วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพของตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก คือ

จิตฺตเจตสิกานํ สมวาหิตลกฺขณา มีการยังจิตและเจตสิกให้เป็นไปสม่ำ

เสมอ เป็นลักษณะ

คือ ไม่หวั่นไหวและก็ไม่เอนเอียงไปด้วยความรักและความชัง

อูนาธิกตานิวารณรสา มีการห้ามความยิ่งและหย่อนของจิตและเจตสิก

เป็นกิจ

คือ ไม่ให้ตกไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

หรือ ปกฺขปาตุปจฺเฉท รสา มีการตัดขาดการตกไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

คือตัดความไม่เสมอในอารมณ์ทั้งหลาย คือ ด้วยโลภะ หรือโทสะ

เป็นต้น

มชฺฌตฺตภาว ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเป็นกลาง เป็นอาการปรากฏ

สมฺปยุตฺตปทฏฺฐานา มีสัมปยุตตธรรมเป็นเหตุใกล้



ข้อความในขุททกนิกาย มหานิทเทส ปรมัตถสุตตนิทเทสที่ ๕ เป็นข้อ

ความที่พอจะแสดงให้เห็นลักษณะของตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เพราะเหตุว่า

ถ้าไม่มีเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใด ก็ยากที่จะรู้ได้ว่า ในขณะที่กุศลจิตเกิด มี

ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิกแล้ว

ข้อ ๑๖๓ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

นรชนเหล่านั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ เมื่อชน

ทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นไม่แล่นไปกับพวก ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร

นี่ต้องเป็นผู้ตรงจริงๆ ทุกคนทุกวันจะต้องมีเรื่องต่างๆ ถ้ามีเรื่องหนึ่ง

เรื่องใดเกิดขึ้น ก็จะต้องมีการพิจารณาว่า ใครถูกหรือว่าใครผิด หรือว่าใคร

เป็นกุศล หรือว่าใครเป็นอกุศล นี่เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ในทุกบ้าน แม้แต่ว่า

ในระหว่างพี่น้อง ในญาติสนิทในมิตรสหาย ก็จะต้องมีความเห็นต่างกัน แต่

ว่าใครก็ตามที่จะมีความเห็นต่าง ตามอัธยาศัย ผู้ที่ละตนแล้วและไม่ถือมั่น

ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นไม่แล่นไปกับ

พวก ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร



ข้อ ๑๖๖ มีข้อความอธิบายว่า

คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกันแล้ว นรชนนั้นก็ไม่แล่นไปกับพวก คือ ผู้

ที่เป็นผู้ตรง มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายแยกกัน แตกกัน ถึงความเป็นสอง

ฝ่าย เกิดเป็นสองพวกมีทิฏฐิต่างกัน มีความควรต่างกัน มีความชอบใจต่าง

กัน มีลัทธิต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ ถึง

โมหาคติ ถึงภยาคติ นรชน คือ ผู้ที่มี ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก คือ ผู้ที่เป็น

กลาง ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง

โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจแห่งราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ

อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย และไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่น

ไปเพราะธรรมทั้งหลาย อันทำความเป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อชน

ทั้งหลายแตกกันแล้ว นรชนไม่แล่นไปกับพวก



เพราะฉะนั้น ทุกคนเป็นผู้ที่ประมาทไม่ได้ บางกาลบางเหตุการณ์เป็นผู้

ตรง เพราะเหตุว่าไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นเพราะตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก และ

โสภณเจตสิกอื่นๆเกิด แต่บางกาลซึ่งขณะที่เป็นผู้ที่ไม่ตรง จะไม่มีการรู้สึกตัว

เลยว่า ขณะนั้นเป็นผู้ที่ไม่ตรง เพราะเหตุว่าอวิชชาไม่สามารถที่จะรู้ความจริง

ไม่สามารถที่จะเป็นสติที่ระลึกแล้วก็รู้ได้ว่า ธรรมใดถูก ธรรมใดเป็นกุศล

ธรรมใดเป็นอกุศล

เพราะฉะนั้นทุกท่านก็มีสิ่งที่จะต้องฝึกอบรมจิตใจอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อ

ทุกท่านพิจารณาเห็นจิตของตัวเองว่า ยังเป็นจิตที่มากด้วยกิเลส แต่ถ้าเห็น

แล้วก็ไม่สนใจ นั่นก็ใกล้ที่จะถึงสภาพของการเป็นอัมพาตทางจิต คือ ไม่

สามารถที่จะมีความไว ความชำนาญ การคล่องแคล่วต่อการงานในการที่จะ

แก้ไขจากอกุศลเป็นกุศลได้



สุ. อุเบกขาเวทนาเป็นความรู้สึกที่เกิดกับโลภะก็ได้ แต่ตัตตรมัชฌัต

ตตาเกิดกับโลภะไม่ได้ ต้องเป็นโสภณ อารมณ์เป็นอะไรก็ได้ แต่จิตเป็นกุศล

อารมณ์ที่ปรากฏเป็นอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเลย แต่จิตไม่หวั่น

ไหว ขณะนั้นเพราะมีศรัทธา มีสติ มีหิริ มีโอตตัปปะ มีอโลภะ มีอโทสะ

มีตัตตรมัชฌัตตตาด้วย ซึ่งทำให้เป็นสภาพที่ตรงต่อการที่จะไม่ตกไปด้วย

อนิฏฐารมณ์ที่ปรากฏ ซึ่งจะทำให้เกิดอกุศลจิต คือ สภาพที่ไม่พอใจ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร