วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
choochu เขียน:
จิตอยู่ในร่างกาย แต่อยู่ตรงส่วนไหน
หรือจิตอยู่ไม่เป็นที่ ในร่างกายเรา


จิต เกิดได้ 6 ที่ ในร่างกาย ตามวัตถุ6

แต่เกิดได้ทีละที่เท่านั้น คือไม่มีการเกิดซ้อนกัน

เช่น ขณะจิตเกิดที่ จักขุวัตถุ ขณะนั้น จิตอื่นๆ ไม่มีเลย

ขณะจิตเกิดที่ โสตวัตถุ ขณะนั้น จิตอื่นๆ ไม่มีเลย

คือ จิตเกิดได้ทีละที่ ทีละดวง

แต่ที่ๆ จิตเกิดบ่อยที่สุดคือ หทยวัตถุ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีบางท่านเข้าใจผิดว่า.......ในร่างกายของของเราจิตมีที่อยู่อาศัย
ผมว่าเป็นการเข้าใจผิดอย่างแรงครับ

ลักษณะสามัญตามธรรมชาติของจิตคือ....
จิตมีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ อยู่ ๓ ประการ คือ
๑. อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลง (เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา

๒. ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป)

๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด จะบังคับให้หยุดการเกิดดับก็ไม่ได้

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของจิต เป็นไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นจะบอกว่าจิตมีที่อยู่ที่อาศัย มันจึงผิด ผู้พูดไม่รู้ถึงสามัญลักษณ์ของจิต
แม้กระทั้งภวังคจิต มโนทวารไม่ได้เป็นที่อยู่อาศัยของจิต เป็นเพียงเหตุปัจจัย
ให้จิตเกิด ตั้งอยู่และดับไป ในลักษณะมีจิตดวงใหม่มาสืบต่อ(สันตติ)

การมองไม่เห็นสันตติ เลยทำให้เข้าใจว่า.....จิตดวงเดิมยังคงอยู่ และคิดไปว่า
จิตดวงเดิมอาศัยอยู่ณ.ที่ตรงนั้นที่แท้แล้วจิตเกิดดับไปตั้งมากมาย ไม่มีจิตเดิมแล้ว :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตมันจะเกิดดับก็เรื่องของมัน แต่ไอ้ที่มาผสมกับจิตนี่สิต้องแยกออกจากจิตให้ได้ พระอรหันต์สามารถแยกองค์ประกอบของเจตสิกที่เกิดขึ้นได้ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


คุนน้องเคยสงสัยมีครั้งนึง คุนน้องเล่นเกมส์ไอแพทเป็นเกมส์ใช้ความไวของประสาทตา(ใช้สติและสมาธิในการเล่นไม่ได้ใช้ความคิด)คุนน้องสามารถคุยโต้ตอบกับคนในร้านได้ซึ่งใช้ประสาทหูได้ยินเสียง ซึ่งคุนน้องสามารถแยกประสาทตากับหูออกจากกันได้ขณะที่ตาก็เล่นเกมส์ หูได้ยินเรื่องต่างๆ เค้าถามมาก็ตอบไป เลยคิดว่าจิตเกิดทางเกิดทางไหนก่อนกันแน่ตากับหูคือมันเกิดรวดเร็วจนคิดว่ามันเกิดพร้อมกันหลายๆดวง :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสริมคำตอบ คุณ SOAMUSA กับ ลุงหมาน คืนวันข้างหน้าจะเป็นคู่สนทนากับพี่โฮเด้งแทนกรัชกาย


กายกับใจอาศัยกันและกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นชีวิตไม่เต็มร้อย (กรณีพิการกาย) หรือ ถึงไม่เป็นชีวิต (กรณีตาย)


ในคนปกติ จิตจะอาศัย - จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท เกิด (ยกเว้นปลายเล็บ กับปลายเส้นผม เพราะไม่มีปสาท) ก็จริง แต่จิต (วิญญาณ) ลดจำนวนที่เกิดได้ ตัวอย่าง เช่น คนตาบอด (จักขุปสาทเสีย) จักขุวิญญาณก็ไม่มีที่อาศัยเกิด ก็เกิดไม่ได้ ก็ลดลงไป ฯลฯ คนที่เป็นอัมมะพาต (กายปสาทเสีย) เอาเข็มทิ่มๆแทงๆก็ไม่รู้สึกไม่เจ็บ กายวิญญาณก็ไม่มีที่อาศัยเกิด ก็เกิดไม่ได้เหมือนกัน (ตัดออกไป)

มองกลับด้านบ้าง ในคนวิกลจริต จักขุปสาท เป็นต้น ยังดีเรียบร้อยทุกอย่าง จิตเท่านั้นที่วิกลไป จักขุปสาท เป็นต้น ก็เหมือนด้อยสามารถขาดคุณภาพ หรือในรายเสพสารเสพติดจนหูตาพร่าพรายประสาทหลอน เห็นเดือนหงายกลายเป็นเดือนคว่ำ ฯลฯ

ทูรํ คมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ

ผู้ใด จักสำรวมจิต ที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายนี้เป็นที่อาศัย
ผู้นั้น จักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อถกเถียงกันเรื่องจิตเรื่องร่างกาย (เรียกรวมว่าชีวิต) แล้ว ก็ไม่พึงยึดมั่นจิต (ความคิด) ว่า เป็นเรา เป็นนาย ก. นาง ข. ไปอีกก็แล้วกัน (พูดในแง่ปรมัตถ์) มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คืนวันข้างหน้าจะเป็นคู่สนทนากับพี่โฮเด้งแทนกรัชกาย

พี่กรัชกายจะเลิกเป็นคู่สนทนากับพี่โฮเด้งแล้วหรือค่ะ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: คัมภีร์อรรถกถา กล่าวว่า หัวใจเป็นที่ตั้งของการกระทำทางจิต

:b44: ในคัมภีร์มหาปัฏฐานซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมปิฎก ได้กล่าวถึงที่อาศัยของมโนวิญญาณ
โดยมิได้เจาะจงอวัยวะในร่างกายว่า " จิตอาศัยรูปใดย่อมเกิดขึ้น รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่จิตโดย
ความเป็นที่อาศัย " จึงอาจสรุปว่า ที่อาศัยของมโนวิญญาณ อาจเป็นอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นหัวใจหรือศีรษะก็ได้(สมอง) สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์จะให้หัวใจเป็นที่ตั้งของจิต
ก็อาจกำหนดให้หัวสมองเป็นที่ตั้งของจิตก็ได้


จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท เหตุผลแห่งวัฏสงสาร วัดท่ามะโอ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


choochu เขียน:
จิตอยู่ในร่างกาย แต่อยู่ตรงส่วนไหน
หรือจิตอยู่ไม่เป็นที่ ในร่างกายเรา


จิต เป็นนามธรรม จิต คือขันธ์ ไม่ใช่อวัยวะของร่างกาย

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b44: ในคัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎกได้อุปมาการทำงานของจิตไว้ว่า
เปรียบเหมือนแมงมุมชักใยไว้ดักแมลงแล้วมอบคอยอยู่ตรงกลาง เมื่อมีแมลงบินมาติดใย
แมงมุมก็จะวิ่งไปกินเหยื่อ แล้วก็กลับมาหมอบที่กลางข่ายใยตามเดิม ภวังคจิตหรือมโนวิญญาณ
ก็จะเช่นกัน มีหัวใจเป็นที่อยู่ที่อาศัยและมีโลหิตที่หัวใจสูบฉีดไปตามเส้นโลหิตทั่วร่างกายเป็นเครือข่าย
เมื่อรูปารมณ์มากระทบประสาทตา ก็ทำให้ภวังคจิตที่อยู่ในหัวใจเคลื่อนไหว เปลี่ยนเป็นจักขุวิญญาณ
เป็นต้นในจักขุทวารวิถี (วิถีทางจักขุทวาร) เมื่อวิถีจิตดับลงก็กลับสู่ภวังค์ใหม่อีก สำหรับสัททารมณ์
กับโสตปสาทรูป และคันธรมณ์กับฆานปสาทรูป เป็นต้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

:b48: ด้วยเหตุดังกล่าว ภวังคจิตจึงทำหน้าที่คิดและรู้ เป็นที่ตั้งของการทำงานทางจิตของคนเรา
เมื่อมีรูปารมณ์มากระทบจักขุปสาทรูป จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยตาเป็นที่ตั้ง จากนั้น
มโนวิญญาณก็เกิดขึ้นพิจารณารูปารมณ์ ส่วนโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ และชิวหาวิญญาณ
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยมีหู จมูก และลิ้นเป็นที่ตั้ง สำหรับกายวิญญาณนั้น มีขอบเขต
กว้างขวาง เพราะมีร่างกายทั้งหมดเป็นที่ตั้ง

:b53: ในขณะที่ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏชัด มโนวิญญาณจะเกิดขึ้นทำหน้าที่คิดนึกเรื่องราวต่างๆ
บางครั้งจึงเพลินอยู่กับความคิดจนกระทั่งไม่รับรู้อารมณ์อื่น การหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องสำคัญอาจทำให้
ถึงกับนอนไม่หลับได้ เพราะถูกครอบงำด้วยความคิดที่ผุดขึ้นมา เรื่องแล้วเรื่องเล่า โดยมีภวังคจิต
อาวัชชนจิต และธรรมารมณ์เป็นปัจจัยปรุงแต่ง แต่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่เจริญสติระลึกรู้สภาวธรรม
การคิดในทุกขณะที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าความคิดนั้นก็มีการเกิดดับเป็นช่วงๆ เช่นกัน


:b8: :b8: :b8:


smiley smiley smiley


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 03 ม.ค. 2013, 20:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 19:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
choochu เขียน:
สงสัย ปัญญา ผมยังน้อยอยู่เลยยังไม่ค่อนเข้าใจที่หลายๆท่านอธิบาย s002

ผมจะค่อยๆลองศึกษาต่อไปเรื่อยๆครับ :b8:



นี่แหล่ะค่ะ คิดแบบนี้คือผู้ที่จะมีปัญญาในอนาคต หากสนใจศึกษาอย่างจริงจัง
เพราะพระธรรมเป็นเรื่องละเอียด

tongue ต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ไม่ได้ใส่ที่มาของธรรมะที่นำมาแสดง

นำมาจากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท เหตุผลแห่งวัฏสงสาร
ผู้รจนาหนังสือนี้คือ
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) วัดท่ามะโอ
พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง
พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A.,Ph.D.)

พระอภิธรรม นั้นมีองค์ธรรมกำกับ หากไม่เข้าใจว่าองค์ธรรมของคำนั้นคืออะไร
หรือว่าคำนั้นเป็นองค์ธรรมของอะไร และหากตีความไม่ได้ ก็จะไม่เข้าใจค่ะ


smiley smiley smiley

ก็ยังว่า ... อ่านแล้วรู้สึกได้ถึง กระแสจิตที่ละเอียด ของผู้กล่าว

อ่านตอนแรก คิดว่าเป็นสิ่งที่คุณถ่ายทอดออกมา
เอกอนก็ประมาณไว้ในใจแล้ว ท่านนี้ภูมิธรรมสูง

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
หทยรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ นิสฺสย ลกฺขณํ มีการให้มโนธาตุ และมโน- วิญญาณธาตุได้อาศัยเกิด เป็นลักษณะ
ตาสญฺเญว ธาตูนํ อธารน รสํ มีการทรงไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นกิจ
ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการ
ภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว
ต่าง ๆ ได้เลย ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า หทยรูป

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2013, 01:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 23:55
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต ไม่ใช่เจตสิก รูป นิพพาน

จิตไม่ได้อยู่ตรงไหนของร่างกาย แต่อยู่ตรงที่ที่ไม่มีร่างกาย

หากจิตถอดร่างได้ ก็จะรู้ว่า จิตอยู่ส่วนไหนของร่างกาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2013, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
อ้างคำพูด:
คืนวันข้างหน้าจะเป็นคู่สนทนากับพี่โฮเด้งแทนกรัชกาย

พี่กรัชกายจะเลิกเป็นคู่สนทนากับพี่โฮเด้งแล้วหรือค่ะ s006



สารเสพติด เมื่อผู้เสพๆจนติดแล้วคิดจะเลิกมิใช่เลิกง่ายๆ หากคิดจะเลิกเพราะเห็นโทษของมัน ก็ต้องค่อยๆลดจำนวนเสพลง + กับจิตใจที่เข้มแข็งมุ่งมั่นตายเป็นตาย ฉันต้องเลิกให้ได้ ฉันใด

ก็ฉันนั้นพี่กุ้งไม่หักดิบเลิกมันทรมานลงแดงได้ เหลือไว้ตอนหาวเรอบ้าง :b1:

แต่ดูกระทู้นี้ดูเหมือนไฟอ่อนแล้ว :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2013, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ eragon_joe
tongue

ดิฉันชื่อโสมอุษา ค่ะ และคิดว่าหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ที่ตนเองมีอยู่นี้ บางช่วงบางตอน
สามารถเข้าใจได้แบบแจ่มชัดในช่วงย่อหน้านั้นๆ จึงนำมาทำกระทู้ หรือ โพสท์ในบางกระทู้
เพื่อให้ทุกท่านที่อ่านได้เข้าใจด้วยค่ะ

ยังไม่มีความสามารถในการเขียนเองค่ะ แต่ก็สามารถอ่านให้เข้าใจได้บ้าง
จึงคิดว่า น่าจะให้ผู้อื่นได้เข้าใจด้วยบ้าง จึงได้นำมาพิมพ์ให้ทุกท่านที่สนใจได้อ่านกันค่ะ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 89 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron