วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 13:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2012, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


บทความถาม-ตอบ นี้จำต้องขออนุญาตต่อผู้ที่ได้ถามคำถามดังกล่าวมา ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นคำถามที่มีประโยชน์ต่อบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย อันจักก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่หลงติดอยู่เพียงแค่ในตำรา ข้าพเจ้าจึงได้นำมาเขียนเป็นบทความ ถาม-ตอบ เพื่อให้ท่านทั้งหลายที่ใฝ่รู้ใฝ่ทางธรรม ได้นำไปคิดพิจารณา เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้

คำถามเกี่ยวกับ ฌาน(ชาน) และ ญาณ(ยาน)
1...อารมณ์ตั้งแต่ฌาณ 1ถึงฌาน(ชาน) 5 แต่ละอารมณ์เป็นอย่างไรต่างกันอย่างไร

2...แล้วถ้าสมมุติว่าเราถึงฌาน(ชาน)5 ถ้าเลิกนั่งสมาธินานๆๆ ฌาน(ชาน)จะหายไหม

3...แล้วการนั่งสมาธิให้ได้ฌาน(ชาน)กับได้ญาณ(ยาน)มันต่างกันยังไง แล้วนั่งแบบให้ถึงได้ฌาน(ชาน) กับนั่งแบบไหนถึงได้ญาณ(ยาน)

4...แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเราเหมาะกับวิธีแบบไหน

5..แล้วญาณ(ยาน)กับฌาน(ชาน)มันต่างกันยังไง เกี้ยวข้องกันยังไง

ตอบ...
๑. ถ้าถามถึงอารมณ์ขณะปฏิบัติสมาธิ หรือนั่งสมาธิ แล้วเกิด ฌาน(ชาน) (อันนี้ต้องอ่านช้าๆ แล้วทำความเข้าใจให้ดี)

อารมณ์โดยรวมเรียกว่า "กิเลส" คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีผลตามมา คือ ตัณหา คือความอยาก ฯลฯ อารมณ์โดยแยก คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข จนถึงความมีสมาธิ หรือ ความมีจิตใจตั้งมั่น แม้จะมีกิเลสอยู่ แต่จะสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง คือ ความมีสติ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น

๒.ถ้าคุณปฏิบัติสมาธิ หรือฝึกสมาธิ หรือนั่งสมาธิ จนจิตมีความเป็น เอกัคคตา มีจิตใจแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วิตก วิจาร ปีติ สุข หรือความเป็นจิตตั้งมั่นดีแล้ว แม้จะไม่ได้นั่งสมาธินานๆๆ ความมีจิตตั่งมั่น หรือความมีสมาธินั้น ก็ยังคงอยู่ ทั้งนี้เพราะเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด แต่อาจจะมีความหย่อนลงบ้าง หากไม่หมั่นฝึกฝนเสมอเสมอ เพราะคุณก็จะถูกคลื่นกิเลสไหลเข้าครอบงำได้ขอรับ

๓.การนั่งสมาธิ แล้วเกิด ฌาน(ชาน)ไม่ใช่ ให้ได้ ฌาน(ชาน) ส่วนคำว่า ญาณ(ยาน) คือ ความรู้ทั้งหลายที่คุณสามารถระลึกนึกถึง หรือสามารถนำออกมาใช้ได้ในทุกกรณีที่เกี่ยวข้อง
ญาณ(ยาน) ก็ต้องศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจให้เป็นไปตามหลักความจริง และจดจำไว้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยสมาธิ เป็นเครื่องมือประกอบ ส่วน ฌาน(ชาน) คือ ธรรมชาติ ที่เกิดจากการ ฝึกสมาธิ หรือปฏิบัติสมาธิ ที่กล่าวว่า ธรรมชาติ ก็เพราะถึงคุณจะไม่ปฏิบัติสมาธิ คุณก็จะเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ได้เช่นกัน

๔. วิธีไหนก็เหมาะกับทุกคนอยู่แล้ว มันขึ้นอยู่กับตัวคุณ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับวิธีการ
๕. ให้ย้อนกลับไปอ่าน ข้อ ๓(สาม)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
ตอบ...
๑. ถ้าถามถึงอารมณ์ขณะปฏิบัติสมาธิ หรือนั่งสมาธิ แล้วเกิด ฌาน(ชาน) (อันนี้ต้องอ่านช้าๆ แล้วทำความเข้าใจให้ดี)

อารมณ์โดยรวมเรียกว่า "กิเลส" คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีผลตามมา คือ ตัณหา คือความอยาก ฯลฯ อารมณ์โดยแยก คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข จนถึงความมีสมาธิ หรือ ความมีจิตใจตั้งมั่น แม้จะมีกิเลสอยู่ แต่จะสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง คือ ความมีสติ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น

อารมณ์ไม่ใช่กิเลส อารมณ์เกิดจากเหตุปัจจัยแห่งกระบวนการขันธ์ห้า
อารมณ์จะเป็นอกุศลหรือกุศลก็ได้ มันขึ้นอยู่กับกระบวนการขันธ์ห้าจะไปยึดเอาตัณหา
จนทำให้เกิดอุปาทานขันธ์หรือไม่

ตัณหาเป็นกิเลส ความโลภ โกรธ หลงเป็นผลอันเกิดจากการ
กระทำของกิเลสที่เรียกว่าตัณหา

sriariya เขียน:
ตอบ...
๒.ถ้าคุณปฏิบัติสมาธิ หรือฝึกสมาธิ หรือนั่งสมาธิ จนจิตมีความเป็น เอกัคคตา มีจิตใจแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วิตก วิจาร ปีติ สุข หรือความเป็นจิตตั้งมั่นดีแล้ว แม้จะไม่ได้นั่งสมาธินานๆๆ ความมีจิตตั่งมั่น หรือความมีสมาธินั้น ก็ยังคงอยู่ ทั้งนี้เพราะเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด แต่อาจจะมีความหย่อนลงบ้าง หากไม่หมั่นฝึกฝนเสมอเสมอ เพราะคุณก็จะถูกคลื่นกิเลสไหลเข้าครอบงำได้ขอรับ

การฝึกสมาธิในลักษณะของการทำฌาณ(ชาน) นำมาใช้กับชีวิตประจำวันไม่ได้
เพราะเอกัตคัตาของฌาณ เป็นไปในลักษณะของความว่าง
แต่การดำรงชชีวิตหรือการใช้ชีวิต จะต้องมีการพิจารณาผัสสะที่เกิดตามความเป็นจริง
จะบังคับให้จิตว่างไม่ได้ จะต้องให้จิตพิจารณาธรรมไปตามความเป็นจริง
แล้วจึงวางอุเบกขา ดังนัน้จึงจะต้องยึดหลักวิปัสสนาอันเป็นเรื่องของญาณ(ยาน)
sriariya เขียน:
ตอบ...
๓.การนั่งสมาธิ แล้วเกิด ฌาน(ชาน)ไม่ใช่ ให้ได้ ฌาน(ชาน) ส่วนคำว่า ญาณ(ยาน) คือ ความรู้ทั้งหลายที่คุณสามารถระลึกนึกถึง หรือสามารถนำออกมาใช้ได้ในทุกกรณีที่เกี่ยวข้อง
ญาณ(ยาน) ก็ต้องศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจให้เป็นไปตามหลักความจริง และจดจำไว้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยสมาธิ เป็นเครื่องมือประกอบ ส่วน ฌาน(ชาน) คือ ธรรมชาติ ที่เกิดจากการ ฝึกสมาธิ หรือปฏิบัติสมาธิ ที่กล่าวว่า ธรรมชาติ ก็เพราะถึงคุณจะไม่ปฏิบัติสมาธิ คุณก็จะเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ได้เช่นกัน

ณาณกับญาณแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การนั่งบังคับให้จิตรับอยู่ในทวารใดทวารหนึ่งเพียงทวารเดียว
ถ้าจะพูดให้ถูกต้องเรียกว่าการทำสมถกรรมฐาน การทำสมาธิที่แท้จริงมันต้องเป็นการรับรู้ ในสิ่งที่
มากระทบในทุกทวารแล้วรวมสิ่งที่มากระทบให้เป็นหนึ่ง

สังเกตุง่ายๆก็คือการรวมทุกอย่างของการรับรู้ให้มาเป็นหนึ่ง......
จึงจะเรียกว่าสมาธิ
แต่การเริ่มต้นจากหนึ่ง แล้วบังคับให้อยู่กับหนึ่ง จึงต้องเรียกว่าสมถะ



จงอย่าลืมว่า เอกัตคัตากับอุเบกขาไม่เหมือนกัน มันแตกต่างกัน
ในตัวการรับรู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณโฮฮับ

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 13:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โกเมศวร์ เขียน:
:b8: คุณโฮฮับ


สาธุ.. :b8:


:b8: :b8: สาธุ..โฮด้วย...
:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya ตอบได้ดีมาก :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
sriariya ตอบได้ดีมาก :b8:


:b8: คุณเช่นนั้น...นี้สุดยอดเลยครับ :b12:

ฌาน(ชาน)ที่เกิดในบางคนเดินๆอยู่แค่น้อมจิตไปก็เหาะได้แล้ว เป็นต้น
หรือจะน้อมไปใช้แบบอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ยังไหว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
sriariya ตอบได้ดีมาก :b8:


:b8: คุณเช่นนั้น...นี้สุดยอดเลยครับ :b12:

ฌาน(ชาน)ที่เกิดในบางคนเดินๆอยู่แค่น้อมจิตไปก็เหาะได้แล้ว เป็นต้น
หรือจะน้อมไปใช้แบบอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ยังไหว :b32:


สำหรับผู้ได้ อิทธิวิธิญาณ เมื่อจิตตั้งลงในจตุตถฌาณ ก็น้อมจิตไป เพือการนั้นสำเร็จด้วยอิทธิวิธิญาณนั้นได้
สมัยนี้ เช่นนั้น ยังไม่เคยเห็น เคยได้อ่านแต่ในพระสูตร
แต่จำได้ว่า เพื่อนในลานธรรมจักร เคยเอาเรื่องเกี่ยวกับอิทธิวิธิญาณของพระสงฆ์ในไทยมาเล่าให้ฟังบ้าง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืนคุนน้องบังเอิญไปเจอคลิปเกี่ยวกับ ฌาน มา ที่บอกว่าเหาะได้ลักษณะแบบนี้รึป่าวค่ะ
http://www.youtube.com/watch?v=SnLj8DMq ... re=related
:b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
เมื่อคืนคุนน้องบังเอิญไปเจอคลิปเกี่ยวกับ ฌาน มา ที่บอกว่าเหาะได้ลักษณะแบบนี้รึป่าวค่ะ
http://www.youtube.com/watch?v=SnLj8DMq ... re=related
:b43:

ประมาณนี้ แต่ยังไม่ถึงขนาดที่ปรากฏในพระสูตร ว่าได้ดั่งใจนึกดั่งใจปราถนา ^ ^
ขอบคุณครับ ^ *

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาลในเรื่องของฤทธิ์แล้ว มีท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้เลิศที่สุด เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว จึงน้อมจิตไปเพื่อ..........ญาณ ต่างๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
พระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาลในเรื่องของฤทธิ์แล้ว มีท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้เลิศที่สุด เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว จึงน้อมจิตไปเพื่อ..........ญาณ ต่างๆ


เจริญธรรม...
คร๊าบคุณ FLAME :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2012, 04:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ละครน้ำเน่า เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
sriariya ตอบได้ดีมาก :b8:


:b8: คุณเช่นนั้น...นี้สุดยอดเลยครับ :b12:

ฌาน(ชาน)ที่เกิดในบางคนเดินๆอยู่แค่น้อมจิตไปก็เหาะได้แล้ว เป็นต้น
หรือจะน้อมไปใช้แบบอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ยังไหว :b32:


สำหรับผู้ได้ อิทธิวิธิญาณ เมื่อจิตตั้งลงในจตุตถฌาณ ก็น้อมจิตไป เพือการนั้นสำเร็จด้วยอิทธิวิธิญาณนั้นได้
สมัยนี้ เช่นนั้น ยังไม่เคยเห็น เคยได้อ่านแต่ในพระสูตร
แต่จำได้ว่า เพื่อนในลานธรรมจักร เคยเอาเรื่องเกี่ยวกับอิทธิวิธิญาณของพระสงฆ์ในไทยมาเล่าให้ฟังบ้าง

มันมีในบาลีสยามรัฐหรือเปล่าครับ ที่เกี่ยวกับการทำฌาณ(ชาน) แล้วมีอิทธิฤทธิ์เหาะได้
รบกวนคุณเช่นนั้น เอามาโพสให้เพื่อนๆศึกษา ก็จะอนุโมทนาครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2012, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
พระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาลในเรื่องของฤทธิ์แล้ว มีท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้เลิศที่สุด เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว จึงน้อมจิตไปเพื่อ..........ญาณ ต่างๆ

สรุปว่าท่านโทคัลลานะท่านเป็นเลิศที่สุด เรื่องฤทธิ์หรือปัญญากันแน่ครับเอาสักอย่าง
แล้วที่บอกว่ามีฤทธิ์ อยากถามครับท่านมีฤทธิ์จากฌาณหรือญาณครับ

เห็นชอบโพสพระไตรปิฎก รบกวนหาเรื่องที่เกี่ยวกับ
การได้มาซึ่งอิทธิ์ฤทธิ์ของท่านโมคัลลานะหน่อยครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2012, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าโฮฮับ...ผู้ด้อยปัญญา อย่าคิดว่าข้าพเจ้าดูแคลนเจ้าเลยนะ อย่าทำเป็นอวดรู้อวดฉลาด แสดงความโง่เขลาให้เห็น เจ้าจงทำความเข้าใจเอาไว้ว่า

อารมณ์ของฌาน(ชาน)ที่เกิดขึ้น โดยรวมแล้วล้วนเป็น กิเลส นั่นหมายถึง วิตก วิจาร ปีติ สุข อุเบกขา โดยรวม คือ กิเลส โดยแยก คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข อุเบกขา
กิเลส เกิดจากการได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
อารมณ์ คือ ความรู้สึกในรูปแบบต่างๆ ฯลฯ


กิเลส ทำให้ เกิด อารมณ์ ในที่นี้ไม่ต้องทำเป็นอวดรู้ ไปนับเอาระบบการทำงานของร่างกาย มันของแน่นอนอยู่แล้ว ถ้าไม่มีระบบการทำงานของร่างกาย กิเลส ย่อมไม่เกิด อารมณ์ย่อมไม่เกิด
ส่วนเรื่องอื่นๆ ข้าพเจ้าไม่อยากจะโต้แย้งกับคนไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง แต่ทำเป็นอวดรู้อวดฉลาด สมองระดับอนุบาลทำตัวเป็นอาจารย์ใหญ๋ ขี้ฝุ่นใต้ตีนขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร