วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 06:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2012, 20:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 20:58
โพสต์: 36

แนวปฏิบัติ: ยุบหนอ-พองหนอ
งานอดิเรก: ฟังเพลง
ชื่อเล่น: เด่น
อายุ: 32

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอคำอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการความรู้ที่ว่า รู้จัก รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง หน่อยครับ Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2012, 23:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา คือ วิชชาๆ คือความรู้จักว่านี่คือ บาป นี้คืออกุศล นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี่

คือปัจจัยให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ ควรละเสีย วิชชา คือความรู้จักว่านี่คือ บุญ นี่คือกุศล นี้คือเหตุให้เกิดสุข เป็น

ปัจจัยเพื่อความสุข วิชชา คือความรู้จักว่านี่คือเหตุ และปัจจัยให้เกิด ชาติ ชรา มรณะ หรือภพชั่วกาลนาน

วิชชาคือความรู้ว่านี่คือทางกระทำเพื่อดับเสีย ซึ่งชาติ ชรา มรณะ หรือภพเสีย วิชชาคือความรู้จักว่า เหตุ

และปัจจัยเพื่อการเวียนว่ายตายเกิดนี้ ไม่มีอีกแล้ว กิจที่ควรทำเพื่อกิจของความเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีอีก

ที่มาของความรู้นี้ คือพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ที่พระพุทธองค์ได้กล่าวสาธยายไว้อย่างน่าฟัง และ

สามารถใช้พิจารณาตามไป ด้วยประโยคว่า .. อุทปาทิญานัง อุทปาทิปัญญา.. เป็นต้น ผู้มุ่งศึกษาให้รู้จัก

ถึงคำว่าผู้รู้ หรือความรู้ที่เหนือกว่า ความรู้ จากวิชาการทางโลกที่เป็นเพียงความรู้จากสัญชาติญานเพื่อการ

อยู่รวมกันแล้ว พึงพิจารณาประโยคที่พระพุทธองค์ได้สาธยายไว้ดังนี้เถิด แล้วจะรู้ว่า ผู้รู้ นั้น รู้อะไร..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2012, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


denchai เขียน:
ขอคำอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการความรู้ที่ว่า รู้จัก รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง หน่อยครับ Kiss

รู้จัก รู้จำ เรียกว่า "สัญญา"
รู้จริง รู้แจ้ง เรียกว่า "ปัญญา"

"สัญญา" มีมาก คุยมาก โม้มาก โอ้อวด อัตตาสูง ไม่ยอมใคร
"ปัญญา" รู้มาก ปล่อยวางได้มาก ละได้มาก พูดแต่เรื่องจริงสิ่งที่เป็นประโยชน์

กระบวนการความรู้นี้ เกิดจากการเรียนรู้ การอ่าน การพูดคุย เจรจาโต้ตอบ คือ "สัญญา"
แล้วนำไป เป็นแนวทาง ประพฤติปฏิบัติ จนเกิดเป็น "ปัญญา" ทำให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริง
อย่างนี้แล ...

ส่วนอ้ายกระผม มีแต่โม้ โอ้อวด ชอบกินและนอน ... อิอิ

:b32: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2012, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ส่วนอ้ายกระผม มีแต่โม้ โอ้อวด ชอบกินและนอน ... อิอิ

:b32: :b13:


:b6:

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2012, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b13: :b32:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2012, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทของความรู้

สัญญา –วิญญาณ- ปัญญา



สัญญา วิญญาณ ปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์
สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง


สัญญา เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึงการกำหนดรู้ หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ หมา แมว เขา เรา ท่าน เป็นต้น


วิญญาณ ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์ หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐานและเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่นๆ เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด เป็นทั้งความรู้ต้น และความรู้ตาม


ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ฯลฯ
หรือแปลง่ายๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตขอวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใดก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปอีก

ฯลฯ

ท่านอุปมาว่า เหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์

สัญญา เปรียบเหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆสวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของเขาตกลงกันใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย

วิญญาณ เปรียบเหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลายและรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายและเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน

ปัญญา เปรียบเหมือนเหรัญญิกซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ

อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วยกับสัญญาและวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2012, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 03:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ประเภทของความรู้
สัญญา –วิญญาณ- ปัญญา

ความรู้ตามธรรมมันก็คือ การรู้กระบวนการขันธ์ห้า
ดังนั้นความรู้ก็คือ....การปรุงแต่งของปัญญา
ขันธ์ห้าไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นสิ่งที่ถูกรู้
กรัชกาย เขียน:
สัญญา วิญญาณ ปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์
สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง

การอธิบายความแบบนี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้อธิบายไม่เข้าใจในกระบวนการขันธ์ห้า
ว่ากันตามจริงแล้ว ขันธ์ต่างๆที่กำลังกล่าวถึง เป็นเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ ที่ใช้เรียกแทน
สิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ
ขันธ์ห้าเกิดได้ก็ด้วยเหตุปัจจัย การรู้ขันธ์ห้าต้องรู้โดยลักษณะดังนี้
ขันธ์ห้าไม่สามารถแบ่งแยกได้ เมื่อมีเหตุให้เกิดขันธ์มันย่อมเกิดผลที่ตามมา
คือขันธ์ที่เหลือจนครบห้า ขันธ์จะเกิดแต่เพียงขันธ์ใดขันธ์หนึ่งไม่ได้
และการเกิดจะต้องเกิดตามลำดับ แห่งเหตุปัจจัยของขันธ์ห้า แบบนี้จึงจะเรียกว่ารู้ขันธ์


กรัชกาย เขียน:

สัญญา เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึงการกำหนดรู้ หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์

สัญญาไม่ใช่การไปกำหนดรู้ การกำหนดรู้ไม่ใช่สัญญา การกำหนดรู้มันเป็นการปรุงแต่งของผัสสะ
การรู้สัญญาคือการรู้ตามหลัง นั้นก็คือรู้หลังจากเกิดสังขารขันธ์แล้ว สังขารขันธ์ที่ว่าก็คือ
ปัญญา

กรัชกาย เขียน:

เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ หมา แมว เขา เรา ท่าน เป็นต้น

ข้อความอ้างอิงข้างบนไม่ใช่สัญญา ผู้กล่าวไม่เข้าใจเรื่องขันธ์ห้าจึงพูดออกมาอย่างนั้น
กระบวนการขันธ์ห้าว่ากันตามจริงแล้ว จะต้องรู้ได้ด้วยปัญญา
เมื่อไม่มีปัญญากระบวนการขันธ์ที่เกิดตามเหตุปัจจัยก็ไม่สามารถเกิดหรือรู้ได้

มันทำให้บุคคลเข้าใจผิดว่า ข้อความที่กล่าวมาเป็นสัญญา
แท้จริงแล้วผู้กล่าวยังไม่รู้กระบวนการขันธ์ มันเกิดการปรุงแต่งตั้งแต่
ได้รับผัสสะแล้ว มันจึงไม่เกิดกระบวนการขันธ์ห้าไปตามความเป็นจริง

กรัชกาย เขียน:
วิญญาณ ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งอารมณ์ หมายถึง ความรู้ประเภทยืนพื้น หรือความรู้ที่เป็นตัวยืน เป็นฐานและเป็นทางเดินให้แก่นามขันธ์อื่นๆ เกี่ยวข้องกับนามขันธ์อื่นทั้งหมด เป็นทั้งความรู้ต้น และความรู้ตาม

วิญญาณไม่ใช่ความรู้แจ้ง วิญญาณคือความรู้สึก ความรู้สึกที่ว่า ไม่ใช่อารมณ์แต่เป็นเหตุให้เกิด
อารมณ์

ความรู้แจ้งจะต้องเกิดตามหลังกระบวนการขันธ์ห้า เพราะความรู้ต้องอาศัยปัญญา
และปัญญาก็เกิดจากกระบวนการขันธ์ห้า
กรัชกาย เขียน:
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ฯลฯ
หรือแปลง่ายๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตขอวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใดก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปอีก

มันเป็นความเข้าใจผิดมาแต่ต้น เพราะเอากระบวนการขันธ์ไปใช่กับความคิดจินตนาการ
ซี่งมันเกิดจากสมอง มันไม่ใช่ธรรมชาติ

สัญญาไม่ใช่การจำได้หมายรู้ในสิ่งที่เจ้าของความเห็นบอก
สัญญาคือความจำได้หมายรู้เหตุที่ทำให้เกิดกระบวนการขันธ์
หรือพูดอีกที่ก็คือ ......สัญญาคือความจำได้หมายรู้ว่า สัญญามีเหตุปัจจัยมาจากเวทนา
และสัญญามีเหตุทำให้เกิดสังขารขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 03:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านอุปมาว่า เหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์

อุปมาอีกแล้ว พูดเรื่องขันธ์ห้าอุปมาให้มันออกทะเล
การจะพูดเรื่องขันธ์ห้า ต้องเอามแต่เนื้อๆ น้ำมากมากไป
เดี๋ยวก็สำลักหายใจไม่ออกหรอก
กรัชกาย เขียน:
สัญญา เปรียบเหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆสวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของเขาตกลงกันใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย

ไอ้มองแบบนี้ ใช่สัญญาที่ไหนกัน อย่างนี้เขาเรียก กำลังจินตนาการ ปรุงแต่งผัสสะ
พูดง่ายๆก็คือมันไม่เกิดขันธ์ห้า
สิ่งที่เกิดเรียกว่า ตาไปกระทบวัตถุแล้วก็ปรุงแต่ง
แทนที่ตาไปกระทบวัตถุ แล้วจะตามรู้เหตุปัจจัยไปตามความเป็นจริง

สัญญาในที่นี้ก็คือ จำได้หมายรู้ว่ารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ตาไปกระทบ
นั้นก็คือชอบใจ ไม่ชอบใจหรือเฉยๆ กับสิ่งที่ตาไปกระทบ(เวทนา)

กรัชกาย เขียน:
วิญญาณ เปรียบเหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลายและรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายและเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน

เลอะเทอะ มั่วซะเละเลย มันผิดตั้งแต่คิดที่จะสมมุติแล้ว
จะบอกให้คนที่รู้ขันธ์ห้า เขาจะไม่เอาสิ่งที่พูดสิ่งที่สมมุติแบบนี้มายุ่งเกี่ยว
เพราะการพูดแบบนี้คือคนที่ไม่เข้าใจขันธ์ห้าอย่างแท้จริง
กรัชกาย เขียน:
ปัญญา เปรียบเหมือนเหรัญญิกซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ

อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วยกับสัญญาและวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน

นี่ก็เลอะ พูดไปเรื่อย
จะบอกให้ ขันธ์ห้าจะรู้ได้ก็ด้วยปัญญา
ถ้าปัญญาไม่เกิดขันธ์ห้าก็ไม่เกิด.....เข้าใจมั้ยกรัชกาย :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:


นี่ก็เลอะ พูดไปเรื่อย
จะบอกให้ ขันธ์ห้าจะรู้ได้ก็ด้วยปัญญา
ถ้าปัญญาไม่เกิดขันธ์ห้าก็ไม่เกิด.....เข้าใจมั้ยกรัชกาย :b13:


เวรกรรมจริงๆ

โฮฮับนี่หลงชีวิตไปไกลสุดกู่จริงๆ

ก็ชีวิตหนึ่งๆนี่แหละท่านจำแนกแยกย่อยออกเป็นขันธ์ ได้ 5 ขันธ์

ถึงบอกตั้งแต่ต้นว่าควรเข้าไปศึกษาเบื้องต้นให้เข้าใจ แล้วค่อยออกมาพล่าม :b1:


อีกอย่าง่หนึ่ง ขั้นต้นเข้าใจชีวิตหรือรูปนามขันธ์ 5 ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเสียแล้วเนี่ย คำพูดใดความเห็นใดที่ออกมาจากปากก็ผิดพลาดทั้งหมด เหมือนกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
นี่ก็เลอะ พูดไปเรื่อย
จะบอกให้ ขันธ์ห้าจะรู้ได้ก็ด้วยปัญญา
ถ้าปัญญาไม่เกิดขันธ์ห้าก็ไม่เกิด.....เข้าใจมั้ยกรัชกาย :b13:


ใช่ๆ เลอะจริงๆเลยโฮกฮากน่ะ ขันธ์ 5 มันเกิดของมัน มีของมันอยู่แล้ว จะมีหรือไม่มีปัญญามันก็เกิดเพียงแต่ถ้าคนไม่มีปัญญาก็มองไม่เห็น ตาเห็นแต่ก็ไม่รู้ว่ามันเรียกว่าขันธ์ 5 อย่างโฮกฮากไง เลอะเทอะจริงๆ :b9:

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 37

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


denchai เขียน:
ขอคำอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการความรู้ที่ว่า รู้จัก รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง หน่อยครับ Kiss


ความรู้ที่พอดี ก็คือทางสายกลาง ได้แก่ความรู้ที่พอดี
ความรู้ที่พอดี ที่ทำให้ดีพอ
ไม่รู้มากไป และไม่รู้น้อยไป
ไม่รู้ภายนอกมากไป และไม่รู้ภายในมากไป
ไม่รู้รูปธรรมมากไป และไม่รู้นามธรรมมากไป
ไม่รู้กายมากไป และไม่รู้ที่จิตมากไป
ไม่รู้อะไรให้มากว่าอะไร ไม่มีอคติในการรู้(ลำเอียง)
ไม่เลือกที่รักมักที่ชังในการรู้ ไม่ให้คุณค่าหรือความสำคัญกับอะไรมากกว่าอะไร
" รู้ให้พอดี " ก็ได้แก่การรู้ตามความเป็นจริง ไม่มีการจัดสรรพในการรู้ ไม่มีการล็อคสเป็กในการรู้ เป็นต้น

ด้วยความเคารพ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2012, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รู้จัก รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง

รู้จัก ; ต้องเคยรู้มาก่อน จำได้ก่อน
รู้จำ ; ต้องท่องได้
รู้จริง ; ต้องทำได้
รู้แจ้ง ; ต้องคิดก่อน (ต้องตั้งสติอย่กับตัวให้ได้ และไม่ลดละภาวนา จึงจะรู้แจ้งเห็นจริง :b40:

เปนนิยามสั้นๆ แต่ทำได้แล้วครอบจักรวาล


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร