วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 05:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2012, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2012, 20:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:

:b16:
เอามรรคทั้ง 8 ข้อมาเจริญเพื่อหา "ผู้ยึด" (สมุทัย)ให้เจอแล้วเอาออกเสียให้ได้ครับ
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2012, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:


ไม่มีใครสามารถถอดถอนความยึดมั่นถือมั่น ได้ดอกขอรับ เพราะมันเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ทุกตนล้วนยึดมั่นถือมั่น อย่างน้อยที่สุดก็ยึดมั่นถือมั่นในความเป็นมนุษย์ขอรับ
แต่เอาแบบง่ายๆทางลัดนะขอรับ "เรื่องธรรมดา" ขอรับ รูปกับ นาม มันเป็นของธรรมดาขอรับ ท่องไว้จำไว้ท่องอยู่ตลอด "ของธรรมดา"เรื่องธรรมดา"ธรรมด๊า"ธรรมดา" ขอรับ รับรอง ลดความยึดมั่นถือมั่นลงได้
ประการที่สำคัญ ต้องทำความเข้าใจเอาไว้ ความยึดมั่นถือมันนั้น หมายถึง ความหลงใน รูป กับ นาม เช่น ข้าฯสวย,ข้าฯดี,ข้าฯเดินดี,ข้าฯนั่งดี,ข้าหุ่นดี, ความจำข้าฯดี,ความรู้ข้าฯดี, อย่างนี้เป็นต้นขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2012, 22:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:



ต้องเริ่ม ก้าวแรก ออกเดินทาง ศึกษาธรรม ไปก่อน ปริยัติ--> ปฏิบัติ--> ปฏิเวธ-->

ความเพียรจะทำให้เราพ้นทุกข์

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 01:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:


ก็ต้องเข้าใจก่อนซิว่า...เหตุอันใดมันถึงไปยึดมั่นถือมั่น...

ความเข้าใจ...คือปัญญา..มี 3 ระดับ...สุตตะ....จินตะ....ภาวนา...

ปัญญา...คือปฏิเวช....เกิดได้ด้วย..ปริยัติ....ปฏิบัติ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 05:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เป็นคำถามเดียวกับ ที่ว่า จะถอดถอน ตัณหา อุปาทาน ได้อย่างไร

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:



ตั้งโจทย์ผิดครับ ควรตั้งใหม่ว่า ชีวิตนี้ ประกอบด้วยรูปกับนาม (เรียกยาวว่า รูปธรรม กับ นามธรรม หรือ รูปขันธ์ กับนามขันธ์) จะถอนการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามหรือขันธ์ ๕ นี้อย่างไร ?

ที่ว่า ผิด ก็คือว่า กาย (หรือร่างกาย) กับ รูป อันเดียวกันกัน


เบื้องต้นนี้แนะนำให้ทำความเข้าใจ ชีวิต คืออะไร ที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=138.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปดับ เห็นเวทนา เวทนาดับ เห็นจิต จิตดับเห็นธรรม

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 12:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:

จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนาม ก็ต้องเพียรศึกษาพิจารณาในรูปและนามนั้น รุปนั้นก็ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมตลอดถึงรุปอาศัยทั้งหลายด้วย ส่วนนามนั้น ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านหลวงปู่ลี แห่งวัดอโศการามในอดีต ท่านแสดงไว้ว่า การพิจารณานั้น จะน้อมนำส่วนใดอย่างใดอย่างหนึ่ง มาพิจารณาก่อนก็ได้ ไม่ถึงกับว่า ต้องพิจารณาทั้งหมดพร้อมกันทีเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จะถอนการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามหรือขันธ์ ๕ นี้อย่างไร ?

อ้างคำพูด:
[๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓
อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน ย่อมเห็น
วิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ


ระวัง อย่าให้เรา เป็นคนยึดมั่นถือมั่นในรูปนามขันธ์5
แท้จริง ไม่มีเรา
มีแต่อุปาทาน ที่ทำหน้าที่ ยึดมั่นในขันธ์5 .................... ไม่มีเราเลย

คำว่า เราเลิกยึดมั่นถือมั่นในขันธ์5 ........... ควรระวังในการพูด และการคิด

อุปาทาน ทำหน้าที่ ยึดมั่นในรูป
อุปาทาน ยึดมั่น ในเวทนา
อุปาทาน ยึดมั่น ในสัญญา
อุปาทาน ยึดมั่น ในสังขาร
อุปาทาน ยึดมั่น ในวิญญาณ

ตัวอุปาทานเอง เป็นองค์ธรรม อยู่ใน สังขารขันธ์

ส่วนเรานั้นไม่มี

นอกเหนือจากขันธ์5 แล้วไม่มีอะไรจริงๆ ยกเว้นนิพพาน

เมื่ออุปาทานไม่มีแล้ว ขันธ์5 ก็เป็นขันธ์ อันบริสุทธิ์ เป็นวิสุทธิขันธ์

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามเล่นๆ ว่า กรณีแบบนี้มีเกิดขึ้นได้บ้างหรือไม่ :b12: :b32:

ปฏิบัติ--> ปฏิเวธ--> ปริยัติ

:b13: :b13: :b12: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย ละครน้ำเน่า เมื่อ 23 ส.ค. 2012, 19:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาสภาวธรรม ตามวิธีปฎิจจสมุปบาทกระทั่งวาระสุดท้าย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ (สตฺตฏฐานกุสโล)
ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี๒
อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ;
...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป;
...ซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) แห่งรูป;
...ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวม๗ ประการ).

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัว
อักษร กับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งรูป ผิดกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ ทีละขันธ์ ๆ เท่านั้น.)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า ?
มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่างด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่ารูป ;

การเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร;
ความดับไม่เหลือแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;

สุข โสมนัสใดๆ อาศัยรูปเกิดขึ้น: นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป ;
รูปใด ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา: นี้เป็น อาทีนวะแห่งรูป ;
การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือ
การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป, อันใด;
นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป ว่า
...อย่างนี้คือ รูป;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;.
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความ สำ รอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ) แห่งรูป; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้ว;
บุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า
...อย่างนี้คือ รูป;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งรูป;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่นซึ่งรูป;
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษ
แล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่ชีวหาสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวทนา;

การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
มรรค อันประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น :
นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...

(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้วในกรณีแห่งรูปทุกตัวอักษร
ต่างกันแต่เพียงชื่อว่าเวทนา แทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง)
...วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
สัญญาในรูป
สัญญาในเสียง
สัญญาในกลิ่น
สัญญาในรส
สัญญาในโผฏฐัพพะ
สัญญาในธัมมรมณ์;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่าสัญญา ;
การเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลืองแห่งผัสสะ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
สัญญา, ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ
การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา;
...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
ความคิดนึกในรูป
ความคิดนึกในเสียง
ความคิดนึกในกลิ่น
ความคิดนึกในรส
ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ
ความคิดนึกในธัมมารมณ์ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย
การเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย;
...ฯลฯ...ฯลฯ...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หมู่แห่งวิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ
วิญญาณทางตา
วิญญาณทางหู
วิญญาณทางจมูก
วิญญาณทางลิ้น
วิญญาณทางกาย
วิญญาณทางใจ :
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เราเรียกว่า วิญญาณ;
การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งนามรูป;
ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป;
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใดๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งวิญญาณ;

วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา : นี้เป็นอาทีนวะแห่งวิญญาณ;
การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือ
การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ,
อันใด; นี้เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณว่า.
...อย่างนี้คือวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้ แล้วเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว
เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความสำรอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ)แห่งวิญญาณ;
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว;
บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า
...อย่างนี้คือ วิญญาณ;
...อย่างนี้คือ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; .
...อย่างนี้คือ ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อัสสาทะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ อาทีนวะแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้วเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ
เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา);
บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;
บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ
เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นธาตุ,
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความ เป็นอายตนะ,
ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ
เป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี
อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้ แล.

-------------------------------------------------------------

สูตรที่ ๕ อุปายวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

๒ เกพลี ในลักษณะอย่างนี้ หมายถึงพระอรหันต์ ผู้ถึงซึ่งนิพพาน ซึ่งเป็นความสิ้นเชิงแห่งสิ่งทั้งปวง
ในแง่ของความดับสิ้นแห่งความทุกข์ กล่าวคือการถึงอมตภาวะ อันไม่มีการแบ่งแยก.- ผู้แปล.


http://www.pobbuddha.com/tripitaka/uplo ... index.html
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=7655.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2012, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
ถามเล่นๆ ว่า กรณีแบบนี้มีเกิดขึ้นได้บ้างหรือไม่ :b12: :b32:

ปฏิบัติ--> ปฏิเวธ--> ปริยัติ

:b13: :b13: :b12: :b32:


เกิดได้...ครับ

ถ้าเป็นสาวกภูมิ...ปฏิเวธ...ตัวนี้..ยังเป็นแค่ผลในขั้นใดขั้นหนึ่ง...ยังไม่ถึงจุดหลุดพ้น

แล้วจึงไปดูว่า..ปริยัติ...เขาเรียกว่าอะไร...แล้วจะมีแนวทางดำเนินต่ออย่างไร..

แล้วก็วกกลับมาที่..ปฏิบัติ...อีกที...จนหลุดพ้นไปได้

ส่วน...ปฏิบัติ--> ปฏิเวธ--> ปริยัติ....จะเป็นจริง 100 %...ก็เป็นบุคคลจำพวก...ที่ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง..มี 2 คือ...พระพุทธเจ้า...กับ...พระปัจเจกพุทธเจ้า..ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
กายนี้ประกอบด้วย รูป กับ นาม เรียนถามว่า จะถอดถอนความยึดมั่นในรูปกับนามนี้อย่างไรค่ะ
สาธุขอโมทนาล่วงหน้าคะ :b8:

รูป หรือ รูปขันธ์ อันได้แก่ กาย คือ แขนสอง ขาสอง ยาววา หนาคืบนี้
ให้ใช้ ...

- กายาคตา เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ
- จตุธาตุวัฏฐาน ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- อสุภกรรมฐาน ความไม่สวย ไม่งาม ฯลฯ

นาม หรือ นามขันธ์ อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ให้ใช้ ...

- "ไตรลักษณ์" อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เพื่อถอนความยึดมั่น ถือมั่น

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณารู้ ดูรูป-นามนี้อยู่ด้วยสติเนืองๆ ไม่ขาดสาย ย่อมเห็นความไม่เที่ยงแปรปรวนไปแห่งรูป-นาม

อันเป็นอนิจจัง เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ขัง อันเป็นโทษเมื่อไปเกี่ยวข้องยึดติด ย่อมเห็นอนัตตา

ของการแปรเปลี่ยนของรูปนามว่าเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมชาติ ว่านี่ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่ของๆเรา

ย่อมปล่อยปละละวาง บรรเทา สำรอก คลายคืนความยึดติดนั้น ตามกำลังแห่งปัญญา จนหมดจดสิ้นเชิงด้วยดี :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 90 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร