วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2012, 22:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

.....(หาก) ไม่สงบ ( เสีย) ก่อน ก็เห็นนิพพาน ไม่ได้....

แบบนี้เป็นงัย.. :b12: :b12:


:b1:

ถ้า สงบ สุข ได้ แม้ไม่ได้เห็นนิพพาน ก็ OK

:b12:

มั๊ย

:b12:

ไม่เช่นนั้น จะมีติด สุข ติด สงบ กันหร๋อ...มั๊ย

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2012, 03:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
นั่นแหละไอ่ที่นำเอามาลงน่ะเอามาให้ดู แต่กลับดูไมเป็นซะอีก

พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้ท่านได้ประหานกิเลสเป็นสมุทเฉท เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
หมายความว่า นิพพานที่เป็นไปกับขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูป ที่เหลือจากกิเลสทั้งหลาย
ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อท่านเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ก็มี ทั้งรูปทั้งนาม
เมื่อเป็นเช่นนั้นพระอรหันต์ก็มีขันธ์ ๕ เป็นนิพพานที่เข้าไปรู้แจ้ง

ที่ลุงเอามาพูดผมถามหน่อยว่า พระพุทธเจ้าทรงบอก หรือมหาข้างบ้านบอกครับ
พระพุทธเจ้าทรงบอกถึงนิพพานไว้สองลักษณะดังนี้........
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี
สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย
อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕
เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอ
ยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ
ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา
เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ
นี้แล

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 242&Z=5274

ลุงหมานครับ ลุงอ่านพระสูตรบทนี้ดีๆนะครับ พระพุทธองค์บอกว่า..
"สอุปาทิเสลนิพพานธาตุ" คือบุคคลที่ยังมีอิมทรีย์ห้าอยู่
ลุงหมานว่า....อินทรีย์ห้ากับขันธ์ห้ามันเหมือนกันมั้ย
ลุงไปเปิดตำราของลุงอ่านมันสักร้อยเที่ยว ถ้ายังไม่เข้าใจแล้วผมจะมาอธิบาย
ลุงหมาน เขียน:
ที่นี้ที่เป็นอสังขตธรรมนั้น เป็นนิพพานที่เรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพาน หมายความว่า นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕
คือวิบากและกัมมชรูปเหลืออยู่ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว (ตายแล้ว)

ลุงหมานนี่มั่วได้ใจเลย ลุงหมานรู้หรือเปล่าถ้าเอาบัญญัติโน้นมาปนกับบัญญัตินี่
มันทำให้เหนื่อยต่อการอธิบายในบัญญัติแต่ละตัว

ท่านแยกแยะให้เห็นความต่าง แบ่งพวกให้ให้ดู ลุงหมานก็ยังเอามาปนกัน
อย่างเช่นเอาเรี่อง"สอุปทิเสลนิพพาน"กับ"อนุปาทิเสลนิพพาน" มาปนกับ..
"อสังขตธรรม"กับ"สังขตธรรม"

การจะอธิบายให้เห็นความต่างของลายละเอียดในธรรมทั้งสอง อย่าพี่งเอาเรื่อง
หรือลักษณะการนิพพานทั้งสองมาเกี่ยว ไม่งั้นลุงหมานจะสับสน

จะอธิบายให้ฟัง ในรูปที่ลุงเอามาน่ะท่านแบ่งธรรมออกเป็นสองอย่าง
นั้นก็คือ สังขตธรรม(สังขาร)และอสังขตธรรม(วิสังขาร)

ในสังขตธรรมก็คือสังขารการปรุงแต่งของขันธ์ห้า...ก็คือขันธ์ห้านั้นเอง
สรุปสังขตธรรมก็คือขันธ์ห้า

ส่วนในอสังขตธรรมมีนิพพานอยู่ ท่านจะบอกว่า...นิพพานคืออสังขตธรรม
อสังขตธรรมเป็นวิสังขาร นิพานจึงเป็นวิสังขารด้วย ความหมายของนิพพาน
ในเรื่องนี้ก็คือ ธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง ขันธ์ห้าเกิดจากการปรุงแต่ง ดังนั้นนิพพานจึงไม่ใช่
ขันธ์ห้า นิพานเป็นผู้รู้ขันธ์ห้า แต่ไม่ใช่ขันธ์ห้า


ในอสังขตธรรมที่มีนิพพานนั้น ยังแบ่งนิพพานออกเป็นสองลักษณะคือ
"สอุปทิเสลฯ"กับ"อนุปาทิเสลฯ" ความแตกต่างของนิพพานทั้งสองก็คือ
"มีชีวิตกับไม่มีชีวิต" มีชีวิตก็คือมีอินทรีย์ห้า ไม่มีชีวิตก็คือไม่มีอินทรีย์ห้าแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2012, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ก็ดูให้เป็นหน่อยซิ สัมมาทิฎฐิ ก็คือเห็นตรงตามความเป็นจริง นิพพานแยกออกมาจากสังขตธรรม เป็นอสังขตธรรม คือเป็นธรรมที่ไม่ใช่ขันธ์ ๕ จึงไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ได้อยู่ในกฎเกณท์ของไตรลักษณ์

มันก็น่านน่ะซิ ก็บอกเองว่า "นิพพานแยกออกมาจากสังขตธรรมเป็นอสังขตธรรม

บอกเองว่า.....นิพพานเป็นอสังขตธรรม เป็นธรรมที่ไม่ใช่ขันธ์ห้า
แบบนี้แล้วยังมาทู่ซี้หัวชนฝาอีกว่า นิพพานมีขันธ์ห้า นี่หรือสัมมาทิฐิของลุง :b32:

แล้วก็อีกเรื่องที่ลุงหมานบอกว่า "เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงไม่อยู่ในกฏของไตรลักษณ์"
มันใช่ซะที่ไหนกันเล่า มันต้องพูดแบบนี้....
เพราะเรารู้สภาวะไตรลักษณ์ จึงทำให้ไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง :b32:
ลุงหมาน เขียน:
เขารวบขันธ์ ๕ ทั้งหมด อยู่ในกฎเกณท์ของไตรลักษณ์ คือ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ผมจะบอกลุงให้ครับว่า.....ขันธ์ห้าเป็นอวิชา ส่วนไตรลักษณ์เป็นวิชชา อย่าเอาไปปนกันครับ
มีวิชชาย่อมต้องไม่มีอวิชา หรือเมื่อรู้แล้วความไม่รู้ความหลงย่อมหมดไป

ขันธ์ห้าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกิดกับใคร
ไตรลักษณ์เกิดได้อย่างไรและเกิดกับใคร
ถ้าลุงเปรียบแบบนี้อาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

เพราะปุถุชนจะปรุงแต่งรูปนามจนเป็นขันธ์ห้า นั้นคือการไม่ยอมปล่อยให้
สิ่งที่เกิดเป็นไปตามธรรมชาติ
แต่พระอริยะรู้ไตรลักษณ์หรือรู้ก่อนว่า สภาวะที่เกิดจากรูปและนาม
เป็นเพียงการปรุงแต่ง เกิดแล้วต้องดับ ปล่อยทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ
ขันธ์ห้าจึงไม่เกิด ในขณะรู้ไตรลักษณ์


ดังนั้นขันธ์ห้ากับไตรลักษณ์ไม่เหมือนกัน ....ขันธ์ห้าเป็นของปลอม
ไตรลักษณ์เป็นของจริง
ลุงหมาน เขียน:
แต่นิพพาน เป็นขันธวิมุติคือพ้นจากขันธ์ และพ้นจากกฏไตรลักษณ์ คือ
เป็น นิจจัง สุขัง อนัตตา
นิพพานมีข้อตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ข้อเดียวคือ เป็น อนัตตา

ความเห็นนี้ ลุงกำลังสับสนกับความเห็นหรือบัญญัติที่ตัวเองเป็นคนเริ่ม
นั้นก็คือ....นิพพานมีสองอย่าง ลุงสับสนมาตั้งแต่แรกแล้ว

ความเห็นแรกของลุง ลุงหมานบอกว่า นิพพานคืออรหันต์ที่ตายแล้ว
ไม่ทันไรลุงก็มาบอกใหม่ว่า.....นิพพานมีสองอย่าง

มาความเห็นนี้ลุงบอกว่า นิพพานเป็นขันธวิมุติพ้นจากขันธ์
และพ้นจากไตรลักษณ์


ลุงหมานครับ ลุงเอาให้แน่ก่อนว่า นิพพานตัวไหน อรหันต์ตายแล้ว
หรือยังไม่ตาย ตั้งสติดีๆแล้วค่อยมาแก้ข้อความก็ได้ แต่ทางที่ดีผมว่า
ลุงตอบเป็นความเห็นใหม่ดีกว่า เพราะลุงเล่นแก้ข้อความในความเห็นเก่า
ดูแล้วมันไม่ค่อยซื่อสัตย์กับความเห็นตัวเอง การแก้ข้อความเขาเอาไว้
แก้คำผิดนะครับ ไม่ได้เอาไว้แก้ความเห็นทั้งยวงแบบลุง

อีกทั้งผมอ้างอิงเอาความเห็นลุงมาตอบ มันจะทำให้ความเห็นผม
มันไม่ตรงกับความเห็นลุง เพราะลุงไปแก้ข้อความให้มันเปลี่ยนไป
เข้าใจมั้ย :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2012, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ...ถามไรหน่อยนะ
ที่แสดงว่ามีความรู้นี่น่ะ ไปศึกษาที่สำนักไหนมา?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2012, 08:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

:b1:

ถ้า สงบ สุข ได้ แม้ไม่ได้เห็นนิพพาน ก็ OK

:b12:

มั๊ย

:b12:

ไม่เช่นนั้น จะมีติด สุข ติด สงบ กันหร๋อ...มั๊ย

:b12: :b12: :b12:


ข้าพเจ้าขอสัญญาว่า...จะติด...ไม่นาน...อิอิ
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2012, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โฮฮับ...ถามไรหน่อยนะ
ที่แสดงว่ามีความรู้นี่น่ะ ไปศึกษาที่สำนักไหนมา?

ลุงหมานคิดว่า การปฏิบัติธรรม เหมือนการเรียนหนังสือในโรงเรียนหรือ ตลกดีครับ
ดันมาถามได้ศึกษาสำนักไหน จะเอาเส้าหลินหรือบู๊ตึ๊งดีล่ะ

ก็เห็นอยุ่ว่าเอาพุทธพจน์มากางให้ดูแบบนี้จะศึกษาจากใคร ปู้โถ่!
แล้วลุงล่ะ ศึกษาจากใคร ใครเป็นอาจารย์ อาจารย์เฉลิมชัยหรือเปล่า
หรือจะเป็นปิคาสโซ่ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2012, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อนุโลมิกขันติ

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

ข้อความสมบูรณ์มีศัพท์บางคำที่อาจเขียนผิด หน้า 2-3

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

บัดนี้จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ได้แสดงขันติมาครั้งหนึ่งจะแสดงต่อไป ขันติที่จะแสดงต่อไปนี้มีความหมายในทางเพื่อมรรคผลนิพพาน เพื่อความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ ขันติดังกล่าวนี้เรียกว่า อนุโลมิกขันติ ขันติที่เป็นไปโดยอนุโลม คืออนุโลมต่อความเห็นชอบ ก็คืออนุโลมอริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เพื่อกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ขันติดังกล่าวนี้เป็นขันติที่มีความหมายเป็นพิเศษกว่าขันติทั่วๆ ไป แม้ตามที่ได้แสดงอธิบายแล้ว และได้มีความหมายในทางเดียวกัน กับขันติที่ตรัสไว้ในโอวาทปาติโมกข์ว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติคือ ตีติกขา ความทนทาน เป็นบรมตบะ คือเป็นธรรมะที่เผากิเลสอย่างยิ่ง เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดังที่ตรัสต่อไปว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธะทั้งหลายกล่าวนิพพานว่าเป็นอย่างยิ่ง ขันติเป็นบรมตบะ ดั่งนี้ จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า ขันติ พลัง วยะ ตินัง ขันติเป็นกำลังของนักพรต หรือผู้บำเพ็ญพรตทั้งหลาย ดั่งนี้

ตีติกขาขันติ

อันขันติดังกล่าวว่าตีติกขาขันติ ในโอวาทปาติโมกข์ หรือ อนุโลมิกขันติ ที่ยกขึ้นมาแสดงในวันนี้ จึงมีความหมายว่าเป็นความอดทน เป็นความทนทาน ต่ออารมณ์ทั้งหลาย คืออารมณ์ คือรูปที่เห็นทางตา อารมณ์คือเสียงที่ได้ยินทางหู อารมณ์คือกลิ่นที่ได้ทราบทางจมูก อารมณ์คือรสที่ได้ทราบทางลิ้น อารมณ์คือสิ่งถูกต้องที่ได้ทราบทางกาย อารมณ์คือธรรมะอันได้แก่เรื่องราวที่ได้รู้ได้คิดทางมโนคือใจ

อดทนต่ออารมณ์เหล่านี้เพราะอารมณ์เหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งราคะความติดใจยินดีก็มี เป็นที่ตั้งแห่งโทสะความโกรธแค้นก็มี เป็นที่ตั้งแห่งโมหะความหลงก็มี เมื่อเป็นดั่งนี้จึงเกิดราคะโทสะโมหะ หรือว่าโลภโกรธหลงขึ้น ไหลเข้าสู่ใจหรือจิต เพราะฉะนั้น อดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย จึงมีความหมายถึงอดทนต่อกิเลสทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นจากอารมณ์นั้นๆ ด้วย

บรมตบะ เครื่องแผดเผากิเลส

ขันติที่เป็นอนุโลมขันติหรืออนุโลมิกขันติ จึงมีความหมายถึงความอดทนต่ออารมณ์ ต่อกิเลสดังกล่าว

เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเป็นบรมตบะ คือเป็นเครื่องแผดเผากิเลส ผู้ที่ปฏิบัติขันติ ฝึกจิตใจให้มีความอดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย ต่อกิเลสทั้งหลาย ย่อมสามารถเผากิเลสทั้งหลายได้ ดับกิเลสทั้งหลายได้ เช่นเมื่อความโลภบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความโลภ หรือราคะความติดใจยินดีบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของราคะ ก็มีความอดทน ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของโลภะหรือราคะ เมื่อความอดทนนี้มีกำลังที่แรงกว่ากำลังของกิเลส ก็ชนะกิเลสได้ กิเลสก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป

เมื่อโทสะบังเกิดขึ้นก็เช่นเดียวกันมีความอดทนต่อโทสะ ต่ออารมณ์ของโทสะ ไม่ยอมแพ้อำนาจของโทสะ และเมื่อความอดทนนี้มีกำลังกว่า โทสะกับอารมณ์ของโทสะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาสิ้นไป โมหะก็เช่นเดียวกัน ความหลงถือเอาผิด หลงติดอยู่ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความหลง มีความอดทนต่อความหลง ความติด และอารมณ์ของความหลงนั้น เมื่อความอดทนมีกำลังก็เอาชนะโมหะได้ โมหะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป

ขันติที่ประกอบด้วยปัญญา

แต่ในการปฏิบัติทำขันติคือความอดทนนี้เมื่อประกอบไปด้วยกับการปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ในปัญญา ก็ทำให้เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ขึ้นมาได้ ขันติที่ประกอบด้วยปัญญานับว่าเป็นยอดของขันติที่ประกอบด้วยสมาธิด้วยศีล แต่ว่าก็ต้องอาศัยการปฏิบัติทั้งในศีลทั้งในสมาธิทั้งในปัญญาประกอบกันไป ทั้ง ๓ นี้มีปัญญาเป็นยอด แต่เมื่อมียอดก็ต้องหมายความว่าต้องมีต้นมีรากด้วย ศีลก็เหมือนอย่างราก สมาธิก็เหมือนอย่างต้น ปัญญาก็เหมือนอย่างยอด เมื่อเทียบกับต้นไม้ ฉะนั้น แม้จะยกยอดขึ้นมาแสดง ก็ต้องหมายความว่าต้องมีลำต้นต้องมีรากอยู่ด้วยกัน เป็นแต่เพียงต้องการจะชี้ว่าปัญญาเป็นยอด

เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า ปัญญาเห็นอย่างไรจึงจะเป็นฐานะที่ว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ได้ตรัสแสดงไว้ว่า เมื่อยังเห็นสังขารอะไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข เห็นธรรมะอะไรๆ คือทั้งส่วนที่เป็นสังขารทั้งส่วนที่เป็นวิสังขาร โดยความเป็นอัตตาตัวตน เมื่อยังเห็นดั่งนี้อยู่ก็ไม่เป็นฐานะที่จะชื่อว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ และเมื่อไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ก็ไม่เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่ความเป็นชอบ คือหยั่งลงสู่อริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อยังไม่หยั่งลงสู่ความเป็นชอบ หรือว่าสู่ สัมมัตตนิยาม คือความกำหนดแน่โดยความเป็นชอบ ก็ไม่เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย

ต่อเมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ เห็นธรรมอะไรๆ ทั้งปวงโดยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตาตัวตน จึงเป็นฐานะที่จะชื่อว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ และเมื่อประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ก็เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยาม คือความกำหนดแน่แห่งความเป็นชอบ คือสู่นิยามแห่งอริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ก็เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย

เมื่อเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์

อนึ่งเมื่อยังเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ก็เช่นเดียวกัน ไม่เป็นฐานะที่จะประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ไม่เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ไม่เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ต่อเมื่อเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข ดังที่มีปาฐะว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นบรมสุข จึงจะเป็นฐานะที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ดั่งนี้

อนุโลมิกขันติด้วยอาการอย่างไร

และจะชื่อว่าได้อนุโลมิกขันติด้วยอาการอย่างไรจะชื่อว่าหยั่งลงสู่ความเป็นชอบด้วยอาการอย่างไร ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสจำแนกอาการไว้เป็นอันมาก แต่อาจสรุปลงได้เป็น ๓ คือเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เห็นนิพพาน โดยความเป็นเที่ยง โดยความเป็นสุข และโดยความเป็นปรมัตถ์ หรือ ปรมัตถะ คือมีอรรถะอย่างยิ่ง

กล่าวคือเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมิกขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์เป็นของเที่ยงแท้ เป็นนิพพาน ย่อมได้หรือหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ คือสู่ทางอริยมรรค เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมมิกะขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์ เป็นสุข เป็นนิพพาน ย่อมหยั่งลง ย่อมได้นิยามแห่งความเป็นชอบ เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมิกขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์ เป็น ปรมัตถะ คือ มีอรรถะอย่างยิ่ง อย่างละเอียด เป็นนิพพาน ย่อมหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ดั่งนี้

เพราะฉะนั้น อนุโลมิกขันตินี้จึงเป็นข้อสำคัญศีล สมาธิ ปัญญา อาศัยขันติมาก่อน คือในการปฏิบัติศีลสมาธิปัญญานั้นก็ต้องใช้ขันติ ต้องประกอบด้วยขันติ

และเมื่อได้ศีลสมาธิปัญญาขึ้นก็ทำให้ได้ขันติที่สูงขึ้น คืออนุโลมิกขันติดังกล่าว คือเมื่อได้ปัญญาเห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เมื่อได้ปัญญาดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าได้อนุโลมิกะขันติ ซึ่งนำไปสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ คืออริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลายได้

เพราะฉะนั้นนิยามแห่งความเป็นชอบคืออริยมรรค จึงกล่าวได้ว่าเป็นมรรคนั้นเอง และเมื่อได้มรรคก็ย่อมได้ผล คือกระทำให้แจ้งผลทั้งหลาย คืออริยผลทั้งหลาย ได้อริยมรรค ก็ได้อริยผล อนุโลมิกขันตินั้น จึงเป็นขันติที่อนุโลมต่ออริยมรรคอริยผล สอดคล้องต่ออริยมรรคอริยผล เป็นขันติที่ได้มาจากปัญญาที่เห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

และในการที่จะปฏิบัติในปัญญาในสมาธิในศีลก็ต้องอาศัยขันติคือความอดทนมาโดยลำดับ แผดเผากิเลสมาโดยลำดับ ถ้าไม่อาศัยขันติก็ไม่อาจที่จะปฏิบัติให้สำเร็จได้ เป็นขันติในขั้นปฏิบัติตั้งแต่ในเบื้องต้น ครั้นได้ศีลได้สมาธิได้ปัญญา เห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา จึงได้ขันติที่เป็นอนุโลมต่อมรรคผล อันเรียกว่าอนุโลมิกขันตินี้ มีลักษณะเป็นความทนทาน ไม่หวั่นไหว อันจะเปรียบได้อย่างภูเขาหินล้วน ไม่หวั่นไหวด้วยลมอันพัดมาแต่ทิศทั้งปวง ต่างจากต้นไม้เป็นต้นทั้งใหญ่ทั้งเล็ก เมื่อถูกลมพัดแม้จะไม่หักก็ไหว และแม้ว่าจะไม่โค่นล้มทั้งต้น กิ่งใบก็อาจที่จะหักหล่น ถ้าหากว่าถูกลมแรงมากก็จะต้องล้มทั้งต้น แต่ภูเขาหินล้วนนั้นย่อมทนได้ต่อลมอันพัดมาแต่ทิศทั้งปวง

อนุโลมมิกะขันติก็เช่นเดียวกันเมื่อปฏิบัติให้เห็นไตรลักษณ์ในขันธ์ ๕ ได้ จิตก็จะแข็งแกร่งทนทาน ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์และกิเลสทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นจึงนำสู่อริยมรรคสู่อริยผล จึงเรียกว่าอนุโลมิกขันติ ขันติที่อนุโลม คืออนุโลมต่ออริยมรรคที่เรียกว่านิยามแห่งความเป็นชอบ และอริยผลทั้งหลาย ดั่งนี้

ตามที่แสดงมานี้แสดงตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ เป็นขันติที่มีลักษณะพิเศษกว่าขันติทั่วไป แต่ว่าในการปฏิบัตินั้นก็จะต้องปฏิบัติตั้งแต่ขันติคือความอดทน มีน้ำอดน้ำทน มีความอดกลั้นทนทาน ต่ออารมณ์และกิเลสทั้งหลาย ซึ่งอาจจะทนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ว่าเมื่อฝึกอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็จะทำให้ความอดทนนี้มีพลังยิ่งขึ้น สามารถอดทนต่ออารมณ์และกิเลสได้มากขึ้น

พร้อมทั้งเมื่อมีโสรัจจะคือความที่ทำใจให้สบายโดยระบายอารมณ์และกิเลส ที่อัดอยู่ในใจออกไป ไม่ปล่อยให้อัดเอาไว้ ระบายใจออกไปให้สบาย อาศัยสติอาศัยปัญญา และอาศัยธรรมะอื่นๆ เช่นเมตตากรุณาเป็นต้น เข้ามาช่วย และเมื่อระบายออกไปได้ใจก็สบาย เมื่อใจสบาย กายวาจาก็เป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม เพราะฉะนั้นจึงตรัสแสดงว่าธรรมะคู่นี้ ขันติคือความอดทน โสรัจจะที่ท่านแปลว่าความเสงี่ยม เป็นธรรมะที่ทำให้งาม ดั่งนี้

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


:b55: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b55:

:b8: :b8: :b8:

- เห็นขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือเห็นทุกข์ เห็นอริยะมรรค
- เห็นความดับของขันธ์ห้า คือเห็นนิโรธ เป็นความสุข เป็นนิพพาน ...

การเห็นนิพพาน เป็นทุกข์ เป็นสุข คือเห็นอย่างนี้ ..


ใช่ป่าว .. :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 00:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
:b8: :b8: :b8:

- เห็นขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือเห็นทุกข์ เห็นอริยะมรรค
- เห็นความดับของขันธ์ห้า คือเห็นนิโรธ เป็นความสุข เป็นนิพพาน ...

การเห็นนิพพาน เป็นทุกข์ เป็นสุข คือเห็นอย่างนี้ ..


ใช่ป่าว .. :b1:


:b6: ..ถามแปลก..

จริง ๆ นะ ถ้าให้ความเห็นเกี่ยวกับ นิพพาน เอกอนไม่รู้ ตอบไม่ได้จริง ๆ ไม่รู้จริง ๆ
คือถ้ามีคำว่า "นิพพาน" เข้ามากระทบสายตา เอกอนจะ เอ๋อเหร๋อ ไปทันที
เหมือนตัวเองเดินมาตามทางดี ๆ แต่จู่ ๆ ทางก็หายไป อะไร ๆ ก็หายไป
แม้แต่เงา เพราะพื้นหาย เงาจะตกลงตรงไหน
อะไร ๆ มันหายไปหมด จนไม่รู้แม้ตำแหน่ง
เอกอนเห็นแต่ภาพนี้ คือ เห็นแต่นิมิตนี้ ทุกครั้งที่คิดไปถึงคำว่า "นิพพาน"

เอกอนจึงบอกไง ว่า "นิพพาน" เหมือนเป็นเรื่องเว้นวรรคสำหรับเอกอน
เพราะมันไม่มีอะไรโผล่มาให้รู้ นอกจาก รู้

คือ เอกอนนึกอะไรเกี่ยวกับ นิพพาน ไม่ออกหรอก :b9: :b13: :b13:

คิดไม่ถึงล่ะสิ่ ว่าเอกอนจะมีบท เอ๋อเหร๋อ

:b3: :b9: :b9: :b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b6: ..ถามแปลก..
แปลกตรงน่ายยย .. :b9:
eragon_joe เขียน:
เราเห็นนิพพานเป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ อย่างไร...?

อ่านบทธรรมเทศนาของสมเด็จพระญาณสังวร ฯ
ที่ .. ตะเอง เอามาโพส ก็น่าจะได้คำตอบแล้วละ ..
:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 11:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b6: ..ถามแปลก..
แปลกตรงน่ายยย .. :b9:
eragon_joe เขียน:
เราเห็นนิพพานเป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ อย่างไร...?

อ่านบทธรรมเทศนาของสมเด็จพระญาณสังวร ฯ
ที่ .. ตะเอง เอามาโพส ก็น่าจะได้คำตอบแล้วละ ..
:b1:


:b22: :b22: :b22:

แปลกตรง "เอ๋อเหร๋อ" นี่ล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 11:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


JANDHRA เขียน:
ธรรมมะในใจ.. ธรรมชาติ

เรามีสรรพสิ่งรอบตัว.. พอๆ กัน มีท้องฟ้าสีฟ้า มีทะเลสีฟ้าคราม อมเขียวเข้มๆ ..หาดทรายสีขาว มีนกบินบนท้องฟ้า มีสัตว์น่ารักมากมายพอๆ กันให้ได้เห็น ได้ชื่นชมกับความใสซื่อจากอากัปกิริยาที่แตกต่างหลากหลาย ก็เพราะสัญชาติญานของพวกมัน.. ย่อมแน่นอนว่า เรามีเวลาดีๆ กับสิ่งเหล่านี้พอๆ กัน ภูเขา ทะเลหมอก สายน้ำที่ทอดตัวยาวไหลไป น้ำตกส่งเสียงดังๆ เวลากระทบกับน้ำข้างล่าง... แล้วเราทำอะไรกับความงดงามเหล่านี้..

เราได้แต่ปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา ราคะ ทำลายเวลาที่จะได้ไปชื่นชมกับสิ่งงดงามตามธรรมชาติ การได้นอนทอดตัวลงเพื่อมองท้องฟ้ากว้างๆ กลางป่า นั่งฟังเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ได้มองดูดาวตกบนยอดเขาที่ปราศจากแสงสีปรุงแต่ง จนตาเปล่าไม่สามารถมองฝ่าแสงไฟเพื่อจะได้มองเห็นกลุ่มดาวที่ทอดแสงลงมายังพื้นโลก และประดับประดาท้องฟ้ายามค่ำคืนได้ เพราะว่าอะไร..

ความจริง สิ่งหนึ่งที่น่าคิดอีกประการหนึ่งคือ.. การได้กลับมามองธรรมชาติที่งดงามอย่างที่ควรจะเป็นบ้าง อาจทำให้เราได้ละความโลภ โกรธ หลง ตัณหา ราคะไปได้บ้างนะ เพราะธรรมชาติ ปราศจากสิ่งปรุงแต่งด้วยกิเลส มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ท้องฟ้า ทะเล หาดทราย ภูเขา น้ำตก และม่านหมอก ที่ไม่มีราคาอะไรเลย.. แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า มันอาจประมาณราคาไม่ต่างหากว่า ท้องฟ้านี้มีราคาเท่าไร ทะเลนี้ หาดทรายนี้ ภูเขาเทือกนี้ และม่านหมอกนี้ คิดราคากันอย่างไร.. มันเหมือนของว่างเปล่า แต่มันก็ไม่ว่างเปล่า เพราะความงดงามตามธรรมชาติเหล่านี้ใช่หรือไม่ ที่ประดับ ตกแต่งให้โลกใบนี้น่าทัศนาสำหร้บมนุษย์และสรรพสัตว์ สร้างความรัก ความอบอุ่นตามแต่วิถีชีวิตที่เป็นไปทั้งหลายที่เกิดมาอยู่ในสมัยเดียวกัน ให้เวียนไป เวียนมาตามกฏแห่งสังสารวัฏ.. ที่สั้นบ้าง ยาวบ้าง หรือไม่มีกำหนดเลยก็ได้ สำหรับใครบางคน.. พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า พระองค์ไม่ทรงเห็นกรรมหนักใด จะเท่ากับกรรมของผู้มีมิจฉาทิฏฐิเลย.. เพราะผู้ไม่รู้นั้น ย่อมไม่รู้ว่าดี หรือชั่ว ไม่รู้ว่าทำดี ทำอย่างไร ทำชั่ว คือทำอย่างไร จึงมีความเกิด ดับ วนไปวนมาหมดหนทางจะได้ออกไปจากการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง..

คงเป็นความจริงว่า หากเราอาศัยความสันโดษ มีวิถีชีวิตอันเรียบง่าย อาศัยไปกับโลกใบนี้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติที่รังสรรค์มาแล้วตามแต่ยุคสมัย เราย่อมพบกับความสุข ที่ไม่โลดโผนนัก และคงรู้จักการเรียนรู้ทำความเข้าใจกับความทุกข์ได้ไม่ยาก เพราะความสันโดษ.. สร้างความพอเพียง ความพอเพียง.. สร้างความพอใจในข้าวของเครื่องใช้อย่างรู้จักค่าของความจำเป็นต้องมี ต้องใช้ ต้องอาศัย และความพอใจในข้าวของเครื่องใช้อย่างรู้จักคุณค่าของความจำเป็นต้องมี ต้องใช้ ต้องอาศัย.. ให้ผลทางอ้อมกับสรรพสิ่งรอบตัวที่สามารถจะอยู่กันอย่างไม่ถูกเบียดเบียน มากไปกว่าที่ควรจะเป็นมากไปนัก.. กำจัดความละโมภไปได้อย่างหนึ่งแล้ว ก็เป็นการตัดห่วงโซ่ของโมหะ โทสะ ตัณหา ราคะให้ขาดจากกันออกไปด้วย

ความละโมภ แม้เป็นเพียงหนึ่งกิเลสในกิเลสอีกหลายตัว แต่เมื่อกำจัดละโมภได้หนึ่งตัว ตัวที่เหลือก็ขาดจากกันแบบต่อไม่ติดไปโดยปริยาย เพียงแต่ว่าต้องกำจัดตัวใดตัวหนึ่งนั้นให้ได้สิ้น หรือละตัวใดตัวหนึ่งให้ได้ ตัวอื่นๆ ก็จะเบาบางลงไป มันผูกกันมานั่นเอง เหมือนแหที่เขาจับปลา ถ้าปลาตัวใดตัวหนึ่ง ทำช่องให้ตาข่ายตรงที่ใดขาดเสียแล้ว ปลาตัวอื่นๆ ก็หลุดออกไปหมดได้เหมือนกัน และในทางเดียวกัน หากผู้ใดมีความละโมภแล้ว คงไม่ต้องอธิบายเลยว่า ชีวิตที่เหลือจากนี้ จะมีเวลาที่เหลือเป็นอย่างไรกัน..

ธรรมชาติ สร้างความสุขให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ได้มาอาศัยผ่านยุค สมัย หรือก็คือเกิด ดับไปตามแต่เหตุ ปัจจัยของกรรมที่กระทำกันไว้ แล้วทำไม เราถึงไม่ยอมรับความสุขที่ธรรมชาติสร้างสรรค์แบบให้เปล่า ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้อแลกเปลี่ยน เพื่อต่างคนต่างใช้ชีวิตที่เหลือเพื่อกันและกัน นับจากนี้ด้วยกันอย่างสงบสุข ลองหันกลับมาอาศัยธรรมชาติบ้างนะ เผื่อว่า..จะได้ดิ้นรนเพื่อหาสิ่งตอบแทนให้กับสิ่งปรุงแต่ง อย่างมีเงื่อนไข และแลกเปลี่ยน.. น้อยลง..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 11:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 711

ว่าด้วยอายตนะคือนิพพาน

๑. ปฐมนิพพานสูตร

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน

น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจาย-

ตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์

และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น

ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ

จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้น หาที่ตั้งอาศัยมิได้

มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบปฐมนิพพานสูตรที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

๖. วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้
จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือ
เพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความ
สิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่า
ที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ
@๑. หมายถึงอาสวักขยญาณ
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่
ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้
อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม
เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำ
การสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้า
ใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้
ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ
ข้อที่ ๓ ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้
อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่
ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการ
สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อม
ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้า
ใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้
สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่
ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้
สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่
ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่า
เรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อม
เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่าง
หนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อม
เกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของ
ภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก
โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่
หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้
บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
จบสูตรที่ ๖

อนุโมทนาครับ :b8:
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 15:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา smiley smiley

เอามาฝากอีก หนึ่งพระสูตร

สังเกตจากคำถามพระ อุทายี

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕

อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรค

นิพพานสูตร

[๒๓๘] สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ณที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายนิพพานนี้ เป็นสุขดูกรอาวุโสทั้งหลายนิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตรนิพพานนี้ไม่มีเวทนาจะเป็นสุขได้อย่างไรฯ

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสนิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข ดูกรอาวุโสกามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รักยั่วยวนชวนให้กำหนัดเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รักยั่วยวนชวนให้กำหนัดกามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูกรอาวุโสสุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ๕ประการนี้นี้เรียกว่ากามสุขฯ

ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่านข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอเปรียบเหมือนความทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้นข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอฉันนั้น เหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานฯลฯเพราะวิตกวิจารสงบไป ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม ข้อนี้สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใดสัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้นข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอฉันนั้น เหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอเปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้นข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอฉันนั้นเหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอเปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใดสัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม ข้อนี้สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใดสัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม ข้อนี้สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านข้อ นั้นเป็นอาพาธของเธอเปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใดสัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่งภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานฯลฯถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอเปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใดสัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอเปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใดสัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอฉันนั้นเหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ฯ


จบนิพพานสูตร ที่ ๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2012, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

๗. สมาธิสูตร
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญ
สมาธิหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหา
ประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน
คือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก
ต่อไป ๑ สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑ สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑
สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรม
เอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอัน
เป็นสสังขาร ๑ ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณ
มิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้
อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ฯ
จบสูตรที่ ๗

:b44: :b44: :b44:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร