วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 23:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2012, 14:59
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


1. สมมติ นาย ก อาราธนาศีล 5 และตั้งใจรักษาศีลได้ กัับ นาย ข ไม่ได้อาราธนาศีล 5 เพียงแต่ตั้งใจรักษาศีลได้ ทั้ง 2 คน จะได้ผลบุญเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรคะ

2. เวลาใส่บาตร ถ้าเพียงแต่ใส่บาตรโดยไม่ได้กล่าวคำถวายของใส่บาตร จะได้บุญหรือไม่คะ

ขอบคุณสำหรับท่านที่ให้ความกระจ่างค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 14:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


1. มีความตั้งใจรักษาศีล...แล้วก็...รักษาได้สมบูรณื....ย่อมเป็นบุญเป็นกุศล...แม้ไม่ได้อาราธนาก็ตาม

คือดูที่ผล

ศีลเริ่มที่ความตั้งใจ.....ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


runtee เขียน:
1. สมมติ นาย ก อาราธนาศีล 5 และตั้งใจรักษาศีลได้ กัับ นาย ข ไม่ได้อาราธนาศีล 5 เพียงแต่ตั้งใจรักษาศีลได้ ทั้ง 2 คน จะได้ผลบุญเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรคะ

2. เวลาใส่บาตร ถ้าเพียงแต่ใส่บาตรโดยไม่ได้กล่าวคำถวายของใส่บาตร จะได้บุญหรือไม่คะ




ศีล อยู่ที่เจตนา (ตั้งใจ) ข้อ 1 นี้ไปดูที่ลิงค์นี่ จะเข้าใจแจ่มชัดแถมได้ปัญญา

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 85#msg5985


2. บุญ ได้แก่ ความสุขสดชื่นรื่นใจ แม้ไม่ได้กล่าวคำถวายแต่เราก็ทำก็ถวายด้วยมือของตน มีเจตนาให้อยู่แล้ว

ในทางตรงข้าม...บุญจะไม่เกิดต่อเนื่องไป คือเราทำแล้วมานึกเสียดาย หรือใครมาพูดเข้าหูว่า นั่นพระปลอม นั่นน่าจะยังงั้นน่าจะยังงี้ ฯลฯ เราได้ยินได้ฟังเข้า เอาแล้วคิดฟุ้งซ่านงุ่นง่านใจ อะไรกันแน่หนอ...แบบนี้บุญหล่นจากใจเราแล้ว

จงตั้งใจทำ ไตร่ครวญแล้วจึงทำ ทำแล้วไม่เสียดาย นึกถึงตอนไหนขณะใดก็มีความสุขสดชื่นรื่นใจ นี่แหละบุญ หรือกุศลจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


runtee เขียน:
1. สมมติ นาย ก อาราธนาศีล 5 และตั้งใจรักษาศีลได้ กัับ นาย ข ไม่ได้อาราธนาศีล 5 เพียงแต่ตั้งใจรักษาศีลได้ ทั้ง 2 คน จะได้ผลบุญเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรคะ


เริ่มตั้งใจรักษาศีล มันก็เป็นการรักษาขึ้นมาแล้วนะ ได้บุญแล้ว


runtee เขียน:
2. เวลาใส่บาตร ถ้าเพียงแต่ใส่บาตรโดยไม่ได้กล่าวคำถวายของใส่บาตร จะได้บุญหรือไม่คะ


ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เวลาจบคำอาราธนาศีลขอศีลจากพระ ท่านจะสรุปศีลว่า
1.ศีลเมื่อรักษาจะนำมาให้ ซึ่งความสุข
2.ศีลเมื่อรักษาจะนำมาซึ่ง โภคสมบัติ
3.ศีลเมื่อรักษาจะเป็นบาทเบื้องต้นนำไปสู่นิพพาน

นาย ก.เรียกว่าสมาทานวิรัติ มีเจตนาเว้นแต่แรก และได้ขอศีลเอาไว้
นาย ข.เรียกว่าสัมปัตตวิรัติ เว้นเอาเฉพาะหน้า ไม่ได้ขอศีลเอาไว้

มีการเว้นอีกอย่างเรียกสมุจเฉทวิรัติ ของอริยบุคคลหรือของพระอรหันต์
ซึ่งเด็ดขาดแน่นอนกว่าสองแบบแรก ด้วยการอบรมมรรคมีองค์แปด

เจตนาที่ตั้งใจจงใจกว่าทำให้ เหตุในการรักษาสูงกว่า ส่วนผลที่ได้รับ
เป็นความสุขโสมนัส ปราโมทย์ ปิติ ปัสสัทธิ สุข ย่อมช้ากว่า ตามเจตนา
ตามกำลังของการรักษา ศีลหรือการสังวร ระงับเว้นแก้กิเลสหรือทุกข์
ทางกายวาจา ผลที่ได้รับเป็นสุขจะเร็วหรือช้า จึงขึ้นอยู่กับเจตนา
ที่มีกำลังต่างกัน...

http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=108

ถูกกลั่นแกล้งโกรธ เป็นทุกข์ ศีลระงับเว้นระวังสังวร ไม่โต้ตอบ
ด้วยคำพูดการกระทำ ที่ทำแล้วยิ่งเกิดปัญหา ต้องเดือดร้อนใจ
เอาในภายหลัง ความสังวร วิรัติ = เว้น กายทุจริต วจีทุจริต
ถือเป็นคุณของการรักษาไม่ก่อทุกข์ซ้ำ ทำกรรมเพิ่ม นี้คือศีล

ส่วนความสุข ความยินดีพอใจ ความสงบกายสงบใจที่ยังไม่เกิด
นั่นเพราะขาด สมาธิและปัญญาในการแก้ไขปัญหาทั้งภายใน(ใจเรา)
ภายนอก(ใจเขา) เมื่อปรับปรุงพัฒนาตนเองและแก้ไขปัญหาได้
ตรงจุดถูกจุด ความสุขตามที่อาราธนา สมาทานไว้ย่อมมาเร็วกว่า
คนที่ไม่ได้ตั้งเจตนา หรือคนที่ไม่รักษาศีลเลย ฯลฯ

2.เจตนาในการถวายภัตตาหาร ถ้าน้อมใจให้มากด้วยศรัทธา
กับมิได้น้อมใจทำสักว่าอาการถวายเท่านั้น บุญหรือความสุข
ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายในบุคคลที่มีเจตนาถวายด้วยศรัทธาทั้งก่อน,
ในขณะถวาย,และหลังถวายก็ยังน้อมส่งใจไปในศรัทธา

บุญที่มีเจตนาก่อน,ขณะให้,หลังให้ย่อมสมบูรณ์กว่า เหมือนการ
ถักการร้อยลูกปัดหรือทำงานที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ไม่สักว่าทำ
กำลังของความสุขที่ประกอบด้วยเจตนาที่สมบูรณ์ ย่อมแสดง
ออกบอกถึงการกระทำนั้นๆ ได้ไปในตัวตามเนื้อผ้าได้ฉันใด
บุญหรือความสุขที่ละเอียดประณีต ย่อมสะท้อนตามกำลัง
ของเจตนาฉันใดก็ฉันนั้นเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Runtee ลองตั้งสติพิจารณาดูครับ ว่าบุญคืออะไร บุญเกิดที่ไหน และใครเป็นผู้รู้สึกถึงบุญ

แล้วคุณจะเข้าใจว่าบุญทำงานอย่างไรครับ จะได้ทำบุญได้อย่างถูกต้องต่อไป

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 10:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2012, 14:59
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณทุก ๆ คำตอบนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 10:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


runtee เขียน:
1. สมมติ นาย ก อาราธนาศีล 5 และตั้งใจรักษาศีลได้ กัับ นาย ข ไม่ได้อาราธนาศีล 5 เพียงแต่ตั้งใจรักษาศีลได้ ทั้ง 2 คน จะได้ผลบุญเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรคะ

2. เวลาใส่บาตร ถ้าเพียงแต่ใส่บาตรโดยไม่ได้กล่าวคำถวายของใส่บาตร จะได้บุญหรือไม่คะ

ขอบคุณสำหรับท่านที่ให้ความกระจ่างค่ะ



1. ไม่ก่อให้เกิดบุญ เพราะการรักษาศีล หรือการมีศีล ต้องบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ถ้ากายไม่กระทำ แต่ในใจยังพอใจ หรือไม่พอใจ ศีลนั้นก็ไม่บริสุทธิ์
2. ได้บุญมากครับ ถือว่าการใส่บาตรเป็นการทำให้สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ามีชีวิตยืดออกไปอีก บุญสูงสุด ถึงแม้ว่าพระสงฆ์นั้นถือศีลไม่ครบ หรือไม่บริสุทธิ์ อย่าใส่เงิน (เป็นการดูถูกว่าเป็นขอทาน) อย่าใส่ดอกไม้ หรืออาหารแห้งในบาตร เพราะพระไม่ต้องการฉันดอกไม้ หรืออาหารแห้ง ขอให้เป็นอาหารสุกพร้อมฉันจะดี จะได้บุญมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่หนึ่งศรัทธายังไม่เข้มข้น ต้องเอาพระสงฆ์หรือพระพุทธรูปเป็นพยาน เรียก สมาทานวิรัต
คนที่สองนี่ศรัทธามั่นคงแล้ว เอาตัวเองเป็นพยาน เรียกว่า เจตนาวิรัต

เหมือนคนหนึ่งว่า ...
ฉันแขวนพระทุกวัน อีกคนว่า พระอยู่ที่ใจของฉันตลอดเวลา

ข้อ ๑ ที่สุดของศีล คือ เจตนา ขอให้มีเจตนาเป็นสำคัญ ไม่ต้องสมาทาน บุญนั้นก็เสมอกัน
ข้อ ๒ ที่สุดของทาน คือ ศรัทธา คนที่จะให้ต้องมีศรัทธาที่จะให้ ไม่ต้องเอยปากก็ได้บุญเช่นกัน

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 148 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร