ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44970
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  deecup [ 18 มี.ค. 2013, 18:04 ]
หัวข้อกระทู้:  ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

คือไม่ฝึกนั่งสมาธิ แต่อาศัยปัญญาแบบสติปัฐฎาน4 อย่างเดียว สามารถละกิเลสได้ไหม

เจ้าของ:  งามตา [ 18 มี.ค. 2013, 18:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

ไม่ได้ค่ะ

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 18 มี.ค. 2013, 18:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

จิตตั่งมั่น ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
สติปัฏฐาน ๔ สองฐานแรก รู้หรือไม่รู้
ก็มีส่วนของสมาธิ มีอารมณ์ของสมถะอยู่

ถ้าหลับตา จิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาก็ไม่เกิดอยู่ดี
ถ้านั่งสมาธิ จิตเดินผิด ไม่ตั่งมั่น ปัญญาก็ไม่เกิด
ถ้าไม่นั่งหลับตา ไม่นั่งสมาธิเลย และจิตก็ไม่ตั่งมั่น
ปัญญาหรือ วิปัสสนาภาวนาก็ไม่เกิดอีกอยู่ดี

แต่หากลืมตาก็ตาม หลับตาก็ตาม ยืน เดิน นั่ง นอน
มีจิตตั่งมั่น ปัญญาที่มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นอารมณ์
ไตรลักษณ์ก็จะปรากฎ เมื่อฝึกฝนดีแล้วครับ

ทำปัญญานำสมาธิก่อนก็ได้ สุดท้ายจิตก็จะสงบจากนิวรณ์
สงบจากกิเลสเหมือนกัน บรรลุสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ได้ในที่สุด หรือจะ

ทำสมาธินำ ปัญญาไปก่อน สุดท้ายจิตก็จะสงบจากนิวรณ์
สงบจากกิเลสเหมือนกัน บรรลุสัมมาสมาธิ และสัมมาสติ
ได้เหมือนกันนั่นเอง

หรือเีพียงแค่รักษาศีล ๕ ก็ระงับกิเลสอย่างหยาบ ทางกาย
ทางวาจาลงไปได้แล้ว ด้วยความสังวรระวัง ก็บรรลุถึงสุขธรรม
คือมีปกติเป็นสุขเพราะไม่เืดือดร้อนได้เลยทันที

ถ้าเจริญสมาธิก่อน ก็ควรมีศีลเป็นพื้นฐาน จะระงับกิเลสอย่างกลาง
ข่มเอาไว้ได้ก็บรรลุถึงฌานสมาบัติ มีปฐมฌานได้ ฯลฯ

ถ้าเจริญปัญญาก่อน ไม่เอาสมาธิ(เพราะรู้มาผิด) ก็ควรมีศีลเป็นพื้นฐาน
จะระงับกิเลสอย่างกลางได้เช่นเดียวกัน แต่เป็นไปชั่วขณะเ่ท่านั้น

ถ้าเจริญสมถะวิปัสสนา หรือสมาธิปัญญาไปพร้อมเพียงกัน โดยมีศีล
เป็นฐานรองรับ จิตก็จะตั่งมั่นได้โดยไม่ยาก และรู้ตามความเป็นจริง
ได้โดยง่าย เรื่องของเรื่อง แม้คนที่ ยึดถือว่าตน เป็นวิปัสสยานิกะ
ก็ไม่รู้ว่า ตอนกำหนด เฉพาะรูปนาม กำหนดลักษณะนั่นก็เป็น สมาธิ
ชั่วขณะ หรือขณิกสมาธิอย่างหนึ่ง จนถึงอุปจารสมาธิ มีจิตตั่งมั่น
คู่ควรแก่การงาน ก็เพราะได้อาศัยกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิ

ส่วนกิเลส
ศีล ๕ ระงับกิเลสอย่างต่ำ (ทางกาย ทางวาจา)
สมาธิ ระงับกิเลสอย่างกลาง (นิวรณ์ ๕ ทางใจหยาบๆ)
ปัญญา ระงับกิเลสอย่างละเอียด (ตัณหา มานะ ทิฏฐิทางใจละเอียดๆ)

อริยมรรคมีองค์ ๘ ศีลมี สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ
สมาธิมี สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ปัญญามี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

คุณโยมจะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็น สัมมาสติ อยู่ในส่วนของสมาธิกับปัญญา
สติปัฏฐานอยู่ในส่วนของ สมาธิ เป็นสัมมาสติ จะเว้น สัมมาสมาธิที่ทำ
ให้จิตคู่ควรแก่การงาน ทำให้จิตปราศจากนิวรณ์ ก็พึงพิจารณาทบทวน
ดูใหม่สักนิด ว่าจะบรรลุธรรมอะไรที่สมควร จะละกิเลสอะไรที่สมควร
เมื่อไม่อบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘ ไม่อบรม ศีล สมาธิ ปัญญาตามที่
พระพุทธเจ้า่ทรงรับรองเอาไว้

ค่อยๆ ศึกษาพิจารณาและลงมือปฏิบัติลองดูนะครับเจริญพร.

เจ้าของ:  deecup [ 18 มี.ค. 2013, 19:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

ขอบพระคุณมากครับ พิมพ์ให้อ่านละเอียดดี

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 18 มี.ค. 2013, 19:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

สาธุ.ครับหลวงพี่ :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  asoka [ 18 มี.ค. 2013, 20:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

deecup เขียน:
คือไม่ฝึกนั่งสมาธิ แต่อาศัยปัญญาแบบสติปัฐฎาน4 อย่างเดียว สามารถละกิเลสได้ไหม

:b8:
ได้ครับ
:b4:
คำว่า "ฝึกนั่งสมาธิ"...นั่นคือการมาเริ่มต้นใหม่ นับหนึ่งใหม่ในการทำสมาธิ ตามวิธีการต่างๆ
:b10:
แต่คนส่วนใหญ่มักจะลืมของดีที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด คือ สมาธิตามธรรมชาติ......ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากที่มีสมาธิดีติดตัวมาโดยธรรมชาติตั้งแต่เกิด.......
:b39:
ลองพิจารณากันดูให้ดี ผู้คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต การเรียน การงาน ในโลกนี้มีตั้งเยอะแยะโดยไม่เคยไปนั่งฝึกสมาธิที่ไหนมาก่อน...แต่เขาอาศัยสมาธิตามธรรมชาติที่มีอยู่ในตน บันดาลความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับชีวิตได้
:b43:
สมาธิที่จะใช้หนุนการสังเกตพิจารณาวิเคราะห์วิจัย เข้าไปในรูปนาม กายใจนั้น ไม่จำเป็นต้องถึงขนาดมีฤทธิ์มีเดช มีฌาณอะไรมากมาย...เพียงแค่ขณิกะสมาธิ หรือสมาธิเฉียดๆ ซึ่งมนุษย์ทั่วไปทำกันได้เองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว...ก็เพียงพอที่จะกำหนดรู้ทุกข์....จนเห็นเหตุทุกข์ และถอนเหตุทุกข์ออกได้.....
ถ้านำสมาธิโดยธรรมชาติที่มีอยู่ประจำใจกายมาเจริญสติปัฏฐาน 4 ก็สามารถจะวางความยินดียินร้ายที่เกิดในฐานทั้ง 4 ได้
:b48: :b48:
ขออย่าให้รู้ผิด สำคัญผิด เข้าใจผิด และดูถูกตัวเองว่าเป็นคนไม่มีสมาธิเลย....ถ้าไม่มีสมาธิโดยธรรมชาติ
ทุกท่านคงไม่เรียนจบ...ทำงานไม่สำเร็จ หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตนเองและยังชีวิตรอดอยู่ไม่ได้มาจนถึงทุกวันนี้

onion

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 18 มี.ค. 2013, 22:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

ในสติปัฐฐานไม่ได้มีแต่ปัญญาอย่างเดียวล้วนมีสมาธิกลมกลืนอยู่ทุกขั้นตอนในนั้นด้วย :b42:

เจ้าของ:  wic [ 18 มี.ค. 2013, 23:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

การปฏิบัติธรรมของพุทธ แบบไม่ต้อง "นั่งสมาธิ" เลย


....การเดิน(โพชฌงค์) ทาง(มรรค) สู่ความเป็นอาริยะ (อลมริยา)

ก่อนอื่นใด ต้องทำสัมมาทิฐิให้เกิดขึ้นก่อนโดย ปัจจัย ๒ ประการคือ
๑. ปรโตโฆสะ (ความได้สดับฟังสัจจะอื่น จากผู้รู้อื่นๆหรือบัณฑิตอื่น)
๒. โยนิโสมนสิการ (ปรับใจ ปฏิบัติกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถ่องแท้
ให้หยั่งลงไปถึงแดนเกิดคือ..ใจ) (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ ข้อ ๔๙๗)

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ที่จะเกิดขึ้นมีดังนี้
๑ อัตถิ ทินนัง ทานที่ให้แล้ว มีผล ทาน ก็หวังที่จะลดกิเลสโลภะ ให้ของที่มีคุณค่าประโยชน์แก่ผู้รับ ไม่หวังลาภ ยศชื่อเสียงหรือสวรรค์ชั้นไหนๆ
๒ อัตถิ ยิฏฐัง ยัญพิธีที่บูชาแล้ว มีผล เป็นศีล เพื่อฝึกหัดขัดเกลา กาย วาจา ใจให้อยู่ในองค์แห่งมรรค(สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาสังกัปปะ สัมมาอาชีวะ)
๓ อัตถิ หุตัง สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล เมื่อทำในข้อ 1, 2 ได้ผลแล้วก็ทำให้มากๆทำให้ดีขึ้นเจริญขึ้น
๔ อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก ได้รับผลของการทานและรักษาศีลในข้อ 1, 2 จนเห็นชัดเจน และเห็นผลของการทานที่ไม่สัมมาทิฐิ, เห็นผลของการละเมิดศีลชัดเจนตามที่ได้ปฏิบัติมา
๕ อัตถิ อยัง โลโก โลกนี้มี เห็นชัดเจนว่าเมื่อก่อนเราเป็นอย่างไร และขณะนี้เราเปลี่ยนไปอย่างไร(เรารู้ตัวเราในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร)
๖ อัตถิ ปโร โลโก โลกหน้ามี จากการที่ได้ปฏิบัติมาเราแน่ใจได้ว่า ต่อไปข้างหน้าเมื่อเรายังปฏิบัติดีอยู่เราจะเป็นอย่างไร(เช่นเลิกละอบายมุขได้ทำศีลข้อนั้นๆที่เรายังบกพร่องอยู่ได้ เราเปลี่ยนนิสัยไม่ดีบางอย่างให้ดีได้) 
๗ อัตถิ มาตา มารดามี  เรารู้เหตุปัจจัยปรุงแต่งที่ทำให้นิสัยดีเจริญขึ้น หรือทำให้นิสัยไม่ดีกำเริบขึ้น  แล้วจัดการที่สาเหตุ  เพื่อหยุดยั้งนิสัยที่ไม่ดี  ทำนิสัยดีๆให้เจริญขึ้น
๘ อัตถิ ปิตา บิดามี  รู้ไปจนถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด ให้มีให้เป็น ของนิสัยดีๆ หรือนิสัยที่ไม่ดี  แล้วจัดการสาเหตุที่ทำให้เกิดนิสัยไม่ดี  สร้างเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดนิสัยที่ดีๆ
๙ อัตถิ สัตตา โอปปาติกา สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ มี เมื่อทำข้อ 7, 8ให้เจริญขึ้น เก่งขึ้น  จะเกิดนิสัยดีๆขึ้นในตัวเราหลายๆอย่าง นิสัยที่ไม่ดีหลายๆตัวก็ตายไป
๑๐ อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคตา ส้มมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ
สมณพราหมณืทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบปฏิบัตชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่
เมื่อเราได้ปฏิบัติตามข้อ 1-9มาจนถึงตอนนี้ก็พอจะมั่นใจได้ว่า   ผู้ที่รู้เหตุปัจจัยมากกว่าเรามีอยู่ รู้มากกว่าเรามาก      
จนรู้เหตุปัจจัยทุกสิ่งอย่าง ที่ทำให้เกิด ทำให้เจริญ ทำให้ดับ รู้ว่าอะไรควรให้เกิด ควรให้เจริญ  อะไรควรให้ดับ 
       ท่านจะรู้สภาวะตัวท่านชัดเจนในขณะนี้ว่าอย่างไร  รู้ว่าสิ่งที่ควรให้เกิดให้เจริญนั้นท่านได้ทำแล้ว  สิ่งที่ควรให้ดับ
       ท่านได้ดับหมดแล้ว  บุคลเช่นว่านี้มีอยู่ในโลก  อยู่ทำแต่สิ่งที่ดีๆเพื่อประโยชน์สุขของโลก


ต่อไปก็เริ่มทำมรรคข้ออื่นๆคือ
...ทุกเรื่องราวที่เราคิดให้เป็นสัมมาสังกัปปะ
๑. ความดำริออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปโป)
๒. ดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาทสังกัปโป)
๓. ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปโป)


...ทุกกิจที่เราทำให้เป็นสัมมากัมมันตะ
๑. งดเว้นจากปาณาติบาต (ปาณาติปาตา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากอทินนาทาน (อทินนาทานา เวรมณี)
๓. งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี)


...ทุกคำที่เรากล่าว(ให้เป็นสัมมาวาจา)
๑. งดเว้นจากการ พูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากการ พูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
๓. งดเว้นจากการ พูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
๔. งดเว้นจากการ เจรจาเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)


...ทำงานอาชีพ(ให้เป็นสัมมาอาชีวะ)
๑. งดเว้นจาก การโกง (กุหะนา)
๒. งดเว้นจาก การล่อลวง (ลปะนา)
๓. งดเว้นจาก การตลบตะแลง (เนมิตตกะตา)
๔. งดเว้นจาก การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกะตา)
๕. งดเว้นจาก การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนะตา)


ทำมรรคทั้ง๔ข้อที่กล่าวมานี้โดย
... มีจิตรับรู้(สัมมาสติมีสติห้อมร้อมทำมรรคทั้ง ๔ข้อให้เป็นไปตามสัมมาทิฐิ, โดยสติสัมโพชฌงค์ที่คอยกำหนดรู้ กาย, เวทนา, จิต, ธรรม)
... ดูว่าควรหรือไม่(ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์เมื่อรู้แล้วก็แยกแยะให้รู้ชัดเจนว่ากิจ,กรรมที่เราทำนั้นถูกตรงเป็นสัมมาทิฐิหรือไม่)
... เพียรทำแต่สิ่งที่ดีๆ(วิริยะสัมโพชฌงค์, สัมมาวายามะเมื่อรู้แล้วว่ากิจไหนดี, ควรทำก็พยายามทำให้ดี ให้มากๆ)
แล้วจะเกิด
...ความอิ่มใจ(ปิติ)เมื่อเราทำได้, มีผลจริง
...ความสงบ(ปัสสัทธิ) เมื่อทำได้มากขึ้นมีผลมากขึ้นปิติจะลดลงเป็นความสงบ
...ความตั้งมั่น(สมาธิ) เมื่อทำได้มากขึ้นมีผลมากขึ้นความสงบก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิ และจะ
...เห็นตามความเป็นจริง(อุเบกขา)ในสิ่งที่เราเป็นอยู่จริงๆ

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ผมพยายามเรียบเรียงจากความเข้าใจที่ฟังธรรมจากพ่อครู
ใครสนใจเชิญ มาลองศึกษาดู ด้วยกันครับ

เจ้าของ:  SOAMUSA [ 19 มี.ค. 2013, 05:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านพุทธฏีกา และทุกท่านที่ตอบให้ได้เข้าใจถูกต้อง

เจริญสติปัฏฐานได้เลยค่ะ ไม่ต้องทำสมาธิก่อนก็ได้ เพราะการได้ฌานไม่ใช่จะได้กันง่ายๆ ค่ะ
งานสติปัฏฐาน ต้องฝึกให้มีสติให้มากในแต่ละวันก่อนจนสติเกิดบ่อยๆ เนื่องๆ ในแต่ละวัน
ขณะใดมีโทสะเกิด ก็กำหนดสติรู้โทสะทันทีในปัจจุบันขณะนั้นได้ จะเห็นสภาวะที่ไม่เที่ยงของโทสะ
เวลาร่างกายเจ็บ เช่น ข้อศอกไปกระแทกกับเหล็กหรือสิ่งที่แข็ง มีสติกำหนดรู้จะเห็นสภาวะขณะนั้นได้ชัดเจน จะเห็นสภาวะที่ไม่เที่ยงของเวทนา

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 20 มี.ค. 2013, 07:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

ขณะจิต เขียน:
ในสติปัฐฐานไม่ได้มีแต่ปัญญาอย่างเดียวล้วนมีสมาธิกลมกลืนอยู่ทุกขั้นตอนในนั้นด้วย :b42:

เห็นด้วย...
:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 20 มี.ค. 2013, 07:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

SOAMUSA เขียน:
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านพุทธฏีกา และทุกท่านที่ตอบให้ได้เข้าใจถูกต้อง

เจริญสติปัฏฐานได้เลยค่ะ ไม่ต้องทำสมาธิก่อนก็ได้ เพราะการได้ฌานไม่ใช่จะได้กันง่ายๆ ค่ะ
งานสติปัฏฐาน ต้องฝึกให้มีสติให้มากในแต่ละวันก่อนจนสติเกิดบ่อยๆ เนื่องๆ ในแต่ละวัน
ขณะใดมีโทสะเกิด ก็กำหนดสติรู้โทสะทันทีในปัจจุบันขณะนั้นได้ จะเห็นสภาวะที่ไม่เที่ยงของโทสะ
เวลาร่างกายเจ็บ เช่น ข้อศอกไปกระแทกกับเหล็กหรือสิ่งที่แข็ง มีสติกำหนดรู้จะเห็นสภาวะขณะนั้นได้ชัดเจน จะเห็นสภาวะที่ไม่เที่ยงของเวทนา

เห็นด้วย สาธุ...
:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  McArowana [ 20 มี.ค. 2013, 12:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

ยึดสิ่งสมมติมากเกินไป ก็ปัญญาก็ไม่เกิดนะขอรับ
จะละกิเลส ก็ไม่ใช่ว่าจะไปยึดติดกับสมาธิจนเกินไป
ยึดมากเกินไป สมาธินั่นแหละจะกลายเป็นกิเลสเองครับ

ฉะนั้นที่ถามมา การฝึกสมาธิ กับการบรรลุธรรม สามารถแยกจากกันได้ครับ :b8:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 20 มี.ค. 2013, 14:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

deecup เขียน:
คือไม่ฝึกนั่งสมาธิ แต่อาศัยปัญญาแบบสติปัฐฎาน4 อย่างเดียว สามารถละกิเลสได้ไหม


เห้นท่านพุทฎีกาเขียนใว้ละเอียดดีแล้ว.....แต่ครั่นเก็นเพื่อน ๆ..ยิ่งตอบ..ก็เห็นความเข้าใจอะไรข้างเดียวรึเปล่า?

จากคำถาม....ไม่ฝึกนั่งสมาธิ...แต่อาศัยปัญญาแบบสติปัฏฐาน 4 อย่างเดียว

1. ฝึกสมาธิ...เราคิดกันว่า...ต้องนั่ง...หรือ..มีรูปแบบใดแบบหนึ่ง...
2. กำลังฝึกสติ...แต่กลับคิดว่า...เดินปัญญา
3. ปฏิเสธสมาธิ....แต่กำลังทำสมาธิโดยไม่รู้ตัว

การพิจารณากรือภาวนา..สามารถทำได้เลย...แต่ปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจที่ได้ในช่วงนี้อยู่ในระดับที่ยังไม่ข้ามพ้นจากสัญญา....ยังเป็นความรู้ความเข้าใจแบบตรรกะอยู่...กิเลสยังไม่ถูกกำจัดออกแต่อย่างใด...อาจระงับตัวลงชั่วคราว

แต่ถ้าพิจารณาธรรมด้วยใจที่สงบ...ผลของความเข้าใจจะมีอิทธิพลต่อจิตมากกว่า...จนถึงระดับหนึ่ง...จิตเขาจะดำเนินไปของเขาเอง...จนสุดทางที่ว่า..ใช่...

ใช่....ที่มีอิทธิพลขนาดที่...จะไม่ทำสิ่งนั้นผิดอีก...

ถ้าพิจารณาเกี่ยวกับศีล.....ก็จะไม่กลับไปทำผิดเรื่องศีลอีก...สีลลัพตปรามาส..สังโยชน์ข้อ 3 ก็ขาด
ถ้าพิจารณาถึงคุณพระรัตนตรัย....ความสงสัยในก้นบึ้งของใจก็หมด....วิจิกิจฉา...สังโยชน์ ข้อ 2 ก็ขาด
ถ้าพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง...การแล่นไปยึดว่าเป็นเราก็คลาย...สักายทิฐิ...สังโยชจ์ ข้อ1 ก็คลายตัว

เห็นจริงแล้ว....ความผิดนั้นจะไม่เกิดอีก...จะเรียกว่า..ดับแล้วไม่เกิด..ก็น่าจะได้

ถ้าเห็น....เกิด..ดับ...เกิด...ดับ....เป็นการฝึกสติ...มีผู้เห็น..กับผู้เกิดดับ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 20 มี.ค. 2013, 14:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

ต่อ...

มันยังมีสองอยู่...คือ..สิ่งที่ไปเห็น.กับ..สิ่งที่เกิดดับ
เป็นสติ...สติต่อเนื่องกัน..ก็เป็นสมาธิ

ยังต้องทำงานต่อ....คือน้อมสิ่งที่เห็นเข้ามาสู่ตัวที่ไปเห็น...โอปนยิโก

เป็นหนึ่งสู่ความเป็นสูญ...เพื่อมีสู่ความไม่มี...

ถ้าเห็นเกิดดับ...ก็อย่าปล่อยมันผ่านไปเฉย ๆ...ไม่งั้นจะได้สติ...สมาธิเฉย.ๆไป

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 20 มี.ค. 2013, 18:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ไม่ฝึกสมาธิ สามารถบรรลุธรรมได้ไหม

บางท่านก็ว่า...ปัญญาเกิดเอง...บางท่านก็ว่าต้องพิจารณา...

ถูกทั้งคู่...

คนที่ต้องพิจารณาก่อนนั้น....เป็นการใส่ข้อมูล
ปัญญาเกิดเองนั้น....เป็นพวกข้อมูลใกล้เต็ม...สปาร์กด้วยข้อมูลชุดสุดท้ายเครื่องจึงเดิน

ข้อมูลชุดท้าย..ที่ไม่รู้ว่าเมื่อไร

หน้าที่เราคือใส่ข้อมูลอย่างเดียว...ส่วนการทำงานมันเป็นเรื่องของเขา

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/