วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 08:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2011, 07:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งใดไม่เที่ยง..สิ่งนั้นเป็นทุกข์..สิ่งใดเป็นทุกข์..สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

ธรรมเพื่อละความยึดมั่น...

อะไรเป็นผู้ยึด...ความคิด
อะไรถูกยึด..ความเห็น..ว่าสิ่งสมมุติเป็นเรา

ความคิด..ทำลายไม่ได้
ความเห็น...ทำลายได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2011, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับไม่ธรรมดา ยังแยกอะไรๆออกๆได้ ไม่เอามาปนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2011, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
Quote Tipitaka:
บทว่า ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน
ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุ นำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผลญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดยที่สุดความฝัน แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้นๆ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะเป็นเช่นกับอัตตา จึงเรียกว่า อตฺตโน ของตน
พึงรู้ คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือพึงทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน.
จริงอยู่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อมโน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ก็ในที่นี้ สติเป็นไปในกายปรากฏแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นสำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖ ต่อแต่นั้น ก็มีจิตตั้งมั่นเนืองๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

Quote Tipitaka:
ด้วยบทว่า สตตํ ภิกฺขุ สมาหิโต นี้ ทรงแสดงอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ โดยแสดงถึงความเป็นผู้มากด้วยสมาบัติ.
ก็ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ พึงรู้นิพพานของตน คือพึงรู้ พึงคิดถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุของตนอย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่มีกรณียกิจอันยิ่ง เพราะทำกิจเสร็จแล้ว
อธิบายว่า แม้กิจอื่นที่เธอจะพึงคิดก็ไม่มี.

จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ ๕
--------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ โกลิตสูตร จบ.

อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 266&Z=2277
- -- ---- --------------------------------------------

นิพพานรวมทั้งมรรคญาณผลญาณขั้นนี้พระอริยะเจ้าเป็นวิสังขารอสังขตธาตุอสังขตธรรมเป็นปรมัตถ์ธรรมมีเจ้าของ
ไม่ใช่พระนิพพานที่เป็นธรรมมารมณ์ของพระโยคาวจรที่กำลังเข้าสู่โครตภูบุคคล นิพพานนั้นเป็นอนัตตาแน่นอนเป็นบัญญัติธรรมไม่ใช่ปรมัตถ์ธรรม พระโยคาวจรในขณะนั้นยังเป็นปุถุชน เหมารวมไม่ได้กับนิพพานของพระอริยะ :b4:

และผุ้ทรงสภาวะนิพพานนี้เมื่อกายเนื้อนี้แตกตายแล้ว ต้องมีที่ประทับต้องมีที่สถิต นั่นคืออสังขตสถานออกจากภพนี้สู่บุรีคือนิพพานอันอุดม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2011, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญา
ของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา
เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกาย
คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการ
ถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ
ความสงบเสงี่ยม
ของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ
ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา
ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น
เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
กสิภารทวาชสูตรที่ ๔
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๑๐๒ - ๗๑๗๖. หน้าที่ ๓๑๑ - ๓๑๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2011, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๕
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในเอกกนีบาต วรรคที่ ๕
๑. สิริวัฑฒเถรคาถา
[๑๗๘] สายฟ้าแลบส่องลอดเข้าไปตามช่องแห่งภูเขาเวภาระ และภูเขาปัณฑวะ
ฉันใด ภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งพระพุทธเจ้าผู้คงที่ ไม่มีผู้เปรียบ
ปาน อยู่ในช่องแห่งภูเขาเจริญฌานอยู่ ฉันนั้น.


Quote Tipitaka:
บทว่า ปุตฺโต อปฺปฏิมสฺส ตาทิโน ความว่า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ไม่มีที่เปรียบ คือเว้นจาก ข้อเปรียบเทียบ ด้วยความถึงพร้อมแห่งธรรมกายมีกองแห่งศีลเป็นต้น และด้วยความถึงพร้อมแห่งรูปกาย ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยลักษณะของผู้คงที่.
พึงทราบความว่า ก็ด้วยคำว่า ปุตฺตศัพท์ ในคาถานี้นั่นแล ชื่อว่าเป็นอันพระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลแล้ว เพราะแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้เกิดตามพระบรมศาสดา.

จบอรรถกถาสิริวัฑฒเถรคาถา
-----------------------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๕ ๑. สิริวัฑฒเถรคาถา จบ.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๕๒๒๖ - ๕๒๓๑. หน้าที่ ๒๑๖.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=26&i=178


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2011, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สิ่งใดไม่เที่ยง..สิ่งนั้นเป็นทุกข์..สิ่งใดเป็นทุกข์..สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
ธรรมเพื่อละความยึดมั่น...

เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นเหตุ มีผลเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง)

เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นเหตุ มีผลเป็นทุกขัง(ทุกข์)

เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นเหตุ มีผลเป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้)

ความหมายของไตรลักษณ์คือ อาการสามประการ เป็นเหตุให้เกิดผลสามประการ
กบนอกกะลา เขียน:
อะไรเป็นผู้ยึด...ความคิด
อะไรถูกยึด..ความเห็น..ว่าสิ่งสมมุติเป็นเรา

ถ้าในส่วนของรูปนาม ผู้ยึดคือความหลงที่เกิดจากตัณหา และตัณหาไม่ใช่ความคิด
ความคิดเป็นการทำงานของกาย แต่ตัณหาเป็นสภาวะ

สิ่งที่ถูกยึดคือ กิเลส เช่น โมหะ โทสะและโลภะ
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสภาวะไม่ใช่ความคิด

กบนอกกะลา เขียน:
ความคิด..ทำลายไม่ได้
ความเห็น...ทำลายได้

ความคิดทำลายได้ด้วยสติ
ความเห็นทำลายไม่ได้ แต่เปลี่ยนแปลงได้ด้วยปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2011, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีนิพพาน "นรกมี สวรรค์มี เดรัฉานมี"
มีนิพาน "นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี เดรัจฉานไม่มี" คือ ไม่เวียนว่ายตายเกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: นิพพานยิ่ง จริงนิพพาน ทิ้งญาณภพ
ไม่สยบ ไม่หมกเมา ไม่เฝ้าหวง
นิพพานเพลิน เพลินนิพพาน นิพพานลวง
ไม่ลุล่วง เพราะหลงใหล ในนิพพาน

เห็นนิพพาน นิพพานเห็น เย็นสนิท
ทั่วทุกทิศ จิตไม่ตก ทุกสถาน
สุขร่มรื่น ตื่นเนืองนิจ จิตเบิกบาน
ทุกฌานญาณ ดับสนิท จิตไม่สร้าง

รู้อะไรๆ อะไรๆรู้
ไม่มีผู้ ไม่มีตัว รู้เห็นว่าง
ทุกผัสสะ ทุกอายตนะ ละปล่อยวาง
มรรคแปดทาง ดำเนิน ไม่เกินเลย :b45:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร