ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=45249
หน้า 4 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 27 เม.ย. 2013, 08:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

คุณ"เช่นนั้น"ก่อนที่จะสนทนากันต่อ ผมใคร่ขอแนะนำนะครับว่า
คูณตั้งสติดีๆก่อนที่จะแสดงความเห็น มิเช่นนั้นความเห็นที่คุณแสดงมาทั้งหมด
มันจะเป็นความเห็นที่ไม่มีราคา ไร้สาระ บ่งบอกให้เห็นวุฒิภาวะของเจ้าของความเห็น


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับถ้าจะมั่ว
ก็สิ่งที่ โฮฮับ ให้คำนิยามพระอภิธรรม จึงเป็นการเขียนลอยๆ ออกมาโดยปราศจากการรับรอง
โดยพุทธวจนะ

คุณนี่มันมีสติสตังหรือเปล่าครับ ว่ากล่าวคนอื่นโครมๆ ว่าไม่มีพุทธจวนะรับรอง
แต่ที่ตัวเอง เอาอะไรมารับรองครับ อ้างอรรถาจารย์เอย อ้างมหาจุฬาเอย
ผมถามคุณหน่อยไม่ละอายใจเลยหรือ เอาความเห็นของผมนี้ไปทบทวนก่อน
แล้วจะเข้ามาตอบคำเห็นที่คิดเอาแต่ได้ของคุณ

เช่นนั้น เขียน:
พระอภิธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ อันนำไปสู่ปรมัตถธรรม คือมรรค ผล นิพพาน
การเจริญเมตตาอัปปมัญญา เป็นการเจริญมรรคปฏิปทาอันมีรูปเป็นอารมณ์ประการหนึ่ง
เมื่อเป็นการเจริญเมตตา และมีวิบากอันประกอบด้วยเมตตา
จึงเป็นสังขารขันธ์อรรถาจารย์เรียกว่า เจตสิก


เช่นนั้น เขียน:
ไม่มีปรมัตถ์ธรรม คือ รูป จิต เจตสิก นิพพาน ที่อรรถาจารย์เรียบเรียงขึ้นใหม่ในภายหลังว่า เป็นปรมัตถธรรม



เช่นนั้น เขียน:
บารมี มีปรากฏอยุ่ในพระสูตรอันเป็นคำตรัสของพระศาสดา
เช่นทานบารมี เมตตาบารมี ปัญญาบารมี
ไม่มีปรมัตถ์ธรรม คือ รูป จิต เจตสิก นิพพาน ที่อรรถาจารย์เรียบเรียงขึ้นใหม่ในภายหลังว่า
เป็นปรมัตถธรรม


เช่นนั้น เขียน:
ก็อย่ามั่วเขียนอะไรออกมานะโฮฮับ
ในพระอภิธรรมปิฏก 12 เล่มสุดท้ายแห่งพระไตรปิฏก พระสังคยาจารย์ได้เขียนไว้ว่า
Quote Tipitaka:
" [๑๙๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อย่าสู่รู้ใส่คำว่ารูปฌาน วงเล็บต่อท้ายว่า ไม่ใช่รูป นะโฮฮับ

การเขียนบรรยายเช่นอย่างโฮฮับที่เขียนออกมาแสดงว่า ไม่เคยเจริญเมตตาอัปปมัญญา และบรรลุปฐมฌานมาก่อน แน่นอน

โฮฮับ นั่งเทียนอีกแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับถ้าจะมั่ว
ก็ไปเปิด กินนติสูตร ฉบับมหาจุฬาอ่าน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงรับรองด้วยพระองค์เองว่า
Quote Tipitaka:
"[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายในที่นี้ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งหมดพึงเป็นผู้
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษาในธรรมเหล่านั้น แต่เมื่อเธอ
ทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุ ๒ พวก
ที่มีวาทะต่างกันในอภิธรรมบ้าง"


เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 เม.ย. 2013, 08:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

โฮฮับ เขียน:
คุณ"เช่นนั้น"ก่อนที่จะสนทนากันต่อ ผมใคร่ขอแนะนำนะครับว่า
คูณตั้งสติดีๆก่อนที่จะแสดงความเห็น มิเช่นนั้นความเห็นที่คุณแสดงมาทั้งหมด
มันจะเป็นความเห็นที่ไม่มีราคา ไร้สาระ บ่งบอกให้เห็นวุฒิภาวะของเจ้าของความเห็น


โฮฮับ
1. ตั้งกระทู้ อย่างไร้ค่า
2.ตอบกระทู้ตนเองตั้งขึ้นมาก็ตอบอย่างนั่งเทียนเขียน
3.เมื่อมีการแสดงความเห็นแย้งโดยมีหลักฐานทางพระไตรปิฎกยืนยัน ยังพยายามแถ แสดงวาทะ

อาการแบบนี้ เรียกว่า พาล
Quote Tipitaka:
อโยนิโสสูตร
[๔๔๔] ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการพึงทราบว่าเป็นคนพาล
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑
เฉลยปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑
ไม่อนุโมทนาปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย ๑ เฉลยปัญหาโดยแยบคาย ๑ อนุโมทนา
ปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดยแยบคาย ด้วยบทพยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวยเข้ารูป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต ฯ


ถ้าหากมีหลักฐานทางพระไตรปิฏก ยืนยันสิ่งที่โฮฮับเรียกว่า "พระอภิธรรม" คือ
โฮฮับ เขียน:
"พระอภิธรรม เป็นบัญญัติที่ใช้อธิบาย ความเป็นปรมัตถ์ธรรม"


ก็ยกออกมา โฮฮับ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 เม.ย. 2013, 08:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

รูปภาพ

เจ้าของ:  ลูกพระป่า [ 27 เม.ย. 2013, 09:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

สมเด็จพระสังฆราชฯพระองค์มักจะเน้นสอนในเรื่องเมตตาเสมอครับ อนุโมทนาด้วยครับ :b8:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 27 เม.ย. 2013, 10:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

แม้เรายังมีกิเลสอยู่...แต่บางขณะก็มีว่างจากกิเลสหยาบได้เหมื่อนกัน

เมตตา....ที่ไม่ได้หวังอะไร...จากใคร....กามราคะนิวรณ์ไม่มี...แล้วจะมีอะไรให้ผิดหวัง
เมตตา...ที่ไม่ได้มีความกลัว...กลัวว่าอะไรจะมาทำร้าย...กลัวว่าใครจะมาขัดผลประโยชน์...ปฏิฆะนิวรณ์ไม่ปรากฎ...แล้วจะมีอะไรให้ต้องโกรธ
ใจ...ตั้งอยู่ในอารมณ์ของความรักที่มีต่อสัตว์....สงสารเพราะเราก็ต่างตกอยู่บนกองทุกข์เช่นกัน..อารมณ์ง่วงนอนไม่มี...
ความฟุ้งซ่านก็ไม่มี...จิตใจมีอาการเบิกบาน

เมตตา...แม้ของปุถุชน...ก็มีโอกาสบริสุทธิ์ได้...

เจ้าของ:  murano [ 27 เม.ย. 2013, 11:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

cool cool cool ฮาโหลๆ

จริงๆ แล้ว เมตตาน่าจะใกล้เคียงกับคำว่า ไม่มุ่งร้ายต่อกันนะ คือไม่เกี่ยวกับความเห็นอกเห็นใจอะไรๆ แต่ประการใด

ส่วน รูปที่งดงาม เป็นกามราคะ สังโยชน์เบื้องต่ำ นะขอรับ
รูปราคะ เป็นการยึดมั่นในรูป ประมาณว่า มันต้องมีรูป.
ส่วนพวกที่ฝึกให้อยู่กับความว่าง ก็คือ ยึดมั่นในความไม่มีรูป เป็นอรูปราคะ

ที่ต้องบอกอีกนิดคือ... 4 อย่างในพรหมวิหารนั้น เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ไม่ใช่เกิดขึ้นทีละอย่าง
มันจึงยากที่จะอธิบายสำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะว่า กรุณาเกิดขึ้นพร้อมกับอุเบกขาได้อย่างไร, เช่นเดียวกับมุทิตา-อุเบกขา

มันลึกล้ำมากเลยเธอ ฮิฮิ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 27 เม.ย. 2013, 11:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

เห็นด้วยครับ...ที่ว่า...เมตตา...เป็นความไม่มุ้งร้าย

แต่พอดีมีเพื่อนในนี้..บอกว่า...หวังดีต่อเขาแต่พอเขาไม่ทำตามกลับเกิดอาการเสียใจ

ผมก็มานั้งคิดว่า..ทำไมจึงเสียใจทุกข์ใจได้...อ่อ...อุเบกขาธรรมไม่สมดุลย์
ทำไมอุเบกขาธรรมไม่สมดุลย์....อ่อ...เพราะยังมีความต้องการอะไรบางอย่างซ่อนอยู่
ความอยากได้อะไรกลับมา...คือ...อามิส....อามิสเป็นกาม

เจ้าของ:  โกเมศวร์ [ 27 เม.ย. 2013, 12:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

:b8: คุณกบเพื่อนรัก

ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้อ่านกระทู้นี้อีกนานเท่าไหร่

แต่แนะนำให้ลองดูที่ ความฟุ้ง

เพราะไม่รู้ จึงฟุ้งตามสิ่งที่มากระทบ เข้าใจว่าเป็นเราเป็นเขา
จึงปรารถนาที่จะทำอะไรไปตามที่เราคิดว่ามันดีกับเขา

พอเขาดีขึ้นตามที่เราหวังก็พอใจ ภูมิใจ แค่นึกถึงก็อิ่มใจ

:b8:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 27 เม.ย. 2013, 12:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

จะไปไหน....คุยกันไปเรื่อย ๆ ก่อน

:b8: :b8:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 27 เม.ย. 2013, 14:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พระอภิธรรมไม่ใช่ โพธิปักขิยธรรม๓๗ประการ ตามที่คุณบอก
โพธิปักขิยธรรม เป็น....
หลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติ เพื่อการตรัสรู้

ส่วนพระอภิธรรม เป็นบัญญัติที่ใช้อธิบาย ความเป็นปรมัตถ์ธรรม

โฮฮับถ้าจะมั่ว
ก็ไปเปิด กินนติสูตร ฉบับมหาจุฬาอ่าน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงรับรองด้วยพระองค์เองว่า
Quote Tipitaka:
"[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายในที่นี้ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งหมดพึงเป็นผู้
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษาในธรรมเหล่านั้น แต่เมื่อเธอ
ทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุ ๒ พวก
ที่มีวาทะต่างกันในอภิธรรมบ้าง"

อภิธรรม หมายถึง โพธิปักขิยธรรมที่พระองค์หมายถึง
ดังนั้น ผู้ที่บอกจึงเป็นพระศาสดา ไม่ใช่ "เช่นนั้น" เป็นผู้บอก
สิ่งที่ โฮฮับ ให้คำนิยามพระอภิธรรม จึงเป็นการเขียนลอยๆ ออกมาโดยปราศจากการรับรองโดยพุทธวจนะ
เช่นเดิม

ผมว่าไอ้ที่มั่วมันเป็นคุณ ไปหยิบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬามาอ้าง ก็ไม่ว่าอะไรน่ะ
แต่เอามาอ้างแล้ว ไปตีความหมายเนื้อในนั้นผิดๆนี่ซิไม่น่าให้อภัย มันพูดออกมาได้ไงว่า
เนื้อหาในนั้นบอกว่า โพธิปักฯคือ พระอภิธรรม
มันคนล่ะเรื่องมั่วนิ่ม พูดเองเออเอง
พระพุทธองค์ไม่ได้บอกเลยว่า โพธิปักฯ คือพระอภิธรรม

มันมีความหมายแบบนี้ พระพุทธองค์หมายถึง
หลักธรรมโพธิปักขิยธรรมที่ทรงแสดงให้ดูแล้วว่ามีอะไรบ้าง
แต่ในการปฏิบัติ อาจมีการแสดงความเห็น(วาทะ)ที่เกี่ยวกับสภาวะปรมัตถ์ที่ต่างกันบ้าง


มีวาทะต่างกันในอภิธรรม.....หมายถึง การพูดถึงสภาวะธรรมในกายใจตนเอง
ย่อมมีความแตกต่างกันบ้าง
:b32:

ปล. ผมขอลิ้งเนื้อพระไตรปิฏกที่คุณเอามาอ้าง ไม่เห็นเอามาเลย ตีเนียนหรือเปล่า :b6:

เจ้าของ:  bbby [ 27 เม.ย. 2013, 14:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

คุณกบฯเขียน

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
เห็นด้วยครับ...ที่ว่า...เมตตา...เป็นความไม่มุ้งร้าย

แต่พอดีมีเพื่อนในนี้..บอกว่า...หวังดีต่อเขาแต่พอเขาไม่ทำตามกลับเกิดอาการเสียใจ

ผมก็มานั้งคิดว่า..ทำไมจึงเสียใจทุกข์ใจได้...อ่อ...อุเบกขาธรรมไม่สมดุลย์
ทำไมอุเบกขาธรรมไม่สมดุลย์....อ่อ...เพราะยังมีความต้องการอะไรบางอย่างซ่อนอยู่
ความอยากได้อะไรกลับมา...คือ...อามิส....อามิสเป็นกาม[/quote



สาเหตุของการที่มีเมตตามากเกินไปนั้น แล้วทำให้เกิดทุกข
เกิดตรงนี้ค่ะ

พอใจเราไปเกิดความเมตตาต่อสัตว์นั้นมาก ใจจะเกิดความเป็นห่วง
คืออย่างเรน่ะค่ะ ก้อจะเอาอาหารไปให้สุนัข แม่ลูกอ่อน2ตัว (ไม่ใช่ลูกน่ะ)
ตอน เช้า-เย็น ทีนี้พอเอาไปให้บ่อยๆ สุนัข ทั้ง 2 ตัว ถึงเวลามันก้อจะมานั่งรออาหาร


ทีนี้บางครั้งตอนเช้า เราก้อธุระหลายอย่าง ใจก้อนึกเป็นห่วงหมา ว่าตอนนี้มันคงจะมารอแล้ว
พอกลับมา เพื่อนบ้านก็บอก หมามันมานั่งนอเธอตั้งนาน ตอนนี้มันกลับไปแล้ว
พอได้ยินอย่างนี้ ความสงสารมันก็มากขึ้นไปอีก ก้อคิดว่ามันคงจะหิวน่ะ

แล้วก้อไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน วันนั้นก้อจะเป็นวันที่เราหงุดหงิดในใจ มันร้อน นั่งสมาธิก้อร้อน
สวดมนต์ก็ร้อน จิตไม่นิ่ง

พอถึงตอนเย็น เอาอาหารไปให้พวกมันกิน พอเห็นพวกมันกินกันจนอิ่ม
กระดิกหางเข้ามาขอบใจเรา

ความสุขมันก้อเกิด เราได้ช่วยมันให้พ้นจากความอดแล้ว ความร้อนที่อยู่ในใจมันหายไปหมด
มีแต่ความเย็นเข้ามา

ทีนี้พอมันเป็นอย่างนี้บ่อยๆ เราก้อคิดว่านี่เรากำลังทำอะไร
ใช่เราไปหาเหตุแห่งทุกข์ เขามาใส่ตัวหรือปล่าว
จะปล่อยวาง ก้อทำไม่ได้ สงสารพวกมัน

ชีวิตก้อเลยเป็นแบบ สุข ๆ ทุกข์ๆ ทุกข์ๆสุขๆ แต่พอได้มาอ่านที่คุณกบฯกับหลายท่านที่โพส
เราเข้าใจแล้วค่ะ ว่าเจ้าตัวทุกข์นั้นมาจากไหน เราหาทางแก้เจ้าตัวทุกข์นั้นแล้วค่ะ
ขอบคุณเจ้าของกระทู้น่ะค่ะ ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา :b1: :b41: :b55: :b49:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 27 เม.ย. 2013, 15:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

โฮฮับ เขียน:
ปล. ผมขอลิ้งเนื้อพระไตรปิฏกที่คุณเอามาอ้าง ไม่เห็นเอามาเลย ตีเนียนหรือเปล่า :b6:

download
จากที่นี่
แล้วเปิดหาเอาเองนะโฮฮับ
http://etipitaka.com/

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 27 เม.ย. 2013, 15:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อไม่รู้จัก การเจริญเมตตาอัปปมัญญา
ก็อย่ามั่วเขียนอะไรออกมานะโฮฮับ
ในพระอภิธรรมปิฏก 12 เล่มสุดท้ายแห่งพระไตรปิฏก พระสังคยาจารย์ได้เขียนไว้ว่า
Quote Tipitaka:
" [๑๙๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อย่าสู่รู้ใส่คำว่ารูปฌาน วงเล็บต่อท้ายว่า ไม่ใช่รูป นะโฮฮับ

การเขียนบรรยายเช่นอย่างโฮฮับที่เขียนออกมาแสดงว่า ไม่เคยเจริญเมตตาอัปปมัญญา และบรรลุปฐมฌานมาก่อน แน่นอน

โฮฮับ นั่งเทียนอีกแล้ว

ผมจะมั่วอย่างไรไม่มีปัญหา เพราะเป็นความเห็นส่วนตัว
คุณน่ะซิน่าอาย ไปตัดเอาพระไตรปิฏกมาเป็นท่อน แล้วก็ตีความมั่ว
ชนิดที่เรียกว่า หัวมังกุท้ายมังกร


บอกว่าผมไม่เคยบรรลุปฐมฌาณ ผมอยากหัวร่อ คุณเคยล่ะซิถ้า
พุทโธ่! กุศล อกุศล อัพยากฤต ยังไม่รู้จักเลย
การเจริญภาวนาในลักษณะเจริญปัญญา มันต้องให้ได้.......อัพยากฤตธรรม
ไม่กุศลหรืออกุศล เข้าใจมั้ย :b32:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 27 เม.ย. 2013, 15:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

เช่นนั้น เขียน:
บารมี มีปรากฏอยุ่ในพระสูตรอันเป็นคำตรัสของพระศาสดา
เช่นทานบารมี เมตตาบารมี ปัญญาบารมี
ไม่มีปรมัตถ์ธรรม คือ รูป จิต เจตสิก นิพพาน ที่อรรถาจารย์เรียบเรียงขึ้นใหม่ในภายหลังว่า เป็นปรมัตถธรรม


ปรมัตถธรรม คือมรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมอันสูงสุด ที่สุเมธดาบสปราถนา และได้ปฏิบัติเพื่อสั่งสมปรมัตถบารมีมาเป็นเวลา 4อสงไขยกับอีกแสนกัปป์ และบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ถามหน่อย สุเมธดาบส เป็นพระพุทธเจ้าแล้วหรือ ช่างกล้าน่ะ!
อ้างไกลเป็นอสงไขยแสนกัปป์ ถามจริงไม่รู้สึกอะไรเลยหรือที่อ้างแบบนี้

เอาแบบชัวร์ๆเลย เอาพระสูตรมากางดีกว่า ชาดกไม่เอาน่ะ :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 27 เม.ย. 2013, 15:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มองพรหมสี่ด้วยความเป็นปรมัตถ์

กลัวคนถามหา จึงมาเมียงๆมองๆ ไม่มีอะไรครับ ไม่มีอะไร เผอิญอ่านข้อคิดข้อเขียนนั่นแล้วโดนใจ :b9: :b32:


อ้างคำพูด:
ธรรมะเกินไปก็น่ารำคาญนะครับ

พี่ชายผมเองแหละ พูดอะไรไม่ได้เลย เข้าธรรมะตลอดเวลา
คือ เขาอ่านเยอะนะ อ่านพระไตรปิฏก ไป 30 กว่าเล่มแล้ว จากทั้งหมด 80 กว่าเล่ม
พออ่านเยอะ ก็รู้เยอะ พอรู้เยอะ ก็พูดเยอะ พูดข้างเดียว โดยไม่รู้ว่า คนอื่นเขาอยากจะพูดอะไรบ้าง
อะไรที่เยอะเกินไป มันก็มีผลร้ายนะครับ คนจะหนี เพราะ ถ้าเจอเมื่อไหร่ เป็นได้ฟังเทศ
http://pantip.com/topic/30417077

หน้า 4 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/