วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 13:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2012, 13:21
โพสต์: 21

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
อายุ: 20

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวท่านแคท.....ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา แล้วเราคือใคร ท่านลองโดนตีดูบ้าง ถามว่าใครเจ็บ ท่านเจ็บไหมละ........."

คำถามนี้เรียกเสียงเฮฮา.....ขำขันกันทั่วห้องประชุม
แต่บางกลุ่มคนก็ไม่ได้ขำไปด้วย...ได้แต่ส่ายหน้าไปมากับบุคคลที่ถามเช่นนั้น.........

แคท"คำถามนี้ในสมัยพุทธกาลก็มีคนถามมาก พระพุทธองค์ก็ทรงตอบว่า ถ้าร่างกายนี้เป็นของท่าน ท่านบังคับไม่ให้แก่ เจ็บ หรือ ตายได้ไหมละ......"

ทุกคนเงียบ......................

ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวมันเป็นธรรมชาติ เกิดมาก็แก่ เจ็บ ตาย นะท่าน บังคับไม่ได้อยู่แล้ว"

แคท "นั่นแหละสภาพที่บังคับไม่ได้นี่แหละ ท่านเรียกว่าทุกข์ "

ทุกขัง(ทุกฺขํ,ทุกขะ) หรือ ทุกข์ แปลว่า ทนอยู่ได้ยาก.

ท่านว่า...

สรรพชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด ล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้นทั้งปวง
ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นสุขเลย

เพียงแต่เรามักไม่รู้ตัว ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
ไม่ได้เห็นเป็นทุกข์อะไร เมื่อแก้ทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปก็สุข

เช่นเมื่อหิว แล้วได้อาหารเข้าไปก็เป็นสุข แต่แล้วมื้อหน้า
เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ร่ำไปไม่รู้จบ




รบกวนขยายความตัวแดงให้ทีนะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 14:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่ขุนพลน้อย :b8:
ข้อความสีแดงนั้น สรุปลงที่ไตรลักษณะ 3 ครับ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หากอยากให้ขยายความ ผมว่าน่าจะสอบถามกับท่านที่เป็นเจ้าของคำกล่าวนี้มากกว่านะครับ หรือไม่ก็รอให้พี่ๆในนี้มาอธิบายให้นะครับ

ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


มันทุกข์เพราะไม่เป็นอมตะนั้นเอง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ขุนพลน้อย เขียน:
ฌาณ เขียน:
ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวท่านแคท.....ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา แล้วเราคือใคร ท่านลองโดนตีดูบ้าง ถามว่าใครเจ็บ ท่านเจ็บไหมละ........."

คำถามนี้เรียกเสียงเฮฮา.....ขำขันกันทั่วห้องประชุม
แต่บางกลุ่มคนก็ไม่ได้ขำไปด้วย...ได้แต่ส่ายหน้าไปมากับบุคคลที่ถามเช่นนั้น.........

แคท"คำถามนี้ในสมัยพุทธกาลก็มีคนถามมาก พระพุทธองค์ก็ทรงตอบว่า ถ้าร่างกายนี้เป็นของท่าน ท่านบังคับไม่ให้แก่ เจ็บ หรือ ตายได้ไหมละ......"

ทุกคนเงียบ......................

ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวมันเป็นธรรมชาติ เกิดมาก็แก่ เจ็บ ตาย นะท่าน บังคับไม่ได้อยู่แล้ว"

แคท "นั่นแหละสภาพที่บังคับไม่ได้นี่แหละ ท่านเรียกว่าทุกข์ "

ทุกขัง(ทุกฺขํ,ทุกขะ) หรือ ทุกข์ แปลว่า ทนอยู่ได้ยาก.

ท่านว่า...

สรรพชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด ล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้นทั้งปวง
ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นสุขเลย

เพียงแต่เรามักไม่รู้ตัว ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
ไม่ได้เห็นเป็นทุกข์อะไร เมื่อแก้ทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปก็สุข

เช่นเมื่อหิว แล้วได้อาหารเข้าไปก็เป็นสุข แต่แล้วมื้อหน้า
เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ร่ำไปไม่รู้จบ




รบกวนขยายความตัวแดงให้ทีนะครับ :b8:


ข้าพเจ้าจะกล่าวโดยรวมเพี่อความกระชับ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

ที่ผู้ฟังรายที่สองพูด เป็นสิ่งถูกต้องที่สุด
ในหลักทางพุทธศาสนา แม้จะมีหลักไตรลักษณ์ ปรากฎอยู่ ก็มิได้หมายความว่า "สามัญลักษณะ" หรือไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่ต้องนำมาคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดความเศร้าหมอง

สามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ เป็นเพียงเรื่อง "ธรรมดา" ของสรรพสิ่ง

ถ้าทุกคนผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา เห็นว่า "การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เป็นทุกข์ เป็นสิ่งไม่มีตัวตน" เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ต้องนำมาคิด นั่นแหละคุณ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

แต่ถ้าบุคคลนั้นๆ นำเอา "การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นทุกข์ เป้นสิ่งไม่มีตัวตน" มาคิดพิจารณาด้วยความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในทางที่ผิด ก็จะเกิดความเศร้าหมองในจิตใจ โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล โดยไม่รู้ตัว เพราะเข้าใจไปว่า
ถ้า คิดว่า "การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นทุกข์ เป็นสิ่งไม่มีตัวตน" ดังที่ผู้ที่ใช้ชื่อว่า "แคท"ได้อธิบายหรือเพ้อเจ้อนั้น นั่นคือ ความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในจิตใจ
เพราะ ไม่เห็นไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า "สรรพสิ่ง ล้วนมีการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน" เป็นเรื่อง "ธรรมดา" เมื่อมันเป็นธรรมดาแล้ว บุคคลผู้รู้แล้ว ตื่นแล้ว เบิกบาน แล้วจึงไม่เศร้าหมอง จึงไม่ทุกข์ ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2012, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

http://www.ruendham.com/libary.php?group=1&id=10

« ความทุกข์และการดับทุกข์ :b42:

- คำนำ
- ความทุกข์
- ทุกข์ในขันธ์
- ทุกข์ในอริยสัจ
- ทุกข์ในไตรลักษณ์
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 1. สภาวทุกข์
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 2. ปกิณกทุกข์
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 3. นิพัทธทุกข์
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 4. โรคพยาธิ
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 6. วิปากทุกข์
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 7. สหคตทุกข์
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 8. อาหารปริเยฏฐิทุกข์
- ความทุกข์ 10 ประเภท - 9. วิวาทมูลกทุกข์

:b44: :b42: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะมีสิ่งปิดบังไม่ให้เห็น สามัญญลักษณะ

สันตติ ความสืบเนื่องกัน บังอนิจจัง
อิริยาบท คือการเปลี่ยนอิริยาบท บังทุกขัง
ฆานสัญญา ความเป็นแท่งหรือความเป็นก้อน บังอนัตตา

ดังนั้น ผู้ใดเห็นว่าสังขารทั้งปวงตกอยู่ภายใต้ สามัญญลักษณะ (พระไตรลักษณ์) คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีอะไรเป็นของๆเราอย่างแท้จริง ได้ชื่อว่า มีปัญญา ได้ สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณ)

ที่มา วิปัสสนาภาวนา โดย ฐิตวณโณ ภิกขุ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 03:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขุนพลน้อย เขียน:
ฌาณ เขียน:
ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวท่านแคท.....ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา แล้วเราคือใคร ท่านลองโดนตีดูบ้าง ถามว่าใครเจ็บ ท่านเจ็บไหมละ........."

คำถามนี้เรียกเสียงเฮฮา.....ขำขันกันทั่วห้องประชุม
แต่บางกลุ่มคนก็ไม่ได้ขำไปด้วย...ได้แต่ส่ายหน้าไปมากับบุคคลที่ถามเช่นนั้น.........

แคท"คำถามนี้ในสมัยพุทธกาลก็มีคนถามมาก พระพุทธองค์ก็ทรงตอบว่า ถ้าร่างกายนี้เป็นของท่าน ท่านบังคับไม่ให้แก่ เจ็บ หรือ ตายได้ไหมละ......"

ทุกคนเงียบ......................

ผู้ฟังรายที่ 2 "อ้าวมันเป็นธรรมชาติ เกิดมาก็แก่ เจ็บ ตาย นะท่าน บังคับไม่ได้อยู่แล้ว"

แคท "นั่นแหละสภาพที่บังคับไม่ได้นี่แหละ ท่านเรียกว่าทุกข์ "

ทุกขัง(ทุกฺขํ,ทุกขะ) หรือ ทุกข์ แปลว่า ทนอยู่ได้ยาก.

ท่านว่า...

สรรพชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด ล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้นทั้งปวง
ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นสุขเลย

เพียงแต่เรามักไม่รู้ตัว ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
ไม่ได้เห็นเป็นทุกข์อะไร เมื่อแก้ทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปก็สุข

เช่นเมื่อหิว แล้วได้อาหารเข้าไปก็เป็นสุข แต่แล้วมื้อหน้า
เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ร่ำไปไม่รู้จบ

รบกวนขยายความตัวแดงให้ทีนะครับ :b8:

น้องเสมาของแม่หญิงเรไรจ๊ะ ก่อนอื่นเลยน้องต้องแยกกันให้ออกน่ะว่า
ทุกข์กายกับทุกใจมันไม่เหมือนกัน

การมีชีวิตอยู่มีร่างกายอยู่มันเป็นทุกข์ทางกาย มันเป็นสิ่งเที่ยงแท้แน่นอน
เราไม่สามารถไปแก้ได้ การจะแก้ต้องไปแก้ที่ใจ

ส่วนความไม่สบายใจเรียกว่าทุกข์ทางใจ มันเป็นสังขาร เกิดจากการปรุงแต่ง
มันเป็นอนิจจังความไม่เที่ยง ดังนั้นเราสามารถแก้หรือดับทุกข์ใจได้

ความหิวมันเป็นความทุกข์ทางกาย มันส่งผลให้เกิดทุกข์ทางใจ
ถ้าจะพูดในเชิงกรรมฐานแล้ว ความหิวเป็นเหตุให้เกิดนิวรณ์ ฟุ้งซ่าน
จะดับนิวรณ์ก็ต้องไปดับที่เหตุ เหตุก็คือความหิว นั้นก็คือไปดับทุกข์ทางกาย
ก็แค่ทำให้ความหิวหายไป การหายไปต้องทำตามความเป็นจริง
ไม่ใช่ไปบังคับกายไม่ให้หิว มันเป็นไปไม่ได้ หิวทำให้หายหิวก็ต้องกินข้าวแค่นั้น :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 06:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2012, 13:21
โพสต์: 21

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
อายุ: 20

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
เพราะมีสิ่งปิดบังไม่ให้เห็น สามัญญลักษณะ

สันตติ ความสืบเนื่องกัน บังอนิจจัง
อิริยาบท คือการเปลี่ยนอิริยาบท บังทุกขัง
ฆานสัญญา ความเป็นแท่งหรือความเป็นก้อน บังอนัตตา

ดังนั้น ผู้ใดเห็นว่าสังขารทั้งปวงตกอยู่ภายใต้ สามัญญลักษณะ (พระไตรลักษณ์) คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีอะไรเป็นของๆเราอย่างแท้จริง ได้ชื่อว่า มีปัญญา ได้ สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณ)

ที่มา วิปัสสนาภาวนา โดย ฐิตวณโณ ภิกขุ


:b8: คุณ student ครับ งั้นก็แสดงว่าคนที่เห็นเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องธรรมชาติก็เห็นถูกต้องแล้วใช่หรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 07:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2012, 13:21
โพสต์: 21

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
อายุ: 20

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

การมีชีวิตอยู่มีร่างกายอยู่มันเป็นทุกข์ทางกาย มันเป็นสิ่งเที่ยงแท้แน่นอน
เราไม่สามารถไปแก้ได้ การจะแก้ต้องไปแก้ที่ใจ

ส่วนความไม่สบายใจเรียกว่าทุกข์ทางใจ มันเป็นสังขาร เกิดจากการปรุงแต่ง
มันเป็นอนิจจังความไม่เที่ยง ดังนั้นเราสามารถแก้หรือดับทุกข์ใจได้

ความหิวมันเป็นความทุกข์ทางกาย มันส่งผลให้เกิดทุกข์ทางใจ
ถ้าจะพูดในเชิงกรรมฐานแล้ว ความหิวเป็นเหตุให้เกิดนิวรณ์ ฟุ้งซ่าน
จะดับนิวรณ์ก็ต้องไปดับที่เหตุ เหตุก็คือความหิว นั้นก็คือไปดับทุกข์ทางกาย
ก็แค่ทำให้ความหิวหายไป การหายไปต้องทำตามความเป็นจริง
ไม่ใช่ไปบังคับกายไม่ให้หิว มันเป็นไปไม่ได้ หิวทำให้หายหิวก็ต้องกินข้าวแค่นั้น :b13:
[/quote][/quote]

:b8: คุณโฮฮับครับ ผมอ่านแล้วทำให้ผมเข้าใจอย่างนี้ครับ ยังไงคนเราก็ต้องกินแต่จะกินมากกินน้อยก็แยกกันไป เช่น

ที่ผมได้อ่านประวัติ หลวงปู่ หลวงตา มา ท่านจะฉันน้อยมาก ฉันวันละมื้อก็มี สามวันมื้อเดียวก็มี สัปดาห์หนึ่งมือเดียวก็มี

เพราะท่านไม่ได้ใช้กำลังกายมากท่านจึงฉันน้อยร่างกายต้องการพลังงานน้อย แต่สำหรับคนที่ทำงานเช้าพักเที่ยงต่อบ่ายถึงค่ำเค้าหิวร่างกาย

เค้าต้องการพลังงาน จะกินสามเวลาเลยก็ไม่แปลก ไม่ได้แสดงว่าทุกข์เยอะกิเลศเยอะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 07:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ขุนพลน้อย เขียน:
student เขียน:
เพราะมีสิ่งปิดบังไม่ให้เห็น สามัญญลักษณะ

สันตติ ความสืบเนื่องกัน บังอนิจจัง
อิริยาบท คือการเปลี่ยนอิริยาบท บังทุกขัง
ฆานสัญญา ความเป็นแท่งหรือความเป็นก้อน บังอนัตตา

ดังนั้น ผู้ใดเห็นว่าสังขารทั้งปวงตกอยู่ภายใต้ สามัญญลักษณะ (พระไตรลักษณ์) คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีอะไรเป็นของๆเราอย่างแท้จริง ได้ชื่อว่า มีปัญญา ได้ สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณ)

ที่มา วิปัสสนาภาวนา โดย ฐิตวณโณ ภิกขุ


:b8: คุณ student ครับ งั้นก็แสดงว่าคนที่เห็นเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องธรรมชาติก็เห็นถูกต้องแล้วใช่หรือเปล่าครับ


เห็น....แล้วมันต้องมีผลตามมา...

เห็นแล้วก็ทำอย่างเดิม...จมอยู่เหมือนเดิม...พอใจที่จะอยู่แค่นั้น...อันนี้ไม่เรียกว่า...เห็น

ถ้าเห็น...แล้วมันเศร้าจับจิต...คิดแล้วเศร้าจับใจ...เห็นเป็นเสนียดจัญไร...อยากกระโด่ดหนีให้ไว...อันนี้น่าคิดหน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ขุนพลน้อย เขียน:
student เขียน:
เพราะมีสิ่งปิดบังไม่ให้เห็น สามัญญลักษณะ

สันตติ ความสืบเนื่องกัน บังอนิจจัง
อิริยาบท คือการเปลี่ยนอิริยาบท บังทุกขัง
ฆานสัญญา ความเป็นแท่งหรือความเป็นก้อน บังอนัตตา

ดังนั้น ผู้ใดเห็นว่าสังขารทั้งปวงตกอยู่ภายใต้ สามัญญลักษณะ (พระไตรลักษณ์) คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีอะไรเป็นของๆเราอย่างแท้จริง ได้ชื่อว่า มีปัญญา ได้ สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณ)

ที่มา วิปัสสนาภาวนา โดย ฐิตวณโณ ภิกขุ


:b8: คุณ student ครับ งั้นก็แสดงว่าคนที่เห็นเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องธรรมชาติก็เห็นถูกต้องแล้วใช่หรือเปล่าครับ


เห็น....แล้วมันต้องมีผลตามมา...

เห็นแล้วก็ทำอย่างเดิม...จมอยู่เหมือนเดิม...พอใจที่จะอยู่แค่นั้น...อันนี้ไม่เรียกว่า...เห็น

ถ้าเห็น...แล้วมันเศร้าจับจิต...คิดแล้วเศร้าจับใจ...เห็นเป็นเสนียดจัญไร...อยากกระโด่ดหนีให้ไว...อันนี้น่าคิดหน่อย

แปลกคนจริงๆ เห็นไตรลักษณ์เป็นเสนียดจัญไร สงสัยมารแปลงร่าง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 00:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขุนพลน้อย เขียน:
student เขียน:
เพราะมีสิ่งปิดบังไม่ให้เห็น สามัญญลักษณะ

สันตติ ความสืบเนื่องกัน บังอนิจจัง
อิริยาบท คือการเปลี่ยนอิริยาบท บังทุกขัง
ฆานสัญญา ความเป็นแท่งหรือความเป็นก้อน บังอนัตตา

ดังนั้น ผู้ใดเห็นว่าสังขารทั้งปวงตกอยู่ภายใต้ สามัญญลักษณะ (พระไตรลักษณ์) คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีอะไรเป็นของๆเราอย่างแท้จริง ได้ชื่อว่า มีปัญญา ได้ สัมมสนญาณ (วิปัสสนาญาณ)

ที่มา วิปัสสนาภาวนา โดย ฐิตวณโณ ภิกขุ


:b8: คุณ student ครับ งั้นก็แสดงว่าคนที่เห็นเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องธรรมชาติก็เห็นถูกต้องแล้วใช่หรือเปล่าครับ


ถูกครับ ที่เห็นเป็นเรื่องธรรมชาติ เหลือแต่ การปล่อยวางเมื่อธรรมชาตินั้นได้เกิดขึ้นในสภาวะความที่คิดว่าความเป็นเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยสภาวะของขันธ์5

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 07:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b20:
อ้างคำพูด:
สรรพชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด ล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้นทั้งปวง
ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นสุขเลย

เพียงแต่เรามักไม่รู้ตัว ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
ไม่ได้เห็นเป็นทุกข์อะไร เมื่อแก้ทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปก็สุข

เช่นเมื่อหิว แล้วได้อาหารเข้าไปก็เป็นสุข แต่แล้วมื้อหน้า
เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ร่ำไปไม่รู้จบ


รบกวนขยายความตัวแดงให้ทีนะครับ

:b27:
ทำไมถึงไม่รู้ตัว?

ทำไมถึงไม่เห็นทุกข์และความบีบคั้นทั้งปวง?

ทำไมจึงเห็นทุกข์จนเคยชินกลายเป็นเรื่องธรรมดา

ทำไมถึงเดี๋ยว สุกข์ เดี๋ยวทุกข์ ไม่รู้จบ?

:b23:
:b7:
onion
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

เพราะ นันทิ....ความเพลิดเพลิน....นั่นเลยทีเดียวที่เป็นสิ่งร้อยรัดใจสัตว์โลกทั้งหลาย ให้หลงวนเวียนอยู่ ไม่รู้ทางออก"


(ท่านใดเก่งคัมภีร์กรุณาค้นพระสูตรที่เกี่ยวกับเรื่อง นันทิ นี้มา เล่าสู่กันฟังหน่อยนะครับ ผมค้นไม่เป็นครับ แต่เคยอ่านผ่านตา)
:b7:
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b20:
อ้างคำพูด:
สรรพชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด ล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้นทั้งปวง
ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นสุขเลย

เพียงแต่เรามักไม่รู้ตัว ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
ไม่ได้เห็นเป็นทุกข์อะไร เมื่อแก้ทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปก็สุข

เช่นเมื่อหิว แล้วได้อาหารเข้าไปก็เป็นสุข แต่แล้วมื้อหน้า
เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ร่ำไปไม่รู้จบ


รบกวนขยายความตัวแดงให้ทีนะครับ

:b27:
ทำไมถึงไม่รู้ตัว?

ทำไมถึงไม่เห็นทุกข์และความบีบคั้นทั้งปวง?

ทำไมจึงเห็นทุกข์จนเคยชินกลายเป็นเรื่องธรรมดา

ทำไมถึงเดี๋ยว สุกข์ เดี๋ยวทุกข์ ไม่รู้จบ?

:b23:
:b7:
onion
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

เพราะ นันทิ....ความเพลิดเพลิน....นั่นเลยทีเดียวที่เป็นสิ่งร้อยรัดใจสัตว์โลกทั้งหลาย ให้หลงวนเวียนอยู่ ไม่รู้ทางออก"


(ท่านใดเก่งคัมภีร์กรุณาค้นพระสูตรที่เกี่ยวกับเรื่อง นันทิ นี้มา เล่าสู่กันฟังหน่อยนะครับ ผมค้นไม่เป็นครับ แต่เคยอ่านผ่านตา)
:b7:
:b4:


ผมไม่ได้เก่งหรืออะไรหรอกนะครับ เคยผ่านตา เอามาแบ่งปันครับ

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์ (จากหนังสือพุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นเช่นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ของเธอนั้น.

( สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ )
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

( นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย )
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

( ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย )
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

( นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ )
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้


-------------------------------

( ทรงตรัสอย่างเดียวกันทุกประการ
ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก 5 คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน
และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ )


-------------------------------

สฬา.สํ. 18/179/245-6

http://watnapp.com/read/easypath/i005/#content
http://truthoflife.fix.gs/index.php?top ... 45#msg9545


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


นันทิ


http://www.youtube.com/watch?v=gIqgjdt1 ... r_embedded


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร