วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 22:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

:b8: :b8: :b8:

แห่ม...ใช้สอนได้ทั้งทางโลก...และทางธรรม...เลยนะครับ


ยอดไปเลย... :b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

ขออนุโมทนาด้วยครับ :b8: กับอุบายธรรมของคุณลุงหมานที่นำมาแบ่งบันกันครับ...ธรรมนี้แสดงถึงการโอปนยิโกของคุณลุงหมานที่น้อมเอาข้อธรรมต่างๆเข้ามาอบรมตนเอง..

นักปฏิบัติผู้ฉลาดย่อมไม่เลือกว่าธรรมนี้เป็นของใคร ย่อมไม่เลือกกาลและสถานที่ ย่อมไม่เลือกเอาแต่ครูบาอาจารย์ที่วิเศษเท่านั้นเป็นครู เพราะแม้แต่ต้นไม้ ต้นหญ้า ภูเขา ก้อนหินหรือแม้แต่สัตว์ที่อยู่ในภพภูมิต่ำกว่าก็แสดงสัจธรรมของเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ นักปฏิบัติผู้ฉลาดย่อมน้อมเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นธรรมสอนใจตนเองได้เสมอเช่นกันครับ

ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 03:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
หัวข้อกระทู้ตั้งไว้ ๒ หัวข้อครับ
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ขยายตามนัยพระอภิธรรมครับ
ที่เหลือเชิญท่านทั้งหลายต้องทัศนากันเองครับ

ปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนี้ "ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า"เป็นคำพูดของ ธนญเศรษฐีใช่

แต่ประโยคหลัง ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี


ประโยคหลังนี้ไม่ใช่คำพูดของธนญชัยเศรษฐี แต่เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้า
ที่ได้อธิบายความโดยบรรดาอรรกถาจารย์ แต่ลุงหมานเอามาผสมปนกันมั่วไปหมด


ถ้าจะดูความหมายของคำว่า"ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า"
เราต้องไปดูคำอธิบายความของนางวิสาขา..
"โทษของแม่ผัว พ่อผัว และสามีของเจ้าแล้ว อย่าเฝ้ากล่าว ณ ภายนอก คือในเรือนนั้นๆ"
และถ้าหญิงหรือชายทั้งหลาย ในบ้านใกล้เรือนเคียงของเจ้า พูดถึงโทษของแม่ผัว พ่อผัว และสามี,
เจ้าอย่านำเอาคำที่ชนพวกนั้นพูดแล้ว มาพูดอีกว่า ‘คนชื่อโน้นพูดยกโทษอย่างนี้ของท่านทั้งหลาย


สรุปก็คือถ้าจะเอาคำอธิบายความคำพูดของธนญชัยเศรษฐี
เอาอธิบายความต้องเอาคำของนางวิสาขาเท่านั้น
เพราะบิดาหรือธนญชัยเศรษฐี ไม่ได้สอนนางวิสาขา
ในแนวทางของพุทธ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ขออนุโมทนาด้วยครับ :b8: กับอุบายธรรมของคุณลุงหมานที่นำมาแบ่งบันกันครับ...ธรรมนี้แสดงถึงการโอปนยิโกของคุณลุงหมานที่น้อมเอาข้อธรรมต่างๆเข้ามาอบรมตนเอง..

อย่ามั่วซิครับ ลุงหมานแกไม่มีความรู้แต่อยากเป็นครู แกสอนผิดๆถูกๆ
ถ้าแกเอาธรรมนั้นไปสอนตัวเอง แบบที่คุณบอกมันก็ไม่มีปัญหา แต่แกเล่นเอา
มาสอนคนอื่นแบบนี้มันเป็นภัยครับ ยิ่งด้วยวัยวุฒิแกด้วยมันอาจทำให้คนอื่น
หลงเชื่อโดยไม่ไตรตรอง
ลูกพระป่า เขียน:
นักปฏิบัติผู้ฉลาดย่อมไม่เลือกว่าธรรมนี้เป็นของใคร ย่อมไม่เลือกกาลและสถานที่ ย่อมไม่เลือกเอาแต่ครูบาอาจารย์ที่วิเศษเท่านั้นเป็นครู เพราะแม้แต่ต้นไม้ ต้นหญ้า ภูเขา ก้อนหินหรือแม้แต่สัตว์ที่อยู่ในภพภูมิต่ำกว่าก็แสดงสัจธรรมของเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ นักปฏิบัติผู้ฉลาดย่อมน้อมเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นธรรมสอนใจตนเองได้เสมอเช่นกันครับ

อย่าพูดจาเพ้อเจ้อเหมือนลิ้นไม่มีความรู้สึกซิครับ
เป็นชาวพุทธ ธรรมที่ปฏิบัติมันต้องของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

มีเยี่ยงอย่างหรือมาสอนชาวบ้านไม่ต้องเลือกธรรม
เอาอย่างคุณไงศาสนาพุทธในเมืองไทยมันถึงได้เละเทะ
นับถือพุทธดันไหว้ศาลพระภูมิ นับถือพุทธดันเล่นพระเครื่อง

เพราะลุงหมานแกเอาคำพูดของ ธนญชัยเศรษฐีมาผสมปนเป
กับคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่โต้แย้งหรือตำหนิ อีกหน่อยคนรุ่นหลัง
ก็จะนึกว่า คำพูดของธนญชัยเศรษฐีซึ่งเป็นแค่พราหมณ์ เป็นคำตรัสคำสอนของพระพุทธเจ้า


คุณพระป่าจะพูดอะไรหัดคิดเสียก่อน ไม่ใช่อวยไม่ลืมหูลืมตาแบบนี้
แปลกครับผมพิจารณาคำพูดคุณ แทนที่จะเป็นคำพูดให้ลุงหมานดูดี
ทำมันมันกลับเป็นว่า คุณมาพูดให้ตัวเองดูดีแค่ใช้ลุงหมานเป็นบันได :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 04:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

ขออนุโมทนาด้วยครับ :b8: กับอุบายธรรมของคุณลุงหมานที่นำมาแบ่งบันกันครับ...ธรรมนี้แสดงถึงการโอปนยิโกของคุณลุงหมานที่น้อมเอาข้อธรรมต่างๆเข้ามาอบรมตนเอง..

นักปฏิบัติผู้ฉลาดย่อมไม่เลือกว่าธรรมนี้เป็นของใคร ย่อมไม่เลือกกาลและสถานที่ ย่อมไม่เลือกเอาแต่ครูบาอาจารย์ที่วิเศษเท่านั้นเป็นครู เพราะแม้แต่ต้นไม้ ต้นหญ้า ภูเขา ก้อนหินหรือแม้แต่สัตว์ที่อยู่ในภพภูมิต่ำกว่าก็แสดงสัจธรรมของเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ นักปฏิบัติผู้ฉลาดย่อมน้อมเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นธรรมสอนใจตนเองได้เสมอเช่นกันครับ

ขอบคุณครับ :b8:


คิดเห็นเช่นเดียวกัน :b1:
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCALAVQH8.jpg
imagesCALAVQH8.jpg [ 5.12 KiB | เปิดดู 2529 ครั้ง ]
จิตนั้นคิดกันได้ทุกเรื่อง แต่ก็ไม่ควรพูดไปเสียทุกเรื่องที่จิตคิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAC4K87K.jpg
imagesCAC4K87K.jpg [ 5.56 KiB | เปิดดู 2527 ครั้ง ]
รูปกับาม
รูปเปรียบเหมือนตัวหุ่น
นามเปรียบเหมือนเชือกที่ชักหุ่น
รูปกับนามจึงต้องประกอบเสมอจึงจะสำเร็จกิจที่พึงประสงค์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




4_465[2].jpg
4_465[2].jpg [ 8.84 KiB | เปิดดู 2522 ครั้ง ]
ขุมทรัพย์คือปัญญา คือการได้มาเรียนพระอภิธรรม
ขุมทรัพย์ที่เลิศล้ำ คือการเอาพระอภิธรรมไปปฏิบัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ขุมทรัพย์คือปัญญา คือการได้มาเรียนพระอภิธรรม
ขุมทรัพย์ที่เลิศล้ำ คือการเอาพระอภิธรรมไปปฏิบัติ

ไม่น่าเชื่อ ที่ไม่เชื่อก็ลองก้มดูความเห็นอ้างอิง.....

ลุงหมาน เขียน:
จิตนั้นคิดกันได้ทุกเรื่อง แต่ก็ไม่ควรพูดไปเสียทุกเรื่องที่จิตคิด

ลุงหมาน เขียน:
รูปกับาม
รูปเปรียบเหมือนตัวหุ่น
นามเปรียบเหมือนเชือกที่ชักหุ่น
รูปกับนามจึงต้องประกอบเสมอจึงจะสำเร็จกิจที่พึงประสงค์ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จักร ๔
จักร ในทางพุทธศาสนามีความหมาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ดังนี้
"ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมายมี ๔ อย่างคือ
๑.ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ
๒.สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี
๓.อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔.ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน"
หลักการในเรื่องของจักร ๔ นี้ นับได้ว่า เป็นการให้คำแนะนำ หรือสอนหลักการหรือวิธีการในการดำรงชีวิต ในกับบุคคลทั้งหลายในทุกระดับชั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะมีบทบาท ความรู้ อย่างไร ควรที่จะแสวงหาถิ่นที่จะทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสุข ความเจริญ ในชีวิตตั้งแต่ระดับปุถุชน ไปจนถึง ระดับอริยะบุคคลเลยก็ว่าได้ถึงแม้ว่า หลักการ จักร ๔ นี้ ในทางพุทธศาสนา จะเป็นการให้คำแนะนำ หรือสอนให้สำหรับบุคคลที่พึงต้องการที่จะแสวงหาความพ้นทุกข์ หรือหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง แต่ในทางที่เป็นความจริงแล้ว หลักการ จักร ๔ นี้ ย่อมสามารถนำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ได้กับ บุคคลทุกแขนงอาชีพ ทุกแขนงความรู้ จะว่า เป็นหลักในการ ค้าขาย ก็ได้ จะว่าเป็นหลัก การแสวงหาที่ทำงาน ก็ได้ หรือจะว่า เป็นหลักการแสวงหาอาชีพ ก็ว่าได้ ฯลฯ
อีกทั้ง หลักการจักร ๔ นี้ จะเปรียบไป คล้ายการหาทำเลที่อยู่อาศัย หรือทำมาหากิน ในระดับบุคคลทั่วไปก็ยังได้เพราะเป็นหลักการที่กว้างขวาง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้ได้โดยตรง กับทุกบุคคล เพราะ ไม่ว่าบุคคลนั้นๆ จะอยู่ในอาชีพ หรือบทบาท หน้าที่ใด ล้วนต้อง
๑.ปฏิรูปเทสวาสะ คือ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หรือ รู้จัก อาศัยอยู่ในถิ่นที่เหมาะกับสภาพจิตใจ สภาพอาชีพ ฯลฯ อันจักทำให้ตนเอง ฯ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ อย่างมีความสุข ไม่ถึงกับอัตคัด ขัดสน แม้เป็นการค้าขาย ก็ย่อมต้องเลือกค้าขายในถิ่นที่เหมาะสมกับการที่ค้าขายสินค้านั้นๆ หรือจะเลือกอาชีพ ก็ย่อมต้องเลือกอาชีพที่ตัวเองชอบถนัด หรือเป็นอาชีพที่สุจริตสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง พอสมควร อย่างนี้เป็นต้น และในการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมแล้ว ก็ย่อมต้อง สมาคม ปฏิสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่การที่จะสมาคมกับใครนั้น
๒.สัปปุริสูปัสสยะ คือ บุคคลใดใด ก็ย่อมต้องการสมาคม ปฏิสัมพันธ์ กับคนดีมีศีลธรรม ไม่เกกมะเหรก เกเร พาไปในทางเสียทรัพย์ เสียสุขภาพ ซึ่ง บุคคลทั่วไป ย่อมล้วนต้องการคบหาสมาคมกับคนที่ดีมีศีลธรรม อยู่เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
เพราะการสมาคม กับคนดีมีศีลธรรม ย่อมสามารถนำตนให้พ้นจากความทุกข์ เพราะคนดีมีศีลธรรมเหล่านั้น ย่อมสามารถแนะนำ แนะแนวทางในการดำรงชีวิต หรือสอนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการดำรงชีวิต หรือการหลุดพ้นจากความทุกข์ ตามแต่ประสบการณ์ของเขาเหล่านั้น เมื่อบุคคลใดใด ได้รับการสมาคม ปฏิสัมพันธ์กับคนดีมีศีลธรรม แล้ว ก็ย่อมเกิด
๓.อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
การตั้งตนไว้ชอบ คือดำรงตนอยู่ในศีลธรรม และดำเนินแน่วแน่ในวิถีทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ดีงาม(พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก) เพราะบุคคลนั้นๆ ได้รับการแนะนำ ความรู้ ความเข้าใจในการดำรงชีวิต ในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ จากการที่ได้สมาคม หรือปฏิสัมพันธ์ กับคนดีมีศีลธรรม เชื่อฟังผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ ฯลฯ และอยู่ในถิ่นที่เหมาะ เมื่อเป็นบุคคลที่ ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม คือ ตั้งตนไว้ชอบแล้ว นั่นก็ย่อมหมายถึงว่า บุคคลนั้นๆมี
๔.ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว ในข้อนี้หลายๆคนไม่ต้องสงสัย ขอเพียงได้อ่านในข้อ ๓ ก็ยอมคลายความสงสัยได้
ดังนั้น ไม่ว่า บุคคลใดใด จะอยู่ในบทบาทใดใดก็ตามแต่ หากได้ใช้หลัก "จักร ๔ " นี้หรือยึดถือไว้เป็นบรรทัดฐาน นำไปเป็นแม่แบบในการปฏิบัติ ก็ย่อมสามารถนำตน ให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ ตั้งแต่ ระดับปุถุชน ไปจนถึง ระดับ อริยะบุคคล ฉะนี้ :b27:

:b55: :b55: :b55: ข้อสำคัญนี้ย่อมทำให้ผู้ไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ชอบค้านทุกเรื่องไม่ว่าสิ่งนั้นจะผิดหรือถูก จึงกลายเป็นผู้ทำลายพุทธจักร ๔ เสียเอง เหตุผลเพราะอาจไม่ชอบ หรือเพื่อที่จะลดเครดิตผู้อื่นให้ตกไป :b53: :b53: :b53:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คาถานางงิสาขา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร