ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ร่วม “สวดทิพยมนต์ข้ามปี” ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ วัดอโศการาม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44079
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 16 ธ.ค. 2012, 11:36 ]
หัวข้อกระทู้:  ร่วม “สวดทิพยมนต์ข้ามปี” ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ วัดอโศการาม

รูปภาพ

วัดอโศการาม
เลขที่ ๑๓๖ หมู่ที่ ๒ ซ.สุขาภิบาล ๕๘
ถ.สุขุมวิท (กม. ๓๑)
บ้านนาแม่ขาว ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

:b8: ...ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน

ร่วม “สวดทิพยมนต์ข้ามปี”

ในคืนวันสิ้นปี วันจันทร์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
เวลา ๒๓.๐๐ น. ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม



• แผนที่วัดอโศการาม •
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2002

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 16 ธ.ค. 2012, 12:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ร่วม “สวดทิพยมนต์ข้ามปี” ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ วัดอโศการาม

บทสวดทิพยมนต์ (สวดธาตุ)
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)

พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.

ทุติยัมปิ พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะติยัมปิ พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.

๑. วาโย จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

๒. วาโย จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง, ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ

๓. วาโย จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง, สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

๔. ธาตุปะริสุทธานุภาเวนะ, สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วิมุจจันติ, อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง สัพพะธิ สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตัง โลกัง, เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขาสะหะคะเตนะ เจตะสา, จะตุททิสัง ผะริต๎วา วิหะระติ. สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติ, นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, มะนุสสานัง ปิโย โหติ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ, เทวะตา รักขันติ, นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ, มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ, อะสัมมุฬ๎โห กาลัง กะโรติ, อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พ๎รัห๎มะโลกูปะโค โหติ. อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง อะเวรัง อะเวรา สุขะชีวิโน, กะตัง ปุญญะผะลัง มัย๎หัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต, ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา, สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ, โสตถี โหนตุ นิรันตะรัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะวะคะวา นะมามิหัง ฯ

รอบที่ ๑ หมวดธาตุหก :
(วาโย จะ), เตโช จะ, อาโป จะ, ปะฐะวี จะ, อากาสา จะ. วิญญาณัญ จะ.

รอบที่ ๒ หมวดขันธ์ห้า :
รูปัญ จะ, เวทะนา จะ, สัญญา จะ, สังขารา จะ, วิญญาณัญ จะ.

รอบที่ ๓ หมวดอายตนะ สิบสอง :
จักขุ จะ, โสตัญ จะ, ฆานัญ จะ, ชิวหา จะ, กาโย จะ, มะโน จะ.

รอบที่ ๔ หมวดอายตนะ สิบสอง :
รูปัญ จะ, สัทโท จะ, คันโธ จะ, ระโส จะ, โผฏฐัพพา จะ, ธัมมารัมมะณัญ จะ.

รอบที่ ๕ หมวดอาการสามสิบสอง :
เกสา จะ, โลมา จะ, นะขา จะ, ทันตา จะ, ตะโจ จะ, มังสัญ จะ.

รอบที่ ๖ หมวดอาการสามสิบสอง :
นะหารู จะ, อัฏฐี จะ, อัฏฐิมิญชัญ จะ, วักกัญ จะ, หะทะยัญ จะ, ยะกะนัญ จะ.

รอบที่ ๗ หมวดอาการสามสิบสอง :
กิโลมะกัญ จะ, ปิหะกัญ จะ, ปัปผาสัญ จะ, อันตัญ จะ, อันตะคุณัญ จะ, อุทะริยัญ จะ.

รอบที่ ๘ หมวดอาการสามสิบสอง :
กะรีสัญ จะ, มัตถะเก มัตถะลุงคัญ จะ, ปิตตัญ จะ, เสมหัญ จะ, ปุพโพ จะ, โลหิตัญ จะ, เสโท จะ.

รอบที่ ๙ หมวดอาการสามสิบสอง :
เมโท จะ, อัสสุ จะ, วะสา จะ, เขโฬ จะ, สิงฆานิกา จะ, ละสิกา จะ, มุตตัญ จะ.



วิธีการสวดจะเริ่มจาก...ตั้งนะโม ๓ จบ
และสวดมาจนจบที่วรรค
“...อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะวะคะวา นะมามิหัง ฯ”
จากนั้นก็จะสวดซ้ำที่วรรค ที่มีหมายเลข ๑ จนถึงหมายเลข ๔
ไล่มาจนจบที่วรรคสุดท้ายอย่างที่กล่าวไป
เพียงแต่ให้เปลี่ยนจากที่ขึ้นต้นจากคำว่า “วาโย จะ” (ธาตุลม)
เป็นขึ้นต้นมาเป็นคำว่า “เตโช จะ” (ธาตุไฟ)
แล้วสวดตามบทสวดที่แสดง ไล่เรียงไปจนถึง
“วิญญาญัญ จะ” (วิญญานธาตุ) เป็นอันจบรอบที่ ๑ (สวดธาตุ ๖)

และสวดเปลี่ยนคำขึ้นต้นอย่างนี้ไปจนจบรอบที่ ๙
จะเรียกว่า สวดทิพย์มนต์แบบ ๙ จบ หรือสวดยาว
หรือท่านอาจเลือกสวดเฉพาะรอบที่ ๑ คือสวดธาตุ ๖ เท่านั้น
แล้วสวดรวบทีละรอบในส่วนรอบที่เหลือ ก็สามารถทำได้ตามกำลังของผู้สวด

:b44: :b42: :b42: :b42: :b44:

ในสมัยหนึ่งที่พระสมณโคดมพระพุทธเจ้า‎
เสวยพระชาติเป็นพระฤาษีอยู่ในป่า
ท่านได้สวดบททิพยมนต์เป็นประจำทุกวัน

มีสิ่งน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นคือ บรรดาสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่านั้น
เมื่อได้เข้ามาสู่บริเวณที่พำนักของพระฤาษี
สัตว์ทั้งหลาย อาทิเช่น ช้างป่า เสือ หมี เก้ง กวาง เหล่านี้
จะกลายเป็นมิตรกันทันที ไม่มีการไล่ล่าทำลายกัน
สัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ต่างก็พากันเป็นมิตรต่อกัน
ด้วยอานุภาพแห่งทิพยมนต์ที่แผ่ออกไปทุกวัน
ในเขตที่พระฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
ได้เดินทางจากป่ามาสู่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก
ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
ซึ่งบททิพยมนต์นั่นเอง ท่านพ่อลีเป็นผู้ค้นพบจากพระไตรปิฎก
ท่านนำมาศึกษา และนำมาให้พระ เณร แม่ชี
ที่วัดอโศกรามสวดกัน หลังจากทำวัตรเช้า-วัตรเย็นทุกวัน

การสวดทิพยมนต์เพื่อสิริมงคลแก่ผู้สวด เพื่อให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ
เพื่อส่งกุศลให้ผู้ป่วยให้ทุเลาจากอาการเจ็บป่วย
หรือสวดส่งกุศลให้หลวงปู่-ครูบาอาจารย์ที่มีอายุมากให้มีพละกำลัง
หรือสวดเพื่อบรรเทาเวทนา หรือสืบชะตาต่ออายุ


:b8: http://www.watasokaram.com

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/