วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 12:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2012, 23:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้ศึกษาธรรมะของหลวงปู่มามากมายอะไร...เพิ่งจะรู้จัก..เนื่องจากข่าวดูจิต

แต่เพราะ...ธรรมสองบทนี้...ในพิพิธภัณท์หลวงปู่วัดบูรพา..แค่นั้นเองครับ

หยั่งใจตามดูแล้ว....ศิโรราบทั้งกายและใจ.. :b8: :b8: :b8:

จิตส่งออก...เป็นสมุทัย
ผลของจิตส่งออก..เป็นทุกข์
จิตเห็นจิต..เป็นมรรค
ผลของจิตเห็นจิต..เป็นนิโรธ


................

คิดเท่าไหร่ๆ ... ก็ไม่รู้
ต่อเมื่อหยุดคิด... จึงรู้
แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละ....ถึงรู้

.................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 04:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว



.....บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย
แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้นก็สิ้นไป แล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต

……ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ
ล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และ อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

....บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จ
อิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้ เรียกว่า ปัญญาวิมุต

….. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ
ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ปัญญาวิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 04:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว



…..ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ-

๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพ
บางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่อง
ในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ
ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑)
และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ดูกรอานนท์ ...

บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑
มีว่า สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก
ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ
ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
ฯลฯ

วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น
เขายังจะควรเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ...
ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ
อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้น อีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ
รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์...
เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับ ทั้งคุณและโทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไป จากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็นจริงแล้ว
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น
อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ

:b42: :b42: :b42:


แก้ไขล่าสุดโดย MiMee เมื่อ 07 พ.ค. 2012, 06:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 05:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว



….......ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒
๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓
๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔
๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖
๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗
๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

ดูกรอานนท์... เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ

ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง
เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง
ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ

อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไปกว่า..ไม่มี
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ

:b44: :b44: :b44:



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 06:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว



ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ผู้บรรลุธรรมด้วย ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติดังนี้...

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอโอกาส

เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้
ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน

เราก็สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย กามย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า

...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน
จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน

สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน

เราก็เข้าทุติยฌาน
อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย วิตกย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน
จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติยฌาน

สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน

เราก็มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย ปีติย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท ตติยฌาน
จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในตติยฌาน
จงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน

สมัยต่อมา เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน

เราก็เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส...
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย สุขย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทจตุตถฌาน
จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน

สมัยต่อมา เราเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส..
โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตนฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน

เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย คำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้
เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย รูปสัญญาย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า ...
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน
จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน

สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน

เราก็เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย อากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน
จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน

สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่าสาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน

เราก็เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากิญจัญญายตนฌาน
จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน

สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

เราก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย อากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

สมัยต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

...ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิเป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ

เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
...โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ
จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ

สมัยต่อมา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่
บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

.............ครั้งนั้นแล
ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากพระวิหารเชตวัน
ไปปรากฏในดาวดึงสเทวโลก
เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์
เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ......
............................ฯลฯ

........ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า…
ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้าว่า ..แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น...
ในพระธรรมว่า.. พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส ดีแล้ว...
ในพระสงฆ์ว่า.. พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ปฏิบัติดีแล้ว...
การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา พวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ...
ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ...อันเป็นทิพย์

:b42: :b42: :b42:



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 01:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


MiMee เขียน:

.....บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย
แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้นก็สิ้นไป แล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต

……ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ
ล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และ อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

....บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จ
อิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้ เรียกว่า ปัญญาวิมุต

….. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ
ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ปัญญาวิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท
ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.





ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ
ล่วงรูปสมบัติ
................


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมบัติ ล่วง รูปสมบัติด้วยกายอยู่




หลายคนอ่านพระสูตรนี้เข้าอาจเข้าใจว่าไม่เอาฌานเลยแม้แต่ปฐมฌานซึ่งเป็นไปไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 07:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่ได้ศึกษาธรรมะของหลวงปู่มามากมายอะไร...เพิ่งจะรู้จัก..เนื่องจากข่าวดูจิต

แต่เพราะ...ธรรมสองบทนี้...ในพิพิธภัณท์หลวงปู่วัดบูรพา..แค่นั้นเองครับ

หยั่งใจตามดูแล้ว....ศิโรราบทั้งกายและใจ.. :b8: :b8: :b8:

จิตส่งออก...เป็นสมุทัย
ผลของจิตส่งออก..เป็นทุกข์
จิตเห็นจิต..เป็นมรรค
ผลของจิตเห็นจิต..เป็นนิโรธ


................

คิดเท่าไหร่ๆ ... ก็ไม่รู้
ต่อเมื่อหยุดคิด... จึงรู้
แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละ....ถึงรู้

.................



พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่ได้ศึกษาธรรมะของหลวงปู่มามากมายอะไร...เพิ่งจะรู้จัก..เนื่องจากข่าวดูจิต

แต่เพราะ...ธรรมสองบทนี้...ในพิพิธภัณท์หลวงปู่วัดบูรพา..แค่นั้นเองครับ

หยั่งใจตามดูแล้ว....ศิโรราบทั้งกายและใจ.. :b8: :b8: :b8:

จิตส่งออก...เป็นสมุทัย
ผลของจิตส่งออก..เป็นทุกข์
จิตเห็นจิต..เป็นมรรค
ผลของจิตเห็นจิต..เป็นนิโรธ


................

คิดเท่าไหร่ๆ ... ก็ไม่รู้
ต่อเมื่อหยุดคิด... จึงรู้
แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละ....ถึงรู้

.................

ที่ยอมศิโรราบแสดงว่าเข้าใจธรรมนี่ละซิ
ช่วยอธิบายหน่อยเด่ะ เอาที่ละบรรทัดเลยน่ะ

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” สาธุ! :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2012, 00:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ที่ยอมศิโรราบแสดงว่าเข้าใจธรรมนี่ละซิ
ช่วยอธิบายหน่อยเด่ะ เอาที่ละบรรทัดเลยน่ะ

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” สาธุ! :b13:


จะจำไปทำข้อสอบหรือ?

หรือว่าจะให้คะแนนว่าสอบผ่านหรือไม่ผ่าน?
:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2012, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="MiMee"][b]หลวงปู่ดูลย์ อตุโล :b8:
"คิดเท่าไหร่ๆ ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละถึงรู้"


:b8: พระพุทธองค์ผู้ทรงนำความจริงมาสั่งสอนให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
:b8: พระธรรม คำสอน ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
:b8: พระสงฆ์ ผู้นำพระธรรม ของ พระพุทธองค์ มาสั่งสอนให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ จนถึงปัจจุบันนี้
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 03:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
หลายคนอ่านพระสูตรนี้เข้าอาจเข้าใจว่าไม่เอาฌานเลยแม้แต่ปฐมฌานซึ่งเป็นไปไม่ได้


ดูกรพราหมณ์
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่


พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

ดูกรพราหมณ์
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะอันเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้ในภายใน
มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้
ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็งจดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ
ทำอุทธัจจกุกกุจจะไว้ในภายในมีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา
ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน
ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล

ดูกรพราหมณ์
ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน
มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

เข้าตติยฌาน
ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย
มีสติอยู่ เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล ฯ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 04:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว



ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกราน..ภิกษุผู้เพ่งฌานว่า ..

ก็ภิกษุผู้เพ่งฌานเหล่านี้ ย่อมเพ่งฌาน ยึดหน่วงฌานว่า เราเพ่งฌานๆ ดังนี้
ก็ภิกษุเหล่านี้ เพ่งฌานทำไม? เพ่งฌานเพื่ออะไร? เพ่งฌานเพราะเหตุไร ?

ภิกษุผู้ประกอบธรรม.ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น
และภิกษุผู้เพ่งฌาน..ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น
ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกราน..ภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า..

ก็ภิกษุผู้ประกอบธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้ฟุ้งเฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า
ปากจัด พูดพล่าม มีสติหลงใหล ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตฟุ้งซ่าน
มีอินทรีย์ปรากฏว่า เราประกอบธรรมๆ ดังนี้

ก็ภิกษุเหล่านี้ประกอบธรรมทำไม? ประกอบธรรมเพื่ออะไร?
ประกอบธรรมเพราะเหตุไร?

ภิกษุผู้เพ่งฌาน..ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น
และภิกษุผู้ประกอบธรรม..ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น
ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ... ฯ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 04:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว



ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้
ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน


ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น
และภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น
ทั้งไม่เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ... ฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น
ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม


ภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น
และภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น
ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุข
แก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลายเป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า...
บุคคลผู้ที่ถูกต้องอมตธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลายเป็นผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า...
บุคคลผู้ที่แทงทะลุเห็นข้ออรรถอันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 06:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42:

viewtopic.php?f=1&t=37876&p=295450&sid=959198af230f314de684fbb9cca25cf8#p295450


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2012, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร