วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2013, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 13:41
โพสต์: 57

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในฉัตตมาณวกวิมาน
พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงวิธีเรียนไตรสรณคมน์แก่ฉัตตมาณพ จึงได้ตรัสว่า
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นโอรสแห่งศากยราช เป็นผู้จำแนกแจกธรรม มีกิจอันทำเสร็จแล้วผู้ถึงฝั่ง เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังและความเพียร ท่านจงถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เสด็จไปดีแล้ว เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเถิด
ท่านจงเข้าถึงพระธรรม อันเป็นธรรมคลายความกำหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหว ไม่มีความเศร้าโศก อันปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมไพเราะคล่องแคล่ว เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกดีแล้วเพื่อเป็นที่พึ่งเถิด
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทาน อันบุคคลให้แล้วในพระอริยสงฆ์ผู้สะอาด เป็นคู่แห่งบุรุษทั้ง ๔ เป็นบุรุษบุคคล ๘ เพราะเหตุได้แสดงธรรมว่ามีผลมาก ท่านจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้ เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด.
พระผู้มีพระภาค เพื่อจะทรงประกาศบุญกรรมอันฉัตตเทพบุตรนั้นทำแล้ว ให้ปรากฏแก่มหาชน จึงได้ตรัสถามฉัตตเทพบุตรนั้นว่า.
วิมานของท่านนี้ มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาที่เปรียบเทียบมิได้ฉันใด ถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวนักขัตฤกษ์ รุ่งเรืองอยู่ในท้องฟ้าก็ไม่อาจจะเปรียบเทียบได้ ฉันนั้น ท่านเป็นใครหนอ มาเกิดในวิมานนี้ อนึ่ง วิมานของท่านนี้มีรัศมีรุ่งเรืองตัดเสียซึ่งรัศมีแห่งพระจันทร์ และพระอาทิตย์ มีรัศมีแผ่ไปเกินกว่า ๒๐ โยชน์ และทำแม้กลางคืนให้เป็นดุจกลางวัน วิมานของท่านนี้งามบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่หม่นหมองงดงามไปด้วยดอกปทุมแลบัวขาวเป็นอันมาก เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกโกสุม งามวิจิตรด้วยมาลากรรมหลายอย่างต่างๆ กัน ปกคลุมไปด้วยข่ายทองคำอันบริสุทธิ์ ปราศจากธุลี ดุจพระอาทิตย์แผดแสงสว่างอยู่ในอากาศฉะนั้น อนึ่ง ท่านทรงผ้ากัมพลแดง ลางทีก็ทรงภูษาสีเหลืองสดใส มีสกลกาย ลูบไล้ด้วยกลิ่นกฤษณา ดอกประยงค์ และแก่นจันทน์ คันธชาติ มีผิวพรรณเปล่งปลั่งด้วยทองคำ ท่านจะไปเที่ยวในวิมานใด วิมานนี้ก็เต็มไปด้วยเทพบุตรและนางเทพธิดา อันเที่ยวไปในที่นั้น ดุจท้องฟ้าอันดารดาษไปด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น เทพบุตรเทพธิดาในวิมานนั้นมากมายมีวรรณะต่างๆ กัน ทรงอาภรณ์ทิพย์อันประดับด้วยดอกโกสุมและดอกมะลิ สวมใส่เครื่องประดับผุดผ่อง มีกาย
รุ่งเรืองวิจิตรปกปิดด้วยเครื่องทอง หอมฟุ้งไป นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ท่านมาเกิดในวิมานนี้เพราะผลแห่งกรรมอะไร ก็วิมานนี้อันท่านได้แล้วด้วยประการใด
ตถาคตถามแล้ว ขอท่านจงบอกเหตุแห่งการได้วิมานนั้น ด้วยประการนั้นเถิด?
ฉัตตเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ได้พบกับมาณพคนหนึ่งชื่อฉัตตมาณพ ซึ่งเดินทางมาในทางนี้ พระองค์ทรงเป็นครู ทรงเอ็นดูพร่ำสอนธรรมแก่เขา ฉัตตมาณพนั้นคือข้าพระองค์ ได้ฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐ แล้วได้ทูลรับรองว่า จักกระทำตามที่พระองค์พร่ำสอน อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ว่า ท่านจงเข้าถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งเถิดข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสบอกว่า ท่านอย่าได้ประพฤติฆ่าสัตว์มีประการต่างๆ อันเป็นความไม่สะอาด เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ย่อมไม่สรรเสริญความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น
อนึ่ง พระองค์ตรัสบอกว่า ท่านอย่าได้ถือเอาสิ่งของที่คนอื่นรักษาหวงแหน และอย่าได้คบชู้กะภรรยาของผู้อื่น เพราะข้อนี้ไม่ประเสริฐ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสบอกว่า ท่านอย่าได้พูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เพราะผู้มีปัญญาทั้งหลายมิได้สรรเสริญการพูดเท็จ ทีแรกข้าพระองค์ทูลปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระราชดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น
อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสบอกว่า สัญญาของบุรุษย่อมฟั่นเฟือนไป เพราะน้ำเมาอันได้ดื่มแล้วท่านจงงดเว้นน้ำเมาอันเป็นโทษทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้ปฏิเสธ แต่ภายหลังได้ทำตามพระราชดำรัสของพระองค์เหมือนอย่างนั้น ข้าพระองค์นั้นได้รักษาศีล ๕ ในศาสนาของพระองค์และได้ปฏิบัติในธรรมของพระตถาคต ได้เดินทางไปถึงระหว่างเขตบ้านทั้งสอง ในท่ามกลางหมู่โจร โจรเหล่านั้นได้ฆ่าข้าพระองค์เพราะเหตุแห่งโภคทรัพย์ ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลมีประมาณเท่านี้ สิ่งอื่นอันยิ่งไปกว่ากุศลตามที่กราบทูลแล้วนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์
เพราะกรรมอันสุจริตนั้น ข้าพระองค์จึงได้เกิดในไตรทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามปรารถนา ขอพระองค์ทรงดูผลแห่งการถึงสรณคมน์ สมาทานศีลและการปฏิบัติธรรมอันสมควร สิ้นกาลเพียงครู่หนึ่งเหมือนดังรุ่งเรือง
อยู่ด้วยฤทธิ์และยศเกินจะประมาณ ชนทั้งหลายซึ่งมีโภคทรัพย์ด้อยกว่าสมบัติของข้าพระองค์เป็นอันมากมาเห็นสมบัติอันมากของข้าพระองค์ย่อมอยากได้ ขอพระองค์ทรงดูผลแห่งเทศนาอันเล็กน้อย อัน
ข้าพระองค์ฟังแล้ว ข้าพระองค์ยังไปสู่สุคติและได้ประสบความสุขชนเหล่าใดได้ฟังธรรมของพระองค์เนืองๆ ชนเหล่านั้นเห็นจะได้บรรลุนิพพานอันเป็นธรรมไม่ตาย เป็นธรรมเกษม เพราะกุศลมีประมาณไม่น้อย อันชนเหล่านั้นทำแล้ว ขอพระองค์ทรงดูผลอันมากมายไพบูลย์ อันข้าพระองค์ตั้งอยู่ในธรรมของพระตถาคตทำไว้แล้ว ฉัตตเทพบุตรยังปฐพีให้สว่างไสวดุจพระอาทิตย์ เพราะเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว ก็ชนบางพวกได้พบได้เห็นแล้วพากันคิดว่า พวกเราจักทำกุศลอย่างไร จะประพฤติอย่างไร จึงจะได้อย่างนี้ (คิดไปๆ เห็นว่าทำได้แสนยากดุจพลิกแผ่นดินและดุจยกเขาสิเนรุราช) ชนเหล่านั้นจึงคิดว่า พวกเราได้ความเป็นมนุษย์อีกแล้ว ควรเป็นผู้มีศีล ปฏิบัติ ประพฤติธรรมพระองค์เป็นครูของข้าพระองค์ ทรงมีอุปการะและอนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์เป็นอันมาก เมื่อข้าพระองค์ได้พบพระองค์แล้วในวันนั้น ก็ได้ถูกพวกโจรฆ่าตายในเวลาเช้า ข้าพระองค์เป็นฉัตตมาณพได้เข้าถึงสัจจนาม
ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะขอฟังธรรมอีก ชนเหล่าใดในศาสนานี้ ละกามราคะ ภวราคะ อันเป็นอนุสัยและโมหะแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์ต่อไป เพราะว่าเป็นผู้บรรลุนิพพาน มีความเย็นเกิดแล้ว.

จูฬรถวิมาน
ผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในจูฬรถวิมาน

พระมหากัจจายนเถระถามสุชาตกุมารว่า ท่านเป็นกษัตริย์ เป็นราชโอรส หรือเป็นพรานป่าพเนจร สพายธนู
อันทำด้วยไม้แก่นอันมั่นคง ยืนอยู่?
สุชาตกุมารตรัสตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสกะ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นอัสสกรัฐ เที่ยวไปในป่า ข้าแต่ภิกษุ ข้าพเจ้าจะขอบอกนามของข้าพเจ้าแก่ท่าน ชนทั้งหลายเรียกข้าพเจ้าว่า สุชาต ข้าพเจ้าเที่ยวลัดเลาะไปในป่าใหญ่แสวงหาหมู่เนื้อ ไม่ได้เห็นเนื้อ มาเห็นท่าน ข้าพเจ้าจึงได้ยืนอยู่.
พระมหากัจจายนเถระกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีบุญใหญ่ ท่านมาดีแล้ว อนึ่ง ถึงท่านมาไกลก็เหมือนมาใกล้ขอท่านจงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างเท้าของท่านเสียเถิด น้ำนี้เย็นใสสะอาด อาตมภาพตักมาจากซอกเขา ดูกรพระราชบุตร ขอเชิญท่านดื่มน้ำจากภาชนะนี้แล้ว เชิญนั่งบนพื้นอันปูลาดเถิด.
สุชาตกุมารตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นมหามุนี วาจาของท่านนี้ไพเราะเสนาะโสต ไม่มีโทษ มีแต่ประโยชน์ จับใจนัก ให้เกิดปัญญา และท่านรู้ว่ามีประโยชน์แล้วจึงพูด ข้าแต่ท่านฤาษีผู้องอาจ อะไรเป็นความยินดีของท่านผู้อยู่ในป่า ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก ข้าพเจ้าฟังถ้อยคำของท่านแล้วจะประพฤติอรรถธรรมให้สม่ำเสมอ.
พระมหากัจจายนเถระตอบว่า ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพชอบการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ชอบการงดเว้นจากการลักขโมย ชอบการงดเว้นจากการประพฤติล่วงละเมิดในหญิงที่เขาหวงห้าม ชอบการงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา และชอบความประพฤติชอบ ความเป็นพหูสูต ความกตัญญู เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเหตุเกิดความสรรเสริญ วิญญูชนพึงสรรเสริญในปัจจุบันโดยแท้ ความตายของท่านใกล้เข้ามาแล้ว ท่านจักตายภายใน ๕ เดือน ดูกรพระราชบุตร ขอท่านจงรู้เถิด จงรีบปลดเปลื้องตนเสียเถิด.
พระราชกุมารตรัสถามว่า ข้าพเจ้าพึงไปสู่ชนบทไหน ทำการงานอะไร ทำกิจอะไรของบุรุษ หรือพึงเล่าเรียนวิชาอะไรหนอ จึงจะไม่แก่ไม่ตาย?
พระมหากัจจายนเถระตอบว่า ดูกรพระราชกุมาร สัตว์พึงไปในประเทศใดแล้ว ประกอบการงานและเล่าเรียนวิชา กระทำกิจของบุรุษ จะไม่แก่ไม่ตาย ประเทศเช่นนั้นจะไม่มีเลย แม้ชนทั้งหลายผู้มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก เป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้น มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย จะไม่แก่ไม่ตายไม่มีเลย ถึงชนเหล่านั้นจะเป็นลูกอันธกเวณฑะ มีเพลงอาวุธอันได้ศึกษาแล้ว แกล้วกล้า องอาจ สามารถจะต่อสู้ศัตรูได้ก็ตาม แต่ชนเหล่านั้นก็ถึงความสิ้นอายุ จะดำรงยั่งยืนเหมือนพระจันทร์พระอาทิตย์ก็หาไม่ เหล่าชนที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ สูทร คนจัณฑาล คนอยากเหยื่อ และชนชาติอื่นที่จะไม่แก่ไม่ตายก็ไม่มี ชนเหล่าใดเล่าเรียนมนต์อันประกอบด้วยองค์ ๖ ที่เป็นพรหมลิขิตและพวกที่เรียนวิชาเหล่าอื่น แม้ชนเหล่านั้นที่จะไม่แก่ไม่ตายก็ไม่มี
อนึ่ง ฤาษีทั้งหลายผู้สงบสำรวมตนบำเพ็ญตบะ ก็จำต้องละทิ้งสรีระไปตามกาล ถึงพระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว เสร็จกิจแล้ว ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญและบาปแล้ว ก็ยังต้องทอดทิ้งร่างกายนี้ไป.
พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นมหามุนี คาถาของท่านเป็นสุภาษิตมีประโยชน์ ข้าพเจ้าโล่งใจเพราะวาจาอันท่านกล่าวดีแล้ว ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเถิด.
พระเถระกล่าวว่า ท่านอย่าถึงอาตมภาพเป็นที่พึ่งเลย จงถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นศากยบุตร เป็นมหาวีรบุรุษ ที่อาตมภาพถึงเป็นที่พึ่ง ว่าเป็นที่พึ่งเถิด.
พระราชกุมารตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมครูของท่านพระองค์นั้น เวลานี้ประทับอยู่ในชนบทไหน แม้ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ชนะมาร หาบุคคลเปรียบปรานมิได้?
พระเถระตอบว่า แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นบรมครู เป็นบุรุษอาชาไนย ทรงสมภพในวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช อยู่ในชนบทปุรัตถิมทิศ แต่ว่าพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว.
พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ก็ถ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูของท่านพึงยังดำรงพระชนม์อยู่ไซร้ ถึงจะประทับอยู่ไกลพันโยชน์ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าให้จงได้ ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ก็เพราะพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของท่านเสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานแล้วเป็นมหาวีรบุรุษ เป็นที่พึ่ง อนึ่ง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้ากับทั้งพระธรรมอันยอดเยี่ยม และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่า
นรชน เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าของดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน จะขอยินดีด้วยภรรยาของตนไม่พูดเท็จและไม่ดื่มน้ำเมา.
พระเถระกล่าวว่า พระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน โคจรไปในท้องฟ้าส่องแสงสว่างไปทั่วทิศฉันใด รถใหญ่ของท่านนี้ก็ฉันนั้น วัดโดยรอบยาวได้ร้อยโยชน์ หุ้มด้วยแผ่นทองคำรอบด้าน งอนรถนั้นวิจิตรด้วยแก้วมุกดา และแก้วมณีลอยจำหลักเป็นรูปดอกไม้ลดาวัลย์ ตระการไปด้วยแก้วไพฑูรย์ อันบุญกรรมตบแต่งแล้ว งามเพริดแพร้วด้วยทองคำและเงิน และปลายงอน รถนี้อันบุญกรรมตบแต่งด้วยแก้วไพฑูรย์ แอกรถวิจิตรไปด้วยแก้วทับทิมสายเชือกล้วนแล้วไปด้วยทองคำและเงิน อนึ่ง ม้าเหล่านี้ฝีเท้าว่องไวดังใจ งามรุ่งเรือง ท่านยืนอยู่บนรถทองดูองอาจ ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ทวยเทพ ผู้ทรงราชรถอันเทียมด้วยม้าอาชาไนยตั้งพันฉะนั้น
อาตมภาพขอถามท่านผู้มียศ ผู้ฉลาด รถอันยิ่งใหญ่นี้ ท่านได้มาอย่างไร?
สุชาตเทพบุตรตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นราชบุตรนามว่า สุชาตกุมารพระคุณเจ้าอนุเคราะห์สั่งสอนข้าพเจ้าให้ตั้งอยู่ในความสำรวม และพระคุณเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าจะสิ้นอายุ ได้ให้พระบรมสารีริกธาตุแก่ข้าพเจ้า โดยกล่าวว่า ดูกรสุชาตราชกุมาร ท่านจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้เถิด พระบรมสารีริกธาตุนี้ จักเป็นประโยชน์แก่ท่าน ข้าพเจ้าได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น ด้วยของหอมและพวงมาลัย ขวนขวายในการทำบุญให้ทาน ละร่างมนุษย์นั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวนนันทวัน
เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ามีหมู่นางเทพอัปสรฟ้อนรำ ขับร้องห้อมล้อม รื่นเริงอยู่ในสวนนันทวันอันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่สกุณชาตินานาชนิด.

:b8: :b8: :b8: เมื่อใครๆ หวังซึ่งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และรูปอันประณีต อย่าพึงมีใจข้องอยู่ในสิ่งอื่น
พึงยังข้าวและน้ำอันตนตบแต่งดีแล้วเป็นอันมาก ให้ตั้งไว้ในพระพุทธเจ้า
เพราะใครๆ ในโลกนี้หรือโลกอื่น จะเป็นผู้ประเสริฐหรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้ามิได้มี
พระตถาคตเจ้านั้น ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่งกว่าบุคคลผู้ควรบูชาทั้งหลายของชนผู้มีความต้องการบุญ แสวงหาผลอันไพบูลย์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2013, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: เรียนถามอะไรคือสวรรค์ในโลกนี้ อะไรคือสวรรค์ต่อเมื่อตายแล้ว แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไร :b10:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2013, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 13:41
โพสต์: 57

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต
เรื่องของสวรรค์ กระผมขออนุญาตไม่ตอบนะครับผม
แต่ผมขอชี้ทางให้ท่าน ไปดูพระไตรปิฎกเล่มที่26 หรือพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 18
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถาค
ถ้าผมตอบไป จะเป็นเหมือนตาบอดคลำช้างที่คลำไปเจอหาง ก็จะตอบว่า
ช้างมันมีรูปร่างเหมือนไม้กวาด อะไรทำนองนี้ ในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 18คงทำให้ท่านกระจ่างได้มากทีเดียวครับ
"กายใจนี้ล้วนยืมมา หาใช่ตน"
สุภาษิตแสดงการพิจารณาสังขาร
เราผู้ชื่อว่ากุลละ ไปที่ป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิงคนหนึ่ง เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
มีหมู่หนอนฟอนกัดอยู่ ดูกรกุลลภิกษุ ท่านจงดูร่างกายอันกระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า มีของโสโครกไหลเข้าไหลออกอยู่
อันหมู่คนพาลพากันชื่นชมนัก เราได้ถือเอาแว่นธรรมแล้ว
ส่องดูร่างกายอันไร้ประโยชน์ ทั้งภายในและภายนอกนี้ สรีระเรานี้ฉันใด
ซากศพนั้นก็ฉันนั้น ซากศพนั้นฉันใด สรีระเรานี้ก็ฉันนั้น
ร่างกายเบื้องต่ำฉันใด ร่างกายเบื้องบนก็ฉันนั้น ร่างกายเบื้องบนฉันใด
ร่างกายเบื้องต่ำก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืน ฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น
ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น
ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่เราผู้มีจิตแน่วแน่
พิจารณาเห็นธรรมแจ่มแจ้งโดยชอบ.
:b8: คาถาสุภาษิตของพระกัปปเถระ
ร่างกายนี้ เต็มไปด้วยของอากูลและของอันเป็นมลทินต่างๆ มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด
เป็นดุจบ่อน้ำครำอันมีมานมนาน เป็นดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่ เต็มไปด้วยหนองและเลือด
เต็มไปด้วยหลุมคูถ มีน้ำไหลออกเป็นนิตย์ มีของเน่าไหลออกทุกเมื่อ
กายอันเปื่อยเน่านี้รัดรึงด้วยเอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทา คือ
เนื้อ หุ้มห่อด้วยเสื้อ คือ หนัง เป็นของหาประโยชน์มิได้
เป็นของสืบต่อเนื่องกันด้วยร่างกระดูก เกี่ยวร้อยด้วยด้าย คือเส้นเอ็น
เปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะยังมีเครื่องประกอบพร้อม
นรชนผู้ยังคลุกคลีอยู่ในกามคุณ เป็นผู้ตระเตรียมไปสู่ความตายเป็นนิตย์
เป็นผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้มัจจุราช จักต้องทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง
กายนี้เองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผูกรัดด้วยเครื่องผูก ๔ ประการ
จมอยู่ในห้วงน้ำ คือ กิเลส ปกคลุมไว้ด้วยข่าย คือ กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
ประกอบแล้วในนีวรณ์ ๕ เพียบพร้อมด้วยวิตก ประกอบด้วยรากเหง้าแห่งภพ คือ ตัณหา
ปกปิดด้วยเครื่องปกปิด คือ โมหะ หมุนไปอยู่ด้วยเครื่องหมุน คือกรรม
ร่างกายนี้ย่อมมีสมบัติกับวิบัติเป็นคู่กัน มีความเป็นต่างๆ กันเป็นธรรมดา
ปุถุชนคนอันธพาลเหล่าใด มายึดถือร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา
ย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ปุถุชนเหล่านั้นย่อมถือเอาภพใหม่อีก
กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด ละเว้นร่างกายอันฉาบทาแล้วด้วยคูถ
ดังบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่ เห็นอสรพิษแล้วหลีกหนีไปฉะนั้น
กุลบุตรเหล่านั้นละอวิชชาอันเป็นรากเหง้าแห่งภพแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะจักปรินิพพาน. :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2013, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: จะลองดูครับ :b12:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2013, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 13:41
โพสต์: 57

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
:b1: จะลองดูครับ :b12:


สุดยอด งั้นรับเอาไปพิจารณาแบบเต็มๆเลยนะครับ

๑. วัลลิยเถรคาถา
สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต

วานรเข้าไปอยู่ในกระท่อมมีประตู ๕ ประตู
พยายามเวียนเข้าออกทางประตูนั้นเนืองๆ
จงหยุดนิ่งนะเจ้าลิง อย่าวิ่งไปดังกาลก่อนเลย
เราจับเจ้าไว้ได้ด้วยปัญญาแล้ว เจ้าจักไปไกลไม่ได้ละ.

๒. อภัยเถรคาถา
สุภาษิตชี้โทษรูปารมณ์

เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็นที่รัก สติก็หลงลืม
ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดีเสวยรูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
ทั้งหลายย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ.
๓. อุตตรเถรคาถา
สุภาษิตชี้โทษของภพ

ได้ยินว่า ท่านพระอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาไว้ ๒ คาถาอย่างนี้ว่า ภพอะไร
ที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและ
เวียนดับไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัด
ตนออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.
๔. มหากาลเถรคาถา
สุภาษิตชี้โทษอุปธิ

หญิงชื่อกาฬี มีร่างกายใหญ่ ดำดังกา หักขาซ้ายขาขวา แขนซ้ายแขนขวา
และทุบศีรษะของซากศพ ให้มันสมองไหลออกดังหม้อทธิแล้ววางไว้
ตามเดิม นั่งอยู่ ผู้ใดแลไม่รู้แจ้งเป็นคนเขลา ก่อให้เกิดกิเลส ผู้นั้น
ย่อมเข้าถึงทุกข์ร่ำไป เพราะฉะนั้น บุคคลรู้ว่าอุปธิเป็นเหตุเกิดทุกข์
จึงไม่ควรก่อกิเลสให้เกิด เราอย่าถูกเขาทุบศีรษะนอนอยู่อย่างนี้อีกต่อไป.
๕. จันทนเถรคาถา
สุภาษิตสอนให้เห็นโทษสังขาร

ภรรยาผู้ปกคลุมด้วยเครื่องประดับล้วนแต่เป็นทอง ห้อมล้อมด้วยหมู่
ทาสี อุ้มบุตรเข้ามาหาเรา ก็เวลาที่เราเห็นภรรยาผู้เป็นมารดาของบุตร
ของเรานั้นตบแต่งร่างกาย นุ่งห่มผ้าใหม่เดินมา เป็นดุจบ่วงมัจจุราชดัก
ไว้ ความทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ก็เกิดขึ้นแก่เรา โทษแห่ง
สังขารทั้งหลายก็เกิดปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งมั่น ลำดับนั้น
จิตของเราหลุดพ้นแล้วจากกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรม
ดีเลิศ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
๕.ราชทัตตเถรคาถา
สุภาษิตสอนให้พิจารณาสังขาร
ภิกษุไปป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิงคนหนึ่งซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า มี
หมู่หนอนฟอนกัดกินอยู่ ก็ธรรมดาคนที่ชอบสวยชอบงามบางพวก ได้
เห็นซากศพอันเป็นของเลวทราม ย่อมเกลียด แต่ความกำหนัดรักใคร่
ย่อมเกิดแก่เขา เขาเป็นเหมือนคนตาบอด เพราะไม่เห็นของไม่สะอาด
ที่ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ในซากศพนั้น ภายในเวลาหม้อข้าวสุกหนึ่ง
เราหลีกออกจากที่นั้น เรามีสติสัมปชัญญะ เข้าไปสู่ที่ควรแห่งหนึ่ง
ทีนั้นการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันชอบจึงเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏ
แก่เรา ความเหนื่อยหน่ายก็ตั้งมั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจาก
กิเลส ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเลิศเถิด เพราะวิชชา ๓ เรา
ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.
๖. กุลลเถรคาถา
สุภาษิตแสดงการพิจารณาสังขาร

เราผู้ชื่อว่ากุลละ ไปที่ป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิงคนหนึ่ง เขาทิ้งไว้
ในป่าช้า มีหมู่หนอนฟอนกัดอยู่ ดูกรกุลลภิกษุ ท่านจงดูร่างกายอัน
กระสับกระส่าย ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า มีของโสโครกไหลเข้า
ไหลออกอยู่ อันหมู่คนพาลพากันชื่นชมนัก เราได้ถือเอาแว่นธรรมแล้ว
ส่องดูร่างกายอันไร้ประโยชน์ ทั้งภายในและภายนอกนี้ สรีระเรานี้
ฉันใด ซากศพนั้นก็ฉันนั้น ซากศพนั้นฉันใด สรีระเรานี้ก็ฉันนั้น
ร่างกายเบื้องต่ำฉันใด ร่างกายเบื้องบนก็ฉันนั้น ร่างกายเบื้องบนฉันใด
ร่างกายเบื้องต่ำก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืน
ฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลัง
ฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ย่อม
ไม่มีแก่เราผู้มีจิตแน่วแน่ พิจารณาเห็นธรรมแจ่มแจ้งโดยชอบ.
๗. สัปปทาสเถรคาถา
สุภาษิตแสดงผลการเห็นโทษสังขาร

นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับความสงบใจ แม้ชั่ว
เวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้ว
ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญเข้าไปสู่ที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศาตรา
มา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขาเสีย
อย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เราได้ฉวยเอามีดโกนขึ้นไปนอน
บนเตียง มีดโกนเล่มนั้นเราสบัดดีแล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้
ขณะนั้น โยนิโสมนสิการก็บังเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความ
เบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความเบื่อหน่ายในสังขารนั้น
จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓
เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
๘. สัพพกามเถรคาถา
สุภาษิตสอนการพิจารณาสังขาร

สัตว์สองเท้านี้เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพต่างๆ
มีของโสโครกไหลออกทั่วกาย ต้องบริหารอยู่เป็นนิตย์ เบญจกามคุณ
อันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่มี
ปรากฏอยู่ในรูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อ
แอบดักเนื้อด้วยเครื่องดัก พรานเบ็ดจับปลาด้วยเบ็ด บุคคลจับวานร
ด้วยเครื่องล่อ ฉะนั้น ปุถุชนเหล่าใด มีจิตกำหนัดเข้าไปส้องเสพหญิง
เหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพ
ใหม่ขึ้นอีก ส่วนผู้ใดงดเว้นหญิงเหล่านั้นเหมือนบุคคลสลัดหัวงูด้วยเท้า
ผู้นั้นเป็นผู้มีสติระงับตัณหาอันซ่านไปในโลกเสียได้ เราเห็นโทษในกาม
ทั้งหลาย เห็นการออกบรรพชาโดยความเกษม สลัดตนจากกามทั้งปวง
แล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ.
๙. กัปปเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระกัปปเถระ

ร่างกายนี้ เต็มไปด้วยของอากูลและของอันเป็นมลทินต่างๆ มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด
เป็นดุจบ่อน้ำครำอันมีมานมนาน เป็นดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่ เต็มไปด้วยหนองและเลือด
เต็มไปด้วยหลุมคูถ มีน้ำไหลออกเป็นนิตย์ มีของเน่าไหลออกทุกเมื่อ
กายอันเปื่อยเน่านี้รัดรึงด้วยเอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทา คือ
เนื้อ หุ้มห่อด้วยเสื้อ คือ หนัง เป็นของหาประโยชน์มิได้
เป็นของสืบต่อเนื่องกันด้วยร่างกระดูก เกี่ยวร้อยด้วยด้าย คือเส้นเอ็น
เปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะยังมีเครื่องประกอบพร้อม
นรชนผู้ยังคลุกคลีอยู่ในกามคุณ เป็นผู้ตระเตรียมไปสู่ความตายเป็นนิตย์
เป็นผู้ตั้งอยู่ในที่ใกล้มัจจุราช จักต้องทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง
กายนี้เองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผูกรัดด้วยเครื่องผูก ๔ ประการ
จมอยู่ในห้วงน้ำ คือ กิเลส ปกคลุมไว้ด้วยข่าย คือ กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
ประกอบแล้วในนีวรณ์ ๕ เพียบพร้อมด้วยวิตก ประกอบด้วยรากเหง้าแห่งภพ คือ ตัณหา
ปกปิดด้วยเครื่องปกปิด คือ โมหะ หมุนไปอยู่ด้วยเครื่องหมุน คือกรรม
ร่างกายนี้ย่อมมีสมบัติกับวิบัติเป็นคู่กัน มีความเป็นต่างๆ กันเป็นธรรมดา
ปุถุชนคนอันธพาลเหล่าใด มายึดถือร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา
ย่อมยังสงสารอันน่ากลัวให้เจริญ ปุถุชนเหล่านั้นย่อมถือเอาภพใหม่อีก
กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด ละเว้นร่างกายอันฉาบทาแล้วด้วยคูถ
ดังบุรุษผู้ประสงค์ความสุขอยากมีชีวิตอยู่ เห็นอสรพิษแล้วหลีกหนีไปฉะนั้น
กุลบุตรเหล่านั้นละอวิชชาอันเป็นรากเหง้าแห่งภพแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะจักปรินิพพาน.

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2013, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เกี่ยวกับสวรรค์แต่เลยไปเป็นนิพพานเลยทีเดียว :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2013, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 13:41
โพสต์: 57

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต
ไม่เกี่ยวกับสวรรค์แต่เลยไปเป็นนิพพานเลยทีเดียว :b8:

.....................................................
"กายใจนี้ล้วนยืมมา หาใช่ตน"
ครับผม นี่คือแก่นที่แท้จริงแห่งอริยวินัยขององค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาครับ
แก่นอันนี้จะหาจากที่อื่นใดไม่มี จะแสวงหาจากคำสอนของศาสดาอื่นไม่ได้อีกแล้วครับ
เราๆอาจจะเคยได้ยิน ได้ฟังมามากมาย ได้เห็น ได้อ่าน มาหลากหลาย
“ไปนิพพานกันหมดแล้ว ใครเล่าจะอยู่ในโลก ใครเล่าจะดูแลโลก ใครเล่าจะปกป้องโลก
ไปนิพพานกันหมดแล้ว ใครเล่าจะนำเหล่าสัตว์ให้หลุดพ้นจากบาป นำเหล่าสัตว์ให้พ้นจากทุกข์
มิหนำซ้ำเหล่ามหาอำนาจจากหลายประเทศ จะทอดทิ้งโลกดวงนี้ โดยเสาะแสวงหาโลกดวงใหม่อีก
เอาเหอะหาให้ได้ หาให้พบ หาให้ครบอีก 999 โลกก็แล้วกัน“
อนิจจา องค์พระบรมมหาศาสดา อุตส่าห์เสียสละกองมหาสมบัติทางโลก
ทอดทิ้ง อำนาจ วาสนา ราชบัลลังก์ ที่เหล่าสัตว์ถวิลหาว่าแสนเลิศประเสริฐสุด
ทอดทิ้งความสะดวกสะบายทั้งหลายทั้งปวง ที่เหล่าสัตว์เสาะแสวงหา จนสุดชีวิต.
อืม ! มิน่าเล่า ที่องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดา จึงได้ยกเอา “สัมมาทิฏฐิ
ขึ้นต้นเป็นอันดับแรก ในบรรดา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาทั้งปวง ในอริยวินัยนี้.
อินเดีย ที่กำเนิดแห่งพุทธศาสนา ครั้งหนึ่งพุทธได้เคยดับลงไปแล้ว แต่กลับสว่างไสวได้อีกครั้ง
ด้วยพุทธประทีปจากประเทศไทยนี่เอง แม้พุทธศาสนิกที่นั่นจะน้อยนิด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด
แต่ก็ยังดีใจ ดีใจที่ความเสียสละอันหาประมาณมิได้ขององค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดานั้น ไม่สูญเปล่า
ดีใจ ที่พุทธศาสนายังคงอยู่ และ ดีใจที่พุทธศาสนยังคงคู่กับโลกใบนี้.
เมฬชินเถรคาถา
สุภาษิตสรรเสริญพระพุทธองค์

เมื่อใด เราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรงแสดงอยู่
เมื่อนั้นเราไม่รู้สึกความสงสัยในพระศาสดาผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้อันใครๆ ชนะไม่ได้
ผู้นำหมู่แกล้วกล้าเป็นอันมาก ประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย
อันว่าความสงสัยในมัคคปฏิปทา ย่อมไม่มีแก่เรา.
เสนกเถรคาถา
สุภาษิตสรรเสริญพระพุทธองค์

การที่เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณมาสนี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ
เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
ผู้แสดงธรรมอันสูงสุด มีพระรัศมีมาก เป็นพระคณาจารย์ ถึงความเป็นผู้เลิศ
เป็นนายกวิเศษของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ชนะมาร
ผู้มีการเห็นหาสิ่งจะเปรียบมิได้ มีอานุภาพมาก เป็นมหาวีรบุรุษผู้รุ่งเรืองใหญ่
ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะทั้งปวง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ไม่มีภัยแต่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงปลดเปลื้องเราผู้มีนามว่าเสนกะ
ผู้เศร้าหมองมาแล้วนาน มีสันดานประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง.
รัก เทอดทูน เคารพบูชา สงสารพระพุทธเจ้าจังเลย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร