วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 09:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2012, 23:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ทำดี ให้ผลดี มีสุข

ทำชั่ว ให้ผลชั่ว มีทุกข์

การไปนิพพานคือการอยู่เหนือดีเหนือชั่ว ไม่ใช่ไม่ทำดีทำชั่ว

คือ

ไม่ทำชั่ว เพื่อไม่ให้ได้รับผลเป็นทุกข์

ทำดีให้เป็นสุข ในโลก

แต่จิตขาวสะอาดเหนือดีเหนือชั่ว เห็นสมมุติมายา แห่งโลก ว่างจากความเปลี่ยนแปลง สันติสุข

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ



รอ รอพี่โฮฮับหน่อยน้อง แล้วที่ งงๆ อยู่นั่นจะค่อยๆคลายกลายเป็นความเข้าใจแจ่มแจ้งในไม่ช้ารอหน่อยนะครับนะ :b1: เดี๋ยวมา :b4:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 11:26
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ


****ถูกต้องครับ ทำดีได้รับผลดี ทำไม่ดี ก็ต้องได้รับผลที่ไม่ดี...ถ้าทำกรรมดี ก็ได้รับผลของกรรมดี
ถ้าทำกรรมไม่ดี ก็ต้องได้รับผลของกรรมไม่ดี..
แต่ถ้าต้องการไปนิพพาน นั่นคือ ทำกรรมประเภทนี้ครับ

ดูพระสูตรนี้...

ภิกษุ ท. ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาว ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่
ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน. ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน. ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)

ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, ดังเช่น
พวกสัตว์นรก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ.
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน,
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)
ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับ

ด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว,
ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้ง
ขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง
(ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง;
ผัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึง
โลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับ

ด้วยความเบียดเบียนบ้าง; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อัน
เป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน, ดังเช่น พวกมนุษย์
พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มี
วิบากทั้งดำทั้งขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่
ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบาก
ไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗.

***การไปนิพพานคือ การที่ทำกรรม ไม่ดำ ไม่ขาว...

.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 10:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ


ต้องทำดีครับ...ถึง..จะนิพพานได้

เพราะ..นิพพาน...ต้องพ้นที่แดนความดี...ไม่ใช่พ้นที่แดนความชั่วหรือแดนอบายภูมิ..ครับ

อย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า...พระพุทธเจ้าทุกพระองค์สอนอย่างเดียวกันว่า..

ให้ละความชั่วทุกอย่าง
ทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม
ทำจิตให้ขาวรอบ...

ครับ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ

รอ รอพี่โฮฮับหน่อยน้อง แล้วที่ งงๆ อยู่นั่นจะค่อยๆคลายกลายเป็นความเข้าใจแจ่มแจ้งในไม่ช้ารอหน่อยนะครับนะ :b1: เดี๋ยวมา :b4:

ฟังนะน้องๆทั้งหลาย เรื่องทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะ
ประกาศศาสนาเสียอีก

บางคนทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ พระพุทธองค์ทรงบอกว่า กรรมดีมันมีกำหนดเวลา
พอหมดเวลามันก็กลับมาเหมือนเดิม จากเทวดามันก็ต้องมาเป็นสัตว์โลกอีก
พระพุทธองค์จึงไม่ให้ทำดีเพียงเพื่อเหตุนี้

ยังมีนอกเหนือจากนั้นคือ บางคนไม่เชื่อในเรื่องกรรมดี กรรมชั่ว ไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์
คนๆนั้นจึงกล้าทำเรื่องที่ผิดศีลธรรม อีกหน่อยต้องตกนรก ท่านจึงไม่ให้ทำชั่ว
ความเชื่อของคนแบบนี้มันเข้าใจผิด ที่ว่ากรรมดีกรรมชั่วไม่มีจริง

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรา รู้ว่าการกระทำทั้งสองอย่างเป็นอย่างไร
พระองค์สอนให้รู้ แต่ไม่ให้ทำอย่างนั้น

นี่แหล่ะเป็นที่มาของ......ไม่ทำดีและชั่ว

คำสอนหรือความเห็นนี่ เหมาะสำหรับใช้สอนเด็กประถม หรือเณรที่บวชภาคฤดูร้อน
ถ้าจะให้ได้ใจความมากกว่านี้ รอให้โตให้สมองขยายใหญ่พอที่จะรับคำสอนของพี่โฮก่อน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 13:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ

รอ รอพี่โฮฮับหน่อยน้อง แล้วที่ งงๆ อยู่นั่นจะค่อยๆคลายกลายเป็นความเข้าใจแจ่มแจ้งในไม่ช้ารอหน่อยนะครับนะ :b1: เดี๋ยวมา :b4:

ฟังนะน้องๆทั้งหลาย เรื่องทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะ
ประกาศศาสนาเสียอีก

บางคนทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ พระพุทธองค์ทรงบอกว่า กรรมดีมันมีกำหนดเวลา
พอหมดเวลามันก็กลับมาเหมือนเดิม จากเทวดามันก็ต้องมาเป็นสัตว์โลกอีก
พระพุทธองค์จึงไม่ให้ทำดีเพียงเพื่อเหตุนี้

ยังมีนอกเหนือจากนั้นคือ บางคนไม่เชื่อในเรื่องกรรมดี กรรมชั่ว ไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์
คนๆนั้นจึงกล้าทำเรื่องที่ผิดศีลธรรม อีกหน่อยต้องตกนรก ท่านจึงไม่ให้ทำชั่ว
ความเชื่อของคนแบบนี้มันเข้าใจผิด ที่ว่ากรรมดีกรรมชั่วไม่มีจริง

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรา รู้ว่าการกระทำทั้งสองอย่างเป็นอย่างไร
พระองค์สอนให้รู้ แต่ไม่ให้ทำอย่างนั้น

นี่แหล่ะเป็นที่มาของ......ไม่ทำดีและชั่ว

คำสอนหรือความเห็นนี่ เหมาะสำหรับใช้สอนเด็กประถม หรือเณรที่บวชภาคฤดูร้อน
ถ้าจะให้ได้ใจความมากกว่านี้ รอให้โตให้สมองขยายใหญ่พอที่จะรับคำสอนของพี่โฮก่อน :b32:



สรุปว่าเราไม่ต้องทำบุญ ใช่ไหมครับ แต่ให้มาเจริญวิปัสสนา แค่นั้นรึเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 13:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ


****ถูกต้องครับ ทำดีได้รับผลดี ทำไม่ดี ก็ต้องได้รับผลที่ไม่ดี...ถ้าทำกรรมดี ก็ได้รับผลของกรรมดี
ถ้าทำกรรมไม่ดี ก็ต้องได้รับผลของกรรมไม่ดี..
แต่ถ้าต้องการไปนิพพาน นั่นคือ ทำกรรมประเภทนี้ครับ

ดูพระสูตรนี้...

ภิกษุ ท. ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำ
ทั้งขาว ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่
ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน. ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน. ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)

ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, ดังเช่น
พวกสัตว์นรก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ.
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน,
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)
ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับ

ด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว,
ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้ง
ขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง
(ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง;
ผัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึง
โลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับ

ด้วยความเบียดเบียนบ้าง; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อัน
เป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน, ดังเช่น พวกมนุษย์
พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มี
วิบากทั้งดำทั้งขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่
ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบาก
ไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗.

***การไปนิพพานคือ การที่ทำกรรม ไม่ดำ ไม่ขาว...


พอจะหาความหมายของมรรค ได้ที่ไหน อยากอ่านแบบละเอียดๆ ยังไม่ค่อยเค้าใจความหมายบางอัน มันดูใกล้เคียงกันจังครับ ความระลึก กับ ดำริ มันยังไงไม่เข้าใจอะครับ ผมคงต้องศึกษาอีกหลายอย่างเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ

รอ รอพี่โฮฮับหน่อยน้อง แล้วที่ งงๆ อยู่นั่นจะค่อยๆคลายกลายเป็นความเข้าใจแจ่มแจ้งในไม่ช้ารอหน่อยนะครับนะ :b1: เดี๋ยวมา :b4:

ฟังนะน้องๆทั้งหลาย เรื่องทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะ
ประกาศศาสนาเสียอีก

บางคนทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ พระพุทธองค์ทรงบอกว่า กรรมดีมันมีกำหนดเวลา
พอหมดเวลามันก็กลับมาเหมือนเดิม จากเทวดามันก็ต้องมาเป็นสัตว์โลกอีก
พระพุทธองค์จึงไม่ให้ทำดีเพียงเพื่อเหตุนี้

ยังมีนอกเหนือจากนั้นคือ บางคนไม่เชื่อในเรื่องกรรมดี กรรมชั่ว ไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์
คนๆนั้นจึงกล้าทำเรื่องที่ผิดศีลธรรม อีกหน่อยต้องตกนรก ท่านจึงไม่ให้ทำชั่ว
ความเชื่อของคนแบบนี้มันเข้าใจผิด ที่ว่ากรรมดีกรรมชั่วไม่มีจริง

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรา รู้ว่าการกระทำทั้งสองอย่างเป็นอย่างไร
พระองค์สอนให้รู้ แต่ไม่ให้ทำอย่างนั้น

นี่แหล่ะเป็นที่มาของ......ไม่ทำดีและชั่ว

คำสอนหรือความเห็นนี่ เหมาะสำหรับใช้สอนเด็กประถม หรือเณรที่บวชภาคฤดูร้อน
ถ้าจะให้ได้ใจความมากกว่านี้ รอให้โตให้สมองขยายใหญ่พอที่จะรับคำสอนของพี่โฮก่อน



คำสอนหรือความเห็นนี่ เหมาะสำหรับใช้สอนเด็กประถม หรือเณรที่บวชภาคฤดูร้อน
ถ้าจะให้ได้ใจความมากกว่านี้ รอให้โตให้สมองขยายใหญ่พอที่จะรับคำสอนของพี่โฮก่อน


เห็นมั้ยล่ะน้องๆ เห็นความอลังการคำสอนพี่โฮยังว่า ผู้จะรับคำสอนพี่โฮเขาได้นั้นสมองจะต้องบิ๊กซีขยายเต็มที่แล้วสมอง เจ็ด/สิบเอ็ดรับไม่ได้คับแคบไป คิกๆ :b14:

ถ้าสมองงี้เสร็จเลยว่างั้น

http://www.youtube.com/watch?v=PhQWHz_d ... r_embedded

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 15:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รบกวน คุณ โฮฮับ สอนเพิ่มเติ่มได้เลยครับ :b34: เอาค้อนตีหัวตัวเองแล้ว คาดว่าสมองคงจะบวมใหญ่ขึ้น :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2012, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




so555.gif
so555.gif [ 4.35 KiB | เปิดดู 5935 ครั้ง ]
ประมาณตี 4 ตี 5 พี่โฮจะลุกขึ้นเดินงัวเงียๆ มาเปิดคอมฯ แล้วก็แถประมาณว่า ...สมองซึ่งถูกตีจนบวมขยายใหญ่นั้นยังรับคำสอนไม่ได้ จะต้องรอให้ยุบก่อนแล้วขยายโตขึ้นเองตามธรรมชาติจึงรองรับคำสอนอันล้ำลึกเขาได้ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2012, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
รบกวน คุณ โฮฮับ สอนเพิ่มเติ่มได้เลยครับ :b34: เอาค้อนตีหัวตัวเองแล้ว คาดว่าสมองคงจะบวมใหญ่ขึ้น :b8:

กรัชกาย เขียน:
ประมาณตี 4 ตี 5 พี่โฮจะลุกขึ้นเดินงัวเงียๆ มาเปิดคอมฯ แล้วก็แถประมาณว่า ...สมองซึ่งถูกตีจนบวมขยายใหญ่นั้นยังรับคำสอนไม่ได้ จะต้องรอให้ยุบก่อนแล้วขยายโตขึ้นเองตามธรรมชาติจึงรองรับคำสอนอันล้ำลึกเขาได้ :b13:

กรัชกาย แอนด์ ชู่ชิวๆ การทุบหัวตัวเองนั้นไม่ทำให้สมองโตไปได้
ธรรมชาติของหัวของคน ใครสมองเล็กย่อมมีกระโหลกที่หนา
การเอาอะไรมาทุบหัวตัวเอง มันไม่ส่งผลถึงสมอง แต่มันกระทบกับกระโหลก
ที่คิดว่าสมองจะบวมมันผิดคลาด เพราะสิ่งที่จะบวมกลับเป็นกระโหลกแทน

เมื่อกระโหลกบวมก็ย่อมต้องขยายใหญ่ เมื่อกระโหลกใหญ่ การรับรู้ของสมอง
ย่อมลำบากยิ่งขึ้น มิหน่ำซ้ำจะถูกชาวบ้านล้อเลียนได้ว่า...ไอ้หัวแตงโม สมองถั่วเขียว :b32:

พี่โฮพิจารณาดูแล้วว่า การที่น้องชู่ชิวๆ ถึงจะมีสมองเป็นเม็ดถั่วเขียวย่อมดีกว่าสมองของ
นายกรัชกาย เพราะสมองของนายกรัชกายไม่ใช่ถั่วเขียว แต่เป็นเม็ดกรวดเล็กๆ
เม็ดถั่วเขียวย่อมดีกว่าเม็ดกรวด ถ้าเราหมั่นรดน้ำเม็ดถั่วเขียวก็จะกลายเป็นถั่วงอก
ส่วนเม็ดกรวดรดให้ตายก็ยังเป็นเม็ดกรวด :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2012, 02:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
สรุปว่าเราไม่ต้องทำบุญ ใช่ไหมครับ แต่ให้มาเจริญวิปัสสนา แค่นั้นรึเปล่าครับ


มันไม่ได้ไปตีความหมายแบบนั้น เรื่องการทำบุญนั้นน่ะ ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้
พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการทำใจให้เป็นกุศล ถ้าใจเราเป็นกุศลแล้ว การกระทำย่อมไม่
เป็นปัญหา คุณอาจไม่เข้าใจเรื่องทำใจให้เป็นกุศล

การกระทำด้วยใจที่เป็นกุศล บางครั้งคนอื่นเขามองไม่ออก อาจมองการกระทำ
ของเราไปในทางชั่วทางไม่ดีก็ได้ อย่างเช่นโจรถูกตำรวจยิง มาขอความช่วยเหลือกับหมอ
หมอก็รู้ว่าเป็นโจร แต่ก็ช่วยรักษา แบบนี้เขาเรียกใจเป็นกุศลไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่การกระทำ
ดูแล้วอาจเป็นไปในทางไม่ดี เราจะตัดสินความดีชั่วด้วยการมองแต่การกระทำไม่ได้

ดังนั้นการกระทำของหมอในลักษณะนี้เรียกว่า ไม่ทำดี ไม่ทำชั่ว
ไม่ทำดี ไม่ทำชั่ว ไม่ได้มีความหมายว่า ไม่ทำอะไรเลย
การกระทำ ไม่ทำดี ไม่ทำชั่ว คือการกระทำ ที่ไม่ต้องไปคำนึ่งว่า ชาวบ้านจะมองไปในทางไหน
ขอเพียงแต่การกระทำนั้น ทำด้วยใจที่เป็นกุศลก็พอ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2012, 07:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
choochu เขียน:
สรุปว่าเราไม่ต้องทำบุญ ใช่ไหมครับ แต่ให้มาเจริญวิปัสสนา แค่นั้นรึเปล่าครับ


มันไม่ได้ไปตีความหมายแบบนั้น เรื่องการทำบุญนั้นน่ะ ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้
พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการทำใจให้เป็นกุศล ถ้าใจเราเป็นกุศลแล้ว การกระทำย่อมไม่
เป็นปัญหา คุณอาจไม่เข้าใจเรื่องทำใจให้เป็นกุศล

การกระทำด้วยใจที่เป็นกุศล บางครั้งคนอื่นเขามองไม่ออก อาจมองการกระทำ
ของเราไปในทางชั่วทางไม่ดีก็ได้ อย่างเช่นโจรถูกตำรวจยิง มาขอความช่วยเหลือกับหมอ
หมอก็รู้ว่าเป็นโจร แต่ก็ช่วยรักษา แบบนี้เขาเรียกใจเป็นกุศลไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่การกระทำ
ดูแล้วอาจเป็นไปในทางไม่ดี เราจะตัดสินความดีชั่วด้วยการมองแต่การกระทำไม่ได้

ดังนั้นการกระทำของหมอในลักษณะนี้เรียกว่า ไม่ทำดี ไม่ทำชั่ว
ไม่ทำดี ไม่ทำชั่ว ไม่ได้มีความหมายว่า ไม่ทำอะไรเลย
การกระทำ ไม่ทำดี ไม่ทำชั่ว คือการกระทำ ที่ไม่ต้องไปคำนึ่งว่า ชาวบ้านจะมองไปในทางไหน
ขอเพียงแต่การกระทำนั้น ทำด้วยใจที่เป็นกุศลก็พอ
:b13:



ทำด้วยใจที่เป็นกุศล คือ การทำดีรึเปล่าครับ เพราะถ้าหมอช่วยโจร ผมว่าเป็นการสร้างกรรมดี
เมื่อสร้างกรรมดี หมอย่อมต้องได้รับผลกรรม หมออาจได้รับการช่วยเหลือเป็นการตอบแแทนไม่วันใดก็วันหนึ่งก็ได้

หรือว่า ทำดี ด้วยจิตว่าง คือ ไม่มีความอยาก แต่รู็ว่าตัวเองทำอะไรอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2012, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
พอดีไปอ่านเจอมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้น ถ้าเราทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดี อย่างเช่นไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าทำชั่วก็ตกนรก ดังนั้น ถ้าจะไป นิพพาน เราต้องไม่ทำดี และ ชั่ว อย่างงั้นหรือครับ

ไม่ทำดี และ ชั่ว มัน คือยังไงอะครับ งง จุงเบย หรือผมเข้าใจผิดไหมครับ ขอคำแนะนำหน่อยครับ

ทำดีต้องได้ผลดี ทำย่อมชั่วย่อมได้ชั่ว เหตุกับผลจะต้องตรงกันเสมอ
มีพระอรหันต์เท่านั้น ที่ทำดี ไม่ได้ดี ทำชั่ว ไม่ได้ชั่ว เพราะจิตของท่านพ้นจากดีจากชั่วแล้ว
การกระทำใดๆจิตของท่านจึงเป็นมหากิริยาจิต คือเป็นจิตไม่ให้ผลเป็นบุญเป็นบาป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร