วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 21:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์กันแน่ ขันธ์ 5 หรือ ไตรลักษณ์ หรือ สิ่งที่มากระทบ

ดันเอาคำตอบผิดๆมาให้เลือก อย่างนี้ใครเขาจะเลือกถูก
ย่ำคิดย่ำทำอยู่นั้นแหล่ะ

คำตอบสมาชิกก็ตอบไปแล้วในกระทู้ก่อน ไม่คิดจะใส่ใจ ดื้อจนด้านแล้วนะครับ :b13:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ แล้วมีสิ่งไหนในโลกในจักรวาลนี้ที่เที่ยงบ้าง ใครตอบได้ชอบตอบที

อันนี้ก็ถามผิด ...มันต้องถามว่า สิ่งใดในโลกที่ไม่เที่ยง
คำตอบก็คือกายใจเราที่ไม่เที่ยง :b13:


ตอบผิด สรรพสิ่ง "ไม่เที่ยง"


ใครตอบว่า สรรพสิ่งไม่เทียง ผู้ตอบเป็นอวิชา

สรรพสิ่งหรือธรรมชาติแบ่งเป็นสองอย่าง คือ สังขตธรรมและอสังขตธรรม
สังขตธรรม เป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา
แต่อสังขตธรรม ไม่ใช่ไตรลักษณ์ มีแต่อนันตาเพียงอย่างเดียว

สังขตธรรม มีความหมายถึง สังขารทั้งหลายทั้งมวลที่มาประชุมกัน
ด้วยเหตุปัจจัย อันได้แก่สังขารทั้งมวล
อสังขตธรรม คือธาตุเดิมๆ ที่ยังไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง หรืออีกนัยคือ
การแยกสลายการของสังขารกลับคืนสู่ ธาตุเดิม

สังขารเกิดขึ้นได้ด้วยการที่จิตเรา ไปปรุงแต่งสรรพสิ่งภายนอกให้เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
อย่างเช่น ร่างกายที่จิตอาศัยอยู่ จิตไปยึดเอามาเป็นตัวเป็นตน แท้จริงแล้วมันเป็นเพียง
ธาตุ ดิน น้ำ ลมไฟ ธาตุทั้งสี่เป็นอสังขตธรรม ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกข์ แต่มันไม่ใช่ตัวตน
บังคับไม่ได้
ดังนั้นจขกทตอบว่า สรรพสิ่งไม่เที่ยงมันผิด
ต้องตอบว่า สังขารทั้งมวลไม่เที่ยง และสังขารเกิดขึ้นที่กายใจเราเท่านั้น
ฉะนั้นที่ผมตอบว่า กายใจเราไม่เที่ยงเหมาะสมแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 03:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากเพราะอาจทำให้ผู้ใหม่หลงเชื่อและเห็นผิดตามไปด้วย คือเรื่องที่ว่า "มรรค 8 เป็นผล เป็นธรรมสำหรับพระอริยเจ้า"
มีปลีกย่อยอีกหลายเรื่องที่ยังต้องวิเคราะห์แก้ไขกันต่อไป

ที่คุณไม่เที่ยงแกบอก มรรค8เป็นผล มันถูกแล้ว แต่ถ้าจะให้ชัดลงไป
ต้องบอกว่า "มรรคมีองค์8"

และที่ว่าเป็นผลก็เพราะมันคาบเกี่ยวกันระหว่างเหตุกับผล
พออธิบายได้ดังนี้ คำว่ามรรคมีองค์8 ไม่ใช่ธรรมที่ให้ปฏิบัติ
แต่ในความหมายที่เป็นจริงคือ เราต้องปฏิบัติให้ได้มาซึ่ง มรรคมีองค์8
เมื่อเราได้มรรคจนครบองค์8แล้ว องค์ทั้ง8จะรวมเป็นหนึ่งเรียกว่า "สัมมาวิมุตติ"
ผู้ใดมีธรรมหรือ"มรรคสมังคี(มรรค8)" ย่อมต้องเกิด "ปัญญาวิมุตติ"เป็นอรหันต์

การจะมีมรรคในแต่ละองค์ ต้องอาศัยการปฏิบัติในส่วนของธรรมอื่นๆ
อาทิเช่น สัมมัปปทาน,สติปัฏฐาน,อิทบาท,อินทรีย์,พละและโพชฌงค์
เราต้องอาศัยธรรมเหล่านี้ เพื่อให้เกิด มรรคในแต่ละองค์ จนเกิดมรรคสมังคี
หรือมรรคมีองค์8 เมื่อมีมรรคครบองค์8แล้ว สัมมาญาณะและสัมมาวิมุตติจะ
เกิดตามมาโดยอัตโนมัติ

ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า มรรคมีองค์8หรือสัมมามรรค8เป็นผล
เพราะถ้าเราได้สัมมามรรค8แล้ว มันเป็นผลสุดท้ายของการปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี


อ้างคำพูด:
เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย


ภิกษุ ท.! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา)
ขึ้น, อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญ ญ าณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น, อาศัย
จมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น, อาศัยลิ้นกับรส
เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น, อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด
กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโน-
วิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น; ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป
จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น ชื่อว่า ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้า. บุคคลนั้น เมื่อ
สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่,
อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนเนืองอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. เมื่อ ทุกขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ คร่ำ ครวญ ตีอกร่ำ ไห้ ถึงความ
หลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.
เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิด
เวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของ
เวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่อง
ออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย, อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
ของบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท.! บุคคลนั้นหนอ ยังละอนุสัยคือราคะในเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้, ยังบรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้, ยังถอนอนุสัย
คืออวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้, ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำ
วิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ให้ทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้
ดังนี้ : ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.


- อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

http://www.pobbuddha...1099/index.html


อนุสัยสามคู่กับเวทนาสาม



ภิกษุ ท.! เพ ราะอาศัยต าด้วย รูป ทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุ-
วิญ ญ าณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญ ญ าณ )
นั่นคือผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็น
ทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ
สรรเสริญ เมาหมกอยู่; อนุศัยคือราคะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้)
แก่บุคคลนั้น (ตสฺส ราคานุสโย อนุสติ);

เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อม
คร่ำครวญ ย่อมตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหลอยู่; อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อม
ตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.

เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ
(อ ร่อ ย ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โท ษ ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่ง
นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย; อนุสัยคืออวิชชา ย่อม
ตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.

ภิกษุ ท.! บุคคลนั้นหนอ ยังละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาไม่
ได้; ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้; ยังถอนอวิชชานุสัย
อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้; เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำ วิชชาให้
เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว, เขาจักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น;
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.


(ในกรณีแห่ง หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ได้ตรัสโดยทำ นองเดียวกันในกรณี
แห่งตา).

- อุปริ.ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

http://pobbuddha.com...1365/index.html

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ตอบ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ตอบ ตัณหาเป็นเหตุเกิดทุกข์

ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-
1.อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
2.ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้.

ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร



พระพุทธเจ้าท่านคิดให้แล้ว ถ้าเรามัวแต่คิดกันเองเผลอๆเถียงกันไม่จบแถมปวดหัว.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 12:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


tonnk เขียน:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ตอบ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ตอบ ตัณหาเป็นเหตุเกิดทุกข์

ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-
1.อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
2.ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้.

ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร



พระพุทธเจ้าท่านคิดให้แล้ว ถ้าเรามัวแต่คิดกันเองเผลอๆเถียงกันไม่จบแถมปวดหัว.



สรุปแล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป /อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ใช่หรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์กันแน่ ขันธ์ 5 หรือ ไตรลักษณ์ หรือ สิ่งที่มากระทบ

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ แล้วมีสิ่งไหนในโลกในจักรวาลนี้ที่เที่ยงบ้าง ใครตอบได้ชอบตอบที
smiley smiley smiley smiley


คำถามไง ถามมากก็ทุกข์มาก ซี้ซั้วถาม ถามไร้สาระ อะไรที่ไม่ควรถามก็ดันถาม ถามในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ถามซี้ซั้วแต่ไม่ต้องการคำตอบ ไม่คยหาคำตอบ ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักตัวเอง จึงทุกข์มากเพราะถามมากแต่ไม่เคยต้องการคำตอบ ไม่เคยหาคำตอบ จึงทุกข์ตลอดไป

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 16:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


di_dee เขียน:
ความไม่เที่ยง เที่ยงค่ะ :b1:
มีธาตุ มีขันธ์ ก็มีทุกข์
หมดธาตุ หมดขันธ์ก็ไม่มีทุกข์ค่ะ :b1:


ใช่ครับทุกข์ทั้งหลายเกิดจากความไม่เที่ยง
ทุกข์กายเพราะอะไร เพราะความไม่เที่ยงของร่างกาย
ทุกข์ใจเพราะอะไร เพราะความไม่เที่ยงของจิตใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 16:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
di_dee เขียน:
ความไม่เที่ยง เที่ยงค่ะ :b1:
มีธาตุ มีขันธ์ ก็มีทุกข์
หมดธาตุ หมดขันธ์ก็ไม่มีทุกข์ค่ะ :b1:


ใช่ครับทุกข์ทั้งหลายเกิดจากความไม่เที่ยง
ทุกข์กายเพราะอะไร เพราะความไม่เที่ยงของร่างกาย
ทุกข์ใจเพราะอะไร เพราะความไม่เที่ยงของจิตใจ


ส่วนผมคิดว่า ความยึดมั่นถื่อมั่น ในความไม่เที่ยงหรือจะเที่ยงก็ตาม ต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 16:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
di_dee เขียน:
ความไม่เที่ยง เที่ยงค่ะ :b1:
มีธาตุ มีขันธ์ ก็มีทุกข์
หมดธาตุ หมดขันธ์ก็ไม่มีทุกข์ค่ะ :b1:


ใช่ครับทุกข์ทั้งหลายเกิดจากความไม่เที่ยง
ทุกข์กายเพราะอะไร เพราะความไม่เที่ยงของร่างกาย
ทุกข์ใจเพราะอะไร เพราะความไม่เที่ยงของจิตใจ


ส่วนผมคิดว่า ความยึดมั่นถื่อมั่น ในความไม่เที่ยงหรือจะเที่ยงก็ตาม ต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์
:b8:


เริ่มแรกก็ต้องฝึกจากการยึดมั่นก่อน คือ การเติมความจริงในใจให้มาก เพื่อขจัดความยึดมั่น
เพื่อนำไปสู่ความไม่ยึดมั่น เพราะแต่ละคนเติมความเชื่อตลอดเวลาตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 19:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
cool
ความเห็นของคุณไม่เที่ยง
ถ้าร่างกายเราเที่ยงคงไม่เป็นทุกข์
- ถ้าจิตเราเที่ยงคงไม่เป็นทุกข์
- ถ้าสิ่งกระทบตัวเราเที่ยงคงไม่เป็นทุกข์

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งน้้นเป็นทุกข์
:b16:
asoka ตอบ
คุณไม่เที่ยง เกิดดับ ดูเป็นคนฉลาดในธรรม ตั้งประเด็นกระทู้ขึ้นมาล้วนน่าสนใจ มีผู้คนเข้ามาตอบโต้สนทนา
แต่จากกระทู้มากมายและการแสดงความเห็นของคุณ เมื่อประมวลและสรุปลงมาแล้ว ทำให้เห็นได้ว่า คุณไม่เที่ยง เกิดดับ กำลังยึดมั่นถือมั่นอยู่อย่างแน่นเหนียวกับความเห็น ที่ชัดๆและแสดงบ่อยที่สุดคือ คำนี้
"สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งน้้นเป็นทุกข์"

และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากเพราะอาจทำให้ผู้ใหม่หลงเชื่อและเห็นผิดตามไปด้วย คือเรื่องที่ว่า "มรรค 8 เป็นผล เป็นธรรมสำหรับพระอริยเจ้า"
มีปลีกย่อยอีกหลายเรื่องที่ยังต้องวิเคราะห์แก้ไขกันต่อไป

จากคำตอบในกระทู้ที่ผ่านมาผมได้บอกแล้วว่า สิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอนในโลกและจักรวาลนี้มีอยู่ คือสัจจธรรม
ทั้งหลาย อย่างเช่น นิพพาน เอาให้ง่ายกว่านั้น ลองมาดูธรรมธาตุที่ประกอบขึ้้ืนเป็นรูปกาย อันได้แก่มหาภูตรูปทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธรรมธาตุทั้ง 4 นี้ มีสัจจะที่แสดงไว้เป็นสากลอยู่ตลอดกาล ไม่ว่าจะพิสูจน์ด้วยคน ชาติ ภาษาไหนก็ตาม
สัจจะ หรือธรรมชาติของธาตุดินคือ แข็ง อ่อน หยาบกระด้าง นุ่มนิ่ม
สัจจะ หรือธรรมชาติของธาตุน้ำ คือซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมกันเข้า
สัจจะ หรือธรรมชาติของธาตุ ลมคือ ไหวกับนิ่ง ซึ่งแปลงออกมาเป็น เจ็บ ปวด เต้น ตอด โยก คลอน ไหว นิ่ง
สัจจะ หรือธรรมชาติของธาตุไฟ คือ ร้อน หนาว เย็น อุ่น

สัจจธรมของพระไตรลักษณ์ก็เป็นไปตามพุทธวัจนะว่า
สัพเพสังขารา อนิจจา ความปรุงแต่งทั้งหมดเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง
สัพเพสังขารา ทุกขา ความปรุงแต่งทั้งหมดเป็น ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้
สัพเพธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้สาระ แก่นสารให้ยึดถือ กลวง ว่างเปล่า

สัจจะอี่นๆที่เป็นนามธรรมอาจมีข้อถกเถียงกันได้บ้างถ้าไม่รู้จริงเช่น "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" "ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่ว(หรือรู้ผิด)เป็นผู้เสื่อม" "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

การสนทนาธรรมที่ดีนั้น ที่สิ้นสุดยุติธรรมก็คือการเข้าถึงสัจจธรรมอันเดียวกัน มีความเห็นลงกันได้ตาม
สัจจธรรมนั้นๆ ที่มีผู้มาแสดงความเห็นและถกเถียงกันยอะในกระทู้ของคุณเพาะมีเรื่องที่ไม่ใช่สัจจธรรมและไม่ยุติธรรมอยู่มากมาย จึงไม่ลงตัวกันได้สักที

ที่สำคัญที่สุดหากความเห็นผิดนั้นยังไม่ได้แก้ไขหรือไม่ยอมแก้ไข จนไม่มีใครบอกเตือนได้ ควมเห็นผิดนั้นนอกจากจะไปพอกพูนมานะทิฐิ ของเจ้าของความเห็นแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้ใหม่ที่มารู้ผิด เห็นผิด เชื่อผิดตามไปด้วย จึงเป็นสิ่งที่พึงสังวรระวังให้มาก

กระทู้ใหม่ที่น่าจะเกือบล่าสุดของคุณ ไม่เที่ยง เกิดดับ ที่กำลังจะพยายามประกาศว่า "อนิจจัง เป็นธรรมที่สุดยอด" ด้วยความยึดที่อาจจะสุดโต่งอยู่ขณะนี้ในหัวใจของคุณ จะได้รับคำชี้แจงกันโดยละเอียดต่อไป เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและสมดุลย์ในใจของคุณไม่เที่ยง เกิดดับ

ขอให้กุศลจาการตั้งกระทู้ดีๆมีผู้มาร่วมสนทนาธรรมเยอะแยะของคุณไม่เที่ยงมาทำให้ความยึดมั่นถือมั่นของคุณจงดับไปตามชื่อของคุณด้วยเทอญ แลให้เจริญในธรมมะอันถูกต้องของสมเด็จพระบรมศาสดาโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าให้ยาวไกลไปถึงพระพุทธเจ้าองค์ข้างหน้าเลย

tongue


ขอโทษนะครับ มรรค 8 ไม่ใช่ธรรมของอริยเจ้าครับ แต่เป็นธรรมที่ได้จากการวิปัสสนาภาวนา
ใครเจริญวิปัสสนาก็จะไ้ด้ผลออกมาเป็นอย่างนี้ครับ

สัจจะ ที่คุณพูด ก็ครอบคลุมอยู่ในกฎไตรลักษณ์ครับ สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ก็เหมือนตัวเรา รูป + นาม รูป (คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ธาตุดิน ไม่เที่ยง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง สุดท้ายแยกออกจากกัน เพราะในธาตุดินมีธาตุอื่นผสมอยู่ด้วย
เช่น น้ำ ลม ไฟ ทุกอย่างก็ต้องแยกออกจากกันถ้าธาตุใด ธาตุหนึ่งเสื่อม

ธาตุไฟ ไม่เที่ยง ร้อนบ้าง เย็นบ้าง อุ่นบ้าง

ธาตุต่างๆ ไม่เที่ยง คือ ไม่คงทนถาวร ไม่มีตัวตนของธาตุที่แท้จริง เพราะในธาตุนั้นมีธาตุอื่นผสมอยู่ด้วย สุดท้ายธาตุต่างๆ ก็แยกเแตกสลายหายไปหมด ไม่มีตัวตนของธาตุนั้นที่แท้จริง

ดังนั้นจะให้องค์ธรรมนี้ (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป /อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ไม่ยิ่งใหญ่ได้ยังไงครับ เพราะองค์ธรรมนี้ครอบคลุม และอธิบายองค์ธรรมต่างๆได้ สรุปองค์ธรรมต่างๆ รวมไว้ที่กฎนี้กฎเดีียว
เพราะนี่คือต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์

พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูล
เหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์คือ
รูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่าทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดในภพ
ใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 10:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์

พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูล
เหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์คือ
รูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่าทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดในภพ
ใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.



ตัณหา โลภ โกรธ หลง กิเลศ ราคะ ขันธ์5 อายตนะภายนอก ภายตนะภายใน สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ แต่ต้นเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามกฎไตรลักษณ์ นี่คือ ต้นตอของทุกข์ทั้งปวง เพราะสิ่งเหล่านี้ "ไม่เที่ยง"
"สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 11:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์

พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูล
เหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์คือ
รูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่าทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดในภพ
ใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.

:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 11:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์

พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูล
เหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์คือ
รูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่าทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดในภพ
ใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.

:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:

:b12: :b12: :b12:


เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ก่อให้เกิดโลภ โกรธ หลง
นำมาสู่ตัณหา คือ ความอยาก นำไปสู่อุปทาน คือการยึดมั่นเพื่อสนองตัณหา สุดท้ายทุกข์ตามมา
ต้นเหตุแห่งทุกข์มาจาก กฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป /อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา/ไม่เที่ยง เกิดดับ

ถ้า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยง ก็คงไม่เกิด ตัณหา ทุกข์ก็ไม่ตามมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 12:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์

พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูล
เหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์คือ
รูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่าทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดในภพ
ใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์


:b12: :b12: :b12:

:b16: :b16: :b16:

ก็พระพุทธองค์กล่าวต้นเหตุแห่งทุกข์ ไว้แล้ว
คุณต้องการให้คนอื่น ๆ มาเชื่อคุณ ไม่เชื่อพระพุทธองค์หรืออย่างไร
ทำไม ต้องเชื่อคุณ ช่วยบอกเหตุผลทีเถอะ

:b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร