วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 08:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้คุยกัน นานาสาระ แก้เซ็งคิดว่าเราควรคุยเรื่องอะไรดีเจ้าค่ะ
ถามเรื่องทำไมคนเรายังติดข้องอยู่ในโลกแล้วกันนะค่ะ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 17:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กระทู้คุยกัน นานาสาระ แก้เซ็งคิดว่าเราควรคุยเรื่องอะไรดีเจ้าค่ะ
ถามเรื่องทำไมคนเรายังติดข้องอยู่ในโลกแล้วกันนะค่ะ สาธุ :b8:

กามคุณห้า คือ ยางเหนียว กาวตราช้างที่ยึดเราไว้กับโลก ติดแหง็ก หนีไม่รอดครับ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในอริยวินัย เรียก กามคุณ ๕ ว่าเป็นโลก หรือว่า โลกก็คือกามคุณ ๕ นั่นเอง
กามคุณ ๕ ซึ่งก็ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ


พุทธพจน์ตัวอย่าง

“ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างดังนี้คือ รูปทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยตา...เสียงทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยหู...กลิ่นทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยจมูก...รสทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยลิ้น...โผฏฐัพพะทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้อยากได้ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อาศัยกามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ มีความสุขความฉ่ำใจใดเกิดขึ้น นี้คือส่วนดี ของกามทั้งหลาย นี้เรียกว่า กามสุข”


ผู้ยังติดอยู่ในกามสุข ก็คือติดข้องอยู่ในโลก ผู้ใดเข้าถึงฌาน จะเป็นรูปฌานหรืออรูปฌานก็ตาม ท่านเรียกผู้นั้นว่าได้มาถึงที่สุดของโลกแล้ว และอยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก แต่ก็ยังเป็นผู้เนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตัวไม่พ้นจากโลก ส่วนผู้ใดก้าวล่วงอรูปฌานขั้นสุดท้ายไปได้แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ และเป็นผู้หมดอาสวะเพราะเห็นสัจธรรมด้วยปัญญา ผู้นี้จึงจะเรียกได้ว่า ได้มาถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว อยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก และทั้งได้ข้ามพ้นโยงใยเหนี่ยวพันให้ติดอยู่ในโลกไปได้แล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปาสราสิสูตร ท่านเปรียบกามคุณเหมือนบ่วงดักนายพราน แล้วกล่าวถึงคน (สมณพราหมณ์) ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ไว้ ๓ จำพวก


พวกที่หนึ่ง คือ คนที่บริโภคกามคุณทั้ง ๕ โดยมีความติด หลงใหล หมกมุ่น ไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาพาตัวรอด (นิสสรณปัญญา) เป็นเนื้อป่าที่ติดบ่วงและนอนทับบ่วงอยู่ ย่อมจะประสบความเสื่อม ความพินาศ ถูกพรานทำเอาได้ตามปรารถนา

พวกที่สอง คือ คนที่บริโภคกามคุณทั้ง ๕ โดยไม่ติด ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น รู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาพาตัวรอด (นิสสรณปัญญา) เป็นเนื้อป่าที่ติดบ่วง และนอนทับบ่วง แต่ตัวไม่ติดบ่วง ย่อมจะไม่ประสบความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพรานคือมารร้ายทำอะไรเอาตามปรารถนา

พวกที่สอง คือ คน (ภิกษุ) ที่สงัดจากกาม ปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้บรรลุปฐมฌาน และอรูปฌาน ขั้นใดขั้นหนึ่ง ตลอดจนบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ได้ชื่อว่าทำให้มารตาบอด มองไม่เห็นร่องรอย ถึงภาวะที่มารมองไมเห็น เป็นเหมือนเนื้อป่าเที่ยวไปในป่าใหญ่ จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ปลอดโปร่งเบาใจ เพราะไม่อยู่ในสายตาของนายพราน

พระสูตรนี้ทรงสอนให้รู้จักปฏิบัติต่อกามคุณอย่างถูกต้อง โดยยังคงความเป็นอิสระอยู่ได้ ไม่ตกไปเป็นทาสของกามคุณ และมิให้กามคุณกลายเป็นสิ่งก่อโทษทุกข์ภัย

การเกี่ยวข้องกับกามคุณตามแบบของคน (สมณพราหมณ์) พวกที่สอง นับว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่พึงเน้นมากที่สุดสำหรับคนทั่วไป ตามวิธีปฏิบัติแบบนี้
คำหลักที่ควรสังเกต คือ คำว่า นิสสรณปัญญา หมายถึงปัญญาที่รู้จักทำตนให้เป็นอิสระได้ อาจเรียกแบบง่ายๆว่า ปัญญาที่ทำให้ตัณหาล่อเอาไว้ไม่อยู่ หรือปัญญาที่ทำให้ตัณหาดักไม่ติด



ผู้ปฏิบัติถูกต้องต่อกามสุข ย่อมก้าวหน้าไปสู่สุขที่ประณีตได้ง่ายขึ้น เมื่อประสบสุขประณีตแล้ว สุขประณีตนั้น ก็กลับเป็นเครื่องช่วยควบคุมการแสวงหาและการเสพกามสุข ให้อยู่ในขอบเขตแห่งความถูกต้องดีงาม เพราะบุคคลผู้นั้นเห็นคุณค่าของสุขประณีตที่สุงกว่า และความสุขประณีตต้องอาศัยกุศลธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเป็นคนมีนิสสรณปัญญา บริโภคกามสุขหรืออามิสสุขนี้ ด้วยปัญญารู้เท่าทัน รักษาจิตใจให้เป็นอิสระได้ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ และกินใช้กามวัตถุด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันนั้น โดยเข้าใจความเป็นไปได้ในทางที่จะทำให้ดี และมองเห็นช่องที่จะเสียหายเกิดโทษ รู้จักจัดการวัตถุและกิจการให้เกื้อกูลเป็นคุณก่อเกิดประโยชน์สุข ทั้งแก่ตนเอง และแก่ผู้อื่น ทั้งแก่ตนแก่ครอบครัว ฯลฯ ตลอดจนคนในสังคมทั้งหมด

แน่นอนว่า นิสสรณปัญญา (ปัญญาพาตัวรอด) นั้น ย่อมเป็นแก่นนำสำหรับชีวิตของคฤหัสถ์ ทั้งในการที่จะบริหารกามโภคะ ให้ปลอดภัยไร้โทษ ห่างการเบียดเบียน แต่ให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลดังว่าแล้ว และในการที่จะชี้นำให้ก้าวไปในการพัฒนาชีวิตขึ้นสู่ประโยชน์สุขที่สูงขึ้นไปๆ ท่านจึงเน้นย้ำการใช้ปัญญานี้อยู่เสมอ ในการเกี่ยวข้องและการปฏิบัติต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ให้รู้ทั่วทัน ใน ๓ จุดหลัก คือ คุณ -โทษ – ทางออก หรือ จุดเด่น ข้อดี ข้อเสีย ข้อด้อย และจุดหลุดรอดออกไปเป็นอิสระ ซึ่งเป็นภาวะที่เต็มสมบูรณ์ พ้นจากข้อดีข้อด้อยที่ยังสัมพันธ์กันนั้น ในทุกขั้นทุกตอนที่ไปถึง

ตามปกติ สำหรับชาวบ้านทั่วๆไป ซึ่งพื้นฐานความรู้ความเข้าใจยังไม่มีหรือไม่มาก และยังไม่ได้คิดมุ่งที่จะสละบ้านเรือนออกมา พระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยการแสดงธรรมตั้งแต่พื้นฐานขึ้นไปตามลำดับ ดังที่เรียกว่า อนุปุพพิกถา คือเทศนาหรือคำบรรยายธรรม ที่แสดงขึ้นไปเป็นขั้นๆโดยลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณเจ้าคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พาดพิงอนุปุพพิกถาไว้ ดูความหมายอีกหน่อย

อนุปุพพิกถานั้น ประกอบด้วยคำบรรยายย่อย ๕ ตอน (๓ กถา กับ ๒ ความสืบเนื่อง) คือ

ทานกถา คำบรรยายเรื่องการให้ การสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันเกื้อกูลกัน

สีลกถา คำบรรยายเรื่องความประพฤติดีงาม ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ก่อความเดือดร้อนเวรภัยในสังคม ต่อด้วย

สัคคกถา คำบรรยายว่าด้วยสวรรค์ คือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งมีความสุขด้วยการมวัตถุทั้งหลาย ให้เห็นถึงชุมชนจนถึงหมู่เทพไท้เทวา ที่อยู่กันดีมีความสุขในระดับของกามสุขนั้น นี่ก็คือผลจากทานและศีลนั่นเอง เห็นได้ชัดว่าทั้งหมดในตอนนี้ เป็นหลักคำสอนให้คนรับผิดชอบสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้อยู่ดี มีความสุขสมบูรณ์ในระดับของความสุข

กถา คือคำบรรยายธรรมแท้ๆ มี ๓ เรื่องนี้ และนี่ก็คือการนำชาวบ้านผู้ฟังเหล่านั้นมาถึงจุดหมายสูงสุดที่พวกเขาดิ้นรนเพียรพยายามแสวงหา ให้เห็นว่า เมื่อดำเนินชีวิตประพฤติปฏิบัติตาม ๒ กถาแรกแล้ว ก็จะมีความสุขสมบูรณ์ เสวยกามโภคะอย่างพรั่งพร้อมด้วยดี อย่างที่ทรงบรรยายในกถาที่ ๓ เป็นอันบรรลุ0ความมุ่งหวังสมดังที่หมาย

แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงหยุดแค่นี้ ต่อจากนั้น พอพร้อมได้ที่ พระองค์ก็ตรัสต่อไปถึงกามาทีนพ ให้เห็นว่ากามสุขที่พึ่งพาอาศัยวัตถุสิ่งเสพบริโภคทั้งหลายนั้น ถึงจะดีเลศดังที่ว่า ก็ยังมีจุดอ่อน มีข้อเสียข้อบกพร่อง ที่เปิดช่องและเป็นปัจจัยให้เกิดโทษทุกข์ความเสียหายต่างๆ เมื่อผู้ฟังมองเห็นและเข้าใจดีแล้ว อยากหาทางออก ก็ทรงแสดงต่อไปถึงเนกขัมมานิสงส์ คือการมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง ไม่ต้องพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุสิ่งเสพเหล่านั้น และมีความสุขอย่างอิสระ ที่เป็นคุณสมบัติประจำอยู่ในตัวเอง ทำให้จิตใจของผู้ฟังเปิดโล่งรับ และใฝ่ที่จะเดินหน้าต่อไป เพื่อให้ถึงความสุขที่เป็นนิรามิส ที่ว่าสุขได้อย่างดี โดยไม่ต้องมีไม่ต้องอาศัยกามนั้น

นี่ก็คือการที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างความพร้อมให้แก่ผู้ฟัง เป็นการเตรียมจิตของเขาให้พัฒนาขึ้นมาทีละขั้น อย่างที่พูดกันมาในภาษาเก่าว่าฟอกอัธยาศัยให้หมดจดเป็นขั้นๆ

ดังที่พระไตรปิฎกบรรยายความตอนนี้ว่า ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบว่า เหล่าผู้ฟังนั้น มีจิตพร้อมนุ่มนวล ไร้ความขุ่นเคือง คล่องโปร่ง ร่าเริง ผ่องใสดี เหมือนดังผ้าที่สะอาดหมดจด พร้อมที่จะรับน้ำย้อม ก็ทรงแสดงอริยสัจ ๔ ประการ นี่คือเมื่อใจเขาเปิดแล้ว ก็ใส่ปัญญา ให้เข้าเข้าถึงสัจธรรม มองเห็นความจริงของชีวิตด้วยตัวเอง จนเกิดดวงตาปัญญาเห็นธรรม ที่เรียกว่าธรรมจักษุ กลายเป็นอริยชน ตั้งแต่บุคคลโสดาบันขึ้นไป

คนที่มีธรรมจักษุ เป็นอริยชนอย่างนี้แล้ว ส่วนมากก็อยู่เป็นคฤหัสถ์ครองบ้านครองเมือง ปกครองหมู่คนหรือชุมชนต่อไป ยังบริโภคกามโภคะ เสพกามสุข แต่เป็นกามสุขที่มีนิรามิสสุขประสานพร้อมกันไปด้วยอันเป็นหลักประกันทีจะไม่ให้กามสุขก่อโทษความเดือดร้อนเสียหาย มีแต่เสริมสร้างประโยชน์สุขและความดีงามทำให้อริยชนนั้นดำเนินชีวิตเป็นหลัก และเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนและสังคม และแน่นอนว่าจะก้าวหน้าสูงขึ้นไปในอริยมรรคา ไม่มีการถอยหลังตกต่ำลงมา

เป็นอันว่า กามสุข หรือสามิสสุข ที่เอร็ดอร่อย ซู่ซ่า ซาบซ่าน หวานชื่นนี้ แม้จะเป็นความสุขที่ปรากฏโดดเด่น เป็นที่ปรารถนากันยิ่งนัก แต่เป็นความสุขที่พึ่งพาสิ่งเสพ ขึ้นต่อวัตถุหรือของนอกตัว ไม่เป็นอิสระ ไม่เป็นไทแก่ตน ต้องยึดถือครอบครองเอาเป็นของตัว


พร้อมกันนั้นเอง ในขณะที่การเสพกามสุขนั้น ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ พร่องอยู่ตลอดเวลา ต้องหาต้องเอาและแต่ละคนมุ่งมั่นทะยานหาให้ยิ่งขึ้นไป แต่สิ่งเสพที่ดีเยี่ยม ยอดปรารถนานั้น มีไม่เพียงพอ พาให้เหล่าผู้เสพคอยเพ่งเล็งจ้องกัน เป็นไปกับด้วยความหวาดระแวง มีการขัดแย้งแก่งแย่งช่วงชิง ต้องคอยหวงแหนปกป้อง เป็นเหตุนำมาซึ่งการเบียดเบียน ถ้าไม่รู้จักควบคุมยับยั้ง ก็จะขยายการเบียดเบียนให้กว้างขวางรุนแรงยิ่งขึ้นๆ เกิดความเดือดร้อนทุกข์ภัยขยายระดับและขอบเขตออกไป จนกระทั่งเกิดความพินาศย่อยยับไม่จบสิ้น


ยิ่งกว่านั้น ถึงแม้ได้ครอบครอง และมีไว้ให้ได้เสพสมใจที่มั่นหมาย แต่สิ่งเหล่านั้น ซึ่งเป็นของนอกตัว อาจหลุดลอยสูญหายไปได้ แม้ไม่สูญหาย ก็ไม่ได้อย่างใจ ไม่เป็นไปตามใจของตัว กลับกลายไปเสียบ้าง มันเองเป็นไปอย่างที่มันก็ไม่ปรารถนาบ้าง และไม่ว่าจะอย่างไร ก็มีอันจะต้องปรวนแปรเสื่อมสลาย ไม่อาจคงอยู่อย่างนั้นได้ยั่งยืนตลอดไป และก็จะต้องพลัดพรากจากกันในที่สุดอย่างแน่นอน

พร้อมกับความสุขที่มี ก็จึงพ่วงมาด้วยความห่วงกังวลหวั่นใจ แม้เมื่อเสพอยู่มีความสุขสมหมายนอกจากไม่รู้จักเต็มอิ่มจริงแล้ว ในความสุขนั้นเอง ที่ไม่เต็มอิ่มนั้น ก็ไม่ปลอดโปร่งโล่งล้วน เหมือนมีกากมีเสี้ยนมีเศษมีหนามมีความแปดเปื้อนมีที่ปูดที่โป่งระเกะระกะ คอยรบกวนรวนเร้าให้เกิดความเคืองระคาย เป็นสุขระคนทุกข์ ข้างหน้าก็หวาดพร้อมไปกับที่หวัง ข้างหลังก็หวนหาอาลัย เหลือทั้งไว้แต่ความเสียดาย ไม่เป็นความสุขที่ผ่องใสเบิกบานหมดจดโล่งล้วนทั่วตลอดอย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนความสุขที่ประณีตสูงขึ้นไป เป็นความสุขอิสระ อยู่ภายใน ไม่ขึ้นต่ออะไรอื่น เป็นไทแก่ตัว หมดจดผ่องใส ไม่เป็นพิษภัยแก่ใครๆ แต่เมื่อตัวคนที่มีเสวยสุขนั่นเอง ยังมีกิเลส ก็ยังอาจสยบติดเพลินในความสุขนั้น เป็นเหตุให้เกิดความประมาท ปล่อยปละละเลยกิจหน้าที่ สิ่งที่ควรทำก็ไม่ทำ เรื่องราวที่พึงเอาใจใส่รับผิดชอบและประโยชน์ของส่วนรวม ก็เสียหาย และอาจจะเวียนกลับมาหาสามิสสุขอีกก็ได้ อีกทั้งมัวเพลิน ก็ลืมไม่เพียรพยายามปฏิบัติต่อไป เพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ คือกิเลสอันเป็นเชื้อที่ยังเหลืออยู่ จึงยังบกพร่อง ไม่ดีงามสมบูรณ์

ดังนั้น ทั้งกามสุข หรือสามิสสุขก็ตาม สามิสสุขก็ตาม ของผู้ยังมีกิเลส ก็ยังไม่เป็นอิสระแท้จริง ยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังมีตัวตนที่ติดพัน ยังไม่สิ้นเชื้อทุกข์ ไม่หมดมูลของปัญหา ต้องพัฒนาจิตปัญญาต่อไป จนกว่าจะถึงอาสวักขัย ให้สิ้นกิเลส ไร้ทุกข์ ไม่ติดในอะไรๆ และอะไรๆก็ฉาบทาไม่ติด เหมือนน้ำไม่เปียกใบบัว ตัวอยู่ในโลก แต่ใจอยู่เหนือโลก อยู่เหนือทุกข์ เหนือสุขที่ต้องเสวยเวทนาแม้แต่เวทนาภายในที่ละเอียด เป็นความสุขที่ไม่ต้องเสพไม่ต้องเสวย แต่เสวยสุขได้เต็มอิ่มตามปรารถนา เปรียบเหมือนทางร่างกาย เป็นคนที่แข็งแรงสมบูรณ์ไร้โรค ไม่มีอะไรรบกวนระคายเคือง ปลอดโปร่ง โล่งเบา สงบ สว่าง เบิกบาน สะอาด ผ่องใส ไร้ทุกข์ เป็นความสุขที่เปี่ยมสมบูรณ์ในตัวของมันเอง


เมื่อไม่มีตัวตนที่จะติดในอะไรๆเป็นอิสระสิ้นเชิงแล้ว อยู่ไหน ที่ใด ไม่ต้องมีอะไร ก็เป็นสุขอยู่แล้ว เรียกว่าไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป แม้แต่จะหาความสุข ก็ได้แต่ทำเพื่อโลก เพื่อความสุขของมวลชนทั่วทั้งปวงตลอดไป นี่คือมาถึงความสุขสุดท้ายแห่งภาวะจบสิ้นไปแห่งทุกข์ เลยเขตแดนที่ทุกข์จะเอื้อมมาถึงได้ เป็นจุดหมายสำหรับทุกคน

อย่างไรก็ตาม กามสุขนั้น ถึงแม้จะมีส่วนเสีย มีจุดอ่อน มีข้อด้อยข้อบกพร่องอย่างไร มันก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง และเป็นความสุขที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ ยิ่งในเมื่อมันมีศักยภาพที่จะก่อทุกข์ภัยขยายโทษผลร้ายออกไป ทั้งแก่ชีวิตและสังคม ก็ยิ่งต้องเอาใจใส่ที่จะป้องกัน และแก้ปัญหา รวมแล้วก็คือเป็นเรื่องที่จะต้องบริหารจัดการให้ดี พร้อมกับการที่จะต้องคอยปลุกคอยเตือนให้คนไม่ลืมที่จะพัฒนาตนให้ก้าวหน้าสู่ความสุขที่สูงขึ้นไป


กามสุขนั้น เมื่อบริหารจัดการให้ดี ก็เป็นประโยชน์สุขสำคัญ ที่จำเป็นในขั้นพื้นฐาน ทั้งที่ยังเป็นของขาดพร่องแหว่งเว้านี้แหละ ก็ยังเป็นคุณที่ดีแก่ชีวิต และขยายออกไปให้เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่สังคม ให้อยู่กันร่มเย็นสุข ยิ่งกว่านั้น ก็จะเป็นฐานที่ค้ำจุนสนับสนุนในการพัฒนาตนให้ก้าวขึ้นสู่ประโยชน์สุขที่สูงขึ้นไปๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา :b8:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ด้วยเหตุนี้พอจัดเป็นระบบ จึงปรากฏว่า ท่านจัดให้กามสุขที่บริหารจัดการได้ดีนั้น เป็นคุณค่าเป็นประโยชน์ทีเป็นจุดหมายแห่งชีวิตของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ เป็น อัตถะ อย่างหนึ่ง โดยเป็นอัตถะ คือ ประโยชน์ที่พึงมุ่งหมาย หรือที่พึงลุถึงให้ได้ เป็นขั้นพื้นฐาน เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลกันว่า ประโยชน์ปัจจุบัน คือ ประโยชน์ขั้นตาเห็น ที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า มองเห็นประจักษ์ได้ ก็คือ กามสุข หรือสุขทางวัตถุ ที่พึ่งพาอามิสนี่เอง


ประโยชน์ขั้นตาเห็น เป็นปัจจุบัน หรือทิฏฐธัมมิกัตถะนี้ ซึ่งเป็นความสุขในระดับรูปธรรม เกี่ยวข้องกับวัตถุ สิ่งเสพ ของบริโภค และการอยู่ร่วมกัน การจัดสรรความสัมพันธ์ให้ดีงามเกื้อกูล ว่าโดยสรุป ก็ได้แก่

- การขยันหมั่นเพียรประกอบกิจการงาน ทำมาหาเลี้ยงชีพ ให้มีทรัพย์สินเงินทองเลี้ยงครอบครัวและคนในความดูแลรับผิดชอบเป็นอย่างน้อย ให้ทุกคนเอิบอิ่มเป็นสุข

- การมีความสัมพันธ์ที่ดีงามในสังคม อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ดี มีสถานะเป็นที่ยอมรับนับถือ ตลอดจนพรั่งพร้อมด้วยเกียรติยศ อิสริยยศ และบริวารยศ

- การมีครอบครัวมีผาสุก ดำรงรักษาตระกูลวงศ์ให้เป็นแบบอย่าง เป็นที่นับถือ เอื้อประโยชน์สุขแก่สังคม และการดูแลร่างกาย บริหารสุขภาพ เช่น รู้จักประมาณในการบริโภค กินพอดี ให้อยู่สบายไร้โรค แข็งแรงสมบูรณ์

ส่วนความสุขประณีตเป็นอิสระข้างในทีเป็นไทแก่ตน จำพวกนิรามิสสุขนั้น ก็เป็น อัตถะ คือประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของชีวิต สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง หรือเป็นอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า สัมปรายิกัตถะ แปลกันว่า ประโยชน์เบื้องหน้า คือ ประโยชน์ขั้นเลยตาเห็น ได้แก่ ลึกลงไปข้างใน อยู่ในใจ ก็เลยตาเห็น หรือลับไปข้างหน้า ในชีวิตข้างหน้า ในอนาคต ก็เลยตาเห็น เป็นภาวะที่ไม่ปรากฏต่อหน้า มองเห็นประจักษ์แก่ตาไม่ได้

ตัวอย่าง เช่น ในฝ่ายทิฏฐธัมมิกัตถะ คนมีของกินเสพบริโภคพรั่งพร้อมบริบูรณ์ ถือกันว่ามีความสุข ก็มองเห็นชัดอยู่
แต่ในฝ่ายสัมปรายิกัตถะ คนไปช่วยคนอื่นให้เขาพ้นทุกข์มา แสนจะปลาบปลื้มใจมีความสุข หรือมีศรัทธาดื่มด่ำซาบซึ้งในธรรมในความดี มีความสุขสงบเย็น อย่างนี้ก็เลยสายตาเข้าไปข้างใน ไม่มีใครมองเห็น และความสุขที่มากับความดีอย่างนี้ มีผลต่อไปถึงชาติภาพข้างหน้า ก็เลยนายตามองไม่เห็นอีก จึงเป็นสัมปรายิกัตถะ

ประโยชน์ขั้นเลยตาเห็น เป็นของลึกล้ำเลยตา หรือสัมปรายิกัตถะนี้ ในความหมายอย่างกว้างๆก็รวมความสุขอย่างประณีตอิสระภายในทุกอย่าง ตั้งแต่ความสุขจากความมีศรัทธา ความมีศีลดีงาม สุขจากสมาธิ สุขจากฌาน ฯลฯ จนแม้กระทั่งนิพพานสุข ดังนั้นในที่ทั่วๆไป ในพระสูตรทั้งหลาย จะกล่าวถึงอัตถะเพียง ๒ อย่าง คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ และสัมปรายิกัตถะ ซึ่งเป็นการเหมาะที่จะพูดสอนชาวบ้านทั่วไป พูดแค่ความสุขที่เขาคุ้นอยู่กับตัว และอีกอย่างหนึ่งก็คือสุขที่เลยจากนั้นไป ก็จะพูดกันง่ายหน่อย


แต่อย่างที่กล่าวแล้ว ในประดาความสุขอย่างอิสระนิรามิสนั้น สุขหลายอย่างก็ยังไม่สมบูรณ์ กลับกลายได้ ติดได้ ประมาทได้ ดังนั้น บางที เมื่อพูดกับผู้ที่มีภูมิอยู่บ้างแล้ว และศึกษากันจริงจัง ก็เลยต้องแยกให้ละเอียดออกไป แล้วจากสัมปรายิกัตถะนั้น ก็แยกเอาความสุขแท้แห่งอาสวักขัย คือ สุขของพระอรหันต์ หรือ นิพพานสุข ให้ต่างหากออกไป และมีชื่อที่เรียกให้ว่า ปรมัตถะ แปลว่า ประโยชน์สูงสุด

เป็นอันว่า อัตถะ คือประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของชีวิต ที่ทุกคนควรไปถึงให้ได้นั้น ถ้าแบ่งอย่างพื้นๆก็แยกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ขั้นตาเห็น และสัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์ขั้นเลยตาเห็น (รวมปรมัตถะไว้ด้วย) แต่ถ้าแบ่งแบบซอยละเอียด ก็แยกเป็น ๓ อย่าง คือ

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ขั้นตาเห็น เน้นให้มีสุขภาพ ทรัพย์ ยศ-เกียรติ-ไม่ตรี บ้านที่เป็นสุข

๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เลยตาเห็น เน้นให้มีจิตใจงามประณีตเป็นสุขด้วยการเจริญจิตปัญญา

๓. ปรมัตถะ ประโยชน์สูงสุด มีปัญญารู้แจ้งที่ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบานเป็นสุขอิสระแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2012, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

นอกจากให้พัฒนาชีวิตก้าวสูงขึ้นไปเพื่อเข้าถึงอัตถะทั้ง ๓ ขั้นนั้นแล้ว ก็ให้มองกว้างออกไป ที่จะบำเพ็ญอัตถะทั้ง ๓ นั้น ไม่เฉพาะแก่ตนเอง แต่ให้ช่วยผู้อื่น และช่วยกันด้วย จึงมี อัตถะ ๓ อีก เป็นชุดที่ ๒ ดังนี้

๑. อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือ ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง

๒. ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือ ประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ให้ถึง ด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปตามลำดับ

๓. อุภยัตถะ จุดหมายร่วมกัน หรือ หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันนของชุมชนหรือสังคม รวมทั้งสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์ บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย ๓ ขั้นข้างต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2012, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากกามสุข มีความสำคัญอยู่ที่การรู้จักบริหารจัดการดังกล่าวแล้ว พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนบรรดาสาคารชนคนชาวบ้าน ให้ปฏิบัติธรรมที่จะนำมาซึ่งทิฏฐธัมมิกัตถะ ให้รู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์สินเงินทอง เป็นต้น อย่างถูกต้องและเกื้อกูล คำตรัสสอนเหล่านี้กระจายอยู่ในที่ต่างๆในพระไตรปิฎก

อนึ่ง เมื่อทรงสอนหลักธรรมเพื่อประโยชน์ขั้นตาเห็นนั้น นอกจากนั้นทรงย้ำนิสสรณปัญญารู้ทางรอดที่กล่าวแล้ว ก็จะทรงสอนธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เลยตาเห็น คือ สัมปรายิกัตถะ ควบไปด้วย เพราะธรรมในระดับของความสุขที่ประณีตนั้น จากจากเป็นหลักประกั้นสำหรับตนเอง ที่จะไม่ให้กามสุขที่สร้างขึ้นมา เป็นพิษเกิดโทษแก่ตนเองแล้ว ก็เป็นประกันที่จะไม่ให้กามสุขของตนนั้น ก่อทุกข์ภัยแก่ผู้อื่น หรือเบียดเบียนสังคม แต่ตรงข้ามเขาจะได้ใช้กามโภคะของเขานั้น ช่วยเหลือเกื้อกูลบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่เพื่อนมนุษย์ขยายกว้างอกไป พร้อมกันนั้น ก็จะได้เป็นการเตือนตัวเขาเองให้ไม่ลืมที่จะพัฒนาความสุขอิสระอันประณีตนั้นให้ก้าวต่อสูงขึ้นไปด้วย

หลักธรรมเพื่อการพัฒนาชีวิตของชาวบ้านผู้เจริญงอกงาม ให้ก้าวไปในสัมปรายิกัตถะ ซึ่งหมายรวมต่อไปถึงสปรมัตถะด้วย ที่ตรัสเป็นหลักอยู่เสมอ เป็นเชิงกำกับคุมเรื่องกามสุขไว้ มีชื่อต่างๆ แต่ชื่อที่เป็นหลัก คือ ที่ตรัสว่า อริยสาวก/อริยสาวิกา เจริญด้วย อริยาวัฒิ (ความเจริญงอกงามอย่างอริยชน) ๕ ประการ ได้แก่

๑. ศรัทธา ความซาบซึ้งมั่นใจในคุณพระรัตนตรัย ซึ่งมีแกนอยู่ที่ตถาคตโพธิสัทธา คือ ศรัทธาในปัญญาตรัสรู้ของตถาคต ที่ทำให้มนุษย์เป็นพุทธะ เท่ากับมั่นใจในความเป็นมนุษย์ที่จะฝึกให้เลิศประเสริฐจนมีปัญญารู้แจ้งเป็นพุทธะได้ ข้อนี้นับเป็นจุดตั้งต้นของการศึกษาพัฒนาชีวิต

๒. ศีล ความประพฤติดีงาม ดำเนินชีวิตที่ปลอดเว้นการเบียดเบียน โดยมีศีล ๕ ที่อาจพัฒนาสู่ศีล ๘

๓ สุตะ สดับฟังข้อมูลคำสอนหลักธรรมคำอธิบายที่จะนำมาไตร่ตรองพิจารณาวิเคราะห์วิจัยให้เข้าถึงความหมาย โดยเฉพาะที่จะเกื้อหนุนการพัฒนาชีวิตให้ก้าวต่อไป

๔. จาคะ ความมีน้ำใจเผื่อแผ่เสียสละ ครองเรือนด้วยใจที่ไม่ตระหนี่คับแคบ ใส่ใจรับฟังทุกข์สุขของคน พร้อมที่จะให้ปันช่วยเหลือ

๕. ปัญญา ความมีปัญญารู้เท่าทันความเป็นจริง หยั่งถึงสภาวะแห่งการเกิดขึ้นและความดับสลาย ทำให้สามารถลดละความชั่วร้าย กิเลสตั้งตัวไม่ได้ และสามารถแก้ปัญหาทำทุกข์ให้สิ้นไป

ใน ๕ ข้อนี้ ที่ถือว่าจำเป็นจริงๆ ต้องมาเต็มชุด ๔ ข้อ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ส่วนสุตะ คือ ความรู้ข้อมูล ก็ควรจะมี ยิ่งเป็นพหูสูต ได้เรียนรู้มาก ก็ยิ่งดี แต่ถึงจะขาดไป ก็พอยอมได้ ถ้ามีปัญญา ก็พึ่งพาสุตะน้อยลง แต่ถึงเล่าเรียนนาน มีสุตะมาก แต่ถ้าขาดปัญญา ก็ไม่สัมฤทธิ์ผล ปัญญาสำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม รวมแล้ว คุณสมบัติเหล่านี้ ถือว่าเป็นกำไรของชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2012, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“วัฒิ” นี้ ถ้าแปลตรงศัพท์แท้ ก็คือ “กำไร” ใน...ตรัสถึงอริยสาวกที่เจริญด้วยอริยาวัฒิ ๑๐ ประการ เป็นฝ่ายทิฏฐธัมมิกัตถะ ๕ ข้อ (เจริญด้วย เรือกสวนไร่นา เงินทองธัญชาติ บุตรภรรยา คนรับใช้กรรมกรคนทำงาน สัตว์สี่เท้า) แล้วคุมด้วยฝ่ายสัมปรายิกัตถะ ๕ ข้อ (ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2012, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากพิจารณาการแสดงอนุปุพพิกถาของพระพุทธเจ้าแล้ว จะเห็นว่า พระองค์ทรงแสดงธรรมงดงามเป็นลำดับ ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ตามคำสวดสรรเสริญพระพุทธคุณนี้

โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฒกัลยาณัง ปริโยสานกัลยาณัง สาตถัง สพยัญชนัง เกวลปริปุณณัง ปริสุทธัง พรหมจริยัง ปกาเสสิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2012, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา




ลักษณะทั้งสาม คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เป็นภาวะที่สัมพันธ์เนื่องอยู่ด้วยกันเป็นอาการสามด้าน หรือสามอย่างของเรื่องเดียวกัน เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ดังพุทธพจน์ที่ตรัสบ่อยๆว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา (ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา) และมักมีข้อความที่ตรัสต่อไปอีกด้วยว่า สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่เป็นตัวตนของเรา


ความเนื่องอยู่ด้วยกัน ความสัมพันธ์สืบต่อกัน ความเป็นต่างด้านของเรื่องเดียวกัน และความเป็นเหตุเป็นผลแก่กันของลักษณะทั้งสามนี้ อาจกล่าวให้สั้นที่สุดได้ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากองค์ประกอบต่างๆประมวลกันเข้า องค์ประกอบเหล่านั้นสัมพันธ์กันโดยอาการที่ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับสลาย เป็นปัจจัยส่งต่อสืบทอดกัน ผันแปรเรื่อยไป รวมเรียกว่าเป็นกระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ในสภาพนี้

๑. ภาวะที่องค์ประกอบทั้งหลายเกิดสลายๆ องค์ประกอบทุกอย่าง หรือกระบวนธรรมทั้งหมด ไม่คงที่ = อนิจจตา

๒. ภาวะที่องค์ประกอบทั้งหลาย หรือกระบวนธรรมทั้งหมดถูกบีบคั้นด้วยการเกิดสลายๆ ต้องผันแปรไป ทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ ไม่คงตัว = ทุกขตา

๓. ภาวะที่เกิดจากองค์ประกอบทั้งหลายประมวลกันขึ้น ไม่มีตัวแกนถาวรที่จะบงการ ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นตัว = อนัตตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 95 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron