ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เรื่องราว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42868
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  รสมน [ 05 ส.ค. 2012, 03:32 ]
หัวข้อกระทู้:  เรื่องราว

๒. ตถาคตผรุสวาจนัตถีติปัญหา ๒๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระเถระสารีบุตร ผู้ธรรมเสนาบดี แม้ภาสิตคำนี้ว่า 'พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์แล้ว, พระตถาคตจะต้องรักษาวจีทุจริตอันใดด้วยคิดว่า 'บุคคลอื่นอย่าได้รู้วจีทุจริตนี้ของเราเลย' ดังนี้, วจีทุจริตนั้น ไม่มีแด่พระตถาคต, ดังนี้. ส่วนพระตถาคตทรงบัญญัติปาราชิก เพราะความผิดของพระเถระสุทิน ผู้บุตรแห่งกลันทเศรษฐี ร้องเรียกด้วยวาทะว่าโมฆบุรุษ เป็นวาจาหยาบ, พระเถระนั้น สะดุ้งแล้วด้วยความสะดุ้งอันหนัก มีความเดือดร้อนด้วยวาทะว่า โมฆบุรุษ ไม่อาจแล้วเพื่อจะแทงตลอดอริยมรรค, ถ้าว่าพระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์แล้ว, วจีทุจริตย่อมไม่มีแด่พระตถาคต, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระตถาคตร้องเรียกพระเถระ สุทิน ด้วยวาทะว่า โมฆบุรุษ เพราะโทษผิดของพระเถระสุทินกลันทบุตร' นั้นผิด. ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงร้องเรียกด้วยวาทะว่า โมฆบุรุษ เพราะความผิดของพระเถระสุทินกลันทบุตร, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์แล้ว วจีทุจริตย่อมไม่มีแด่พระตถาคตแล้ว' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อนมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระเถระสามีบุตรผู้ธรรมเสนาบดี แม้ได้ภาสิตคำนี้ว่า 'ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตจะต้องรักษาวจีทุจริตใด ด้วยทรงดำริว่า 'บุคคลผู้อื่นอย่ารู้ทุจริตนี้ของเราเลย' ดังนี้, วจีทุจริตนั้น ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต' ดังนี้. และพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงบัญญัติปราราชิกเพราะโทษผิดของท่านผู้มีอายุ สุทินกลันทบุตร ทรงร้องเรียนแล้วด้วยวาทะว่า โมฆบุรุษ. ก็แลความร้องเรียกนั้น จะได้ร้องเรียกด้วยจิต อันโทษประทุษร้ายแล้ว ก็หาไม่, จะร้องเรียกด้วยเหตุคิดจะข่มกระทำอำนาจอวดอ้าง ก็หาไม่, ร้องเรียกแล้วด้วยลักษณะตามที่เป็นจริงอย่างไร. ก็ลักษณะตามที่เป็นจริงอย่างไร ในการร้องเรียกนั้นอย่างไร?
ขอถวายพระพร ความตรัสรู้อริยสัจสี่ ในอัตภาพนี้ ของบุคคลใดไม่มี, ความเป็นบุรุษของบุคคลนั้น เป็นของเปล่า, กิจอื่นที่ตนกระทำอยู่ย่อมเป็นพร้อม คือ สำเร็จโดยกิจอื่น, เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า 'โมฆบุรุษ บุรุษเปล่า' ดังนี้.
ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงร้องเรียกท่านผู้มีอายุสุทิน กลันทบุตร ด้วยคำตามเป็นจริง จะได้ทรงร้องเรียกด้วยวาทะที่ไม่จริงก็หาไม่ แม้ด้วยประการดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน บุคคลใดด่าอยู่ ย่อมกล่าวความเป็นจริงก็ดี, ข้าพเจ้าปรับสินไหมแก่บุคคลนั้นตามโทษ, ความด่านั้นเป็นผิดทีเดียว, บุคคลนั้น อาศัยวัตถุประพฤติโวหารต่างด่าอยู่."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็การไหว้ หรือการต้อนรับ หรือสักการะ หรือความเพิ่มให้บรรณาการแก่บุคคลแล้ว บรมบพิตรเคยได้ทรงสดับแล้วมีหรือ?"
ร. "ไม่เคยสดับเลย บุคคลผู้ผิดแล้วในท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง เป็นผู้ควรจะขู่และคุกคาม, ราชบุรุษทั้งหลาย ย่อมตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสียบ้าง ย่อมตีบุรุษนั้นบ้าง ย่อมจำไว้บ้าง ย่อมฆ่าเสียบ้าง ย่อมปรับบ้าง."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น กิริยาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำแล้วไม่เป็นกิริยาเสียหายเลย"
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำแม้กิริยา พึงกระทำด้วยอาการเหมาะเจาะสมควร, โลกกับทั้งเทพดาย่อมกระดาก ย่อมละอายต่อพระตถาคตโดยยิ่ง แม้ด้วยการฟัง, ย่อมกระดาก ย่อมละอายต่อพระตถาคตโดยยิ่ง ด้วยการได้เห็น, ย่อมกระดาก ย่อมละอายต่อพระตถาคต ด้วยการเข้าไปหาและการนั่งใกล้ยิ่งขึ้นไปกว่าการได้เห็นนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร หมอเยียวยา เมื่อโทษในกายหนาหนักกำเริบแล้ว ให้ยาคุมหรือเป็นไฉน?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า หมอนั้น ใคร่จะกระทำให้เป็นคนไม่มีโรค ให้ยาประจุที่ไซ้ทั้งหลาย."
ถ. "ขอถวายพระพร พระตถาคตย่อมให้ความพร่ำสอน เพื่อความระงับพยาธิ คือ กิเลสทั้งปวง ฉันนั้นนั่นเทียว. พระวาจาของพระตถาคตแม้หยาบ ก็คุมสัตว์ทั้งหลายไว้, กระทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นผู้อ่อน. เปรียบเหมือนน้ำแม้ร้อน ย่อมคุมสิ่งที่ควรจะคุมไว้อันใดอันหนึ่ง กระทำให้เป็นของอ่อนได้ ฉันใด, พระวาจาของพระตถาคตแม้หยาบก็มีประโยชน์ไปพร้อมแล้วด้วยพระกรุณา. อนึ่ง คำของบิดามีประโยชน์แก่บุตรทั้งหลายไปพร้อมแล้วด้วยกรุณา ฉันใด, พระวาจาของพระตถาคตถึงหยาบ ก็มีประโยชน์ไปพร้อมแล้วด้วยพระกรุณา ฉันนั้น. พระวาจาของพระตถาคตถึงหยาบ ก็เป็นเครื่องละกิเลส. มูตรโคแม้มีกลิ่นเหม็นที่ดื่มแล้ว ยาแม้มีรสเฝื่อนขมที่กินแล้ว ย่อมกำจัดพยาธิของสัตว์ทั้งหลายได้ ฉันใด, พระวาจาของพระตถาคตถึงหยาบ ก็มีประโยชน์ไปพร้อมแล้วด้วยพระกรุณา ฉันนั้น, อนึ่ง ปุยนุ่นแม้ใหญ่ ตกลงแล้วในกายของบุคคลอื่น ย่อมไม่กระทำความเสียดแทงแก่บุคคลนนฉันใด, พระวาจาของพระตถาคตถึงหยาบ ก็ไม่ให้เกิดทุกข์แก่ใคร ๆ ฉันนั้นนั่นเทียวแล ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าวินิจฉัยดีแล้ว ด้วยเหตุทั้งหลายมาก, ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๓. รุกขเจตนาเจตนปัญหา ๒๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตแม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นผู้มีความเพียรปรารภแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว รู้อยู่ ถามความนอนเป็นสุขกะต้นไม้นี้ที่ไม่เจตนา ไม่ฟัง มิรู้ เพราะเหตุอะไร' ดังนี้. และตรัสแล้วอีกว่า 'แม้ต้นสะคร้อ, ได้ภาสิตแล้วในขณะนั่นเทียว อย่างนี้ว่า 'ดูก่อนพราหมณ์ภารทวาชโคตร คำแม้ของเราย่อมมี ท่านจงฟังคำเรา' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าต้นไม้ไม่มีเจตนา, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ต้นสะคร้อเจรจากับด้วยพราหมณ์ภารทวาชโคตร' นั้นผิด, ถ้าว่าต้นสะคร้อเจรจากับพราหมณ์ภารทวาชโคตร, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ต้นไม้ไม่มีเจตนา' แม้นั้นก็ผิด, ปัญหานี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้แล้วว่า 'ต้นไม้ไม่มีเจตนา' ดังนี้, และต้นสะคร้อเจรจากับด้วยพราหมณ์ภารทวาชโคตร, ก็แหละ คำนั้นท่านกล่าวแล้ว โดยสมมุติของโลก, ความเจรจาของต้นไม้ที่ไม่มีเจตนาไม่มี, เออก็คำที่ว่า "รุกโข ต้นไม้" นี้เป็นชื่อของเทพดาที่สิงอยู่ในต้นไม้นั้น, อนึ่ง คำที่ว่า 'ต้นไม้เจรจา' นั้นเป็นโลกบัญญัติ. เหมือนเกวียนเต็มแล้วด้วยข้าวเปลือก ชนย่อมกล่าวว่า 'เกวียนข้าวเปลือก' ดังนี้, ก็แต่ว่าเกวียนนั้น มิได้กระทำแล้วด้วยข้าวเปลือก, เกวียนนั้น สำเร็จแล้วด้วยไม้, ชนย่อมกล่าวว่า "ธญญสกฏํ เกวียนข้าวเปลือก" ดังนี้ ก็เพราะความที่ข้าวเปลือกเป็นของอันบุคคลบรรทุกแล้วในเกวียนนั้น ฉันใด: ต้นไม้จะเจรจาก็หาไม่, ต้นไม้เป็นของไม่มีเจตนา, ก็แต่ว่า เทพดาใดสิงอยู่ในต้นไม้นั้น คำที่ว่า "รุกโข ต้นไม้" นี้เป็นชื่อของเทพดานั้น, อนึ่ง คำที่ว่า 'ต้นไม้เจรจา' ดังนี้นั้น เป็นโลกบัญญัติ ฉันนั้นนั่นเทียว.
อีกนัยหนึ่ง บุคคลคนนมส้มอยู่ ย่อมกล่าวว่า 'เราคนเปรียง' ดังนี้, บุคคลนั้นคนวัตถุอันใดอยู่ วัตถุนั้นไม่ใช่เปรียง, บุคคลนั้นคนนมส้มนั่นเทียว ย่อมกล่าวว่า 'เราคนเปรียง' ดังนี้ ฉันใด: ต้นไม้เจรจาไม่ได้, ต้นไม้เป็นของไม่มีเจตนา, ก็แต่ว่า เทพดาใดที่สิงอยู่ในต้นไม้นั้น คำที่ว่า 'ต้นไม้' นี้เป็นชื่อของเทพดานั้น, อนึ่ง คำที่ว่า 'ต้นไม้เจรจา' ดังนั้น เป็นบัญญัติของโลก ฉันนั้นนั่นเทียว.
อีกนัยหนึ่ง ชนผู้ใคร่จะกระทำของที่ไม่มีให้สำเร็จ ย่อมกล่าวว่า 'เราจะกระทำของที่ไม่มีให้สำเร็จ,' ย่อมกล่าวของที่ไม่สำเร็จแล้วว่า 'เป็นของสำเร็จแล้ว,' วาจาอย่างนี้นั้น เป็นสมมติของโลก ฉันใด; ต้นไม้เจรจาไม่ได้, ต้นไม้เป็นของไม่มีเจตนา, ก็แต่ว่า เทพดาใดสิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น คำที่ว่า 'ต้นไม้' นี้เป็นชื่อของเทพดานั้น, อนึ่งคำที่ว่า 'ต้นไม้เจรจา' ดังนี้นั้น เป็นบัญญัติของโลก ฉันนั้นเทียวแล.
ขอถวายพระพร ชนย่อมกล่าวโดยสมมติของโลก ฉันใด, แม้พระตถาคตทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ตามสมมติของโลก ฉันนั้นนั่นเทียว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ดีละ ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๔. เทวปิณฑปาตมหัปผลภาวปัญหา ๒๔

พระราชาตรัสถามว่า"พระผู้เป็นเจ้านาคเสน คำนี้ พระเถระทั้งหลายผู้กระทำธรรมสังคายนา แม้ภาสิตแม้ว่า 'เราได้ฟังแล้วว่า พระพุทธเจ้าเสวยภัตรของนางช่างทองชื่อจุนทะ แล้วจึงประชวรหนัก มีมรณะเป็นส่วนสุด' ดังนี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอีกว่า 'ดูก่อนอานนท์บิณฑบาตทั้งหลายสองนี้เสมอกัน มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน, มีผลใหญ่โดยพิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่โดยพิเศษด้วย เกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่นนั่นเทียว' ดังนี้. ถ้าว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตรของนางช่างทองชื่อ จุนทะ อาพาธกล้าเกิดขึ้นแล้ว เวทนาหนักมีมรณะเป็นส่วนสุดเป็นไปแล้ว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนอานนท์บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านี้เสมอกัน มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน, มีผลใหญ่พิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่นนั่นเทียว' ดังนี้ นั้นเป็นผด. ถ้าว่าบิณฑบาตทั้งหลายแม้สองเหล่านี้เสมอกัน มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน, มีผลใหญ่พิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่นนั่นเทียว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตรของนายจุนทะแล้วอาพาธกล้าเกิดขึ้นแล้ว เวทนาหนักมีมรณะเป็นที่สุดเป็นไปแล้ว' แม้นั้นก็ผิด. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน บิณฑบาตนั้นมีผลใหญ่โดยความเป็นของเป็นไปแล้วด้วยยาพิษ มีผลใหญ่โดยความเป็นของยังโรคให้เกิดขึ้นมีผลใหญ่โดยความเป็นของกระทำอายุให้พินาศไป มีผลใหญ่โดยความเป็นของนำชีวิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าไปหรือหนอ? พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวเหตุในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า เพื่อจะข่มปรัปปวาททั้งหลายเสีย. ชนนี้เป็นผู้หลงพร้อมในข้อนี้ว่า "โรคลงแดงเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาหารที่เสวยแล้วมากเกิน ด้วยอำนาจแห่งความโลภ." ปัญหาแม้นี้สองเงื่อนมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด.
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร คำนี้ พระเถระทั้งหลายผู้กระทำธรรมสังคายนาแม้ภาติไว้แล้วว่า 'เราได้ฟังแล้วว่า พระพุทธเจ้าเสวยภัตรของนายช่างทองชื่อจุนทะแล้ว ประชวรหนักมีมรณะเป็นที่สุด' ดังนี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วอีกว่า 'ดูก่อนพระอานนท์บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านี้เสมอกัน มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน, มีผลใหญ่พิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่นนั่นเทียว: บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่าไหน? บิณฑบาตทั้งหลายสอง คือ: พระตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้วจึงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ไม่มีปัญญาอื่นยิ่งกว่า บิณฑบาตนั้นหนึ่ง, พระตถาคตเสวยบิณฑบาตใดแล้วจึงเสด็จปรินิพพานด้วยนิพพานธาตุ เป็นอนุปาทิเสสไม่มีขันธปัญจกที่กรรมกิเลสยึดมั่นเป็นส่วนเหลือ บิณฑบาตนั้นหนึ่ง, บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านี้เสมอกัน มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน, มีผลใหญ่พิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่นนั่นเทียว.' ก็แหละบิณฑบาตนั้นมีคุณมาก มีอานิสงส์มิใช่อย่างเดียว. เทพดาทั้งหลายชื่นชมแล้ว มีใจเลื่อมใสแล้วว่า 'บิณฑบาตนี้ เป็นบิณฑบาตครั้งสุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้' แล้วจึงแทรกโอชาทิพย์ลงในมังสะสุกรอ่อน. ก็แหละโอชาทิพย์นั่นเป็นของแปรโดยชอบ แปรเร็ว เป็นที่ยังใจให้ยินดี มีรสมาก เกื้อกูลแก่เพลิงธาตุในพระอุทร, โรคอะไร ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะเกิดขึ้นแล้วเพราะแทรกโอชาทิพย์นั้นเป็นเหตุก็หาไม่, เออก็ เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุพลภาคอยู่โดยปกติแล้ว พระชนมายุสังขารสิ้นแล้ว ครั้นโรคเกิดขึ้นแล้ว จึงกำเริบยิ่งขึ้นไป. เหมือนไฟโพลงอยู่โดยปกติ เมื่อใคร หยิบเชื้ออื่นเติมเข้าไปในไฟนั้น ไฟนั้นยิ่งโพลงชัชวาลหนักขึ้น ฉันใด, เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภารเจ้าทุพลภาพอยู่โดยปกติ พระชนมายุสังขารสิ้นแล้ว พระโรคเกิดขึ้นแล้ว จึงยิ่งกำเริบหนักขึ้น ฉันนั้น.
อีกนัยหนึ่ง กระแสน้ำไหลอยู่โดยปกติ ครั้นมหาเมฆตกเติมแล้วเป็นห้วงใหญ่ พาน้ำเชี่ยวหนักขึ้น ฉันใด, เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุพลภาพอยู่โดยปกติ พระชนมายุสังขารสิ้นแล้ว พระโรคเกิดขึ้นแล้ว จึงยิ่งกำเริบหนักขึ้น ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ท้องมีวาโยธาตุกำเริบขึ้นอยู่โดยปกติ เมื่อบริโภคอาหารอื่นที่ดิบซ้ำเข้าไปยิ่งอืดหนักขึ้น ฉันใด, พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุพลภาพอยู่โดยปกติ พระชนมายุสังขารสิ้นแล้ว พระโรคเกิดขึ้นแล้ว จึงยิ่งกำเริบหนักขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียวแล. โทษในบิณฑบาตนั้นมิได้มี, อนึ่งบัณฑิตไม่อาจเพื่อจะยกโทษแก่บิณฑบาตนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านั้นเสมอกัน มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน, มีผลใหญ่พิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เหลือเกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่น เพราะเหตุไร?"
ถ. "ขอถวายพระพร บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านั้นเสมอกัน ฯลฯ มีผลใหญ่พิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เหลือเกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่น ด้วยอำนาจความถึงพร้อมธรรม."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านั้นเสมอกัน ฯลฯ มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เหลือเกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่นนั่นเทียว ด้วยอำนาจความถึงพร้อมธรรมทั้งหลายเหล่าไหน?"
ถ. "ขอถวายพระพร บิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านั้นเสมอกัน ฯลฯ มีผลใหญ่พิเศษด้วย มีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วย เหลือเกินกว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่น ด้วยอำนาจแห่งการเข้าอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้งหลายเก้า ทั้งอนุโลมและปฏิโลม."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ในสองวันเท่านั้น เร็วนัก พระตถาคตเจ้าอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้งหลายเก้า เป็นอนุโลมและปฏิโลมทันหรือ?"
ถ. "ขอถวายพระพร เพียงในสองวันเท่านั้น พระตถาคตเข้าอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้งหลายเก้า เป็นอนุโลมและปฏิโลมทัน."
ร. "น่าอัศจรรย์ น่าพิศวง ทานใดที่เป็นอสทิสทาน ไม่มีทานอื่นเหมือน และเป็ฯบรมทานทานอย่างยิ่งในพุทธเขตนี้ แม้ทานนั้นท่านไม่นับแล้ว โดยบิณฑบาตทั้งหลายสองเหล่านี้. น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้า น่าพิศวง พระผู้เป็นเจ้า, อนุบุพพวิหารสมาบัติทั้งหลายเก้าใหญ่เพียงไรเล่า. ทานย่อมมีผลใหญ่พิเศษ และมีอานิสงส์ใหญ่พิเศษด้วยอำนาจอนุบุพพวิหารสมาบัติเก้าประการ. ดีละ พระผู้เป็นเจ้า ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๕. พุทธปูชานุญญาตปัญหา ๒๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย เพื่อจะบูชาพระสรีระของพระตถาคต' ดังนี้ และตรัสแล้วอีกว่า 'ท่านทั้งหลายจงบูชาธาตุแห่งบุคคลควรบูชานั้น ท่านทั้งหลายจักไปสู่สวรรค์แต่โลกนี้ ด้วยการกระทำบูชาอย่างนี้' ดังนี้ ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายเพื่อจะบูชาพระสรีระของพระตถาคต' ดังนี้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ท่านทั้งหลายจงบูชาธาตุของบุคคลควรบูชานั้น, ท่านทั้งหลายจักไปสู่สวรรค์ แต่โลกนี้ ด้วยการกระทำบูชาอย่างนี้' นั้นผิด. ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ท่านทั้งหลายจงบูชาธาตุของบุคคลควรบูชานั้น, ท่านทั้งหลายจักไปสู่สวรรค์แต่โลกนี้ ด้วยการกระทำบูชาอย่างนี้,' ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า 'ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย เพื่อจะบูชาพระสรีระของพระตถาคต' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงขยายความให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายเพื่อจะบูชาพระสรีระของพระตถาคต' ดังนี้. และตรัสแล้วอีกว่า 'ท่านทั้งหลายจงบูชาธาตุของบุคคลควรบูชานั้น, ท่านทั้งหลายจักไปสู่สวรรค์แต่โลกนี้ ด้วยการกระทำบูชาอย่างนี้' ดังนี้. ก็แหละพุทธพจน์นี้ พระองค์หาได้ตรัสเพื่อชนทั้งหลายทั้งปวงทั่วไปไม่, พระองค์ทรงปรารภชินโอรสทั้งหลาย ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า 'ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย เพื่อจะบูชาพระสรีระของพระตถาคต' ดังนี้. เพราะการบูชานี้นั่นไม่เป็นการงานของชินโอรสทั้งหลาย ความพิจารณาสังขารทั่งหลาย ความทำในใจโดยแยบคายโดยอุบายที่ชอบ ความพิจารณาสติปัฏฐานเนือง ๆ การยึดอารมณ์ที่เป็นสาระ ความรบกิเลส ความประกอบประโยชน์ของตนเนือง ๆ นี้ เป็นกิจของชินโอรสทั้งหลาย. การบูชาเป็นกิจของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายที่เหลือ.
เหมือนอย่างว่า การศึกษาศิลปะฝ่าย ช้าง ม้า รถ ธนู และกระบี่ และการเรียนมนต์สำหรับกษัตริย์ การฟังเสียง ความรู้กระทำการรบเอง และใช้ผู้อื่นให้รบ เป็นกิจของราชโอรสทั้งหลายของพระเจ้าแผ่นดิน, การไถนา การค้าขาย การเลี้ยงโค เป็นกิจของเวศย์ศูทร เป็นอันมากที่เหลืออยู่ ฉันใด. การบูชานี้นั้น ก็มิใช่การงานของชินโอรสทั้งหลาย, ความพิจารณาสังขารทั้งหลาย ความทำในใจโดยแยบคายความพิจารณาสติปัฏฐานเนือง ๆ ความยึดอารมณ์ที่เป็นสาระ ความรบกิเลส ความประกอบประโยชน์ของตนเนือง ๆ นี้ เป็นกิจของชินโอรสทั้งหลาย, การบูชาเป็นกิจของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายที่เหลือ ฉันนั้นนั่นแล.
อีกนัยหนึ่ง ความศึกษา อิรูเพท ยชุเพท สามเพท อาถัพพณเพท และลักษณศาสตร์ รู้ลักษณะชายหญิงต่าง ๆ และรู้มหาปุริสลักษณะสามสิบสองประการ เป็นต้น เป็นกิจของพราหมณ์มาณพต้องศึกษาให้รู้, การไถนา การค้าขาย การเลี้ยงโค เป็นกิจของเวศย์ ศูทรทั้งหลายมากอันเศษ ฉันใด: บูชานี้นั้นก็ไม่ใช่การงานของชินโอรสทั้งหลาย, ความพิจารณาสังขารทั้งหลาย ความทำในใจโดยแยบคาย ความพิจารณาสติปัฏฐานเนือง ๆ ความยึดอารมณ์ที่เป็นสาระ ความรบกิเลส ความประกอบประโยชน์ของตนเนือง ๆ นี้เป็นกิจของชินโอรสทั้งหลาย, การบูชาเป็นกิจของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายอันเหลือนั้น ฉันนั้นนั่นเทียวแล เพราะเหตุนั้น พระตถาคตทรงดำริในพระหฤทัยว่า 'ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จงอย่าประกอบในกิจมิใช่การงาน, ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้จงประกอบในกิจเป็นการงาน' แล้วจึงตรัสว่า 'ดูก่อนอานนท์ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย เพื่อจะบูชาพระสรีระของพระตถาคตเถิด' ดังนี้. ถ้าพระตถาคตไม่พึงตรัสพระพุทธพจน์นี้ไซร้, ภิกษุทั้งหลายจะพึงรวบรวมแม้บาตรและจีวรของตน กระทำพุทธบูชาอย่างเดียวเท่านั้น..
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๖. ภควโต ปาทปัปปฏิกปติตปัญหา ๒๖

พระราชาตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินอยู่ แผ่นดินใหญ่ไม่มีเจตนานี้ พื้นที่ลุ่มฟูขึ้น พื้นที่ดอนย่อมยุบลงเป็นประเทศเรียบราบเสมอกัน.' และกล่าวอยู่อีกว่า 'พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าอันสะเก็ดศิลากระทบแล้ว' ดังนี้. สะเก็ดศิลาที่ตกลงแล้วที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่กลับแล้วจากพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเหตุไร? พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าดำเนินอยู่ แผ่นดินใหญ่ไม่มีเจตนานี้ ที่ลุ่มย่อมฟูขึ้น ที่ดอนย่อมยุบลง ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันสะเก็ดศิลากระทบแล้ว, นั้นผิด. ถ้าว่าพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันสะเก็ดศิลากระทบแล้ว. ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินอยู่แผ่นดินใหญ่ที่ไม่มีเจตนานี้ พื้นที่ลุ่มย่อมฟูขึ้น พื้นที่ดอนย่อมยุบลง' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เจ้าแล้วเป็นพระผู้เป็นเจ้าพึงขยายออกให้แจ้งเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร เหตุนี้มีจริง: เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินอยู่ แผ่นดินใหญ่ที่ไม่มีเจตนานี้ พื้นที่ลุ่มฟูขึ้น พื้นที่ดอนยุบลง. และพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันสะเก็ดศิลากระทบแล้ว. ก็แหละสะเก็ดศิลานั้นมิได้ตกลงแล้วโดยธรรมดาของตน, สะเก็ดศิลานั้นตกลงแล้วด้วยความเพียรของพระเทวทัต.
ขอถวายพระพร พระเทวทัตผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นแสนชาติทั้งหลายมาก, พระเทวทัตนั้นคิดจะให้ศิลาใหญ่มีขนาดเท่าเรือนยอดตกลงในเบื้องบนแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอาฆาตนั้น, จึงปล่อยศิลานั้น, ครั้งนั้น ภูเขาทั้งหลายสองผุดขึ้นจากแผ่นดินแล้วรับศิลานั้นไว้, ครั้งนั้น กะเทาะแตกจากศิลาด้วยเขาทั้งหลายสองนั้นประหารกระทบกัน เมื่อจะตกลงโดยสถานใด หรือโดยสถานนั้น ไม่มีนิยม จึงตกลงแล้วที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็ภูเขาทั้งหลายสองรับศิลาแล้วอย่างไร แม้กะเทาะศิลาอันภูเขาทั้งหลายสอง พึงรับรองอย่างนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร แม้ของที่รับแล้วในโลกนี้บางสิ่ง ย่อมรั้วออกไหลออก เข้าถึงความสิ้นไป. เหมือนน้ำอันบุคคลเอาฝ่ามือรองไว้ ย่อมรั่วออกไหลออกได้ตามระวางแห่งนิ้วมือทั้งหลาย ย่อมถึงความสิ้นไปหมดไป, น้ำนมสด เปรียง น้ำผึ้ง เนยใส น้ำมัน รสปลา รสเนื้อ ละอย่าง ๆ บุคคลเอาฝ่ามือรองไว้ ย่อมรั่วย่อมไหลซึมซาบออกได้ ตามระวางนิ้วมือทั้งหลาย ฉันใด, ภูเขาทั้งสองที่เข้าไปเพื่อจะรับรองประหารกระทบศิลาที่กลิ้งลงมา สะเก็ดแตกจากศิลาที่กลิ้งลงมานั้น กระเด็นไปตกที่หลังพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ทรายที่ละเอียดสุขุมเสมอด้วยละอองธุลี บุคคลกำไว้แล้วด้วยกำมือ ย่อมรั่วไหลหมดสิ้นไป ฉันใด, ภูเขาทั้งหลายมารวมแล้วเพื่อจะรับศิลานั้น กระทบกันกับศิลาที่กลิ้งมานั้น สะเก็ดแตกแล้วแต่ศิลานั้น ตกไปไม่นิยมสถาน ตกลงแล้วที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น.
อีกประการหนึ่ง คำข้าวที่บุคคลในโลกนี้บางคนเปิบแล้ว เมล็ดข้าวที่ร่วงออกจากปากแล้ว ย่อมกระจัดกระจายเรี่ยรายสูญไป ฉันใด. เมื่อภูเขาทั้งหลายสองมารวมกัน เพื่อจะรับศิลาที่กลิ้งลงมานั้น ประหารกระทบศิลาที่กลิ้งลงมา สะเก็ดแตกแต่ศิลานั้น กระเด็นไปตกที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น."
ร. "ยกไว้เถิด พระผู้เป็นเจ้า ข้อซึ่งภูเขาทั้งหลายรับศิลาที่กลิ้งลงมายกไว้เถิด, ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น แม้สะเก็ดก็ควรกระทำความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนแผ่นดินใหญ่กระทำความเคารพฉะนั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร สภาพสิบสองอย่างเหล่านี้ ย่อมไม่กระทำความเคารพ, สภาพสิบสองอย่างเป็นไฉน? สภาพสิบสองอย่าง คือบุคคลที่กำหนัดแล้วไม่กระทำความเคารพด้วยอำนาจราคะ, บุคคลที่แค้นเคืองแล้ว ไม่กระทำความเคารพด้วยอำนาจโทสะ. บุคคลที่หลงแล้วไม่กระทำความเคารพด้วยอำนาจโมหะ, บุคคลที่ผู้อื่นยกย่องแล้วฟุ้งไปไม่กระทำความเคารพด้วยอำนาจมานะ, บุคคลไม่มีคุณพระรัตนตรัยในสันดาน คือ ไม่พิจารณาเห็นคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยไม่มีคุณพิเศษ, บุคคลที่กระด้างดื้อขันขึงย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยความไม่มีธรรมเครื่องห้ามจะให้โอนอ่อน, บุคคลที่เลวย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยความเป็นคนมีสภาพอันเลวทราม, บุคคลกระทำคำบังคับของท่านที่เป็นอิสสระ ย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยความที่ตนไม่เป็นอิสสระ, บุคคลที่ไม่มีจาคะจิต ย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยความเป็นคนตระหนี่, บุคคลอันใคร ๆ ให้ถึงทุกข์แล้ว ย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยความเป็นผู้มุ่งจะตอบแทน ให้ผู้ให้ทุกข์แก่ตนนั้นถึงทุกข์บ้าง, บุคคลโลภแล้ว ย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยความเป็นคนอันโลภครอบงำแล้ว, บุคคลมัวขวนขวายประโยชน์ของตนอยู่ ย่อมไม่กระทำความเคารพ ด้วยมุ่งจะกระทำประโยชน์ให้สำเร็จ. สภาพสิบสองอย่างเหล่านี้แล ย่อมไม่กระทำความเคารพ. ก็แหละสะเก็ดศิลานั้นแตกแล้ว เพราะศิลาสามก้อนนั้นกระทบกัน ไม่ได้กระทำความกำหนดทิศ กระเด็นไปตกที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
อีกประการหนึ่ง ละอองธุลีอันละเอียดสุขุม อันกำลังแห่งลมพัดหอบไปแล้ว ไม่กระทำความกำหนดทิศ กระจัดกระจายเรี่ยรายไปฉันใด, สะเก็ดศิลานั้นแตกแล้วเพราะศิลาสามก้อนกระทบกันมิได้กระทำนิมิตในทิศ กระเด็นลอยไปตกที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น. ก็ถ้าว่าสะเก็ดศิลานั้น ไม่กระเด็นออกไปต่างแต่ศิลานั้น, ภูเขาทั้งหลายพึงผุดขึ้นรับสะเก็ดศิลาแม้นั้น. ก็สะเก็ดศิลานั้นมิได้ตั้งอยู่ที่พื้นดิน มิได้ตั้งอยู่ในอากาศ แตกแล้วด้วยเรี่ยวแรงศิลาต่อศิลากระทบกันกระเด็นลอยไปตกที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนใบไม้เก่า ๆ อันลมบ้าหมูหอบขึ้นไม่มีความกำหนดทิศ ย่อมตกลงโดยสถานใดสถานหนึ่ง ฉันใด, สะเก็ดศิลานั้นไม่มีความกำหนดทิศ ด้วยกำลังศิลาต่อศิลากระทบกัน เมื่อจะตกสะเก็ดไปตกที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้นนั่นเทียวแล. เออก็ สะเก็ดศิลานั้นตกลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อความที่พระเทวทัตผู้อกตัญญู เป็นคนกระด้างจะเสวยทุกข์."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ดีละ ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. คาถาภีคีตโภชนทานกถากถนปัญหา ๒๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'โภชนะที่เราขับแล้วด้วยพระคาถาไม่ควรจะบริโภค, แน่ะพราหมณ์ ความบริโภคโภชนะที่ตนขับด้วยพระคาถานั้น ไม่เป็นธรรม คือ ไม่เป็นจารีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้พิจารณาเห็นรอบคอบอยู่, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบรรเทา คือ ห้ามเสีย ไม่เสวยโภชนะที่พระองค์ขับแล้วด้วยพระคาถา, ดูก่อนพราหมณ์เมื่อธรรมมีอยู่ คือ อาชีวปาริสุทธิธรรม หรือสุจริตธรรมสิบอย่างหรือจารีตธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่ คือ ว่าเป็นไปอยู่ ความแสวงหาเสมอด้วยเหยียดมือในโอกาสขอโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องเลี้ยงพระชนมชีพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้."
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมแก่บริษัทจะตรัสอนุปุพพิกถา ตรัสทานกถาทีแรกก่อน ตรัสสีลกถาในภายหลัง, เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายฟังภาสิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระในโลกทั้งปวง แล้วจึงตกแต่ง แล้วจึงให้ทาน, พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมบริโภคทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าส่งไปแล้วนั้นอีก.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'โภชนะที่เราขับแล้วด้วยพระคาถา ไม่ควรเราจะบริโภค' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทานกถาก่อน' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทานกถาก่อน, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'โภชนะที่เราขับแล้วด้วยพระคาถา ไม่ควรเราจะบริโภค' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด.
ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ? พระผู้เป็นเจ้า ทักขิเณยยบุคคลกล่าววิบากของบิณฑบาตแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย คฤหัสถ์เหล่านั้นฟังธรรมกถาแล้ว เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว ให้ทานเนือง ๆ, ทักขิเณยยบุคคลเหล่าใด บริโภคทานนั้น ทักขิเณยยบุคคคลเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมบริโภคทานที่ทักขิเณยยบุคคลขับแล้วด้วยพระคาถา. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน ละเอียดลึก มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงจะแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'โภชนะที่เราขับแล้วด้วยพระคาถา ไม่ควรเราจะบริโภค, แน่ะพราหมณ์ ความบริโภคโภชนะที่ตนขับด้วยพระคาถานั้น ไม่เป็นธรรม คือ ไม่เป็นจารีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้พิจารณาเห็นรอบคอบอยู่, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบรรเทา คือ ห้ามเสียไม่เสวยโภคชนะที่พระองค์ขับแล้วด้วยพระคาถา, ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ คือ อาชีวปาริสุทธิธรรม หรือสุจริตธรรมสิบอย่างหรือจารีตธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่ คือ ว่าเป็นไปอยู่ ความแสวงหาเสมอด้วยเหยียดมือในอากาศขอโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องเลี้ยงชีพพระชนมชีพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย' ดังนี้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทานกถาก่อน. ก็และความตรัสทานกถาก่อนนั้น เป็นกิริยาของพระตถาคตทั้งปวง: พระตถาคตทั้งปวงยังจิตของทายกทั้งหลายให้ยินดียิ่งแล้วในทานนั้น ด้วยตรัสทานก่อนย่อมประกอบในศีลต่อภายหลัง. เปรียบเหมือนมนุษย์ทั้งหลายให้ภัณฑะเครื่องเล่นทั้งหลายแก่ทารกรุ่นทั้งหลาย คือ ไถน้อย ๆ หม้อน้อย ๆ กังหันน้อยๆ ทะนานน้อย ๆ รถน้อยๆ ธนูน้อย ๆ, ทารกทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมประกอบในการงานของตน ๆ ต่อภายหลัง ฉันใด: พระตถาคตยังจิตของทายกทั้งหลายให้ยินดียิ่ง ด้วยทานกถาทีแรกก่อนแล้ว จึงประกอบในศีลต่อภายหลัง ฉันนั้นนั่นเทียว.
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหมอ ธรรมดาว่าหมอเมื่อเยียวยารักษาไข้ ยังคนเป็นไข้กระสับกระส่ายอยู่ทั้งหลาย ให้ดื่มน้ำมันเพื่อจะสมาน กระทำให้มีกำลังสี่วันห้าวันก่อนแล้ว จึงรุนยาต่อภายหลังฉันใด: พระตถาคตคราวแรกทรงยังจิตของทายกทั้งหลาย ให้ยินดียิ่งด้วยทานกถาแล้ว จึงประกอบในศีลต่อภายหลัง ฉันนั้นนั่นเทียว. จิตของทายกทานบดีทั้งหลายเป็นจิตอ่อน มีความเป็นของอ่อนสนิทแล้ว, ทายกทานบดีทั้งหลายเหล่านั้น จักตามถึงฝั่งแห่งสาคร คือ สงสาร ด้วยสะพานคือทาน ด้วยเรือคือทานนั้น ด้วยประการดังนี้, เพราะเหตุนั้น พระตถาคตทรงสั่งสอนภูมิแห่งกรรมแก่ทายกทั้งหลายเหล่านั้น, ก็แต่ว่าจะต้องทรงวิญญัติ เพราะสั่งสอนนั้นก็หาไม่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าววิบัญญัติอันใดว่า 'วิญญัติ' ก็วิญญัติทั้งหลายเหล่านั้นมีเท่าไร?"
ถ. "ขอถวายพระพร วิญญัติมีสองคือ: กายวิญญัติ ให้เขารู้แจ้งด้วยกายหนึ่ง วจีบัญญัติ ให้เขารู้แจ้งด้วยวาจาหนึ่ง. ในวิญญัติสองเหล่านั้น กายวิญญัติที่มีโทษก็มี ที่ไม่มีโทษก็มี; วจีวิญญัติที่มีโทษก็มี ที่ไม่มีโทษก็มี. กายวิญญัติที่มีโทษอย่างไร? ในศาสนานี้ภิกษุบางองค์เข้าไปใกล้ตระกูลทั้งหลายแล้วจึงยืนอยู่ในโอกาสไม่ควรยืนเสพการยืนนั้น, กายวิญญัตินี้มีโทษ; ก็พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไม่บริโภคโภชนะที่ภิกษุนั้นขอแล้วด้วยกายวิญญัตินั้น, ส่วนบุคคลนั้นเป็นผู้อันบัณฑิตดูหมิ่นดูแคลนติเตียน ไม่เคารพแล้ว, ในสมัย คือ ลัทธิของพระอริยะทั้งหลาย ถึงซึ่งความนับว่า 'ผู้มีอาชีวะอันทำลายแล้ว' ทีเดียว.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: ในศาสนานี้ ภิกษุบางองค์เข้าไปใกล้ตระกูลทั้งหลายแล้วจึงยืนอยู่ในโอกาสไม่ควรยืน น้อมคอไปเพ่งแล้วดังเพ่งแห่งนกยูง ด้วยคิดว่า 'ชนทั้งหลายเหล่านี้จักเห็น ด้วยการยืนอย่างนี้,' ชนเหล่านั้นเห็นภิกษุนั้น ด้วยการยืนนั้น, กายวิญญัติแม้นี้มีโทษ; พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่บริโภคโภชนะที่ภิกษุนั้นขอแล้วด้วยกายวิญญัตินั้น, ส่วนบุคคลนั้นเป็นผู้อันบัณฑิตดูหมิ่นดูแคลนติเตียน ไม่เคารพแล้ว ในสมัยคือลัทธิของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความนับว่า 'ผู้มีอาชีวะทำลายแล้ว' ทีเดียว.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก; ในศาสนานี้ ภิกษุบางองค์ให้เขารู้แจ้งด้วยคางบ้าง ด้วยคิ้วบ้าง ด้วยแม่มือบ้าง, วิญญัติแม้นี้มีโทษ; พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไม่บริโภคโภชนะที่ภิกษุนั้นขอแล้วด้วยกายวิญญัตินั้น, ส่วนบุคคลนั้นเป็นผู้อันบัณฑิตดูหมิ่นดูแคลนติเตียน ถึงซึ่งความนับว่า 'เป็นผู้มีอาชีวะทำลายแล้ว' ทีเดียว.
ขอถวายพระพร แม้พระเถระชื่อสารีบุตร เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เป็นไข้ในส่วนราตรี อันพระเถระชื่อมหาโคคัลลานะ ถามถึงเภสัชจึงเปล่งวาจา, เภสัชเกิดขึ้นด้วยวจีเภทนั้น; ครั้งนั้น พระเถระชื่อ สารีบุตร ละเภสัชนั้น ไม่อาศัยเลี้ยงชีพ เพราะกลัวแต่ความทำลายแห่งอาชีวะว่า "เภสัชนี้เกิดขึ้นแล้วด้วยวจีเภทของเรา, อาชีวะของเราอย่าแตกเลย" ดังนี้ มิใช่หรือ? วจีวิญญัติแม้อย่างนี้ เป็นไปกับด้วยโทษ; ก็พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมไม่บริโภคโภชนะที่ภิกษุนั้นขอแล้วด้วยวจีวิญญัตินั้น, ส่วนบุคคลนั้นเป็นผู้อันบัณฑิตดูหมิ่นดูแคลนติเตียนไม่เคารพแล้ว ในสมัย คือ ลัทธิของพระอริยเจ้าทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมถึงซึ่งความนับว่า 'มีอาชีวะทำลายแล้ว' ทีเดียว.
วจีวิญญัติอย่างไรไม่มีโทษ? ขอถวายพระพร ในศาสนานี้ ภิกษุเมื่อปัจจัยมี ขอเภสัชในตระกูลทั้งหลายที่เป็นญาติและผู้ปวารณา, วจีวิญญัตินี้ไม่มีโทษ; พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมบริโภคปัจจัยที่ภิกษุนั้นขอแล้วด้วยวจีบัญญัตินั้น, ส่วนบุคคลนั้นเป็นผู้อันบัณฑิตยกย่องชมเชยสรรเสริญแล้ว ในสมัย คือ ลัทธิของพระอริยเจ้าทั้งหลาย, เธอนั้นย่อมถึงซึ่งความนับว่า 'เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว' นั่นเทียว อันพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอนุมัติแล้ว.
ขอถวายพระพร พระตถาคตทรงละโภชนะของกสิภารทวาชพราหมณ์อันใดเสีย โภชนะนั้นเกิดแล้วด้วยความแค่นได้และผูกพันและฉุดคร่า และข่ม และโต้ตอบ, เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงห้ามบิณฑบาตนั้นเสีย ไม่อาศัยเป็นอยู่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เมื่อพระตถาคตเสวยอยู่ เทพดาทั้งหลายแทรกโอชะทิพย์ลงในบาตรสิ้นกาลทั้งปวงหรือ หรือว่าเทพดาทั้งหลายแทรกโอชะทิพย์ลงในบิณฑบาตทั้งหลายสอง คือ มังสะสุกรอ่อนหนึ่ง มธุปายาสหนึ่ง สองอย่างเท่านั้น?"
ถ. "ขอถวายพระพร เมื่อพระตถาคตเสวยอยู่ เทพดาทั้งหลายถือโอชะทิพย์ บำรุงแทรกโอชะทิพย์ลงในคำข้าวที่ทรงยกขึ้นแล้ว และยกขึ้นแล้วสิ้นกาลทั้งปวง. เปรียบเหมือนคนครัว (คนเครื่อง) ของพระมหากษัตริย์ เมื่อพระมหากษัตริย์เสวยอยู่ คนเครื่องมือนั้นถือแกงบำรุงแทรกแกงลงในคำข้าวทุกองค์ ฉันใด, เมื่อพระตถาคตเสวยอยู่เทพดาทั้งหลายถือโอชะทิพย์ บำรุงแทรกโอชะทิพย์ลงในคำข้าวที่พระองค์ทรงยกขึ้นแล้วและทรงยกขึ้นแล้วทุก ๆ เวลา ฉันนั้นนั่นเทียวแล. แม้เมื่อพระตถาคตเสวยข้าวยวปูลกะแห้ง ที่ในเมืองเวรัญชา เทพดาทั้งหลายให้ชุ่มแล้วให้ชุ่มแล้วด้วยโอชะทิพย์น้อมเข้าไปแล้ว, เพราะเหตุนั้น พระกายของพระตถาคตจึงได้เป็นอวัยวะเจริญแล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เทพดาทั้งหลายเหล่าใด ถึงซึ่งความขวนขวายในการประคับประคองพระสรีรกายของพระตถาคตแล้วเนือง ๆ ลาภทั้งหลายของเทพดาทั้งหลายเหล่านั้นหนอ.
ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั่นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ

เจ้าของ:  JANDHRA [ 05 ส.ค. 2012, 12:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..

เจ้าของ:  รสมน [ 06 ส.ค. 2012, 09:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

กรรมอะไร นางปฏาจาราจึงต้อง

พลัดพรากจากสามี บุตร บิดา มารดา เพราะ เขาเหล่านั้นตายจากไป แต่ อย่างไรก็ตาม

ก็ไม่พ้นจากผลของอกุศลกรรมแน่นอน ที่ทำให้พลัดพรากจากของรัก

ซึ่ง ในพระไตรปิฎก บางแห่งก็แสดงไว้ว่า การพลัดพรากจากของรัก เป็นผลของ

การผิดศีลข้อที่ 3 คือ กาเมสุมิจฉาจาร ดังนั้น การพลัดพราก จึงต้องเป็นผลของ

อกุศลกรรมใด อกุศลกรรมหนึ่งให้ผล แต่ที่สำคัญ ที่ควรพิจารณาในเรื่องนาง

ปฏาจารา คือ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงกับนางปฏาจารา ซึ่งเป็นประโยชน์มาก

ดังนี้

น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ยังมีปริมาณน้อย ความ

เศร้าโศกของนรชนผู้ถูกทุกข์กระทบแล้ว น้ำของน้ำ

ตามิใช่น้อย มีปริมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔

นั้นเสียอีก แม่เอย เหตุไร เจ้าจึงขังประมาทอยู่เล่า.

พระองค์แสดงถึงความจริงที่ว่า สังสารวัฏฏ์ยาวนานนับประมาณไม่ได้ สัตว์โลก

ล้วนถูกความโศกครอบงำมานับไม่ถ้วน ควรที่จะไม่ประมาท คือ การอบรมเจริญ

ปัญญา เป็นสำคัญ

ไม่มีบุตรที่จะช่วยได้ บิดาก็ไม่ได้แม้พวกพ้องก็

ไม่ได้ เมื่อความตายมาถึงตัวแล้ว หมู่ญาติ ก็ช่วยไม่ได้

เลย

สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะมีอยู่

ในผู้ใด พระอริยะทั้งหลายย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็น

อนามตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย (นิพพาน) ในโลก.

แสดงถึงความจริงที่ว่า บุตร ญาติพี่น้องที่สำคัญว่าเป็นที่พึ่งที่แท้จริง แต่ในความ

เป็นจริง ไม่ใช่ที่พึ่งได้เลย เพราะต่างก็ต้องไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ

ตน ไม่มีใครช่วยใครได้ แต่คุณงามความดีของตนนั่นแหละที่จะเป็นที่พึ่งในภพหน้า

และ พึ่งให้ไม่ต้องมีการเกิด เพราะได้ที่พึ่ง คือ ปัญญา จนถึงการดับกิเลส ครับ

บัณฑิตรู้ใจความข้อนี้แล้ว สำรวมในศีล พึง

รีบเร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว.

คนที่เห็นความเกิดความเสื่อม [ของปัญจขันธ์]

มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียวยังประเสริฐกว่า คนที่ไม่เห็น

ความเกิดความเสื่อมถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี.

เมือรู้ความจริงเช่นนี้ จึงเห็นประโยชน์ของการเจริญอบรมปัญญา ไม่มีตัวเราที่เร่ง

แต่เพราะปัญญาที่เห็นประโยชน์จึงศึกษาพระธรรม และ เจริญกุศลเพิ่มขึ้น และ ชีวิต

ของผู้มีชีวิตเพียงแม้ขณะเดียวที่เห็นความจริงด้วยปัญญาประเสริฐกว่า คนที่ไม่ได้รู้

ความจริงอยู่ด้วยความประมาท เพราะ แม้ชีวิตยืนยาว แต่ทำอกุศล ไม่อบรมปัญญา ก็

ไม่ต่างจากคนที่ตายแล้ว ตายไปด้วยความประมาท


เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ

เจ้าของ:  JANDHRA [ 06 ส.ค. 2012, 12:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..

เจ้าของ:  รสมน [ 07 ส.ค. 2012, 09:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

๘. ภควโตธัมมเทสนายอัปโปสุกตภาวปัญหา ๒๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า 'พระตถาคตทรงอบรมพระสัพพัญญุตญาณมาในระหว่างสี่อสงไขยแสนกัปป์ จึงกระทำพระสัพพัญญุตญาณให้แก่กล้าได้แล้ว เพื่อจะยกประชุมชนหมู่ใหญ่ขึ้น.' และกล่าวอีกว่า 'ภายหลังพระองค์บรรลุความเป็นสัพพัญญูแล้ว จิตของพระองค์น้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย หาน้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมไม่' ดังนี้.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน นายขมังธนู หรืออันเตวาสิกของนายขมังธนู ศึกษาความลอบยิงเพื่อประโยชน์แก่สงครามสิ้นวันทั้งหลายมาก เมื่อการรบใหญ่ถึงพร้อมแล้วกลับท้อถอยเสีย ฉันใด; พระตถาคตทรงอบรมพระสัพพัญญุตญาณมา ในระหว่างสี่อสงไขยแสนกัปป์ให้แก่กล้าแล้ว เพื่อจะยกประชุมชนหมู่ใหญ่ขึ้น, ครั้นพระองค์บรรลุความเป็นสัพพัญญูแล้ว ทรงท้อถอยในการแสดงธรรมก็ฉันนั้น.
อีกนัยหนึ่ง คนปล้ำ หรืออันเตวาสิกของคนปล้ำ ตั้งใจศึกษาการปล้ำไว้แล้วสิ้นวันทั้งหลายมาก ครั้นเมื่อการต่อสู้ของคนปล้ำถึงพร้อมแล้วพึงท้อใจ ฉันใด, พระตถาคตทรงอบรมพระสัพพัญญุตญาณมาในระหว่างสื่อสงไขกับแสนกัปป์กระทำให้แก่กล้า เพื่อจะยกประชุมชนหมู่ใหญ่ขึ้น, ครั้นเมื่อพระองค์ถึงความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว ทรงท้อถอยในการแสดงธรรมก็ฉันนั้น.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตทรงท้อแล้ว เพราะความกลัวหรือหนอ, หรือว่าทรงท้อแล้ว เพราะความที่ธรรมไม่ปรากฏ,หรือว่าพระองค์ทรงท้อแล้ว เพราะความที่แห่งพระองค์เป็นผู้ทุพพล, หรือว่าพระองค์ทรงท้อแล้ว เพราะความที่พระองค์ไม่ใช่สัพพัญญู? อะไรเป็นเหตุในความท้อนั้น? เชิญพระผู้เป็นเจ้ากล่าวเหตุแก่ข้าพเจ้าเพื่อข้ามความสงสัยเสีย.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระตถาคตทรงอบรมพระสัพพัญญุตญาณมาในระหว่างสื่อสงไขยกับแสนกัปป์ให้แก่กล้าแล้ว เพื่อจะยกประชุมชนหมู่ใหญ่ขึ้น, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระตถาคตทรงบรรลุความเป็นสัพพัญญูแล้ว จิตของพระองค์น้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย หาน้อมไปเพื่อจะแสดงธรรมไม่' ดังนี้ คำนั้นผิด. ถ้าว่าเมื่อพระองค์บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว จิตของพระองค์น้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย หาน้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมไม่, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระตถาคตอบรมพระสัพพัญญุตญาณมาในระหว่างสี่อสงไขกับแสนกัปป์ให้แก่กล้าแล้ว เพื่อจะยกประชุมชนหมู่ใหญ่ขึ้น' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อนลึกอันบุคคลเปลื้องยาก มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระตถาคตทรงอบรมพระสัพพัญญุตญาณมาในระวางสี่อสงไขยกับแสนกัปป์ให้แก่กล้าแล้วเพื่อจะยกชนหมู่ใหญ่ขึ้น; และครั้นพระองค์บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วจิตของพระองค์น้อมไปแล้ว เพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยหาน้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมไม่, ก็ความน้อมไปนั้น เหตุเห็นความที่ธรรมเป็นของลึก และละเอียด และอันบุคคลเห็นยาก และอันบุคคลตรัสรู้ตามด้วยยาก และสุขุม และแทงตลอดด้วยยาก และความที่สัตว์ทั้งหลายมีอาลัยเป็นที่มายินดี และสักกายทิฏฐิอันสัตว์ทั้งหลายยกขึ้นแล้วมั่น; ทรงดำริว่า "อะไรหนอแล อย่างไรหนอแล" ดังนี้ จิตของพระองค์น้อมไปแล้ว เพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย หาน้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมไม่; จิตนั้นมีความคิดถึงความแทงตลอดของสัตว์ทั้งหลายในพระหฤทัยอย่างเดียว.
ขอถวายพระพร อุปมาเหมือนหมอผู้ตัดผ่า เข้าไปใกล้นวชนผู้อันพยาธิมิใช่อย่างเดียวเบียดเบียนแล้ว จึงคิดอย่างนี้ว่า "พยาธิของชนนี้ จะพึงระงับได้ด้วยความเพียรอะไรหนอ หรือด้วยเภสัชขนานไหน" ดังนี้ ฉันใด; จิตของพระตถาคตเห็นชนอันพยาธิ คือ กิเลสทั้งปวงเบียดเบียนแล้ว และเห็นความที่ธรรมเป็นของลึก และละเอียด และอันบุคคลเห็นโดยยาก และอันบุคคลตรัสรู้ตามโดยยาก สุขุม มีความแทงตลอดโดยยากว่า "อะไรหนอแล อย่างไรหนอแล" ดังนี้ จิตของพระองค์น้อมไปแล้ว เพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย หาน้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมไม่; ความน้อมไปนั้น มีความคิดถึงความแทงตลอดของสัตว์ทั้งหลายในพระหฤทัยอย่างเดียว ฉันนั้นเทียว.
อุปมาเหมือนพระราชผู้กษัตริย์มุรธาภิเษกแล้ว ทอดพระเนตรเห็นนายประตู และหมู่ทหาร และหมู่สัตว์ และชาวนิคม และราชภัฏ และอมาตย์ และราชกัญญา ผู้อาศัยพระองค์เป็นอยู่ทั้งหลาย มีความดำริในพระหฤทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "เราจักสงเคราะห์ชนทั้งหลายเหล่านี้อย่างไรหนอแล" ฉันใด;พระตถาคตทอดพระเนตรเห็นความที่ธรรมเป็นของลึก และละเอียด และบุคคลเห็นโดยยาก และอันบุคคลตรัสรู้ตามโดยยาก สุขุม มีความแทงตลอดโดยยาก และความที่สัตว์ทั้งหลายมีอาลัยเป็นที่มายินดี และความที่สักกายทิฏฐิเป็นของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นถือมั่น, จึงทรงดำริว่า "จะกระทำอะไรหนอแล เราจักกระทำอย่างไรหนอแล" ดังนี้ จิตของพระองค์น้อมไปแล้ว เพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย หาน้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมไม่ ฉันนั้น; ความน้อมพระหฤทัยไปนั้น มีความคิดถึงความแทงตลอดของสัตว์ทั้งหลาย ในพระหฤทัยอย่างเดียว. เออก็ พระตถาคตทั้งหลายอันพรหมวิงวอนแล้วย่อมทรงแสดงธรรมอันใด ความที่พระตถาคตทั้งหลายอันพรหมวิงวอนแล้วทรงแสดงธรรมนั้น เป็นธรรมของพระตถาคตทั้งหลายทั้งปวง. ก็อะไรเป็นเหตุในข้อนั้น? โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายดาบสและปริพาชกทั้งหลาย สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดชนทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง เป็นผู้มีพรหมเป็นเทพดาผู้หนักในพรหมเป็นผู้มีพรหมเป็นที่ถึงในเบื้องหน้า;โลกกับทั้งเทพดาจักนอบน้อม จักเชื่อถือ จักน้อมใจตามพระตถาคตเจ้า เพราะความนอบน้อมของพรหมนั้น ผู้มีกำลัง มียศ มีชื่อเสียงโด่งดัง ผู้เยี่ยม ผู้เลิศลอย เพราะเหตุนั้น พระตถาคตทั้งหลาย ต่อพรหมวิงวอนแล้วจึงทรงแสดงธรรม.
เปรียบเหมือนพระมหากษัตริย์ หรือราชมหาอมาตย์ผู้หนึ่ง ย่อมนอบน้อมทำความเคารพแก่บุคคลใด, ประชุมชนนอกนั้น ย่อมนอบน้อมกระทำความเคารพแก่บุคคลนั้น เพราะความนอบน้อมของพระมหากษัตริย์หรือราชมหาอมาตย์นั้น ผู้มีกำลังกว่า ฉันใด;โลกกับทั้งเทวดาจักนอบน้อมแด่พระตถาคตทั้งหลายผู้อันพรหมนอบน้อมแล้ว ฉันนั้นแล. พรหมอันชาวโลกบูชาแล้ว ๆ, เพราะฉะนั้น มหาพรหมนั้นจึงทูลวิงวอนพระตถาคตเจ้าทั้งปวงเพื่อแสดงธรรม, และพระตถาคตทั้งหลายอันพรหมทูลวิงวอนแล้ว จึงทรงแสดงธรรมเพราะเหตุนั้น ขอถวายพระพร."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าคลี่คลายขยายดีแล้ว เวยยากรณ์มีความเจริญนัก ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๙. พุทธอาจริยานาจริยปัญหา ๒๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคทรงภาสิตว่า 'อาจารย์ของเราตถาคตไม่มี บุคคลเช่นกับด้วยเราตถาคตไม่มี ในโลกกับทั้งเทพดา ไม่มีบุคคลเปรียบด้วยเราตถาคต' ดังนี้แล้ว. ภายหลังพระองค์ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของเราตถาคต ตั้งเราผู้อันเตวาสิกให้เป็นผู้เสมอด้วยตน และบูชาเราด้วยบูชายิ่ง ด้วยประการดังนี้แล' ดังนี้.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระตถาคตตรัสว่า 'อาจารย์ของเราตถาคตไม่มี บุคคลเช่นกับด้วยเราตถาคตไม่มี' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของเราตั้งเราผู้อันเตวาสิกไว้ให้เป็นผู้เสมอด้วยตน และบูชาเราด้วยบูชายิ่งด้วยประการดังนี้แล' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของเรา ตั้งเราไว้ให้เป็นผู้เสมอด้วยตน และบูชาเราด้วยบูชายิ่ง ด้วยประการดังนี้แล' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'อาจารย์ของเราตถาคตไม่มี บุคคลเช่นกับด้วยเราตถาคตไม่มี'ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตว่า 'อาจารย์ของเราตถาคตไม่มี บุคคลเช่นกับด้วยเราตถาคตไม่มี ในโลกกับทั้งเทพดา ไม่มีบุคคลเปรียบด้วยเราตถาคต' ดังนี้แล้ว. ภายหลังตรัสว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของเรา ตั้งเราไว้ให้เป็นผู้เสมอด้วยตน และพจน์นั้น พระองค์ทรงหมายเอาความที่อาฬารดาบสกาลามโคตร เป็นอาจารย์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ในกาลก่อนแต่ความตรัสรู้เทียวตรัสแล้ว.
ขอถวายพระพร อาจารย์ทั้งหลายของพระโพธิสัตว์ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ยังมิได้ตรัสรู้ยิ่ง ในกาลก่อนแต่ความตรัสรู้เทียว ห้าคนเหล่านี้, พระโพธิสัตว์อันอาจารย์ทั้งหลายเหล่าไรเล่า สั่งสอนแล้วยังวันให้น้อมล่วงไปแล้วในสำนักของอาจารย์นั้น ๆ, อาจารย์ทั้งหลายห้า คือบุคคลไหนบ้าง?
ขอถวายพระพร พราหมณ์ทั้งหลายแปดเหล่าใดนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์พอเกิดแล้วมารับลักษณะทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลายแปดคือใครบ้าง? พราหมณ์ทั้งหลายแปด คือรามพราหมณ์หนึ่ง ธชพราหมณ์หนึ่ง ลักษณพราหมณ์หนึ่ง มันตีพราหมณ์หนึ่ง ยัญญพราหมณ์หนึ่ง สุยามพราหมณ์หนึ่ง สุโภชพราหมณ์หนึ่ง สุทัตตพราหมณ์หนึ่ง รวมเป็นแปดคน, พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นให้พระชนกทรงทราบความสวัสดีของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ได้กระทำกรรมคือการรักษาแล้ว, ก็พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นอาจารย์ทีแรก.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: พระเจ้าสุทโธทนะผู้พระชนกของพระโพธิสัตว์ ทรงนำพราหมณ์ชื่อ สรรพมิตร เป็นอภิชาติ เป็นผู้สูง มีชาติเป็นผู้กล่าวบท มีเวยยากรณ์ มีองค์หก เช้ามาแล้ว ทรงจับพระเต้าน้ำหล่อมอบถวายให้ศึกษาว่า 'ท่านจงยังกุมารนี้ให้ศึกษา,' สรรพมิตรพราหมณ์นี้ เป็นอาจารย์ที่สอง.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: เทพดาใดนั้นยังพระโพธิสัตว์ให้สังเวช, พระโพธิสัตว์ทรงสดับคำของเทพดาใดแล้ว จึงสังเวชแล้ว หวาดแล้วเสด็จออกแล้ว บรรพชาแล้ว ในขณะนั้นนั่นเทียว, เทพดานี้เป็นอาจารย์ที่สาม.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: อาฬารดาบสกาลามโคตรนี้ เป็นอาจารย์ที่สี่.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: อุททกดาบสรามบุตรนี้ เป็นอาจารย์คำรบห้า.
อาจารย์ทั้งหลายของพระโพธิสัตว์ เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ยังมิได้ตรัสรู้ ในกาลก่อนแต่ความตรัสรู้ทีเดียว ห้าพวกเหล่านี้แล.
ก็แต่ว่า อาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอาจารย์ในธรรมเป็นโลกิยะ. ก็แหละอาจารย์ผู้สั่งสอน เพื่อจะแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ในธรรมเป็นโลกุตตระนี้ ไม่มีใครยิ่งกว่า ของพระตถาคตไม่มี.
ขอถวายพระพร พระตถาคตเป็นสยัมภูไม่มีอาจารย์, เพราะเหตุนั้น พระตถาคตตรัสแล้วว่า 'อาจารย์ของเราตถาคตไม่มี บุคคลเช่นกับด้วยเราไม่มี ในโลกกับทั้งเทพดา ไม่มีบุคคลเปรียบด้วยเรา ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๑๐. อัคคานัคคสมณปัญหา ๓๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิต พระพุทธพจน์นี้ว่า 'บรรพชิตชื่อเป็นสมณะ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป' ดังนี้. แล้วตรัสอีกว่า 'บัณฑิตทั้งหลายกล่าวนระผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรมทั้งหลายสี่นั้นว่า เป็นสมณะแท้ในโลก' ดังนี้ ในคำนั้น ธรรมทั้งหลายสี่เหล่านี้ คือ ขันติ ความอดทน อัปปาหารตา ความเป็นผู้มีอาหารน้อย คือ มักน้อย รติวิปปหาน ความละความยินดีเสีย อากิญจัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีความกังวล. คุณธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่สิ้นอาสวะแล้ว ยังมีกิเลสนั่นเทียว. ถ้าบรรพชิตชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'บัณฑิตทั้งหลายกล่าวนระผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรมทั้งหลายสี่นั้น ว่าเป็นสมณะแท้ในโลก' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าบรรพชิตผู้มีความพร้อมเพรียง ด้วยธรรมทั้งหลายสี่ ชื่อว่าเป็นสมณะ, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'บรรพชิตชื่อเป็นสมณะ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป' ดังนี้ แม้นั้นก็เป็นผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้แล้วว่า 'บรรพชิตชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'บัณฑิตทั้งหลายกล่าวนระผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรมทั้งหลายสี่นั้น ว่าเป็นสมณะแท้ในโลก.' พระพุทธพจน์ว่า 'บัณฑิตทั้งหลายกล่าวนระผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรมทั้งหลายสี่นั้น ว่าเป็นสมณะ' นี้นั้น พระองค์ตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งคุณของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ๆ. ส่วนคำที่ว่า 'บรรพชิตชื่อเป็นสมณะ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ดังนี้ ๆ เป็นคำกล่าวไม่มีส่วนเหลือ กล่าวส่วนสุด. เออก็ บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเข้าไประงับกิเลส พระองค์ทรงคัดสรรบุคคลผู้ปฏิบัติทั้งหลายทั้วปวงเหล่านั้น ตรัสสมณะผู้สิ้นอาสวะแล้วว่าเป็นยอด. อุปมาเหมือนดอกไม้ที่เกิดในน้ำและเกิดบนบกทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มหาชนย่อมกล่าวดอกมะลิว่าเป็นยอดแห่งดอกไม้ทั้งหลายเหล่านั้น, บุบผชาติทั้งหลายต่าง ๆ เหล่าใดเหล่าหนึ่งเหลือนั้น ท่านคัดสรรดอกไม้ทั้งหลายเหล่านั้น ดอกมะลิอย่างเดียวเป็นที่ปรารถนาเป็นที่รักของมหาชน ฉันใด; บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเข้าไประงับกิเลส ย่อมกล่าวสมณะผู้สิ้นอาสวะแล้วว่าเป็นยอด ฉันนั้นนั่นเทียว.
อีกนัยหนึ่ง โลกย่อมกล่าวว่าข้าวสาลีเป็นยอดแห่งข้าวเปลือกทั้งหลายทั้งปวง, ธัญญชาติทั้งหลายต่าง ๆ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อาศัยธัญญชาติทั้งหลายเหล่านั้นเป็นโภชนะเพื่อยังสรีระให้เป็นไป โลกย่อมกล่าวข้าวสาลีอย่างเดียว ว่าเป็นยอดแห่งธัญญชาติทั้งหลายเหล่านั้นฉันใด; บุคคลทั้งหลายผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเข้าไประงับกิเลส บัณฑิตทั้งหลายคัดสรรบุคคลผู้ปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น กล่าวสมณะผู้สิ้นอาสวะแล้วว่าเป็นยอด ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."


วรรคที่สี่
๑. วัณณภณนปัญหา ๓๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลทั้งหลายอื่น พึงกล่าวสรรเสริญคุณของเราผู้ตถาคต หรือกล่าวสรรเสริญคุณแห่งพระธรรมแห่งพระสงฆ์ก็ดี, ท่านทั้งหลายไม่ควรจะกระทำความเพลิดเพลิน ไม่ควรจะกระทำโสมนัสดีใจ ไม่ควรจะกระทำความเหิมจิต ในการที่บุคคลทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณนั้น'ดังนี้. อนึ่ง พระตถาคตเมื่อพราหมณ์ชื่อเสละ กล่าวสรรเสริญคุณตามเป็นจริงแล้วอย่างไร พระองค์มีความเพลิดเพลินและดีพระหฤทัย เหิมพระหฤทัยยิ่ง ตรัสระบุคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปแก่เสละ
พราหมณ์นั้นว่า 'ดูก่อนเสละ เราผู้ตถาคตเป็นพระราชา เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีใครจะยิ่งกว่า เราผู้ตถาคตยังจักรโดยธรรมให้เป็นไป จักรอันใคร ๆ พึงให้เป็นไปเทียมไม่ได้' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลทั้งหลายอื่น กล่าวสรรเสริญคุณของเราผู้ตถาคต หรือกล่าวสรรเสริญคุณของพระธรรม ของพระสงฆ์ก็ดี, ท่านทั้งหลายไม่ควรจะกระทำความเพลิดเพลิน ไม่ควร 'จะกระทำความโสมนัสดีใจ ไม่ควรจะกระทำความเหิมจิต ในการที่บุคคลทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณนั้น' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'เมื่อเสละพราหมณ์กล่าวสรรเสริญพระคุณตามเป็นจริงอย่างไร พระองค์มีความเพลิดเพลินแล้ว ดีพระหฤทัย เหิมพระหฤทัย ตรัสระบุคุณของพระองค์แก่เสละพราหมณ์นั้น' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่า เมื่อเสละพราหมณ์กล่าวสรรเสริญพระคุณตามเป็นจริงอย่างไร พระองค์มีความเพลิดเพลินแล้ว ดีพระหฤทัย เหิมพระหฤทัย ตรัสระบุคุณของพระองค์แก่เสละพราหมณ์นั้นยิ่งขึ้นไป,' ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ภิกษุทั้งหลายถ้าบุคคลทั้งหลายอื่น กล่าวสรรเสริญคุณของเราผู้ตถาคต หรือกล่าวสรรเสริญคุณของพระธรรมพระสงฆ์ก็ดี, ท่านทั้งหลายไม่ควรจะกระทำความเพลิดเพลิน ไม่ควรจะกระทำความโสมนัส ไม่ควรจะกระทำความเหิมจิต ในการที่บุคคลทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณนั้น' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้แล้วว่า 'ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทั้งหลายอื่น กล่าวสรรเสริญของเราผู้ตถาคต หรือกล่าวสรรเสริญคุณของพระธรรมพระสงฆ์ก็ดี, ท่านทั้งหลายไม่ควรจะกระทำความเพลิดเพลิน ไม่ควรจะกระทำความโสมนัส ไม่ควรจะกระทำความเหิมจิต ในการที่บุคคลทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณนั้น' ดังนี้. อนึ่ง เมื่อเสละพราหมณ์กล่าวสรรเสริญพระคุณตามเป็นจริงอย่างไร พระองค์มีความเพลิดเพลินแล้ว ดีพระหฤทัย เหิมพระหฤทัย ตรัสระบุคุณของพระองค์แก่เสละพราหมณ์นั้นยิ่งขึ้นไปว่า 'ดูก่อนเสละ เราเป็นพระราชา เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีใครยิ่งกว่า เรายังจักรโดยธรรมให้เป็นไป จักรอันใคร ๆ พึงให้เป็นไปเทียมไม่ได้' ดังนี้ จริง. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงลักษณะแห่งความเป็นเองทั้งรสแห่งธรรม ความเป็นเองเป็นของไม่ผิด เป็นของจริงของแท้ ความเป็นอย่างนั้นของพระธรรมก่อน จึงตรัสว่า 'ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทั้งหลายอื่น กล่าวสรรเสริญคุณของเราผู้ตถาคต หรือกล่าวสรรเสริญคุณของพระธรรมพระสงฆ์ก็ดี, ท่านทั้งหลายไม่ควรจะกระทำความเพลิดเพลิน ไม่ควรจะกระทำความโสมนัส ไม่ควรจะกระทำความเหิมจิต ในการที่บุคคลทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณนั้น ดังนี้. ก็แต่ว่า พระพุทธพจน์ใด เมื่อเสละพราหมณ์กล่าวสรรเสริญพระคุณตามความเป็นจริงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าซ้ำตรัสระบุพระคุณพระองค์ แก่เสละพราหมณ์นั้นยิ่งขึ้นไปว่า 'ดูก่อนเสละ เราเป้นพระราชา เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีใครจะยิ่งกว่า' ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้น พระองค์จะได้ตรัสแล้วเพราะเหตุแห่งลาภก็หาไม่ จะได้ตรัสแล้วเพราะเหตุแห่งยศก็หาไม่ จะได้ตรัสแล้วเพราะเหตุแห่งฝักฝ่ายก็หาไม่ จะได้ตรัสแล้วโดยความเป็นผู้ใคร่อันเตวาสิกก็หาไม่พระพุทธพจน์นั้น พระองค์ตรัสแล้วด้วยความไหวตาม ด้วยความกรุณา ด้วยอำนาจแห่งประโยชน์เกื้อกูลว่า 'ความตรัสรู้ธรรมจักมีแก่เสละพราหมณ์นี้ด้วย แก่มาณพทั้งหลายสามร้อยด้วย โดยอุบายอย่างนี้' ดังนี้ โดยแท้แล, เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสสรรเสริญคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปอย่างนี้ว่า 'ดูก่อนเสละ เราเป็นพระราชา เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีใครจะยิ่งกว่า ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๒. อหึสานิคคหปัญหา ๓๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้แล้วว่า 'ท่านผู้นับถือพระรัตนตรัยว่าของเรา เมื่อไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น จักเป็นที่รักในโลก' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'เราตถาคตพึงข่มสภาพที่ควรข่ม พึงยกย่องสภาพที่ควรยกย่อง' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน การตัดมือเสีย ตัดเท้าเสีย ฆ่าเสีย ขังเสียให้กระทำกรรมกรณ์เสีย ให้ตายเสีย กระทำสันตติให้กำเริบ ชื่อความข่ม. คำนั้นไม่ควรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ควรเพื่อจะตรัสคำนั้น. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ท่านผู้นับถือพระรัตนตรัย เมื่อไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น จักเป็นที่รักในโลก' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'เราผู้ตถาคตพึงข่มสภาพที่ควรข่ม พึงยกย่องสภาพควรยกย่อง' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'เราผู้ตถาคตพึงข่มสภาพซึ่งควรข่ม พึงยกย่องสภาพซึ่งควรยกย่อง' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ท่านผู้นับถือพระรัตนตรัย เมื่อไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น จักเป็นที่รักในโลก' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'เราผู้ตถาคตพึงข่มสภาพที่ควรข่ม พึงยกย่องสภาพควรยกย่อง' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'เราผู้ตถาคตพึงข่มสภาพซึ่งควรข่ม พึงยกย่องสภาพซึ่งควรยกย่อง' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ท่านผู้นับถือพระรัตนตรัย เมื่อไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น จักเป็นที่รักในโลก' แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสตพระพุทธพจน์นี้แล้วว่า 'ท่านผู้นับถือพระรัตนตรัย เมื่อไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น จักเป็นที่รักใคร่ในโลก' ดังนี้, ตรัสแล้วว่า 'เราผู้ตถาคตพึงข่มสภาพซึ่งควรข่ม พึงยกย่องสภาพซึ่งควรยกย่อง' ดังนี้ด้วย. พระพุทธพจน์นี้ว่า 'ท่านผู้นับถือพระรัตนตรัย เมื่อไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นจักเป็นที่รักในโลก' ดังนี้ นั่นเป็นอนุมัติของพระตถาคตทั้งหลายทั้งปวง: พระวาจานั้นเป็นเครื่องพร่ำสอน พระวาจานั้นเป็นเครื่องแสดงธรรมของพระตถาคตทั้งหลายทั้งปวง, เพราะว่าธรรมมีความไม่เบียดเบียนเป็นลักษณะ, พระพุทธพจน์นั้นเป็นเครื่องกล่าวความเป็นเอง ก็เพราะพระตถาคตตรัสพระวาจาใดแล้วว่า 'เราผู้ตถาคตพึงข่มสภาพซึ่งควรข่มพึงยกย่องสภาพซึ่งควรยกย่อง' ดังนี้ พระวาจานั้นเป็นเครื่องตรัส.
ขอถวายพระพร จิตที่ฟุ้งซ่านแล้วควรข่ม, จิตที่หดหู่ควรประคองไว้; จิตเป็นอกุศลควรข่ม, จิตเป็นกุศลควรยกย่อง: ความกระทำในใจโดยไม่แยบคายควรข่ม, ความกระทำในใจโดยแยบคายควรยกย่อง: บุคคลผู้ปฏิบัติผิดแล้วควรข่ม, บุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วควรยกย่อง; บุคคลไม่ใช่อริยะควรข่ม, บุคคลที่เป็นอริยะควรยกย่อง; โจรควรข่ม, บุคคลที่ไม่เป็นโจรควรยกย่อง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อนั้นจงยกไว้, บัดนี้พระผู้เป็นเจ้ากลับมาสู่วิสัยของข้าพเจ้าแล้ว, ข้าพเจ้าถามเนื้อความใด เนื้อความนั้นเข้าถึงแก่ข้าพเจ้าแล้ว; พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็โจรอันใคร ๆ เมื่อจะข่มควรข่มอย่างไร?"
ถ. "ขอถวายพระพร โจรใคร ๆ เมื่อจะข่มพึงข่มอย่างนี้;โจรที่ควรจะขู่ อันบุคคลผู้ข่มพึงขู่, โจรควรจะปรับสินไหมพึงปรับไหม, โจรควรจะขับไล่ พึงขับไล่เสีย, โจรซึ่งควรจะจำไว้พึงจำไว้, โจรซึ่งควรจะฆ่าพึงฆ่าเสีย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ก็ความฆ่าโจรทั้งหลายอันใด ความฆ่านั้นเป็นอนุมัติของพระตถาคตทั้งหลายด้วยหรือ?"
ถ. "หาไม่ ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน โจรซึ่งควรจะบังคับควรจะสั่งเป็นอนุมัติของพระตถาคตทั้งหลายด้วย เพื่อเหตุไรเล่า?"
ถ. "ขอถวายพระพร โจรใดนั้นอันราชบุรุษทั้งหลายฆ่าอยู่โจรนั้นอันราชบุรุษทั้งหลายจะฆ่า โดยอนุมัติของพระตถาคตทั้งหลายก็หาไม่, โจรนั้นราชบุรุษทั้งหลายฆ่าเสีย เพราะโทษผิดที่โจรกระทำแล้วเอง, เออก็ พระตถาคตพร่ำสอน ๆ โดยธรรม, ก็ราชบุรุษทั้งหลายอาจเพื่อจะจับบุรุษมิได้กระทำความผิด ไม่มีความผิด เที่ยวอยู่ที่ถนนฆ่าเสียให้ตายโดยอนุมัติหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า.
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระพร?"
ร. "เพราะความที่บุรุษนั้น มิได้กระทำความผิดนะซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร โจรอันราชบุรุษทั้งหลายฆ่าเสีย ตามอนุมัติของพระตถาคตทั้งหลาย หามิได้, โจรนั้นอันราชบุรุษทั้งหลายฆ่าเสียเพราะโทษผิดที่โจรกระทำเอง อย่างนี้นั่นเทียว, ก็ผู้บังคับจะต้องโทษอันหนึ่งเพราะความบังคับนั้นหรือ?"
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ความพร่ำสอนของพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมเป็นความพร่ำสอนโดยชอบ."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้า ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๓. ภิกขุปณามปัญหา ๓๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้ว แม้ซึ่งพระพุทธพจน์นี้ว่า 'เราตถาคตไม่มีความโกรธ เป็นผู้ปราศจากโทสะดังตะปูตรึงจิตแล้ว,' ภายหลังพระตถาคตทรงประณามพระเถระสารีบุตร และพระเถระโมคคัลลานะทั้งหลายกับทั้งบริษัท. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตโกรธแล้วจึงประณามบริษัทหรือ หรือว่าพระตถาคตทรงยินดีแล้ว
ประณามบริษัท; พระผู้เป็นเจ้าจงรู้เหตุนั้นก่อนว่า 'เหตุนี้ชื่อนี้.' ถ้าพระตถาคตโกรธแล้วประณามบริษัท, ถ้าอย่างนั้น ความโกรธของพระตถาคตยังไม่เป็นไปล่วงได้แล้ว. ถ้าว่าพระตถาคตทรงยินดีแล้วประณาม, ถ้าอย่างนั้นพระตถาคตเจ้าไม่รู้ประณามแล้ว เพราะเหตุไม่ใช่วัตถุ. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ได้ภาสิตแล้วซึ่งพระพุทธพจน์นี้ว่า 'เราตถาคตไม่มีความโกรธ เป็นผู้ปราศจากโทสะดังตะปูตรึงจิตแล้ว.' อนึ่งพระองค์ทรงประณามพระเถระสารีบุตรและพระเถระโมคคัลลานะทั้งหลายกับทั้งบริษัท. ก็แหละการประณามนั้นจะทรงประณามด้วยความโกรธก็หาไม่.
ขอถวายพระพร บุรุษในโลกนี้ บางคนพลาดล้มลงที่รากไม้หรือที่ตอ หรือที่ศิลา หรือที่กระเบื้อง หรือที่ภาคพื้นอันไม่เรียบ หรือที่เปือกตมในแผ่นดินใหญ่, เออก็ แผ่นดินใหญ่โกรธแล้วจึงให้บุรุษนั้นล้มลงหรือ?"
ร. "หามิได้ ความโกรธหรือความเลื่อมใสของแผ่นดินใหญ่ไม่มี, แผ่นดินใหญ่พ้นแล้วจากความเอ็นดูและขึ้งเคียด, บุรุษนั้นพลาดล้มแล้วเองนั่นเทียว."
ถ. "ขอถวายพระพร ความโกรธหรือความเลื่อมใส ย่อมไม่มีแด่พระตถาคตทั้งหลาย, พระตถาคตองค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายพ้นแล้วจากความเอ็นดูและขึ้งเคียด, พระเถระทั้งหลายเหล่านั้น พระองค์ทรงประณามขับไล่แล้ว เพราะความผิดของตนที่ตนกระทำแล้วเองทีเดียวโดยแท้แลฉันนั้น. อุปมาเหมือนบุคคลที่พลาดจากแผ่นดินล้มลง ฉันใด, บุคคลที่พลาดแล้วในพระศาสนาอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว พระองค์ทรงประณามเสีย ฉันนั้น; อนึ่ง ซากศพที่ตายแล้วในมหาสมุทร ๆ ย่อมซัดขึ้น ฉันใด, บุคคลพลาดแล้วในพระศาสนาอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว พระองค์ทรงประณามเสีย ฉันนั้น.
ขอถวายพระพร พระตถาคตทรงประณามพระเถระทั้งหลายเหล่านั้นเพราะเหตุไร พระองค์ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความสุขใคร่ความหมดจดพิเศษแก่พระเถระทั้งหลายเหล่านั้นว่า 'ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จักพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ด้วยอุบายอย่างนี้' จึงทรงประณามขับไล่เสีย."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๔. สัพพัญญูสยปณามปัญหา ๓๔

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'พระตถาคตเป็นสัพพัญญู' ดังนี้. และกล่าวอีกว่า 'เมื่อภิกษุสงฆ์มีพระเถระชื่อ สารีบุตร และโมคคัลลานะเป็นประธาน อันพระตถาคตประณามแล้ว ศากยราชผู้อยู่ในเมืองชื่อจาตุมนครด้วย สหัมบดีพรหมด้วย แสดงพีชูปมาเปรียบด้วยพืชอ่อน และวัจฉตรณูปมา เปรียบด้วยลูกโครุ่น ให้พระผู้มีพระภาคเลื่อมใสแล้ว ให้ยกโทษแล้วให้สงบแล้ว' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระตถาคตงดโทษแล้ว อดโทษแล้ว เข้าไประงับแล้ว สงบแล้ว ด้วยอุปมาทั้งหลายเหล่าใดอุปมาทั้งหลายเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงทราบแล้วหรือหนอแล? พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าอุปมาทั้งหลายเหล่านั้น อันพระตถาคตไม่ทรงทราบแล้ว, ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าไม่ใช่สัพพัญญู. ถ้าว่าอุปมาเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงทราบแล้ว, ถ้าอย่างนั้น พระตถาคตข่มเหงเพ่งความทดลอง ทรงประมาณแล้ว, ถ้าอย่างนั้น ความไม่มีความกรุณา ย่อมเกิดพร้อมแด่พระตถาคตแล้ว. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระตถาคตเป็นสัพพัญญู, และพระผู้มีพระภาคเลื่อมใสแล้ว งดโทษแล้ว อดโทษแล้ว เข้าไประงับแล้ว สงบแล้ว ด้วยอุปมาทั้งหลายเหล่านั้น. พระตถาคตเป็นธรรมสามี, ศากยราชทั้งหลายชาวจาตุมนคร และสหัมบดีพรหมอาราธนาพระตถาคต ให้พระตถาคตทรงยินดีแล้ว ให้เลื่อมใสแล้วด้วยข้ออุปมาทั้งหลายที่พระตถาคตทรงทราบแจ้งชัดแล้วทีเดียว' อนึ่ง พระตถาคตทรงเลื่อมใสแล้ว อนุโมทนายิ่งแล้วว่า สาธุ แก่ศากยราชชาวจาตุมนคร และสหัมบดีพรหมเหล่านั้น.
เหมือนสตรีเชิญสามี ให้สามียินดีเลื่อมใสด้วยทรัพย์เป็นของ ๆ สามีนั่นเทียว, และสามีก็บันเทิงตามยิ่งแล้วซึ่งทรัพย์นั้นฉันใด; ศากยราชชาว จาตุมนครและสหัมบดีพรหม อาราธนาพระตถาคต เชิญพระตถาคตให้ทรงยินดีแล้ว ให้เลื่อมใสแล้ว ด้วยข้ออุปมาทั้งหลายที่พระตถาคตทรงทราบแล้วทีเดียว, และพระตถาคตเลื่อมใสแล้ว ทรงอนุโมทนาแก่ศากยราชชาวจาตุมานครและสหัมบดีพรหมยิ่งแล้ว ด้วยพระพุทธพจน์ว่า สาธุ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างกัลบกประดับพระเศียรของพระมหากษัตริย์ ด้วยสุพรรณอลงกรณ์ของพระมหากษัตริย์นั่นเอง อัญเชิญพระมหากษัตริย์ให้ทรงยินดีเลื่อมใส, และพระมหากษัตริย์เลื่อมใสแล้ว ทรงบันเทิงว่า สาธุ แล้วจึงพระราชทานรางวัลแก่ช่างกัลบกนั้นตามความปรารถนา ฉันใด; ศากยราชชาวจาตุมนครและสหัมบดีพรหมอาราธนาพระตถาคต เชิญพระตถาคตให้ยินดียิ่งแล้ว ให้เลื่อมใสแล้วด้วยข้ออุปมาทั้งหลายที่พระตถาคตทรงทราบแล้วทีเดียว, และพระตถาคตเลื่อมใสแล้ว ทรงอนุโมทนาแก่ศากยราช
ชาวจาตุมนคร และสหัมบดีพรหมยิ่งแล้ว ด้วยพระพุทธพจน์ว่า สาธุ ฉันนั้นนั่นเทียวแล.
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนสัทธิวิหาริก ถือเอาบิณฑบาตที่อุปัธยายนำมาแล้ว น้อมเข้าไปถวายอุปัธยาย อาราธนาอุปัธยาย ยังอุปัธยายให้ยินดีให้เลื่อมใส อุปัธยายเลื่อมใสแล้ว อนุโมทนากะสัทธิวิหาริกนั้นว่า สาธุ ดังนี้ ฉันใด; ศากยราชชาวจาตุมนครและสหัมบดีพรหม อาราธนาพระตถาคต เชิญพระตถาคตให้ทรงยินดีแล้ว ให้เลื่อมใสแล้ว ด้วยข้ออุปมาทั้งหลายที่พระตถาคตทรงทราบแล้วทีเดียว, และพระตถาคตเลื่อมใสแล้ว อนุโมทนาแล้วว่า สาธุ ดังนี้ ทรงแสดงธรรมแก่ศากยราชชาวเมืองจาตุมนคร และสหัมบดีพรหมทั้งหลายเหล่านั้น เพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ

เจ้าของ:  JANDHRA [ 07 ส.ค. 2012, 12:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

.. :b8:

อุปมาการสอนพระธรรมคำสั่งสอนกับมนุษย์ผู้สี่งสมปัญญามาแตกต่างกันดังการคุยกันของผู้ใช้ภาษาแตกต่างกัน จะกล่าวไปไยกับการยึดถือมิจฉาทิฏฐิปฏิบัติที่เหลือว่าจะสามารถอธิบายให้ได้เข้าใจได้หรือไม่ว่ามีความเป็นไปอย่างไร สิ้นไปได้อย่างไร.. พระพุทธองค์จึงทรงเบื่อ..ที่จะแสดงธรรมอันลึกซึ้งให้ชนทั้งหลายฟัง.. หากแต่ในหมู่ชนเหล่านั้น ยังพอมีบ้าง ที่มีปัญญาสูง ปานกลาง และผู้ขวนขวายอยู่ ที่สามารถจะเข้าใจในพระธรรมอันยากนั้นเพื่อส่งตนให้ถึงซึ่งความดับไปแห่งอาสวะกิเลส และวัฏฏะสงสารที่เหลือ ดังบัวสี่เหล่าที่พระองค์ทรงพิจารณาถึงปัญญาของเหล่าชนทั้งหลายไว้อย่างนั้น..พระธรรมจึงยังตกทอดมาสู่ชนที่เหลือดังปัจจุบัน..การศึกษาพระธรรม จึงต้องปรับผู้ต้องการจะศึกษาให้ยอมรับในกฏเดียวกัน คือการรักษาศีลก่อน หากเป็นชายก็บรรพชาเสียในโอกาสที่ควร เพื่อให้มีภาษาเดียวกันอันจะง่ายทั้งต่อผู้สอน และผู้ถูกสอนนั่นเอง..

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..

เจ้าของ:  รสมน [ 08 ส.ค. 2012, 17:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

๕. อนิเกตานาลยกรณปัญหา ๓๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ธรรมชาตินี้แล คือ ความไม่ติดที่อยู่ ความไม่มีอาลัย เป็นความเห็นชอบของพระมุนี' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจ ยังภิกษุผู้เป็นพหุสูตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ธรรมชาตินี้แล คือ ความไม่ติดที่อยู่ ความไม่มีอาลัย เป็นความเห็นชอบของพระมุนี' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจ ยังภิกษุผู้เป็นพหุสูตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้ เป็นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจ ยังภิกษุผู้เป็นพหุสูตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ธรรมชาตินี้แล คือ ความไม่ติดที่อยู่ ความไม่มีอาลัย เป็นความเห็นชอบของพระมุนี" แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตพระพุทธพจน์แม้นี้แล้วว่า 'ธรรมชาตินี้แล คือความไม่ติดที่อยู่ ความไม่มีอาลัย เป็นความเห็นชอบของพระมุนี' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจ ยังภิกษุผู้เป็นพหุสูตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้.
ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ธรรมชาตินี้แล คือ ความไม่ติดที่อยู่ ความไม่มีอาลัย เป็นความเห็นชอบของพระมุนี' ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้น เป็นคำแสดงสภาวะเป็นคำกล่าวเหตุไม่หลงเหลือ เป็นคำกล่าวเหตุไม่มีส่วนเหลือ เป็นคำกล่าวตรงไม่อ้อมค้อม เป็นคำเหมาะแก่สมณะ เป็นคำสมรูปของสมณะ เป็นคำสมส่วนแก่สมณะ เป็นคำสมควรแก่สมณะ เป็นโคจรของสมณะ เป็นที่ตั้งมั่นของสมณะ. เปรียบเหมือนเนื้อที่อยู่ในป่า เมื่อเที่ยวไปในไพรในป่า ไม่มีอาลัยในที่อยู่ ไม่ติดที่อยู่ ย่อมไปได้ตามความปรารถนาฉันใด, ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ติดที่อยู่ ไม่มีอาลัย คิดเห็นว่า 'ข้อนั้นแหละเป็นความเห็นชอบของพระมุนี' ฉันนั้นนั่นแล.
ขอถวายพระพร ส่วนพระพุทธพจน์ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว่า 'บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจ ยังภิกษุผู้เป็นพหุสูตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งเห็นอำนาจประโยชน์สองประการจึงตรัสแล้ว, อำนาจประโยชน์สองประการนั้น คือ อะไรบ้าง? คือ: ธรรมดาว่าวิหาร อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงสรรเสริญ ชมเชย อนุมัติ ยกย่องแล้ว, ทายกทั้งหลายเหล่านั้น ถวายวิหารทานแล้ว จักพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย; นี้เป็นอานิสงส์ในวิหารทานข้อที่หนึ่ง. คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: เมื่อวิหารมีอยู่ ภิกษุเป็นอันมากจักเป็นผู้ปรากฏ จักเป็นผู้อันชนทั้งหลายผู้ประสงค์จะพบเห็นหาได้ง่าย, ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่มีที่อยู่ จักเป็นผู้อันชนทั้งหลายพบเห็นได้ยาก; นี้เป็นอานิสงส์ในวิหารทานข้อที่สอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล็งเห็นอำนาจประโยชน์สองประการนี้ จึงตรัสแล้วว่า 'บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจ ยังภิกษุผู้เป็นพหุสูตให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, พระพุทธโอรสไม่พึงกระทำความอาลัยในที่อยู่นั้น"
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๖. อุทรสํยมปัญหา ๓๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ภิกษุอย่าพึงประมาทในบิณฑาหารอันตนพึงลุกขึ้นยืนอยู่ที่ประตูเรือนรับ, ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมแล้วในท้อง' ดังนี้. และตรัสอีกแล้วว่า 'ดูก่อนอุทายี ก็เราแล ในกาลบางที บริโภคเสมอขอบบ้าง บริโภคยิ่งบ้าง ด้วยบาตรใบนี้' ดังนี้ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ภิกษุอย่าพึงประมาทในบิณฑาหารอันตนพึงลุกขึ้นยืนอยู่ที่ประตูเรือนรับ, ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมแล้วในท้อง' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'แน่ะอุทายี ก็เราแล ในกาลบางที บริโภคเสมอขอบบ้าง บริโภคยิ่งบ้าง ด้วยบาตรใบนี้' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่า พระตถาคตเจ้าตรัสแล้วว่า 'แน่อุทายี ก็เราแลในกาลบางที บริโภคเสมอขอบบ้าง บริโภคยิ่งบ้าง ด้วยบาตรใบนี้' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ภิกษุอย่าพึงประมาทในบิณฑาหาร อันตนพึงลุกขึ้นยืนอยู่ที่ประตูเรือนรับ, ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมแล้วในท้อง' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาพึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ปัญหานั้นพระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้ว แม้ซึ่งพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ภิกษุอย่าพึงประมาทในบิณฑาหารอันตนพึงลุกขึ้นยืนอยู่ที่ประตูเรือนรับ, ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมแล้วในท้อง' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'แน่ะอุทายี ก็เราตถาคตแล ในกาลบางที บริโภคเสมอขอบ้าง บริโภคยิ่งบ้าง ด้วยบาตรใบนี้' ดังนี้. พระพุทธพจน์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า "ภิกษุอย่าพึงประมาทในบิณฑาหารอันตนพึงลุกขึ้นยืนอยู่ที่ประตูเรือนรับ, ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมแล้วในท้อง" ดังนี้. พระพุทธพจน์นั้นเป็นเครื่องกล่าวโดยสภาวะเป็นเครื่องกล่าวเหตุไม่เหลือ เป็นเครื่องกล่าวเหตุไม่มีส่วนเหลือ เป็นเครื่องกล่าวโดยนิปริยายโดยตรง เป็นเครื่องกล่าวเหตุที่แท้ เป็นเครื่องกล่าวเหตุตามเป็นจริง ไม่วิปริต เป็นคำของฤษีและมุนี เป็นพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาค เป็นคำของพระอรหันต์ เป็นคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธพจน์ของพระชินพุทธเจ้า เป็นพระพุทธพจน์ของพระสัพพัญญู เป็นพระพุทธพจน์ของพระตถาคต พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ขอถวายพระพร บุคลไม่สำรวมแล้วในท้อง ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้แล้วบ้าง ย่อมถึงภริยาของผู้อื่นบ้าง ย่อมกล่าวคำเท็จบ้าง ย่อมดื่มน้ำกระทำผู้ดื่มแล้วให้เมาบ้าง ย่อมฆ่ามารดาบ้าง ย่อมฆ่าบิดาบ้าง ย่อมฆ่าพระอรหันต์บ้าง ย่อมทำลายสงฆ์บ้าง ย่อมกระทำพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้น ด้วยจิตอันประทุษร้ายแล้วบ้าง.
ขอถวายพระพร พระเทวทัตไม่สำรวมท้องแล้ว ทำลายสงฆ์แล้วสร้างกรรมเป็นที่ตั้งอยู่ตลอดกัปป์ไม่ใช่หรือ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุทั้งหลายมีอย่างมาก แม้เหล่าอื่นเป็นปานฉะนี้แล้ว จึงตรัสแล้วว่า "ภิกษุอย่าพึงประมาทในบิณฑาหารที่ตนพึงลุกขึ้นยืนอยู่ที่ประตูเรือนรับ, ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมท้อง" ดังนี้.
ขอถวายพระพร บุคคลผู้สำรวมท้องแล้ว ย่อมถึงพร้อมเฉพาะคือตรัสรู้อภิสมัย คือ สัจจะสี่ กระทำสามัญญผลทั้งหลายสี่ให้แจ้งย่อมถึงความเป็นผู้ชำนาญในปฏิสัมภิทาทั้งหลายสี่ด้วย ในสมาบัติทั้งหลายแปดด้วย ในอภิญญาทั้งหลายหกด้วย บำเพ็ญสมณธรรมสิ้นเชิงด้วย.
ขอถวายพระพร ลูกนกแขกเต้าเป็นผู้สำรวมท้องแล้ว กระทำโลกให้ไหวแล้ว เพียงไรแต่พิภพชื่อดาวดึงส์ นำท้าวสักกะผู้เป็นจอมของเทวดาทั้งหลาย เข้าไปยังที่บำรุงแล้วมิใช่หรือ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุทั้งหลายมากอย่างแม้เหล่าอื่นเห็นปานฉะนี้ จึงตรัสแล้วว่า "ภิกษุอย่าพึงประมาทในบิณฑาหารที่ตนพึงลุกขึ้นยืนอยู่ที่ประตูเรือนรับ, ภิกษุพึงสำรวมแล้วในท้อง" ดังนี้.
ขอถวายพระพร ก็พระพุทธพจน์ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า "แน่ะ อุทายี ก็เราผู้ตถาคตแล ในกาลบางคราว บริโภคเสมอขอบบาตรบ้าง บริโภคยิ่งบ้าง ด้วยบาตรใบนี้" ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้นอันพระตถาคตมีกิจกระทำแล้ว มีกิริยาสำเร็จแล้ว สำเร็จประโยชน์แล้ว มีกาลเป็นที่สุดอยู่แล้ว ห้ามกิเลสได้แล้ว เป็นพระสัพพัญญูผู้เป็นเอง ตรัสหมายเอาพระองค์เอง.
ขอถวายพระพร ความกระทำความสบายแก่บุคคลเป็นไข้ กระสับกระส่ายอยู่ สำรอกแล้ว รุนแล้ว รมแล้ว เป็นกิริยาอันหมอพึงปรารถนาฉันใด, ความสำรวมในท้อง อันบุคคลยังมีกิเลส ยังไม่เห็นสัจจะ พึงกระทำฉันนั้นเทียวแล. กิจที่จะต้องกระทำด้วยความขัดและครู่สี และชำระให้หมดจด ย่อมไม่มีแก่แก้วมณีอันมีความสว่าง มีชาติบริสุทธิ์โดยชาติยิ่ง ฉันใด, ความห้ามในความกระทำกิริยาทั้งหลาย ย่อมไม่มีแด่พระตถาคตเจ้า ผู้บรรลุบารมีในวิสัยของพระพุทธเจ้าแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. ธัมมวินยปฏิจฉันนปัญหา ๓๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตไว้แล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมและวินัยที่พระตถาคตให้รู้แจ้งทั่วไปแล้ว ถ้าบุคคลเปิดแล้ว คือ บอกกล่าวเล่าเรียนอยู่แล้ว ก็จะไพโรจน์รุ่งเรือง ถ้าปิดบังไว้ มิได้บอกกล่าวมิได้แสดง ก็จะลี้ลับไปไม่รุ่งเรือง' ดังนี้. ครั้นมาภายหลังอีกเล่า ปาฏิโมกขุทเทส พระวินัยปิฎกสิ้นเชิงด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปิดกำบังไว้แล้ว. ถ้าว่าพึงได้ความประกอบหรือความสมควร หรือสมัยในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ชนะแล้ว พระวินัยบัญญัติอันบุคคลเปิดเผยแล้ว พึงงดงาม, ความศึกษา ความสำรวม ความนิยม สีลคุณ และอาจารบัญญัติ อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส มีในวินัยนั้นสิ้นเชิงเพราะเหตุไร เพราะเหตุนั้น วินัยบัญญัติอันบุคคลเปิดเผยแล้ว พึงงดงาม. ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมและวินัยที่พระตถาคตให้รู้แจ้งทั่วไปแล้ว บุคคลเปิดเผยแล้ว ย่อมไพโรจน์แจ่มแจ้งรุ่งเรือง ถ้าบุคคลไม่เปิดเผยแล้ว ก็จะลี้ลับกำบังอยู่ไม่ไพโรจน์รุ่งเรือง' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ปาฏิโมกขุทเทสและวินัยปิฏกทั้งสิ้น พระองค์ทรงปกปิดกำบังไว้' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าปาฏิโมกขุทเทสและวินัยปิฎกสิ้นเชิง พระองค์ปิดกำบังไว้แล้ว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมและวินัยที่พระตถาคตให้รู้แจ้งทั่วไปแล้ว อันบุคคลเปิดเผยแล้ว ย่อมไพโรจน์รุ่งเรือง' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายออกให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมและวินัยที่พระตถาคตให้รู้แจ้งทั่วไปแล้ว ถ้าบุคคลเปิดเผยแล้ว ย่อมไพโรจน์ถ้าบุคคลปกปิดกำบังไว้ ย่อมไม่ไพโรจน์.' และภายหลังพระองค์ทรงปิดกำบัง พระปาฏิโมกขุทเทสและวินัยปิฎกทั้งสิ้นไว้. ก็แหละ ความปิดกำบังนั้น มิได้ทั่วไปแก่ชนทั้งหลายทั้งปวง พระองค์ทรงกระทำให้เป็นเขตแดนปิดไว้แล้ว.
ขอถวายพระพร ปาฏิโมกขุทเทส พระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำให้เป็นเขตแดนปิดไว้แล้ว ด้วยเหตุสามประการ คือ: ทรงปิดไว้แล้วด้วยอำนาจแห่งวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลายที่มีแล้วในกาลก่อน, ทรงปิดไว้แล้ว เพราะความที่ธรรมเป็นของหนัก, ทรงปิดไว้แล้ว เพราะความที่ภูมิของภิกษุเป็นของหนัก. พระปาฏิโมกขุทเทส พระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำให้เป็นเขตแดนปิดไว้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลายที่มีแล้วในกาลก่อนอย่างไร? ปาฏิโมกขุทเทสในท่ามกลางของภิกษุ ปิดแก่ชนทั้งหลายนอกนั้นนี้อันใด การปิดบังพระปาฏิโมกขุทเทสนั้น เป็นวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลายที่มีแล้ว ในกาลก่อนทั้งปวง. เปรียบเหมือนขัตติยมายาของกษัตริย์ทั้งหลาย กษัตริย์จะแสดงได้ก็แต่ในกษัตริย์ทั้งหลายอย่างเดียว, กิริยานี้เป็นประเพณีของโลก ของกษัตริย์ทั้งหลาย ปิดแล้วแก่ชนทั้งหลายอันเหลือนอกนั้น ฉันใด; ปาฏิโมกขุทเทสควรแสดงได้ในท่ามกลางแห่งภิกษุ ปิดไว้แก่ชนทั้งหลายอันเหลือนอกนั้น อันใดนี้ นี้เป็นวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลายที่มีแล้วในกาลก่อนทั้งปวง ฉันนั้นนั่นเทียว.
อีกนัยหนึ่ง หมู่ชนทั้งหลายย่อมเป็นไปในแผ่นดิน, หมู่ชนทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในแผ่นดินอย่างไรนี้ คือ คนปล้ำทั้งหลาย ช่างทอง ช่างทำกระสวย คนกล่าวถ้อยคำเป็นธรรม และชนทั้งหลายที่รู้วิทยาต่าง ๆ ก็กำบังวิทยาซ่อนวิทยาของตนไว้ตามพวกตามเหล่า แสดงได้แต่พวกเดียวกัน ปิดไว้แก่ชนทั้งหลายเหลือนอกนั้น ฉันใด; ปาฏิโมกขุทเทสควรแสดงในท่ามกลางภิกษุ พระองค์ปิดไว้แก่ชนทั้งหลายอันเหลือนั้น ฉันนั้น, นี้เป็นวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลายที่มีแล้วในกาลก่อน. ปาฏิโมกขุทเทส พระองค์กระทำแดนปิดไว้ด้วยอำนาจความเป็นวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลายที่มีแล้วในกาลก่อนอย่างนี้. ปาฏิโมกขุทเทสพระองค์ทรงกระทำให้เป็นแดนปิดไว้ เพราะความที่ธรรมเป็นของหนักอย่างไร? ธรรมเป็นของหนักดังภาระ บุคคลผู้กระทำกิจที่จะพึงกระทำในพระปาฏิโมกขุทเทสนั้นให้บริบูรณ์ ย่อมกระทำพระอรหัตตผลวิมุตติให้บริบูรณ์ ย่อมบรรลุอรหัตตผลวิมุตตินั้น ด้วยความเป็นผู้กระทำกิจที่จะพึงกระทำ ในพระปาฏิโมกขุทเทสนั้นให้บริบูรณ์โดยลำดับ, จะได้บรรลุอรหัตตผลวิมุตตินั้น ด้วยความเป็นผู้ไม่กระทำกิจในปาฏิโมกขุทเทสนั้นให้บริบูรณ์ก็หาไม่, พระปาฏิโมกขุทเทส พระองค์ปิดไว้ด้วยพุทธประสงค์ว่า 'ธรรมเป็นแก่นสาร ธรรมประเสริฐนี้ จงอย่าเป็นของไปแล้วในมือของบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่กระทำกิจในปาฏิโมกขุทเทสนั้นให้บริบูรณ์ อันบุคคลไม่กระทำกิจในปาฏิโมกขุทเทสนั้นให้บริบูรณ์ทั้งหลาย อย่าได้ดูหมิ่นดูแคลนติเตียนเลย, อนึ่ง ธรรมเป็นสาระ ธรรมประเสริฐนี้ จงอย่าไปในคนชั่ว อันคนชั่วอย่าได้ดูหมิ่นดูแคลนติเตียนเลย?' พระปาฏิโมกขุทเทส พระองค์กระทำให้เป็นแดนปิดไว้แล้วเพราะความที่ธรรมเป็นของหนักอย่างนี้. พระปาฏิโมกขุทเทส พระองค์ทรงปิดไว้ด้วยทรงพระดำริว่า 'ธรรมดาว่า จันทน์แดงอันเป็นสาระประเสริฐบวร มีชาติเป็นอติชาติ กระจายเรี่ยรายไปแล้ว อันบุคคลย่อมดูหมิ่นติเตียน ฉันใด, ธรรมเป็นสาระธรรมอันประเสริฐนี้ จงอย่าเป็นของไปแล้วในมือของบุคคลทั้งหลายผู้ไม่กระทำกิจในปาฏิโมกขุทเทสให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่าได้เป็นของอันบุคคลดูหมิ่นดูแคลนติเตียนเลย, อนึ่ง ธรรมเป็นสารธรรมอันประเสริฐนี้ จงอย่าเป็นของไปในทุรชน อันทุรชนอย่าได้ดูหมิ่นดูแคลนนินทาติเตียนเลยฉันนั้น' ดังนี้. พระปาฏิโมกขุทเทส พระองค์ทรงกระทำให้เป็นแดนปิดไว้แล้ว เพราะความที่ธรรมเป็นของหนักอย่างนี้. พระปาฏิโมกขุทเทสพระองค์ทรงกระทำให้เป็นแดนปิดไว้แล้ว เพราะความที่ภูมิของภิกษุเป็นของหนักอย่างไร? ความเป็นภิกษุอันใคร ๆ ชั่งไม่ได้ ไม่มีประมาณหาราคามิได้ อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะตีราคา เพื่อจะชั่ง เพื่อจะกำหนด, พระปาฏิโมกขุทเทส พระองค์ทรงปิดไว้ด้วยพระพุทธประสงค์ว่า 'บุคคลตั้งอยู่แล้วในความเป็นภิกษุ มีคุณอย่างนี้เป็นรูปนี้ จงอย่าเป็นผู้เปรียบเสมอด้วยโลก' ดังนี้, พระปาฏิโมกขุทเทส ย่อมเที่ยวอยู่คือว่า ย่อมควรในระหว่างของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น เปรียบเหมือนผ้าหรือเครื่องลาด หรือช้าง ม้า รถ ทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา และนางแก้ว เป็นต้น ที่เป็นบวรประเสริฐในโลก ของทั้งปวงเหล่านั้นย่อมเข้าถึงพระมหากษัตริย์ คือ ย่อมควรแก่พระมหากษัตริย์ ฉันใด; สิกขาและนิกายเป็นที่มาและปริยัตติ และคุณ คือ ความสำรวมในอาจาระและศีลสังวรทั้งหลายในโลกประมาณเท่าใด คุณทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมเป็นของเข้าถึงภิกษุสงฆ์ ฉันนั้นแท้. พระปาฏิโมกขุทเทสพระองค์ทรงกระทำให้เป็นแดนปิดไว้แล้ว เพราะความที่ภูมิของภิกษุเป็นของหนักอย่างนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๘. มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา ๓๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วแม้ซึ่งพระพุทธพจน์นี้ว่า 'บุคคลเป็นปาราชิกเพราะสัมปชานมุสาวาท ความเป็นผู้รู้ทั่วพร้อมกล่าวเท็จ' ดังนี้. ครั้นมาภายหลังพระองค์ตรัสแล้วว่า 'ภิกษุต้องอาบัติเบา มีวัตถุควรแสดงในสำนักแห่งบุคคลผู้เดียวได้ เพราะสัมปชานมุสาวาท' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เหตุให้แปลกกันในสัมปชานมุสาวาทนั้นเป็นอย่างไร? อะไรเป็นเหตุกระทำให้ต่างกันในสัมปชานมุสาวาทนั้น? บุคคลขาดมูลด้วยสัมปชานมุสาวาทอันหนึ่ง และเป็นสเตกิจโฉพอเยียวยาได้ ด้วยสัมปชานมุสาวาทอันหนึ่ง สองอย่างนี้จะต้องกันอย่างไร? ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'บุคคลเป็นปาราชิก เพราะสัมปชานมุสาวาท' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ภิกษุต้องอาบัติเบา มีวัตถุควรแสดงในสำนักแห่งบุคคลผู้เดียวได้ เพราะสัมปชานมุสาวาท' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ภิกษุต้องอาบัติเบา มีวัตถุควรแสดงในสำนักแห่งบุคคลผู้เดียวได้ เพราะสัมปชานมุสาวาท,' ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'บุคคลเป็นปาราชิกเพราะสัมปชานมุสาวาท,' ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'บุคคลเป็นปาราชิกเพราะสัมปชานมนุสาวาท' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'บุคคลเป็นปาราชิกเพราะสัมปชานมุสาวาท.' และตรัสแล้วว่า 'ภิกษุต้องอาบัติเบา มีวัตถุควรแสดงในสำนักแห่งบุคคลผู้เดียวได้ เพราะสัมปชานมุสาวาท' ดังนี้จริง. ก็แหละ พระพุทธพจน์ทั้งสองนั้น เป็นคำแสดงโทษหนักและเบาตามอำนาจวัตถุบรมบพิตรจะสำคัญเนื้อความนั้นเป็นไฉน: บุรุษในโลกนี้บางคน พึงให้ประหารแก่บุรุษอื่นด้วยฝ่ามือ, บรมบพิตรพึงปรับสินไหมอะไรแก่บุรุษผู้นั้น?"
ร. "ถ้าว่าบุรุษนั้นกล่าวแล้วว่า ข้าพเจ้าไม่ขมาโทษไซร้, ข้าพเจ้าให้ราชบุรุษปรับกหาปณะหนึ่งแก่บุรุษนั้น เพราะมิได้ขมา."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็ในโลกนี้ บุรุษนั้นนั่นเทียว พึงให้ประหารแก่บรมบพิตรด้วยฝ่ามือ, ก็สินไหมอะไร พึงปรับแก่บุรุษนั้น?"
ร. "ข้าพเจ้าพึงให้ราชบุรุษตัดมือของบุรุษผู้ประหารนั้นเสียบ้างให้ตัดเท้าของบุรุษนั้นเสียบ้าง จนถึงให้ตัดศีรษะดังตัดหน่อไม้ ให้ริบเรือนของบุรุษนั้นแม้ทั้งปวงบ้าง ให้เลิกตระกูลสองฝ่ายถึงเจ็ดชั่วตระกูล."
ถ. "ขอถวายพระพร ก็เหตุอะไร เป็นเครื่องให้แปลกกันในพระราชอาชญานั้น ด้วยเหตุไร จึงปรับสินไหมกหาปณะเดียวน้อยนัก เพราะประหารบุรุษผู้หนึ่งด้วยฝ่ามือ ด้วยเหตุไรจึงลงอาชญาตัดมือ ตัดเท้า จนถึงตัดศีรษะ และริบเรือนทั้งปวง จนถึงเลิกถอนตระกูลทั้งสองฝ่าย ถึงเจ็ดชั่วตระกูล เพราะประหารบรมบพิตรด้วยฝ่ามือ ขอถวายพระพร?"
ร. "เพราะเนื่องด้วยวัตถุซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร สัมปชานมุสาวาท เป็นโทษหนักและเบาตามอำนาจวัตถุ ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๙. ยาจโยคปัญหา ๓๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ผู้ควรที่ยาจกจะพึงขอ เป็นผู้ล้างมือเตรียมไว้ทุกเมื่อ เป็นผู้ทรงสรีระกายมีในที่สุด เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ขันธปัญจก คือ พากุลภิกษุนี้ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ก็อาพาธที่เกิดแล้วในพระสรีรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมปรากฏมากครั้ง. ถ้าว่า พระตถาคตไม่มีใครยิ่งกว่า, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ขันธปัญจก คือ พากุลภิกษุนี้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้เป็นผิด. ถ้าว่า พระพากุลเถระเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย บรรดาที่มีอาพาธน้อย, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ผู้ควรที่ยาจกจะพึงขอ เป็นผู้ล้างมือเตรียมไว้ทุกเมื่อ เป็นผู้ทรงสรีรกายมีในที่สุด เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ผู้ควรที่ยาจกจะพึงขอ เป็นผู้ล้างมือเตรียมไว้ทุกเมื่อ เป็นผู้ทรงสรีระกายมีในที่สุด เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'ขันธปัญจก คือ พากุลภิกษุนี้ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ก็แหละ พระพุทธพจน์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอานิกายเป็นที่มา และมรรคที่บุคคลจะพึงเรียนซึ่งมีในภายนอก.
ขอถวายพระพร พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นผู้ประกอบการยืนและจงกรมก็มีอยู่, พระสาวกเหล่านั้น ย่อมยังวันให้น้อมล่วงไป ด้วยการยืนและจงกรม, ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังวันและคืนให้น้อมล่วงไป ด้วยการยืน จงกรม นั่ง บรรทม; ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นใด เป็นผู้ประกอบการยืนและจงกรม ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้เอกยิ่ง ด้วยคุณพิเศษนั้น. พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็นเอกาสนิกะ คือ ฉันหนเดียวก็มีอยู่, พระสาวกเหล่านี้ ไม่ยอมฉันโภชนะเป็นครั้งที่สอง แม้เพราะเห็นแก่ชีวิต, ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเสวยพระกระยาหารครั้งที่สอง เพราะทรงหิว; ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นใด ที่เป็นเอกาสนิกะ ฉันหนเดียว ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้เอกยิ่ง ด้วยคุณพิเศษนั้น. เหตุทั้งหลายเช่นนั้นมากมายอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความข้อนั้นตรัสแล้ว. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีใครยิ่งกว่า โดยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตตญาณทัสสนะ และโดยพระกำลัง และเวสารัชชญาณ และโดยพระพุทธธรรมสิบแปดประการ. ก็แหละพระองค์ทรงหมายเอาพระคุณธรรมนั้น ในพุทธวิสัยทั้งมวลตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า' ดังนี้.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนในหมู่มนุษย์ บุคคลผู้หนึ่งเป็นผู้มีชาติ ผู้หนึ่งเป็นผู้มีทรัพย์ ผู้หนึ่งเป็นผู้มีวิชชา ผู้หนึ่งเป็นผู้มีศิลปะ ผู้หนึ่งเป็นคนกล้าหาญ ผู้หนึ่งเป็นคนฉลาดเฉียบแหลม, ชนเหล่านั้นแม้ทุกชนิด พึงมีในโลก, พระราชานั่นแล ย่อมเป็นผู้สูงสุดกว่าชนทั้งหลายเหล่านั้น โดยแท้ ข้อนี้ฉันใด; พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเป็นยอดเป็นใหญ่เป็นผู้ประเสริฐที่สุดของสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้นนั่นแล. ส่วนท่านผู้มีอายุพากุละนี้ ที่เป็นผู้มีอาพาธน้อยนั้น เนื่องด้วยอภินิหาร คือ บุญกุศลที่ได้ก่อสร้างไว้โดยเฉพาะ. ท่านเป็นผู้มีอาพาธน้อย อันพระผู้มีพระภาคเจ้ายกย่องว่าเป็นผู้เลิศ ก็เพราะช่วยบำบัดพยาธินั้น ๆ เสีย."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."


วรรคที่ห้า
๑. อิทธิยากัมมวิปากปัญหา ๔๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วแม้ซึ่งพระพุทธพจน์ นี้ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขันธบัญจกนี้ใด คือ มหาโมคคัลลานะ ขันธบัญจกนั้นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเราผู้ตถาคต บรรดาที่มีฤทธิ์' ดังนี้. ภายหลังได้ยินว่าพระเถระนั้นอันโจรทั้งหลายทุบแล้ว ด้วยตะบองทั้งหลาย มีศีรษะแตกแล้ว มีกระดูกอันโจรให้ละเอียดแล้ว แล่เนื้อและแถวแห่งเอ็นและเยื่อในกระดูกแล้ว ปรินิพพานแล้ว. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระมหาโมคคัลลานเถระ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์แล้ว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระเถระอันโจรทั้งหลายทุบแล้วด้วยตะบองทั้งหลาย ปรินิพพานแล้ว' นั้นเป็นผิด ถ้าพระเถระอันโจรทั้งหลายทุบแล้วด้วยตะบองทั้งหลาย ปรินิพพานแล้วจริง, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระเถระถึงที่สุดแห่งฤทธิ์แล้ว' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. พระ
โมคัลลานเถระนั้น ไม่อาจแล้วเพื่อจะนำความเข้าไปทำร้านตนออกเสียด้วยฤทธิ์, พระเถระนั้นควรเพื่อจะเป็นที่พึ่งอาศัยของโลก แม้ทั้งเทพดาอย่างไรได้? ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วแม้ซึ่งพระพุทธพจน์ นี้ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขันธบัญจก นี้ใด คือ ภิกษุชื่อมหาโมคคัลลานะ ขันธบัญจกนั้นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเราผู้ตถาคตบรรดาที่มีฤทธิ์' ดังนี้. แต่ท่านผู้มีอายุมหาโมคคัลลานะ อันโจรทั้งหลายทุบแล้วด้วยตะบอง ปรินิพพานแล้ว, ก็แลความปรินิพพาน เพราะโจรตีด้วยตะบองนั้น เพราะกรรมครอบงำถือเอา."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้วิสัยแห่งฤทธิ์ของบุคคลผู้มีฤทธิ์ แม้วิบากแห่งกรรมสองสิ่งนี้เป็นอจินไตยไม่ควรคิดไม่ใช่หรือ? บัณฑิตพึงนำสิ่งที่ไม่ควรคิดออกเสียด้วยสิ่งที่ไม่ควรคิด. อุปมาเหมือนว่าชนทั้งหลายใคร ๆ ใคร่จะบริโภคผลไม้ ย่อมทุบผลมะขวิดด้วยผลมะขวิดย่อมทุบผลมะม่วงด้วยผลมะม่วง ฉันใด, บัณฑิตพึงทุบสิ่งที่ไม่ควรคิดด้วยสิ่งที่ไม่ควรคิดนำออกเสีย ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ถ. "ขอถวายพระพร แม้สิ่งที่ไม่ควรคิดทั้งหลาย สิ่งหนึ่ง มีมาตรายิ่ง มีกำลังกว่า. เหมือนพระมหากษัตริย์ในแผ่นดิน มีชาติอันเสมอกัน, แม้พระมหากษัตริย์มีชาติอันเสมอกันเหล่านั้น พระมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ยังพระราชอาชญาให้เป็นไป ข่มพระมหากษัตริย์ทั้งหลายทั้งปวงเสียได้ ฉันใด, อจินไตยทั้งหลายเหล่านั้น กรรมวิบากอย่างเดียว มีมาตรายิ่ง มีกำลังกว่า, กรรมวิบากอย่างเดียวยังอาชญาให้เป็นไป ข่มอจินไตยทั้งหลายทั้งปวงเสียได้, กิริยาทั้งหลายนอกนั้นย่อมไม่ได้โอกาสแห่งบุคคลอันกรรมครอบงำแล้ว."
ขอถวายพระพร เหมือนบุรุษคนหนึ่งในโลกนี้ ย่อมผิดในประการสิ่งหนึ่งนั่นเทียว, มารดาหรือบิดาก็ดี พี่หญิงพี่ชายก็ดี สขีและสหายก็ดี ย่อมเป็นที่พึ่งต้านทานแก่บุรุษนั้นไม่ได้, พระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ยังพระราชอาชญาให้เป็นไปข่มในความผิดนั้นเสียได้โดยแท้, อะไรเป็นเหตุในความข่มนั้น คือ ความเป็นบุคคลมีความผิดเป็นเหตุ; อจินไตยของไม่ควรคิดทั้งหลายนั้น กรรมวิบากอย่างเดียว มีมาตราหนัก มีกำลังกว่า, กรรมวิบากอย่างเดียว ยังอาชญาให้เป็นไปข่มอจินไตยอื่น ๆ ทั้งปวงเสียได้ ฉันนั้นนั่นเทียว, เมื่อบุคคลอันกรรมครอบงำแล้ว กิริยาอันเหลือนอกนั้น ย่อมไม่ได้โอกาส.
อีกนัยหนึ่ง ครั้นเมื่อไฟป่าตั้งขึ้นพร้อมแล้วในแผ่นดิน น้ำแม้สักพันหม้อ ย่อมไม่อาจเพื่อจะให้ไฟนั้นดับได้, ไฟอย่างเดียวยังอาชญาให้เป็นไปข่มน้ำนั้นเสียได้โดยแท้, อะไรเป็นเหตุในข้อนั้น คือ ความที่ไฟมีกำลังเป็นเหตุ ฉันใด;สิ่งที่เป็นอจินไตยทั้งหลายเหล่านั้น วิบากแห่งกรรมสิ่งเดียวมีมาตราหนัก มีกำลังกว่า, วิบากแห่งกรรมอย่างเดียวยังอาชญาให้เป็นไปข่มอจินไตยทั้งหลายอื่นทั้งปวงเสียได้, เมื่อบุคคลอันกรรมครอบงำแล้ว กิริยาอันเหลือนอกนั้น ย่อมไม่ได้โอกาส ฉันนั้นนั่นเทียวแล. เพราะเหตุนั้น เมื่อท่านผู้มีอายุมหาโมคคัลลานะอันกรรมครอบงำแล้ว อันโจรทุบอยู่ด้วยตะบองทั้งหลาย ความประมวลฤทธิ์มาจึงมิได้มีแล้ว."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ

เจ้าของ:  JANDHRA [ 08 ส.ค. 2012, 23:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

.. onion

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..

เจ้าของ:  รสมน [ 09 ส.ค. 2012, 07:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

๒. โพธิสัตตธัมมตาปัญหา ๔๑

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ไว้ในธรรมปริยายของธรรมดาว่า 'มารดาและบิดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเที่ยงแล้ว อันธรรมดานิยมแล้ว ความตรัสรู้เป็นของอันธรรมดานิยมแล้ว พระอัครสาวกทั้งหลาย อันธรรมดานิยมแล้ว พระอัครสาวกทั้งหลาย อันธรรมดานิยมแล้วพระโอรสอันธรรมดานิยมแล้ว อุปฐากอันธรรมดานิยมแล้วในกาลก่อนเทียว' ดังนี้. ก็พระผู้เป็นเจ้ามากล่าวอีกว่า 'พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในดุสิตพิภพทิพยกาย เลือกมหาวิโลกนะทั้งหลายแปดคือ : เลือกกาลหนึ่ง เลือกทวีปหนึ่ง เลือกประเทศหนึ่ง เลือกตระกูลหนึ่ง เลือกพระชนนีหนึ่ง เลือกอายุหนึ่ง เลือกเดือนหนึ่ง เลือกเนกขัมมะหนึ่ง. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ความตรัสรู้ยังไม่มี, ครั้นเมื่อญาณแก่กล้าแล้ว อันพระโพธิสัตว์ไม่อาจเพื่อจะรอ แม้ตลอดระหว่างพริบตาหนึ่ง, ญาณมีในใจแก่กล้าแล้ว อันใคร ๆ ก้าวเกินไม่ได้; เพราะเหตุไร พระโพธิสัตว์จึงเลือกกาลด้วยความดำริว่า 'เราจะเกิดในกาลไร?' เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ความตรัสรู้ย่อมไม่มี, ครั้นเมื่อญาณแก่กล้าแล้ว อันพระโพธิสัตว์นั้น ไม่อาจเพื่อจะรออยู่ แม้ตลอดระหว่างพริบตาหนึ่ง: เพราะเหตุไร พระโพธิสัตว์จึงเลือกตระกูลด้วยทรงดำริว่า 'เราจะเกิดในตระกูลไร?' พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่ามารดาบริดาทั้งหลายของพระโพธิสัตว์เที่ยงแล้ว อันธรรมดานิยมแล้วในกาลก่อนทีเดียว คือมีเกิดกับสำหรับกัน, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระโพธิสัตว์เลือกตระกูล' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่าพระโพธิสัตว์เลือกตระกูล ถ้าอย่างนั้น คำว่า 'มารดาและบิดาทั้งหลายของพระโพธิสัตว์เที่ยงแล้ว ในกาลก่อนเทียว' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ่มแจ้งเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร มารดาและบิดาทั้งหลายของพระโพธิสัตว์เที่ยงแล้ว อันธรรมดานิยมแล้ว ในกาลก่อนทีเดียว, อนึ่ง พระโพธิสัตว์ย่อมเลือกตระกูลจริง. ก็พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่ากระไรแล้วจึงเลือกตระกูล? พระโพธิสัตว์ดำริว่า 'มารดาบิดาทั้งหลายเหล่าใดนี้ มารดาบิดาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นกษัตริย์หรือ หรือว่าเป็นพราหมณ์ ทรงดำริอย่างนี้แล้วจึงเลือกตระกูล.
ขอถวายพระพร "ของแปดอย่างที่ยังไม่เคยไปเคยมา บุคคลต้องแลดูก่อนทีเดียว, ของแปดอย่างทั้งหลายอย่างไร: พ่อค้าเมื่อจะค้าขายของต้องแลดูภัณฑะที่ตนจะขายนั้นก่อนหนึ่ง, คชสารเมื่อเดินไปถึงทางที่ตนยังไม่เคยมา ต้องเอางวงสอบสวนเสียก่อนหนึ่ง, พ่อค้าเกวียนต้องแลดูท่าเกวียนที่ตนยังไม่เคยไปเคยมาเสียก่อนหนึ่ง, ต้นหนต้องแลดูฝั่งที่ตนยังไม่เคยไปเคยมาเสียก่อน แล้วจึงแล่นเรือไปหนึ่ง, หมอต้องแลดูพิจารณาอายุของคนไข้ แล้วจึงเข้าไปใกล้คนไข้รับเยียวยารักษาหนึ่ง, ตะพานที่จะข้ามอันบุคคลเมื่อจะขึ้นต้องแลดูพิจารณาให้รู้ว่าตะพานนั้นมั่นหรือไม่มั่นเสียก่อนจึงขึ้นข้ามหนึ่ง, ภิกษุเมื่อจะบริโภคโภชนาหารต้องปัจจเวกขณ์พิจารณาอนาคตก่อนแล้วจึงบริโภคโภชนะได้หนึ่ง, พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเมื่อจะหยั่งลงสู่ตระกูลต้องแลดูเลือกตระกูลก่อน ว่าตระกูลนั้นจะเป็นตระกูลกษัตริย์หรือ หรือเป็นตระกูลพราหมณ์หนึ่ง. สิ่งทั้งหลายแปดอย่างนี้ สิ่งที่ยังไม่เคยไปเคยมา บุคคลต้องแลดูพิจารณาก่อนแล."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๓. อตัตนิปาตนปัญหา ๔๒

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ห้ามไว้ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันภิกษุอย่าพึงทำตนให้ตกลง, ถ้าภิกษุรูปใดทำตนให้ตกลง ภิกษุนั้นอันพระวินัยธรพึงให้ทำตามธรรม' ดังนี้. ครั้นมาภายหลัง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายในที่ใดที่หนึ่ง ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความขาดขึ้นพร้อมแห่ง ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โดยปริยายมิใช่อย่างเดียว, ก็สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งก้าวล่วง ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เสียด้วยประการทั้งปวง ทรงสรรเสริญผู้นั้นด้วยความสรรเสริญอย่างยิ่ง ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระพุทธบัญญัติห้ามว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุอย่าพึงกระทำตนให้ตกลง, ถ้าภิกษุรูปใดกระทำตนให้ตกลง ภิกษุรูปนั้นอันพระวินัยธรพึงให้กระทำตามธรรม,' ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมเพื่อความขาดขึ้นพร้อมแห่ง ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ' นั้นผิด. ถ้าว่าพระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อขาดขึ้นพร้อมแห่ง ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ, ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุอย่ากระทำตนให้ตกลง, ถ้าภิกษุรูปใดกระทำตนให้ตกลง ภิกษุรูปนั้นอันพระวินัยธรพึงให้กระทำตามธรรม' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด, ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงภาสิตซึ่งพระพุทธพจน์นี้ห้ามไว้ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุอย่างกระทำตนให้ตกลง, ถ้าภิกษุรูปใดกระทำตนให้ตกลง ภิกษุรูปนั้นอันพระวินัยธรพึงให้กระทำตามธรรม' ดังนี้จริง. และธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงแก่สาวกทั้งหลาย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ทรงแสดงแล้วเพื่อความขาดขึ้นพร้อมแห่ง ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โดยปริยายมิใช่อย่างเดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามแล้วด้วย ทรงชักชวนแล้วด้วย ด้วยเหตุใด เหตุนั้นในการแสดงธรรมนั้นมีอยู่.
ขอถวายพระพร ภิกษุผู้มีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล บริบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้เสมอด้วยยาในการที่จะกระทำพิษ คือ กิเลสของสัตว์ทั้งหลายให้พินาศฉิบหายไป, เป็นผู้เสมอด้วยโอสถ ในการเข้าไประงับพยาธิ คือ กิเลสของสัตว์ทั้งหลาย, เป็นผู้เสมอด้วยน้ำในการล้างละอองธุลี คือ กิเลสของสัตว์ทั้งหลาย, เป็นผู้เสมอด้วยแก้วมณี ในการให้สมบัติทั้งปวงแก่สัตว์ทั้งหลาย, เป็นผู้เสมอด้วยเรือในการไปสู่ฝั่ง คือ นิพพานจากห้วงทั้งสี่ ของสัตว์ทั้งหลาย, เป็นผู้เสมอด้วยหมู่ชนพวกขนสินค้าเป็นไปกับด้วยทรัพย์ ในการที่ได้ข้ามทางกันดาร คือ ชาติของสัตว์ทั้งหลาย, เป็นผู้เสมอด้วยลมในการที่จะยังความร้อนพร้อมด้วยไฟสามกอง คือราคะ โทสะ โมหะ ของสัตว์ทั้งหลายให้ดับ, เป็นผู้เสมอด้วยมหาเมฆ ในการที่จะกระทำใจของสัตว์ทั้งหลายให้บริบูรณ์, เป็นผู้เสมอด้วยอาจารย์ให้ศึกษาสิ่งเป็นกุศลของสัตว์ทั้งหลาย, เป็นผู้เสมอด้วยบุคคลชี้ทางดีในการบอกทางเกษมแก่สัตว์ทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุอย่ากระทำตนให้ตกลง, ถ้าภิกษุรูปใดกระทำตนให้ตกลง ภิกษุรูปนั้นอันพระวินัยธรพึงให้กระทำตามธรรม' ดังนี้ ด้วยความไหวตามแก่สัตว์ทั้งหลายว่า 'ภิกษุผู้มีศีล มีรูปอย่างนี้ มีคุณมาก มีคุณมิใช่อันเดียว มีคุณไม่มีประมาณ เป็นคุณราสีกองคุณ เป็นผู้กระทำความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลายอย่าฉิบหายเสียเลย' ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ด้วยเหตุใด เหตุนี้เป็นเหตุในเทศนานี้.
ขอถวายพระพร แม้คำนี้ พระเถระกุมารกัสสปผู้กล่าวธรรมวิจิตร เมื่อแสดงปรโลกแก่ปายาสิราชัญญะ ภาสิตแล้วว่า 'ราชัญญะ สมณะ และพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน ด้วยประการใด ๆ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสุขแก่ชนมาก เพื่อความไหวตามโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูลและความสุขแก่เทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ, ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนสาวกทั้งหลายด้วยเหตุไร? พระองค์ทรงชักชวนสาวกทั้งหลาย เพราะว่า แม้ชาติความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศกก็เป็นทุกข์ ความร่ำไรรำพันเพ้อด้วยวาจาก็เป็นทุกข์ ความลำบากกายก็เป็นทุกข์ ความลำบากใจก็เป็นทุกข์ ความคับแค้นก็เป็นทุกข์ ความประกอบพร้อมคือประจวบเข้าด้วยสัตว์และสังขารทั้งหลาย ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความประกอบปราศ คือ ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งหลายที่เป็นที่รักเป็นทุกข์ มารดาตายก็เป็นทุกข์ บิดาตายก็เป็นทุกข์ พี่ชายและน้องชายตายก็เป็นทุกข์ พี่หญิงและน้องหญิงตายก็เป็นทุกข์ บุตรตายก็เป็นทุกข์ ภริยาตายก็เป็นทุกข์ ญาติตายก็เป็นทุกข์ ญาติฉิบหายก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่โรคก็เป็นทุกข์ ความฉิบฉายแห่งโภคะก็เป็นทุกข์ ศีลฉิบหายเสียก็เป็นทุกข์ ทิฐิฉิบหายก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่พระมหากษัตริย์ก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่โจรก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่บุคคลมีเวรก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่ข้าวแพงก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่ไฟก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่น้ำก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่คลื่นก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่วังวนก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่จรเข้ก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่ปลายร้ายก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่ติเตียนตนเองก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่บุคคลอื่นเขาติเตียนก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่อาชญาก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่ความครั่นคร้ามแต่บริษัทก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่การเลี้ยงชีพก็เป็นทุกข์ ภัยเกิดแต่มรณะก็เป็นทุกข์ ความตีด้วยหวายก็เป็นทุกข์ ความตีด้วยแส้ก็เป็นทุกข์ ความตีด้วยท่อนไม้กิ่งไม้ก็เป็นทุกข์ ความต้องตัดมือก็เป็นทุกข์ ความต้องตัดเท้าก็เป็นทุกข์ ความต้องตัดมือและเท้าก็เป็นทุกข์ ความตัดหูก็เป็นทุกข์ พิลังคถาลิกะอธิบายว่า เมื่อเขาจะกระทำกรรมกรณ์นั้น เลิกกระบาลศีรษะขึ้น แล้วจึงเอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงวางที่ศีรษะนั่น เยื่อในสมองเดือดขึ้น เพราะเหล็กแดงนั้น กรรมกรณ์ชื่อพิลังคถาลิกะนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อสังขมุณฑิกะ อธิบายว่า เมื่อเขาจะทำกรรมกรณ์นั้นถลกหนังด้วยอันเชือดหมวกแห่งหูทั้งสองข้างและก้านแห่งคอ กระทำผมทั้งหลายทั้งปวงให้เป็นขอดแห่งเดียวกัน พันด้วยท่อนไม้ หนังกับผมเลิกขั้นด้วยกัน แต่นั้นเขาครู่สีกะโหลกศีรษะด้วยกรวดหยาบทั้งหลายล้างกระทำให้มีสีเหมือนสีแห่งสังข์ กรรมกรณ์ชื่อสังขมุณฑิกะนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อราหุมุขะอธิบายว่า เมื่อเขาจะทำกรรมกรณ์นั้น เปิดปากด้วยขอเหล็ก ให้ประทีปโพลงในภายในปาก หรือเอาสิ่วเจาะปากตั้งแต่หมวกแห่งหูทั้งหลาย โลหิตไหลเต็มปาก กรรมกรณ์ชื่อราหุมุขะนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อโชติมาลิกะ อธิบายว่า คนผู้ทำกรรมกรณ์ทั้งหลาย เขาพันสรีระทั้งสิ้นด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟ กรรมกรณ์ชื่อโชติมาลิกะนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อหัตถปัชโชติกะ อธิบายว่า ชนผู้กระทำกรรมกรณ์ทั้งหลายเขาพันมือทั้งหลายด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้ว ตามไฟให้โพลง ราวกะประทีป กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อเอรกวัฏฏิกะ อธิบายว่า เมื่อเขาจะกระทำกรรมกรณ์นั้นเชือดอวัยวะให้เนื่องด้วยหนัง ตั้งแต่ภายใต้คอจนถึงข้อเท้าทั้งหลาย เอาเชือกทั้งหลายผูกโจรนั้นฉุดไป โจรนั้นเหยียบเชือกทั้งหลายที่เนื่องด้วยหนังของตนล้มลง กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อจีรกวาสิกะ อธิบายว่า เมื่อเขาจะทำกรรมกรณ์นั้น เชือดอวัยวะให้เนื่องด้วยหนังอย่างนั้น หยุดอยู่เพียงเอว เชือดตั้งแต่เพียงเอวหยุดอยู่เพียงข้อเท้าทั้งหลาย สรีระภายใต้แต่สรีระเบื้องบนเหมือนนุ่งผ้ากรอง กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อเอเณยยกะ อธิบายว่า เมื่อเขาจะกระทำกรรมกรณ์นั้น วางห่วงเหล็กทั้งหลายที่ข้อศอกและเข่าทั้งสองแล้วตอกเหลาเหล็กทั้งหลายลง โจรนั้นอาศัยตั้งอยู่ที่พื้นโดยเหลาเหล็กทั้งหลายสี่ บุรุษทั้งหลายผู้ทำกรรมกรณ์จุดไฟล้อมรอบโจรนั้น กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อพลิสมังสิกะ อธิบายว่า ผู้ทำกรรมกรณ์ทั้งหลาย ประหารปากด้วยเบ็ดทั้งหลายมีปากสองข้าง ถลกหนังและเนื้อและเอ็นขึ้นเสีย กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อกหาปณกะ อธิบายว่า ผู้ทำกรรมกรณ์ทั้งหลาย ทำสรีระทั้งสิ้นให้ตกไปประมาณเท่ากหาปณะหนึ่ง ๆ ด้วยพร้าทั้งหลายอันคม ตั้งแต่เอว กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อขาราปฏิจฉกะ อธิบายว่า ผู้กระทำกรรมกรณ์ทั้งหลาย ประการสรีระในที่นั้น ๆ ด้วยอาวุธทั้งหลาย และครู่สีน้ำแสบ ด้วยหญ้าทั้งหลาย หนังและเนื้อและเอ็นทั้งหลายล่อนไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกเท่านั้น กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อว่าปลิฆปริวัตติกะอธิบายว่า ผู้กระทำกรรมกรณ์ทั้งหลายนั้น ให้โจรนั้นนอนลงโดยข้าง ๆ หนึ่ง แล้วตอกเหลาเหล็กลงที่ช่องแห่งหู ทำโจรนั้นให้เนื่องเป็นอันเดียวกันด้วยแผ่นดิน ภายหลังจับโจรนั้นที่เท้าชักหมุนไป กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ กรรมกรณ์ชื่อปลาลปีฐกะ อธิบายว่า ผู้กระทำกรรมกรณ์ผู้ฉลาดไม่ลอกผิวหนังแล้ว ทำลายกระดูกทั้งหลายด้วยลูกหินบดทั้งหลาย จับที่ผมทั้งหลายยกขึ้นยังมีแต่กองเนื้อเท่านั้น ภายหลังจึงรึงรัดกองเนื้อนั้นด้วยผมทั้งหลายนั่นเดียว จับพันผูกทำให้เหมือนเกลียวแห่งฟาง กรรมกรณ์เช่นนี้ก็เป็นทุกข์ ความรดด้วยน้ำมันอันร้อนก็เป็นทุกข์ ความให้สุนัขทั้งหลายกัดก็เป็นทุกข์ ความต้องยกขึ้นสู่เหลาทั้งเป็นก็เป็นทุกข์ ต้องตัดศีรษะก็เป็นทุกข์ สัตว์ผู้ไปแล้วในสงสารย่อมเสวยทุกข์ทั้งหลายมากอย่างมิใช่อย่างเดียว เห็นปานฉะนี้ ๆ. น้ำเชี่ยวที่ภูเขาชื่อหิมวันต์ ย่อมท่วมทับหินและกรวดและทรายและแร่และรากไม้กิ่งไม้ทั้งหลายในแม่น้ำชื่อคงคา ฉันใด, สัตว์ไปแล้วในสงสาร ย่อมเสวยทุกข์ทั้งหลายมากอย่างมิใช่อย่างเดียว ฉันนั้นเทียวแล. ขันธปัญจกเป็นไปแล้วเป็นทุกข์, ความไม่มีขันธปัญจกเป็นไปแล้วเป็นสุข, พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงคุณแห่งความไม่มีขันธปัญจกเป็นไปด้วยภัยในขันธปัญจกเป็นไปแล้วด้วย จึงทรงชักชวนสาวกทั้งหลาย เพื่อกระทำให้แจ้งชื่อพระนิพพานเพื่อความก้าวล่วง ชาติ ชรา พยาธิ มรณะเสียด้วยประการทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนสาวกทั้งหลายเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยเหตุใด ทุกข์ต่าง ๆ นี้เป็นเหตุนั้นในการชักชวนนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าคลี่คลายขยายดีแล้ว เหตุพระผู้เป็นเจ้ากล่าวดีแล้ว ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๔. เมตตานิสังสปัญหา ๔๓

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่เป็นเจโตวิมุตติ บรรลุได้ถึงฌาน อันบุคคลเสพยิ่งแล้ว ให้เจริญแล้ว ให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระทำให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งขึ้นเนือง ๆ แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภพร้อมดีแล้ว อานิสงส์ทั้งหลายสิบเอ็ดประการ ให้บุคคลผู้นั้นหวังเถิด คือ ถึงจะไม่ปรารถนาก็พึงมีเป็นแน่อานิสงส์สิบเอ็ดประการเป็นไฉน: บุคคลบรรลุเมตตาเจโตวิมุตตินั้นย่อมหลับเป็นสุขหนึ่ง ย่อมกลับตื่นเป็นสุขหนึ่ง ย่อมไม่เห็นสุบินอันลามกหนึ่ง ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลายหนึ่ง ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลายหนึ่ง เทพดาย่อมรักษาบุคคลผู้เจริญเมตตานั้นไว้หนึ่งเพลิง หรือพิษ หรือศัสตราย่อมไม่ก้าวลง คือ ไม่ตกลงในกายของบุคคลผู้เจริญเมตตานั้นได้หนึ่ง จิตของบุคคลผู้เจริญเมตตานั้น ย่อมตั้งมั่นเร็วหนึ่ง พรรณสีแห่งหน้าของบุคคลผู้เจริญเมตตานั้น ย่อมผ่องใสหนึ่ง บุคคลผู้เจริญเมตตานั้นเมื่อจะกระทำกาลกิริยาตาย ย่อมเป็นคนไม่หลงกระทำกาลกิริยาหนึ่ง เมื่อไม่แทงตลอด คือ ไม่ตรัสรู้ธรรมยิ่งขึ้นไปกว่าฌานที่ประกอบด้วยเมตตานั้น ย่อมจะเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกหนึ่ง' ดังนี้. ภายหลังพระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'สามะกุมารเป็นผู้มีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่ อันหมู่แห่งเนื้อแวดวงเป็นบริวารเที่ยวอยู่ในป่า อันพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า กปิลยักษ์ ยิงแล้วด้วยลูกศรดื่มยาพิษ สลบแล้วล้มลมในที่นั้นนั่นเทียว' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสนถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเป็นเจโตวิมุตติ ฯลฯ บุคคลผู้เจริญเมตตานั้น เมื่อไม่ตรัสรู้ธรรมยิ่งกว่าเมตตาฌานนั้น จะเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก' ดังนี้. ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'สามะกุมารเป็นผู้มีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่ อันหมู่แห่งเนื้อแวดวงเป็นบริวารเที่ยวอยู่ในป่า อันพระเจ้ากปิลยักษ์ยิงแล้วด้วยลูกศรดื่มยาพิษสลบแล้วล้มลงในที่นั้นนั่นเทียว' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่า สามะกุมารมีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่ อันหมู่แห่งเนื้อแวดวงเป็นบริวารเที่ยวอยู่ในป่า อันพระเจ้ากปิลยักษ์ยิงแล้วด้วยลูกศรดื่มยาพิษ สลบล้มลงแล้วในที่นั้นนั่นเทียว, ถ้าอย่างนั้นคำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่เป็นเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพยิ่งแล้ว ฯลฯ อานิสงส์ทั้งหลายสิบเอ็ดประการ อันบุคคลพึงหวังเถิด, อานิสงส์สิบเอ็ดประการเป็นไฉน: บุคลผู้เจริญเมตตาแล้ว ย่อมหลับเป็นสุขหนึ่ง ย่อมกลับตื่นเป็นสุขหนึ่ง ย่อมไม่เห็นสุบินอันลามกหนึ่ง ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลายหนึ่ง ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลายหนึ่ง เทพดาย่อมรักษาบุคคลผู้เจริญ เมตตานั้นไว้หนึ่ง เพลิง หรือพิษ หรือศัสตราย่อมไม่ก้าวลง คือ ไม่ตกลงในกายของบุคคลผู้เจริญเมตตานั้นได้หนึ่ง' ฯลฯ ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน ละเอียด สุขุม ลึกซึ้ง จะพึงปล่อยเหงื่อในตัวของมนุษย์ทั้งหลายผู้ฉลาดดีให้ออกบ้าง, ปัญหานั้นมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงสางปัญหานั้น อันยุ่งเหยิงด้วยชัฏใหญ่ จงให้จักษุเพื่อจะขยายแก่ชินโอรสทั้งหลาย."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่เป็นเจโตวิมุตติอันบุคคลเสพยิ่งแล้ว ให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ฯลฯ ปรารภพร้อมดีแล้ว อานิสงส์ทั้งหลายสิบเอ็ดประการ อันบุคคลนั้นหวังเถิด คือ ถึงไม่ปรารถนาก็จะพึงมีเป็นแน่, อานิสงส์สิบเอ็ดประการนั้นเป็นไฉน: บุคคลเจริญเมตตาแล้ว ย่อมหลับเป็นสุขหนึ่ง ย่อมกลับตื่นเป็นสุขหนึ่ง ย่อมไม่เห็นสุบินอันลามกหนึ่ง ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลายหนึ่ง ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลายหนึ่ง เทพดาย่อมรักษาบุคคลผู้เจริญเมตตานั้นไว้หนึ่ง เพลิง หรือพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่ก้าวลง คือ ไม่ตกในกายของบุคคลผู้เจริญเมตตานั้นได้หนึ่ง' ดังนี้. อนึ่ง สามะกุมารเป็นผู้มีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่ อันหมู่แห่งเนื้อแวดวงเป็นบริวารเที่ยวอยู่ในป่า อันพระเจ้า
กปิลยักษ์ ยิงแล้วด้วยลูกศรดื่มยาพิษ สลบแล้วล้มลงแล้วในที่นั้นนั่นเทียว. ก็เหตุในข้อนั้นมีอยู่, เหตุในข้อนั้นอย่างไร? เหตุในข้อนั้น คือ คุณทั้งหลายนั้น ไม่ใช่คุณของบุคคล คุณทั้งหลายนั้นเป็นคุณของเมตตาภาวนา ความให้เมตตาเจริญ. สามะกุมารแบกหม้อน้ำไปในขณะนั้น เป็นผู้ประมาทแล้วในเมตตาภาวนา. บุคคลเป็นผู้เข้าถึงพร้อมเมตตาแล้วในขณะใด เพลิง หรือพิษ หรือศัสตราย่อมไม่ก้าวลง คือ ไม่ตกลงในกายของบุคคลนั้นได้ ในขณะนั้น. บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้ใคร่ความฉิบหาย ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลผู้เจริญเมตตานั้น ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้เจริญเมตตานั้น ย่อมไม่ได้โอกาสในบุคคลผู้เจริญเมตตานั้น. คุณทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ใช่คุณของบุคคลทั้งหลายนั้น เป็นคุณของเมตตาภาวนา.
ขอถวายพระพร ในโลกนี้ บุรุษเป็นผู้กล้าต่อสงคราม สอดสวมเกราะและร่างข่ายอันข้าศึกทำลายไม่ได้ แล้วลงสู่สงคราม, ลูกศรทั้งหลายอันข้าศึกยิงไปแล้วแก่บุรุษนั้น ครั้นเข้าไปใกล้แล้วตกเรี่ยรายไป, ย่อมไม่ได้โอกาสในบุรุษนั้น; คุณนั้นไม่ใช่คุณของบุรุษผู้กล้าต่อสงคราม คุณนั้นเป็นคุณของเกราะและร่างข่าย อันลูกศรพึงทำลายไม่ได้ ฉันใด; คุณทั้งหลายนั้น ไม่ใช่คุณของบุคคล คุณทั้งหลายนั้นเป็นคุณของเมตตาภาวนา; บุคคลเป็นผู้ถึงพร้อมเมตตาภาวนาแล้ว ในขณะใด ไฟหรือยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่ก้าวลง คือ ไม่ตกต้องในกายของบุคคลนั้น ในขณะนั้น, บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งใคร่ความฉิบหายไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลนั้น ครั้นเข้าไปใกล้แล้วไม่เห็นบุคคลนั้น ไม่ได้โอกาสในบุคคลนั้น; คุณทั้งหลายนั้น ไม่ใช่คุณของบุคคล คุณทั้งหลายนั้น เป็นคุณของเมตตาภาวนา ฉันนั้นแท้แล.
อีกประการหนึ่ง ในโลกนี้บุรุษพึงทำรากไม้เครื่องหายตัวดังทิพย์ไว้ในมือ, รากไม้นั้นเป็นของตั้งอยู่ในมือของบุรุษนั้นเพียงใด มนุษย์โดยปกติใคร ๆ คนอื่น ย่อมไม่เห็นบุรุษนั้นเพียงนั้น, ขณะที่ไม่เห็นนั้น ไม่ใช่คุณของบุรุษ เป็นคุณของรากไม้เครื่องหายตัว, บุรุษที่มีรากไม้ในมือนั้น ย่อมไม่ปรากฏในคลองแห่งจักษุของมนุษย์โดยปกติทั้งหลาย ด้วยรากไม้ไรเล่า ฉันใด; คุณทั้งหลายนั้น ไม่ใช่คุณของบุคคลคุณทั้งหลายนั้น เป็นคุณของเมตตาภาวนา ความให้เมตตาเจริญ; บุคคลเป็นผู้เข้าถึงพร้อมเมตตาฌานในขณะใด เพลิง หรือยาพิษ หรือศัสตราวุธ ย่อมไม่ตกลงด้วยกายของบุคคลนั้นได้ในขณะนั้น, บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายแก่บุคคลนั้น เข้าไปใกล้แล้ว ย่อมไม่เห็นบุคคลนั้น ย่อมไม่ได้โอกาสในบุคคลนั้น; คุณทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ใช่คุณของบุคคล คุณทั้งหลายเหล่านั้น เป็นคุณของเมตตาภาวนา ฉันนั้นนั่นเทียวแล ขอถวายพระพร.
อีกนัยหนึ่ง มหาเมฆใหญ่ยังฝนให้ตกพรำ ย่อมไม่อาจเพื่อจะยังบุรุษผู้เข้าไปสู่ที่เป็นที่เร้นใหญ่ อันบุคคลกระทำดีแล้ว ให้ชุ่มได้, ความไม่ชุ่มนั้น ไม่ใช่คุณของบุรุษ, มหาเมฆใหญ่กระทำฝนให้ตกพรำกระทำบุรุษนั้นให้ชุ่มไม่ได้ ด้วยที่เป็นที่เร้นใหญ่ใด ความไม่ชุ่มนั้นเป็นคุณของที่เป็นที่เร้นใหญ่นั้น ฉันใด; คุณทั้งหลายนั้น ไม่ใช่คุณของบุคคล คุณทั้งหลายนั้น เป็นคุณของเมตตาภาวนา, บุคคลเป็นผู้เข้าถึงพร้อมเมตตาฌาน ในขณะใด เพลิงหรือยาพิษ หรือศัสตราวุธย่อมไม่ตกต้องกายของบุคคลนั้นได้ ในขณะนั้น, บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ใคร่ความฉิบหายแก่บุคคลนั้น ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว ย่อมไม่เห็นบุคคลนั้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะกระทำสิ่งที่ไม่เกื้อกูลแก่บุคคลนั้น. คุณทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่คุณของบุคคล คุณทั้งหลายเหล่านี้ เป็นคุณของเมตตาภาวนา ความให้เมตตาเจริญ ฉันนั้นนั่นเทียวแล."
ร. "น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน น่าพิศวง พระผู้เป็นเจ้านาคเสน, เมตตาภาวนาเป็นเครื่องห้ามบาปทั้งปวงเสียได้."
ถ. "ขอถวายพระพร เมตตาภาวนานำกุศลและคุณทั้งปวงมาแก่บุคคลทั้งหลายผู้เกื้อกูลบ้าง แก่บุคคลทั้งหลายผู้ไม่เกื้อกูลบ้าง. สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดนั้น ที่เนื่องด้วยวิญญาณ เมตตาภาวนามีอานิสงส์ใหญ่แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง จึงควรจะส้องเสพไว้ในใจ สิ้นกาลเป็นนิรันดรแล."

๕. กุสลากุสลสมสมปัญหา ๔๔

พระราชาตรัสถามว่า "วิบากของบุคคลกระทำกุศลบ้าง ของบุคคลกระทำอกุศลบ้าง เสมอ ๆ กัน หรือว่าบางสิ่งเป็นของแปลกกัน".
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร วิบากของกุศลก็ดี ของอกุศลก็ดี มีแปลกกัน, กุศลมีวิบากเป็นสุข ยังความเกิดในสวรรค์ให้เป็นไปพร้อม อกุศลมีวิบากเป็นทุกข์ ยังความเกิดในนรกให้เป็นไปพร้อม."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า 'พระเทวทัตดำโดยส่วนเดียว มาตามพร้อมแล้วด้วยธรรมทั้งหลายดำโดยส่วนเดียว, พระโพธิสัตว์ขาวโดยส่วนเดียว มาตามพร้อมแล้วด้วยธรรมทั้งหลายขาวโดยส่วนเดียว, ก็พระเทวทัตเสมอกันด้วยพระโพธิสัตว์ โดยยศด้วย โดยฝักฝ่ายด้วย ในภพ ๆ บางทีก็เป็นผู้ยิ่งกว่าบ้าง. ในกาลใด พระเทวทัตเป็นบุตรของปุโรหิต ของพระเจ้าพรหมทัตในเมืองพาราณสี, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นคนจัณฑาล ทรงวิทยา ร่ายวิทยายังผลมะม่วงให้เกิดขึ้นแล้วในสมัยมิใช่กาล; พระโพธิสัตว์เลวกว่าพระเทวทัต โดยชาติและยศก่อนในภพนี้.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: พระเทวทัตเป็นพระราชาเจ้าแห่งปฐพีใหญ่ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกามทั้งหลาย ในกาลใด, ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นคชสาร เครื่องอุปโภคของพระมหากษัตริย์นั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวง เมื่อไม่อดทนความเยื้องกรายโดยคติของพระเทวทัตนั้น พระราชาปรารถนาจะฆ่า ได้ตรัสแล้วกะนายหัตถาจารย์อย่างนี้ว่า 'ดูก่อนอาจารย์ คชสารของท่านไม่ชำนาญ ท่านจงกระทำเหตุชื่ออากาสคมนะแก่คชสารนั้น;' แม้ในชาตินั้น พระโพธิสัตว์ยังเลวกว่าพระเทวทัต โดยชาติเป็นดิรัจฉานเลวก่อน.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: พระเทวทัตเป็นมนุษย์เที่ยวไปในป่าในกาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นวานรชื่อมหากะบี่; แม้ในภพนี้ ยังมีวิเศษแห่งมนุษย์และดิรัจฉานปรากฏอยู่, พระโพธิสัตว์เลวกว่าพระเทวทัตโดยชาติ.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: พระเทวทัตเป็นมนุษย์ เป็นเนสาทชื่อโสณุตตระ มีกำลังกว่า มีกำลังเท่าช้าง ณ กาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพญาช้างชื่อฉัททันต์, พรานนั้นฆ่าคชสารนั้น; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตยังเป็นผู้ยิ่งกว่า.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ เป็นพรานเที่ยวไปในป่าไม่อยู่เป็นตำแหน่ง ณ กาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นนกกระทาผู้เพ่งซึ่งมนต์, พรานเที่ยวไปในไพรนั้น ฆ่านกกระทานั้นเสีย ในกาลแม้นั้น; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตดีกว่าโดยชาติบ้าง.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพระเจ้ากรุงกาสี ทรงพระนามว่า กลาปุ ในกาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เนดาบสชื่อขันติวาที, พระมหากษัตริย์นั้นกริ้วแล้วแก่ดาบสนั้น ยังราชบุรุษให้ตัดมือและเท้าทั้งหลายของดาบสนั้นเสียดังหล่อแห่งไม้ไผ่; แม้ในชาตินั้น พระเทวทัตผู้เดียวยังภูมิยิ่งกว่า โดยชาติด้วย โดยยศด้วย.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์เที่ยวไปในป่า ณ กาลใด, ในกาลนั้น พระโพติสัตว์เป็นวานรใหญ่ชื่อ นันทิยะ, แม้ในกาลนั้น พรานเที่ยวไปในป่านั้น ฆ่าวานรินทร์นั้นเสีย กบทั้งมารดาและน้องชาย; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าโดยชาติ.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ เป็นอเจลก ชื่อ การัมพิยะในกาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นนาคราชาชื่อปัณฑรกะ; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าโดยชาติ.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ชฏิลกะในป่าใหญ่ ณ กาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นสุกรใหญ่ชื่อตัจฉกะ; แม้ในภพนั้นพระเทวทัตผู้เดียวยิ่งกว่าโดยชาติ.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตได้เป็นพระราชาชื่อสุรปริจโร ในชนบทชื่อเจดีย์ทั้งหลาย เป็นผู้ไปในอากาศได้ประมาณชั่วบุรุษหนึ่งในเบื้องบน ในกาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อกปิละ; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตทีเดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าทั้งชาติทั้งยศ.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ชื่อสามะ ในกาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพญาเนื้อชื่อรุรุ; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตทีเดียวยิ่งกว่าโดยชาติ.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ เป็นพรานเที่ยวไปในป่าในกาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นช้างใหญ่ พรานนั้นตัดงาทั้งหลายของช้างใหญ่นั้นเสียเจ็ดครั้ง นำไป; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตทีเดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าโดยกำเนิด.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นสิคาลขัตติยธรรม, ประเทศราชทั้งหลายในชมพูทวีปโดยที่มีประมาณเท่าใด พระยาสิคาละนั้น ได้กระทำแล้วซึ่งพระราชาทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง ให้เป็นผู้อันตนใช้สอยเนือง ๆ แล้ว ณ กาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นบัณฑิตชื่อ วิธูระ; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตทีเดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าโดยยศ
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นช้าง ฆ่าเสียซึ่งลูกนกทั้งหลายแห่งแม่นกชื่อ ละตุกิกา (นกไสร้) ในกาลใด, ในกาลนั้น แม้พระโพธิสัตว์ได้เป็นช้าง เป็นเจ้าแห่งฝูง; แม้ในภพนั้น ชนทั้งสองเหล่านั้นได้เป็นผู้เสมอ ๆ กัน.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นยักษ์ชื่ออธรรม ในกาลใด, ในกาลนั้น แม้พระโพธิสัตว์เป็นยักษ์ชื่อสุธรรม; แม้ในภพนั้น ชนทั้งสองนั้นเสมอกัน.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นนายเรือ เป็นใหญ่กว่าตระกูลห้าร้อย ในกาลใด, ในกาลนั้น แม้พระโพธิสัตว์เป็นนายเรือ เป็นใหญ่กว่าตระกูลห้าร้อย; แม้ในภพนั้น ชนแม้ทั้งสองเป็นผู้เสมอ ๆ กันบ้าง.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพ่อค้าเกวียน เป็นใหญ่แห่งเกวียนทั้งหลายห้าร้อย ในกาลใด, ในกาลนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็เป็นพ่อค้าเกวียน เป็นใหญ่แห่งเกวียนห้าร้อย; แม้ในภพนั้น ชนทั้งสองเป็นผู้เสมอ ๆ กัน.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพญาเนื้อชื่อ สาขะ ณ กาลใด, ในกาลนั้น แม้พระโพธิสัตว์เป็นพญาเนื้อชื่อนิโครธ; แม้ในภพนั้น ชนทั้งสองนั้น เป็นผู้เสมอ ๆ กัน.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นเสนาบดีชื่อ สาขะ ณ กาลใด; พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาชื่อนิโครธ ในกาลนั้น; แม้ในภพนั้น ชนแม้ทั้งสองเหล่านั้นเป็นผู้เสมอ ๆ กัน.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพราหมณ์ชื่อกัณฑหาละ ณ กาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นราชกุมารทรงพระนามว่าจันทะ; พราหมณ์ชื่อ กัณฑหาละนี้นั่นเทียว เป็นผู้ยิ่งกว่าในภพนั้น.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพระราชาชื่อพรหมทัต ณ กาลใด, ณ กาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นบุตรของพระเทวทัตนั้น เป็นราชกุมารชื่อมหาปทุมะ พระราชานั้น ให้ราชบุรุษทิ้งซึ่งบุตรของตนในเหว ณ กาลนั้น; บิดาแหละเป็นผู้ยิ่งกว่า เป็นผู้วิเศษกว่าโดยชาติใดชาติหนึ่ง; แม้ในชาตินั้น พระเทวทัตทีเดียวเป็นผู้ยิ่งกว่า.
อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นพระราชาชื่อมหาปตาปะ ในกาลใด, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกุมารชื่อธรรมปาละ เป็นบุตรของพระราชาชื่อมหาปตาปะนั้น พระราชานั้น ให้ราชบุรุษตัดมือและเท้าทั้งหลายและศีรษะของบุตรของตนเสีย ในกาลนั้น; แม้ในภพนั้น พระเทวทัตทีเดียวเป็นผู้ยิ่งกว่า.
แม้ชนทั้งสองเกิดในศากยตระกูล แม้ในกาลนี้ในวันนี้, พระโพธิสัตว์จะได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโลกนายก, พระเทวทัตจะได้บวชแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพดาล่วงเทพดานั้น กระทำฤทธิ์ให้เกิดแล้ว ได้กระทำแล้ว ซึ่งอาลัยของพระพุทธเจ้า. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว คำนั้นทั้งปวง จะถูกหรือ ๆ จะผิด"
ถ. "ขอถวายพระพร บรมบพิตรตรัสเหตุมีอย่างมากใดนั้น เหตุนั้นทั้งปวงถูก ไม่ผิด."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่ากรรมดำบ้าง กรรมขาวบ้าง มีคติเสมอกัน, ถ้าอย่างนั้น กุศลบ้าง อกุศลบ้าง มีวิบากเสมอกัน."
ถ. "ขอถวายพระพร กุศลบ้าง อกุศลบ้าง จะมีวิบากเสมอกันหามิได้, กุศลบ้าง อกุศลบ้าง ซึ่งจะมีวิบากเสมอกัน หามิได้, พระเทวทัตผิดแล้วกว่าชนทั้งปวง, พระโพธิสัตว์ไม่ผิดแล้วกว่าชนทั้งปวงทีเดียว, ความผิดในพระโพธิสัตว์ของพระเทวทัตนั้น อันใด ความผิดนั้น ย่อมสุก ย่อมให้ผลในภพนั้น ๆ. แม้พระเทวทัตนั้น ตั้งอยู่ในความอิสระแล้ว ให้ความรักษาทั่วในชนบททั้งหลาย, ให้คนทำสะพานโรงสภาบุญศาลา, ให้ทานเพื่อสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย เพื่อคนกำพร้า คนเดินทางไกล คนวณิพกทั้งหลาย และคนนาถะอนาถะ ทั้งหลายตามความปรารถนา; พระเทวทัตนั้น ได้สมบัติทั้งหลายในภพด้วยวิบากของกรรมเป็นกุศล คือ สร้างสะพานและโรงสภา และศาลาเป็นที่บำเพ็ญบุญ และการบริจาคทั้งหลายนั้น. ใคร ๆ จะอาจเพื่อจะกล่าวคำนี้ว่า 'บุคคลเสวยสมบัตินอกจากทานและการทรมานอินทรีย์และความสำรวมกายวาจาใจ และอุโบสถกรรม' ก็บรมบพิตรตรัสคำใด อย่างนี้ว่า 'พระเทวทัตด้วย พระโพธิสัตว์ด้วย เวียนตามกันฝ่ายเดียว,' สมาคมนั้นไม่ได้มีแล้ว โดยกาลล่วงไปร้อยชาติ สมาคมนั้น ไม่ได้มีแล้ว โดยกาลล่วงไปพันชาติ สมาคมนั้น ไม่ได้มีแล้ว โดยกาลล่วงไปแสนชาติ, ณ กาลบางทีบางคราว สมาคมนั้น ได้มีแล้วโดยวันคืนล่วงไปมากมาย. อุปมาด้วยเต่าตาบอด อันพระผู้มีพระภาคเจ้านำมาแสดงแล้วเพื่อความกลับได้ความเป็นมนุษย์, บรมบพิตร จงทรงจำสมาคมของชนทั้งหลายเหล่านี้ อันเปรียบด้วยเต่าตาบอด. จะได้มีสมาคมกับพระเทวทัตฝ่ายเดียว แก่พระโพธิสัตว์ หามิได้, แม้พระเถระชื่อ สารีบุตร ได้เป็นบิดาของพระโพธิสัตว์ ได้เป็นมหาบิดา ได้เป็นจุฬบิดา ได้เป็นพี่น้องชาย ได้เป็นบุตร ได้เป็นหลาน ได้เป็นมิตร ของพระโพธิสัตว์ ในแสนแห่งชาติมิใช่แสนเดียว, แม้พระโพธิสัตว์ ได้เป็นบิดาของพระสารีบุตร เป็นมหาบิดา เป็นจูฬบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นบุตร เป็นหลาน เป็นมิตรของพระสารีบุตร ในแสนแห่งชาติมิใช่แสนเดียว. สัตว์ทั้งหลายที่นับเนื่องแล้วในหมู่สัตว์แม้ทั้งปวง ไปตามกระแสแห่งสงสารแล้ว อันกระแสแห่งสงสารพัดไปมาอยู่ ย่อมสมาคมด้วยสัตว์และสังขารทั้งหลายไม่เป็นที่รักบ้าง เป็นที่รักบ้าง. เปรียบเหมือนน้ำกระแสพัดไปอยู่ ย่อมสมาคมด้วยสิ่งสะอาดและไม่สะอาด และสิ่งที่งามและสิ่งที่ลามก ฉันใด; สัตว์ทั้งหลายที่นับเนื่องในหมู่ของสัตว์แม้ทั้งปวง ไปตามกระแสแห่งสงสาร กระแสแห่งสงสารพัดไปอยู่ ย่อมสมาคมด้วยสัตว์และสังขารทั้งหลายเป็นที่รักบ้าง ไม่เป็นที่รักบ้างฉันนั้นนั่นเทียวแล.
ขอถวายพระพร พระเทวทัตเป็นยักษ์ ตั้งอยู่ในอธรรมด้วยตน ยังมนุษย์บุคคลทั้งหลายอื่นให้ประกอบแล้วในอธรรม ไหม้อยู่ในนรกใหญ่สิ้นปีทั้งหลายห้าสิบเจ็ดโกฏิกับหกล้านปี. แม้พระโพธิสัตว์เป็นยักษ์ ตั้งอยู่ในธรรมด้วยพระองค์ ชักนำบุคคลทั้งหลายอื่นให้ประกอบในธรรม เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกามสมบัติทั้งปวง บันเทิงแล้วในสวรรค์สิ้นปีห้าสิบเจ็ดโกฏิกับหกล้านปี. เออก็ พระเทวทัตมากระทำพระพุทธเจ้า ผู้ไม่ควรบุคคลจะให้ซูบซีด ให้ซูบซีดแล้ว ทำลายพระสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้วด้วย ในภพนี้ เข้าไปสู่แผ่นดินแล้ว, พระตถาคตตรัสรู้สรรพธรรม เป็นที่สิ้นอุปธิพร้อมแล้ว ดับขันธปรินิพพานแล้ว."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ



กฐิน สร้างหอบูรพาจารย์พระครูรัตนคุณาธาร จ.สุรินทร์
โทร 083-3871234


ขอเชิญร่วมบุญ ในโครงการ สร้างทางสร้างธรรม

ร่วมสร้างทางบริเวณหน้าพระประธานพุทธมณฑล ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 สิงหาคม 2555


ขอเชิญทำบุญหล่อพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์๑ หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว
เนื้อผสมรมมันปูขัดยา (วรรณะสีมะขามเปียก)
เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดข่วงเป่าใต้ ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
โดยทำพิธีหล่อ ณ มูลนิธิร่วมกตัญญู สำนักงานบางพลี
วันเสาร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕



สร้างเสนาสนะที่พักสงฆ์ให้กับหมู่บ้านชนบท
084-418-1428


ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างพระวิหารวัดโบสถ์ฆ้องคำจังหวัดลำปาง
089-7565767


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพพระพุทธบรมมงคลธาตุจักราชเจดีย์
02-8401718

ขอเชิญร่วมทำบุญ กฐินสามัคคีผ้าป่าสามัคคี วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี ปี2555
ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555
วัถุประสงค์ เพื่อนำปัจจัยสร้าง พระพุทธกตัญญูปางถวายเนตร สูง 19เมตร และพุทธอุทยานสถานปฎิบัติธรรม "วิมลธรรมวัตร"


บอกบุญสร้างโรงทานและมหาสังฆทาน
084-8317696


ขอเชิญร่วมงานเททองหล่อ หลวงพ่อโสธร วัดวังรีคีรีวันวนาราม อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี 2 ก.ย.55

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง/ซ้อมแซมปรับปรุงหลังคาศาลาปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร
ณ สำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร ที่พักสงฆ์ธรรมจักร บ้านน้ำพุ หมูที่ 3
ต.บ้านกวาง อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130



เชิญร่วมสร้างแบบพิมพ์พระชำระหนี้สงฆ์ขนาด 4 ศอก
โทร. 089-419-3030


ร่วมสร้างพระมหาเจดีย์ศรีแสงธรรมวิสุทธิมงคล ณ วัดแสงธรรมวังเขาเขียว
________________________________________

ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างอุโบสถวัดสว่างอารมณ์(วัดคลองแขก) อ.บางเลน จ.นครปฐม
085-195-9625


มหากุศล ขอเชิญร่วมส่งแผ่นทองแท้และเพชรประดับปิดทองพระประธาน ณ วัดตาลสุวรรณ
โทร : ๐๘๔ ๘๑๗ ๕๒๔๘

<O </O


มหากุศล ขอเชิญร่วมสร้างวิหารกลางน้ำประดิษฐานพระอุปคุต วัดบึงกระดานต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก

บุญที่หาทำยาก..บูรณะพระบรมธาตุโบราณและเศียรพระโบราณวัดผาลาด(สกิทาคามี)จ.เชียงใหม่
โทร. 081-671-9763


ขอเรียนเชิญร่วมทำบุญสร้างสะพาน ณ.สำนักสงฆ์พุทธบารมีโลกอุดร บ้านในสอย
089-9557371


ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาเจตนาสร้างบุษบกถวายทานประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
โทร. 0823585609


ขอเชิญร่วมปิดยอดบุญติดตั้งพัดลม อีก ๘ ตัว ๆ ละ ๑,๕๐๐ บาท โรงครัวถวายวัด
๐๘-๕๐๓๗-๐๓๗๐

ขอเชิญร่วมสร้างผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สามารถร่วมบุญได้ที่

ธนาคารกสิกรไทย
เลขที่บัญชี 557-2-04148-6
ชื่อบัญชี NIPITPON NANTHAWONG
ชื่อย่อบัญชี นิพิฐพนธ์ นันทะวงศ์


ร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววัดท่าม่วง
๐๘-๖๓๒๑-๕๕๔๘


ร่วมสร้างวัด วิหาร สิ่งก่อสร้างอื่นๆที่สำนักสงฆ์คลองแอนด์สามสี่ธรรมมิการาม
087 - 972 – 9975

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญสร้างศาลาการเปรียญ(วิหารทาน)
083-9541395


ร่วมเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารวัดป่าเมตตาปัญญาพุทธคุณ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
082-4964261


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง/ซ้อมแซมปรับปรุงหลังคาศาลาปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร
ณ สำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร ที่พักสงฆ์ธรรมจักร บ้านน้ำพุ หมูที่ 3
ต.บ้านกวาง อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130


ขอเชิญร่วมสร้างมหาวิหาร ครอบพระแก้วมรกตจำลององค์ใหญ่ที่สุดในโลก
089-8195454


เนื่องด้วยวัดมงคลโคธาวาส มีวัตถุประสงค์จะบูรณะอุโบสถ จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธา
http://www.luangporpan.com/


1 ก.ย. เชิญร่วมหล่อสมเด็จองค์ปฐมทองคำ หลวงพ่อฤาษีฯทองคำ (พร้อมจัดรถบัสเดินทางร่วมบุญ)
081-190-1125


..บุญใหญ่ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายกระเบื้องมุงหลังคาอุโบสถ แผ่นละ ๑๘ บาท
โทร ๐๘๓-๑๑๔๓๖๘๑


เรียนเชิญทอดผ้าป่ามหาบารมี
089 5300 981


ขอเชิญเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีวัดอนเก้า
วัดดอนเก้า ที่อยู่ 112 หมู่ 2
ต.บ่อกรุ อ.เดิมบางนางบวช
จ.สุพรรณบุรี 72120



ขอเชิญร่วมอนุโมทนาบุญเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีวัดประโชติการาม
089 5136491


เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างบริวารกฐินสามัคคี
08-3353-7455<O


ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมทำบุญถวายผ้ากฐิน ๙วัด ปี ๒๕๕๕
081-8052466


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ณ วัดป่าโพธิ์ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
โทร. 085-068-5641

ขอเรียนเชิญร่วมทำบุญสร้างสะพาน ณ.สำนักสงฆ์พุทธบารมีโลกอุดร บ้านในสอย
089-9557371


ร่วมตั้งกองกฐิน ปี 55 แจกรูปหล่อ แม่ธรณีโลกนิยมหลวงปู่หงษ์ ชุดละ 30 องค์
08-80851-817

ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างถนนคอนกรีตเข้าวัดป่ารวมใจ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
________________________________________
086-873-7364

ขอเชิญพี่ๆ น้องๆ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพโรงทานน้ำดื่มมหากุศล
081-487-1823


กฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2555 สามารถร่วมบุญได้ดังนี้

กฐินพระราชทาน กระทรวงศึกษาธิการ
ณ วัดสามพระยาวรวิหาร แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 15.00 น.
ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทาน กระทรวงศึกษาธิการ”
เลขที่บัญชี : 059-1-31886-5


กฐินพระราชทาน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ณ วัดศรีสระแก้ว ตำบลมะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง
ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทาน”
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ : 091-0-24556-8


กฐินพระราชทาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ณ วัดหนองแวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ในวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 น.
ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2555”
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ : 059-0-20461-0


กฐินพระราชทาน สำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
(สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา)
ณ พระอารามหลวงวัดเทวสังฆาราม ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ในวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 น.
ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อบัญชี “เงินบริจาคสมทบกฐิน สำนักงาน สกสค.”
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ : 059-0-17626-9


กฐินพระราชทาน กรมทรัพยากรธรณี
ณ วัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.09 น.
ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทานกรมทรัพยากรธรณี”
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ : 980-0-29068-0


กฐินพระราชทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ณ วัดราชผาติการาม แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ในวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13.00 น.
ธนาคารกรุงไทย สาขาวิสุทธิกษัตริย์ ประเภทเงินฝากออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “เงินกฐินพระราชทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”
บัญชีเลขที่ : 006-1-43898-7


กฐินพระราชทาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ณ วัดสัตตนารถปริวัตร อ.เมือง จ.ราชบุรี
ในวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 น.
ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน”
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ : 059-1-41447-3


กฐินพระราชทาน กระทรวงคมนาคม
ณ พระอารามหลวงวัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม) ต.ท่าฉลอม อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร
ในวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2555
ธนาคารออมสิน สาขานางเลิ้ง
ชื่อบัญชี “เงินกฐินกระทรวงคมนาคม”
เลขที่บัญชี : 05438003156-4


กฐินพระราชทาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ณ วัดนรนาถสุนทริการาม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.00 น.
ธนาคารกรุงไทย สาขาเทเวศน์
ชื่อบัญชี “กฐินกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ปี 55 ”
บัญชีเลขที่ : 070-0-13783-1


กฐินพระราชทาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
ณ วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ในวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 น.
ธนาคารกสิกรไทย สาขาคลองจั่น
ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์”
ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ : 040-252-7732
หรือ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์”
ประเภทบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ : 944-001-3408


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างหนังสือสวดมหามนต์ปั๊บสาล้านนา
โทร. 089-9104214

ขอเชิญทุกท่าน เยื่ยมชม เว็บไซต์ ฟังธรรม ตามแนว พระไตรปิฎกฉบับเถรวาท
http://www.th1.netii.net/

เชิญเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือประวัติสมเด็จสุก ไก่เถื่อน และธรรมะ(ปกแข็ง)
084-651-7023


ฝากเว็บใหม่ + ร่วมสร้างพระมหาเจดีย์
http://www.watthamsaengdham.com/

เชิญร่วมบุญบวชเนกขัมมะบารมี ปิดวาจา วันที่15-16 ก.ย.2555 สำนักสงฆ์เขาสันติ(สวนโมกข์) หัวหิน
086-8990642


มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
1648 อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา ถ.เจริญกรุง ข.สาธร กทม. 10120
โทร.0-2673-9940-3
โทรสาร.0-2673-9941
อีเมล์:info@50amfh.org
เว็บไซต์ www.50amfh.org

สั่งจองตู้ยาสามัญประจำวัดได้ที่
- มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง
- สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกแห่ง
- ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา
ใบเสร็จรับเงินของมูลนิธิฯ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้


ขอเชิญร่่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพไทยธรรม
โทร.0823585609


สร้างเสนาสนะที่พักสงฆ์ให้กับหมู่บ้านชนบท
084-418-1428


ชมรมพุทธศิลป์ฯมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาบูชา ล๊อกเก๊ตพระเจ้าตอกสาน เพื่อสมทบทุนกิจกรรม ชมรมพุทธศิลป์ มช.


[ด่วน]มอบทุนการศึกษาให้ นักเรียนที่มีผลการเรียนดี กตัญญู แต่ขาดแคลนแคลนทุนทรัพย์
________________________________________
ธนาคาร กรุงเทพ สาขา อาคารซิลลิค เฮ้าส์
ชื่อบัญชี นาย พรเทพ ขอร่วมกลาง
เลขที่บัญชี 860-0-15843-3

ธนาคารกสิกรไทย สาขา โลตัส พระรามที่ 4
ชื่อบัญชี นาย พรเทพ ขอร่วมกลาง
เลขที่บัญชี 710-2-48024-9

ปิดรับบริจาค 9.00 น วันที่ 10สค55

เชิญร่วมงานครบรอบ 24 ปีการมรณภาพหลวงปู่กัสสปมุนีวัดปิปผลิวนาราม


เชิญร่วมบุญโรงทาน งานทอดผ้าป่าถวายพระบาท4รอยเเละวางศิลาฤกษ์ศาลาพระพุทธเจ้า3กาล
________________________________________
สามารถบริจาคเงินสมทบทุนโรงทานเลี้ยงอาหารเเด่ผู้มาร่วมบุญได้ที่


สวนพุทธธรรมหลวงปู่ใหญ่ "ธนพลาราม"
(ตรงข้ามวัดโพธิ์เจริญ) บ้านหัวถนน ซอย 21
ต.สนามชัย อ.เมืองฯจ.สุพรรณบุรี

ชื่อบัญชี พระธนพล ธนพโล
เลขที่ 359-0-13922-6 (ฺB.2)
ธ.กรุงไทย สาขาศูนย์ราชการสุพรรณบุรี



28 ส.ค.55 ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพไถ่ชีวิตโค-กระบือ ถวายเป็นพระราชกุศล
โทร.02-233-8109

ขอเชิญเป็นเจ้าภาพซื้อเครื่องกรองน้ำแก่วัดในถิ่นธุรกันดาร ๑๐ วัด
0856044849


ถวายทุนการศึกษาเพื่อทำสารนิพนธ์และการค้นคว้าวิจัย
084-418-1428


ขอความเมตตา ถวายทุนการศึกษา
084-418-1428


สภากาชาดไทย ขอเชิญร่วมบริจาค โครงการ “ แก้ว...ตา...ใจ ” เฉลิมพระเกียรติ
________________________________________
02) 256 4410 , 256 4220 (เวลาราชการ)
________________________________________


ร่วมสมทบกองทุนสงฆ์อาพาธ
0-5345-1444


ด่วนมาก พระชัยชาญเข้าโรงพยาบาลแล้ว
086-0599659ท่านที่ต้องการส่งผ้าอ้อมผู้ป่วยขนาดผู้ใหญ่แบบแถบกาว
ส่งได้ที่
พระครูใบฏีกาชนะ สุตตสีโล
ที่พักสงฆ์หนองแม่นา
บ้านหนองแม่นา หมู่ 6
ต. หนองแม่นา อ. เขาค้อ
จ. เพชรบูรณ์ 67270

เจ้าของ:  JANDHRA [ 09 ส.ค. 2012, 12:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

.. :b8:

อนุโมทนาแล้วๆๆ ..

เจ้าของ:  รสมน [ 10 ส.ค. 2012, 07:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

๖. อมราเทวีปัญหา ๔๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายผู้ประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งปวง อันได้เหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับด้วยบุรุษเปลี้ย' ดังนี้. และตรัสอยู่อีกว่า 'หญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าน อยู่ปราศจากสามีมานาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เสมอเปรียบด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้ว ด้วยกหาปณะพันหนึ่ง ไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งหวงอันได้เหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับด้วยบุรุษเปลี้ย' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'หญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าน อยู่ปราศจากสามีนาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เสมอเปรียบด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้วด้วยกหาปณะพันหนึ่ง ไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าหญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าหญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าง อยู่ปราศจากสามีนาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เสมอด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้วด้วยกหปณะพันหนึ่งไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้, คำที่ว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งปวง อันได้เหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับบุรุษเปลี้ย' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสแล้วว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือพึงได้โอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งปวง อันใดเหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับด้วยบุรุษเปลี้ย' ดังนี้. และตรัสอยู่อีกว่า 'หญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าน อยู่ปราศจากสามีนาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เปรียบเสมอด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้วด้วยกหาปณะพันหนึ่ง ไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้ จริง. นางอมรานั้น จะได้กหาปณะพันหนึ่ง จะต้องกระทำกรรมลามกกับบุรุษเช่นนั้น, นางอมรานั้น ไม่พึงกระทำกรรมลามกนั้น, ถ้านางจะไม่พึงได้ขณะหรือโอกาสอันลับ หรือชายผู้ประโลมเช่นนั้น. นางอมรานั้น จะคิดค้นไม่เห็นขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือแม้ชายผู้ประโลมเช่นนั้น. นางอมรานั้น เพราะกลัวแต่ความครหาในโลกนี้ ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เพราะกลัวแต่นรกในโลกหน้า ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เพราะคิดว่า 'กรรมลามกมีวิบากเผ็ดร้อน' ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, นางอมรานั้น ไม่ละทิ้งสามีเป็นที่รัก ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เพราะกระทำสามีให้เป็นผู้หนักเมื่อประพฤติตกต่ำเคารพธรรม ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เมื่อติดเตียนบุคคลไม่ได้เป็นอริยะ ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, นางอมรานั้น ไม่อยากจะละเมิดเสียกิริยา ชื่อว่าไม่เห็นขณะ. นางอมรานั้น ไม่เห็นขณะ ด้วยเหตุทั้งหลายมากเห็นปานนี้, นางอมรานั้น คิดค้นแล้ว, ไม่เห็นแม้โอกาสอันลับ ไม่ได้กระทำกรรมลามกแล้ว ถ้าว่านางอมรานั้น พึงได้โอกาสลับแต่มนุษย์ทั้งหลาย, ไม่พึงได้โอกาสลับแต่อมนุษย์ทั้งหลายโดยแท้, ถ้านางอมรานั้น พึงได้โอกาสลับแต่อมนุษย์ทั้งหลาย, ไม่พึงได้โอกาสลับแต่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้จิตของบุคคลอื่นโดยแท้; ถ้านางอมรานั้น พึงได้โอกาสลับ แต่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ไม่พึงได้โอกาสอันลับแต่บาปทั้งหลายด้วยตนเองโดยแท้; ไม่พึงได้โอกาสอันลับแต่อธรรม. นางอมรานั้น ไม่ได้โอกาสอันลับด้วยเหตุทั้งหลาย มีอย่างมากเห็นปานนี้แล้ว จึงไม่ได้กระทำกรรมลามกแล้ว. นางอมรานั้น คิดค้นแล้วในโลก เมื่อไม่ได้ชายผู้ประโลมเช่นนั้น ไม่ได้กระทำกรรมลามกแล้ว.
ขอถวายพระพร พระมโหสถเป็นบัณฑิต มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการ, มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการเป็นไฉน: มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการ คือ พระมโหสถเป็นผู้กล้าหนึ่ง เป็นผู้มีหิริละอายต่อบาปหนึ่ง เป็นผู้มีโอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปหนึ่ง เป็นผู้มีฝักฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยมิตรหนึ่ง เป็นผู้ทนหนึ่ง เป็นผู้มีศีลหนึ่ง เป็นผู้กล่าววาจาจริงหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความเป็นผู้สะอาดหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีความโกรธหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีมานะล่วงเกินหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีความริษยาหนึ่ง เป็นผู้มีความเพียรหนึ่ง เป็นผู้ก่อสร้างบารมีหนึ่ง เป็นผู้สงเคราะห์หนึ่ง เป็นผู้จำแนกทานหนึ่ง เป็นผู้มีถ้อยคำละเอียดหนึ่ง เป็นผู้มีความประพฤติตกต่ำหนึ่ง เป็นผู้อ่อนโยนหนึ่ง เป็นผู้ไม่โอ่อวดหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีมายาหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความรู้เกินหนึ่ง เป็นผู้มีเกียรติหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิทยาหนึ่ง เป็นผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลผู้เข้าไปอาศัยทั้งหลายหนึ่ง เป็นผู้อันชนทั้งปวงปรารถนาแล้วหนึ่ง เป็นผู้มีทรัพย์หนึ่ง เป็นผู้มียศหนึ่ง. พระมโหสถเป็นบัณฑิตมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการเหล่านี้. นางอมรานั้น ไม่ได้บุรุษอื่นเป็นผู้ประโลมเช่นนั้นแล้ว จึงมิได้กระทำกรรมลามกแล้ว."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. ขีณาสวอภายนปัญหา ๔๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแม้พระพุทธพจน์นี้ว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลาย ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว, ภายหลังมา พระขีณาสพห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤห มาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ละทิ้งพระชินะผู้ประเสริฐเสีย หลีกไปแล้วยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์เถระองค์เดียว. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น หลีกไปแล้ว เพราะความกลัว หรือใคร่จะยังพระทศพลให้ล้มด้วยคิดว่า 'พระทศพลจะปรากฏด้วยกรรมของตน' ดังนี้แล้ว จึงหลีกไปแล้ว หรือว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อจะเห็นปาฏิหาริย์ ไม่มีอะไรจะเปรียบ และไพบูลย์ ไม่มีอะไรจะเสมอ ของพระตถาคต จึงหลีกไปแล้ว? พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลาย ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระขีณาสพห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤห มาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ละทิ้งพระชินะผู้ประเสริฐแล้ว หลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียว' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าพระขีณาสพห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤหมา ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ละทิ้งพระชินะประเสริฐแล้ว หลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลายปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อนมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงขยายให้แจ้งชัดเถิด"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้แล้วว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลาย ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว' ดังนี้. พระขีณาสพทั้งหลายห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤห มาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วละทิ้งพระชินะผู้ประเสริฐแล้ว หลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียว. ก็และความหลีกไปนั้น จะได้หลีกไปเพราะความกลัวก็หาไม่ จะได้หลีกไปแม้เพราะความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ล้มลงก็หาไม่. ก็พระอรหันต์ทั้งหลายพึงกลัว หรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น อันพระอรหันต์ทั้งหลายเลิกถอนเสียแล้ว, เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายจึงชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว. ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่ เมื่อสมุทรและยอดแห่งภูเขา เมื่อชนแม้ขุดอยู่ แม้ทำลายอยู่ แม้ทรงอยู่ ย่อมกลัวหรือ?
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า?"
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระ?"
ร. "มหาปฐวีแผ่นดินใหญ่ พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่แผ่นดินใหญ่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่ พึงกลัวหรือสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่แผ่นดินใหญ่ ฉันใด, พระอรหันต์ทั้งหลาย พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นเทียว. ขอถวายพระพร ยอดแห่งภูเขา เมื่อชนตัดอยู่ก็ดี เมื่อทำลายอยู่ก็ดี เมื่อยอดเขานั้นตกลงเองก็ดี เมื่อชนเอาไฟเผาก็ดี ย่อมกลัวหรือ?"
ร. "ไม่กลัวเลย พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระพร?"
ร. "ยอดแห่งภูเขา พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้นย่อมไม่มีแก่ยอดแห่งภูเขา พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ยอดแห่งภูเขา พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ย่อมไม่มีแก่ยอดแห่งภูเขา ฉันใด, พระอรหันต์ทั้งหลายพึงกลัวหรือพึงสะดุ้งเพราะเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลายฉันนั้นนั่นเทียว; แม้ถ้าว่า ชนทั้งหลายที่นับเนื่องแล้วในหมู่สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในแสนโลกธาตุทั้งหลาย ชนทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งปวง พึงเป็นผู้มีหอกในมือ ล้อมพระอรหันต์องค์หนึ่ง จะกระทำพระอรหันต์นั้นให้สะดุ้ง ก็ไม่สามารถจะกระทำได้, ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น แม้น้อยหนึ่งของจิต ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่พึงมี มีอะไรเป็นเหตุ? ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแม้น้อยหนึ่งของจิต ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่พึงมี เพราะพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ปราศจากเหตุแห่งความกลัวและความสะดุ้งแล้ว. เออก็ ความปริวิตกแห่งจิตได้มีแล้วแก่พระขีณาสพทั้งปวงเหล่านั้นอย่างนี้ว่า 'วันนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าผู้บวรประเสริฐ ผู้เป็นพฤษภ คือพระชินะอันประเสริฐ ได้เข้าไปสู่เมืองอันประเสริฐ ช้างชื่อธนปาลกะจักแทงที่ถนน ภิกษุผู้อุปัฏฐากจักไม่ละทิ้งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพดาล่วงเสียซึ่งเทพดา โดยไม่สงสัย ถ้าว่าเราทั้งหลายแม้ทั้งปวง จักไม่ละทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้า คุณของพระอานนท์จักไม่ปรากฏ, ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกถาในเพราะเหตุนั้นจักไม่มี, อนึ่ง คชสารจักไม่เข้าไปใกล้พระตถาคตนั่นเทียว, เอาเถิด เราทั้งหลายจักหลีกไปเสีย ความหลีกไปอย่างนี้นี่ จะเป็นอุบายเครื่องพ้นจากเครื่องผูก คือ กิเลสของหมู่ชนอันใหญ่, อนึ่ง คุณของพระอานนท์จักเป็นคุณปรากฏแล้ว;' พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น เห็นอานิสงส์อย่างนี้แล้ว จึงหลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าจำแนกดีแล้ว ข้อจำแนกปัญหานั้นสมอย่างนั้น, ความกลัวหรือความสะดุ้ง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น เห็นอานิสงส์แล้ว จึงหลีกไปยังทิศใหญ่และทิศน้อยแล."

๘. สันถวปัญหา ๔๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ภัยเกิดแล้วแต่สันถวะละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลาย ให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ภัยเกิดแล้วแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้ คำนั้นผิด. ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ภัยเกิดแล้วแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายแก้ไขให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพระผู้มีภาคเจ้าทรงภาสิตแล้ว แม้พระพุทธพจน์นี้ว่า 'ภัยเกิดแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้.
ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ภัยเกิดแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้น เป็นเครื่องแสดงโดยสภาวะ เป็นเครื่องกล่าวเหตุไม่เหลือ เป็นเครื่องกล่าวเหตุไม่มีส่วนเหลือ เป็นเครื่องกล่าวโดยนิปริยายโดยตรง เป็นคำสมควรแก่สมณะ เป็นคำสมรูปแก่สมณะ เป็นคำเหมาะแก่สมณะ ควรแก่สมณะ เป็นโคจรของสมณะ เป็นปฏิปทาของสมณะ เป็นปฏิบัติของสมณะ.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนมฤคพญาสีหราชอยู่ในป่า เมื่อเที่ยวในไพรในป่า ไม่มีอาลัยในที่อยู่ มีที่เป็นที่อยู่อันบุคคลสังเกตไม่ได้ ย่อมนอนตามความปรารถนา ฉันใด, อันภิกษุพึงคิดว่า 'ภัยเกิดแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้. ส่วนพระพุทธพจน์ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์สองประการ จึงตรัสแล้ว, อำนาจประโยชน์สองประการ เป็นไฉน? ธรรมดาว่า วิหารทานอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง พรรณนาแล้ว อนุมัติแล้ว ชมแล้ว สรรเสริญแล้ว, ทายกทั้งหลายให้วิหารทานนั้นแล้ว จักพ้นจากความเกิด ความแก่ ความตาย นี้เป็นอานิสงส์ในวิหารทานที่แรกก่อน.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: ครั้นเมื่อวิหารมีอยู่ นางภิกษุมณีทั้งหลาย จักเป็นผู้อันบุคคลสังเกตได้ง่าย จักเป็นผู้อันบุคคลทั้งหลายผู้ใคร่จะพบเห็น จะเห็นพบเห็นได้โดยง่าย, นางภิกษุณีทั้งหลาย จักเป็นผู้มีการพบเห็นได้โดยยาก ในที่อยู่ไม่เป็นที่กำหนด นี้เป็นอานิสงส์ในวิหารทานที่สอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์สองประการเหล่านี้ จึงตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, แต่พระพุทธโอรสไม่ทำความอาลัยในที่อยู่นั้น."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๙. ภควโต อัปปาพาธปัญหา ๔๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตเป็นพราหมณ์ผู้ควรอันยาจกพึงขอ เป็นผู้มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีระกายมีในที่สุดไว้ เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอรักษา เป็นแพทย์ผู้เชือดลูกศร' ดังนี้. และตรัสอีกว่า ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ก็อาพาธเกิดขึ้นแล้วปรากฏอยู่ในพระสรีรกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามากครั้ง. ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่า, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่าพระพักกุลเถระเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายบรรดาที่มีอาพาธน้อย, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ควรเพื่ออันยาจกจะพึงขอ มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีรกายมีในที่สุด ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอรักษา เป็นแพทย์เชือดลูกศร'ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคต เป็นผู้พราหมณ์ควรที่ยาจกจะพึงขอ มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีระกายอันมีในที่สุด ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอรักษา เป็นแพทย์ผู้เชือดลูกศร' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเราบรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ก็แหละ คำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อที่นิกายเป็นที่มา และคุณพิเศษที่บุคคลเรียนแล้ว มีในภายนอก มีอยู่ในพระองค์ ตรัสแล้ว.
ขอถวายพระพร พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ถือการยืนและจงกรมเป็นวัตรก็มีอยู่ พระสาวกทั้งหลายเหล่านั้นทำวันและคืนให้น้อมล่วงไป ด้วยอันยืนและจงกรม, ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำวันและคืนให้น้อมล่วงไป ด้วยอันยืนและจงกรมและนั่งและนอน; ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นผู้ถือการยืนและจงกรมเป็นวัตรภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้เอกยิ่งด้วยองค์นั้น. พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเอกาสนิกะ คือ ฉันหนเดียวก็มีอยู่ พระสาวกทั้งหลายเหล่านั้น ไม่บริโภคโภชนะครั้งที่สอง แม้เพราะเหตุชีวิต, ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เสวยพระกระยาหารครั้งที่สองบ้างที่สามบ้าง เพียงไร; ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้นที่เป็นเอกาสนิกะ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้เอกยิ่งด้วยองค์นั้น. เหตุทั้งหลายเหล่านั้น มิใช่อย่างเดียว เหตุทั้งหลายเหล่านั้น ๆ พระองค์หมายเอาองค์นั้น ๆ ตรัสแล้ว. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีใครยิ่งกว่า โดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา โดยวิมุตติ โดยวิมุตติญาณทัสสนะญาณเครื่องรู้เครื่องเห็นในวิมุตติ โดยญาณเป็นกำลังทั้งหลายสิบ โดยเวสารัชขะสี่ด้วยโดยพุทธธรรมสิบแปด โดยอาสารณญาณทั้งหลายหกประการด้วยก็พระองค์อาศัยญาณนั้น ในพุทธวิสัยสิ้นเชิง ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ควรเพื่ออันยาจกจะพึงขอ มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีระกายมีในที่สุด ไม่มีใครจะยิ่งกว่าเป็นหมอรักษา เป็นแพทย์ผู้เชือดลูกศร' ดังนี้. บรรดามนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีชาติ มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีทรัพย์ มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีวิทยา มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีศิลป มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้กล้า มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้เฉลียวฉลาด พระมหากษัตริย์องค์เดียวนั่นเทียว ข่มมนุษย์ทั้งปวงเหล่านั้น เป็นผู้สูงสุดแห่งมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ฉันใด; พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ก็ท่านผู้มีอายุพักกุละ ได้เป็นผู้มีอาพาธน้อยใด ความเป็นผู้มีอาพาธน้อยนั้น ด้วยอำนาจแห่งอภินิหาร. แท้จริง เมื่ออาพาธเพราะอุทรวาตเกิดขึ้นแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
อโนมทัสสี และโรคชื่อติณบุปผกะ เกิดขึ้นแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสีด้วย แก่ภิกษุทั้งหลายหกล้านแปดแสนด้วย ส่วนพระพักกุละเป็นดาบส บำบัดพยาธินั้นเสียให้หายด้วยเภสัชทั้งหลายต่าง ๆ แล้ว จึงถึงความเป็นผู้มีอาพาธน้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเราบรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ครั้นเมื่อพยาธิเกิดขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ยังไม่บังเกิดขึ้นแล้วบ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือธุดงค์บ้าง ไม่ทรงถือบ้างก็ดี สัตว์ไร ๆ เป็นผู้เช่นด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี. แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพดาล่วงเสียซึ่งเทพดา ได้ทรงภาสิตไว้แล้ว ในคัมภีร์สังยุตติกาย อันประเสริฐดังพระราชลัญจกรอันประเสริฐว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่หาเท้ามิได้ก็ดี สัตว์สองเท้าก็ดี และสี่เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี ที่มีรูปหรือไม่มีรูปก็ดี ที่มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ดี ที่จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ดี ประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๑๐. อนุปปันนมัคคอุปปาทปัญหา ๔๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตได้เห็นมรรคของเก่าทางของเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในปางก่อนเสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ.' พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น, ถ้าอย่างนั้น พระพุทธพจน์ที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในกาลก่อน เสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'พระตถาคตได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในก่อนเสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ,' ถ้าอย่างนั้น พระพุทธพจน์ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้กระทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่า อันพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในปางก่อน เสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ' ดังนี้. แม้คำทั้งสองนั้น กล่าวโดยสภาวะทีเดียว. พระตถาคตทั้งหลายแต่ปางก่อน อันตรธาน ไม่มีใครจะสั่งสอน มรรคชื่อว่าอันตรธานแล้ว, พระตถาคตนั้น เมื่อพิจารณาด้วยพระจักษุ คือ ปัญหาได้ทรงเห็นมรรคนั้น ซึ่งชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมือปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ปางก่อนได้เสด็จดำเนินเนือง ๆ แล้ว, เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่าอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายมีแล้วในปางก่อน เสด็จดำเนินเนือง ๆ แล้ว' ดังนี้. พระตถาคตทั้งหลายแต่ปางก่อน อันตรธาน ไม่มีใครจะสั่งสอน พระตถาคตได้ทรงกระทำแล้วซึ่งทางอันชำรุดทรุดโทรมแล้ว อันมือปิดแล้ว กำบังแล้ว ให้เป็นที่สัญจรในกาลนี้ เพราะเหตุใด, เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้.
ขอถวายพระพร ในโลกนี้ แก้วมณี ซ่อนอยู่ในระวางยอดภูเขาเพราะพระเจ้าจักรพรรดิอันตรธานเสีย, มณีรัตนะนั้น ย่อมเข้าถึงด้วยความปฏิบัติชอบ ของพระเจ้าจักรพรรดิองค์อื่นอีก; มณีรัตนะนั้น จะว่าพระเจ้าจักรพรรดินั้นสร้างขึ้นแล้ว คือ ให้เกิดขึ้นแล้วบ้างหรือเป็นไฉน?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า มณีรัตนะนั้นตั้งอยู่โดยปกติ, ก็แต่ว่ามณีรัตนะนั้น เกิดขึ้นแล้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดินั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร มณีรัตนะนั้น เกิดขึ้นแล้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดินั้น ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพิจารณาด้วยจักษุ คือ ปัญญา ยังมรรคเป็นที่ไปยังพระนิพพานมีองค์แปด ตั้งอยู่โดยปกติอันพระตถาคตทั้งหลาย มีแล้วแต่ปางก่อน ทรงประพฤติสืบมาแล้วเมื่อไม่มีใครจะสั่งสอน ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจร ฉันนั้นนั่นแล; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง มารดายังบุตรมีอยู่นั่นเทียว ให้เกิดแต่กำเนิดแล้วอันโลกย่อมกล่าวว่า ชนิกา ฉันใด, พระตถาคต ทรงพิจารณาด้วยจักษุคือปัญญา ยังมรรคมีอยู่นั่นเทียว ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจรแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียว; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น' ดังนี้.
อีกประการหนึ่ง บุรุษไร ๆ เห็นภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่งที่หายไป, ชนย่อมกล่าวว่า
'ภัณฑะนั้น อันบุรุษนั้นให้เกิดขึ้นแล้ว' ฉันใด, พระตถาคต เมื่อทรงพิจารณาด้วยจักษุคือปัญญา ยังมรรคมีอยู่นั่นเทียว ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจรแล้ว ฉันนั้นนั้นแล; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้.
อีกประการหนึ่ง บุรุษไร ๆ ชำระป่าแล้ว เปิดเผยพื้นที่, ชนย่อมกล่าว่า 'พื้นนั้นของบุรุษนั้น' ก็แต่ว่าพื้นนั่นอันบุรุษนั้นมิได้ให้เป็นไปแล้ว บุรุษนั้นชื่อว่า ภูมิสามิโก เจ้าของแห่งพื้น เพราะกระทำพื้นนั้นให้เป็นเหตุ ฉันใด, พระตถาคตทรงพิจารณาด้วยจักษุคือปัญญา กระทำมรรคมีอยู่นั่นเทียว ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจรแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียวแล; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

วรรคที่หก
๑. ปฏิปทาโทสปัญหา ๕๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ในกาลใด พระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทำทุกรกิริยา, ความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม ความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้าเช่นนั้น ความผจญกิเลสเช่นนั้น ความกำจัดเสนาแห่งมฤตยูเช่นนั้น ความอดอาหารเช่นนั้น ความกระทำกิจที่กระทำได้ยากเช่นนั้น ไม่ได้มีแล้วในที่อื่น, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ไม่ได้แล้ว ซึ่งอัสสาทะความยินดีน้อยหนึ่ง ในเพราะความบากบั่นอันใหญ่เห็นปานนั้น จึงยังจิตดวงนั้นนั่นแลให้หวนกลับแล้ว ได้ตรัสอย่างนี้ว่า 'ก็ด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ เราก็หาได้บรรลุญาณทัสสนะพิเศษ อันประเสริฐเพียงพอยิ่งกว่าธรรมของสามัญมนุษย์ไม่แล, ชะรอยมรรคาเพื่อความตรัสรู้ จะพึงเป็นทางอื่นแน่แล.' ครั้นทรงดำริตกลงพระทัยฉะนี้แล้ว จึงทรงเบื่อหน่ายจากทุกรกิริยานั้น ได้บรรลุสัพพัญญุตญาณด้วยมรรคาอื่น แต่ก็ทรงพร่ำสอนชักชวนสาวกทั้งหลายด้วยปฏิปทานั้นอีกว่า 'ท่านทั้งหลาย จงปรารภความเพียร จงพากเพียร จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมฤตยูเสีย เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อเสียฉะนั้น' พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เพราะเหตุไรเล่า พระตถาคตจึงทรงพร่ำสอน ชักชวนสาวกทั้งหลาย ในปฏิปทาที่พระองค์เองทรงเบื่อหน่าย คืนคลาย ดูหมิ่นแล้ว?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ปฏิปทานั้นนั่นแล เป็นปฏิปทาทั้งในกาลนั้น ทั้งในกาลบัดนี้, พระโพธิสัตว์ทรงดำเนินปฏิปทานั้นนั่นแล บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว. ก็แต่ว่า พระโพธิสัตว์กระทำความเพียรเกินไป อดอาหารเสียโดยไม่มีส่วนเหลือ, ข้อที่จิตเป็นธรรมชาติทราม กำลังเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน เพราะความอดอาหารเสีย, ท่านไม่ได้อาจแล้วเพื่อบรรลุสัพพัญญุตญาณ เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติทรามกำลังนั้น, ท่านเมื่อเสพกวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าวพอประมาณ จึงได้บรรลุสัพพัญญุตญาณ ต่อกาลไม่นานเลยด้วยปฏิปทานนั้นเอง. ปฏิปทานั้นแหละ เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งสัพพัญญุตญาณ ของพระตถาคตทั้งปวง.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนอาหารเป็นเครื่องอุปถัมภ์สัตว์ทั้งปวง, สัตว์ทั้งปวงได้อาศัยอาหารจึงได้เสวยความสุข ฉันใด; ปฏิปทานั้นแหละ เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งสัพพัญญุตญาณ ของพระตถาคตทั้งปวง ฉันนั้นนั่นแล. การที่พระตถาคตไม่ได้บรรลุสัพพัญญุตญาณในขณะนั้น มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า มิใช่โทษของความผจญกิเลส, โดยที่แท้ เป็นโทษของความอดอาหารเท่านั้น, ปฏิปทานั้น อันธรรมดาเตรียมไว้แล้ว ทุกเมื่อ.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ด้วยความเร็วเกินไป, เพราะความเร็วเกินไปนั้น เขาพึงเป็นผู้ชาไปแถบหนึ่ง หรือเป็นคนปลกเปลี้ย เดินไม่ได้บนพื้นแผ่นดิน, เออก็ เหตุที่เขาเดินไม่ได้นั้น เป็นโทษของมหาปฐพีหรือ มหาบพิตร?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า, มหาปฐพีเตรียมอยู่แล้วทุกเมื่อ, โทษของมหาปฐพีนั้น จะมีมาแต่ไหน, เหตุที่บุรุษนั้นเป็นผู้ชาไปแถบหนึ่งนั้น เป็นโทษของความพยายามต่างหาก."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, การที่พระตถาคตไม่ได้บรรลุสัพพัญญุตญาณในขณะนั้น มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า มิใช่โทษของความผจญกิเลส, โดยที่แท้ เป็นโทษของความอดอาหารต่างหาก, ฉันนั้นนั่นแล, ปฏิปทานั้น อันธรรมดาเตรียมไว้แล้วทุกเมื่อ.
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษพึงนุ่งผ้าสาฎกอันเศร้าหมอง, เขาไม่พึงซักผ้านั้นในน้ำ, ข้อที่ผ้าเศร้าหมองนั้น ไม่ใช่โทษของน้ำ, น้ำเตรียมอยู่ทุกเมื่อ, นั่นเป็นโทษของบุรุษต่างหาก ข้อนี้ฉันใด; การที่พระตถาคตไม่ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณในสมัยนั้น มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า มิใช่โทษของความผจญกิเลส, โดยที่แท้ เป็นโทษของความอดอาหารต่างหาก, ปฏิปทานั้น อันธรรมดาเตรียมไว้แล้วทุกเมื่อ ฉันนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพร่ำสอน ชักชวนสาวกทั้งหลายในปฏิปทานั้น. ปฏิปทานั้นหาโทษมิได้ อันธรรมดานั้นเตรียมไว้แล้วทุกเมื่อ ด้วยประการฉะนี้แล ขอถวายพระ."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ

เจ้าของ:  JANDHRA [ 10 ส.ค. 2012, 08:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องราว

.. :b8:
อนุโมทนาแล้วๆๆ ..

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/