วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 23:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2012, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: :b53: :b53:

สวัสดีค่ะ คุณเอกอน และคุณกบนอกกะลา ดีใจเช่นกันที่คุณทั้งสองมาทักทาย
ขอบคุณนะคะ คิดถึงทุกๆ ท่านเช่นกันค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2012, 19:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
ที่ถามมาทั้งหมดและสิ่งที่อธิบายมาทั้งหมด สิ่งที่เห็นได้ชัดในการปฎิบัติของคุณสายลมที่พัดผ่านไปก็คือ เป็นการปฎิบัติที่สมาธิล้ำหน้าองค์ธรรมอื่นๆ และคุณยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะพัฒนาการปฎิบัติในขั้นต่อไปให้ไปถึงจุดหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้การปล่อยไปหรือช่างมัน ยังไม่ใช่วิธีการที่องค์คถาคตได้ทรงตรัสสอนไว้ค่ะ คุณเคยได้ยินคำว่า “...เห็นด้วยปัญญาอันชอบ...” หรือรู้เห็นด้วยปัญญาหรือเพ่งด้วยปัญญาบ้างไหมคะ ในทางปฎิบัติสำหรับผู้ที่วิปัสสนายังอ่อน คุณคงต้องเปิดใจที่จะต้องเรียนรู้และน้อมนำวิปัสสนามาใช้ควบคู่กับการปฎิบัติให้มากขึ้นเพื่อความสิ้นอาสวะเพื่อถึงซึ่งธรรมของพระพุทธองค์ดังที่คุณตั้งใจ จริงๆ แล้วด้วยศีลและสมาธิที่ถึงของคุณสายลมที่พัดผ่านไปนี้การเติมด้วยปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้อีกนิดเดียวก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ยากอะไรนัก เราจะค่อยๆ เรียนรู้ควบคู่กันไปก็แล้วกันนะคะ จริงๆ แล้วคำถามของคุณทั้งหมดดิฉันได้ตอบเอาไว้เรียบร้อยแล้วแต่ดิฉันจะค่อยๆ โพสคุยกับคุณไปเรื่อยๆ ดิฉันอยากรู้ความคิดเห็นของคุณในแต่ละเรื่องไปด้วยเพื่อว่าคุณจะได้นำไปใช้ปฎิบัติจริงได้เมื่อเจอสภาวะธรรมในแต่ละอย่างนะค่ะ ดิฉันขอเป็นเพื่อนกับคุณก็แล้วกันนะคะ คุณจะเรียกดิฉันว่าวรรณหรือน้องก็ได้ส่วนมากเพื่อนๆ จะเรียกอย่างนั้น



คำถามประเด็นแรกที่คุณ ถาม
ปัญหามีอยู่ว่า...

เมื่อเราพิจารณาขันธ์ห้า ด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม ตอนแรกเมื่อพิจารณา เมื่อเราดูขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้ารู้สึกหรือแสดงอาการอย่างไร เราจะรู้สึกไปด้วย...เมื่อปฎิบัติไปเรื่อยๆแล้วจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ห้าแสดงอาการอย่างไร หรือเสวยอารมณ์แสดงออกอย่างไร จิตร้อนไปด้วย (เราไม่รู้สึกไปด้วยแล้ว เราเป็เพียงผู้ดู ดูและเห็นว่า เมื่อขันธ์เร่าร้อน จิตก็เร่าร้อนไปด้วย)....เมื่อปฎิบัติต่อไปอีก..จะเห็นว่า เมื่อขันธ์แสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่รู้สึกอะไร จิตจะลอยเป็นอิสระเหนือขันธ์ห้า...

เช่นว่า

เมื่อขันธ์ทุกข์ แรกๆ เราก็จะทุกข์ไปกับขันธ์ด้วย...เมื่อปฎิบัติต่อไปอีกจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์ เราจะรู้สึกว่า จิตเร้าร้อนไปกับขันธ์(เราเป็นคนยืนมอง ขันธ์ทุกข์และจิตเร่าร้อน)..เมื่อปฎิบัติคือดูขันธ์และจิตไปเรื่อยๆจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก(ดิฉันพยายามอธิบายได้แค่นี้นะคะ)



คำตอบ สำหรับนักสมถ ที่ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า หรือเจริญทั้งสมถและวิปัสสนาควบคู่กันไป
สมาธิสำหรับนักปฎิบัติแล้วจะพบว่ามันมีพลังอย่างมาก ตัวดิฉันก็เคยทดลองในเรื่องเวทนาดังกล่าวนี้เช่นกัน มีอยู่ครั้งหนึ่งทำมีดเฉือนปลายนิ้วที่เป็นที่รวมของประสาทสัมผัสออกไปต้องเย็บถึงสามเข็ม พอกลับมาบ้านก็คิดว่าเราจะไม่ทานยาแก้ปวด เพราะเคยอ่านพระอริยะเจ้าหลายรูปรักษาโรคด้วยสมาธิได้ จึงลองกำหนดจิตลงไปที่แขนข้างที่บาดเจ็บนั้นว่าแขนนั้นนั่นไม่ใช่เราเป็นเพียงขันธ์ 5 เท่านั้น กำหนดแค่ประมาณครู่เดียวไม่น่าจะเกิน2-3 นาที ปรากฎว่ารู้สึกชาไปตั้งแต่ข้อศอกลงไปถึงปลายนิ้วเป็นอยู่อย่างนั้น ประมาณ 3 ชั่วโมงกายก็ไม่เจ็บจิตก็ไม่เจ็บรู้สึกเพียงชาๆเท่านั้น แต่หลังจากนั้นแล้วก็กลับมาปวดเหมือนเดิม ไม่กำหนดจิตต่อเพราะรู้แล้วว่าเวทนานี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และก็ดับไป(นี่คือตัวอย่างของการพิจารณาการเกิดดับที่คุณถามคุณstudentนี่เป็นตัวอย่างการพิจารณาการเกิดดับของเวทนา)

อีกทั้งเพราะเวทนากายกับเวทนาจิตจะไม่กระทบกันอยู่แล้ว กายเจ็บแต่จิตกลับเฉยๆ จะมีอาการเหมือนที่คุณเล่ามา คือ “...เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก...” สิ่งที่ปรากฏขึ้นกับคุณ ก็คือลักษณะที่ผู้ปฎิบัติสามารถแยกความรู้สึกเวทนาขันธ์กับเวทนาจิตได้ก็เท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับคนที่ไม่ปฎิบัติคือผู้ไม่ปฎิบัติเมื่อเกิดทุกข์ทั้งทางกายหรือทางใจ ก็ตามเขาก็จะรับเวทนาทั้งทางกายและทางใจ แต่สำหรับผู้ปฎิบัติที่เวทนาทางกายไม่กระทบกับเวทนาจิตก็จะรับเวทนาเพียงทางเดียวคือเวทนากายเท่านั้น จิตจะเฉยๆไม่เกิดเวทนาร่วมกับกายแต่อย่างใด ทำไมคุณสายลมที่พัดผ่านไปทำเพียงเพ่งดูหรือรู้อย่างเดียวทำไมคุณไม่นำวิปัสสนามาใช้คุณก็เห็นนี่คะเวทนาที่เกิดขึ้นกับคุณทั้งทางกายและทางจิตมันดับไปมันแสดงสภาวะของการเกิดดับของเวทนาให้คุณเห็นอยู่แล้วนี่คะเพียงแต่คุณต้องพิจารณาให้เห็นชัดเพิ่มขึ้นไป ทบทวนดูว่าเวทนากายมันเคยเกิดอย่างไรมันคงทนถาวรมั้ยที่สุดมันได้ดับไปไหม เวทนาจิตก็เช่นกันก่อนนั้นคุณเคยรับรู้เวทนาทั้งทางกายและทางจิตแต่ในปัจจุบันนี้เวทนาจิตมันดับไปให้คุณเห็นอย่างไรดังที่คุณรู้สึก
รวมทั้งนิมิตกายที่คุณเพิกมันไปได้ทั้งหมดนั้นด้วยว่าในส่วนของรูปที่เคยเห็นมันเกิดขึ้นมาอย่างไรและดับไปได้อย่างไรในที่สุด

วันนี้ดิฉันฝากพระสูตร อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๒ ให้คุณอ่านดูเพื่อเสริมความรู้เพิ่มอีกนิดนะคะและลองนำไปใช้วิปัสสนาเมื่อเจอสภาวะธรรมใดๆ เกี่ยวกับขันธ์ทั้ง ๕ ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นสภาวธรรมที่เกิดจากนิมิตจากสมถหรืออารมณ์ความรับรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อใช้วิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ในครั้งนี้คุณลองตอบดิฉันเกี่ยวกับความเกิดดับของรูปและเวทนาที่เกิดกับตัวคุณอย่างไรเห็นเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร ลองอธิบายตอบมานะคะ ครั้งต่อไปเรามาคุยกันในเรื่องนิมิตจิตสีแดงๆ ที่เกิดกับคุณว่าครูบาอาจารย์ท่านเคยกล่าวถึงอย่างไรและพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร เอาไว้คุยกันครั้งต่อไปนะคะ
ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง
“... ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร? ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ...
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสังขารว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา วิญญาณของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็น
อย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


ตอนนี้อ่านจบแล้ว และจิตก็พร้อมแล้วคะ เมื่อกี้ จิตยังไม่ยอมรับที่จะรับรู้อะไร มีแต่อยากดูการเสวยอารมณ์ของตัวเองอย่างเดียว เลยต้องปล่อยไปตามสภาพนะคะ ขอโทษด้วยนะคะ ที่ไม่ได้ตอบในครั้งแรก :b8:


อ้างคำพูด:
ทำไมคุณสายลมที่พัดผ่านไปทำเพียงเพ่งดูหรือรู้อย่างเดียวทำไมคุณไม่นำวิปัสสนามาใช้คุณก็เห็นนี่คะเวทนาที่เกิดขึ้นกับคุณทั้งทางกายและทางจิตมันดับไปมันแสดงสภาวะของการเกิดดับของเวทนาให้คุณเห็นอยู่แล้วนี่คะเพียงแต่คุณต้องพิจารณาให้เห็นชัดเพิ่มขึ้นไป ทบทวนดูว่าเวทนากายมันเคยเกิดอย่างไรมันคงทนถาวรมั้ยที่สุดมันได้ดับไปไหม เวทนาจิตก็เช่นกันก่อนนั้นคุณเคยรับรู้เวทนาทั้งทางกายและทางจิตแต่ในปัจจุบันนี้เวทนาจิตมันดับไปให้คุณเห็นอย่างไรดังที่คุณรู้สึก
รวมทั้งนิมิตกายที่คุณเพิกมันไปได้ทั้งหมดนั้นด้วยว่าในส่วนของรูปที่เคยเห็นมันเกิดขึ้นมาอย่างไรและดับไปได้อย่างไรในที่สุด


ดิฉันไม่แน่ใจว่าจะตอบได้ตรงประเด็นของคุณวรรณหรือไม่นะคะ แต่จะพยายามตอบให้ตรง เพราะดิฉันรู้ข้อด้อยของตัวเองดีในการสื่อสารนะคะ ว่าตัวเองแย่แค่ไหน :b8:

เวทนาทางกายในชีวิตประจำวัน ดิฉันเห็นมันเสมอ เห็นมันจากความเป็นจริงคือเห็นตั้งแต่เป็นเด็กเลย เนื่องจากดิฉันป่วยเป็นปกติ คือ ป่วยอยู่เป็นประจำและเสมอๆ ดิฉันเรียนรู้เรื่องนี้โดยธรรมชาติ ตอนเด็ก ดิฉันเห็นความปวดในกาย แต่ดิฉันไม่รู้ตัวหรอก รู้แต่ว่า มันทุกข์ ทำไมชีวิตมันทุกข์อย่างนี้ อยากเป็นก้อนหินจังจะได้ไม่รู้สึก ความรู้สึกนี้มีมาตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ ยิ่งโตขึ้นยิ่งป่วยหนักขึ้นตามลำดับ พออายุ 18 เริ่มปฎิบัติธรรมก็ยิ่งป่วยอยู่เสมอ แต่ก่อนปวด จิตเราก็ทุกข์กับมัน ปวดไปก็ภาวนากำหนดดูความปวดไปเรื่อยๆ ภาวนาดูความปวดจนหลับ ก่อนตื่นจะรู้สึกปวดจนต้องตื่นขึ้นมา และก็ดูความปวดนั้นต่อ ช่วงนั้นดิฉันใช้สมถะเพื่อบรรเทาความปวด นี่หมายถึงหาหมอไปด้วย ใช้ยาและภาวนาช่วยด้วยอย่างนี้เสมอๆ มันเป็นอย่างนี้ไปเรือ่ยๆ ระหว่างนั้นก็ทำสมาธิไปเรื่อยๆ จิตมันปรับของมันเอง จิตเรียนรู้ที่จะวางกายเกี่ยวกับความปวดของมันเอง อยู่ๆมาวันหนึ่ง เมื่อกายป่วย จิตไม่เคยป่วยและปวดตามกาย...เอ ดิฉันออกนอกเรื่องไปหรือป่าวคะ :b9:

ตั้งแต่เริ่มปฎิบัติก็จะฝึกกรรมฐาน แนว กรรมฐาน 40 ตอนนั้นไม่รู้หรอก รู้แค่ว่า เวลากายเราป่วยใจเราไม่ป่วยไปด้วย ก็ปฎิบัติและเป็นอย่างนี้มาเรื่อยๆ เพิ่งมาเริ่มพิจาณากาย แบบมหาสติเมื่อ กลางปีก่อนนี้เอง..พิจารณาทุกอย่างในหมวดกายานุปัสสนาสติ โดยเวลาทำสมาธิก็ใช้การเดินจงกลมเป็นหลักในการพิจารณา ระหว่างวัน ก็พิจารณา ปฎิกูลบรรพ ธาตุบรรพ นวสี ทำสลับไปสลับมา บางทีก็เปลี่ยนไปดู อิริยาบทบรรพบ้าง..กรรมฐานที่ดิฉันทำนั้น ไม่ได้กำหนดเวลาอะไร เพราะตอนนี้ ธรรมะของดิฉัน คือลมหายใจของดิฉัน นี่เป็นนิยามส่วนตัวของตัวเอง ดิฉันไม่เก่งศัทพ์ธรรมนัก แต่ดิฉันแปลของดิฉันอย่างนี้ ธรรมะคือลมหายใจ เมื่อดิฉันยังมีลมหายใจ ทุกอย่างสามารถปฎิบัติได้เสมอๆ ไม่ต้องตั้งท่าใดๆ ดิฉันทำแบบนี้ไปเรื่อยๆคะ จนถึงวันหนึ่ง ดิฉัน ก็มองหาเครื่องในของตัวเองไม่เจอ ถ้าเวลาเดินจงกรมที่ใช้สมาธิจริงๆจังจะมองไม่เห็นเครื่องใน แต่ถ้า ทำตัวปกติรู้ลมเข้าออกปกติก็จะเห็นกายในอยู่เสมอ แต่ถ้าตั้ง่ท่าเมื่อใด จะมองไม่เห็น มันจะกลวง ทำให้พิจาณาไม่ได้

ยาวไปไหมคุณวรรณ ดิฉันไม่เก่งศัทพ์ธรรมเลย ได้แต่ปฎิบัติเอา เอาสังโยชน์เป็นเกณฑ์ในการเดิน ก่อนที่จะมาปฎิบัติ มหาสตินั้น ดิฉันทุกข์มาก เมื่อดิฉันทุกข์และมาพิจารณากาย ดิฉันก็พิจารณาเข้าในหมวดของไตรลักษณ์ มองกายตัวเอง เห็นแล้ว หันไปมองกายคนอื่น ว่าเป็นอย่างกายเราไหม มองไปเครื่องในเค้าเหมือนเราไหม มันก็ไม่ต่างกัน เราทุกข์ เค้าทุกข์ไหม ทุกอย่างเหมือนกัน อ่อ มันเป็นธรรมดานี่เอง การเกิดมันทุกข์กันทุกคน เราทุกข์นั้นไม่ได้ผิดปกติอะไร เป็นธรรมดาที่คนเกิดมาต้องทุกข์

มองไปรอบกาย เห็นคนเขาจูงมือกัน เป็นครอบครัว ทำไมเราดูเขาว่า เขาทุกข์นะ มองไปเห็นคนงานนั่งเฝ้าหน้าร้าน เรามองเขาว่าเขาทุกข์ทั่งๆที่เค้าก็นั่งเฉยๆ เราเห็นคนหัวเราะ ยิ้มแย้ม ทำไมเรามองเค้าว่าเค้าทุกข์นะ ทุกข์มีทุกที่เต็มไปหมด มองย้อนกลับมาที่ตัวเอง แค่หายใจเราก็ทุกข์ มองไปในกาย ไม่มีตรงไหนสวยงาม มีแต่ความเสื่อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา...ในการมองคนอื่นว่าทุกข์นั้น ไมไ่ด้เกิดจากการคิดหรือพิจารณา แต่มันเกิดคล้ายๆกับว่า เราเห็น 1+1=2 มันจะ 2 ทั้งที่โดยเราไม่่ต้องคิดว่า มันเป็นยังไง มันถึงได้2 มันเห็นเป็นอัตโนมัติ เห็นว่า เค้าขี่มอไซด์ซ้อนกันผ่านหน้าเราครบพ่อแม่ลูก เราเห็นว่าทุกข์ เราเห็นคนเดินเฉยๆ ใจมันไมไ่ด้พิจารณา แต่มันชัดแก่ใจว่า เขาทุกข์ เขาทุกข์แล้วเราหล่ะ ก็ทุกข์เหมือนกัน

เมื่อถึงตอนนี้ก็จะพิจารณาต่อว่า เราทุกข์ขนาดนี้ เราเข็ดทุกข์แล้ว(เรื่องเข็ดทุกข์นี่เข็ดจริงๆ) เราเข็ดการเกิดแล้วเพราะเีราเกิดนี่เองเราถึงทุกข์ แต่เมื่อตอนนี้เราเกิดมาแล้วและทุกข์และเข็ดทุกข์แล้ว ขอให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายก็แล้วกัน เพราะเรารู้แล้วว่าทำอย่างไร เราถึงจะเดินไปถึงจุดที่หลุดจากความทุกข์ตลอดกาลได้..ทุกครั้งที่ทุกข์ จะพิจารณาไปจบที่พระนิพพานเสมอ อุปสมานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ให้กำลังใจดิฉันได้เสมอ ตอนที่ดิฉันเหนื่อยหรือทุกข์มาก ดิฉันจะเปลี่ยนไปใช้อุปสมานุสสติเพื่อเป็นการพักใจพักกาย เมื่อหายเหนื่อยมีกำลังใจดิฉันก็มาดูกายดูจิตต่อ

โอ้ย..ยาวๆ เอ..มันเพ้อไปไหม..มันปรุงคิดไปเองไหม...เราหลงไหม...เราเอาของคนอื่นมาไหม มาตัดต่อไปเป็นของตัวเองไหม...นานาจิตตังนะ...

เอ..หรือเราตอบไม่ตรงจุดอีกแล้ว 555 ถ้าไม่ตรงจุดขอโทษนะ :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย สายลมที่พัดผ่านไป เมื่อ 06 ส.ค. 2012, 22:43, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2012, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำไมคุณสายลมที่พัดผ่านไปทำเพียงเพ่งดูหรือรู้อย่างเดียวทำไมคุณไม่นำวิปัสสนามาใช้คุณก็เห็นนี่คะเวทนาที่เกิดขึ้นกับคุณทั้งทางกายและทางจิตมันดับไปมันแสดงสภาวะของการเกิดดับของเวทนาให้คุณเห็นอยู่แล้วนี่คะเพียงแต่คุณต้องพิจารณาให้เห็นชัดเพิ่มขึ้นไป ทบทวนดูว่าเวทนากายมันเคยเกิดอย่างไรมันคงทนถาวรมั้ยที่สุดมันได้ดับไปไหม เวทนาจิตก็เช่นกันก่อนนั้นคุณเคยรับรู้เวทนาทั้งทางกายและทางจิตแต่ในปัจจุบันนี้เวทนาจิตมันดับไปให้คุณเห็นอย่างไรดังที่คุณรู้สึก
รวมทั้งนิมิตกายที่คุณเพิกมันไปได้ทั้งหมดนั้นด้วยว่าในส่วนของรูปที่เคยเห็นมันเกิดขึ้นมาอย่างไรและดับไปได้อย่างไรในที่สุด


:b32: :b32: โอ้ยขำตัวเอง :b32: :b32: ตอบนอกจุดประสงค์อีกแล้ว :b9: :b9:

ยังไมไ่ด้ตอบทางจิตใช้ไหมคะ :b12: :b12: ขอโทษนะคะ :b8: บทจะพร่ามนี่ เยอะๆ :b32: :b32:

หลังจากดูกายแล้ว ก็เริ่มฝึก เวทนา จิตตา และะธรรมา พร้อมๆกัน เพราะทั้ง 3 หมวดเกิดที่จิตเราทั้งนั้นก็ดูๆไป พอคล่อง ก็ค่อยๆเริ่มดูทั้งกายและจิต กายนั้นเฉยๆกันมัน ก็แค่ดู เห็น รู้แต่ไม่สนใจกาย เห็นทุกอย่างของกายไม่ว่า จะกายขยับ เห็นตับไตไส้พุง เห็นทุกๆอย่างแต่ใจมันเฉยไม่แยแส..ก็เห็นพร้อมๆเห็นจิตนั่นแหละ แต่กายสติรู้มันไม่แยแส สติรู้ไปดูที่จิต ดูการเสวยอารมณ์ของจิต แรกๆทุกข์ไปพร้อมๆกับการเสวยอารมณ์มากเลย ก็ดูๆไป ดูไปเรื่อยๆ แล้วมันก็เรียนรู้จากการทำซ้ำๆอัตโนมัติ ใจมันก็ค่อยๆถอนออกมาเป็นคนเฝ้าดูเอง เฝ้าดู จิตเสวยอารมณ์กับกายที่แสดงกระทำกิริยาอยู่ ก็ได้แต่เฝ้าดูเท่านั้น..ทำอย่างนี้มาเรื่อยๆ ก็ดูอย่างนี้มาซ้ำๆ บอกแล้ว กรรมฐานที่ดิฉันทำนั้นไม่ได้จำกัดเวลา ทำไปเรื่อยๆ เพราะพอใจที่จะทำ ไม่ได้มีเหตุอันใดมาบังคับว่าต้องทำ แต่ดิฉันพอใจที่จะดูจิตดูกายเอง..ไม่มีเหตุผลว่า ต้องทำเพื่อละนั้นละนี้..นั่นเป็นส่วนปลายที่จะได้..แต่ที่ทำตลอดเวลาที่ลืมตาอยู่เพราะพอใจที่จะทำ เลยไม่เคยคิดว่ามันเหนื่อย มันเยอะ มันหนักอะไร เพราะเรายังมีลมหายใจ นั่งท่าไหน นอนท่าไหน เดินท่าไหนก็ทำได้

ในส่วนที่ดิฉันหลงนั้น ดิฉันได้ท่านผู้รู้ในนี้ได้สะกิดให้ดิฉันเห็นแล้วว่าดิฉันหลงเพราะอะไร..และดิฉันได้แก้ไขแล้ว กราบขอบพระคุณมา ณ. ที่นี้ด้วยนะคะ กราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่ีเมตตาช่วยเหลือจนหลุดออกมาได้คะ :b8: :b8:

เมื่อหลุดแล้ว พอได้มาอ่านของ ท่านไม่มีอะไร ที่ลงว่าช่างมัน ทำไมดิฉันช่างมันด้วยนะหรือ..เพราะดิฉันเห็นแล้วว่า ไม่ว่าเราจะเสวยทุกข์ เสวยอารมณ์อะไร เดี๋ยวมันก็สลายหายไป เป็นวัฏจักร์เป็นวงจรของมันเอง ดิฉันก็เลยช่างๆมัน เพราะถึงแม้จะฟุ้งอย่างไร เดียวมันก็ต้องจบ ช่างๆมัน จะไปด่าตัวเองทำไมว่า นี่แกมันเลว ฟุ้งอยู่ได้ แกมันเลวไม่มีสติ ก็มันเห็นๆอยู่ว่า เดี่ยวมันก็หายไป จะไปสนใจจิตที่มันเสวยอารมณ์ทำไม เกิดเดี๋ยวก็จบ วันนี้เห็นจิตเสวยอารมณ์ไป 108 อย่าง แต่ทุกๆอย่างมันก็ต้องจบแล้วขึ้นเรื่องไหม่อีกอยู่ดี มันเป็นอย่างนี้ของมัน เป็นธรรมชาติของมัน แล้วเราจะไปใส่ใจกับมันอีกทำไม นี่บอกตัวเองนะคะว่า แค่ดู แค่รู้ก็พอ ช่างมัน พอมันเสวยอารมณ์มากๆ ก็ได้แค่ดูว่ามันมาก ฟุ้งไปได้มากแค่ไหน ก็ดูไปเรื่อยๆ ไม่นานมันก็ต้องจบ...เอ ดิฉันพูดวนไปวนมาหรือป่าวคะ ดิฉันขอโทษนะคะ ที่ชอบพูดวกวน ดิฉันสื่อสารไม่เก่งนะคะ :b9:

ถึงดิฉันพูดถึงแบบนี้แต่ดิฉันก็เป็นแค่คนที่ฝึกหัดในทางธรรมอยู่นะคะ การผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ มีสิทธิ์หลงได้เสมอ เมื่ออกุศลกรรมเข้าแทรก ก็สามารถทำให้เราหลงผิดได้ แต่เมื่อใด กุศลกรรมมาหนุน เราก็จะเริ่มมีสติและหลุดจากการหลงได้เอง อย่างดิฉันที่หลุดออกมาได้ เพราะได้ท่านผู้มีคุณทุกท่านที่นี้ให้การช่วยเหลือนะค่ะ :b8:

เพียงพอหรือป่าวคะ หรือดิฉันตอบไม่ตรงประเด็นของจิตอีกแล้ว ถ้ายังไง คุณวรรณก็บอกแล้วกันนะคะ
:b12: ถามได้เสมอ..เมื่อเป็นเพื่อนกันแล้ว..ใจดิฉันให้ไปเต็ม 100 และไม่เคยปิดบังอะไร ไม่เคยคิดว่าเพื่อนจะล้ำเส้นในการถามไหม..สำหรับเพื่อนของดิฉันแล้ว..ได้ทุกข้อ ไม่มีข้อยกเว้นคะ ถ้าตอบได้จะตอบให้หายสงสัยได้เสมอ ว่าดิฉันทำยังไง คิดอย่างไร มันผิดตรงไหน คุณวรรณเตือนด้วยนะคะ เพราะตัวเองบางทีส่องกระจกก็ยังเข้าข้างตัวเองอยู่ดีนะคะ ต้องให้คนอื่นส่องกระจกให้แล้วชี้ข้อผิด มันถึงจะเป๊ะนะคะ

ดีใจนะคะที่ได้เพื่อนนะคะ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
อ้างคำพูด:
ทำไมคุณสายลมที่พัดผ่านไปทำเพียงเพ่งดูหรือรู้อย่างเดียวทำไมคุณไม่นำวิปัสสนามาใช้คุณก็เห็นนี่คะเวทนาที่เกิดขึ้นกับคุณทั้งทางกายและทางจิตมันดับไปมันแสดงสภาวะของการเกิดดับของเวทนาให้คุณเห็นอยู่แล้วนี่คะเพียงแต่คุณต้องพิจารณาให้เห็นชัดเพิ่มขึ้นไป ทบทวนดูว่าเวทนากายมันเคยเกิดอย่างไรมันคงทนถาวรมั้ยที่สุดมันได้ดับไปไหม เวทนาจิตก็เช่นกันก่อนนั้นคุณเคยรับรู้เวทนาทั้งทางกายและทางจิตแต่ในปัจจุบันนี้เวทนาจิตมันดับไปให้คุณเห็นอย่างไรดังที่คุณรู้สึก
รวมทั้งนิมิตกายที่คุณเพิกมันไปได้ทั้งหมดนั้นด้วยว่าในส่วนของรูปที่เคยเห็นมันเกิดขึ้นมาอย่างไรและดับไปได้อย่างไรในที่สุด


:b32: :b32: โอ้ยขำตัวเอง :b32: :b32: ตอบนอกจุดประสงค์อีกแล้ว :b9: :b9:

ยังไมไ่ด้ตอบทางจิตใช้ไหมคะ :b12: :b12: ขอโทษนะคะ :b8: บทจะพร่ามนี่ เยอะๆ :b32: :b32:

หลังจากดูกายแล้ว ก็เริ่มฝึก เวทนา จิตตา และะธรรมา พร้อมๆกัน เพราะทั้ง 3 หมวดเกิดที่จิตเราทั้งนั้นก็ดูๆไป พอคล่อง ก็ค่อยๆเริ่มดูทั้งกายและจิต กายนั้นเฉยๆกันมัน ก็แค่ดู เห็น รู้แต่ไม่สนใจกาย เห็นทุกอย่างของกายไม่ว่า จะกายขยับ เห็นตับไตไส้พุง เห็นทุกๆอย่างแต่ใจมันเฉยไม่แยแส..ก็เห็นพร้อมๆเห็นจิตนั่นแหละ แต่กายสติรู้มันไม่แยแส สติรู้ไปดูที่จิต ดูการเสวยอารมณ์ของจิต แรกๆทุกข์ไปพร้อมๆกับการเสวยอารมณ์มากเลย ก็ดูๆไป ดูไปเรื่อยๆ แล้วมันก็เรียนรู้จากการทำซ้ำๆอัตโนมัติ ใจมันก็ค่อยๆถอนออกมาเป็นคนเฝ้าดูเอง เฝ้าดู จิตเสวยอารมณ์กับกายที่แสดงกระทำกิริยาอยู่ ก็ได้แต่เฝ้าดูเท่านั้น..ทำอย่างนี้มาเรื่อยๆ ก็ดูอย่างนี้มาซ้ำๆ บอกแล้ว กรรมฐานที่ดิฉันทำนั้นไม่ได้จำกัดเวลา ทำไปเรื่อยๆ เพราะพอใจที่จะทำ ไม่ได้มีเหตุอันใดมาบังคับว่าต้องทำ แต่ดิฉันพอใจที่จะดูจิตดูกายเอง..ไม่มีเหตุผลว่า ต้องทำเพื่อละนั้นละนี้..นั่นเป็นส่วนปลายที่จะได้..แต่ที่ทำตลอดเวลาที่ลืมตาอยู่เพราะพอใจที่จะทำ เลยไม่เคยคิดว่ามันเหนื่อย มันเยอะ มันหนักอะไร เพราะเรายังมีลมหายใจ นั่งท่าไหน นอนท่าไหน เดินท่าไหนก็ทำได้

ในส่วนที่ดิฉันหลงนั้น ดิฉันได้ท่านผู้รู้ในนี้ได้สะกิดให้ดิฉันเห็นแล้วว่าดิฉันหลงเพราะอะไร..และดิฉันได้แก้ไขแล้ว กราบขอบพระคุณมา ณ. ที่นี้ด้วยนะคะ กราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่ีเมตตาช่วยเหลือจนหลุดออกมาได้คะ :b8: :b8:


ผมเห็นฟุ้งกันไปฟุ้งกันมาระหว่างจขกทกับผู้เข้ามาแสดงความเห็น
แบบนี้เรียกว่าแย่งกันฟุ้งธรรม เหมือนไปอ่านวรรณกรรมเรื่องอะไรมาสักเรื่อง
แล้วก็มาแย่งกันวิจารณ์วรรณกรรรม แนะนำครับจะปฏิบัติธรรมมันต้องลดเรื่อง
ที่มันปรุงแต่งจนทะลักเป็นตัวอักษรแบบนี้ กายกับจิตหรือกระบวนการขันธฺห้า
มันไม่มีอะไรมาก มันมีแค่ผัสสะ(วิญญาณ) เวทนา สัญญาและสังขารขันธ์

ไอ้ที่คุณอธิบายเรื่องการปฏิบัติของคุณมามันเป็นเรื่องของการปรุงแต่งทั้งนั้นครับ

ผมอ่านความเห็นของคุณพอเห็นเรื่องธรรมก็มี อาจมีเยอะกว่าที่ผมบอก
แต่เนื่องด้วยคุณพูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง เลยหาประเด็นไม่เจอ

อยากให้ไปทำความเข้าใจใหม่กับเรื่องที่กล่าวเช่น
บอกว่าดูกาย แล้วพูดถึงตับไตไส้พุงเนี่ย ผมว่าคุณหลงไปไกลแล้วครับ มันคนละเรื่อง
เรื่องเวทนาอีกเหมือนกัน บอกมาได้ไงครับว่าเวทนาทางกาย นั่งกรรมฐานแล้วบอกเห็น
เวทนาทางกาย กายก็คือกาย เวทนาก็คือเวทนามันคนละเรื่อง
แค่เรื่องรูปกับนามสิ่งที่จำเป็นต้องรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้น
ยังสับสนได้ แล้วที่บอกว่า ปฎิบัติเรื่อง ธรรมมานุปัสสนา ผมถามว่าจริงหรือครับ
แค่เรื่องกายานุปัสสนายังพูดผิดพูดถูก เรื่องที่สูงกว่านี้คุณทำได้หรือครับ


อีกอย่างเรื่องช่างมันหรือสักแต่ว่า ไม่ใช่มันเกิดอะไรขึ้นที่กายใจแล้ว
จะใช้วิธีช่างมันหรือสักแต่ว่าได้นะครับ ใครทำมันก็ได้แค่หลงหรือคิดเอาเองครับ
การจะใช้ช่างมันหรือสักแต่ว่าได้ มันต้องมีเหตุปัจจัยมาก่อน
นั้นก็คือรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงมาแล้ว คือปัญญานั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 09:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
อ้างคำพูด:
ทำไมคุณสายลมที่พัดผ่านไปทำเพียงเพ่งดูหรือรู้อย่างเดียวทำไมคุณไม่นำวิปัสสนามาใช้คุณก็เห็นนี่คะเวทนาที่เกิดขึ้นกับคุณทั้งทางกายและทางจิตมันดับไปมันแสดงสภาวะของการเกิดดับของเวทนาให้คุณเห็นอยู่แล้วนี่คะเพียงแต่คุณต้องพิจารณาให้เห็นชัดเพิ่มขึ้นไป ทบทวนดูว่าเวทนากายมันเคยเกิดอย่างไรมันคงทนถาวรมั้ยที่สุดมันได้ดับไปไหม เวทนาจิตก็เช่นกันก่อนนั้นคุณเคยรับรู้เวทนาทั้งทางกายและทางจิตแต่ในปัจจุบันนี้เวทนาจิตมันดับไปให้คุณเห็นอย่างไรดังที่คุณรู้สึก
รวมทั้งนิมิตกายที่คุณเพิกมันไปได้ทั้งหมดนั้นด้วยว่าในส่วนของรูปที่เคยเห็นมันเกิดขึ้นมาอย่างไรและดับไปได้อย่างไรในที่สุด


:b32: :b32: โอ้ยขำตัวเอง :b32: :b32: ตอบนอกจุดประสงค์อีกแล้ว :b9: :b9:

ยังไมไ่ด้ตอบทางจิตใช้ไหมคะ :b12: :b12: ขอโทษนะคะ :b8: บทจะพร่ามนี่ เยอะๆ :b32: :b32:

หลังจากดูกายแล้ว ก็เริ่มฝึก เวทนา จิตตา และะธรรมา พร้อมๆกัน เพราะทั้ง 3 หมวดเกิดที่จิตเราทั้งนั้นก็ดูๆไป พอคล่อง ก็ค่อยๆเริ่มดูทั้งกายและจิต กายนั้นเฉยๆกันมัน ก็แค่ดู เห็น รู้แต่ไม่สนใจกาย เห็นทุกอย่างของกายไม่ว่า จะกายขยับ เห็นตับไตไส้พุง เห็นทุกๆอย่างแต่ใจมันเฉยไม่แยแส..ก็เห็นพร้อมๆเห็นจิตนั่นแหละ แต่กายสติรู้มันไม่แยแส สติรู้ไปดูที่จิต ดูการเสวยอารมณ์ของจิต แรกๆทุกข์ไปพร้อมๆกับการเสวยอารมณ์มากเลย ก็ดูๆไป ดูไปเรื่อยๆ แล้วมันก็เรียนรู้จากการทำซ้ำๆอัตโนมัติ ใจมันก็ค่อยๆถอนออกมาเป็นคนเฝ้าดูเอง เฝ้าดู จิตเสวยอารมณ์กับกายที่แสดงกระทำกิริยาอยู่ ก็ได้แต่เฝ้าดูเท่านั้น..ทำอย่างนี้มาเรื่อยๆ ก็ดูอย่างนี้มาซ้ำๆ บอกแล้ว กรรมฐานที่ดิฉันทำนั้นไม่ได้จำกัดเวลา ทำไปเรื่อยๆ เพราะพอใจที่จะทำ ไม่ได้มีเหตุอันใดมาบังคับว่าต้องทำ แต่ดิฉันพอใจที่จะดูจิตดูกายเอง..ไม่มีเหตุผลว่า ต้องทำเพื่อละนั้นละนี้..นั่นเป็นส่วนปลายที่จะได้..แต่ที่ทำตลอดเวลาที่ลืมตาอยู่เพราะพอใจที่จะทำ เลยไม่เคยคิดว่ามันเหนื่อย มันเยอะ มันหนักอะไร เพราะเรายังมีลมหายใจ นั่งท่าไหน นอนท่าไหน เดินท่าไหนก็ทำได้

ในส่วนที่ดิฉันหลงนั้น ดิฉันได้ท่านผู้รู้ในนี้ได้สะกิดให้ดิฉันเห็นแล้วว่าดิฉันหลงเพราะอะไร..และดิฉันได้แก้ไขแล้ว กราบขอบพระคุณมา ณ. ที่นี้ด้วยนะคะ กราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่ีเมตตาช่วยเหลือจนหลุดออกมาได้คะ :b8: :b8:


ผมเห็นฟุ้งกันไปฟุ้งกันมาระหว่างจขกทกับผู้เข้ามาแสดงความเห็น
แบบนี้เรียกว่าแย่งกันฟุ้งธรรม เหมือนไปอ่านวรรณกรรมเรื่องอะไรมาสักเรื่อง
แล้วก็มาแย่งกันวิจารณ์วรรณกรรรม แนะนำครับจะปฏิบัติธรรมมันต้องลดเรื่อง
ที่มันปรุงแต่งจนทะลักเป็นตัวอักษรแบบนี้ กายกับจิตหรือกระบวนการขันธฺห้า
มันไม่มีอะไรมาก มันมีแค่ผัสสะ(วิญญาณ) เวทนา สัญญาและสังขารขันธ์

ไอ้ที่คุณอธิบายเรื่องการปฏิบัติของคุณมามันเป็นเรื่องของการปรุงแต่งทั้งนั้นครับ

ผมอ่านความเห็นของคุณพอเห็นเรื่องธรรมก็มี อาจมีเยอะกว่าที่ผมบอก
แต่เนื่องด้วยคุณพูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง เลยหาประเด็นไม่เจอ

อยากให้ไปทำความเข้าใจใหม่กับเรื่องที่กล่าวเช่น
บอกว่าดูกาย แล้วพูดถึงตับไตไส้พุงเนี่ย ผมว่าคุณหลงไปไกลแล้วครับ มันคนละเรื่อง
เรื่องเวทนาอีกเหมือนกัน บอกมาได้ไงครับว่าเวทนาทางกาย นั่งกรรมฐานแล้วบอกเห็น
เวทนาทางกาย กายก็คือกาย เวทนาก็คือเวทนามันคนละเรื่อง
แค่เรื่องรูปกับนามสิ่งที่จำเป็นต้องรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้น
ยังสับสนได้ แล้วที่บอกว่า ปฎิบัติเรื่อง ธรรมมานุปัสสนา ผมถามว่าจริงหรือครับ
แค่เรื่องกายานุปัสสนายังพูดผิดพูดถูก เรื่องที่สูงกว่านี้คุณทำได้หรือครับ


อีกอย่างเรื่องช่างมันหรือสักแต่ว่า ไม่ใช่มันเกิดอะไรขึ้นที่กายใจแล้ว
จะใช้วิธีช่างมันหรือสักแต่ว่าได้นะครับ ใครทำมันก็ได้แค่หลงหรือคิดเอาเองครับ
การจะใช้ช่างมันหรือสักแต่ว่าได้ มันต้องมีเหตุปัจจัยมาก่อน
นั้นก็คือรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงมาแล้ว คือปัญญานั้นเอง


:b8: ขอบคุณคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะเข้ามาเจ๋อสักเล็กน้อย พอเป็นกระสาย :b13: :b13: :b13:

คำว่าดูกาย ไม่ควรจะหมายถึง การเห็นด้วยจักษุ ไม่ว่าจะตาจริง ตาทิพย์ ตาอะไรก็ตามที... การดูจิตก็เช่นกัน ก็ไม่ควรจะหมายถึง การเห็นจิต (จริงๆ คือเจตสิก) แบบเห็นเป็นดวง เป็นอณู เป็นปรมาณู เป็นกลุ่มของแสงอะไรแบบนั้น

การดูกาย ดูจิต ควรจะหมายถึง การ รู้ ถึงความเป็นไปของกายหรือจิต ไม่จำเป็นต้องจำแนกว่า เป็นเวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือขันธ์อื่นใด
การจำแนกขันธ์ เป็นเรื่องของปริยัติเพื่อการตอบคำถาม เพื่อการเขียนตำรา แต่ไม่ใช่เพื่อการปฏิบัติ

การดูกาย ดูจิต แบบเห็นด้วยจักษุ เมื่อทำนานเข้าๆ ก็มักจะเพิ่มความยึดมั่นถือมั่นในตน บ่มเพาะอัตตาว่า ตนวิเศษกว่าผู้อื่น เพราะเห็นในสิ่งที่ผู้อื่นมองไม่เห็น
พอวิเศษหนักๆ เข้า ก็จะเริ่มไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร จะเชื่อจะฟังก็แต่คนที่มีญาณจักษุ ที่เห็นได้มากกว่า ซ่อนตัวจากญาณจักษุของผู้อื่นได้ดีกว่า มีเทคนิควิธีการทางญาณจักษุที่ลึกล้ำกว่า
สุดท้ายก็จะกลายเป็นคนหลงฤทธิ์ ก้าวเข้าสู่แดนเดรัจฉานวิชาไป

เรื่องพวกนี้มีเรื่องเล่ากันอยู่มาก เช่น พระระดับเกจิมายกย่อง ธรรม กัน ด้วยการวัดว่า ใครเห็นใครจากญาณจักษุ ยึดเอาจากมิจฉาทิฎฐิว่า ผู้มีธรรมด้อยกว่า ย่อมมองไม่เห็นผู้มีธรรมเหนือกว่า
พระเกจิที่ซ่อนตัว (แอบ) ได้ดี ก็ได้รับการยกย่องว่า บรรลุธรรมชั้นสูง ทั้งๆ ที่หากมองกันในระดับกิเลสแล้ว ทั้งกลุ่มทั้งก๊วนล้วนจัดเป็น สักกายทิฎฐิ ทั้งสิ้น ไม่ใช่มานะอันเป็นกิเลสระดับอนาคามีเลย
เพราะเรื่องเหล่านี้ เป็นกิเลสอย่างหยาบ เป็นการวัดความเหนือกว่าระหว่างบุคคล ไม่ใช่มานะอันเป็นกิเลสอย่างละเอียดในใจตน (ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น)

เพราะฉะนั้น จะดูกายดูจิตด้วยญาณจักษุ ก็พึงระวังให้มาก จะกลายเป็นบ่มเพาะอัตตาโดยไม่รู้ตัว...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 13:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ในส่วนของดิฉันคิดว่า เมื่อยังมีลมหายใจ การวัดผลว่าตัวเองว่าอยู่ระดับไหนนั้น วัดผลกันไม่ได้หรอกคะ ต้องวัดผลตอนตายทีเดียว ถึงจะชัด เป็นการสอบไล่ในครั้งเดียว ผ่านก็คือผ่าน ไม่ผ่านก็มาสะสมบารมีกันต่อไป

เหตุที่พูดอย่างนี้ เพราะเราทุกๆคนที่ยังเดินในเส้นทางธรรมนี้อยู่ ต่างก็ยังหลงกันทั้งนั้น หลงในเส้นทางเดินของตนเองกันทุกคน และต่างคนต่างมีเส้นทางเดินเป็นของตัวเอง เนื่องจากแต่ละคนสะสมบุญสะสมกรรมมาต่างกัน ทุกๆคนจึงมีเส้นทางเดินไม่เหมือนกัน...ปัจจัตตัง

เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ยังหายใจ ในส่วนตัวแล้ว ดิฉันมีแค่หน้าที่ปฏิบัติไปสะสมไป ในเส้นทางของตน มีหน้าที่เรียนรู้ และแก้ไขเส้นทางเดินของตนให้ถูกทาง ให้มีสัมมาสติและสัมมาทิษฐิอยู่เสมอ เมื่อใดพลาดหรือผิดหรือหลง เมื่อเรารู้ตัว เราตั้งลำให้ตรงและเดินต่อไป จนกว่าจะตาย...จนถึงวันที่ได้สอบไล่จริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue tongue tongue


กราบคุณmurano และสวัสดีคุณโฮฮับด้วยค่ะ ขอบพระคุณที่มาให้คำแนะนำ
กับ จขกท. ร่วมด้วยกันน่ะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสายลมที่พัดผ่านไปเขียน

“ดิฉันไม่แน่ใจว่าจะตอบได้ตรงประเด็นของคุณวรรณหรือไม่นะคะ แต่จะพยายามตอบให้ตรง เพราะดิฉันรู้ข้อด้อยของตัวเองดีในการสื่อสารนะคะ ว่าตัวเองแย่แค่ไหน

เวทนาทางกายในชีวิตประจำวัน ดิฉันเห็นมันเสมอ เห็นมันจากความเป็นจริงคือเห็นตั้งแต่เป็นเด็กเลย เนื่องจากดิฉันป่วยเป็นปกติ คือ ป่วยอยู่เป็นประจำและเสมอๆ ดิฉันเรียนรู้เรื่องนี้โดยธรรมชาติ ตอนเด็ก ดิฉันเห็นความปวดในกาย แต่ดิฉันไม่รู้ตัวหรอก รู้แต่ว่า มันทุกข์ ทำไมชีวิตมันทุกข์อย่างนี้ อยากเป็นก้อนหินจังจะได้ไม่รู้สึก ความรู้สึกนี้มีมาตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ ยิ่งโตขึ้นยิ่งป่วยหนักขึ้นตามลำดับ พออายุ 18 เริ่มปฎิบัติธรรมก็ยิ่งป่วยอยู่เสมอ แต่ก่อนปวด จิตเราก็ทุกข์กับมัน ปวดไปก็ภาวนากำหนดดูความปวดไปเรื่อยๆ ภาวนาดูความปวดจนหลับ ก่อนตื่นจะรู้สึกปวดจนต้องตื่นขึ้นมา และก็ดูความปวดนั้นต่อ ช่วงนั้นดิฉันใช้สมถะเพื่อบรรเทาความปวด นี่หมายถึงหาหมอไปด้วย ใช้ยาและภาวนาช่วยด้วยอย่างนี้เสมอๆ มันเป็นอย่างนี้ไปเรือ่ยๆ ระหว่างนั้นก็ทำสมาธิไปเรื่อยๆ จิตมันปรับของมันเอง จิตเรียนรู้ที่จะวางกายเกี่ยวกับความปวดของมันเอง อยู่ๆมาวันหนึ่ง เมื่อกายป่วย จิตไม่เคยป่วยและปวดตามกาย...เอ ดิฉันออกนอกเรื่องไปหรือป่าวคะ
ตั้งแต่เริ่มปฎิบัติก็จะฝึกกรรมฐาน แนว กรรมฐาน 40 ตอนนั้นไม่รู้หรอก รู้แค่ว่า เวลากายเราป่วยใจเราไม่ป่วยไปด้วย ก็ปฎิบัติและเป็นอย่างนี้มาเรื่อยๆ เพิ่งมาเริ่มพิจาณากาย แบบมหาสติเมื่อ กลางปีก่อนนี้เอง..พิจารณาทุกอย่างในหมวดกายานุปัสสนาสติ โดยเวลาทำสมาธิก็ใช้การเดินจงกลมเป็นหลักในการพิจารณา ระหว่างวัน ก็พิจารณา ปฎิกูลบรรพ ธาตุบรรพ นวสี ทำสลับไปสลับมา บางทีก็เปลี่ยนไปดู อิริยาบทบรรพบ้าง..กรรมฐานที่ดิฉันทำนั้น ไม่ได้กำหนดเวลาอะไร เพราะตอนนี้ ธรรมะของดิฉัน คือลมหายใจของดิฉัน นี่เป็นนิยามส่วนตัวของตัวเอง ดิฉันไม่เก่งศัทพ์ธรรมนัก แต่ดิฉันแปลของดิฉันอย่างนี้ ธรรมะคือลมหายใจ เมื่อดิฉันยังมีลมหายใจ ทุกอย่างสามารถปฎิบัติได้เสมอๆ ไม่ต้องตั้งท่าใดๆ ดิฉันทำแบบนี้ไปเรื่อยๆคะ จนถึงวันหนึ่ง ดิฉัน ก็มองหาเครื่องในของตัวเองไม่เจอ ถ้าเวลาเดินจงกรมที่ใช้สมาธิจริงๆจังจะมองไม่เห็นเครื่องใน แต่ถ้า ทำตัวปกติรู้ลมเข้าออกปกติก็จะเห็นกายในอยู่เสมอ แต่ถ้าตั้ง่ท่าเมื่อใด จะมองไม่เห็น มันจะกลวง ทำให้พิจาณาไม่ได้ ยาวไปไหมคุณวรรณ ดิฉันไม่เก่งศัทพ์ธรรมเลย ได้แต่ปฎิบัติเอา เอาสังโยชน์เป็นเกณฑ์ในการเดิน ก่อนที่จะมาปฎิบัติ มหาสตินั้น ดิฉันทุกข์มาก เมื่อดิฉันทุกข์และมาพิจารณากาย ดิฉันก็พิจารณาเข้าในหมวดของไตรลักษณ์ ...”




ตอบคุณสายลมที่พัดผ่านไป การปฎิบัติในส่วนนี้ก็เป็นสิ่งที่ถูกแล้วนี่คะการพิจารณากายเข้าในหมวดของไตรลักษณ์ การมองเห็นภายในอยู่เสมอ การเห็นจิตของตัวเองสีแดงๆ และเห็นภายในของบุคคลอื่นๆ ด้วยก็เป็นธรรมดาของคนพิจารณากายย่อมต้องเห็นกายจะเป็นภายในหรือภายนอกหยาบหรือละเอียดพระพุทธองค์สอนให้พิจารณาดังนี้ค่ะ

“... ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา...” ดังรายละเอียดด้านล่างนี้


ราธสูตร
ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย
[๑๔๗] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้เห็นอย่างไร
จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่ง สังขาร เหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญา
อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้
และในสรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระ-
*อรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๙.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


จริงๆ แล้วคุณสายลมที่พัดผ่านไปใช้สังโยชน์มาวัดผลการปฎิบัติอยู่ไม่ใช่หรือคะ
การติดในรูปฌานนี้ก็เป็นสิ่งที่คุณจะต้องใช้วิปัสสนาพิจารณาให้หมดไป ไม่ใช่หรือคะ


ดังนั้นในช่วงนี้
เมื่อคุณเห็นรูปนิมิตไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในส่วนต่างๆ หรือจิต คุณต้องใช้วิปัสสนาที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ทุกครั้งว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา จนกว่ารูปนิมิตจะหมดไป ก็ทำเหมือนที่คุณพิจารณากายโดย
ใช้พระไตรลักษณ์ให้รวมมาถึงนิมิตต่างๆ ด้วยคุณควรใช้พระไตรลักษณ์วิปัสสนาไปด้วย
ที่สุดจะทำให้คุณตัดรูปฌานออกไปได้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับการพิจารณาทุกขเวทนาคุณสายลมที่พัดผ่านไปนำคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้มาใช้พิจารณาก็แล้วกัน พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ดิฉันสรุปมาให้สั้นๆเพื่อใช้ง่ายๆไปก่อนนะคะคือเมื่อคุณสายลมที่พัดผ่านไปประสบกับทุกขเวทนาก็ให้พิจารณาว่าทุกขเวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัส ๖เป็นปัจจัยว่าเป็นของไม่เที่ยง พอประสบกับเวทนาอื่นๆ ก็พิจารณาให้เป็นของไม่เทียง ไปก่อนนะคะ
จริงๆ แล้วอยากให้คุณอ่านเพิ่มเติมดังรายละเอียดที่อ้างมานี้ค่ะแต่ถ้ายากไปก็
พิจารณาแค่นี้ไปก่อนก็แล้วกันค่ะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0











คุณสายลมที่พัดผ่านไปเขียน
“...มองกายตัวเอง เห็นแล้ว หันไปมองกายคนอื่น ว่าเป็นอย่างกายเราไหม มองไปเครื่องในเค้าเหมือนเราไหม มันก็ไม่ต่างกัน เราทุกข์ เค้าทุกข์ไหม ทุกอย่างเหมือนกัน อ่อ มันเป็นธรรมดานี่เอง การเกิดมันทุกข์กันทุกคน เราทุกข์นั้นไม่ได้ผิดปกติอะไร เป็นธรรมดาที่คนเกิดมาต้องทุกข์

มองไปรอบกาย เห็นคนเขาจูงมือกัน เป็นครอบครัว ทำไมเราดูเขาว่า เขาทุกข์นะ มองไปเห็นคนงานนั่งเฝ้าหน้าร้าน เรามองเขาว่าเขาทุกข์ทั่งๆที่เค้าก็นั่งเฉยๆ เราเห็นคนหัวเราะ ยิ้มแย้ม ทำไมเรามองเค้าว่าเค้าทุกข์นะ ทุกข์มีทุกที่เต็มไปหมด มองย้อนกลับมาที่ตัวเอง แค่หายใจเราก็ทุกข์ มองไปในกาย ไม่มีตรงไหนสวยงาม มีแต่ความเสื่อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา...ในการมองคนอื่นว่าทุกข์นั้น ไมไ่ด้เกิดจากการคิดหรือพิจารณา แต่มันเกิดคล้ายๆกับว่า เราเห็น 1+1=2 มันจะ 2 ทั้งที่โดยเราไม่่ต้องคิดว่า มันเป็นยังไง มันถึงได้2 มันเห็นเป็นอัตโนมัติ เห็นว่า เค้าขี่มอไซด์ซ้อนกันผ่านหน้าเราครบพ่อแม่ลูก เราเห็นว่าทุกข์ เราเห็นคนเดินเฉยๆ ใจมันไมไ่ด้พิจารณา แต่มันชัดแก่ใจว่า เขาทุกข์ เขาทุกข์แล้วเราหล่ะ ก็ทุกข์เหมือนกัน …”




ตอบคุณสายลมที่พัดผ่านไป จริงๆ แล้วมันจะได้ประโยชน์อะไรไหมในการมองและคิดปรุงเพิ่มขึ้นมาโดยเทียบกับตัวของเรา แม้จะเป็นอวัยวะภายในของคนอื่นที่เราเห็นหรือความสุข ความทุข์ของคนอีนๆ ก็ตาม

ครูบาอาจารย์หลายท่านได้สอนให้เรามองเพียงกายและใจของเราเองเท่านั้นจะได้ประโยชน์กว่า

ถ้าไปดูคำสอนของพระพุทธองค์พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสสอนให้เราไปเปรียบเทียบกับใครเขาไม่ว่าเรื่องไหนๆ พระพุทธองค์สอนให้มองเพียงว่าขันธ์ของเราและขันธ์ของคนอื่นหรือขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งควรพิจารณาเหมือนเดิมอีกนั่นแหละค่ะ ดังนี้


“...ท่านพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่
เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา
ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสายลมที่พัดผ่านไปเขียน
“...เมื่อถึงตอนนี้ก็จะพิจารณาต่อว่า เราทุกข์ขนาดนี้ เราเข็ดทุกข์แล้ว(เรื่องเข็ดทุกข์นี่เข็ดจริงๆ) เราเข็ดการเกิดแล้วเพราะเีราเกิดนี่เองเราถึงทุกข์ แต่เมื่อตอนนี้เราเกิดมาแล้วและทุกข์และเข็ดทุกข์แล้ว ขอให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายก็แล้วกัน เพราะเรารู้แล้วว่าทำอย่างไร เราถึงจะเดินไปถึงจุดที่หลุดจากความทุกข์ตลอดกาลได้..ทุกครั้งที่ทุกข์ จะพิจารณาไปจบที่พระนิพพานเสมอ อุปสมานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ให้กำลังใจดิฉันได้เสมอ ตอนที่ดิฉันเหนื่อยหรือทุกข์มาก ดิฉันจะเปลี่ยนไปใช้อุปสมานุสสติเพื่อเป็นการพักใจพักกาย เมื่อหายเหนื่อยมีกำลังใจดิฉันก็
กายดูจิตต่อ
โอ้ย..ยาวๆ เอ..มันเพ้อไปไหม..มันปรุงคิดไปเองไหม...เราหลงไหม...เราเอาของคนอื่นมาไหม มาตัดต่อไปเป็นของตัวเองไหม...นานาจิตตังนะ...
เอ..หรือเราตอบไม่ตรงจุดอีกแล้ว 555 ถ้าไม่ตรงจุดขอโทษนะ ”


จริงๆ แล้วในสังสารวัฎฎ์ที่นับต้นไม่ได้นี้เราคงเคยเป็น เพื่อน ญาติ พ่อ แม่ พี่ น้อง กันมาบ้าง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเกิดแต่เหตุ คงจะมีบ้างที่เราอาจไปเข้าใจใครผิดไว้จึงได้รับผลอันนั้น อย่าคิดมากก็แล้วกันนะคะ นี่ก็ยาวมากๆ แล้วในส่วน
อื่นๆ ค่อยปฎิบัติเป็นขั้นๆ ไป ก็แล้วกันนะคะ จริงๆ แล้วดิฉันอยากให้คุณอ่านพระสูตรเพราะถ้าเราไม่รู้ชัดในธรรมของสัตตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตตบุรุษแล้ว เราจะเดินไปถูกทางได้อย่างไร พยายามหน่อยนะคะเพื่อเป็นพื้นฐานให้กับ
ตัวเราเองที่จะปฎิบัติไปด้วยความมั่นใจได้น่ะค่ะ ถ้าเรารู้ชัดในธรรมของสัตตบุรุษและปฎิบัติถูกคุณก็คงจะถึงซึ่งที่หมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตอบคุณสายลมที่พัดผ่านไป การปฎิบัติในส่วนนี้ก็เป็นสิ่งที่ถูกแล้วนี่คะการพิจารณากายเข้าในหมวดของไตรลักษณ์ การมองเห็นภายในอยู่เสมอ การเห็นจิตของตัวเองสีแดงๆ และเห็นภายในของบุคคลอื่นๆ ด้วยก็เป็นธรรมดาของคนพิจารณากายย่อมต้องเห็นกายจะเป็นภายในหรือภายนอกหยาบหรือละเอียดพระพุทธองค์สอนให้พิจารณาดังนี้ค่ะ


คุณวรรณคะ เวลาที่ดิฉันพิจารณากายและจิต ดิฉันไม่เคยเห็นจิตตัวเองเป็นสีแดงคะ..ในการเห็นที่ดิฉันบอกว่า พิจารณาดูกายเห็นตับไตใส้พุงนั้น เห็นจากจิตที่รู้ รู้ว่าตับนั้นมันสกปรก จิตรู้ว่า กล้ามเนื้อมันหด จิตรู้ว่า กระดูกนั้นสกปรก เป็นธาตุดิน จิตรู้ว่า เลือดข้นๆแดงในกายนี้เป็นธาตุน้ำ จิตรู้ว่า เมื่อกายเมื่อธาตุลมดับ ธาตุน้ำก็จะไหลออกจากทวารทั้งเจ็ด จิตรู้ว่า เมื่อกายเน่าขึ้นอืด มันก็ไม่ต่างจากหมาที่ถูกรถชนตายข้างถนน มีหนอนชอนไชไม่ต่างกัน

การเห็นกายในกายนั้น ใช้จิตสัมผัสและรู้สึก ไม่ได้ใช้ตาใดๆมอง


จริงๆ แล้วคุณสายลมที่พัดผ่านไปใช้สังโยชน์มาวัดผลการปฎิบัติอยู่ไม่ใช่หรือคะ
การติดในรูปฌานนี้ก็เป็นสิ่งที่คุณจะต้องใช้วิปัสสนาพิจารณาให้หมดไป ไม่ใช่หรือคะ


อ้างคำพูด:
ดังนั้นในช่วงนี้
เมื่อคุณเห็นรูปนิมิตไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในส่วนต่างๆ หรือจิต คุณต้องใช้วิปัสสนาที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ทุกครั้งว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา จนกว่ารูปนิมิตจะหมดไป ก็ทำเหมือนที่คุณพิจารณากายโดย
ใช้พระไตรลักษณ์ให้รวมมาถึงนิมิตต่างๆ ด้วยคุณควรใช้พระไตรลักษณ์วิปัสสนาไปด้วย
ที่สุดจะทำให้คุณตัดรูปฌานออกไปได้ค่ะ


:b8: ขอบคุณคุณวรรณที่แนะนำคะ :b8: ถ้าดิฉันบอกว่าดิฉันไม่ติดรูปฌาน คุณวรรณจะเชื่อหรือป่าวคะ ถ้าคุณวรรณพูดกับดิฉันเมื่อ 2 ปีก่อน ดิฉันจะไม่แย้งสักคำ เพราะก่อนนั้น ดิัฉันมีความทะยานอยากที่จะได้ฌานมาก มุ่งมั่นทุกวัน ใช้ความพยายาม ความเพียรอย่างหนัก เพื่อทำฌานให้มันเกิด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดิฉันได้กลับไปสำรวจตัวเองในเรื่อง วิปัสสนู 10 ปรากฏว่า ดิัฉันติดวิปัสสนู10 ทุกข้อเลย ตลอดเวลาที่ผ่านมาหลายปี ดิฉันติดวิปัสสนู10 มาตลอด ข้อนั้นบ้าง ข้อนี้บ้าง ไปๆมาๆ สำรวจจนครบ10 ปรากฏว่า เคยติดมาทุกข้อของวิปัสสนู10

เมื่อเวลาผ่านไปได้สำรวจตรวจตราข้อผิดของตัวเอง เมื่อนั้นกลับสำนึกได้ว่า สมาธินั้น ทำเพื่อให้เกิดความสงบของจิตเท่านั้น เมื่อเปลี่ยนความคิดได้ว่า ทำเพื่อความสงบของจิต ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป...ตอนนี้ รูปฌานหรือสมาธินั้น ดิฉันอาศัยเพียงเพื่อสะสมบารมี10 เท่านั้น เป็นแค่ทางผ่าน ทำเพื่อให้สมถะสะสมในตัว เมื่อถึงเวลานึง วิปัสสนาญานก็จะมาเอง..พูดไปคุณวรรณ คงว่าเวอร์อีกแน่ๆ..เหตุใด ดิฉันถึงเคยพูดว่าเพิ่งเข้าใจว่า กายและจิตก็ไม่ต่างจากสมาธิที่เป็นแค่เรือส่งเราให้ถึงฝั่งเท่านั้น เมื่อถึงฝั่งเราก็ไม่ต้องใช้มัน...ที่ดิฉันพูดอย่างนี้ และเริ่มช่างมันได้ เพราะใจมันเห็นแจ้งในตัวแล้วว่า กายกับจิตไม่ต่างจากสมาธิ เราแค่ใช้มันเป็นตัวผ่านไปวิปัสสนาเฉยๆเพื่อให้เราค่อยๆวางทุกอย่างลง ปล่อยมันออกไป การทำสมาธิของดิฉันตอนนี้เพียงเพื่อสะสมให้เกิดบารมี10 เท่านั้น...ดิฉันสื่อความหมายได้ยากจริงๆ...ดิฉันคุยกับคุณวรรณอย่างเพื่อน คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น..พูดออกจากใจ..คุณวรรณคงว่า เพื่อนคนนี้ปรุงและคิดขึ้นมาอีกใช่ไหม..เฮ้อ..นานาจิตตังนะ..และทุกอย่างเป็นปัจจัตตังด้วยนะ พูดได้แค่นี้แหละคุณวรรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 20:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
คุณสายลมที่พัดผ่านไปเขียน
“...เมื่อถึงตอนนี้ก็จะพิจารณาต่อว่า เราทุกข์ขนาดนี้ เราเข็ดทุกข์แล้ว(เรื่องเข็ดทุกข์นี่เข็ดจริงๆ) เราเข็ดการเกิดแล้วเพราะเีราเกิดนี่เองเราถึงทุกข์ แต่เมื่อตอนนี้เราเกิดมาแล้วและทุกข์และเข็ดทุกข์แล้ว ขอให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายก็แล้วกัน เพราะเรารู้แล้วว่าทำอย่างไร เราถึงจะเดินไปถึงจุดที่หลุดจากความทุกข์ตลอดกาลได้..ทุกครั้งที่ทุกข์ จะพิจารณาไปจบที่พระนิพพานเสมอ อุปสมานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ให้กำลังใจดิฉันได้เสมอ ตอนที่ดิฉันเหนื่อยหรือทุกข์มาก ดิฉันจะเปลี่ยนไปใช้อุปสมานุสสติเพื่อเป็นการพักใจพักกาย เมื่อหายเหนื่อยมีกำลังใจดิฉันก็
กายดูจิตต่อ
โอ้ย..ยาวๆ เอ..มันเพ้อไปไหม..มันปรุงคิดไปเองไหม...เราหลงไหม...เราเอาของคนอื่นมาไหม มาตัดต่อไปเป็นของตัวเองไหม...นานาจิตตังนะ...
เอ..หรือเราตอบไม่ตรงจุดอีกแล้ว 555 ถ้าไม่ตรงจุดขอโทษนะ ”


จริงๆ แล้วในสังสารวัฎฎ์ที่นับต้นไม่ได้นี้เราคงเคยเป็น เพื่อน ญาติ พ่อ แม่ พี่ น้อง กันมาบ้าง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเกิดแต่เหตุ คงจะมีบ้างที่เราอาจไปเข้าใจใครผิดไว้จึงได้รับผลอันนั้น อย่าคิดมากก็แล้วกันนะคะ นี่ก็ยาวมากๆ แล้วในส่วน
อื่นๆ ค่อยปฎิบัติเป็นขั้นๆ ไป ก็แล้วกันนะคะ จริงๆ แล้วดิฉันอยากให้คุณอ่านพระสูตรเพราะถ้าเราไม่รู้ชัดในธรรมของสัตตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตตบุรุษแล้ว เราจะเดินไปถูกทางได้อย่างไร พยายามหน่อยนะคะเพื่อเป็นพื้นฐานให้กับ
ตัวเราเองที่จะปฎิบัติไปด้วยความมั่นใจได้น่ะค่ะ ถ้าเรารู้ชัดในธรรมของสัตตบุรุษและปฎิบัติถูกคุณก็คงจะถึงซึ่งที่หมาย


ดิฉันไม่ได้คิดคะคุณวรรณ เมื่อดิฉันเห็นทุกข์ นั้น ทุกข์นี้ก็อยู่ในไตรลักษณ์ไม่ใช่หรือคะ เหตุใดถึงตีความว่าดิฉันคิดมาหรือปรุงเอง..มองไปในความเป็นจริง เมื่อมองในกายแล้ว ก็ต้องมองนอกกาย พิจารณาจาก ส่วนที่อยู่ไกล้ที่สุด และพิจารณาแผ่ออกไปไกล้ตัว และพิจารณาออกไปไกลด้วย จากในสุดพิจารณษออกไปนอกสุด และจากนอกสุดพิจารณาเข้ามาในสุด ถือ กายของเรา จิตของเรา ...พิจารณากายของเรา พิจารณากายคนอื่น ว่าเป็นความจริงเหมือนกันไหม ตรงกันไหม พิจารณาไตรลักษณ์ เรื่อง ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา ในกายของเราแล้ว ก็พิจารณา ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา ในกายคนอื่นว่า เป็นจริงอย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ว่าไว้จริงไหม

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัส สอนไว้ว่า จงอย่าเชื่อ เพียงเพื่อเราตถาคตเป็นผู้บอก จนเชื่อเมื่อได้ปฎิบัติและพิสูจน์แก่ตนแล้วจึงเชื่อ นี่เขียนแบบคร่าวๆตามความเข้าใจนะคะ

ดิฉันก็แค่ทำตามคำสั่งสอนของท่าน ว่า จริงหรือ เราทุกข์คนอื่นเข้าทุกข์ไหม เราอนิจจัง คนอื่นอนิจจัง ไหม เราตายกลายเป็นอนัตตาไปในที่สุด เค้าเป็นอย่างเราไหม...ทุกอย่างไม่ว่าเราจะพิจารณาอะไร มันลงไปที่ ทุกข์ อนิจจัง และ อนัตตาได้ทั้งหมด เราถึงเชื่อ ดิฉันก็แค่พิจารณาตามท่าน

ดิฉันคิดในขอบเขตของธรรม ในขอบเขต ก็การดูตามความเป็นจริง ดิฉันไมได้ฟุ้งออกไปนอกเรื่องของธรรม ไม่ว่าที่ใด ภูเขา ต้นไม้ ตีกราม บ้านช่อง ทุกอย่าง สามารถลงที่ ไตรลักษณ์ได้จริงไหม ก็พิจารณาตามความเป็นจริง ไม่ได้คิดมากอะไร ถึงจะทุกข์ ก็เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ไม่ใช่หรือ คือดิฉันเห็นส่วนหนึ่งของไตรลักษณ์แล้ว ทุกข์ตัวนี้ใช่ทุกข์ใน อริยสัจจ์ไหม ก็ทุกข์ตัวเดียวกัน เหตุใด เมื่อดิฉันเห็นแล้ว ดิฉันจะปล่อยของมีค่าอย่างนึ้หลุดมื่อไป

ในการปฎิบัติ เราปฎิบัติเพื่อกระเทาะ กิเลส กิเลสที่หลอกล่อเราว่า การเกิดนั้นสุข การอยู่นั้นสุข การตายทั้งทุกข์ ทุกคนดิ้นรน เพื่อให้ตัวเองอยู่ในโลกนี้นานๆ หาทางให้ตัวเองมีชีวิตยืนยาว ด้วยยึดมั่นว่า กายนั้นคือของเรา กายนั้นเป็นของเรา เราต้องถนอมกายไว้นานๆ...นั่นเพราะเขายึดถือยึดมั่น มีกิเลสในตัวในตน...เมื่อเราๆท่านๆปฎิบัติเพื่อกระเทาะเปลือกของกิเลสออกในส่วนหยาบ ส่วนกลาง ส่วนละเอียดแล้วแต่บุญบารมีของแต่ละคน เมื่อนั้นเราจะเห็นไตรลักษณ์ คือเห็นทุกข์..ไม่ว่าจะเห็นอะไรก่อนหลัง เมื่อเห็นตัวนึง อีกสองตัวก็จะตามมาเอง เมื่อเห็นทุกข์ เราก็พิจาณาว่า มันจะอนิจจัง จริงๆหรือ มันจะอนัตตาจริงๆไหม เราไมไ่ด้ใช้สมองในการอ่านๆจำๆ ว่ามาจริง เราพิจารณาตามความเป็นจริง นี่เค้าเรียกว่าปัญญาไม่ใช่หรอ แต่เป็นแบบบ้านๆ แต่มันก็เห็นได้เหมือนกัน

แล้วทำไม คุณวรรณถึงบอกให้ดิฉันหยุดหละคะ ในเมื่อดิฉันเห็นทุกข์ ซึ่งเป็นหนึ่งในไตรลักษณ์และอริยสัจแล้ว นี่ยังไม่รวม เป็น หนึ่งในโลกธรรมทั้งแปดด้วย

นี่คุยกันอย่างเพื่อน ด้วยความจริงใจ พูดออกจากใจ ไม่ได้คิดจะโอ้อวดอะไร เล่าตามความรุ้สึกนึกคิดของตัวเองนะคะ เลยมาชี้แจงให้เพื่อนฟัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 21:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโทษนะคุณวรรณ อ่านไปอ่านมางง ตอบไปผิดกระทู้ ผิดจุดประสงค์บ้าง แต่คงไม่แก้อะไร...ในส่วนของหมวดธรรมนั้น ทุกธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นธรรมที่เกื้อหนุนกันและกัน ไม่มีธรรมใดขัดแย้งกันเอง..ในหมวดของการเดินก็เช่นกัน กรรมฐาน40 ทำไมต้องมีทั้ง 40 กอง ก็เพื่อให้ตรงกับจริตของแต่ละคน และทำไมต้องมีมหาสติอีก ก็เพื่อให้ตรงกับจริตของผู้ปฎิบัตินั้นๆ ทุกกองทุกหมวดธรรม ไม่สามารถทิ้งกันได้เลย ทุกธรรมนั้นเกื่้อหนุนกัน อารมณ์คนก็ไม่ได้เป๊ะไปตลอดทั้งวัน หรือ เหมือนกันในทุกๆวัน จึงเป็นเหตุที่ว่า มีกรรมฐานกองนั้นกองนี้ขึ้นมา

เมื่อจิตผูกกับธรรม ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ดีแล้วไม่ใช่หรือ เมื่อจิตผูกกับกุศล จิตผูกกับที่ใด เมื่อตายก็ไปที่นั่น ยกเว้น เราทำกรรมหนักๆ ที่ต้องดิ่งลงนรกเลย...ถ้าเราไม่ได้ทำกรรมหนักขนาดนั้นแล้ว จิตทุกคน เมื่อจะตาย จิตผูกที่ไหน ก็ไปที่นั่น...การที่จิตผูกไว้กับพระนิพพาน มันไม่ดีหรือ ทำไมดิฉันจะคิดไม่ได้ เมื่อเวลาจริงๆเราวัดกันก่อนตาย ...ก็สะสมเล็กสะสมน้อยไปในเส้นทางของตน ใครสะสมมาอย่างไรก็เดินไปอย่างนั้น ใครเก็บมาอย่างไรก็เก็บต่ออย่างนั้น..เพราะแต่ละคนสะสมมาไม่เหมือนกัน..

ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สั่งสอนมาทุกหมวดทุกหมู่ เพื่อต้องการขนเหล่าหมู่สัตว์ทั้งหลายไปสู่พระนิพพาน เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะ เพื่อที่จะได้พ้นทุกข์ ดิฉันก็แค่ใช้ หมวดๆเดียวของกรรมฐาน40 เพื่อผูกใจตัวเองไว้ที่พระนิพพาน..เมื่อดิฉันเหนื่อยกายเหนื่อยใจ หายท้อ ดิฉันก็มาดูกาย ดูจิต ต่อไป...

แปลกใจ ความต่างในการเดิน มันทำให้เราดูเพี้ยนดูบ้าดูหลงในสายตาคนอื่นหรือ..ในเมื่อทุกคนมีเส้นทางเป็นของตน..

ความอ่อนน้อม ทำให้ ดูโง่
ความหนักแน่น เด็ดเดี่ยวในเส้นทางของตน ทำให้ ดูมีมานะตัวตน

แต่ก่อนดิฉันวิ่งซะซายในการหาว่า ดิฉันควรทำอย่างไรในเส้นทางของตนดี..มีคนบอกว่า เมื่อตัวเองยังไม่รู้เส้นทางของตัวเอง แล้ว คนอื่นจะรู้ได้อย่างไร...เมื่อเวลาผ่านไป..ดิฉันเริ่มเห็นเส้นทางที่เป็นของตัวเองแล้ว ดิฉันก็กลับกลาย เป็นคนบ้า เป็นคนเพี้ยน เป็นคนหัวแ็ข็ง เป็นคนมีมานะตัวตนไป

ทุกๆคนที่ยังเดินทางสายนี้ก็มีกันทุกๆคน มีอวิชชาครอบงำจิตกันไว้ทุกคน จะมากจะน้อยแล้วแต่บุญวาสนาบารมีที่ได้สะสมกันมา..เราไม่ต่างกัน เราหลง ก็หลงเหมือนกัน เราบ้าก็บ้าเหมือนกัน ต่างคนต่างหลงต่างบ้าในเส้นทางของตัวเอง ต่างคนต่างเพี้ยนในเส้นทางของตัวเองกันทั้งนั้น..ทุกอย่างจึงเป็นธรรมดา..เราคิดอย่างนี้...เราไม่เคยมองออกนอกตัวเอง เรามองแต่ตัวเองว่า เราปฎิบัติอยู่หรือไม่ เส้นทางที่เป็นเส้นทางของเรานั้น เราเดินหลงหรือไหม ผิดไปไหม ผิดแล้วแก้ตรงไหน..เราพยายามช่วยแต่ตัวเอง เพราะเราคิดเสมอว่า...แม่ปูเดินเป๋ เมื่อสอนลูกปูเดิน สอนยังไง ก็ไม่สามารถสอนให้ลูกปูเดินให้ตรงได้..เราต้องช่วยตัวเองก่อน เมื่อตัวเองหลุดพ้นแล้วค่อยช่วยคนอื่น ...แต่นี้เราก็ยังโง่ ในเส้นทางของตนอยู่เราจะช่วยใครได้ ยิ่งช่วยยิ่งพากันหลงใหญ่

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านตรัสรู้แล้ว สมเด็จท่านถึงมาโปรดเหล่าสัตว์ให้พ้นทุกข์...่ดิฉันเอง แค่ผงธุลีดินยังเทียบไม่ได้ แล้วจะไปสอนไปสั่งไปแนะคนอื่นได้อย่างไร ในเมื่อตัวเองก็ยังเดินในเส้นทางของตนเองยังได้ไม่ตรงทาง ดิฉันคิดอย่างนี้ ก็ได้แต่เจียมตัวเองไป


แก้ไขล่าสุดโดย สายลมที่พัดผ่านไป เมื่อ 07 ส.ค. 2012, 22:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2012, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณสายลมที่พัดผ่านไป
ดิฉันต้องขอโทษด้วยค่ะที่เข้าใจผิดว่าสิ่งที่คุณเห็นนั้นเป็นนิมิตที่เกิดจากสมาธิ
ถ้าคุณตอบว่าเป็นการเห็นด้วยจิตรู้ ซึ่งดิฉันไม่เข้าใจสิ่งที่คุณอธิบายนัก จะมีเพียง
ความรู้สึกเป็นห่วงนิดๆ ถ้ามันจะไม่ใช่ทางที่ควรเดิน ดิฉันอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่อง
แบบนี้ก็ได้ค่ะ


(ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มอีกนิด ในความเป็นจริงถ้าเป็นจิตรู้จริงๆ แล้วซึ่งก็คือมีสติเห็นจิตจนเป็นสติปัฎฐาน จิตรู้หรือตัวสตินี้จะเห็นจิตตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป จิตรู้ตัวนี้หรือสติจะวางขันธ์ในส่วนของรูปไปได้แล้ว จิตจะไม่พิจารณาขันธ์ในส่วนของรูปอีกต่อไป คุณ
ยังมีจิตรู้ที่ยังเห็นรูปขันธ์อยู่ ก็น่าประหลาดใจ)


การที่จิตเห็นจิตนี้นั้น จะเริ่มให้เห็นชัดตั้งแต่จิตกระเพื่อม กระเพื่อมไปกระเพื่อมมาอยู่ทั้งวันตั้งแต่
ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป มันมาแสดงตัวของมันเองว่ามันอยู่ตรงนี้บริเวณหัวใจนี้นะอยู่ตลอดเวลา

จากนั้นคุณก็จะเห็นจิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิตคุณจะได้เรียนรู้ลักษณะของกิเลสที่เกิดขึ้นทั้ง
สองแบบนี้ช่วงเวลาหนึ่งจนคุณรู้ชัด

ต่อจากนั้นคุณจะเริ่มเห็นชัดเจนในเรื่องอายตนะ 12 และผัสสะ ว่ากระทบกันอย่างไรทั้งวัน
ตลอดเวลาจนคุณรู้ชัดในเรื่อง อายนะภายใน ผัสสะ และ อายตนะภายนอกทั้งหมด


ต่อมาพัฒนาการของจิตจะเป็นจิตปักแน่น จนถึง จิตเฉย จิตว่าง ซึ่งถึง ณ. จุดนี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่าอายตนะกับผัสสะไม่กระทบกันเป็นอย่างไร


และที่สุดที่จะเห็นชัดเจนขึ้นมาก็คืออาสวะกิเลสทั้ง ราคะ โทสะ โมหะ ก็จะมาปรากฏให้
คุณเห็นชัดๆ ในจิตให้คุณรู้และละไป โดยใช้วิปัสสนาพระไตรลักษณ์


การจะดับรู้ ดับจิตใจ ดับวิญญาณชั้นในนี้ธัมวิจยะมีความสำคัญมาก ขันธ์ ๕ ต้องรู้ชัด กิเลสอาสวะต้องรู้และเห็นชัด การที่จะมาถามว่าจิตเป็นอนัตตาไหมก็ยังคงห่างไกล(เป็นความคิดเห็น
นะคะ)


ดูเรื่องสตินี้เพิ่มเติมได้ใน อานาปานสติสูตร เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นและเป็นภาษาธรรมของพระพุทธองค์จริงๆ
อานาปานสติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

และถ้าจะอ่านให้ง่ายๆขึ้นก็อ่านคำอธิบายเมื่อจิตเห็นจิตของหลวงปู่ดุลย์ ก็ได้นะคะ



การเห็นอริยสัจจ์ ๔ คือเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคมีองค์ ๘ อันจะเป็นปฎิปทาให้คุณก้าวเดินได้อย่างถูกทางได้ ดิฉันก็ขอแสดงความยินดีด้วย


(เพิ่มเติมให้ค่ะ)ทุกขนิโรธสูตร


“...ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัย
จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว-
*ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ
โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับ
แห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๓

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0




อย่างไรก็ตามถ้าคุณยังต้องการเพื่อนคุยทางธรรมอยู่คุณติดต่อดิฉันEmail; seeone190@hotmail.com ก็แล้วกันนะคะ ปกติดิฉันก็ไม่ค่อยใช้คอมฯ มากเท่าไหร่แต่ดิฉัน
จะคุยด้วยกับคุณค่ะ ในฐานะเพื่อนไงคะ


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เมื่อ 09 ส.ค. 2012, 12:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 121 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร