วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 17:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 12:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับคุณ nongkong :b8:
การเจริญมรณะสตินี้ ถ้าทำไปจนสุดแล้ว เมื่อถึงจุดนั้นความรู้อันหนึ่งจะปรากฏขึ้นมาในใจ เมื่อความรู้อันนี้ปรากฏขึ้นความกลัวต่อความตายความพลัดพรากจะตกไป จิตจะกล้าหาญขึ้นจนไม่สะดุ้งไม่หวั่นไหวต่อความเป็นความตาย...ที่สำคัญพึงเจริญมรณะสติอยู๋เนืองๆเสมอ ถึงแม้จะได้ความรู้อันนั้นมาแล้ว...ขอให้พบกับความสงบจากการเจริญมรณะสติยิ่งขึ้นๆนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:

ที่คุณพระป่าพูดว่า "พึงเจริญมรณะสติอยู่เนื่องเสมอ" ผมว่ามันไม่ถูกต้องนัก
มันต้องใช้"ตามกาล"ถึงจะถูก

และที่บอกว่า จิตจะกล้าหาญไม่สะดุ้งหวั่นไหวต่อความเป็นความตาย
สมมุติว่า มีคนมารังแกผม จนเกิดความแค้นขึ้น แต่ผมยังไม่กล้าไปทำอะไรเขา
เพราะคิดว่ากำลังเรายังสู้เขาไม่ได้ อีกสิบปีก็ยังไม่สาย

ถ้าคุณพระป่ามาให้ผมเจริญมรณานุสติเนื่องๆ มันไม่เป็นการสนับสนุน
ให้ผมรีบลงมือล้างแค้นคนที่มารังแกผมหรือครับ :b32:

สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
ที่ว่าให้ทำอยู่เนืองๆ คือให้ทำอยู่เรื่อยๆ ตามสมควร อย่าให้ขาด อย่าทำลุ่มๆดอนๆ...การนำมาใช้ตามกาลก็ถูกต้องจริงอย่างที่พี่ว่า...เพียงแต่หากรอแต่ให้ถึงกาลที่ประสบแล้วจึงค่อยพิจารณา...มันจะไม่ทันการ...ไม่เหมือนพิจารณานำไปก่อนตั้งแต่กาลแห่งมรณายังมาไม่ถึงครับ

ส่วนข้อกังวลเรื่องล้างแค้นพี่โฮฮับสบายใจได้ครับ ไม่มีเรื่องแบบนั้นเกิดแก่ผู้ที่เจริญมรณะสติจนชำนาญรู้รอบแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับคุณ nongkong :b8:
การเจริญมรณะสตินี้ ถ้าทำไปจนสุดแล้ว เมื่อถึงจุดนั้นความรู้อันหนึ่งจะปรากฏขึ้นมาในใจ เมื่อความรู้อันนี้ปรากฏขึ้นความกลัวต่อความตายความพลัดพรากจะตกไป จิตจะกล้าหาญขึ้นจนไม่สะดุ้งไม่หวั่นไหวต่อความเป็นความตาย...ที่สำคัญพึงเจริญมรณะสติอยู๋เนืองๆเสมอ ถึงแม้จะได้ความรู้อันนั้นมาแล้ว...ขอให้พบกับความสงบจากการเจริญมรณะสติยิ่งขึ้นๆนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:

ที่คุณพระป่าพูดว่า "พึงเจริญมรณะสติอยู่เนื่องเสมอ" ผมว่ามันไม่ถูกต้องนัก
มันต้องใช้"ตามกาล"ถึงจะถูก

และที่บอกว่า จิตจะกล้าหาญไม่สะดุ้งหวั่นไหวต่อความเป็นความตาย
สมมุติว่า มีคนมารังแกผม จนเกิดความแค้นขึ้น แต่ผมยังไม่กล้าไปทำอะไรเขา
เพราะคิดว่ากำลังเรายังสู้เขาไม่ได้ อีกสิบปีก็ยังไม่สาย

ถ้าคุณพระป่ามาให้ผมเจริญมรณานุสติเนื่องๆ มันไม่เป็นการสนับสนุน
ให้ผมรีบลงมือล้างแค้นคนที่มารังแกผมหรือครับ :b32:

สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
ที่ว่าให้ทำอยู่เนืองๆ คือให้ทำอยู่เรื่อยๆ ตามสมควร อย่าให้ขาด อย่าทำลุ่มๆดอนๆ...การนำมาใช้ตามกาลก็ถูกต้องจริงอย่างที่พี่ว่า...เพียงแต่หากรอแต่ให้ถึงกาลที่ประสบแล้วจึงค่อยพิจารณา...มันจะไม่ทันการ...ไม่เหมือนพิจารณานำไปก่อนตั้งแต่กาลแห่งมรณายังมาไม่ถึงครับ

ส่วนข้อกังวลเรื่องล้างแค้นพี่โฮฮับสบายใจได้ครับ ไม่มีเรื่องแบบนั้นเกิดแก่ผู้ที่เจริญมรณะสติจนชำนาญรู้รอบแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ :b8:
สาธุ สาธุ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


คุนน้องไม่ได้หมายความว่ากลัวความตาย..คุนน้องบอกว่ากลัวความเจ็บก่อนที่เราจะตาย..กลัวเราจะขาดสติเมื่อจะตายจริงๆ
ส่วนการเจริญมรณานุสติ คุนน้อง เจริญอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะนั่งกินข้าว อาบน้ำ หรือแม้กระทั่ง เสียบปลั๊กไฟ ขับรถ สติคุนน้องมันระลึกทันอยู่ตลอดอยู่แล้ว ส่วนที่นั่งวิปัสนาคือทำให้เราเกิดปัญญาและขจัดความกลัวออกไป.. onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าคนเราจะหนีกรรมตอนช่วงสุดท้ายของชีวิตได้ เราคิดว่ามีทางเดียวน่ะ
คือการทำจิตของคนเราให้เป็นสมาธิ เพื่อที่จิตของคนเรามีพลัง
เราก็ไม่รู้ว่าเราคิดแบบนี้ถูกปล่าวน่ะค่ะ

คำถามนี้น่าสนใจ คุนน้องขอแสดงความเห็นในส่วนนี้ :b44: :b44:
ที่บอกว่าคนเรานั้นจะหนีกรรม มันหนีไม่ได้หรอกเจ้าค่ะ เพราะกรรมคือการกระทำของเราเอง..ถ้าเราทำดีจิตเราก็เป็นกุศล นึกคิดอะไรก็เป็นเรื่องกุศล..ส่วนคนที่ชอบทำความชั่ว..จิตเค้ามักจะเป็นอกุศล..นึกคิดอะไรก็อกุศล
เพราะฉะนั้น..คุนน้องถึงบอกว่าเราต้องหมั่นสร้างบุญ สร้างกุศลเสียก่อน บารมี10ทัศสำคัญนะเจ้าค่ะ เพื่อละทิ้งความชั่วหรืออกุศลจิตออกไป..เหลือแต่จิตที่เป็นกุศล..เมื่อเวลาเราใกล้ตาย..จิตเราก็จะเป็นกุศล.และก็จะมีกำลังพอที่จะมีสมาธิหลับไปโดยสงบ...แต่ก็มีบางคนใจบุญใจกุศล..แต่พอใกล้จะตายยังห่วงนั่น ห่วงนี่ อันนี้ก็ไม่ดีเพราะจิตจะวนเวียนอยู่กับสิ่งที่เราผูกพันธ์ อย่างบางคนก็ห่วงทรัพสมบัติ ไม่ยอมปล่อยวาง..บางคนก็ห่วงลูก..ห่วงหลาน ก็ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นได้ จิตวนเวียนอยู่กับสิ่งใดมักจะไปจุติกับสิ่งนั้น.ภพนั้น.:b8: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2012, 14:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับคุณ nongkong :b8:
การเจริญมรณะสตินี้ ถ้าทำไปจนสุดแล้ว เมื่อถึงจุดนั้นความรู้อันหนึ่งจะปรากฏขึ้นมาในใจ เมื่อความรู้อันนี้ปรากฏขึ้นความกลัวต่อความตายความพลัดพรากจะตกไป จิตจะกล้าหาญขึ้นจนไม่สะดุ้งไม่หวั่นไหวต่อความเป็นความตาย...ที่สำคัญพึงเจริญมรณะสติอยู๋เนืองๆเสมอ ถึงแม้จะได้ความรู้อันนั้นมาแล้ว...ขอให้พบกับความสงบจากการเจริญมรณะสติยิ่งขึ้นๆนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:

ที่คุณพระป่าพูดว่า "พึงเจริญมรณะสติอยู่เนื่องเสมอ" ผมว่ามันไม่ถูกต้องนัก
มันต้องใช้"ตามกาล"ถึงจะถูก

และที่บอกว่า จิตจะกล้าหาญไม่สะดุ้งหวั่นไหวต่อความเป็นความตาย
สมมุติว่า มีคนมารังแกผม จนเกิดความแค้นขึ้น แต่ผมยังไม่กล้าไปทำอะไรเขา
เพราะคิดว่ากำลังเรายังสู้เขาไม่ได้ อีกสิบปีก็ยังไม่สาย

ถ้าคุณพระป่ามาให้ผมเจริญมรณานุสติเนื่องๆ มันไม่เป็นการสนับสนุน
ให้ผมรีบลงมือล้างแค้นคนที่มารังแกผมหรือครับ :b32:

สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
ที่ว่าให้ทำอยู่เนืองๆ คือให้ทำอยู่เรื่อยๆ ตามสมควร อย่าให้ขาด อย่าทำลุ่มๆดอนๆ...การนำมาใช้ตามกาลก็ถูกต้องจริงอย่างที่พี่ว่า...เพียงแต่หากรอแต่ให้ถึงกาลที่ประสบแล้วจึงค่อยพิจารณา...มันจะไม่ทันการ...ไม่เหมือนพิจารณานำไปก่อนตั้งแต่กาลแห่งมรณายังมาไม่ถึงครับ

พูดกันมาตั้งนาน สงสัยไม่เจ้าใจว่า สติคืออะไร สติเกิดได้อย่างไร
ไอ้ที่ว่าทำอยู่เรื่อยๆตามสมควร หรือทำอยู่เนื่องๆอะไรของคุณ
คุณรู้หรือเปล่าว่า ทุกอย่างมันเกิดตามเหตุปัจจัย เหตุเป็นอย่างไร
ผลย่อมเป็นอย่างนั้น

สติเป็นผลมาจากสัญญา สัญญาเป็นมาจากเวทนา เวทนาเป็นผลจากผัสสะ
สติจะเกิดได้ต้องอาศัยสัญญา ถ้าอยู่ดีๆไปคิดถึงความตายโดยไม่มีเหตุ
หรือมีสัญญาเป็นตัวนำ สิ่งนั้นเรียกว่า ผัสสะ ไม่ใช่สติ

และการคิดถึงความตาย ซึ่งความตายเป็นสิ่งที่เรายังไม่เคยประสบ
ท่านเรียกว่าความฟุ้งซ่าน สิ่งที่จะมาดับความฟุ้งซ่านก็คือ
สติหรืออนุสติ ที่เรียกว่าอานาปานสติ

ยกตัวอย่างกรณีนี้ให้ดู คนที่นั่งเครื่องบินครั้งแรกหรือนั่งรถซิ่งโดยมีผู้อื่นเป็นคนขับ
จิตของคนๆนั้นจะเกิดความกลัวไปต่างๆนาๆ ที่ว่ากลัวก็คือ กลัวเครื่องบินตก
กลัวรถคว่ำ ซึ่งสองอย่างนี้พวกเราเข้าใจไปว่า เป็นการกลัวตาย

ลองสมมุติถ้าคุณคิดถึงความตายอยู่เนื่องๆ ในขณะที่นั่งรถซิ่ง มันจะไม่ปรุงแต่ง
ไปว่ารถต้องคว่ำเครื่องบินต้องตกหรอกหรือ ทั้งๆที่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น

ถ้าเราอยู่ดีไปนึกถึงความตายหรือไปนึกถึงว่ารถจะคว่ำ เครื่องบินจะตก
ทั้งหมดมันเป็นการปรุงแต่ง มันไม่ใช่ความจริง วิธีแก้ก็ด้วยการไม่ไปคิด
หรือไปรับผัสสะธัมมารมณ์ตัวนั้น ให้จิตไปรับผัสสะตัวอื่น อย่างเช่น
ไปดูลมก็จะเกิดสติ ที่เรียกว่าอานาปานสติ หรือไปเปลี่ยนธัมมารมณ์
ด้วยการระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งอนุสติที่ว่ามาล้วน
ใช้ดับความฟุ้งซ่านการปรุงแต่ง

การใช้สติหรืออนุสติตามกาลเป็นเช่นนี้ มันขึ้นอยู่กับผัสสะ เวทนาและสัญญา
ที่ได้รับ ต้องรู้เหตุปัจจัยจึงจะสามารถใช้สติหรืออนุสติได้อย่างถูกต้อง
ลูกพระป่า เขียน:
ส่วนข้อกังวลเรื่องล้างแค้นพี่โฮฮับสบายใจได้ครับ ไม่มีเรื่องแบบนั้นเกิดแก่ผู้ที่เจริญมรณะสติจนชำนาญรู้รอบแน่นอนครับ

เรื่องล้างแค้น แค่จะยกเป็นอุทาหรณ์ตัวอย่างให้ดู จะได้มองเห็นธรรมในเรื่องเหตุปัจจัย
เห็นการทำงานของกระบวนการขันธ์

แค่นี้ก็รู้แล้วว่า คุณพระป่าเลือกดูกิเลส ไม่ดูธรรม
จึงได้ย้อนผมมาอย่างนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าคนเราจะหนีกรรมตอนช่วงสุดท้ายของชีวิตได้ เราคิดว่ามีทางเดียวน่ะ
คือการทำจิตของคนเราให้เป็นสมาธิ เพื่อที่จิตของคนเรามีพลัง
เราก็ไม่รู้ว่าเราคิดแบบนี้ถูกปล่าวน่ะค่ะ

คำถามนี้น่าสนใจ คุนน้องขอแสดงความเห็นในส่วนนี้ :b44: :b44:
ที่บอกว่าคนเรานั้นจะหนีกรรม มันหนีไม่ได้หรอกเจ้าค่ะ เพราะกรรมคือการกระทำของเราเอง..ถ้าเราทำดีจิตเราก็เป็นกุศล นึกคิดอะไรก็เป็นเรื่องกุศล..ส่วนคนที่ชอบทำความชั่ว..จิตเค้ามักจะเป็นอกุศล..นึกคิดอะไรก็อกุศล
เพราะฉะนั้น..คุนน้องถึงบอกว่าเราต้องหมั่นสร้างบุญ สร้างกุศลเสียก่อน บารมี10ทัศสำคัญนะเจ้าค่ะ เพื่อละทิ้งความชั่วหรืออกุศลจิตออกไป..เหลือแต่จิตที่เป็นกุศล..เมื่อเวลาเราใกล้ตาย..จิตเราก็จะเป็นกุศล.และก็จะมีกำลังพอที่จะมีสมาธิหลับไปโดยสงบ...แต่ก็มีบางคนใจบุญใจกุศล..แต่พอใกล้จะตายยังห่วงนั่น ห่วงนี่ อันนี้ก็ไม่ดีเพราะจิตจะวนเวียนอยู่กับสิ่งที่เราผูกพันธ์ อย่างบางคนก็ห่วงทรัพสมบัติ ไม่ยอมปล่อยวาง..บางคนก็ห่วงลูก..ห่วงหลาน ก็ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นได้ จิตวนเวียนอยู่กับสิ่งใดมักจะไปจุติกับสิ่งนั้น.ภพนั้น.:b8: :b43:

:b35:
เอาแค่อีโมไปละกัน ไม่ชอบชมใคร
ยิ่งเป็นน้องคิงคองด้วย เดี๋ยวชาวบ้านหาว่าให้ท้าย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 06:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
อุบายการเจริญมรณะสติไม่ได้ทำโดยการกำหนดคิดถึงอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ตายอย่างที่พี่สงสัย...แต่เป็นการกำหนดพิจารณาความตามเป็นเพียงเรื่องธรรมดา ให้เห็นเป็นเพียงเรื่องธรรมดา ให้รู้ว่าความตายไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นของเก่าที่เราๆท่านๆได้ผ่านมาหาประมาณไม่ได้...อุบายการเจริญมรณะสติที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำคือ การพิจารณาฐานะ 5 อย่าง มี ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความพลัดพรากและมีกรรมเป็นของๆตน เป็นธรรมดา...ส่วนความลึกซึ้งในการพิจารณาต่อยอดก็ขึ้นอยู๋กับความชำนาญและไหวพริบของแต่ละบุคคลที่จะหาอุบายธรรมของตัวเองมาช่วยเสริมให้เห็นถึงฐานะ 5 อย่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างสักนิด...เมื่อผมเจริญมรณะสติผมก็พิจารณาว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้มีใครไหมสักคนที่ไม่แก่..ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย..ไม่ตาย..ไม่เคยประสบความพลัดพราก หรือ พิจารณาว่า เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมต้องมีดับเป็นธรรมดา ช้าบ้างเร็วบ้างเป็นไปตามแต่กรรมจะกำหนด...ความตายไม่ใช่ของที่เกิดได้ยากเป็นของธรรมดาที่เกิดได้ง่าย เพราะเพียงแค่หายใจเข้าแต่ไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแต่ไม่หายใจเข้าก็ตาย ประมาณนี้เป็นต้นครับ

ส่วนการพิจารณายกเอาเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้ตายได้มาพิจารณานั้น ผมใช้เวลาที่ต้องการสอบทานอารมณ์ของตนเอง ว่ามีความหวั่นไหวมีความกังวลเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไร เมื่อรู้ว่ายังมีความหวั่นไหวความกังวลอยู่ก็เพียรพิจารณาให้มากต่อไปเรื่อยๆ
อ้างคำพูด:
เรื่องล้างแค้น แค่จะยกเป็นอุทาหรณ์ตัวอย่างให้ดู จะได้มองเห็นธรรมในเรื่องเหตุปัจจัย
เห็นการทำงานของกระบวนการขันธ์

แค่นี้ก็รู้แล้วว่า คุณพระป่าเลือกดูกิเลส ไม่ดูธรรม
จึงได้ย้อนผมมาอย่างนั้น

ผมยังยืนยันอย่างเดิมครับว่า ผู้ที่เจริญมรณะสติจนชำนาญรู้รอบแล้ว ใจของผู้นั้นจะเบาเพราะวางความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา(รูปธรรมและนามธรรม)ให้เบาบางลงได้ ทำให้โมหะ โทสะ โลภะ ทั้งหลายเบาบางลงไป ดังนั้นเหตุอันทำจิตให้คิดทุจริตอกุศลจากการเจริญมรณะสติ ย่อมไม่มีในผู้ที่เจริญจนถึงขึ้นชำนาญรู้รอบแล้วแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
อุบายการเจริญมรณะสติไม่ได้ทำโดยการกำหนดคิดถึงอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ตายอย่างที่พี่สงสัย

แล้วใครเขาบอกให้ไปกำหนดครับ ผมหมายถึงความปรุงแต่ง(ยังไม่เกิดคิดไปเอง)
เอาเป็นว่าคุณไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรครับ แต่อยากแนะนำครับ ควรจะปฏิบัติในเรื่อง
พระอภิธรรมควบคู่ไปด้วย จะได้เข้าใจเรื่องกระบวนการขันธ์ห้า ซึ่งมันเกี่ยวกับกายใจตัวเอง
ลูกพระป่า เขียน:
แต่เป็นการกำหนดพิจารณาความตามเป็นเพียงเรื่องธรรมดา ให้เห็นเป็นเพียงเรื่องธรรมดา ให้รู้ว่าความตายไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นของเก่าที่เราๆท่านๆได้ผ่านมาหาประมาณไม่ได้..

มรณานุสติ ไม่ใช่การพิจารณาความตาย เขาหมายถึงให้เอาสติที่เป็น มรณานุสติ
มานำหน้าเพื่อพิจารณาธรรม ธรรมที่ว่า ก็คือความทุกข์ ทุกข์ที่ว่าก็คือ ความเสียดายทรัพย์
หรือความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือต้องทนอยู่กับสิ่งที่เกลียด

ต้องเข้าใจนะครับว่า มรณานุสติไม่ใช่สภาวะที่เป็นความตายของเรา
เพราะความตายของเรามันยังไม่เกิด พระพุทธองค์ก็สอนว่าให้อยู่กับปัจจุบัน
ดังนั้นมรณานุสติ มันเป็นสัญญาที่เราได้ไปรับรู้ว่า สภาวะที่ไม่สามารถนำอะไรไป
ได้แม้กระทั้งร่างกายเขาเรียกว่าความตายหรือมรณะ ส่วนที่กำลังตายหรือ
สภาวะหลังความตายเราไม่รู้ จึงเอามาพิจารณาธรรมไม่ได้
สติที่แท้ต้องเป็นเหตุที่มาจากธรรมณ.ปัจจุบัน
ลูกพระป่า เขียน:
..อุบายการเจริญมรณะสติที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำคือ การพิจารณาฐานะ 5 อย่าง มี ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความพลัดพรากและมีกรรมเป็นของๆตน เป็นธรรมดา...ส่วนความลึกซึ้งในการพิจารณาต่อยอดก็ขึ้นอยู๋กับความชำนาญและไหวพริบของแต่ละบุคคลที่จะหาอุบายธรรมของตัวเองมาช่วยเสริมให้เห็นถึงฐานะ 5 อย่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ต้องมีอุบาย ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของแท้
เป็นธรรมชาติมีเหตุมีผล

การใช้อุบายมากๆมันก็เกิดปัญหามาก อย่างกรณีนี้เช่นกัน
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย สรุปมันก็คือความพลัดพราก
เอาไปขยายความสร้างอุบายขึ้น จนทำให้เกิดความสับสนในตัวธรรมแท้ๆ

จะสะกิดให้หน่อย ความตายในที่นี้ มันเป็นความตายของคนอื่นไม่ใช่เรา
มันคือความพลัดพราก ความรู้สึกว่าพลัดพรากเกิดกับคนที่ยังมีชีวิต
ไม่ได้เกิดกับคนที่ตายไปแล้ว
ลูกพระป่า เขียน:
ยกตัวอย่างสักนิด...เมื่อผมเจริญมรณะสติผมก็พิจารณาว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้มีใครไหมสักคนที่ไม่แก่..ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย..ไม่ตาย..ไม่เคยประสบความพลัดพราก หรือ พิจารณาว่า เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมต้องมีดับเป็นธรรมดา ช้าบ้างเร็วบ้างเป็นไปตามแต่กรรมจะกำหนด...ความตายไม่ใช่ของที่เกิดได้ยากเป็นของธรรมดาที่เกิดได้ง่าย เพราะเพียงแค่หายใจเข้าแต่ไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแต่ไม่หายใจเข้าก็ตาย ประมาณนี้เป็นต้นครับ

ร่ายเป็นอาขยานแบบนี้มันใช่ซะที่ไหนกันครับ สติมีไว้บังคับจิตให้อยู่ในสภาวะที่ตัวเองกำหนดรู้ครับ
สิ่งที่คุณพูดมา มันเป็นเรื่องของการเอาธรรมมาพูดไปเรื่อยๆ ไม่ใช่การอธิบายธรรม
ในลักษณะของการปฏิบัติธรรม

หลักของการพิจารณาธรรมในแง่ของการปฏิบัติ เราต้องคำนึงถึงสภาวะที่เป็นปรมัตถ์ด้วย
เรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน จำเป็นต้องรู้ ยิ่งกระบวนการขันธ์ห้ายิ่งต้องให้ความสำคัญ
ไม่เช่นนั้น ผู้นั้นจะเกิดการหลง พูดธรรมไปเรื่อยหยิบโน้นนิดนี่หน่อย มาผสมปนเปกัน
มันจึงเหมือนการท่องบทความหรืออาขยาน

อยากเปรียบครับ คุณพระป่าครับ ที่คุณบอกให้เจริญมรณสติเนื่อง
เลยอยากถามว่า ที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราดับทุกข์ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
อยากถามครับ สติตัวนี้ เรียกว่าอะไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
อ้างคำพูด:
เรื่องล้างแค้น แค่จะยกเป็นอุทาหรณ์ตัวอย่างให้ดู จะได้มองเห็นธรรมในเรื่องเหตุปัจจัย
เห็นการทำงานของกระบวนการขันธ์

แค่นี้ก็รู้แล้วว่า คุณพระป่าเลือกดูกิเลส ไม่ดูธรรม
จึงได้ย้อนผมมาอย่างนั้น

ผมยังยืนยันอย่างเดิมครับว่า ผู้ที่เจริญมรณะสติจนชำนาญรู้รอบแล้ว ใจของผู้นั้นจะเบาเพราะวางความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา(รูปธรรมและนามธรรม)ให้เบาบางลงได้ ทำให้โมหะ โทสะ โลภะ ทั้งหลายเบาบางลงไป ดังนั้นเหตุอันทำจิตให้คิดทุจริตอกุศลจากการเจริญมรณะสติ ย่อมไม่มีในผู้ที่เจริญจนถึงขึ้นชำนาญรู้รอบแล้วแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ :b8:

สติเป็นธรรมที่เป็นกุศล แต่การอธิบายธรรมของคุณพระป่า ให้ความหมายผิด
ไม่เข้าใจกระบวนการขันธ์ห้า ไม่ดูหลักของปรมัตถ์ธรรม ธรรมที่ว่าเลยกลายเป็นอกุศลครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2012, 14:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
อ้างคำพูด:
ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่โฮฮับ
อุบายการเจริญมรณะสติไม่ได้ทำโดยการกำหนดคิดถึงอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ตายอย่างที่พี่สงสัย

แล้วใครเขาบอกให้ไปกำหนดครับ ผมหมายถึงความปรุงแต่ง(ยังไม่เกิดคิดไปเอง)

ขอตอบว่าถ้าอย่างที่พี่หมายถึงนี้...เราไม่เรียกว่าเจริญสติครับ เพราะขึ้นชื่อว่า เจริญสติ หมายถึงการมีเจตนาเจาะจงที่จะทำการเจริญสติ มีเหตุและผลที่หวังได้จากการเจริญสติอย่างชัดเจน

การเจริญมรณะสตินั้น ครูบาอาจารย์ท่านให้คำอธิบายสั้นๆง่ายๆไว้ว่า เป็นการฝึกตายก่อนตาย ครับ เมื่อทำจนได้ผลถึงขั้นแล้ว ความเศร้าโศก เสียใจและความทุกข์ใจจากความตายและความพลัดพรากจากบุคคลหรือของอันเป็นที่รักจะไม่มีแก่คนที่เจริญมรณะสติจนเห็นความตายเป็นธรรมดาครับ
อ้างคำพูด:
อยากเปรียบครับ คุณพระป่าครับ ที่คุณบอกให้เจริญมรณสติเนื่อง
เลยอยากถามว่า ที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราดับทุกข์ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
อยากถามครับ สติตัวนี้ เรียกว่าอะไรครับ

ขอตอบว่า...การเจริญสตินี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 อาการคือ 1 การเจริญสติโดยการกำหนดพิจารณา(คิด,ทำ) และ 2. การเจริญสติโดยการกำหนดดูกำหนดรู้อย่างเดียว(ไม่คิด,ไม่ทำ)....ในการเจริญสติปัฏฐานสี่ก็เดินสติโดยอาการทั้ง 2 อย่างนี้เช่นกันครับ...ลองนึกถึงคติที่หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า"คิดเท่าไหร่ๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้...แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละถึงรู้" แล้วพี่จะเข้าใจว่าการเจริญสตินั้นทำไมต้องทำทั้ง 2 อาการควบคู่กันไปครับ ขอให้พิจารณาธรรมโดยธรรมนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2012, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
อ้างคำพูด:
ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่โฮฮับ
อุบายการเจริญมรณะสติไม่ได้ทำโดยการกำหนดคิดถึงอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ตายอย่างที่พี่สงสัย
แล้วใครเขาบอกให้ไปกำหนดครับ ผมหมายถึงความปรุงแต่ง(ยังไม่เกิดคิดไปเอง)

ขอตอบว่าถ้าอย่างที่พี่หมายถึงนี้...เราไม่เรียกว่าเจริญสติครับ เพราะขึ้นชื่อว่า เจริญสติ หมายถึงการมีเจตนาเจาะจงที่จะทำการเจริญสติ มีเหตุและผลที่หวังได้จากการเจริญสติอย่างชัดเจน

การพูดของคุณ บางประโยคก็ใช้ได้ บางประโยคก็ใช้ไม่ได้ อ่านความเห็นคนอื่นไม่เข้าใจ
ชอบเอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ แทนที่จะมองลงไปที่กายใจตัวเอง

คุณเข้าใจมั้ยว่าการกำหนด มันเป็นการเริ่มต้นของความคิดแล้ว มันเป็นการปรุงแต่ง
ในสภาวะแบบนั้น มีการปรุงแต่งเป็นเหตุ พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องเหตุปัจจัย
เหตุเป็นอย่างไรผลย่อมเป็นเช่นนั้น เหตุเกิดจากการปรุงแต่ง ผลย่อมเป็นการปรุงแต่งเช่นกัน

การเจริญสติ เขาไม่กำหนดลงไปที่ตัวสติโดยตรง
การกำหนดกับการระลึกรู้(สติ)มันแตกต่างกัน การกำหนดคือการบังคับให้
อายตนะภายในหรือทวารทั้งหกรับรู้ผัสสะแค่อายตนะเดียวหรือทวารเดียว
ลักษณะนี้ทำให้สติจมแช่ ไม่ว่องไว มันจึงไม่เรียกการเจริญสติ

ส่วนการระลึกรู้ จะต้องเป็นไปในลักษณะ การตามระลึกรู้ผัสสะที่เกิดขึ้นในทุกทวาร
ไวต่ออารมณ์ระลึกรู้อารมณ์ที่เกิด ไม่จมแช่ต่ออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

ดังนั้นความหมายของการเจริญสติหรือสติที่เจริญแล้ว
นั้นก็คือ การที่สติมีความกระฉับกระเฉงว่องไว สามารถตามณะลึกรู้ผัสสะ
ที่เกิดในทุกทวารได้อย่างรวดเร็ว รู้ตื่น รู้เบิกบาน


การกำหนดในการเจริญสติ ความหมายจริงแล้วก็คือ..
การกำหนดในเรื่องของ อิทธิบาทสี่ ดังนั้นการกำหนดไม่ใช่
กำหนดลงไปที่ตัวสติ แต่เป็นการกำหนดไปที่งานเจริญสติ
ก็คืออิทธิบาทสี่นั้นเอง

การกำหนดอิทธิบาทสี่เกิดก่อน การระลึกรู้(สติ)เกิดที่หลัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2012, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
อ้างคำพูด:
อยากเปรียบครับ คุณพระป่าครับ ที่คุณบอกให้เจริญมรณสติเนื่อง
เลยอยากถามว่า ที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราดับทุกข์ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
อยากถามครับ สติตัวนี้ เรียกว่าอะไรครับ

ขอตอบว่า...การเจริญสตินี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 อาการคือ 1 การเจริญสติโดยการกำหนดพิจารณา(คิด,ทำ) และ 2. การเจริญสติโดยการกำหนดดูกำหนดรู้อย่างเดียว(ไม่คิด,ไม่ทำ)....ในการเจริญสติปัฏฐานสี่ก็เดินสติโดยอาการทั้ง 2 อย่างนี้เช่นกันครับ...ลองนึกถึงคติที่หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า"คิดเท่าไหร่ๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้...แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละถึงรู้" แล้วพี่จะเข้าใจว่าการเจริญสตินั้นทำไมต้องทำทั้ง 2 อาการควบคู่กันไปครับ ขอให้พิจารณาธรรมโดยธรรมนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:

นี่ก็เป็นอีกประโยค ไปหยิบอ้างเอาบัญญัติเอาธรรมครูบาอาจารย์มาใช้โดยขาดความเข้าใจ
หลวงปู่ว่า "คิดเท่าไรไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้" ประโยคแรกนี้ท่านไม่ให้เราที่เป็นปุถุชนคิด
นำหน้าผัสสะหรือสิ่งที่มากระทบ ที่เป็นแบบนี้เป็นเพราะว่า จิตของเราเกิดดับที่ละดวงที่ละลักษณะ
จิตตัวผู้รู้ไม่สามารถเกิดพร้อมกับจิตตัวอื่นได้ ความคิดเป็นอารมณ์หนึ่งที่เกิดกับจิตคนละตัวกับจิตตัวรู้
เมื่อเราคิดย่อมไม่สามารถเกิดจิตตัวรู้ได้
และกับที่ว่า"เมื่อหยุดคิดจึงรู้ นั้นก็คือ เมื่อคิดและหยุดคิดแล้ว จึงจะเกิดสติตามมาระลึกรู้
อารมณ์(ความคิด) ที่พึ่งดับไป นั้นคือยามใดกำลังคิดย่อมไม่เกิดสติมาระลึกให้เกิดผู้รู้
แล้วคุณมาบอกได้ไงว่า..การเจริญสติคือการกำหนดพิจารณา(คิด,ทำ)

และอีกประโยคที่ว่า"ต้องอาศัยความคิดนั้นแหล่ะถึงรู้"
อันนี้หลวงปู่หมายถึง ผู้ที่มีสัมมาทิฐิ(ปัญญา)แล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่า
เป็นอริยบุคคลเบื้องต้นแล้ว สัมมาทิฐิ(ปัญญา)ไม่ใช่ความปรุงแต่ง
เมื่อเรามีปัญญาแล้ว ปัญญาที่ว่าจะเป็นสัญญาของเรา การจะเอาปัญญามาใช้
หรือเอามาพิจารณาธรรม ต้องอาศัยสติเป็นตัวนำมา

การพิจารณาธรรมหรือการพิจารณาเพื่อการดับทุกข์ ต้องอาศัยปัญญาสัมมาทิฐิ
เป็นตัวพิจารณา

สิ่งที่กล่าวมา ที่ว่าใช้สติเป็นตัวระลึกรู้ปัญญา หรือใช้ปัญญาไปพิจารณาธรรม
เพื่อดับทุกข์ สิ่งที่ว่ามันเป็นความคิด แต่เป็นความคิดที่เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
ปัญญาที่เป็นตัวนำเรียกว่า สัมมาทิฐิ สติที่ใช้ระลึกรู้ปัญญาเรียกว่า สัมมาสติ


มรรคสามตัวที่ว่ามา คือความคิดที่หลวงปู่กล่าวไว้
หรือจะกล่าวตีความคำสอนของหลวงปู่นั้นก็คือ ความคิดแรกเป็นความคิดของปุถุชน
ส่วนความคิดหลังเป็นความคิดของอริยชน


ผมสรุปความเห็นของคุณเลยดีกว่าว่า คุณไม่เข้าใจความหมายของบัญญัติ
เหตุเพราะไม่สนใจที่จะรู้การทำงานของกระบวนการขันธ์ห้า หรือกายใจตัวเอง
ความเห็นที่แสดงมา มันเลยเป็นการเอาบัญญัติอันโน้นมาใส่อันดี ผิดสภาวะที่เป็นจริง

แนะนำครับ จะศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์หรือพระไตรปิฎก อย่ามุ่งแต่อ่านแต่คำสอน
หรือท่องแต่พระสูตร ต้องรู้พระอภิธรรมและรู้กายใจตัวเองด้วย

ดังนั้นอาการที่สองที่คุณบอกมาก็ไม่ต้องอธิบายมาก มันก็แค่คุณสับสนในบัญญัติ
ไม่เข้าใจอาการของจิต เลยเอาบัญญัติมาอธิบายวกวนผิดสภาวะครับ

*ยังไม่จบ ไว้จะมาอธิบายให้เข้าประเด็นสติปัฏฐานกับมรณานุสติ*


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2012, 13:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
ผมต้องขออภัยล่วงหน้าที่พูดแบบนี้ แต่หลังจากที่เราสนทนากันในเรื่องการเจริญมรณะสติ ทำให้ผมเห็นว่าพี่คงไม่เคยฝึกไม่เคยเพียรเจริญมรณะสติอย่างจริงๆจังๆ เพราะผู้ที่เคยทำการเจริญมรณะสติย่อมรู้ว่าที่ผมพูดอธิบายไปนั้นถูกหรือมั่วนิ่ม...หรืออาจจะเป็นเพราะพี่โฮฮับศึกษาเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์เป็นหลักคอยให้อุบายวิธีการในการเจริญสติก็เป็นได้ ความเห็นระหว่างเราจึงดูจะไม่ตรงกัน...

ผมขออนุญาติแนะนำให้พี่ลองเข้าไปหาตำราของหลวงปู่เสาร์ที่ชื่อว่า จาตุรักขกัมมัฏฐาน มาศึกษาดูนะครับ หรือจะเข้าไปดูที่นี่ก็ได้ครับ http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sao-02.htm

อ้างคำพูด:
แล้วคุณมาบอกได้ไงว่า..การเจริญสติคือการกำหนดพิจารณา(คิด,ทำ)


ขอตอบด้วยคำถามกลับนะครับว่า...วิธีเจริญสติตามแบบหลวงปู่เทียนท่านทำอย่างไร ถ้าไม่ได้ทำโดยการกำหนดทำการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมๆกับกำหนดสติรู้ถึงการเคลื่อนไหวนั้นๆ[/color]...วิธีเจริญพุทธานุสติทำกันแบบไหน...วิธีเจิญธรรมานุสติ,สังฆานุสติ,สีลานุสติ...ทำกันแบบไหนครับ...ถ้าไม่ได้ทำโดยการกำหนดพิจารณาระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า,พระธรรม,พระสงฆ์,คุณของการรักษาศีล...ผมทำผมปฏิบัติตามแบบแผนวิธีการที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนมาจนได้รับความรู้เป็นที่แน่ใจแล้ว และผลที่เกิดขึ้นก็ปรากฏจนประจักษ์ใจผมแล้วเช่นกันครับ

ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2012, 04:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่โฮฮับ :b8:
ผมต้องขออภัยล่วงหน้าที่พูดแบบนี้ แต่หลังจากที่เราสนทนากันในเรื่องการเจริญมรณะสติ ทำให้ผมเห็นว่าพี่คงไม่เคยฝึกไม่เคยเพียรเจริญมรณะสติอย่างจริงๆจังๆ เพราะผู้ที่เคยทำการเจริญมรณะสติย่อมรู้ว่าที่ผมพูดอธิบายไปนั้นถูกหรือมั่วนิ่ม...หรืออาจจะเป็นเพราะพี่โฮฮับศึกษาเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์เป็นหลักคอยให้อุบายวิธีการในการเจริญสติก็เป็นได้ ความเห็นระหว่างเราจึงดูจะไม่ตรงกัน...

อยากแนะนำครับ ถ้าเราไม่ใช่เด็กหรือผู้เยาว์ สิ่งที่ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะมันเป็นการบ่งบอกในเรื่องมรรยาท นั้นก็คือ การแสดงความเห็นแบบคุณนี่แหล่ะครับ

มันไม่ใช่ว่าใครเขามีความเห็นไม่เหมือนคุณ แล้วคุณก็จะโมเมว่าเขาไม่เคยปฏิบัติ
หรือเวลาที่คุณไม่สามารถแย้งคำพูดของอีกฝ่ายได้ ก็ไปอ้างครูบาอาจารย์
แล้วก็สรุปเอาเองว่าอีกฝ่ายไม่มีครูบาอาจารย์

คุณพระป่าครับ ผมถามคุณจริงๆเถอะ จากหลวงปู่ดุลย์มาหลวงปู่เสาร์
จนมาหลวงพ่อเทียน จากนี้คุณจะอ้างใครอีกครับ
การอ้างครูบาอาจารย์มันไม่เป็นไรหรอกครับ ถ้าคนอ้างเข้าใจคำสอนของผู้ถูกอ้าง
คุณลูกพระป่าครับ ไม่ต้องบอกหรอกครับว่า ความเห็นเราไม่ตรงกัน
มันแน่นอนอยู่แล้วครับ ไม่งั้นผมไม่เข้ามาท้วงติงคุณหรอกครับ
ปัญหามันอยู่ที่ว่า คุณควรไปทำความเข้าใจกับคำสอนของครูบาอาจารย์ที่คุณอ้าง
ให้ดีเสียก่อน ตัวอย่างเช่น อ้างคำพูดหลวงปู่ดุลย์ที่ว่าคิดเท่าไรไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้

แต่ตัวเองดันบอกว่า การเจริญสติคือกำหนด(คิด,ทำ)
อ้างหลวงปู่ดุลย์ แต่ดันไปทำตรงข้ากับสิ่งที่อ้าง

และอีกอย่างที่คุณสมควรทำก็คือ แก้คำถามผมในข้อนี่ให้สะเด็ดน้ำเสียก่อน
ไม่ใช่ไปทำให้กระทบครูบาอาจารย์เพิ่มเข้าไปอีก

คุณลูกพระป่า จะอ้างอะไรควรพิจารณาก่อนว่า มันจะไปแย้งความเห็นก่อนหน้า
ที่ตัวเองได้แสดงไว้หรือไม่ ถกกันยังไม่ได้เรื่อง กับคำพูดของคุณที่ว่า ให้ทำมรณานุสติเนื่อง
นี่ดันไปอ้างคำสอนของหลวงปู่เสาร์เรื่อง"จตุรารักขกัมมัฏฐาน"
นี่เป็นกัมฐานตั้งสี่อย่าง หลวงปู่ให้หมั่นทำ การอ้างแบบนี้มันไม่ไปแย้งความก่อนหรอกหรือ
ที่ให้หมั่นทำแต่"มรณานุสติ"


อ้างก็ผิดๆถูกในตัวบุคคล อ้างหลวงปู่เสาร์
แต่ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พูด ก็เป็นเพราะอ้างไปเรื่อย เอาแต่ตัวบุคคลไม่ใส่ใจเนื้อหา

ตัวเองบอกว่าเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ ศึกษาคำสอนของหลวงปู่ แต่ดูแล้วมันไม่น่าใช่
ที่เอามาแค่เอามาข่มคนอื่น ดูได้จากอ้างคำสอนของหลวงปู่เสาร์ แต่เนื้อหาที่อ้าง
เอามาจาก เว็บบอร์ดลานธรรมเสวนา จากคนที่ใช้ชื่อว่า satima
แถมคนๆนี้ยังอ้างพระสาคร พระสาครอ้างหลวงพ่อพุทธ หลวงพ่ออ้างหลวงปู่

ตกลงคุณลูกพระป่าเป็นศิษย์ใครกันแน่ครับ
ถ้าให้ผมเดา คุณเป็นศิษย์คุณ satima ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร