกลาง

เมื่อใจเป็นกลาง ก็จะรับรู้เรื่องต่างๆที่ผ่านเข้ามาอย่างปราศจากอคติ ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆในแง่มุมใหม่

วันดีคืนดีก็จะเกิดความตระหนักในความจริงของสิ่งที่เห็น และพร้อมกันนั้นก็จะรู้ในความผิดปกติของใจอันเป็นนิสัยความเคยชินเดิมที่ทำให้มองสิ่งเดียวกันนั้นผิดไปมาตลอด

นี่ก็คือปัญญาที่พวกเราอยากได้ ปัญญาที่ทำให้หายทุกข์


smiley

เห็นด้วย ๆ

ศีล สมาธิ ปัญญา

ส่วน ปัญญา ศีล สมาธิ นั้นเป็นความเข้าใจคนละอย่างกัน

ปัญญาอันเป็นในส่วนผล กะปัญญาในความเป็นเหตุ ประกอบด้วยองค์เจตสิกต่างกัน

เพราะปัญญาอันเป็นผลนั้น ..เป็นโสภณแล้ว
ซึ่งเป็นกลุ่มเจตสิกที่ล่วงอกุศล..และกุศลมาแล้ว
ซึ่งจะไปเดินศีลและสมาธิเพื่อละอกุศลทำไม
และจะไปเดินสมาธิเพื่อละกุศล...เพื่อทรงอารมณ์อุเบกขาทำไม

ปัญญาเจตสิก ..ถึงตามนั้น..ก็เห็นตามนั้น
ไม่กลับหน้ากลับหลัง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2013, 14:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้จะกล่าวเอาปัญญามานำ
แต่ทบทวนดูจิต เจตสิกที่ประกอบเป็นอะไร
เจตสิกโซนอกุศลยังเข้าครองอยู่ใช่มั๊ย
จึงต้องตามด้วยศีลเพื่อน้อมนำกุศลจิต/เจตสิกเข้ามา

ความรู้ความเข้าใจในสัมมาทิฐิ
เป็นสังขารอันเนื่องด้วยสัญญาน้อมนำในกุศลธรรม
เพื่อนำมาปฏิบัติ...เพื่อยังจิตสู่กุศลจิต
เป็นการปฏิบัติในระดับศีล

ความเชื่อในสัมมาทิฐิ .และน้อมนำมาปฏิบัติ
กะ ปฏิบัติจนได้สัมมาทิฐิ..องค์เจตสิกต่างกัน...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 153 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 111 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร