วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุตติ หมายถึง ผู้ที่ทำสมาธิจิตสงบง่าย(อัปปนาสมาธิ) ชอบความสงบ ไม่ชอบใช้ปัญญา ตัวอย่าง เช่น ภิกษุ ๓๐ รูป ทำความสงบจนเข้าใจว่าบรรลุธรรม ชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เพื่อรับพยากรณ์ พระองค์ให้พระอานนท์ไปบอก ให้ไปพักที่ปาช้าก่อน พรุ่งนี้ค่อยมาเฝ้า ไปเจอสาวเจ้า
นอนตายใหม่ ๆ อะล่างฉาง ราคะที่สมาธิกดไว้เลยกำเริบ จึงพากันเอาอสุภะมาพิจารณาจนเกิดปัญญา
ได้บรรลุธรรมแล้วหลีกหนีไป ไม่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอีก ท่านเรียกพระภิกษุ ๓๐ รูปว่า"เจโตวิมุติ"

ปัญญาวิมุติ หมายถึง ผู้ที่ทำสมาธิสงบยาก ชอบคิด ชอบใช้ปัญญา เมื่อครั้งพุทธกาลผู้ที่เป็นปัญญาวิมุติมีประมาณ ๗๐ เปอร์เซนต์ เช่น ผู้ที่ฟังธรรมแล้วได้บรรลุธรรมทันทีมีมากมาย ในพระชาดกก็
เยอะเป็นหมื่นเป็นแสน เพราะทุกท่านตั้งใจฟัง มีสมาธิขั้น "ตั้งใจมั่น" และใช้ "ปัญญาพิจารณาธรรม" ที่
ท่านเทศน์ ก็บรรลุธรรมตามขั้นภูมิปัญญา ท่านเรียกผู้บรรลุธรรมเหล่านี้ว่า "ปัญญาวิมุติ"

ทั้งปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติ ต้องมีทั้งสมาธิ "ตั้งใจมั่น" และใช้ "ปัญญา" พิจารณาไปพร้อมกัน
หลวงปู่ฯ หลวงตาฯ ครูบาอาจารย์ ท่านเรียกสมาธิขั้นนี้ว่า "อุปจารสมาธิ" เป็นสมาธิที่เหมาะแก่งาน ด้านพิจารณาปัญญา

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 06:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนาสาธุที่แยกกระทู้ออกมาและอรรถาธิบายที่ดีทำให้ชัดขึ้นในเรื่องเจตวิมุติแลปัญญาวิมุติ
สาธุๆๆๆๆ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตยกที่ตอบในกระทู้หนึ่งมายังกระทู้นี้นะครับเพราะเห็นว่าแยกออกมาต่างหากเพื่อความชัดเจน

-----------------------------------------------------------------------------------------------
[อ้างอิง]
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)
http://www.watnyanaves.net/th/book_detail/268

หน้า 74
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิต หรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

หน้า 229
ปัญญาวิมุต "ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา" หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็ขด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล
และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือไม่กลับกลายได้อีกต่อไป

หน้า 567
อุภโตภาควิมุต "ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน" คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตผล; หลุดพ้นทั้งสองส่วน (และสองวาระ) คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ (เป็นวิภขัมภนะ) หนหนึ่งแล้ว จึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค (เป็นสมุจเฉท) อีกหนหนึ่ง; เทียบ ปัญญาวิมุต
[จบการอ้างอิง]

คู่ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ เป็นคำบอกสภาวะการหลุดพ้นว่าหลุดพ้นด้วยสมถะ(ชั่วคราว) หรือด้วยปัญญา(ถาวร)

คู่ อุภโตภาควิมุต และ ปัญญาวิมุต เป็นคำเรียกพระอรหันต์ที่บรรลุอรหัตตผลโดยที่ได้ และไม่ได้สมาบัติ ๘ ก่อนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์

สังเกตุว่าการใช้คู่ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งเป็นคำแยกแยะความหลุดพ้นจากกิเลสถูกนำไปใช้เป็นคำเรียกพระอรหันต์จนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน(ในคนบางหรือหลายๆคน) ว่า ปัญญาวิมุตติ หมายถึงใช้ปัญญาล้วนบ้าง ใช้สมาธิเล็กน้อยบ้าง หรือ สมาธิไม่เด่นบ้าง แต่แท้จริงแล้ว พระอรหันต์ล้วนเป็นปัญญาวิมุตติทั้งสิ้นคือกำจัดกิเลสอย่างสิ้นเชิงด้วยปัญญา

ส่วนใครจะบรรลุมาอย่างไร จะใช้คำอื่นเช่น อุภโตภาควิมุต และ ปัญญาวิมุต เป็นต้น
หากสนใจตรวจค้นใน หน้า ๕๑๑ หัวข้อ อริยบุคคล ๗ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของอริยบุคคล จำแนกเป็น ๗ ประเภท

-----------------------------------------------------------------------------------------------

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกับคำศัทพ์ที่นำมาใช้ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
เจโตวิมุตติ หมายถึง ผู้ที่ทำสมาธิจิตสงบง่าย(อัปปนาสมาธิ) ชอบความสงบ ไม่ชอบใช้ปัญญา ตัวอย่าง เช่น ภิกษุ ๓๐ รูป ทำความสงบจนเข้าใจว่าบรรลุธรรม ชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เพื่อรับพยากรณ์ พระองค์ให้พระอานนท์ไปบอก ให้ไปพักที่ปาช้าก่อน พรุ่งนี้ค่อยมาเฝ้า ไปเจอสาวเจ้า
นอนตายใหม่ ๆ อะล่างฉาง ราคะที่สมาธิกดไว้เลยกำเริบ จึงพากันเอาอสุภะมาพิจารณาจนเกิดปัญญา
ได้บรรลุธรรมแล้วหลีกหนีไป ไม่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอีก ท่านเรียกพระภิกษุ ๓๐ รูปว่า"เจโตวิมุติ"

ปัญญาวิมุติ หมายถึง ผู้ที่ทำสมาธิสงบยาก ชอบคิด ชอบใช้ปัญญา เมื่อครั้งพุทธกาลผู้ที่เป็นปัญญาวิมุติมีประมาณ ๗๐ เปอร์เซนต์ เช่น ผู้ที่ฟังธรรมแล้วได้บรรลุธรรมทันทีมีมากมาย ในพระชาดกก็
เยอะเป็นหมื่นเป็นแสน เพราะทุกท่านตั้งใจฟัง มีสมาธิขั้น "ตั้งใจมั่น" และใช้ "ปัญญาพิจารณาธรรม" ที่
ท่านเทศน์ ก็บรรลุธรรมตามขั้นภูมิปัญญา ท่านเรียกผู้บรรลุธรรมเหล่านี้ว่า "ปัญญาวิมุติ"

ทั้งปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติ ต้องมีทั้งสมาธิ "ตั้งใจมั่น" และใช้ "ปัญญา" พิจารณาไปพร้อมกัน
หลวงปู่ฯ หลวงตาฯ ครูบาอาจารย์ ท่านเรียกสมาธิขั้นนี้ว่า "อุปจารสมาธิ" เป็นสมาธิที่เหมาะแก่งาน ด้านพิจารณาปัญญา

:b12:

:b8: :b8:

หลักใหญ่ใจความนั้น...เห็นด้วย

แต่ก็มีบางจุด...ที่น่าจะพิจารณาใหม่ให้ดี..

"ปัญญาวิมุติ หมายถึง ผู้ที่ทำสมาธิสงบยาก ชอบคิด ชอบใช้ปัญญา"

สายบุญสายกรรม....สั่งสมมานานจนเป็นพันธุกรรมทางจิต...พอพิจารณาอะไรใจจะสงบได้ง่าย...

ไม่ใช่...ผู้ที่ทำสมาธิยาก....อันนี้ล่อแหลม...อาจทำให้กิเลสมันเอาไปอ้างได้

ที่ตรงที่สุดคือ...ผู้ที่มีสมาธิได้ง่ายจากการพิจารณา...
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้วงเล็บไว้แล้วว่า ผู้ที่ทำสมาธิสงบง่าย หรือ สงบยาก ในที่นี้หมายถึง สมาธิระดับ (อัปปนาสมาธิ)
ถ้าสมาธิระดับ "ตั้งใจฟัง" "ตั้งใจมั่น" หรือ "อุปจารสมาธิ" ก็ไม่น่าจะยาก ไม่งั้นถ้า "ไม่ตั้งใจฟังไม่ตั้งใจ
มั่น" คงไม่บรรลุธรรม เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง

การทำสมาธิง่ายหรือยากเปรียบเหมือน

ต้นไม้ที่เกิดในป่าโล่งไม่เกาะเกี่ยวกับเถาวัลย์ใดๆ จะตัดให้ล้มไปทิศทางใดก็ได้ การทำสมาธิจึงง่าย
เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา(เจโตวิมุติ)

ต้นไม้ที่เกิดในป่ารกชัดเต็มไปด้วยเถาวัลย์เกาะเกี่ยว จึงต้องตัดเถาวัลย์เหล่านั้นออกไปก่อน
(ด้วยปัญญา) การทำสมาธิจึงจะสะดวก เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ (ปัญญาวิมุติ)

++

.. ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน
ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของ พระอรหันต์สุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรค

มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค ๘
บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้ ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญาณ
จำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน

ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติด้วยประการฉะนี้แลฯ ..

ส่วนนี้เอามาจาก หนังสือมุตโตทัย โดยหลวงปู่มั่นฯ ..


:b8: :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 105 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร