วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 15:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
หาก...จะกล่าถึงการละทิ้งสังขารจิตแล้วจะต้องสลัดทิ้งตั้งแต่ตัวจิตที่คิดปรุงแต่งนั่นเลยทีเดียว
เพราะผู้ที่มีความเข้าใจในสังขารจิตจริงๆ นั้นจะหมดความสำคัญมั่นหมายที่มีต่อร่างกายไปอักโขแล้วละค่ะ


:b12: :b12:

พี่แฟนต้าจ๋า....

tongue tongue tongue

ขอพี่ให้ความกระจ่างงงส์ อีกนิสสส์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 15:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
:b1: เท่าที่คุณอธิบาย "สังขาร" มานั้นยังไม่เข้าร่องเข้ารอยเลยค่ะ
เอาสังขารขันธ์และสังขารในปฏิจสมุปบาทมาบนเปกันจนตนก็ยังสับสนอยู่เนืองๆ

หากจะอธิบายสังขารในปฏิจสมุปบาทก็ไม่ใช่ทั้งรูปและนามนะคะ
หากจะอธิบายในแง่ของขันธ์ ๕ การที่คนทั่วไปเข้าใจว่าสังขารเป็นร่างกายนั่นก็ถูกต้องของเขาแล้วละค่ะ

สงสัยคุณจะอ่านในวงปฏิจสมุบาท พอเห็นมีรูปและนามเกิดอยู่ด้วย เลยมาโต้ว่า
สังขารไม่ใช่รูปและนาม อ่านธรรมอย่าอ่านแบบนี้ครับ ขณะที่อ่านต้องทำความเข้าใจ
พิจารณาในรายละเอียดด้วยซิครับ ทุกอย่างในธรรมชาติมันมีแค่รูปกับนามครับ

รูปกับนามในวงปฏิจสมุบาท คุณเข้าใจว่าอะไรหรือครับ
รูปกับนามมันก็คือกาย ที่มีดวงจิตที่ยึดมั่นถือมั่นมาอาศัย ด้วยเหตุปัจจัยก่อนครับ


สังขารขันธ์กับสังขารในวงปฏิจสมุบาท มันก็เหมือนกันเป็นสภาวะเดียวกัน
ที่คุณเห็นว่า มันต่างกันก็เพราะ มันอยู่ในสถานะที่ต่างกัน บ้างครั้งมันเป็น
เหตุให้เกิดผล บางครั้งมันเป็นผลที่เกิดจากเหตุครับ

สังขารขันธ์ เป็นสมมุติบัญญัติที่ใช้เรียก สภาวะการปรุงแต่งเป็นมวลรวมใหญ่
สังขารในปฏิจสมุบาท เป็นการอธิบายเหตุปัจจัยและผลที่เกิดตามมาของสังขารขันธ์
ยกตัวอย่างครับ มีคนอยู่คนหนึ่งโฮฮับ โฮฮับไปแต่งงานมีครอบครัวมีลูก
ใครก็ต้องเรียกผมว่า คุณพ่อโฮฮับ คุณว่าโฮฮับกับคุณพ่อโฮฮับ มันต่างกันมั้ยครับ
มันเป็นคนละคนกันหรือเปล่าครับ


:b1: สวัสดีค่ะ

คุณโฮฮับอย่าเพิ่งด่วนตัดสินดิฉันด้วยอคติเช่นนั้นเลยนะคะ

นามรูปในวงจรปฏิจสมุปบาทหากจะแยกเป็นขันธ์ ๕ ก็ได้ค่ะ
แต่จะกล่าวว่าสังขารขันธ์กับสังขารในปฏิจสมุปบาทเป็นสภาวะเดียวกันนั้นยังไม่ค่อยตรงนัก

ดังตัวอย่างที่คุณยกมาเปรียบเทียบนั้นก็แสดงให้เห็นแล้วว่าสภาวะของโฮฮับทั้งสองมีความแตกต่างกัน
จากโฮฮับเปลี่ยนสภาวะเป็นคุณพ่อโฮฮับ คนที่มองได้เพียงผิวเผินก็จะเห็นว่ายังเป็นโฮฮับคนเดิม
แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งได้ก็จะสามารถเห็นถึงสภาวะที่เปลี่ยนไปได้อย่างชัดเจนทีเดียวค่ะ

ฉะนั้นความเข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ที่มีความรู้มากเช่นคุณโฮฮับ
หากคุณมีความเข้าใจในปรมัตถ์ก็จะสามารถใช้ความรู้ในบัญญัติได้ถูกต้องตรงทางกว่านี้ค่ะ

เพราะการอาศัยความรู้เพียงอย่างเดียวมาอธิบายข้อธรรมโดยปราศจากความเข้าใจนั้น
นอกจากจะเป็นโทษต่อตนเองแน่ๆ แล้วยังอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดทางตามไปด้วย

ส่วนเรื่องรูปกับนามคือกายกับจิตนั้นดิฉันได้แสดง คห.ไว้ชัดเจนแล้วนะคะ
อยู่ในคำตอบที่ดิฉันได้ให้ไว้กับคุณจางบางฯ ก่อนหน้านี้ คุณโฮฮับสามารถเลื่อนกลับไปดูได้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 15:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
[หากจะอธิบายในแง่ของขันธ์ ๕ การที่คนทั่วไปเข้าใจว่าสังขารเป็นร่างกายนั่นก็ถูกต้องของเขาแล้วละค่ะ

มันถูกคุณ มันไม่ถูกของผม ก่อนพูดพิจารณาทุกรายละเอียดให้ดีก่อนครับ
ในแง่ของขันธ์ห้า สังขารก็คือสังขารขันธ์เป็นนาม มีลักษณะของการปรุงแต่งของ
ขันธ์ทั้งสี่และยึดมั่นถือมั่นไว้

ส่วนร่างกายถ้าจะกล่าวในกรณีของขันธ์มันเป็น รูปขันธ์
ถ้าจะให้อธิบายก็ต้องว่า ร่างกายกับจิตเป็นคนละส่วนกัน
แต่มันเกี่ยวในสถานะเป็นที่อาศัยชั่วคราว แต่ด้วยจิตเข้าไปอาศัยร่างกายแล้ว
เข้าไปยึดติดว่า ร่างกายนั้นเป็นเป็นตัวเป็นเดียวกันกับจิต แบบนี้เขาเรียกว่า..
สภาวะสังขาร แห่งจิต ที่ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายนี้จะอยู่กับจิตดวงนี้ตลอดไป
พอเวลาตายลงไป จิตไม่สามารถอาศัยร่างกายนี้ต่อไปได้ จิตจึงละการปรุงแต่งว่า
ร่างกายนี้จะคงอยู่กับจิตนี้ตลอดไป ลักษณะนี้ครับ เรียกว่า ละสังขาร
ไม่ใช่ร่างกายเป็นสังขาร เขาเน้นเรื่องสภาวะธรรม
คุณแฟนตาเซีย การแสดงความเห็นของคุณ มันที่อๆด้วนๆครับ
ส่อให้เห็นว่าไม่รู้จักการพิจารณาธรรมครับ


:b16: ดิฉันขอใช้คำพูดของคุณย้อนกลับไปนะคะว่า......ก่อนพูดพิจารณาทุกรายละเอียดให้ดีก่อน

ข้อนั้นดิฉันพูดถึงคนทั่วไปที่ไม่ได้มีความรู้มากมายเช่นเดียวกับคุณนะคะ
ปัจจุบันยังมีผู้ที่เข้าใจว่าสังขารคือร่างกายอยู่ไม่น้อยและหากเขาจะพูดว่าสังขารไม่เที่ยงก็ไม่ผิดอะไร
เพราะสภาวะของร่างกายนั้นมันไม่เที่ยงจริงๆ ขอให้ยอมรับความจริงข้อด้วยค่ะ

ส่วน คห.เกี่ยวกับสังขารจิตของคุณนั้นยังสับสนอยู่มาก
ความยึดมั่นที่อธิบายมานั้นไม่ใช่สังขารจิตอย่างที่คุณเข้าใจแต่เป็นอุปาทานค่ะ
แสดงว่าสติของคุณเห็นได้แค่อุปาทาน ยังไม่รวดเร็วพอที่จะเห็นสังขารจิตที่เกิดดับก่อนหน้านั้นเลยละค่ะ

หากจะเน้นเรื่องสภาวะธรรมผู้อธิบายก็ควรจะมีความเข้าใจในสมมุติบัญญัติให้ถูกต้องตรงทางเสียก่อนนะคะ
ไม่ใช่เอาบัญญัติเรื่องหนึ่งมาอธิบายปนเปกันกับบัญญัติอีกเรื่องหนึ่งอยู่เช่นนี้
ส่อให้เห็นสภาวะของผู้อธิบายว่ามีความเข้าใจในธรรมน้อยนิดเพียงใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 15:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
แล้วอย่าไปเอ่ยถึงน้องฮานะเขาบ่อย
หรือเข้าข้างจนออกหน้าออกตาแบบนี้
ทำอย่างนี้ชาวบ้านเขาจะว่า คุณเป็นอวตาลหรือนอมินีน้องฮานะเขามานะครับ


:b1: ขอบคุณค่ะ

สำหรับดิฉันไม่สำคัญหรอกค่ะว่าใครจะว่าอย่างไร
แต่ก่อนที่คุณจะมาบอกดิฉันว่าอย่าไปเอ่ยถึงน้องฮานะเขาบ่อยนั้น
คุณควรห้ามใจตนเองให้ได้เสียก่อนดีกว่านะคะ

“ห้ามตนเองยังทำไม่ได้ แต่จะไปห้ามคนอื่น “

คำพูดนี้ดิฉันจำมาจากที่คุณกล่าวกับคุณกามโภคีค่ะ
เพราะฉะนั้นการจะแนะนำใครก็ควรแนะนำในสิ่งที่ตนเองทำได้แล้วดีกว่านะคะ
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 15:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
: :b1: หากจะกล่าวให้ถูกทางควรกล่าวว่า..........
กฎไตรลักษณ์เป็นความจริงที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

คำพูดนี้ต้องขอบอกเลยครับ พูดมาตามตำราชนิดหยิบมาที่ละท่อน
ไม่มีการพินิจวิเคราะห์หรือที่เรียกว่า พิจารณาธรรมครับ

ใช่ครับกฎแห่งไตรลักษณ์เป็นกฎที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
แต่กฎนี้คุณรู้หรือเปล่า มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้ได้เฉพาะตน มันเป็นเหตุแห่งปัญญา
แล้วการรู้เราต้องไปรู้ไปเข้าใจด้วยตนเอง มันเป็นสภาวะของใครของมัน
แล้วที่บอกว่า ไปรู้กฎไตรลักษณ์ มันคือการเข้าไปรู้อาการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทันที่ทันใด
ของอารมณ์นั้นๆ แบบนี้เขาเรียกว่าเห็นอนิจจังนี่ก็คือการเห็นอาการที่เปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญจะบอกให้ครับ จะบอกให้ครับใครยังไม่เคยเห็นอาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของอารมณ์
มันก็ยังไม่มีหรอกครับ ไอ้กฎไตรลักษณ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง ที่คุณบอกนั้นน่ะ

ส่วนเรื่องการเกิดแก่ เจ็บตายนี้แหล่ะครับ มันขึ้นอยู่กับกฎของสัจจะธรรม มันจริงแท้แน่นอน
ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้แม้กระทั้งพระอรหันต์ ว่าด้วยลักษณะการมองหรือการเข้าไปรู้
เรายังไม่สามารถรู้เห็นอาการที่ว่า แต่เราเชื่อมั่นว่ามันต้องเป็นจริงนั้น
อาการแบบนี้เขาเรียกว่า เชื่อมั่นในความเที่ยงตรงของอาการที่ยังไม่เกิดครับ
อาการที่ยังไม่เกิดให้เราเห็น แต่เรารู้ถึงผลสรุปก่อนว่าไม่เปลี่ยนไปจากนี้ เขาเรียก..
ความเที่ยงแท้แน่นอนต่อสิ่งที่จะเกิดในอนาคต เป็นนิจจังครับ


:b1: หากคุณเข้าใจว่ากฎไตรลักษณ์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเข้าไปเห็นของใครสักคนก่อน

คุณก็เข้าใจไปผิดทางแห่งสัมมาทิฏฐิอย่างถลำลึกแล้วละค่ะ

เพราะว่าธรรมนั้นมีอยู่ก่อนที่ตถาคตจะได้ตรัสรู้และนำมาสั่งสอนให้สาวกของพระองค์รู้ตาม
ถ้ากฏนั้นไม่ได้มีอยู่ก่อนแล้วตถาคตและผู้มีธรรมจักษุจะสามารถเห็นสิ่งนั้นได้อย่างไร

คห.นี้ส่อให้เห็นว่าคุณมาอธิบายไตรลัษณ์ทั้งที่ไม่ได้รู้จักเข้าใจในกฎนั้นเลย

ในสภาวะธรรมตามความเป็นจริงแล้วกฏของไตรลักษณ์ดำรงอยู่ตลอดเวลา
การที่คุณไม่สามารถมองเห็นความเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้
ไม่ได้หมายความว่ากฏนั้นยังไม่เกิดขึ้นนะคะ แต่หมายความว่าคุณยังไม่มีปัญญาเห็นมันได้เท่านั้นเองค่ะ

อย่างที่ดิฉันเคยติงว่าคุณมีความรู้มากแต่ความเข้าใจในทางที่ถูกทำนองคลองธรรมยังไม่มากพอ
ก็ลองกลับไปพิจารณาธรรมทบทวนดูให้เข้าใจแจ่มแจ้งเสียก่อนที่จะมาอธิบายธรรมในที่สาธารณะเช่นนี้ดีกว่านะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 16:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
[คุณอ้างว่า : ส่วนเรื่องการเกิดแก่ เจ็บตายมันอยู่นอกกฎไตรลักษณ์ ใช้ว่าอนิจจังไม่ได้
จริงๆ แล้วการเกิดแก่เจ็บตายใช้ว่า อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ทั้งสามอย่างยังได้เลยค่ะ

ที่คุณกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำเช่นนี้เพราะ คุณยังไม่เคยเห็นอาการที่เรียกว่า ..
เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป รู้แต่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เลยเอามาปนกันให้ยุ่งไปหมด
คุณแฟนตาเซียจะบอกให้ครับ อาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป อันเป็นเหตุแห่งปัญญามันเป็น
คนละอย่างกับ การเกิดแก่ เจ็บและตายครับ ไอ้เพราะคุณไม่รู้จักอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
อันเป็นปัจจัยแห่งไตรลักษณ์

อนิจจังในไตรลักษณ์ หมายถึงการเข้าไปรู้อาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป(เน้นว่ารู้จริงๆไม่ใช่อ่าน)
การรู้แบบนี้เรียกว่ารู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์หนึ่งเดียวนั้น

ทุกข์ในไตรลักษณ์ หมายถึง การเข้าใจว่า อาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทำให้ทุกข์
ทุกข์ที่ว่านี่ ไม่ใช่เป็นทุกข์ แต่เป็นการเห็นเหตุแห่งทุกข์

อนัตตาในไตรลักษณ์ หมายถึงการบังคับไม่ได้ของอารมณ์ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
ดังนั้นที่หลงคิดว่าเป็นตัวตนมันไม่ใช่ ข้อนี้ต้องสังเกตุครับ ทำไมเราจึงอยู่ว่าบังคับไม่ได้
ก็เพราะว่ามันเกิดดับในทันทีทันใดครับ และเราก็รู้ในทันทีทันใดด้วย


ส่วนสิ่งที่เรียกว่า เกิดแก่เจ็บตายที่คุณว่าเป็นอนิจจัง อนิจจังที่แปลว่าไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง
ตรงไหนครับ มองดูเด็กแรกเกิด ยังไงๆก็เป็นเด็กแรกเกิด ไม่เห็นแก่ซักที



:b14: หากคุณมองได้เพียงแค่นั้นก็ชี้ชัดให้เห็นแล้วว่าความเข้าใจในไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงยังไม่มีเลย

ดิฉันมองดูเด็กแรกเกิดก็เห็นความแก่ความเจ็บความตายอยู่ในนั้นทั้งหมดแล้วละค่ะ
เพราะถ้าหากสิ่งนั้นไม่ได้มีอยู่ก่อนแล้วเมื่อเวลาผ่านไปมันจะแสดงอาการของมันออกมาได้อย่างไร
ถ้ามองให้ละเอียดลงไปอีกถึงระดับเซลล์ของเด็กนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา
ดิฉันจึงบอกว่าการที่คุณยังไม่มีความสามารถพอที่จะมองเห็นได้อย่างลึกซึ้ง
ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแต่อย่างใด
การพิจารณาธรรมต้องพิจารณาให้ตลอดสายไม่เช่นนั้นคุณก็จะยังติดตังอยู่เพียงเท่านี้

ลองกลับไปทบทวนดูใหม่นะคะว่าเจ้าชายสิทธัทถะทรงเห็นความเปลี่ยนแปลงของอะไร
จึงได้เกิดปัญญาเริ่มจะมองเห็นไตรลักษณ์ขึ้นมารำไร

:b1: การเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย หากมีปัญญาเสียหน่อย
ก็จะสามารถนำมาพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามกฎของไตรลักษณ์ได้ค่ะ
แต่เห็นได้ชัดว่าคุณโฮฮับยังไม่สามารถที่จะเห็นอย่างครอบคลุมทั้งหมดตลอดสายได้

เพราะความรู้ที่คุณมีอยู่อย่างมากมายก็ไม่ต่างอะไรกับชิ้นส่วนเล็กๆ ของจิ๊กซอว์ที่กระจัดกระจายปนเปกันมั่วไปหมด
เมื่อคุณยังมองภาพรวมของธรรมะไม่ออก คำอธิบายของคุณจึงมีช่องโหว่และสับสนไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามที่ได้เห็นกันมาไปแล้วนั่นแหละนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 16:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ที่ว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ ก็เพราะเขาเป็นทุกข์ครับ มันคนละเรื่องกับทุกข์ในไตรลักษณ์
ทุกข์ในแง่ไตรลักษณ์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วที่ว่าเป็นทุกข์ เขาไม่ได้เป็นทุกข์เพราะอาการ
เกิดแก่ เจ็บตาย เขาเป็นทุกข์เพราะเขาแก่ เขาเป็นทุกข์เพราะเขาเจ็บ มันเป็นไปตามอาการ
แต่ละขณะที่เกิด ไม่ใช่อาการรวมที่ว่าเกิดแก่ เจ็บตาย


และที่ว่าอนัตตาบังคับไม่ได้ มันจะได้หรือไม่มันพูดไม่ได้ครับ เพราะสิ่งที่เห็นมันเป็นแค่สถานะเดียว
เมื่อยังไม่รู้ไม่แน่นอนว่าสิ่งนั้นบังคับไม่ได้ แล้วรู้ได้อย่างไรว่ามันไม่มีตัวตน


:b1: ดิฉันได้อธิบายคำว่าทุกข์ในอริยสัจ ๔ ไปก่อนหน้านี้แล้วนะคะ
ก็มีความหมายเดียวกันกับทุกขังในไตรลักษณ์นี่แหละค่ะ
คือความทนอยู่ในสภาพเดิมสภาพเดียวไม่ได้

ไม่สำคัญว่าคนนั้นจะรู้สึกว่าตนเป็นทุกข์อยู่หรือไม่
สภาพตามความเป็นจริงของอาการเหล่านั้นก็ยังเป็นเช่นนั้นตามธรรมชาติของเค้าค่ะ

สรุปว่าการเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์เพราะความทนอยู่ในสภาพเดิมสภาพเดียวตลอดไปไม่ได้ดังนี้ค่ะ
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 16:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
เพราะการเกิดแก่เจ็บตายของสังขารขันธ์นั้นก็อยู่ในกฏที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้คือไตรลักษณ์นั่นเอง
อนิจจัง สังขารขันธ์ไม่เที่ยง ทุกขัง สังขารขันธ์เป็นทุกข์ อนัตตา สังขารขันธ์ไม่ใช่ตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้
ทุกคนจะต้องประสบกับสิ่งนั้นและจะเห็นไตรลักษณ์ได้จากความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ภายใต้กฎที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้นั่นเอง

ผมแนะนำครับ คุณไปทำความเข้าใจกับสมมุติบัญญัติว่า สังขารขันธ์เสียใหม่
อยากรู้จริงๆครับไอ้สังขารขันธ์อะไรของคุณครับ
ทำไมมันเกิดแก่ เจ็บตายได้ด้วย ผมว่าค่อยคิดแล้วจึงแสดงความเห็นน่ะครับ


:b1: ถ้าอยากรู้จริงๆ ก็ลองย้อนกลับไปทำความเข้าใจในคำพูดของดิฉันดูเสียใหม่นะคะ
ว่าข้อนั้นดิฉันพูดถึงสังขารขันธ์ในความหมายตามความรู้เข้าใจของคนทั่วไปตามที่บอกไ้ว้แล้วค่ะ

โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
หากจะกล่าวถึงสังขารในปฏิจสมุปบาทภายใต้กฏใต้ลักษณ์ก็จะเป็นไปในทำนองเดียวกัน

โอโฮเห๊ะ! คุณเล่นพระธรรมเสียป่นปี้เลย
มันอะไรกันครับ ปฏิจสมุบาทภายใต้กฎไตรลักษณ์ มันใช่หรือครับ
กฎแห่งไตรลักษณ์มันก็เป็นส่วนหนึ่งในวงปฏิจสมุบาท เพียงแต่บางคนไม่เห็น
การจะทำให้มีให้เห็นเราต้องไปหาในส่วนของอวิชา คือการไปหาวิชชาในส่วนนี้


:b16: ดิฉันขอยกคำพูดของคุณมาแนะนำให้อีกครั้งนะคะว่า......ก่อนพูดพิจารณาทุกรายละเอียดให้ดีก่อน

ประเด็นนี้เรากำลังถกกันเรื่อง สังขาร อยู่นะคะ
คุณโฮฮับกรุณาอย่าทำให้ตนต้องสับสนมากกว่าที่เป็นอยู่เลยค่ะ
ดิฉันพูดถึง สังขาร ในปฏิจสมุปบาท ภายใต้กฎไตรลักษณ์ค่ะ
ไม่ได้บอกว่าปฏิจสมุปบาทอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์
คงต้องย้ำว่าก่อนพูดพิจารณาทุกรายละเอียดให้ดีก่อนนะคะ
ไม่ใช่ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด
ประเภทขอให้ได้ตอดนิดตอดหน่อยอย่างคุณนี้ขอบอกว่าไม่งามเลยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 17:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
นอกจากพระอรหันต์แล้วทุกคนก็จะต้องประสบกับความไม่เที่ยงของจิตสังขารอยู่ตลอดเวลา
และจะเห็นไตรลักษณ์ได้เมื่อเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของจิตสังขารนั่นเอง

ผมบอกแล้วว่าค่อยคิดก่อนแล้วจึงแสดงความเห็น แบบนี้มันรีบเสียจนมั่วไปหมดแล้วครับ
ดูแล้วพูดก็ตามสคริปแถมผิดหลักการของธรรมอีก
มันใช่หรือครับที่ว่านอกจากพระอรหันต์แล้ว ทุกคนต้องประสบ
กับความไม่เที่ยงของจิตสังขาร พูดผิดพูดใหม่ได้นะครับ
มันมีแต่พระอรหันต์หรือพระอริยะเท่านั้นครับ ที่ประสบความไม่เที่ยง
ของจิตสังขาร ปุถุชนไม่ได้ประสบครับ มันจึงเกิดการปรุงแต่งไปมากมาย


:b1: ดิฉันยังยืนยันคำพูดเดิมค่ะ

ส่วนคุณโฮฮับจะไปใช้เวลาคิดก่อนแล้วค่อยกลับมายอมรับทีหลังก็ได้นะคะ
เพราะนอกจากพระอรหันต์แล้วทุกคนต้องประสบกับความแปรเปลี่ยนของจิตสังขารอยู่ตลอด
และจะเห็นไตรลักษณ์ได้เมื่อเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของจิตสังขารนั่นเอง
ถ้ายังไม่เห็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของจิตสังขารอย่างคุณโฮฮับในตอนนี้ก็จะไม่สามารถเข้าใจถึงไตรลักษณ์ได้อย่างแจ่มแจ้ง

ดูได้จากการมาอธิบายไตรลักษณ์และจิตสังขารอย่างสับสนและไม่ครอบคลุมใน คห.ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้นะคะ

และยิ่งตอกย้ำความเข้าไม่เข้าใจในไตรลักษณ์กับคำพูดที่คุณว่า.......
มันมีแต่พระอรหันต์หรือพระอริยะเท่านั้นครับ ที่ประสบความไม่เที่ยง
ของจิตสังขาร ปุถุชนไม่ได้ประสบครับ มันจึงเกิดการปรุงแต่งไปมากมาย

:b1: ข้อนี้คุณเข้าใจผิดไปแล้วก็เข้าใจเสียใหม่ได้นะคะ

ก็การปรุงแต่งของจิตปุถุชนอย่างที่คุณว่ามันเกิดการปรุงแต่งไปมากมายนั่นแหละ
เป็นจิตสังขารที่ปุถุชนต้องประสบอยู่ตลอดเวลา แต่พระอรหันต์หามีไม่

ข้อนี้ควรพิจารณาให้ดีนะคะ จิตสังขาร แปลตรงตัวก็คือการปรุงแต่งแห่งจิต นั่นเอง
ผู้ที่ยังต้องประสบกับความไม่เที่ยงของจิตสังขารนั้นมีทั้งปุถุชนและอริยบุคคลระดับอนาคามีลงมา
ยกเว้นพระอรหันต์เท่านั้นเพราะท่านดับอวิชชาหมดสิ้นแล้ว จิตสังขารจึงหมดเชื้อแห่งการเกิดขึ้นแล้ว

แต่ในผู้ที่ยังต้องประสบกับความไม่เที่ยงของจิตสังขารอยู่นั้น
ต่างก็สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งจิตสังขารได้มากน้อยตามกำลังสติปัญญา
ส่วนผู้ที่มืดบอดจนมองไม่เห็นเลยนั้นก็มีอยู่แถวๆ นี้เองแหละนะคะ

การที่คุณมองไม่เห็นจิตสังขารจึงไม่เห็นความไม่เที่ยงของมันเลยเข้าใจผิดไปไกลว่าสิ่งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นให้คุณประสบ
ในเมื่อคุณยังตาบอดอยู่เช่นนี้ต่อให้อนิจจังทุกขังอนัตตาเกิดขึ้นอยู่ตรงหน้าคุณก็มองไม่เห็นค่ะ
และหากยังดื้อรั้นดันทุรังยืนยันในความเข้าใจผิดๆ เช่นนั้นต่อไป
การปฏิบัติของคุณก็จะก้าวหน้าไปในทางแห่งมิจฉาทิฏฐิอย่างถลำลึกไปเรื่อยๆ นะคะ
กว่าจะกลับตัวกลับใจมาดำเนินในอริยมรรคมีองค์แปดได้ก็จะเสียเวลาไปอย่างน่าเสียดายมากๆ เลย

ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตา ... ค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 17:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
:b1: คุณโฮฮับกล่าวเช่นนี้ยิ่งแสดงให้เห็นถึงปริมาณความเข้าใจว่ายังไม่ถึงที่สุดค่ะ
เพราะยังเป็นการมองเพียงแง่เดียวมุมเดียวต่อให้อธิบายอย่างไรก็ไม่ครอบคลุมทั้งหมด
หากแต่ละฝ่ายยังดึงดันยืนยันความคิดของตนอยู่อย่างนี้ก็จะมีเรื่องให้ถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด

มุมหนึ่งมองว่าชีวิตเที่ยงตรงต่อสัจธรรม ต้องเกิดแก่เจ็บตายเพราะเป็นสิ่งแน่นอนของชีวิต

อีกมุมหนึ่งมองว่าชีวิตไม่เที่ยงนั้นเป็นสัจธรรม เกิดแล้วแก่แล้วเจ็บแล้วตายเพราะชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน

จริงๆ แล้วก็ถูกทั้งคู่แต่เมื่อต่างยังติดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งจึงทำให้ไม่รู้แจ้งเห็นแจ้งทั้งหมดค่ะ

จะบอกให้ครับตัวผมเองมีมุมมองหลายมุมครับ ไม่ใช่มุมเดียวแบบคุณว่าเลย
ผมว่าเป็นคุณเสียล่ะมากกว่า ที่มีมุมมองมุมเดียว นั้นก็คือการเอากฎแห่ง
ไตรลักษณ์กับกฎแห่งสัจจะธรรมมามองเป็นมุมเดียว ซึ่งผมว่ามันผิดครับ

เรื่องใครจะดึงดันความคิดตัวเองไม่แปลกครับ
แต่ขอให้มีคำอธิบายในความคิดความเห็นของตนด้วย
ไม่ใช่มาพูดจาซ้ำซากชนิดหัวชนฝา เหมือนกับใครบ้างคน
ที่ชอบว่า ให้อยู่กับพุทโธ ถามพุทโธคืออะไรก็ว่าตัวรู้
ถามตัวรู้คืออะไรก็ว่าคือพุทโธ คนแบบนี้ต่างหากครับมันเป็นลักษณะที่คุณกล่าวมา


:b1: ดิฉันเพียงแต่มองจากความว่างค่ะ

เมื่อความเข้าใจถึงที่สุดแล้วจะมองเห็นภาพรวมได้อย่าทะลุปรุโปร่ง
จึงสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด
ต่อให้มีเป็นร้อยเป็นล้านมุมหรือมากกว่านั้นก็จะไม่ไปติดแหง่กอยู่กับมุมใดๆ เลยค่ะ
เพราะเห็นแล้วว่า สัจธรรมเป็นหนึ่งเดียว ค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 17:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
tongue คุณโฮฮับยังสับสนเรื่องสังขารอยู่นะคะ

การละทิ้งการปรุงแต่งแห่งจิตที่มีต่อกายนั้นๆ ก็ยังอยู่ในข่ายของสังขารที่เป็นร่างกายอยู่นั่นเองค่ะ

หากคุณจะกล่าถึงการละทิ้งสังขารจิตแล้วจะต้องสลัดทิ้งตั้งแต่ตัวจิตที่คิดปรุงแต่งนั่นเลยทีเดียว
เพราะผู้ที่มีความเข้าใจในสังขารจิตจริงๆ นั้นจะหมดความสำคัญมั่นหมายที่มีต่อร่างกายไปอักโขแล้วละค่ะ

ผมจะยกตัวอย่างให้คุณไปคิดครับ คนที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งที่อวัยวะส่วนใด
ส่วนหนึ่งจนมันเน่าฟอนเฟะ หมอให้ตัดทิ้ง คุณว่าคนไข้จะยังดื้อดึงเอาอวัยวะนั้นไว้มั้ย
เช่นเดียวกันร่างกายที่รอวันเน่าเหม็น จิตยังสำคัญมั่นหมายกับร่างนั้นมั้ย
ที่ผมกล่าวมันเป็นเรื่องของจิตปุถุชน สภาวะที่ละทิ้งสังขาร มันเกิดตามเหตุปัจจัย

คุณอย่าเอาจิตอริยะลงมามั่วแบบนี้ซิครับ อย่าลืมครับเคยกล่าวหาผมว่า
มองอะไรแค่มุมเดียว สิ่งที่คุณกล่าวมามันมีกี่มุมครับ


:b1: ดิฉันไม่ขอใช้สังขารจิตคิดตามความเข้าใจที่ยังไขว้เขวของคุณหรอกนะคะ

เพราะว่าความจริงแล้วจิตปุถุชนไม่มีการละสังขารแบบนั้นค่ะ
การที่ร่างกายเก่าตายเน่าไปเป็นเรื่องของธาตุขันธ์ไม่เกี่ยวกันกับจิตนะคะ
จิตปุถุชนก็ยังยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนั้นอยู่ไม่ได้ละวางสังขารร่างกายแต่อย่างใด
แต่เพราะทำอะไรไม่ได้แล้วก็ต้องปล่อยให้เค้าเน่าเปื่อยผุพังไปตามเรื่อง
ส่วนจิตที่ยังมีอวิชชาอยู่นั้นก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาสังขารร่างกายใหม่ต่อไป
ในกรณีจิตไม่ได้ละทิ้งสังขาร แต่เป็นสังขารร่างกายต่างหากที่ละทิ้งจิตไปค่ะ

ส่วนกรณีจิตอริยนั้น เปอร์เซนของการละวางก็จะต่างกันไปในแต่ละระดับและทิฏฐิของแต่ละท่าน
แต่กว่าจะบรรลุอรหันต์ก็ต้องละวางความยึดมั่นทั้งในร่างกายและจิตหรือขันธ์ ๕ ทั้งหมดให้ได้เสียก่อน
การละวางเฉพาะสังขารร่างกายได้อย่างเดียวไปได้สูงสุดแค่อนาคามีบุคคลเท่านั้นค่ะ
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 17:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ใช่ค่ะ เอกอนสับสนตรงช่วงนี้ล่ะค่ะ
ที่พี่แฟนต้าได้ตอบให้ฟังแล้ว
:b9: :b9:

ขอตอบว่า........สังขารในปฏิจจสมุปบาทเป็นความปรุ่งแต่งแห่งจิตค่ะ
ต่างจากสังขารในขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นความปรุ่งแต่แห่งธาตุ

ความปรุงแต่งแห่งจิตก็คือความคิดความรู้สึกแม้ไม่มีร่างกายก็มีอยู่ได้
ความปรุงแต่งแห่งธาตุขันธ์ก็คือร่างกายอันประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดินน้ำไฟลมนั่นเอง

คำว่า "สังขารสามทำให้มี วิญญาณทางอายตนหก" อาจไม่ค่อยถูกต้องนัก
หากไล่ดูตามวงจรปฏิจสมุปบาทแล้วจะเห็นว่า วิญญาณเกิดก่อนสฬายตนะ
เพราะมีวิญญาณจึงมีนามรูปก่อนแล้วจึงค่อยมีสฬายตนะตามลำดับค่ะ

สังขารทำให้มีวิญญาณได้อย่างไร

......เมื่อมีการปรุงแต่ง(จิตสังขาร)เกิดขึ้นแล้ว
ธาตุรู้ย่อมรู้อยู่ว่ามีการรับรู้ถึงสิ่งที่ถูกความหลงปรุงแต่งขึ้นมา
การรับรู้นั้นเรียกว่าวิญญาณหมายถึงผู้รับรู้
(บางท่านอาจจะสับสนระหว่างวิญญาณธาตุกับธาตุรู้)
จากนั้นวิญญาณจึงเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปหรือกายกับจิต
นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ.........ตามลำดับดังนี้ค่ะ

สรุปข้อนี้ได้ว่าวิญญาณเกิดก่อนที่จะมีอายตนหก
ดังนั้นอาตนหกจึงมีวิญญาณครองด้วยประการฉะนี้ค่ะ


:b9: :b9: ขอบคุณค่ะ
ตรงนี้ล่ะ เอกอนเคยพยายามแคะยังไง ก็แคะไม่ออกบอกไม่ถูกสักที
ตอนนี้ พี่แฟนต้า ทำให้เอกอนเริ่มมองเห็นภาพความเป็นมาเป็นไปแล้วค่ะ

smiley smiley smiley


:b8: อนุโมทนาค่ะ

น้องเอกอนมองเห็นภาพแล้วก็ถือโอกาสที่มันโผล่ออกมาให้เห็นนี้ทำลายมันเสียทีนะคะ
เพราะภาพที่ปรากฏออกมานั้นก็คือสังขารจิตที่ถูกอวิชชาปรุงแต่งออกมาหลอกล่อนั่นเอง

ความเข้าใจในธรรมมีไว้สำหรับให้ใช้เป็นอาวุธทำลายอวิชชา
ไม่ใช่ให้นำมาคิดปรุงแต่งต่อตามที่อวิชชาความหลงมันบงการอยู่นะคะ
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณfantasia ที่มาช่วยตอบให้คุณ จางบาง

แต่ว่าคุณจางบางยังไม่ค่อย เคลียกับคำตอบ ที่บอกว่า วิญญาณหกที่มาจากการตรัสของ
พระพุทธองค์ น่าจะผิด และที่ถูกคือควรจะเป็นอย่างที่คุณ ตอบ นั่นหนะ

สรุปว่าจะให้ คุณจางบาง เลือกเชื่อว่า ที่มาจากไตรปิฏกนั้นผิด หรือเลือกเชื่อว่าคุณ
ตีความผิดกันคะ่

s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 20:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
โฮฮับ เขียน:

สังขารขันธ์กับสังขารในวงปฏิจสมุบาท มันก็เหมือนกันเป็นสภาวะเดียวกัน
ที่คุณเห็นว่า มันต่างกันก็เพราะ มันอยู่ในสถานะที่ต่างกัน บ้างครั้งมันเป็น
เหตุให้เกิดผล บางครั้งมันเป็นผลที่เกิดจากเหตุครับ



:b1: สวัสดีค่ะ

คุณโฮฮับอย่าเพิ่งด่วนตัดสินดิฉันด้วยอคติเช่นนั้นเลยนะคะ

นามรูปในวงจรปฏิจสมุปบาทหากจะแยกเป็นขันธ์ ๕ ก็ได้ค่ะ
แต่จะกล่าวว่าสังขารขันธ์กับสังขารในปฏิจสมุปบาทเป็นสภาวะเดียวกันนั้นยังไม่ค่อยตรงนัก


อย่าเถียงกัน...ผิดทั้งคู่นั้นแหละ :b9: :b9:

สังขาร..ในปฏิจจสมุปบาท...เป็น...รูป..แม้แต่พลังงานหยาบละเอียด..ก็เป็นรูป

สังขารขันธ์..ใน..นามรูป...มันเป็น..นาม

แต่เมื่อเราเกิดมาแล้ว..มีชีวิตแล้ว...คือมีรูปนามแล้ว..

อวิชชา..มีผลตรงมาที่สังขารขันธ์เลย...คือมาที่นามรูปเลย...ไม่ต้องผ่าน..สังขารา...กับ..วิญญาณัง...อีกแล้ว...เพราะทั้ง 2 อย่างมันมารวมกันที่นามรูปนี้แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กบนอกกะลา เขียน:
FANTASIA เขียน:
โฮฮับ เขียน:

สังขารขันธ์กับสังขารในวงปฏิจสมุบาท มันก็เหมือนกันเป็นสภาวะเดียวกัน
ที่คุณเห็นว่า มันต่างกันก็เพราะ มันอยู่ในสถานะที่ต่างกัน บ้างครั้งมันเป็น
เหตุให้เกิดผล บางครั้งมันเป็นผลที่เกิดจากเหตุครับ



:b1: สวัสดีค่ะ

คุณโฮฮับอย่าเพิ่งด่วนตัดสินดิฉันด้วยอคติเช่นนั้นเลยนะคะ

นามรูปในวงจรปฏิจสมุปบาทหากจะแยกเป็นขันธ์ ๕ ก็ได้ค่ะ
แต่จะกล่าวว่าสังขารขันธ์กับสังขารในปฏิจสมุปบาทเป็นสภาวะเดียวกันนั้นยังไม่ค่อยตรงนัก


อย่าเถียงกัน...ผิดทั้งคู่นั้นแหละ :b9: :b9:

สังขาร..ในปฏิจจสมุปบาท...เป็น...รูป..แม้แต่พลังงานหยาบละเอียด..ก็เป็นรูป

สังขารขันธ์..ใน..นามรูป...มันเป็น..นาม

แต่เมื่อเราเกิดมาแล้ว..มีชีวิตแล้ว...คือมีรูปนามแล้ว..

อวิชชา..มีผลตรงมาที่สังขารขันธ์เลย...คือมาที่นามรูปเลย...ไม่ต้องผ่าน..สังขารา...กับ..วิญญาณัง...อีกแล้ว...เพราะทั้ง 2 อย่างมันมารวมกันที่นามรูปนี้แล้ว


แล้วคุณกบมั่นใจแค่ไหนว่าของคุณถูกต้อง ล้านเปอร์เซนต์.....ช่วยชี้แจงแถลงไข
เพื่อเป็นวิทยาทานแก่เด็กน้อยคนนี้ด้วยท่าน
:b20: :b20: :b20:

.....................................................
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 113 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร