วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 23:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โดยนัย แห่งปฏิจจสมุปบาท


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน
เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยง
ชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำที่เราได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัด
ค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้นเราจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น ฯ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 22:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote=4.ทุกข์ที่เป็นสภาวะ หรือทุกข์ธรรมชาติ ดับไม่ได้ บังคับไม่ได้ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย การเกิด แก่ เจ็บตาย นำไปสู่ความทุกข์ใจของมนุษย์ ดังนั้นต้องพิจารณาขันธ์ 5 เพื่อดับตัวตนของเรา ฆ่าตัวตนของเรา นี่ไม่ใช่เรา เป็นการดับทุกข์ใจ เราก็ไม่กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย[/quote]

ขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติม ทุกข์สภาวะ บังคับไม่ได้ ถ้าเกิดแล้วก็ต้องมีแปรเปลี่ยนสภาพ เสื่อมไปในที่สุด
เมื่อเกิดก็ต้องมีแก่ มีเจ็บ มีตาย แต่ทุกข์นี้ดับไม่ให้เกิดได้โดย ขจัด โลภ โกรธ หลง ออกจากใจให้หมดสิ้น นี่คือการดับวงจรเวียนว่าย ตายเกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 22:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับ :b8:
ผมขอขอบคุณในคำตอบของพี่มากครับ แต่ในบางข้อผมยังสงสัยไม่ลงใจนักเลยขอปุจฉาต่อสักหน่อยครับ

**1.ไตรลักษณ์คืออะไรครับ
คือ กฎที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นจากการเห็นแจ้งความจริงของธรรมชาติ ว่าสรรพสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย ตั้งอยู่เพราะเหตุปัจจัย สุดท้ายดับไปเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนของสิ่งนั้นจากคำตอบนี้ขอถามนะครับว่า เหตุและปัจจัยแห่งไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความไม่เที่ยงนั้นคืออะไรครับ ถ้ามีนั้นประกอบด้วยอะไรบ้างครับ
**4.ทุกข์ที่เป็นสภาวะ หรือทุกข์ธรรมชาติ ดับไม่ได้ บังคับไม่ได้ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย การเกิด แก่ เจ็บตาย นำไปสู่ความทุกข์ใจของมนุษย์ ดังนั้นต้องพิจารณาขันธ์ 5 เพื่อดับตัวตนของเรา ฆ่าตัวตนของเรา นี่ไม่ใช่เรา เป็นการดับทุกข์ใจ เราก็ไม่กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย
5. ทุกข์ที่เป็นอารมณ์ หรือทุกข์ใจ ดับได้เพราะทุกข์นี้เราสร้างขึ้นเอง ดับได้จากการพิจารณา อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง
เพราะความไม่เที่ยงของจิต เกิดตัณหา อุปทาน และทุกข์ใจตามมา
จากคำตอบในข้อ4-5นั้น ก่อนหน้านี้ในกระทู้ข้างบนพี่ได้บอกว่ามีความหมายเหมือนกัน แล้วทำไมอันหนึ่งดับได้อันหนึ่งดับไม่ได้ครับ
**จากคำตอบข้อ5ที่ว่า"เพราะความไม่เที่ยงของจิต เกิดตัณหา อุปทาน และทุกข์ใจตามมา" ขอถามว่าจิตไม่เที่ยงยังไงครับ ตัวไหนหรือตรงไหนของจิตที่มันไม่เที่ยง หรือว่าจิตนี้มันไม่เที่ยงทั้งหมดเลยครับ
**6.สุดท้ายถ้าความไม่เที่ยงเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย เราจะดับเหตุแห่งทุกข์หรือดับความไม่เที่ยงได้ยังไงครับ
6. ความไม่เที่ยงดับไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เป็นการดับความทุกข์ใจของมนุษย์เพราะความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 และความไม่เที่ยงของสิ่งมากระทบ รูปไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง สัมผัสไม่เที่ยง ใจคิดลึกไม่เที่ยง ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ทำให้เกิดตัณหา และทุกข์ใจตามมาทันที ต้องฝึกพิจารณาขันธ์ 5 และ อายตนะภายนอกทั้ง 6 เพื่อให้รู้
ขณะปัจจุบัน ว่าสรรพสิ่งมีเกิด มีดับไปเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น
มีเกิดก็ต้องมีดับไป มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่คงสภาพ เพราะว่ามัน ไม่เที่ยง
จากคำตอบข้อที่6นั้น ผมเห็นว่ามันขัดกับสิ่งที่พี่บอกในหลายๆครั้งว่า"ความไม่เที่ยง เกิดดับ เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย" ก็ในเมื่อมันดับไม่ได้ก็แสดงว่าเราย่อมดับทุกข์ไม่ได้เช่นกันใช่มั้ยครับ เพราะเหตุดับได้ผลหรือทุกข์จึงดับได้ แล้วขันธ์ 5 เองมันก็ไไม่เที่ยงด้วยตัวมันเองอยู๋แล้วโดยธรรมชาติ
คำถามผมข้อนี้ก็คือแล้วเราไปดับอะไรในขันธ์ 5 จึงทำให้เราดับความทุกข์ใจ พอใจ ไม่พอใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ดีใจ เสียใจ ได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 22:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับ :b8:
ผมขอขอบคุณในคำตอบของพี่มากครับ แต่ในบางข้อผมยังสงสัยไม่ลงใจนักเลยขอปุจฉาต่อสักหน่อยครับ

**1.ไตรลักษณ์คืออะไรครับ
คือ กฎที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นจากการเห็นแจ้งความจริงของธรรมชาติ ว่าสรรพสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย ตั้งอยู่เพราะเหตุปัจจัย สุดท้ายดับไปเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนของสิ่งนั้นจากคำตอบนี้ขอถามนะครับว่า เหตุและปัจจัยแห่งไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความไม่เที่ยงนั้นคืออะไรครับ ถ้ามีนั้นประกอบด้วยอะไรบ้างครับ
**4.ทุกข์ที่เป็นสภาวะ หรือทุกข์ธรรมชาติ ดับไม่ได้ บังคับไม่ได้ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย การเกิด แก่ เจ็บตาย นำไปสู่ความทุกข์ใจของมนุษย์ ดังนั้นต้องพิจารณาขันธ์ 5 เพื่อดับตัวตนของเรา ฆ่าตัวตนของเรา นี่ไม่ใช่เรา เป็นการดับทุกข์ใจ เราก็ไม่กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย
5. ทุกข์ที่เป็นอารมณ์ หรือทุกข์ใจ ดับได้เพราะทุกข์นี้เราสร้างขึ้นเอง ดับได้จากการพิจารณา อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง
เพราะความไม่เที่ยงของจิต เกิดตัณหา อุปทาน และทุกข์ใจตามมา
จากคำตอบในข้อ4-5นั้น ก่อนหน้านี้ในกระทู้ข้างบนพี่ได้บอกว่ามีความหมายเหมือนกัน แล้วทำไมอันหนึ่งดับได้อันหนึ่งดับไม่ได้ครับ
**จากคำตอบข้อ5ที่ว่า"เพราะความไม่เที่ยงของจิต เกิดตัณหา อุปทาน และทุกข์ใจตามมา" ขอถามว่าจิตไม่เที่ยงยังไงครับ ตัวไหนหรือตรงไหนของจิตที่มันไม่เที่ยง หรือว่าจิตนี้มันไม่เที่ยงทั้งหมดเลยครับ
**6.สุดท้ายถ้าความไม่เที่ยงเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย เราจะดับเหตุแห่งทุกข์หรือดับความไม่เที่ยงได้ยังไงครับ
6. ความไม่เที่ยงดับไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เป็นการดับความทุกข์ใจของมนุษย์เพราะความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 และความไม่เที่ยงของสิ่งมากระทบ รูปไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง สัมผัสไม่เที่ยง ใจคิดลึกไม่เที่ยง ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ทำให้เกิดตัณหา และทุกข์ใจตามมาทันที ต้องฝึกพิจารณาขันธ์ 5 และ อายตนะภายนอกทั้ง 6 เพื่อให้รู้
ขณะปัจจุบัน ว่าสรรพสิ่งมีเกิด มีดับไปเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น
มีเกิดก็ต้องมีดับไป มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่คงสภาพ เพราะว่ามัน ไม่เที่ยง
จากคำตอบข้อที่6นั้น ผมเห็นว่ามันขัดกับสิ่งที่พี่บอกในหลายๆครั้งว่า"ความไม่เที่ยง เกิดดับ เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย" ก็ในเมื่อมันดับไม่ได้ก็แสดงว่าเราย่อมดับทุกข์ไม่ได้เช่นกันใช่มั้ยครับ เพราะเหตุดับได้ผลหรือทุกข์จึงดับได้ แล้วขันธ์ 5 เองมันก็ไไม่เที่ยงด้วยตัวมันเองอยู๋แล้วโดยธรรมชาติ
คำถามผมข้อนี้ก็คือแล้วเราไปดับอะไรในขันธ์ 5 จึงทำให้เราดับความทุกข์ใจ พอใจ ไม่พอใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ดีใจ เสียใจ ได้ครับ



พอใจ หรือ โลภ หรือ อยากได้
ไม่พอใจ หรือ โกรธ
ตามไม่ทันความพอใจ และไม่พอใจ คือ หลง

ดับในส่วนของจิตในขันธ์ 5 จิต คือ (วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา)
เมื่อเราได้ยินเสียงด่า (หู + เสียงด่า) วิญญาณ >สัญญา> สังขาร> เวทนา ทำงานเป็นลำดับอย่างนี้ทันที เวทนา คือ โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดจากการปรุงแต่งของสังขารเพราะเรามีอวิชชา หรือความเชื่อในสัญญาอยู่เต็ม เมื่อเกิดเวทนาแล้ว ตัณหา อุปทาน แลทุกข์ทึ้นางใจก็ตามมาทันที สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน ถ้าเอาความจริงไม่เที่ยง เกิดดับไปตั้งที่สัญญา สังขารก็ไม่ปรุงแต่ง เวทนาก็ไม่เกิด ตัณหาก็ไม่เกิด อุปทานก็ไม่เกิด ทุกข์ก็ไม่เกิด ดับทุกข์ทางใจ

โลภ โกรธ หลง> ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ(การเกิดแห่งทุกข์)

จิตไม่เที่ยง คือ จิตมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ปรุงแต่งตลอดเวลาจากสิ่งสัมผัสภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เที่ยง

ทุกข์สภาวะ หรือ ธรรมชาติ คือทุกข์ในไตรลักษณ์
ส่วนทุกข์ทางใจ คือผลจากทุกข์ในไตรลักษณ์

ไม่ใช่ดับที่ความไม่เที่ยง แต่เอาปัญญาที่รู้เห็นความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง มาดับความพอใจ ไม่พอใจ เพื่อไม่ให้เกิด ตัณหา และทุกข์ใจตามมาทีหลัง


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 18 ม.ค. 2012, 23:19, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 23:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาขันธ์ 5 และอายตนะภายนอกท้้ง 6 เป็นการฝึกให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ของสรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาเอามาดับต้นเหตุแห่งทุกข์ทางใจของมนุษย์
ขันธ์ 5 และอายตนะทั้ง 6 เหล่านี้ทำงานประสานกันตลอดเวลา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จะทำงานเมื่อมีสิ่งมากระทบทางทวารทั้ง 6


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 23:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นความเป็นเช่นนั้นเอง ของอายตนะ

เพื่อให้เห็นปฏิจจสมุปบาท-อิทัปปัจยตา

:b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 23:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เหตุผล ผมปฏิบัติมาอย่างนี้ผมก็เห็นอย่างนี้ แล้วมันก็ดับทุกข์ได้จริง ดับทีละน้อย
ค่อยปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทุกข์มันก็หายไปทีละน้อย การมีศีล ให้ทาน ทำดี มีสมาธิ มีสติเกิดขึ้น
มันคือ ผล เราศึกษาธรรมให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือศึกษาไปเพื่อดับทุกข์ ที่ผมโต้ตอบ หรือแนะนำ ก็ไม่ได้หวังผลอะไร

ศึกษาธรรมเพิ่มความปวดหัว เสียเวลา สุดท้ายจบแค่กฎไตรลักษณ์ ท่านไม่เชื่อลองพิสูจน์ดู
10 - 20 ปีแล้วแต่ท่าน ท่านก็จะรู้เอง


ปวดหัวก็เพราะ ปฏิบัติยังไม่ถึงแต่ดันไปใช้ หัวคิดไง
มันปวดก็ สมควรแล้ว
คุณเห็นเป็นเรื่องน่าปวดหัว มันก็ถูกของคุณแล้ว

ส่วนผู้ที่ปฏิบัติถึง เขาไม่มีอะไรจะต้องไปคิดให้ปวด
เขาไม่ต้องใช้สังขารคิด
เพราะเขารู้/เห็นเช่นนั้นอยู่แล้ว

ซึ่งถ้าเขาจะเชี่ยวชาญในทุกข์ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์
การดับไปของทุกข์ และการปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อการดับของทุกข์
ก็เป็นการถูกต้องแล้ว

:b6: :b6: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 19 ม.ค. 2012, 00:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 00:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

ไม่ใช่ดับที่ความไม่เที่ยง แต่เอาปัญญาที่รู้เห็นความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง มาดับความพอใจ ไม่พอใจ เพื่อไม่ให้เกิด ตัณหา และทุกข์ใจตามมาทีหลัง

:b23: :b23: :b23:
คุณไม่เที่ยง...ชั่งไม่เที่ยงซะจริง ๆ เล้ยย...

ถ้าความไม่เที่ยง..เป็นเหตุให้เกิด...ความพอใจ..ไม่พอใจ...อย่างที่คุณไม่เที่ยงว่ามา

ความพอใจไม่พอใจ...คือผลดับ...แต่เหตุยังอยู่...แล้วผลมันจะดับได้ยังงัย...โอ้ยย

คุณไม่เที่ยง..ไม่รู้สึก..งง..กับตัวเองบ้างรึ??

จุดที่คุณไม่เที่ยง..ไม่เห็นในสมการนี้...คืออวิชชา

อวิชชา...ดับไปได้ใช่มั้ย...ความไม่เที่ยงดับไม่ได้...

ลองเอา...อวิชชา...ไปแทนความไม่เที่ยง...ในสมการนี้..ดูซิ...

ความไม่เที่ยง..มีอยู่....อวิชชามี...พอใจไม่พอใจจึงมี
ความไม่เที่ยง..มีอยู่...อวิชชาดับ....พอใจไม่พอใจดับ....

นี้พยายามแก้สมการของคุณไม่เที่ยงนะ....

แท้แล้ว...พระพุทธองค์...ไม่ทรงกล่าวว่าความไม่เที่ยง...เป็นปัจจัยให้เกิดอะไรเลย...ในปฏิจจสมุปบาท....อย่างที่คุณ FLAME ยกมา...คุณไม่เที่ยงก็อ่านหน่อยยย....

รึคุณไม่เที่ยง....ไม่เชื่อในพระพุทธเจ้า....พยายามจะเอาความไม่เที่ยงมาใส่ในวงปฏิจจสมุปบาทให้ได้

ดื้อกับใครก็ดื้อได้....อย่ามาดื้อกับพระพุทธองค์เด้อ...บิดเบือนพระธรรมมีโทษหนักนะ

ยังจะพยายามให้ความไม่เที่ยงเป็นปัจจัยให้เกิดอะไร...อีกมั้ย?? s004

รึว่านับถือศาสนาอื่นจึงไม่คิดอะไรมากกับเรื่องนี้ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 00:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับ :b8:
ผมขอขอบคุณในคำตอบของพี่มากครับ แต่ในบางข้อผมยังสงสัยไม่ลงใจนักเลยขอปุจฉาต่อสักหน่อยครับ

**1.ไตรลักษณ์คืออะไรครับ
คือ กฎที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นจากการเห็นแจ้งความจริงของธรรมชาติ ว่าสรรพสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย ตั้งอยู่เพราะเหตุปัจจัย สุดท้ายดับไปเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนของสิ่งนั้นจากคำตอบนี้ขอถามนะครับว่า เหตุและปัจจัยแห่งไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความไม่เที่ยงนั้นคืออะไรครับ ถ้ามีนั้นประกอบด้วยอะไรบ้างครับ
**4.ทุกข์ที่เป็นสภาวะ หรือทุกข์ธรรมชาติ ดับไม่ได้ บังคับไม่ได้ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย การเกิด แก่ เจ็บตาย นำไปสู่ความทุกข์ใจของมนุษย์ ดังนั้นต้องพิจารณาขันธ์ 5 เพื่อดับตัวตนของเรา ฆ่าตัวตนของเรา นี่ไม่ใช่เรา เป็นการดับทุกข์ใจ เราก็ไม่กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย
5. ทุกข์ที่เป็นอารมณ์ หรือทุกข์ใจ ดับได้เพราะทุกข์นี้เราสร้างขึ้นเอง ดับได้จากการพิจารณา อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง
เพราะความไม่เที่ยงของจิต เกิดตัณหา อุปทาน และทุกข์ใจตามมา
จากคำตอบในข้อ4-5นั้น ก่อนหน้านี้ในกระทู้ข้างบนพี่ได้บอกว่ามีความหมายเหมือนกัน แล้วทำไมอันหนึ่งดับได้อันหนึ่งดับไม่ได้ครับ
**จากคำตอบข้อ5ที่ว่า"เพราะความไม่เที่ยงของจิต เกิดตัณหา อุปทาน และทุกข์ใจตามมา" ขอถามว่าจิตไม่เที่ยงยังไงครับ ตัวไหนหรือตรงไหนของจิตที่มันไม่เที่ยง หรือว่าจิตนี้มันไม่เที่ยงทั้งหมดเลยครับ
**6.สุดท้ายถ้าความไม่เที่ยงเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย เราจะดับเหตุแห่งทุกข์หรือดับความไม่เที่ยงได้ยังไงครับ
6. ความไม่เที่ยงดับไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เป็นการดับความทุกข์ใจของมนุษย์เพราะความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 และความไม่เที่ยงของสิ่งมากระทบ รูปไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง สัมผัสไม่เที่ยง ใจคิดลึกไม่เที่ยง ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง ทำให้เกิดตัณหา และทุกข์ใจตามมาทันที ต้องฝึกพิจารณาขันธ์ 5 และ อายตนะภายนอกทั้ง 6 เพื่อให้รู้
ขณะปัจจุบัน ว่าสรรพสิ่งมีเกิด มีดับไปเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น
มีเกิดก็ต้องมีดับไป มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่คงสภาพ เพราะว่ามัน ไม่เที่ยง
จากคำตอบข้อที่6นั้น ผมเห็นว่ามันขัดกับสิ่งที่พี่บอกในหลายๆครั้งว่า"ความไม่เที่ยง เกิดดับ เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย" ก็ในเมื่อมันดับไม่ได้ก็แสดงว่าเราย่อมดับทุกข์ไม่ได้เช่นกันใช่มั้ยครับ เพราะเหตุดับได้ผลหรือทุกข์จึงดับได้ แล้วขันธ์ 5 เองมันก็ไไม่เที่ยงด้วยตัวมันเองอยู๋แล้วโดยธรรมชาติ
คำถามผมข้อนี้ก็คือแล้วเราไปดับอะไรในขันธ์ 5 จึงทำให้เราดับความทุกข์ใจ พอใจ ไม่พอใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ดีใจ เสียใจ ได้ครับ



พอใจ หรือ โลภ หรือ อยากได้
ไม่พอใจ หรือ โกรธ
ตามไม่ทันความพอใจ และไม่พอใจ คือ หลง

ดับในส่วนของจิตในขันธ์ 5 จิต คือ (วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา)
เมื่อเราได้ยินเสียงด่า (หู + เสียงด่า) วิญญาณ >สัญญา> สังขาร> เวทนา ทำงานเป็นลำดับอย่างนี้ทันที เวทนา คือ โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดจากการปรุงแต่งของสังขารเพราะเรามีอวิชชา หรือความเชื่อในสัญญาอยู่เต็ม เมื่อเกิดเวทนาแล้ว ตัณหา อุปทาน แลทุกข์ทึ้นางใจก็ตามมาทันที สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน ถ้าเอาความจริงไม่เที่ยง เกิดดับไปตั้งที่สัญญา สังขารก็ไม่ปรุงแต่ง เวทนาก็ไม่เกิด ตัณหาก็ไม่เกิด อุปทานก็ไม่เกิด ทุกข์ก็ไม่เกิด ดับทุกข์ทางใจ

โลภ โกรธ หลง> ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ(การเกิดแห่งทุกข์)

จิตไม่เที่ยง คือ จิตมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ปรุงแต่งตลอดเวลาจากสิ่งสัมผัสภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เที่ยง

ทุกข์สภาวะ หรือ ธรรมชาติ คือทุกข์ในไตรลักษณ์
ส่วนทุกข์ทางใจ คือผลจากทุกข์ในไตรลักษณ์

ไม่ใช่ดับที่ความไม่เที่ยง แต่เอาปัญญาที่รู้เห็นความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง มาดับความพอใจ ไม่พอใจ เพื่อไม่ให้เกิด ตัณหา และทุกข์ใจตามมาทีหลัง

จากที่คุณไม่เทียง เกิดดับ อธิบาย มันมาลงความดับตัวกูของกู หรือดับการยึดมั่นถือมั่น หรือการปล่อยวาง ไม่ใช้หรือครับ เพราะที่ฟังท่านพุทธทาส และหลวงพ่อชา ทั้ง2ท่านเป็นอย่างน้อย มันลงทีีจุดนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 01:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จากที่คุณไม่เทียง เกิดดับ อธิบาย มันมาลงความดับตัวกูของกู หรือดับการยึดมั่นถือมั่น หรือการปล่อยวาง ไม่ใช้หรือครับ เพราะที่ฟังท่านพุทธทาส และหลวงพ่อชา ทั้ง2ท่านเป็นอย่างน้อย มันลงทีีจุดนี้

พี่ฝึกจิตกล่าวได้ถูกแล้วครับ ในหลายๆคำกล่าวของพี่ไม่เที่่ยงเกิดดับนั้นเกือบจะเข้าถึงเหตุแห่งทุกขสัจในอริยะสัจ 4 หลายครั้งแล้วถ้าพี่เค้าไม่ถอนกลับไปยึดเอาความไม่เที่ยง เกิดดับ ทุกครั้ง ว่าเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง เป็นเหตุแห่งความพอใจไม่พอใจ ชอบใจไม่ชอบใจ เป็นต้น
**แต่เหตุที่แท้จริงนั้นก็อย่างที่พี่กบในกะลาได้กล่าวเพื่อช่วยแก้ไขให้กับพี่ไม่เที่ยง เกิดดับว่า เหตุทั้งหลายมันเกิดจากอวิชชาความไม่รู้เท่าทันในกิเลสทั้งหลาย เพราะเช่นนั้นอุปทานจึงยังมีความยึดมั่นถือมั่นจึงยังมีอยู่ มันจึงได้ยึดเอาขันธ์ 5 มาเป็นตัวเป็นตน หล่อก็ตัวตนสวยก็ตัวตนไม่หล่อไม่สวยก็ตัวตน มันก็เลยเกิดความชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้าง พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง เวทนาก็เกิดขึ้นสุขบ้างทุกข์บ้างเฉยๆบ้าง สารพัดเรื่องราวไม่มีจบสิ้น เรื่องอะไรที่มันผ่านไปแล้วเป็นอดีตไปแล้วก็ไม่ยอมปล่อยยังยึดยังถือไว้อยู่ เก็บมาคิดให้เสียดายบ้าง ให้เศร้าหมองบ้าง ให้เป็นทุกข์บ้าง แบบนี้เป็นต้น ไม่ใช่เพราะความไม่เที่ยงทำให้เกิดความทุกข์นะ ไอ้ความเที่ยงนี่ก็ทำให้เกิดทุกข์ได้เหมือนกัน ถ้าไปยึดมั่นหมายมั่นมันเกินไป...
หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 07:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์กันแน่ ขันธ์ 5 หรือ ไตรลักษณ์ หรือ สิ่งที่มากระทบ

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ แล้วมีสิ่งไหนในโลกในจักรวาลนี้ที่เที่ยงบ้าง ใครตอบได้ชอบตอบที
smiley smiley smiley smiley

จากกระทู้ ความหมายของคำว่า ทุกข์ ชี้แนะด้วยครับ
ผมจึงได้คำตอบในคำถามของท่าน ไม่เที่ยง เกิดดับ แต่ขอให้เข้าใจก่อนว่า
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น เขาใช้กับขันธ์ 5 ส่วนอย่างอื่น ใช้ว่า อนิจจตา=อนิจจลักษณะ ทุกขตา=ทุกขลักษณะ อนัตตตา=อนัตตลักษณะ ซึ่งไม่เหมือนกัน
และ
หลวงปู่ดูลย์ท่านกล่าวถึง ปฏิจจสมุปบาท ไว้โดยย่อว่า
“ภาวะที่แท้แห่งจิต เป็นสิ่งที่ก่อกำเนิดธรรมทั้งหลาย ที่เรียกว่าวิญญาณ [วิญญาณคลัง อาลยะ (3 - วิญญาณ/Consciousness)] ในทันทีที่เริ่มวิถีแห่งความคิดนึก (4 - นามรูป/Thought) หรือวิถีแห่งการหาเหตุผล (Reasoning/Imagination based on ‘Self-image’) ภาวะที่แท้แห่งจิต ก็กลายเข้ารูปเป็นวิญญาณประเภทต่างๆ (วิญญาณทาง ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ/Eye, Ear, Nasal, Tongue, Bodily Contact, Mind Consciousness) เมื่อวิญญาณซึ่งรับรู้ (6 - ผัสสะ/Contact) ในอารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ (7 - เวทนา/Feeling) ในวัตถุแห่งอารมณ์ทั้งหกจากทวารทั้งหก (5 - สฬายตนะ/อายตนะ 6/6 Sense Organs) นั้น ดังนั้น กิจของธาตุสิบแปด จึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้น (2 - สังขาร/Impulse/Biased Thought Formation) ของภาวะที่แท้แห่งจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติกิจในทางชั่ว (กิเลส/Impurities) (8 - ตัณหา/Craving), (9 - อุปาทาน/Clinging), (กรรม/Deed/Action/Volition), (10 - ภพ/Becoming), (11 - ชาติ/Birth) (12 – ชราหรือความสุกงอมของความคิด/Ripening/Aging, มรณะหรือความสลายตัวของความคิด/Ceasing/Passing away, ฯลฯ) หรือ ปฏิบัติกิจในทางดี ก็แล้วแต่ว่าภาวะที่แท้แห่งจิต จะอยู่ในอารมณ์เช่นใด - อารมณ์ชั่ว (1 - อวิชชา/Ignorance/Delusion: ปฏิจจสมุปบาท สายเกิด) หรืออารมณ์ดี (วิชชา/ปัญญา/Wisdom: ปฏิจจสมุปบาท สายดับ) กิจอันชั่วก็เป็นลักษณะของสามเนกขน (สามัญชน) กิจอันดีก็เป็นลักษณะของพุทธ เพราะว่ามีความรู้สึกที่เป็นของคู่ประเภทตรงกันข้าม ฝังติดเป็นนิสัยอยู่ในภาวะที่แท้แห่งจิต.”

(ปฏิจจสมุปบาท มีองค์ 12: 1. อวิชชา -> 2. สังขาร -> 3. วิญญาณ -> 4. นามรูป -> 5. สฬายตนะ -> 6. ผัสสะ -> 7. เวทนา -> 8. ตัณหา -> 9. อุปาทาน -> 10. ภพ -> 11. ชาติ -> 12. ชรามรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสา)
ท่านคงหาคำตอบจากบทความนี้ได้นะครับ
ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 09:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


การยึดมั่นถือมั่น ก็เพราะความไม่เที่ยงของจิต มีการแปรปรวน ปรุงแต่งตลอดเวลา
เพราะ วิญญาณไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 09:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับความไม่เที่ยงดับไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่เอาปัญญาที่เห็นว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง มีเกิด มีดับ ไปดับไม่ให้เกิดการปรุงแต่ง(สังขาร) เพื่อไม่เกิดเวทนา ตัณหา อุปทาน และทุกข์ตามมา

- ถ้าจิตเที่ยงคงไม่ปรุงแต่งทำให้เกิดทุกข์ใจ
- ถ้ากายเที่ยงคงไม่ทุกข์กาย ทุกข์ใจก็ไม่ตามมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 09:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป/อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครอบคลุมธรรมชาติทั้งหมด
ไม่ใช่แค่ขันธ์ 5
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง แปรปรวนตลอดเวลา
ทุกขัง คือ การไม่ทนสภาพหรือสภาวะเดิมได้
อนัตตา คือ การไม่มีตัวตน

ขันธ์ 5 มีการเปลี่ยนแปลง มีสภาพไม่ทน สุดท้ายต้องดับหรือตาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกกันหมดเพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนของขันธ์ 5 หรือ ตัวเรา ดังนั้นขันธ์ 5 จึงตั้งอยู่ในกฎไตรลักษณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 10:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นักปฎิบัติธรรมทั้งหลาย...ดูได้ที่...การน้อมเอาธรรมเข้ามาพิจารณา

ใน..100 คำของกัลยาณมิตร...ต้องมีสักคำ..ที่เป็นธรรม

หากไม่เห็นเลย...นี้...จงระวังตนให้ดี...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร