วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 20:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสมาธินับจากปฐมฌานขึ้นไปเท่านั้น พระพุทธองค์ท่านทรงเป็นมหาฤาษีใหญ่ครับ
ธรรมโลกุตตระ เป้นของยากไม่ใช่ของง่าย
ปราศจากปฐมฌาน มาพิจารณาเป้นวิปัสสนึกทั้งหมด
ผมยอมรับหลับอยู่ในฌานมากกว่าไปวิปัสสนึกครับคุณอโศกะ

ใครปฏิเศธ สัมมาสมาธินับจากปฐมฌานเท่ากับปฏิเสธและคัดค้านคำสอนพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 14:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นแค่...คำว่าสมถะ..ก็พากันกลัวแล้ว

เพราะมีบางกลุ่มสร้างภาพให้มันดูน่ากลัว...

แต่วิปัสสนามีสมถะกลับไม่ค่อยพูดถึง...

เพราะ...การไม่เข้าใจ..ความสงบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อุทธัจจกุกุกจะ มันมีฤทธิ์มากแค่ไหน?กบดูเอาล่ะกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ยาพิษรสน้ำผึ้ง...หวานกลมกล่อม :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 00:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านที่ไม่เอาฌาน..โปรดทราบ..... Onion_no

ท่านที่ไม่เอาฌาน..โปรดทราบ..... Onion_no

ปัญญาของท่านจะแจ่มแจ๋ว...และใช้ได้ผล

ต้องใช้ขณะที่ปราศจากกิเลส..นิวรธรรม...ครอบหัว

มิเช่นนั้น...อวิชชาพญามาร...จะมาปั่นหัวท่าน...ด้วยคมคำธรรมะ


โปรดทราบ..โปรดทราบ

แล้วรอประกาศด้วยความหวังดี...ต่อไป

โปรดทราบ...โปรดทราบ :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 00:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โปรดทราบ...โปรดทราบ

ข้อปฏิบัติ...ผู้ที่คิดว่าสัญญาเป็นปัญญา..มีดังนี้...

ใคร่ครวญ..ความจำธรรมะของท่าน...ใคร่ครวญ ไป...ๆ...จนจิตมีความตั้งมั่น...ปัญญาจะออกมาตอบรับกับข้อธรรมะที่ท่านใคร่ครวญอยู่...ว่าจริงอย่างไร..ใช่อย่างไร

ข้อควรระวัง....หากจิตหลุดจากฐานความตั้งมั่น...ปัญญาที่ออกรับจะเป็นตัวสังขารคิดปรุงแทน

โปรดทราบ...โปรดทราบ

แล้วรอประกาศต่อไป...
:b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 07:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha2_resize.gif
buddha2_resize.gif [ 37.14 KiB | เปิดดู 2918 ครั้ง ]
:b27:
วิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน
เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของการ การ ดู เห็น รู้ การสังเกต พิจารณา ศึกษาเข้าไปในกายและจิตเพื่อให้เห็นความจริงจนใจยอมรับและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิปัสสนาภาวนา มาจากคำว่า “วิ” + “ปัสสนา” + “ภาวนา”
วิ มาจากคำว่า “วิเศษ” สิ่งวิเศษ ที่เกิดขึ้นในกายในใจของมนุษย์นั้น ไม่สามารถเห็นหรือรู้ได้ด้วยเครื่องมืออื่นๆ นอกจากตาปัญญา ตาสติ ของมนุษย์ สิ่งวิเศษนั้นคือ ความรู้สึก นึก คิด อารมณ์ธรรมหรือ สภาวธรรมต่างที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตนั่นเอง เช่น ความสุข ทุกข์ เจ็บ สบาย ร้อน หนาว หนัก เบา แข็ง อ่อน ดีใจ เสียใจ โลภ โกรธ หลง ต่างๆ
ปัสสนา มาจากคำว่า “ทัศนา” แปลว่า ดู เห็น หรือ รู้ ในทางปฏิบัติหมายถึงตาปัญญาสัมมาทิฐินั้นเลยทีเดียว
ภาวนา แปลว่า เจริญ หรือทำให้มีขึ้น แต่คำว่าภาวนา เมื่อมาตามท้าย วิปัสสนาแล้วจะมีความหมายไปถึง การ สังเกต พิจารณา อันเป็นความหมายของตาปัญญาสัมมาสังกัปปะนั้นเอง
ดังนั้นคำว่า “วิปัสสนาภาวนา” จึงมีความหมายว่า การเฝ้า ดู เห็น รู้
และ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต จนเห็นสิ่งวิเศษคือสภาวธรรมความจริงทั้งหลายที่กำลังแสดงอยู่
เมื่อเห็น รู้ และสังเกต พิจารณาอยู่กับสภาวธรรมทั้งหลายไปไม่นานก็จะได้เข้าใจถึงธรรมดาของการทำงานของกายและจิตว่า จะมีการ
กระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือทวารทั้ง ๖ นี้ตลอดเวลา โดยจะรู้ชัดเจนตรงปัจจุบันขณะหรือปัจจุบันอารมณ์ อารมณ์ต่างๆ จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขังเพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา เพราะบังคับบัญชาไม่ได้
ชีวิตมีความจริงเฉพาะตรงปัจจุบันอารมณ์เท่านั้น ก่อนหรือหลังจากนั้นเป็น อนาคตและอดีตซึ่งทำอะไรแก้ไขอะไรไม่ได้เลย
การกระทำหรือกรรมต่างๆจึงสำคัญที่ปัจจุบันอารมณ์เท่านั้นทั้งยังเป็นสิ่งที่จะชี้อนาคตและอดีตของจิตหรือบุคคลผู้นั้นด้วย
วิปัสสนาภาวนาจึงมีจุดรวมของงานที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ “ปัจจุบันอารมณ์”
การทำวิปัสสนาภาวนามีคำสรุปว่า
“การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์”
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วก็จะเห็นว่าเป็นการนำเอาปัญญาสัมมาทิฐิกับปัญญาสัมมาสังกัปปะมาทำงานร่วมกันกับสัมมาสติ หรือเอาปัญญากับสติมาทำงานร่วมกัน
ปัญญาทำหน้าที่ ดู สังเกต สติมีหน้าที่กำกับจิตให้อยู่กับปัจจุบัน
สัมมาสมาธิเล่าอยู่ที่ใด
สมาธิ เป็นผลของการเจริญสติ เพราะถ้าสติระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดี สมาธิเขาจะเกิดมีขึ้นมาเองตามธรรมชาติ

การเจริญปัญญา สติ สมาธิ ร่วมกันอย่างนี้ก็คือการเจริญมรรคนั่นเองโดยมีสัมมาทิฐิปัญญามรรคเป็นประธานเป็นหัวหน้านำไป ถ้าสัมมาทิฐินำหน้าแล้ว มรรคที่เหลืออีก 7 ตัวเขาจะถูกดึงมาประชุมร่วมกันทำงานเองโดยธรรมชาติ
สิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มเติมเข้าไปในการทำวิปัสสนาเพื่อให้เกิดความสำเร็จคือ “โยนิโสมนสิการ”อันแปลว่าความมีสติปัญญาทำงานด้วยความตั้งใจจริง
มนสิการ แปลว่า ตั้งใจ
โยนิโส แปลว่า ฉลาดแยบคายซึ่งหมายถึงการตั้งสติ ปัญญาขึ้นมาทำงาน
การทำวิปัสสนาภาวนาจึงมีคำสรุปสุดท้ายไว้ว่า
วิปัสสนาภาวนา คือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญา ขึ้นมาเฝ้าดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์
งานหลักของวิปัสสนาภาวนามีเพียงเท่านี้
สิ่งที่จะต้องรู้เสริมเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้การทำวิปัสสนาภาวนาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือ
๑.เริ่มต้นจากท่านั่ง สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ควรเริ่มทำวิปัสสนาภาวนาจากท่านั่งก่อน เมื่อชำนาญในการ ดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาแล้วจึงค่อยขยายไปทำในท่า ยืน เดิน นอน ให้ครบและทำวิปัสสนาภาวนาได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ และทำได้ทุกเวลาทุกโอกาสในชีวิตประจำวัน

๒.เฉยและสงบนิ่ง ในการทำภาวนาแต่ละรอบ ให้มีสติกำหนดไว้ในใจว่า ข้าพเจ้าจะนั่งสงบนิ่งเฉยๆโดยไม่ทำงานอื่น นอกจากการเอาสติ ปัญญา มาเฝ้าตามดูตามรู้ ตามสังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ที่ปัจจุบันอารมณ์จนตลอดรอบการภาวนา จะเป็นรอบละ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมงหรือมากกว่าก็แล้วแต่ความสามารถที่จะทำได้ จะไม่พูด จะไม่ขยับเปลี่ยนท่าหรือทำอาการใดๆ
๓.เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดี การเฝ้าดูเฝ้าสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นข้าพเจ้าจะกระทำตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดีอันอุปมาเหมือนบุรุษที่ยืนนิ่งเฉยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเฝ้าดูเฝ้าสังเกตสิ่งของต่างๆที่ไหลผ่านมาและผ่านไปในแม่น้ำ เท่านั้น โดยจะไม่กระทำการอื่นใดอีก
ถ้าทำได้ดีตามที่กำหนดใจไว้ข้างต้นนี้ท่านจะได้พบกับความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างรวดเร็ว
ถ้าการภาวนาวิปัสสนาเป็นไปด้วยดีจะมีอะไรเกิดขึ้น
จะได้รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า
เมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาแทบทุกทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัส
ของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณา มีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
ถ้าวิปัสสนาปัญญาเจริญขึ้นไปจนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ในทุกอารมณ์จนเป็นปกติดีแล้วหลังจากนั้น ปัญญา จะสรุปตัวของเขาเองโดยธรรมชาติ โดยรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง และเข้าไปสลายความเห็นผิดยึดผิดว่าเป็นอัตตา ตัวตน ทำลายมิจฉาทิฐิ อันเป็นความมืดบอดไม่รู้บดบังใจ ให้มลายหายไป เกิดความสลัดคืนความมืดมิดหรืออวิชชา และแล้วแสงสว่าง แห่งปัญญา หรือวิชชา ก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่โดยธรรม ทำให้เห็นชัดอนัตตา ดวงตาเห็นธรรมอันแท้จริงเกิดขึ้น เป็นแรงส่งให้ เกิดอนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ ผลญาณและนิพพาน ปรากฏชัดขึ้นมาในจิต จิตเสวยนิพจพาน ๒ - ๓ ขณะแล้วดับไป เมื่อคลายออกมาแล้วก็จะเกิดการปัจเวก คือพิจารณาย้อนหลังว่ามีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรหมดสิ้นไป มีอะไรคงเหลือ ชีวิตใหม่หลังจากนั้นจะทำอย่างไรคำตอบจะเกิดขึ้นมาเองในจิตจนหมดความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


อุปสรรคที่จะมากั้นขวางการทำวิปัสสนาภาวนา
๑.นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ มี
๑.กามฉันทะ ความยินดี พอใจในสัมผัส
๒.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจในสัมผัส
๓.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญใจ
๔.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย รู้ไม่จริง
นิวรณ์ทั้ง ๕ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นในจิต ถ้าผู้ภาวนาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีจริงๆ ไม่หวั่นไหวหรือมีปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อถูกนิวรณ์อารมณ์แต่ละอย่างรบกวน นิ่งดู นิ่งสังเกต รู้ชัดตลอดสายตั้งแต่อารมณ์นั้น
เกิดขึ้น ตั้งอยู่จนดับไปต่อหน้าต่อตา นิวรณ์และอารมณ์นั้นๆจะ เบาบาจางไปเรื่อยๆ จนดับไป หรือหมดไปจากจิตใจ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 08:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha_resize.jpg
buddha_resize.jpg [ 46.31 KiB | เปิดดู 2918 ครั้ง ]
:b27:
ถ้าผู้ภาวนาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีจริงๆ ไม่หวั่นไหวหรือมีปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อถูกนิวรณ์อารมณ์แต่ละอย่างรบกวน นิ่งดู นิ่งสังเกต รู้ชัดตลอดสายตั้งแต่อารมณ์นั้น
เกิดขึ้น ตั้งอยู่จนดับไปต่อหน้าต่อตา นิวรณ์และอารมณ์นั้นๆจะ เบาบาจางไปเรื่อยๆ จนดับไป หรือหมดไปจากจิตใจ
นี่คือเคล็ดลับสำคัญในการขุดถอนกิเลส ตัณหา อัตตาและนิวรณ์ธรรมทั้งปวง

:b16:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีเจริญสมาธิจะเห็นจะรู้ธรรมตามเป็นจริงไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกสมถะควบวิปัสสนานั้นเป็นการฝึกที่ได้ผลรวดเร็วและยิ่งใหญ่มากกว่าใช้สมถะอย่างเดียวหรือวิปัสสนาอย่างเดียว ถ้าใครศึกษาพระไตรปิฎกจะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ฝึกทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อมกัน เพราะมันเนื่องกันอยู่ มันเป็นเหตุและผลของกันและกันเพียงแต่มีอาการต่างกัน จึงเรียกสองอย่างแต่อยู่ร่วมกันแน่นอน คนวิปัสสนาได้ผลย่อมได้สมถะแน่นอน คนฝึกสมถะได้ผลก็ย่อมได้วิปัสสนาแน่นอน ส่วนคนที่เข้าใจกลไกดี ฝึกทั้งสองอย่างควบกันไปอย่างเข้าใจก็ได้ผลเร็วและยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น

สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร
สมถะคือทำจิตให้นิ่ง วิปัสสนาคือทำจิตให้โล่ง
ตลอดสายสมถะและวิปัสสนามีกระบวนการรู้อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นนิโรธของพระอนาคามีและพระอรหันต์ ท่านดับตัวรู้ไปชั่งขณะเพื่อพักอย่างสมบูรณืแบบ นอกนิโรธนี่จิตไม่ค่อยได้พักเลย ยกเว้นในภาวะหลับแบบตาย และในภาวะสลบ แต่นั่นเป้นการพักอย่างไม่จงใจและควบคุมไม่ได้ แต่นิโรธเป็นการพักอย่างจงใจและควบคุมได้

แต่ในทุกระดับต้องอาศัยทั้งการนิ่งและการละจนโล่งทั้งสิ้น และแม้ความนิ่งและการละก็ต้องอาศัยกันและกัน ถ้าไม่ละจะนิ่งได้อย่างไร และถ้าไม่นิ่งจะละอะไรได้แค่ไหนกัน

ดังนั้นสมถะและวิปัสสนาเป็นเกลอไปด้วยกัน อย่าเถียงกันอีก อย่าดูหมิ่นกัน มันแตกแยกจะไม่ได้ผลยิ่งใหญ่ เหมือนพ่อกับแม่ต้องอยู่ร่วมกัน ลูกอันคือสมาธิ ปัญญาและวิมุตติจึงจเกิด สมถะคือแม่ วิปัสสนาคือพ่อ

เราจะฝึกสมถะกับวิปัสสนาควบกันอย่างไร ต้องจับกาย จิตและใจ ให้ผสานเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งสามส่วน หรือสองส่วนในบางกรณี และแยกส่วนกันเด็ดขาดเลยถ้าต้องการเข้านิโรธ

แต่ในระดับพวกเรา เอาผสานพลังกาย จิต และใจในภาวะที่เหมาะสมก่อน ถ้าทำได้แค่นี้ก็พอเอาตัวรอดได้หรอก

การผสานกายจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมีพลังนั้นมีสามขั้นตอน 1. ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน 2. เพิ่มอำนาจในแต่ละส่วน 3. ผสานพลังอำนาจกัน

ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน นี่เป็นวิปัสสนา ให้จิตดูกายอยู่ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกของมัน อย่าเข้าไปแทรกแซง มันจะเป็นอย่างไรก็รู้อยู่ รู้แล้วละวางทันที รู้เพื่อละนะไม่ใช่รู้เพื่อรู้ รู้ที่ละไม่ได้ยังไม่เกิดประโยชน์ รู้แล้วละให้อิสรภาพแก่มันอย่างที่มันเป็นไปตามกลไก เดี๋ยวมันก็เกิดดับเองตามธรรมชาติ

จากนั้นให้น้อมจิตรู้ใจ รู้ให้ชัด ใจทำงานอย่างไร เกิดอาการใดในใจก็รู้ชัด รู้อาการทางใจแล้วก็ละเช่นเดียวกับอาการทางกาย ปล่อยวางมัน รู้ใจที่ละไม่ได้ยังไม่บังเกิดอิสรภาพ ต้องละได้จึงอิสระ

พอละวางได้จริง จิตรู้กายอยู่ เป็นอิสระอยู่ในรู้ จิตรู้ใจอยู่เป็นอิสระในรู้ เมือต่างเป็นอิสระจากกันพอประมาณนี่แหละ ปกติมันจะพล่านซ่านไปด้วยกันจนแยกไม่ออก หยุดไม่ได้ จึงนิ่งไม่เป้น ทำให้นิ่งคือทำให้มันรู้จักพอและอยู่กับตัวมันเอง พอทำให้นิ่งสงบอยู่ในฐานของตนแล้วนี่คือสมถะ สมถะแปลว่ามันไม่อยากเอาอะไรที่วุ่นแล้ว มันยินดีสงบนิ่งของมันอยู่อย่างนั้นหรือนิ่งยิ่งกว่า

จากนั้นจึงผสานพลังทั้งสามเข้าด้วยกันแล้วพัฒนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะนิ่งและสงบก็มีอีกหลายระดับ ก็ทำให้มันนิ่งในนิ่ง สงบในสงบเข้าไปอีก ทำอย่างไร ก้กำหนดด้วยใจและด้วยภาวะของสิ่งนั้นเองนั่นแหละ ตอนนี้ต้องใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนาควบกัน เพราะวิปัสสนานั่นแหละจึงได้สมถะเข้าได้ลึกขึ้น และเพราะสมถะนั่นแหละจึงได้วิปัสสนาญาณยอมละจริงเพื่อสงบจริงยิ่งขึ้น

ยิ่งนิ่งสงบภายในได้มากเท่าใด ระบบทั้งสามมันก็จะ restore ตัวมันเองและเริ่มมีพลังมากขึ้นเท่านั้น
ที่สุดของความนิ่งคือความว่าง ที่สุดของความสงบคือความบริสุทธิ์ ไปให้ถึงหรือใกล้ที่สุดเท่าที่ทำกันได้

On the way เราจะเห็นอะไรมากมายที่ทำให้ชีวิตเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ทำให้ร่างกายเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ทำให้จิต ทำให้ใจของเราไม่นิ่งไม่สงบ ซึ่งต้องละไปโดยลำดับ ซึ่งก็จะมีทั่งความไม่พอดีในปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ความไม่รู้จักและไม่เข้าใจในกรรม หรือมารบางประเภท กิเลส ตัณหาในตัวเอง การยึดถือความทะยานอยาก การรบกวนจากสิ่งเร้าแวดล้อม และสารพัดมันจะโผล่มาให้เห็นซึ่งเราต้องจัดการกับมัน

ตลอดกระบวนการจัดการกับมัน เราก็จะเห็นภาวะต่าง ๆ ของชีวิตจิตใจและร่างกาย บางภาวะมีพลัง บางภาวะอ่อนพลัง ทำอย่างไรจึงจะหลีกภาวะที่อ่อนพลังและเสริมสร้างพลังเพื่อจะได้มีกำลังเดินไปถึงเป้าหมาย หรือมีกำลังตัดในสิ่งที่ควรจะตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อ ซึ่งเราจะได้เห็นกันทุกคน ยิ่งอดนอนด้วยยิ่งเห็นชัด

การรู้จักภาวะความเป็นจริงต่าง ๆ ในชีวิตจิตใจทุกระดับความล้ำลึกนี่เเหละคือธัมมานุปัสสนา เมื่อเกิดธัมมานุปัสสนาญาณแล้ว ต้องบริหารให้เกิดประโยชน์ทันที คือปรับโครงสร้างในจิต ในใจ ในร่างกาย ในพฤติวัตร ในพฤติกรรม ในวิถีชีวิตของเราใหม่ เพื่อเสริมสร้างพลังในทุกระบบให้เดินตรงไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว

การปรับนั้นต้องปรับตั้งแต่โครงสร้างในใจ ความคิด การพูดจา อิริยาบถ กายกิจ บุคลิกภาพ พฤติกรรม วิถีชีวิต และโครงสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งค่อย ๆทำกันไป ถ้าทำได้สมบูรณ์ก็จะเป็นชีวิตแห่งธรรม ผู้ดำรงชีวิตแห่งธรรมคือผู้ทรงธรรม ผู้เดินตรงทางสู่ความบริสุทธิ์

ซึ่งในกระบวนการปรับนั้นต้องใช้ทั้งอำนาจสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปเสมอ สมถะกับวิปัสสนามันแยกกันไม่ได้ ถ้าวิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีสมถะ มันก็บ้าความรู้แต่เข้าไม่ลึก ถ้ามีสมถะแต่ไม่มีวิปัสสนามันก็บ้าความสงบแต่ไม่รู้รอบ ทั้งสองกรณีมันไม่สมบูรณ์ ก็เมื่อองค์บรมครูของเราให้เรามาทั้งสองอย่างก็ควรใช้ประโยชน์จากทั้งสองอย่างให้เต็มที่จึงจะได้ชื่อว่าเป็นธรรมทายาทที่ดี

ถาม สมถะกับวิปัสสนาเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ถ้าฝึกอย่างเดียวได้ไหม

ตอบ เหมือนกันตรงที่เป็นกลไกการพัฒนาจิตใจเหมือนกัน ต่างกันที่อาการ

คืออย่างนี้ สมถะเป็นอาการที่จิตดิ่งลึกลงไป วิปัสสนาเป็นตัวล้าง

เวลาฝึกต้องฝึกร่วมกัน ฝึกอย่างเดียวอาจพอถู ๆไถ ๆ ไปได้แต่ไม่สำเร็จสูงสุด เปรียบง่ายอย่างนี้ เหมือนเราขุดน้ำบาดาลตัวหัวเจาะคือสมถะ ตัวขูดและปั่นดินออกมาคือวิปัสสนา ซึ่งต้องทำงานร่วมกัน หากเจาะดันไปอย่างเดียวไม่ชะเอาดินออกจะไปได้ไม่ไกล ค้างอยู่ที่ภาวะใดภาวะหนึ่ง ไม่ถึงตาน้ำใสอันเป็นเป้าหมายสักที ซึ่งโดยความเป็นจริงมักจะค้างอยู่ที่ความเข้าใจ คือพิจารณามากเข้าใจธรรมะหมดแต่ไม่ถึงสภาวะธรรมสักที

ดังนั้นสมะกับวิปัสสนาโดยศัพท์แยกกันตามอาการและหน้าที่ แต่โดยการทำงานต้องร่วมกันแยกกันไม่ได้ ขืนแยกจะไปไม่ถึงไหน จะบรรลุธรรมได้ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาเสมอ ไม่แยกกันแต่จะเอาอะไรเป็นตัวนำก็ได้ ใครแยกกันแสดงว่ายังครึ่ง ๆ กลาง ๆ อยู่ จะยังไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นที่สุด

ที่มา: การปฏิบัติธรรมสำหรับผู้นำและผู้บริหาร

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 18:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b27:
.......
อุปสรรคที่จะมากั้นขวางการทำวิปัสสนาภาวนา
๑.นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ มี
๑.กามฉันทะ ความยินดี พอใจในสัมผัส
๒.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจในสัมผัส
๓.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญใจ
๔.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย รู้ไม่จริง
นิวรณ์ทั้ง ๕ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นในจิต ถ้าผู้ภาวนาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีจริงๆ ไม่หวั่นไหวหรือมีปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อถูกนิวรณ์อารมณ์แต่ละอย่างรบกวน นิ่งดู นิ่งสังเกต รู้ชัดตลอดสายตั้งแต่อารมณ์นั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่จนดับไปต่อหน้าต่อตา นิวรณ์และอารมณ์นั้นๆจะ เบาบาจางไปเรื่อยๆ จนดับไป หรือหมดไปจากจิตใจ


มีคนกำลังขึ้นต้นด้วยสมถะ....แต่คิดว่าเป็นวิปัสสนา
:b11:
อะไรนะ...สมถะไม่เกิดปัญญา...รึ

พ่อแม่เลี้ยงลูกขึ้นมาจนโต...ลูกหากินจนรวยแล้วบอกว่าความรวยไม่ได้มาจากพ่อแม่...
grin grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่ากบน้อยเข้าใจสมถะกองสุดท้าย(จตุฏวัฏฐาน):b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 22:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




Prayim_resize.jpg
Prayim_resize.jpg [ 86.69 KiB | เปิดดู 2894 ครั้ง ]
:b12:
สัมมาสมาธิเล่าอยู่ที่ใด
สมาธิ เป็นผลของการเจริญสติ เพราะถ้าสติระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดี สมาธิเขาจะเกิดมีขึ้นมาเองตามธรรมชาติ

tongue
คงต้องทำความเข้าใจกับคุณกบและคุณหลับอยู่กันต่อไปในเรื่อง สมถะภาวนา กับวิปัสสนาภาวนา

ทั้ง 2 ท่านและหลายๆท่่านคงจำหรือได้อ่านพบ คำสอนของพระสารีบุตรที่กล่าวถึงการปฏิบัติธรรม
3 วิธีคือ

1.สมถะนำหน้าวิปัสสนา
2.สมถะควบคู่กับวิปัสสนา
3.วิปัสสนานำหน้าสมถะ

ที่Asoka นำมาเสนอนั้นเป็นในแง่มุมของวิปัสสนานำหน้าสมถะ และสมถะที่อยู่ในวิปัสสนานั้นเป็นเรื่องของสมาธิ หรือความตั้งมั่นของจิตซึ่งมิได้จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นได้เฉพาะการเจริญสมถะกรรมฐานหรือสมถะภาวนาตาม กรรมฐานทั้ง 40 อย่างจนเกิดฌาณทั้ง 4 หรือทั้ง 8 แต่เพียงทางเดียว เพราะการเจริญวิปัสสนาภาวนา สมาธิและสัมมาสมาธิเขาจะเกิดขึ้นมาเองเป็นผลตามธรรม คือไม่ต้องเพ่งกรรมฐานตามวิธีการสมถะ ขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาระลึกรู้และสังเกตอยู่แต่ปัจจุบันอารมณ์ ปัญญา สติ สมาธิ เขาจะพัฒนาตัวขึ้นมาเอง จนถึงความสงบสูงสุดและรู้แจ้งห็นจริงขึ้นมาได้

อย่างเช่นที่ฌาณ 4 นั้น จิตเป็นเอกัคตาอยู่กับอุเบกขา ในทางวิปัสสนาภาวนา ก็เกิดภาวะคล้ายกัน แต่เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ" ซึ่งสงบ ตั้งมั่น เบาและสุขเย็นกว่า สติสัมปชัญะสมบูรณ์ เหลือแต่ผู้รู้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ได้นานกว่าเพราะเป็นการหมดภาระหมดงานแล้วสงบ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งไปชั่วคราว
ส่วนความสงบจากฌาณนั้น กิเลส ตัณหา อัตตา มานะ ทิฐิ ยังอยู่เท่าเดิมแต่ถูกกดข่ม กลบบังไว้ด้วยอารมณ์กรรมฐาน ต้องระวังสติ กดข่มอารมณ์ต่างๆไว้ด้วยอำนาจสติจึงเป็นความสงบที่ หนักตื้อ สติมีกำลังมากแต่สัมปะชัญญะไม่สมบูรณ์ แถมยังปิดบังธรรมชาติรับรู้ของกายและจิตไว้ด้วยสติและกรรมฐาน ในภายหลังหากไม่ชำนาญในการเข้าออกฌาณ จะไม่สามารถ นำเอาความรู้สึกตามธรรมชาติธรรมดาในกายและจิต มาใช้เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องมือสืบค้นหาสมุทัยหรือเหตุทุกข์ได้ ต้องไปอาศัยการพิจารณารูปนอกหรือนิมิตต่างๆ จนเห็น อนิจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วจึงค่อยน้อมมาสอนใจภายหลังซึ่งจะยุ่งยากและมีโอกาสหลงได้ง่าย

ทีคุณหลับอยู่กล่าวว่าวิปัสสนาภาวนา ไม่มีการเจริญสมาธินั้นคงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน เพราะ Asoka ได้กล่าวเสมอว่า วิปัสสนาภาวนานั้นเป็นชื่อย่อของการเจริญมรรค 8 ซึ่ง ต้องเจริญสมาธิมรรค อันได้แก่
สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 4 ข้อ
สัมาสติ ความระลึกชอบ
สัมสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
ควบคู่กันไปอยู่แล้ว
:b1:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
สัมมาสมาธินับจากปฐมฌานขึ้นไปเท่านั้น พระพุทธองค์ท่านทรงเป็นมหาฤาษีใหญ่ครับ ธรรมโลกุตตระ เป้นของยากไม่ใช่ของง่าย ปราศจากปฐมฌาน มาพิจารณาเป้นวิปัสสนึกทั้งหมด ผมยอมรับหลับอยู่ในฌานมากกว่าไปวิปัสสนึกครับคุณอโศกะ ใครปฏิเศธ สัมมาสมาธินับจากปฐมฌานเท่ากับปฏิเสธและคัดค้านคำสอนพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ Onion_L

Onion_L
คุณหลับอยู่พูดออกมาได้อย่างนี้แสดงว่าไม่เคยรู้ว่าเพียงแค่ขณิกะสมาธิ ก็สามารถค้นหาสมุทัยเหตุทุกข์พบและถอนเหตุทุกข์ได้ ก็จงทำสิ่งที่ยากกว่าคือเข้าฌาณต่อไปให้ชำนาญนะครับ

อีกประการหนึ่งคุณหลับอยู่และสหายคงยังไม่เคยได้สัมผัสความจริงในจิตใจว่า เมื่อสติ ทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดีนั่น ไม่มีความคิดนึก สติ ปัญญาจะรู้อยู่กับเวทนา ความรู้สึกและกิริยาอาการตามธรรมชาติของกายและจิตหรือเรียกว่าอยู่กับปรมัตถอารมณ์

คือมีแค่การกระทบสัมผัส......รู้.......รู้สึก.......แต่ไม่แลบไปถึง..........นึกคิด ปรุงแต่ง

ไม่รู้ว่าพูดเรื่องฌาณ 4 ฌาณ 8 กันได้จนคล่องปากด้วยเหตุใด จึงไม่เข้าใจว่า ตอนไหนเป็นวิปัสสนา ถึงตอนไหนเป็นวิปัสสนึก แม้แต่เรื่องที่เอามาสนทนาในกระทู้ต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ไปสัญญาหรือไปจำมาจากตำรามาพูดทั้งนั้น ที่เป็นเรื่องสภาวธรรมจริงๆที่เกิดขึ้นในกายและใจตามธรรมชาติธรรมดาไม่เห็นค่อยได้ยกมาสนทนากันบ้าง

สุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญานั้นเขาเพียงใช้เพื่อมาทำให้เกิดสัมมาทิฐิโดยทางทฤษฎี แล้วจะได้ลงมือปฏิบัติจริงอย่างจดจ่อต่อเนื่องในชีวิตประจำวันจนเกิดสัมมาทิฐิที่เป็นผลจากการปฏิบัติ

การอ้างพระพุทธเจ้ามาปรับว่าคนอื่นคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นต้องพิจารณาให้ดีและลึกซึ้งนะครับอาจพลาดจนเป็นการกล่าวตู่พุทธวัจจนะไปได้แล้วทำให้ผู้ไม่ร้จริง หลงผิดตามไปด้วย

เห็นเน้นกันแต่เรื่องสมาธิแบบฤาษีหรือสมถกรรมฐาน ซึ่งแสดงในพระสูตรเป็นส่วนน้อย แต่ที่เป็นเรื่องปัญญาล้วนๆที่มีกล่าวในพระสูตรเป็นส่วนใหญ่ไม่ค้อยเห็นยกมาวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์กันบ้างนะครับ

เริ่มตั้งแต่สามสูตรแรกๆที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ได้แก่
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
อนัตตลักขณสูตร
อาทิตตปริยายสูตร
ลองมาวิเคราะห์สู่กันฟังดูซิว่า ส่วนไหนที่เป็นเรื่อง สมถะ ส่วนไหนที่เป็นเรื่องปัญญาหรือวิปัสสนา มีอัตราส่วน เปอร์เซ็นต์คำสอนที่เป็นสมถะกี่เปอร์เซนต์ วิปัสสนากี่เปอร์เซนต์
แม้แต่ในคาถาต่างๆก็ด้วยนะครับอย่างเช่น

ติลักขณคาถา ภัทเทกรัตตคาถา อานาปานสติสูตร ธรรมคุณ 6 ประการ ลองมาแยกดูส่วนที่เป็นสมถะและวิปัสสนากันดูนะครับ

ผมไม่ปฏิเสธสมถะภาวนา แต่อยากให้สนใจ วิเคราะห์และพูดคยกันเรื่องวิปัสสนาภาวนากันให้มากๆ เพราะนี่เป็นวิชชาของพระพุทธเจ้าโดยแท้ สมถะภาวนาอันเป็นวิชาของฤาษีมีการพูดคุยกันมากจนเกินพอแล้วนะครับ

ในวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 นั้น มีครบสมบูรณ์พร้อมแล้วทั้งสมถะและวิปัสสนาแต่สำหรับสมถะหรือสมาธินั้นเป็นแบบของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะไม่จำเป็นต้องไปถอดเอามาจากแบบของฤาษีทั้งดุ้นนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลที่ต้องการได้..คือ..ปัญญา..หรือ...แจ้งในความจริง

ไม่ใช่..สมถะ...ทั้งไม่ใช่..วิปัสสนา...เพียงแต่..เหล่านี้คือเครื่องมือ

นี้พูดตามประสามวยวัด....

จะขึ้นต้นด้วยอะไรก่อนก็แล้วแต่...ผลที่ต้องการได้..เกิดจริงตอนวิปัสสนาในสมถะ

มีทั้งคู่พร้อมกันจะเรียก...สัมมาสมาธิ..ก็ได้

แต่..มีบ่อยครั้งมาก...ที่เข้าใจว่าสมถะคือการเข้าฌาน...จึงไปปนกับฌานของฤาษี...อย่างเช่น..

อ้างคำพูด:
ส่วนความสงบจากฌาณนั้น กิเลส ตัณหา อัตตา มานะ ทิฐิ ยังอยู่เท่าเดิมแต่ถูกกดข่ม กลบบังไว้ด้วยอารมณ์กรรมฐาน ต้องระวังสติ กดข่มอารมณ์ต่างๆไว้ด้วยอำนาจสติจึงเป็นความสงบที่ หนักตื้อ สติมีกำลังมากแต่สัมปะชัญญะไม่สมบูรณ์ แถมยังปิดบังธรรมชาติรับรู้ของกายและจิตไว้ด้วยสติและกรรมฐาน ในภายหลังหากไม่ชำนาญในการเข้าออกฌาณ จะไม่สามารถ นำเอาความรู้สึกตามธรรมชาติธรรมดาในกายและจิต มาใช้เป็นประโยชน์

นี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง...

เพราะไม่เข้าใจสัมมาสมาธิ...จึงเข้าใจว่า...ออกจากฌาน...แล้วฌานก็หมดไป

ไม่เข้าใจคำว่า...ทรงฌาน

คนเราสดชื่นจึงจะทำงานทำการได้ผลงานออกมาดี

อาบน้ำตอนเช้าครั้งเดียว...บางคนก็สดชื่นอยู่ได้ทั้งวัน....บางคนครึ่งวัน...บางคนไม่กี่ชั่วโมง

ทรงฌานก็อย่างเดียวกัน....

นี้แบบกลาง ๆ ...

ต้องไม่ลืมว่า....ผลที่ได้ก็มีตั้ง 4 แบบ....สุขวิปัสสโก.1...เตวิชโช.1...ฉฬภิญโญ.1..ปฏิสัมภิทัปปัตโต.1..

ดังนั้น...ข้อปลีกย่อย...ความหนักความเบาในวิปัสสนาสมถะ...ย่อมไม่เหมือนกัน

ส่วนการจะเป็นแบบไหน...ก็ขึ้นกับแนวทางที่สะสมบุญญาบารมี..ของแต่ละคน...จะคิดแบบวิทยาศาตร์ตายตัว...ไม่ได้


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 09 ธ.ค. 2011, 00:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร