วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลายโปรดสำรวมกันให้มาก อย่าได้ดึงธรรมไปสู่ทิฐิของตนมากนัก อาจจะเป็นการบิดเบือนคำสอนโดยไม่รู้ตัว พุทธพจน์นั้นมีอยู่ ควรยึดพุทธพจน์เป็นหลัก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑ คนที่เชื่อโดยถือผิด ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ฯ
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคต
ได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคต
มิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อม
กล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า
ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า
ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่
กล่าวตู่ตถาคต ฯ
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ-
*สุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ-
สุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 564&Z=1616


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ tonnk ยกพุทธพจน์มาเหมาะแล้ว สมแล้ว เหมาะควรแก่กาล
จะได้เป็นการเตือนผมทางหนึ่งให้มีความระมัดระวังยิ่งขึ้น หากผมกล่าวผิดประการใด คุณ tonnK ก็เชิญท้วงติงมาได้เลยครับ ผมไม่ใช่คนว่ายากแต่ประการใด หากพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกก็พร้อมจะทิ้งความเห็นที่ผิด และวาทะเหล่านั้นทันที เพราะความเห็นผิดและอธรรมวาทะนั้นไม่มีประโยชน์สาระอันใด

พาลวรรคที่ ๓ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ยังมีเนื้อความต่อที่น่าสนใจ ควรนำมาลงต่อให้จบ

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานลามกพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ
๒ อย่าง คือเทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานไม่ลามกพึงหวัง
ได้ ฯ
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนมิจฉาทิฐิพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒
อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนสัมมาทิฐิพึงหวังได้ ฯ

[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนทุศีลมี ๒ อย่าง คือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนมีศีล ๒ อย่าง
คือ มนุษย์หรือเทวดา ฯ
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
เป็นไฉน คือ เห็นการอยู่สบายในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์หมู่ชนใน
ภายหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึง
เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว ฯ
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 17:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
กฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป/อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครอบคลุมธรรมชาติทั้งหมด
ไม่ใช่แค่ขันธ์ 5
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง แปรปรวนตลอดเวลา
ทุกขัง คือ การไม่ทนสภาพหรือสภาวะเดิมได้
อนัตตา คือ การไม่มีตัวตน

ขันธ์ 5 มีการเปลี่ยนแปลง มีสภาพไม่ทน สุดท้ายต้องดับหรือตาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกกันหมดเพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนของขันธ์ 5 หรือ ตัวเรา ดังนั้นขันธ์ 5 จึงตั้งอยู่ในกฎไตรลักษณ์

ท่านลองอ่านบทความนีีนะครับ จะได้เอาไว้พิจารณา
คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น เขาใช้กับขันธ์ 5 เท่านั้น ส่วนอย่างอื่น ใช้ว่า อนิจจตา=อนิจจลักษณะ ทุกขตา=ทุกขลักษณะ อนัตตตา=อนัตตลักษณะ ลองอ่านจากบทความที่ผมยกม่านะครับ จากhttp://th.wikipedia.org
ไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-

1.อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
2.ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้.
ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร

คำว่า ไตรลักษณ์ นี้มาจากภาษาบาลีว่า "ติลกฺขณ" มีการวิเคราะห์ศัพท์ดังต่อไปนี้ :-

ติ แปลว่า สาม, 3.

ลกฺขณ แปลว่า เครื่องทำสัญลักษณ์, เครื่องกำหนด, เครื่องบันทึก, เครื่องทำจุดสังเกต, ตราประทับ เปรียบได้กับภาษาอังกฤษในคำว่า Marker.

ติลกฺขณ จึงแปลว่า "เครื่องกำหนด 3 อย่าง" ในแง่ของความหมายแล้ว ตามคัมภีร์จะพบได้ว่า มีธรรมะที่อาจหมายถึงติลกฺขณอย่างน้อย 2 อย่าง คือ สามัญญลักษณะ 3 และ สังขตลักษณะ 3 . ในคัมภีร์ชั้นฏีกา พบว่ามีการอธิบายเพื่อแยก ลักษณะทั้ง 3 แบบนี้ออกจากกันอยู่ด้วย[1]. ส่วนในที่นี้ก็คงหมายถึงสามัญญลักษณะตามศัพท์ว่า ติลกฺขณ นั่นเอง.

อนึ่ง นักอภิธรรมชาวไทยนิยมเรียกคำว่า สังขตลักษณะ โดยใช้คำว่า "อนุขณะ 3" คำนี้มีที่มาไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังไม่พบในอรรถกถาและฏีกาของพระพุทธโฆสาจารย์และพระธรรมปาลาจารย์, และที่พบใช้ก็เป็นความหมายอื่น[2] อาจเป็นศัพท์ใหม่ที่นำมาใช้เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาก็เป็นได้. อย่างไรก็ตาม โดยความหมายแล้วคำว่าอนุขณะนั้นก็ไม่ได้ขัดแย้งกับคัมภีร์รุ่นเก่าแต่อย่างใด.

[แก้] สามัญลักษณะสามัญญลักษณะ 3 หมายถึง เครื่องกำหนดที่มีอยู่ทั่วไปในสังขารทั้งหมด ได้แก่ อนิจจลักษณะ - เครื่องกำหนดความไม่เที่ยงแท้, ทุกขลักษณะ - เครื่องกำหนดความบีบคั้น, อนัตตลักษณะ - เครื่องกำหนดความไม่มีตัวตน.

สามัญญลักษณะ ยังมีชื่อเรียกอีกว่า ธรรมนิยาม คือกฎแห่งธรรม หรือ ข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร และบางอย่าง คือ อนัตตลักษณะยังเป็นข้อกำหนดของวิสังขาร (พระนิพพาน) เป็นต้นอีกด้วย.

อนึ่ง ควรทราบว่า อนิจฺจํ กับ อนิจฺจตา เป็นต้น เป็นศัพท์ที่ใช้คนละความหมายกัน ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในตอนท้ายของบทความนี้ด้วย.

[แก้] อนิจจะ กับ อนิจจลักษณะ ไม่เหมือนกันตามคัมภีร์ฝ่ายศาสนาท่านให้ความหมายของขันธ์ กับ ไตรลักษณ์ไว้คู่กัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน[3][4][5][6][7] ดังนี้ :-

อนิจจัง (อนิจฺจํ) - หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง, คำว่า"อนิจจัง"เป็นคำไวพจน์ชื่อหนึ่งของขันธ์ 5.
อนิจจลักษณะ (อนิจฺจตา,อนิจฺจลกฺขณํ) - หมายถึง เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง.
อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 เคยเกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 เคยมีขึ้นแล้วก็ไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.

ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนิจจลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ถึง 25 แบบ เรียกว่า โต 25 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนิจจลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะอาการที่เปลี่ยนไป จะเป็นการกำหนดอนิจจลักษณะ).

[แก้] ทุกข์ กับ ทุกขลักษณะ ไม่เหมือนกันทุกขัง (ทุกฺขํ) - หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง, คำว่า"ทุกขัง"เป็นคำไวพจน์ชื่อหนึ่งของขันธ์ 5.
ทุกขลักษณะ (ทุกฺขตา,ทุกฺขลกฺขณํ) - หมายถึง เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวทุกขัง.
ทุกขลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์ บีบคั้น น่ากลัวมาก ซึ่งได้แก่ อาการความบีบคั้นบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปอยู่เป็นเนืองนิจของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บีบบังคับตนจากที่เคยเกิดขึ้น ก็ต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 จากที่เคยมีขึ้น ก็ต้องกลับไปเป็นไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.

ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกทุกขลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ถึง 10 แบบ เรียกว่า โต 10 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงทุกขลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่บีบบังคับตัวเองให้ต้องเปลี่ยนไป ก็จะกลายเป็นการกำหนดทุกขลักษณะ).

[แก้] อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ ไม่เหมือนกันอนัตตา กับ อนัตตลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน

อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่มีตัวตน ไร้อำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด ได้แก่ อาการที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ให้เสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่ไม่ได้, อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้มีขึ้นไม่ได้ ไม่ให้กลับไปไม่มีอีกครั้งไม่ได้ (บังคับให้ไม่หมดไปไม่ได้) เป็นต้น.

ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนัตตลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ 5 แบบ เรียกว่า โต 5 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนัตตลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่ไรอำนาจบังคับตัวเองใหไม่เปลี่ยนไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นการกำหนดอนัตตขลักษณะ).


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2012, 18:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
พี่ฝึกจิตกล่าวได้ถูกแล้วครับ ในหลายๆคำกล่าวของพี่ไม่เที่่ยงเกิดดับนั้นเกือบจะเข้าถึงเหตุแห่งทุกขสัจในอริยะสัจ 4 หลายครั้งแล้วถ้าพี่เค้าไม่ถอนกลับไปยึดเอาความไม่เที่ยง เกิดดับ ทุกครั้ง ว่าเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง เป็นเหตุแห่งความพอใจไม่พอใจ ชอบใจไม่ชอบใจ เป็นต้น


:b1:

เป็นมาแต่แบบพิมพ์ที่ใช้
เป็นอย่างอื่นไปจากนั้น ไม่ได้

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์กันแน่ ขันธ์ 5 หรือ ไตรลักษณ์ หรือ สิ่งที่มากระทบ

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ แล้วมีสิ่งไหนในโลกในจักรวาลนี้ที่เที่ยงบ้าง ใครตอบได้ชอบตอบที
smiley smiley smiley smiley


ไตรลักษณ์ คือกฎที่แสดงเหตุและผลของความจริง
คือเมื่อมีการเกิดขึ้น ย่อมมีตั้งอยู่ เมื่อมีตั้งอยู่ก็ย่อมมีดับไปเป็นธรรมดา
กฎนี้ไม่ได้ทำให้เป็นทุกข์ :b5:

แต่ทุกข์เกิดจากการที่ไม่เห็นตามความเป็นจริง
แห่งกฎนี้...ใช่ไหมหนอ? :b6:

ขันธ์ห้า ซึ่งมี กาย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ล้วนแล้วแต่ประกอบไปด้วยปัจจัยแห่งความแปรปรวนทั้งสิ้น
ความแปรปรวน ไม่คงที่ เป็นเหตุหนึ่งของความทุกข์
ใช่ไหมหนอ? :b6:

คิดได้อย่างนี้ค่ะ??? :b1:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์กันแน่ ขันธ์ 5 หรือ ไตรลักษณ์

ต้นเหตุของทุกข์ คือ กิเลส ๓ ตัณหาและอวิชชา ไม่ใช่ขันธ์ห้าหรือไตรลักษณ์

ขันธ์ห้าและไตรลักษณ์ เป็นหัวข้อธรรม เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ เป็นข้อคิด พิจารณา ไตร่ตรอง
เพื่อให้เกิด "วิปัสสนาปัญญา" ละ วาง ปล่อย ความยึดมั่น ถือมั่น ตัณหาและอวิชชาทั้งหลายทั้งปวง ..

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 16:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์กันแน่ ขันธ์ 5 หรือ ไตรลักษณ์

ต้นเหตุของทุกข์ คือ กิเลส ๓ ตัณหาและอวิชชา ไม่ใช่ขันธ์ห้าหรือไตรลักษณ์

ขันธ์ห้าและไตรลักษณ์ เป็นหัวข้อธรรม เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ เป็นข้อคิด พิจารณา ไตร่ตรอง
เพื่อให้เกิด "วิปัสสนาปัญญา" ละ วาง ปล่อย ความยึดมั่น ถือมั่น ตัณหาและอวิชชาทั้งหลายทั้งปวง ..

อวิชชา คือ ความไม่รู้ หรือ ความเชื่อ
กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง
ตัณหา เกิดหลัง ความโลภ โกรธ หลง

ความไม่รู้ (ไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ) ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง นำไปสู่ ตัณหา (ความอยาก) > อุปทาน > และความทุกข์ใจ เศร้าใจของมนุษย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 16:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
วิริยะ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์กันแน่ ขันธ์ 5 หรือ ไตรลักษณ์

ต้นเหตุของทุกข์ คือ กิเลส ๓ ตัณหาและอวิชชา ไม่ใช่ขันธ์ห้าหรือไตรลักษณ์

ขันธ์ห้าและไตรลักษณ์ เป็นหัวข้อธรรม เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ เป็นข้อคิด พิจารณา ไตร่ตรอง
เพื่อให้เกิด "วิปัสสนาปัญญา" ละ วาง ปล่อย ความยึดมั่น ถือมั่น ตัณหาและอวิชชาทั้งหลายทั้งปวง ..

อวิชชา คือ ความไม่รู้ หรือ ความเชื่อ
กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง
ตัณหา เกิดหลัง ความโลภ โกรธ หลง

ความไม่รู้ (ไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ) ทำให้เกิด โลภ โกรธ หลง นำไปสู่ ตัณหา (ความอยาก) > อุปทาน(การยึดมั่นเพื่อสนองตัณหา) > และความทุกข์ใจ เศร้าใจของมนุษย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 16:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา เกิดหลัง ความโลภ โกรธ หลง

อันนี้ใครสอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 16:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลผู้ถึงซึ่งอวิชชา

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘อวิชชา-อวิชชา’ ดังนี้. ก็อวิชชา
นั้น เป็นอย่างไร ? และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อม ไม่รู้จักรูป,
ไม่รู้จัก เหตุให้เกิดของรูป, ไม่รู้จัก ความดับไม่เหลือของรูป, ไม่รู้จัก ทาง
ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป ; เขาย่อมไม่รู้จัก เวทนา, ไม่รู้จักเหตุ
ให้เกิดของเวทนา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้
ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา; เขาย่อมไม่รู้จัก สัญญา, ไม่รู้จักเหตุให้เกิด
ของสัญญา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับ
ไม่เหลือของสัญญา ; เขาย่อมไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักเหตุให้เกิด
ของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักทาง
ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย ; เขาย่อมไม่รู้จัก วิญญาณ,
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของวิญญาณ, ไม่รู้จัก
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ, ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้ เราเรียกว่า
“อวิชชา” ; และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชาด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.

:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 16:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือ
แห่งทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
นี้เอง, องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ
อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ใน
หนทางเป็ นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า
ความเห็นชอบ.


ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความดำริใน
การออก (จากกาม) ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน,
นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.


ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการพูด
เท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.


ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.


ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้
ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,
นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ


ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณี
นี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก
ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก
ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความ
งอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ


ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
เป็ นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความ
รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผา
บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก
เสียได้ ; เป็ นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
เป็ นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผา
บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก
เสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.


ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็ นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุ
ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปี ติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะ
วิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปี ติและสุขอันเกิดแต่
สมาธิ แล้วแลอยู่. เพราะปี ติจางหายไป, เธอเป็ นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อัน
เป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้
มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และ
เพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่
อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธ์ิเพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. !
นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.


ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์.


:b48: :b48: :b48:

ทำไมท่านไม่เที่ยงจะต้องเจริญวิปัสสนาก่อน จึงจะเกิดสิ่งข้างต้นได้

อย่างเช่น "การหาเลี้ยงชีพชอบ"
ก่อนหน้าที่จะมาปฏิบัติตามแนวทางของท่าน
ท่านหาเลี้ยงชีพอย่างไร
และหลังวิปัสสนา ท่านหาเลี้ยงชีพอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 17:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็ นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ท. คือ
อริยสัจ ๔ อย่างอยู่นั้น เป็ นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์,” ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือ
เหตุให้เกิดทุกข์,” ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือความดับไม่เหลือ
แห่งทุกข์,” ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึง
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 17:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑. ทุกขอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ? ความเกิดก็
เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไร-
รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์, ความระคน
ด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,
ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์อัน
เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การเกิด
การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่ง
ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลาย ในจำพวกสัตว์
นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ, นี้เราเรียกว่าความเกิด.

ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความแก่
ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้น
ไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์
เหล่านั้น ๆ, นี้เราเรียกว่าความแก่.

ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การจุติ
ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ
การแตกแห่งขันธ์ ท. การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากจำพวก
สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ, นี้เราเรียกว่าความตาย.

ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความโศก
การโศก ภาวะแห่งการโศก ความโศกในภายใน ความโศกทั่วในภายใน ของ
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผู้อันความ
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว, นี้เราเรียกว่าความโศก.

ภิกษุ ท. ! ความรํ่าไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความ
คร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ภาวะแห่งผู้คร่ำครวญ
ภาวะแห่งผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
หรือของบุคคลผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว. นี้เราเรียกว่าความ
ร่ำไรรำพัน.

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทน
ได้ยากที่เป็นไปทางกาย การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางกาย
การทนยากที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบ
ทางกายใด ๆ, นี้เราเรียกว่าความทุกข์กาย.

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทน
ยากที่เป็นไปทางใจ การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางใจ การทน
ยากที่เกิดแต่ความกระทบทางใจ ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบทางใจ
ใด ๆ, นี้เราเรียกว่าความทุกข์ใจ.

ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความ
กลุ้มใจ ความคับแค้นใจ ภาวะแห่งผู้กลุ้มใจ ภาวะแห่งผู้คับแค้นใจ ของบุคคล
ผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผู้อันทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบแล้ว, นี้เราเรียกว่าความคับแค้นใจ.

ภิกษุ ท. ! ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น อัน
เป็นที่ไม่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ แก่ผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่หวัง
ประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่อง
ผูกรัด ต่อเขา. การที่ไปด้วยกัน การมาด้วยกัน การหยุดอยู่ร่วมกัน ความ
ปะปนกันกับด้วยอารมณ์ หรือบุคคลเหล่านั้น, นี้เราเรียกว่า ความระคน
ด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็ นที่รักเป็ นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะเหล่านั้น อัน
เป็นที่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ ของผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้หวังประโยชน์
หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขาคือมารดา
บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม, การที่ไม่ได้
ไปร่วม การที่ไม่ได้มาร่วม การไม่ได้หยุดอยู่ร่วม ไม่ได้ปะปนกับด้วยอารมณ์
หรือบุคคลเหล่านั้น, นี้เราเรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็ นที่รักเป็ นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความที่สัตว์ปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังเป็ นทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็น
ธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา
และความเกิดไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ,” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความ
ปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์. ภิกษุ ท. !
ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ !
ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา และความแก่ไม่พึงมาถึงเรา ท.
หนอ,” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่าปรารถนา
สิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์. ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่
สัตว์ผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา.... มีความตายเป็นธรรมดา.... มีความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา....
(ความทำนองเดียวกันกับข้างต้น) .... ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา.
แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็ นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕
เป็ นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่รูป, ขันธ์
เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่เวทนา, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่สัญญา,
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่สังขาร, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่
วิญญาณ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เราเรียกว่า กล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความ
ยึดถือเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 17:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ?
ตัณหานี้ใด ทำความเกิดใหม่เป็นปกติ เป็นไปกับด้วยความกำหนัดเพราะความ
เพลิน มักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ, นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ? เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ? สิ่งใดในโลกมีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ
เป็นที่ยินดี (ปิ ยรูปสาตรูป) ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น, เมื่อ
จะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ
เป็นที่ยินดีในโลก ?

ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ
เป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่
ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.
รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย.... กลิ่นทั้งหลาย.... รสทั้งหลาย.... โผฏฐัพพะ
ทั้งหลาย....ธรรมารมณ์ทั้งหลาย.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นยินดี
ในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไป
ตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา....ความรู้แจ้งทางหู....ความรู้แจ้งทางจมูก....ความรู้แจ้ง
ทางลิ้น....ความรู้แจ้งทางกาย....ความรู้แจ้งทางใจ.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็น
ที่รักมีภาวะเป็ นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

การกระทบทางตา...การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก...การกระทบ
ทางลิ้น...การกระทบทางกาย...การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็น
ที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบ
ทางหู...ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบ
ทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบ
ทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายในกลิ่น...
ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมายในธรรมารมณ์...
(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด
ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความนึกถึงรูป...ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความนึกถึงรส...
ความนึกถึงโผฏฐัพพะ....ความนึกถึงธรรมารมณ์....(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็น
ที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความอยากในรูป...ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น.... ความอยาก
ในรส.... ความอยากในโผฏฐัพพะ... ความอยากในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง)
มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความตริหารูป...ความตริหาเสียง... ความตริหากลิ่น... ความตริหารส...
ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก
มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไป
ตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)...ความไตร่ตรองต่อเสียง...
ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ..
ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็น
ที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น. เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่
ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 17:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือความคลายคืน โดยไม่มีเหลือและความดับไม่เหลือ ความละวาง ความสละคืน
ความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ! ก็ ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละได้ ย่อมละได้ในที่ไหน ?
เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่ไหน ? สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี
ในโลก ; ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละได้ในสิ่งนั้น, เมื่อจะดับย่อมดับได้
ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ?

ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะ
เป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น,
เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย... กลิ่นทั้งหลาย... รสทั้งหลาย...
โผฏฐัพพะทั้งหลาย... ธรรมารมณ์ทั้งหลาย... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็น
ที่รัก มีภาวะเป็ นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น,
เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา ... ความรู้แจ้งทางหู ... ความรู้แจ้งทางจมูก...
ความรู้แจ้งทางลิ้น ... ความรู้แจ้งทางกาย ... ความรู้แจ้งทางใจ... (แต่ละอย่าง
ทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็ นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

การกระทบทางตา... การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก...
การกระทบทางลิ้น... การกระทบทางกาย... การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่าง
ทุกอย่าง) มีภาวะเป็ นที่รัก มีภาวะเป็ นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแก่การกระทบ
ทางหู... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบ
ทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบ
ทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็ นที่รัก มีภาวะเป็ นที่ยินดี ในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายใน
กลิ่น... ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมาย
ในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี
ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ใน
ที่นั้น.

ความนึกถึงรูป ... ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความ
นึกถึงรส... ความนึกถึงโผฏฐัพพะ... ความนึกถึงธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่าง
ทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็ นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความอยากในรูป... ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น....
ความอยากในรส... ความอยากในโผฏฐัพพะ... ความอยากในธรรมารมณ์...
(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้
เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความตริหารูป ... ความตริหาเสียง ... ความตริหากลิ่น... ความ
ตริหารส... ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่าง
ทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว) ... ความไตร่ตรองต่อเสียง ...
ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อโผฏ-
ฐัพพะ ... ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่
รัก มีภาวะเป็ นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น,
เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร