ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43162
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  bigtoo [ 03 ก.ย. 2012, 09:03 ]
หัวข้อกระทู้:  การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง

ในขั้นสุดตะ และจินตานั้น ธรรมะนั้นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นแหละถูกต้องที่สุด แต่ในขั้นสภาวะประจักษ์กับคำว่าไตรลักษณ์นั้น จะต้องประจักษ์ในมโนทวารเท่านั้น นอกจากนั้นเป็นการคิดเอาเองทั้งหมด

ผมขอตั้งเป็นข้อสังเกตุนะครับ ถ้าเพียงแค่การเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอนัตตาแล้วไม่ต้องทำอะไรเลยนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงสั่งสอนแค่นั้นซิครับ จะมาอธิบายข้อปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้นคือมรรคมีองค์แปดให้มันยุ่งยากทำไม เพียงการเข้าใจแค่นั้นใครๆก็พอเข้าใจกันได้ ผมไม่ปฎิเสธว่ามีการบรรลุโดยการฟังธรรมนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ แต่พวกนั้นคือพวกที่มีปัญยามากซึ่งเรียกว่าอุคฆฎิตัญญู

บุคคล ๔ จำพวก คือ1 อุคฆฏิตัญญู 2วิปจิตัญญู 3เนยย4 ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล.

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น 1.บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู.

2.บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู.

3.บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย.

4.บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.

ความหมายของบัวสี่เหล่าตามนัยอรรถกถา(อุคคฏิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
(วิปจิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
(เนยยะ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
(ปทปรมะ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน


ท่านดูตั้งแต่บุคคลขั้นที่สองลงมาท่านก็จะรู้ ขั้นแรกฟังเสร็จจะต้องบรรลุเลยทันทีเลยนะครับ(หมายความว่ากิเลสหมดด้วยนะครับไม่ใช่ความคิด)ตรวจดูกิเลสด้วยถ้าหมดโอเค แต่ถ้าไม่หมดดูขั้นต่อไปว่าต้องทำอย่างไร นี่แหล่ะครับถึงมีข้อปฎิบัติมากมาย

อย่างไรก็ขอให้ฟังพุทธวจนะเป็นหลัก ซึ้งผมมิได้ดูถูกผู้ใดแต่เราต้องยึดพุทธวจนะจริงๆเป็นส่วนประกอบทางเดิน ขอย้ำในการปฎิบัติ ถ้าท่านหมดแล้วซึ้งกิเลสข้าพเจ้าขอยินดีและอนุโมทนาอย่างยิ่ง แต่ถ้ายังต้องอาศัยมรรคองค์แปดนั้นแหละครับเป็นทางเดิน ศึกษาให้ครบก่อนแล้วค่อยเชื่อ ขอย้ำดูพุทธวจนะจะไม่ผิดเลย สาวกไม่มีทางรู้เทียบเท่าพระองค์ขนาดพระสารีบุตรที่วาเลิศทางปัญญาพระองค์ยังว่าอย่ากล่าวเช่นนั้นเลย

อย่าปักใจเชื่อใครง่ายๆ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ลองผิดลองถูกได้ไม่มีอะไรเสียหาย แต่ถ้าไม่ลองเราอาจจะเสียโอกาสกับสิ่งที่เราแสวงหามาทั้งชีวิตก็ว่าได้ เพราะพระศาสดาไม่อยู่ให้เราได้ถามไถ่แล้ว ฉะนั้นผมเองจึงทดลองทุกอย่างที่เขาว่าดีจนสรุปลงพุทธวจนะครับเหมือนเราอยู่ใกล้พระองค์ได้ถามไถ่ตรอจสอบอยู่ตลอดและที่ผมกล่าวอย่างนั้นเพราะสิ่งดีเกิดกับชีวิตผมมากมาย( อย่างเช่นศิลแปดที่เขาว่ายากกัน สำหรับผมง่ายกว่าการไม่รักษาศิลอีกครับ นี่ก็จะน่าเพียงพอเกี่ยวกับการศึกษาปฎิบัติได้บ้างนะครับ) ส่วนเรื่องการเข้าใจว่าอนิจ จัง ทุกขัง อนัตตานั้นเพียงการเข้าใจก็ดีอยู่บ้าง แต่ยังไม่เพียงที่จะกำจัดอนุสัยกิเลสได้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://media.watnapahpong.org/

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 03 ก.ย. 2012, 20:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

ท่านทั้งหลายเอ๋ย... สามัญลักษณะแห่งสรรพสิ่ง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นหมายถึง สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นมนุษย์ เป็นพืช เป็นสัตว์ เป็น มหาภูตรูป ก็ดี เป็นลักษณะอาการใดใดในพฤติกรรมการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ ของสรรพสิ่งก็ดี ล้วน ไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเกิดขึ้นดับไป, ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเกิดขึ้นดับไป นั้นเป็นทุกข์,ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นทุกข์ ล้วนไม่มีตัวตน หากสิ่งเหล่าน้้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว

ธรรมทั้งหลายแห่งตถาคต ล้วนประกอบอยู่ในจิตของสิ่งมีชีวิตฯทั้งหลาย แม้สิ่งมีชีวิตฯทั้งหลายเหล่านั้น ไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นทุกข์ ล้วนไม่มีตัวตน ก็ตาม แต่ธรรมะนั้น เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ คงที่ มีเกิดขึ้น แต่ไม่ดับไป ไม่ใช่ทุกข์ แต่เป็นหนทางดับทุกข์ ธรรมที่มีในตนทั้งหลาย ล้วนมีตัวตน ธรรมที่ไม่มีในตนทั้งหลาย ล้วนไม่มีตัวตน

ดังนั้น ธรรม ใดที่ทำให้พ้นทุกข์ จึงไม่ใช่สามัญลักษณะ แต่เป็นธรรมชาติ ที่คงอยู่ตลอดกาลฉะนี้

เจ้าของ:  asoka [ 04 ก.ย. 2012, 08:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

:b8:
ให้เชื่อพุทธวัจนะข้อไหนบ้าง..

เจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องตามพุทธวิธี ต้องทำยังไงครับ
:b10:

เจ้าของ:  bigtoo [ 04 ก.ย. 2012, 18:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

asoka เขียน:
:b8:
ให้เชื่อพุทธวัจนะข้อไหนบ้าง..

เจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องตามพุทธวิธี ต้องทำยังไงครับ
:b10:
ง่ายสุด อานาปานสติครับ พระพุทธเจ้าแสดงไว้จนถึงวิมุติ เจริญมรรค ศิล สมาธิ ปัญญา

เจ้าของ:  bigtoo [ 04 ก.ย. 2012, 19:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

ตอนเย็นเห็นหม้อมันดำก็เลยเอามาขัดดู ตอนแรกก็เอาผ้าธรรมดาขัดขัดอย่างไรก็ไม่เกลี้ยง ก็เลยไปหยิบฝอยขัดหม้อมาขัดดูอื่อ!อันนี้เข้าท่าดี ขัดไปเรื่อยๆออกยากจังหม้อมันดำมาก ก็ต้องออกแรงหน่อยกดให้สุดแรง คิดว่าวันนี้ถ้าขัดไม่ขาววั๊บจะไม่ยอมเลิก ออกแรงสุดแรงเหงื่อหยดเลยทีเดียว สุดท้ายหม้อก็ขาวจั๊วเลย!

มานึกถีงเรื่องปฎิบัติธรรม ตอนแรกเอาผ้ามาขัดมันขัดไม่ออกอ๋อ!เครื่องมือที่ใช้ขัดมันผิดนี่เอง การปฎิบัติธรรมก็เหมือนกัน ผมคิดว่าถ้าเราใช้ธรรมะผิดก็ไม่มีทางบรรลุได้แน่ๆ เพราะเครื่องมือต้องตรงกับสิ่งที่ต้องใช้ และเปลี่ยนมาเป็ยฝอยขัดหม้ออึม! อันนี้ดีขัดออกแต่ก็ยังไม่สะอาดพอ ต้องออกแรงอีกหน่อยก็ยังไม่หมดจด ต้องออกแรงสุดแรงเกิดเลย

อึม ! อันนี้ดีจังสะอาดเหมือนใหม่เลย การปฎิบัติธรรมก็เหมือนกันถึงแม้ใช้เครื่องมือถูกแล้วถ้าไม่ออกแรงจนสุดแรงเกิดแล้วไม่มีทางสำเร็จได้โดยง่าย ดังเหมือนบทอธิฐานความเพีนรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ พวกเราคงไม่ใช่อุคคฎิตัญญูแล้วล่ะ ฟังธรรมตั้งหลายครั้งยังไม่บรรลุเลย พวกเราคงเป็นเนยยบุคล หรือปทปรมะบุคคลแล้วล่ะ เหตุผลนี่น่าจะใช้ได้นะครับ :b4:

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 04 ก.ย. 2012, 21:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

asoka เขียน:
:b8:
ให้เชื่อพุทธวัจนะข้อไหนบ้าง..

เจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องตามพุทธวิธี ต้องทำยังไงครับ
:b10:


อ้าว.... ก็เจริญตามพุทธวิธี ที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกนะซิ คุณจะไปเจริญมรรค แบบไหนอีกละขอรับ
ในพระไตรปิฎก ก็เป็นวิธีการเจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องอยู่แล้วนี่นา...จริงไหม

เจ้าของ:  asoka [ 04 ก.ย. 2012, 23:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

sriariya เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
ให้เชื่อพุทธวัจนะข้อไหนบ้าง..

เจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องตามพุทธวิธี ต้องทำยังไงครับ
:b10:


อ้าว.... ก็เจริญตามพุทธวิธี ที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกนะซิ คุณจะไปเจริญมรรค แบบไหนอีกละขอรับ
ในพระไตรปิฎก ก็เป็นวิธีการเจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องอยู่แล้วนี่นา...จริงไหม

cool
อ้างพระไตรปิฎกทั้งปึ้งเลยหรือครับท่านศรีฯ

ทำให้ง่าย ลัดสั้น รัดกุม หน่อยไม่ได้หรือครับ

ให้เป็นแบบอาหารสำเร็จรูป(Fast Food)สมัยใหม่นี้นะครับท่าน คนรุ่นใหม่นี่เขานิยม Fast Food กันเป็นส่วนใหญ่นะครับ


:b12: :b12: :b12:

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 05 ก.ย. 2012, 20:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

asoka เขียน:
sriariya เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
ให้เชื่อพุทธวัจนะข้อไหนบ้าง..

เจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องตามพุทธวิธี ต้องทำยังไงครับ
:b10:


อ้าว.... ก็เจริญตามพุทธวิธี ที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกนะซิ คุณจะไปเจริญมรรค แบบไหนอีกละขอรับ
ในพระไตรปิฎก ก็เป็นวิธีการเจริญมรรค 8 ที่ถูกต้องอยู่แล้วนี่นา...จริงไหม

cool
อ้างพระไตรปิฎกทั้งปึ้งเลยหรือครับท่านศรีฯ

ทำให้ง่าย ลัดสั้น รัดกุม หน่อยไม่ได้หรือครับ

ให้เป็นแบบอาหารสำเร็จรูป(Fast Food)สมัยใหม่นี้นะครับท่าน คนรุ่นใหม่นี่เขานิยม Fast Food กันเป็นส่วนใหญ่นะครับ


:b12: :b12: :b12:

จะเอาอย่างนั้นเหรอ....ได้ขอรับ
ถ้าอยากจะเจริญมรรค ๘ แบบ สั้น ง่าย รัดกุม ก็นี่เลย
คิดดี ...พูดดี...ทำดี...ระลึกนึกถึงแต่สิ่งดีดี...ประกอบอาชีพสุจริต..ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น เท่านี้ก็คงพอละมั้งขอรับ

เจ้าของ:  bigtoo [ 06 ก.ย. 2012, 08:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

เราก็ฟังธรรมะมากมากพอสมควร ก็ไม่บรรลุธรรมกันสักที เห็นทีจะต้องย้อนกลับไปดูที่บารมี10กันให้มากหน่อย และถามตัวเองว่าขาดเรื่องอะไร ทานเป็นอย่างไรเรามีจริตเรื่องนี้บ้างมั้ยตระหนี่มั้ยถ้าเราตระหนี่ก็แสดงว่าขาดเรื่องทาน นัยอื่นก็เหมือนกันตรวจสอบกันให้ดี ถ้าบกพร่องส่วนไหนก็เติมเต็ม อย่าเอาแต่วางจนว่าง(แบบลมๆแล้งนะครับ)บารมี10มีในมรรค มรรคก็มีอยู่ในบารมี10หรือจะพูดง่ายๆก็เป็นสิ่งเดียวกันนั้นเอง และอะไรสนับสนุนให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้สมบูรณ์ ก็สัปปายะ7นั้นไง

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 06 ก.ย. 2012, 09:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

... :b8: ...ช่ายครับ...เห็นด้วย...ที่จะดูเป็นข้อ ๆ... :b8:

ง่าย..สั้น...ตรงจุด...

บารมี 10 สังโยชน์...3..5....ว่าเป็นข้อ ๆ...เหมือนเช็กลีสซ์..

สาวกภูมิ...ไม่ต้องกว้างขวางก็ได้....ไม่เหมือนคนที่ชอบรู้เรื่องไปหมด...ซึ่งอาจเป็นพุทธภูมิ..อันนี้ก็อย่าไปว่ากัน..

เจ้าของ:  din [ 07 ก.ย. 2012, 11:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

กบนอกกะลา เขียน:
... :b8: ...ช่ายครับ...เห็นด้วย...ที่จะดูเป็นข้อ ๆ... :b8:

ง่าย..สั้น...ตรงจุด...

บารมี 10 สังโยชน์...3..5....ว่าเป็นข้อ ๆ...เหมือนเช็กลีสซ์..

สาวกภูมิ...ไม่ต้องกว้างขวางก็ได้....ไม่เหมือนคนที่ชอบรู้เรื่องไปหมด...ซึ่งอาจเป็นพุทธภูมิ..อันนี้ก็อย่าไปว่ากัน..

ผมว่าพุทธภูมิก็ไม่น่าจะรู้กว้างขวางนะครับ น่าจะเป็นขั้นเป็นตอนอาศัยทำเป็นข้อๆ ทีละหลายๆ ชาติ ทศชาติชาดกหรือนิบาตชาดกก็ยังเน้นธรรมที่เด่นๆ เลย จะมีชาติที่รอบรู้มากหน่อยก็คือชาติที่เน้นปัญญาบารมี

เจ้าของ:  ละครน้ำเน่า [ 10 ก.ย. 2012, 21:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้อง

sriariya เขียน:
ท่านทั้งหลายเอ๋ย... สามัญลักษณะแห่งสรรพสิ่ง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นหมายถึง สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นมนุษย์ เป็นพืช เป็นสัตว์ เป็น มหาภูตรูป ก็ดี เป็นลักษณะอาการใดใดในพฤติกรรมการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ ของสรรพสิ่งก็ดี ล้วน ไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเกิดขึ้นดับไป, ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเกิดขึ้นดับไป นั้นเป็นทุกข์,ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นทุกข์ ล้วนไม่มีตัวตน หากสิ่งเหล่าน้้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว

ธรรมทั้งหลายแห่งตถาคต ล้วนประกอบอยู่ในจิตของสิ่งมีชีวิตฯทั้งหลาย แม้สิ่งมีชีวิตฯทั้งหลายเหล่านั้น ไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีเเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นทุกข์ ล้วนไม่มีตัวตน ก็ตาม แต่ธรรมะนั้น เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ คงที่ มีเกิดขึ้น แต่ไม่ดับไป ไม่ใช่ทุกข์ แต่เป็นหนทางดับทุกข์ ธรรมที่มีในตนทั้งหลาย ล้วนมีตัวตน ธรรมที่ไม่มีในตนทั้งหลาย ล้วนไม่มีตัวตน

ดังนั้น ธรรม ใดที่ทำให้พ้นทุกข์ จึงไม่ใช่สามัญลักษณะ แต่เป็นธรรมชาติ ที่คงอยู่ตลอดกาลฉะนี้


:b8: ท่านกล่าวได้ลึกซึ้งมากครับ

ถ้าผมจะใช้บัญญัติแทน

คำว่า "ล้วนไม่มีตัวตน" เป็น "ล้วนไม่ใช่ตัวตน"
คำว่า "มีเกิดขึ้น" เป็น "มีอยู่แต่เดิมแล้วแต่ถูกอวิชชาบดบัง"

ได้มั๊ยครับ :b12:

เจ้าของ:  พระคุณากร [ 01 ต.ค. 2012, 17:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง

จิตคิด สงสัย อยู่เชยๆ ไม่ก้าวหน้า
จิตคิด สงสัย สอบถาม เห็นแสงสว่าง
จิตคิด สงสัย ปฏิบัติ แล้วจึง จบ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/