วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 13:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 21:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


วอนผู้ศึกษาธรรมช่วยตอบปัญหาด้วยครับ
ขอบพระคุณมากครับ
onion onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุของการผิดศีล 5 คือ

อวิชชา
อหิริกะ อโนตตัปปะ

ผลของการผิดศีล 5 คือ ทุกข์โทมนัส


......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 22:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
เหตุของการผิดศีล 5 คือ

อวิชชา

......

:b8: :b8:

หากรู้ว่าจะนำความทุกข์มาให้....มันก็คงไม่ทำ

ความไม่รู้...คือ...ต้นธารของความผิดทั้งมวล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 09:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
FLAME เขียน:
เหตุของการผิดศีล 5 คือ

อวิชชา

......

:b8: :b8:

หากรู้ว่าจะนำความทุกข์มาให้....มันก็คงไม่ทำ

ความไม่รู้...คือ...ต้นธารของความผิดทั้งมวล



ความไม่รู้ คือ ไม่รู้อะไร ? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร เอาอะไรมาดับความไม่รู้
onion onion onion


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 23 พ.ย. 2011, 11:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 09:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
เหตุของการผิดศีล 5 คือ

อวิชชา
อหิริกะ อโนตตัปปะ

ผลของการผิดศีล 5 คือ ทุกข์โทมนัส


......



เหตุ คือไม่รู้
ผล คือ ทุกข์
แล้วเราจะแก้เหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 11:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นเหตุของปัญญา (ปัญญาดับทุกข์ได้) แท้จริงแล้วมาจากไหน
วอนผู้ศึกษาธรรมช่วยตอบด้วยครับ Kiss Kiss Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่เชื่อกรรมว่าเราทำกรรมดีย่อมได้รับผลเป็นสุขตอบแทน เราทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลเป็นทุกข์ตอบแทน อย่างชัดเจนในใจของตนแล้ว ศีล ๕ ข้อย่อมงดเว้นได้เด็ดขาด ไม่ลำบากเลย ศีล ๕ ข้อที่รักษากันไม่ได้ เพราะความเห็นแก่กาย รักกาย แล้วก็เอากายใจอันนี้ไปทำความชั่วเป็นบาปกรรม ให้กายอันนี้เป็นทุกข์โทษอีก กายอันนี้เกิดมาเพราะวิบากกรรมจึงเป็นทุกข์ไม่รู้จักจบจักสิ้น แล้วเราจะเอาวิบากกรรมอันนี้ไปทำกรรมชั่วมาเพิ่มเข้าอีกทำไมไม่น่าเลย พระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราระงับเวรกรรมด้วยการรักษาศีล และสอนที่กาย วาจา และใจ นี้เป็นตัวศีล เมื่อกาย วาจา และใจอันนี้ไม่ทำบาปกรรมแล้วก็เป็นศีล เมื่อเราไม่งดเว้นจากความชั่ว ๕ อย่าง มีฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็ไม่มีศีล บาปกรรมย่อมตามสนองได้รับโทษทุกข์ทรมานตลอดทั้งชาตินี้และชาติหน้า พระพุทธเจ้า สอนให้รักษาง่ายที่สุด ไม่ต้องไปรักษาหนองน้ำหนองปลาที่ไหน แต่รักษาสำรวมกาย วาจา และใจของตนเอง ก็เป็นพอแล้ว สอนให้ใกล้เข้ามาที่สุดคือจิต เจตนางดเว้นจากบาปกรรมนั้น ๆ อันเดียว เท่านี้ก็เป็นศีลแล้ว

ศีล เป็นกำแพงป้องกันบาปกรรมความชั่วของพุทธบริษัทที่จะปฏิบัติพระพุทธศาสนาในขั้นต้น ผู้ถึงพระไตรสรณคมน์แล้วเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมว่า เราทำดีย่อมได้ผลดี มีความสุขกายสบายใจ เราทำชั่วย่อมได้รับผลเป็นทุกข์ทั้งกายและใจ จิตย่อมแน่วแน่อยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ผู้นั้นได้ชื่อว่ามีพื้นฐานของศีลแล้ว จะเอาศีลอะไรมาตั้งก็มั่นคงดีมีผลงอกงามขึ้น จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ตามวิสัยของฆราวาสมาตั้งก็งอกงามไพบูลย์ดี คือ ไม่ขาดไม่วิ่นไม่บกพร่อง เป็นอุบาสกอุบาสิกาครบบริบูรณ์ สมควรเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาโดยแท้ จะเอาศีล ๑๐ ของสามเณรมาตั้งก็เป็นของดีเลิศ เพราะเพิ่มพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนาเข้าไปอีกด้วย จะเอาศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุในพุทธศาสนาไปตั้งย่อมดีเด่น เพราะจะได้ชำระกิเลสน้อยใหญ่ทั้งหลายให้หมดไป ( แต่ฆราวาสไม่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นของเหลือวิสัยของฆราวาส ) ศีลเป็นเครื่องชำระกิเลสชนิดหนึ่งในพุทธศาสนาดังอธิบายมาแล้ว

ศีล จะตั้งมั่นถาวรอยู่ตลอดชีวิตของบุคคลใดได้ บุคคลผู้นั้นจะต้องมีธรรม ๒ ประการ หิริ ความละอายต่อบาปกรรมนั้น ๆ ๑ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปกรรมนั้น ๆ ๑ ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้เป็นรากฐานของศีลทุกประเภท ไม่ว่าศีล ๕ ศีล ๘ ของฆราวาส หรือ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ของบรรพชิต ถ้าจิตใจของผู้รักษาศีลนั้นขาดธรรม ๒ ประการนี้แล้ว เป็นอันศีลขาดรากฐานไม่มีที่ยึดมั่น เหมือนต้นไม้ขาดรากแก้วมีแต่จะล้มถ่ายเดียว

หิริ ความละอายต่อบาปกรรมที่ตนกระทำนั้นยิ่งกว่าคนที่เป็นโรคร้ายแต่งตัวเรียบร้อยเข้าไปในที่สาธารณะ ย่อมมีความละอายแก่ใจตนเสมอ คนอื่นจะรู้เห็นหรือไม่ก็ตาม แต่ใจของตนรู้เห็นด้วยใจตนเองตลอดเวลา โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปกรรมที่ตนกระทำด้วยกาย วาจา และใจ อันจะเกิดมีขึ้นแก่ตน กลัวยิ่งกว่าเห็นอสรพิษ ย่อมไม่สามารถเข้าไปใกล้ได้ ความกลัวบาปที่เห็นด้วยใจ และกลัวด้วยใจนั้น ย่อมสะดุ้งหวาดเสียวอยู่เป็นนิจ เหมือนเป็นแผลที่หัวใจ ใครจะเจ็บปวดด้วยหรือไม่ก็ตาม ผู้นั้นย่อมเจ็บปวดอยู่คนเดียว ความละอายและความกลัวเหล่านี้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ละอายและกลัวบาปกรรมที่ละเมิดล่วงเกินศีลข้อนั้น ๆ เมื่อมีความละอายและความกลัวบาปกรรมอยู่อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นย่อมมีสติระวังตัวอยู่ทุกเมื่อ แล้วมันจะล่วงละเมิดศีลข้อนั้น ๆ ได้อย่างไร

ศีล เป็นบันไดขั้นแรกของผู้นับถือพระพุทธศาสนาที่จะละกิเลสในใจด้วยเจตนางดเว้น ผู้ถึงพระไตรสรณคมน์ด้วยการนอบน้อมกราบไหว้ด้วยใจที่ระลึกถึงที่แท้จริง ด้วยกายที่กราบลงกับพื้น ด้วยวาจาที่เปล่งออกมา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา หรือ สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม หรือ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ก็ดี น้อมระลึกคิดถึงด้วยใจก็ดี ทั้งเช้าและเย็นทุกวัน นั่นเป็นกิจวัตรของผู้ถือพระไตรสรณคมน์โดยแท้ มาถึงขั้นรักษาศีลนี้จะกราบไหว้ก็ได้ หรือจะไม่กราบไหว้ได้ เพราะศีลจะมีขึ้นได้ก็เพราะเรามีเจตนางดเว้นในโทษนั้น ศีลก็จะมีขึ้นในตัวของเราเอง เมื่อศีลมีในตัวเราแล้ว ก็เป็นอันกราบไหว้พระรัตนตรัยครบทั้งสามแล้ว เพราะเราทำถูกต้องตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วทุกประการ

ศีล พระพุทธเจ้าชี้บอกให้เรารู้ทางที่จะทำความผิดและถูกมีอย่างนี้ ๆ ถ้าเว้นจากอย่างนี้แล้วก็เป็นศีล ถ้าไม่เว้นอย่างนี้ก็ไม่เป็นศีล พูดง่าย ๆ ก็คือ ให้รู้ทางบาปและบุญนั่นเอง ส่วนทางที่ไม่ใช่บาปและบุญนั้น อย่าพูดเลยถึงพูดก็เข้าใจยาก ทางที่จะเป็นบาปทั้งหมดในโลกนี้ก็เกิดจากกาย วาจา และใจนี้ทั้งสิ้น ถ้ามีแต่กายและวาจา ๒ อย่าง ก็ไม่สามารถที่จะทำบาปกรรมได้ ถึงแม้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็บัญญัติลงที่กาย วาจา และใจนี้ทั้งนั้น ธรรมทั้งหลายที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้อเนกประการก็ล้วนแล้วแต่เทศนาออกจากกาย วาจา และใจนี้ทั้งสิ้น แต่ในที่นี้จะพูดโดยจำกัดเฉพาะที่ศีลเท่านั้น

ศีล ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเป็นพุทธอาญาที่ภิกษุทำผิดในข้อนั้น ๆ แล้วทรงวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง จึงทรงบัญญัติสิกขาบทหนักบ้างเบาบ้างตามโทษนั้น ๆ หรือจะพูดว่ากิเลสนั้น ๆ ก็ถูก สามเณร ๑๐ ข้อ หรือ ๒๐ ข้อ มีปาณาติบาตเป็นต้น ( ต้องการทราบรายละเอียดให้ดูได้ในสามเณรสิกขา ) พระภิกษุมี ๒๒๗ ข้อ ที่นำมาสวดทุก ๆ กึ่งเดือน แต่ที่ยังเหลือนอกนั้นมีอีกมากที่ไม่ขึ้นสู่อุเทศ สิกขาบทเหล่านั้นโดยมากภิกษุไม่ได้ทำให้ล่วงเกิน แต่เป็นของควรที่พระภิกษุจะพึงกระทำ เพราะเมื่อทำลงไปแล้วเป็นของดีมีจิตใจเบิกบาน ชาวบ้านทั้งหลายก็เกิดศรัทธา หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า กิเลสที่มันรอจะเล่นงานภิกษุอยู่ข้างหน้านั้น พระพุทธองค์ทรงกรุณาเห็นแล้วรีบบอกแก่บรรดาลูกศิษย์ของพระองค์ เรียกว่า เสขิยวัตร และอภิสมาจาร บรรดาสิกขาบททั้งหลาย ๒๒๗ ข้อเหล่านั้น ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้นล้วนแต่พระภิกษุผู้ไม่มี หิริ โอตตัปปะ ล่วงละเมิดทั้งนั้น พระภิกษุผู้มีหิริโอตัปปะ อยู่ในใจแล้วย่อมไม่แกล้งล่วงละเมิดได้เด็ดขาด ที่มันยุ่ง ๆ รกในพระพุทธศาสนามาก ๆ นั้นเป็นเพราะภิกษุไม่มียางอายต่างหาก ผู้มีหิริโอตตัปปะอยู่ในใจแล้วถึงจะต้องอาบัติด้วยความเผลอเรอ หรือไม่มีสติและความไม่เข้าใจ เมื่อรู้แล้วหรือเมื่อภิกษุอื่นตักเตือนแล้วก็ต้องแสดงอาบัติแล้วสำรวมระวังต่อไป อย่างนี้จึงสมกับคำว่า " ภิกษุผู้ต่อย " คือต่อยกิเลสในใจตนนั้นเองไม่ให้ติดแน่นอยู่กับจิตใจได้

ศีล หรือ พระวินัย พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ๒ อย่าง คือ อาคาริยวินัย ๑ อนาคาริยวินัย ๑

อาคาริยวินัย บัญญัติไว้เพื่อฆราวาสผู้ไม่สามารถออกบวชได้ เมื่ออยู่ในเพศฆราวาสก็ควรมีศีล ๕ ศีล ๘ เป็นข้อบังคับ ทำอะไรถ้าไม่มีข้อบังคับก็ไม่มีระเบียบย่อมเป็นของไม่งาม เขาเรียกว่าคนเกเร

อนาคาริยวินัย ทรงบัญญัติไว้แก่พระภิกษุและสามเณรผู้ออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา ที่มีความอดทนพอที่จะรักษาพระศาสนาไว้ได้

วินัย หรือ ศีล ทั้ง ๒ อย่างนี้ ผู้รักษาสำรวมดีแล้วย่อมถึงอริยภูมิทั้งสามได้เหมือนกัน เว้นเสียแต่อริยภูมิขั้นสูงสุดคืออรหัตผล ท่านแสดงไว้ผู้ถึงอรหัตผลทั้งยังเป็นฆราวาสอยู่ จะทรงเพศฆราวาสอยู่ได้เพียง ๗ วัน ถ้าไม่บวชจะต้องนิพพาน จะมีเหตุผลอย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านแสดงไว้ย่อ ๆ เพียงว่า เพศฆราวาสเป็นเพศต่ำจะทรงธรรมขั้นสูงไว้ไม่ได้
[youtube][youtube][youtube][youtube][/youtube][/youtube][/youtube][/youtube]

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหว้พระปล่อยปลา เขียน:
ผู้ที่เชื่อกรรมว่าเราทำกรรมดีย่อมได้รับผลเป็นสุขตอบแทน เราทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลเป็นทุกข์ตอบแทน อย่างชัดเจนในใจของตนแล้ว ศีล ๕ ข้อย่อมงดเว้นได้เด็ดขาด ไม่ลำบากเลย ศีล ๕ ข้อที่รักษากันไม่ได้ เพราะความเห็นแก่กาย รักกาย แล้วก็เอากายใจอันนี้ไปทำความชั่วเป็นบาปกรรม ให้กายอันนี้เป็นทุกข์โทษอีก กายอันนี้เกิดมาเพราะวิบากกรรมจึงเป็นทุกข์ไม่รู้จักจบจักสิ้น แล้วเราจะเอาวิบากกรรมอันนี้ไปทำกรรมชั่วมาเพิ่มเข้าอีกทำไมไม่น่าเลย พระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราระงับเวรกรรมด้วยการรักษาศีล และสอนที่กาย วาจา และใจ นี้เป็นตัวศีล เมื่อกาย วาจา และใจอันนี้ไม่ทำบาปกรรมแล้วก็เป็นศีล เมื่อเราไม่งดเว้นจากความชั่ว ๕ อย่าง มีฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็ไม่มีศีล บาปกรรมย่อมตามสนองได้รับโทษทุกข์ทรมานตลอดทั้งชาตินี้และชาติหน้า พระพุทธเจ้า สอนให้รักษาง่ายที่สุด ไม่ต้องไปรักษาหนองน้ำหนองปลาที่ไหน แต่รักษาสำรวมกาย วาจา และใจของตนเอง ก็เป็นพอแล้ว สอนให้ใกล้เข้ามาที่สุดคือจิต เจตนางดเว้นจากบาปกรรมนั้น ๆ อันเดียว เท่านี้ก็เป็นศีลแล้ว

ศีล เป็นกำแพงป้องกันบาปกรรมความชั่วของพุทธบริษัทที่จะปฏิบัติพระพุทธศาสนาในขั้นต้น ผู้ถึงพระไตรสรณคมน์แล้วเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมว่า เราทำดีย่อมได้ผลดี มีความสุขกายสบายใจ เราทำชั่วย่อมได้รับผลเป็นทุกข์ทั้งกายและใจ จิตย่อมแน่วแน่อยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ผู้นั้นได้ชื่อว่ามีพื้นฐานของศีลแล้ว จะเอาศีลอะไรมาตั้งก็มั่นคงดีมีผลงอกงามขึ้น จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ตามวิสัยของฆราวาสมาตั้งก็งอกงามไพบูลย์ดี คือ ไม่ขาดไม่วิ่นไม่บกพร่อง เป็นอุบาสกอุบาสิกาครบบริบูรณ์ สมควรเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาโดยแท้ จะเอาศีล ๑๐ ของสามเณรมาตั้งก็เป็นของดีเลิศ เพราะเพิ่มพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนาเข้าไปอีกด้วย จะเอาศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุในพุทธศาสนาไปตั้งย่อมดีเด่น เพราะจะได้ชำระกิเลสน้อยใหญ่ทั้งหลายให้หมดไป ( แต่ฆราวาสไม่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นของเหลือวิสัยของฆราวาส ) ศีลเป็นเครื่องชำระกิเลสชนิดหนึ่งในพุทธศาสนาดังอธิบายมาแล้ว

ศีล จะตั้งมั่นถาวรอยู่ตลอดชีวิตของบุคคลใดได้ บุคคลผู้นั้นจะต้องมีธรรม ๒ ประการ หิริ ความละอายต่อบาปกรรมนั้น ๆ ๑ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปกรรมนั้น ๆ ๑ ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้เป็นรากฐานของศีลทุกประเภท ไม่ว่าศีล ๕ ศีล ๘ ของฆราวาส หรือ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ของบรรพชิต ถ้าจิตใจของผู้รักษาศีลนั้นขาดธรรม ๒ ประการนี้แล้ว เป็นอันศีลขาดรากฐานไม่มีที่ยึดมั่น เหมือนต้นไม้ขาดรากแก้วมีแต่จะล้มถ่ายเดียว

หิริ ความละอายต่อบาปกรรมที่ตนกระทำนั้นยิ่งกว่าคนที่เป็นโรคร้ายแต่งตัวเรียบร้อยเข้าไปในที่สาธารณะ ย่อมมีความละอายแก่ใจตนเสมอ คนอื่นจะรู้เห็นหรือไม่ก็ตาม แต่ใจของตนรู้เห็นด้วยใจตนเองตลอดเวลา โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปกรรมที่ตนกระทำด้วยกาย วาจา และใจ อันจะเกิดมีขึ้นแก่ตน กลัวยิ่งกว่าเห็นอสรพิษ ย่อมไม่สามารถเข้าไปใกล้ได้ ความกลัวบาปที่เห็นด้วยใจ และกลัวด้วยใจนั้น ย่อมสะดุ้งหวาดเสียวอยู่เป็นนิจ เหมือนเป็นแผลที่หัวใจ ใครจะเจ็บปวดด้วยหรือไม่ก็ตาม ผู้นั้นย่อมเจ็บปวดอยู่คนเดียว ความละอายและความกลัวเหล่านี้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ละอายและกลัวบาปกรรมที่ละเมิดล่วงเกินศีลข้อนั้น ๆ เมื่อมีความละอายและความกลัวบาปกรรมอยู่อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นย่อมมีสติระวังตัวอยู่ทุกเมื่อ แล้วมันจะล่วงละเมิดศีลข้อนั้น ๆ ได้อย่างไร

ศีล เป็นบันไดขั้นแรกของผู้นับถือพระพุทธศาสนาที่จะละกิเลสในใจด้วยเจตนางดเว้น ผู้ถึงพระไตรสรณคมน์ด้วยการนอบน้อมกราบไหว้ด้วยใจที่ระลึกถึงที่แท้จริง ด้วยกายที่กราบลงกับพื้น ด้วยวาจาที่เปล่งออกมา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา หรือ สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม หรือ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ก็ดี น้อมระลึกคิดถึงด้วยใจก็ดี ทั้งเช้าและเย็นทุกวัน นั่นเป็นกิจวัตรของผู้ถือพระไตรสรณคมน์โดยแท้ มาถึงขั้นรักษาศีลนี้จะกราบไหว้ก็ได้ หรือจะไม่กราบไหว้ได้ เพราะศีลจะมีขึ้นได้ก็เพราะเรามีเจตนางดเว้นในโทษนั้น ศีลก็จะมีขึ้นในตัวของเราเอง เมื่อศีลมีในตัวเราแล้ว ก็เป็นอันกราบไหว้พระรัตนตรัยครบทั้งสามแล้ว เพราะเราทำถูกต้องตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วทุกประการ

ศีล พระพุทธเจ้าชี้บอกให้เรารู้ทางที่จะทำความผิดและถูกมีอย่างนี้ ๆ ถ้าเว้นจากอย่างนี้แล้วก็เป็นศีล ถ้าไม่เว้นอย่างนี้ก็ไม่เป็นศีล พูดง่าย ๆ ก็คือ ให้รู้ทางบาปและบุญนั่นเอง ส่วนทางที่ไม่ใช่บาปและบุญนั้น อย่าพูดเลยถึงพูดก็เข้าใจยาก ทางที่จะเป็นบาปทั้งหมดในโลกนี้ก็เกิดจากกาย วาจา และใจนี้ทั้งสิ้น ถ้ามีแต่กายและวาจา ๒ อย่าง ก็ไม่สามารถที่จะทำบาปกรรมได้ ถึงแม้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็บัญญัติลงที่กาย วาจา และใจนี้ทั้งนั้น ธรรมทั้งหลายที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้อเนกประการก็ล้วนแล้วแต่เทศนาออกจากกาย วาจา และใจนี้ทั้งสิ้น แต่ในที่นี้จะพูดโดยจำกัดเฉพาะที่ศีลเท่านั้น

ศีล ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเป็นพุทธอาญาที่ภิกษุทำผิดในข้อนั้น ๆ แล้วทรงวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง จึงทรงบัญญัติสิกขาบทหนักบ้างเบาบ้างตามโทษนั้น ๆ หรือจะพูดว่ากิเลสนั้น ๆ ก็ถูก สามเณร ๑๐ ข้อ หรือ ๒๐ ข้อ มีปาณาติบาตเป็นต้น ( ต้องการทราบรายละเอียดให้ดูได้ในสามเณรสิกขา ) พระภิกษุมี ๒๒๗ ข้อ ที่นำมาสวดทุก ๆ กึ่งเดือน แต่ที่ยังเหลือนอกนั้นมีอีกมากที่ไม่ขึ้นสู่อุเทศ สิกขาบทเหล่านั้นโดยมากภิกษุไม่ได้ทำให้ล่วงเกิน แต่เป็นของควรที่พระภิกษุจะพึงกระทำ เพราะเมื่อทำลงไปแล้วเป็นของดีมีจิตใจเบิกบาน ชาวบ้านทั้งหลายก็เกิดศรัทธา หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า กิเลสที่มันรอจะเล่นงานภิกษุอยู่ข้างหน้านั้น พระพุทธองค์ทรงกรุณาเห็นแล้วรีบบอกแก่บรรดาลูกศิษย์ของพระองค์ เรียกว่า เสขิยวัตร และอภิสมาจาร บรรดาสิกขาบททั้งหลาย ๒๒๗ ข้อเหล่านั้น ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้นล้วนแต่พระภิกษุผู้ไม่มี หิริ โอตตัปปะ ล่วงละเมิดทั้งนั้น พระภิกษุผู้มีหิริโอตัปปะ อยู่ในใจแล้วย่อมไม่แกล้งล่วงละเมิดได้เด็ดขาด ที่มันยุ่ง ๆ รกในพระพุทธศาสนามาก ๆ นั้นเป็นเพราะภิกษุไม่มียางอายต่างหาก ผู้มีหิริโอตตัปปะอยู่ในใจแล้วถึงจะต้องอาบัติด้วยความเผลอเรอ หรือไม่มีสติและความไม่เข้าใจ เมื่อรู้แล้วหรือเมื่อภิกษุอื่นตักเตือนแล้วก็ต้องแสดงอาบัติแล้วสำรวมระวังต่อไป อย่างนี้จึงสมกับคำว่า " ภิกษุผู้ต่อย " คือต่อยกิเลสในใจตนนั้นเองไม่ให้ติดแน่นอยู่กับจิตใจได้

ศีล หรือ พระวินัย พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ๒ อย่าง คือ อาคาริยวินัย ๑ อนาคาริยวินัย ๑

อาคาริยวินัย บัญญัติไว้เพื่อฆราวาสผู้ไม่สามารถออกบวชได้ เมื่ออยู่ในเพศฆราวาสก็ควรมีศีล ๕ ศีล ๘ เป็นข้อบังคับ ทำอะไรถ้าไม่มีข้อบังคับก็ไม่มีระเบียบย่อมเป็นของไม่งาม เขาเรียกว่าคนเกเร

อนาคาริยวินัย ทรงบัญญัติไว้แก่พระภิกษุและสามเณรผู้ออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา ที่มีความอดทนพอที่จะรักษาพระศาสนาไว้ได้

วินัย หรือ ศีล ทั้ง ๒ อย่างนี้ ผู้รักษาสำรวมดีแล้วย่อมถึงอริยภูมิทั้งสามได้เหมือนกัน เว้นเสียแต่อริยภูมิขั้นสูงสุดคืออรหัตผล ท่านแสดงไว้ผู้ถึงอรหัตผลทั้งยังเป็นฆราวาสอยู่ จะทรงเพศฆราวาสอยู่ได้เพียง ๗ วัน ถ้าไม่บวชจะต้องนิพพาน จะมีเหตุผลอย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านแสดงไว้ย่อ ๆ เพียงว่า เพศฆราวาสเป็นเพศต่ำจะทรงธรรมขั้นสูงไว้ไม่ได้
[youtube][youtube][youtube][youtube][/youtube][/youtube][/youtube][/youtube]

[color=#BF4040][/color]

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย :b8:

ปัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๘ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิต ให้ถึงพร้อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่างๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

อนึ่ง เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่ารูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๘ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้าท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ความเคารพ ความสรรเสริญ เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้าท่านได้เข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ทำให้แจ้ง และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการ แก่ภิกษุนั้น ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ...เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตให้ถึงพร้อม ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่ง
ใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ เป็นผู้มีศีล ... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ เป็นพหูสูต ... แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ปรารภความเพียร ... ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้เข้าประชุมสงฆ์ ... ไม่ดูหมิ่นความนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ...เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ... ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็ย่อมเป็นไปเพื่อความรัก ความเคารพ ความสรรเสริญเพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายเหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๓๑๑๑ - ๓๑๙๗. หน้าที่ ๑๓๕ - ๑๓๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=2&t=28993


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุููุ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร