วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 05:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 00:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พุทธคุณ เขียน:
2.แล้วคำว่า อนิจจัง วัฏสังขารา ในบทสวดมนต์ล่ะครับ
ไม่ได้แปลว่า สังขารคือสิ่งไม่เที่ยงตามที่ผู้แปลได้แปลไว้เหรอครับ[/size][/color]

ใช่ครับสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง แต่คำว่าสังขารที่ว่านี้ มันไม่ใช่ร่างกายที่ผุพังของเราครับ
ร่างกายของเราเป็นเพียงธาตุสี่ที่จิตมาอาศัยอยู่เท่านั้น

ดังนั้นที่ว่าสังขาร มันก็คือสภาวะในขณะที่จิตอาศัยอยู่ในร่างกาย
แล้วจิตหลงยึดมั่นถือมั่นเอาร่างกายมาเป็นตัวตน โดยหารู้ไม่ว่ามันเป็นเพียงก้อนธาตุ
สักวันจิตนี้จะต้องละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่สามารถถือครองได้ตลอดไป

สังเกตุดูครับมีประโยคคำพูดที่เกี่ยวกับความตายไว้ว่า "ละสังขาร"
สังขารในที่นี้ก็ไม่กายที่ตายไปครับ แต่มันเป็นอาการของจิตที่ต้องละทิ้งกาย โดยตอนแรก
จิตหลงไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนเดียวกับจิต
ฉะนั้นละสังขาร ก็คือละทิ้งการปรุงแต่งแห่งจิตที่มีต่อกายนั้นๆครับ
นี่แหล่ะครับ ความหมายของอนิจจัง วัฏสังขารา ท่านเน้นเรื่องจิตครับ
ไม่ใช่ร่างกาย


tongue คุณโฮฮับยังสับสนเรื่องสังขารอยู่นะคะ

การละทิ้งการปรุงแต่งแห่งจิตที่มีต่อกายนั้นๆ ก็ยังอยู่ในข่ายของสังขารที่เป็นร่างกายอยู่นั่นเองค่ะ

หากคุณจะกล่าถึงการละทิ้งสังขารจิตแล้วจะต้องสลัดทิ้งตั้งแต่ตัวจิตที่คิดปรุงแต่งนั่นเลยทีเดียว
เพราะผู้ที่มีความเข้าใจในสังขารจิตจริงๆ นั้นจะหมดความสำคัญมั่นหมายที่มีต่อร่างกายไปอักโขแล้วละค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
:b1: เท่าที่คุณอธิบาย "สังขาร" มานั้นยังไม่เข้าร่องเข้ารอยเลยค่ะ
เอาสังขารขันธ์และสังขารในปฏิจสมุปบาทมาบนเปกันจนตนก็ยังสับสนอยู่เนืองๆ

หากจะอธิบายสังขารในปฏิจสมุปบาทก็ไม่ใช่ทั้งรูปและนามนะคะ
หากจะอธิบายในแง่ของขันธ์ ๕ การที่คนทั่วไปเข้าใจว่าสังขารเป็นร่างกายนั่นก็ถูกต้องของเขาแล้วละค่ะ

สงสัยคุณจะอ่านในวงปฏิจสมุบาท พอเห็นมีรูปและนามเกิดอยู่ด้วย เลยมาโต้ว่า
สังขารไม่ใช่รูปและนาม อ่านธรรมอย่าอ่านแบบนี้ครับ ขณะที่อ่านต้องทำความเข้าใจ
พิจารณาในรายละเอียดด้วยซิครับ ทุกอย่างในธรรมชาติมันมีแค่รูปกับนามครับ

รูปกับนามในวงปฏิจสมุบาท คุณเข้าใจว่าอะไรหรือครับ
รูปกับนามมันก็คือกาย ที่มีดวงจิตที่ยึดมั่นถือมั่นมาอาศัย ด้วยเหตุปัจจัยก่อนครับ


สังขารขันธ์กับสังขารในวงปฏิจสมุบาท มันก็เหมือนกันเป็นสภาวะเดียวกัน
ที่คุณเห็นว่า มันต่างกันก็เพราะ มันอยู่ในสถานะที่ต่างกัน บ้างครั้งมันเป็น
เหตุให้เกิดผล บางครั้งมันเป็นผลที่เกิดจากเหตุครับ

สังขารขันธ์ เป็นสมมุติบัญญัติที่ใช้เรียก สภาวะการปรุงแต่งเป็นมวลรวมใหญ่
สังขารในปฏิจสมุบาท เป็นการอธิบายเหตุปัจจัยและผลที่เกิดตามมาของสังขารขันธ์
ยกตัวอย่างครับ มีคนอยู่คนหนึ่งโฮฮับ โฮฮับไปแต่งงานมีครอบครัวมีลูก
ใครก็ต้องเรียกผมว่า คุณพ่อโฮฮับ คุณว่าโฮฮับกับคุณพ่อโฮฮับ มันต่างกันมั้ยครับ
มันเป็นคนละคนกันหรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
[หากจะอธิบายในแง่ของขันธ์ ๕ การที่คนทั่วไปเข้าใจว่าสังขารเป็นร่างกายนั่นก็ถูกต้องของเขาแล้วละค่ะ

มันถูกคุณ มันไม่ถูกของผม ก่อนพูดพิจารณาทุกรายละเอียดให้ดีก่อนครับ
ในแง่ของขันธ์ห้า สังขารก็คือสังขารขันธ์เป็นนาม มีลักษณะของการปรุงแต่งของ
ขันธ์ทั้งสี่และยึดมั่นถือมั่นไว้

ส่วนร่างกายถ้าจะกล่าวในกรณีของขันธ์มันเป็น รูปขันธ์
ถ้าจะให้อธิบายก็ต้องว่า ร่างกายกับจิตเป็นคนละส่วนกัน
แต่มันเกี่ยวในสถานะเป็นที่อาศัยชั่วคราว แต่ด้วยจิตเข้าไปอาศัยร่างกายแล้ว
เข้าไปยึดติดว่า ร่างกายนั้นเป็นเป็นตัวเป็นเดียวกันกับจิต แบบนี้เขาเรียกว่า..
สภาวะสังขาร แห่งจิต ที่ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายนี้จะอยู่กับจิตดวงนี้ตลอดไป
พอเวลาตายลงไป จิตไม่สามารถอาศัยร่างกายนี้ต่อไปได้ จิตจึงละการปรุงแต่งว่า
ร่างกายนี้จะคงอยู่กับจิตนี้ตลอดไป ลักษณะนี้ครับ เรียกว่า ละสังขาร
ไม่ใช่ร่างกายเป็นสังขาร เขาเน้นเรื่องสภาวะธรรม
คุณแฟนตาเซีย การแสดงความเห็นของคุณ มันที่อๆด้วนๆครับ
ส่อให้เห็นว่าไม่รู้จักการพิจารณาธรรมครับ
FANTASIA เขียน:
[ส่วนความเห็นว่าการเกิดแก่เจ็บตายไม่อยู่ในกฏไตรลักษณ์นั้น
ก็สมควรแล้วละค่ะที่น้องฮานะบอกว่าคุณเป็นมิจฉาทิฏฐิ

แล้วอย่าไปเอ่ยถึงน้องฮานะเขาบ่อย
หรือเข้าข้างจนออกหน้าออกตาแบบนี้
ทำอย่างนี้ชาวบ้านเขาจะว่า คุณเป็นอวตาลหรือนอมินีน้องฮานะเขามานะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
: :b1: หากจะกล่าวให้ถูกทางควรกล่าวว่า..........
กฎไตรลักษณ์เป็นความจริงที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

คำพูดนี้ต้องขอบอกเลยครับ พูดมาตามตำราชนิดหยิบมาที่ละท่อน
ไม่มีการพินิจวิเคราะห์หรือที่เรียกว่า พิจารณาธรรมครับ

ใช่ครับกฎแห่งไตรลักษณ์เป็นกฎที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
แต่กฎนี้คุณรู้หรือเปล่า มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้ได้เฉพาะตน มันเป็นเหตุแห่งปัญญา
แล้วการรู้เราต้องไปรู้ไปเข้าใจด้วยตนเอง มันเป็นสภาวะของใครของมัน
แล้วที่บอกว่า ไปรู้กฎไตรลักษณ์ มันคือการเข้าไปรู้อาการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทันที่ทันใด
ของอารมณ์นั้นๆ แบบนี้เขาเรียกว่าเห็นอนิจจังนี่ก็คือการเห็นอาการที่เปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญจะบอกให้ครับ จะบอกให้ครับใครยังไม่เคยเห็นอาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของอารมณ์
มันก็ยังไม่มีหรอกครับ ไอ้กฎไตรลักษณ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง ที่คุณบอกนั้นน่ะ

ส่วนเรื่องการเกิดแก่ เจ็บตายนี้แหล่ะครับ มันขึ้นอยู่กับกฎของสัจจะธรรม มันจริงแท้แน่นอน
ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้แม้กระทั้งพระอรหันต์ ว่าด้วยลักษณะการมองหรือการเข้าไปรู้
เรายังไม่สามารถรู้เห็นอาการที่ว่า แต่เราเชื่อมั่นว่ามันต้องเป็นจริงนั้น
อาการแบบนี้เขาเรียกว่า เชื่อมั่นในความเที่ยงตรงของอาการที่ยังไม่เกิดครับ
อาการที่ยังไม่เกิดให้เราเห็น แต่เรารู้ถึงผลสรุปก่อนว่าไม่เปลี่ยนไปจากนี้ เขาเรียก..
ความเที่ยงแท้แน่นอนต่อสิ่งที่จะเกิดในอนาคต เป็นนิจจังครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
[คุณอ้างว่า : ส่วนเรื่องการเกิดแก่ เจ็บตายมันอยู่นอกกฎไตรลักษณ์ ใช้ว่าอนิจจังไม่ได้
จริงๆ แล้วการเกิดแก่เจ็บตายใช้ว่า อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ทั้งสามอย่างยังได้เลยค่ะ

ที่คุณกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำเช่นนี้เพราะ คุณยังไม่เคยเห็นอาการที่เรียกว่า ..
เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป รู้แต่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เลยเอามาปนกันให้ยุ่งไปหมด
คุณแฟนตาเซียจะบอกให้ครับ อาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป อันเป็นเหตุแห่งปัญญามันเป็น
คนละอย่างกับ การเกิดแก่ เจ็บและตายครับ ไอ้เพราะคุณไม่รู้จักอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
อันเป็นปัจจัยแห่งไตรลักษณ์

อนิจจังในไตรลักษณ์ หมายถึงการเข้าไปรู้อาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป(เน้นว่ารู้จริงๆไม่ใช่อ่าน)
การรู้แบบนี้เรียกว่ารู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์หนึ่งเดียวนั้น

ทุกข์ในไตรลักษณ์ หมายถึง การเข้าใจว่า อาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทำให้ทุกข์
ทุกข์ที่ว่านี่ ไม่ใช่เป็นทุกข์ แต่เป็นการเห็นเหตุแห่งทุกข์

อนัตตาในไตรลักษณ์ หมายถึงการบังคับไม่ได้ของอารมณ์ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
ดังนั้นที่หลงคิดว่าเป็นตัวตนมันไม่ใช่ ข้อนี้ต้องสังเกตุครับ ทำไมเราจึงอยู่ว่าบังคับไม่ได้
ก็เพราะว่ามันเกิดดับในทันทีทันใดครับ และเราก็รู้ในทันทีทันใดด้วย


ส่วนสิ่งที่เรียกว่า เกิดแก่เจ็บตายที่คุณว่าเป็นอนิจจัง อนิจจังที่แปลว่าไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง
ตรงไหนครับ มองดูเด็กแรกเกิด ยังไงๆก็เป็นเด็กแรกเกิด ไม่เห็นแก่ซักที

ที่ว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ ก็เพราะเขาเป็นทุกข์ครับ มันคนละเรื่องกับทุกข์ในไตรลักษณ์
ทุกข์ในแง่ไตรลักษณ์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วที่ว่าเป็นทุกข์ เขาไม่ได้เป็นทุกข์เพราะอาการ
เกิดแก่ เจ็บตาย เขาเป็นทุกข์เพราะเขาแก่ เขาเป็นทุกข์เพราะเขาเจ็บ มันเป็นไปตามอาการ
แต่ละขณะที่เกิด ไม่ใช่อาการรวมที่ว่าเกิดแก่ เจ็บตาย


และที่ว่าอนัตตาบังคับไม่ได้ มันจะได้หรือไม่มันพูดไม่ได้ครับ เพราะสิ่งที่เห็นมันเป็นแค่สถานะเดียว
เมื่อยังไม่รู้ไม่แน่นอนว่าสิ่งนั้นบังคับไม่ได้ แล้วรู้ได้อย่างไรว่ามันไม่มีตัวตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
เพราะการเกิดแก่เจ็บตายของสังขารขันธ์นั้นก็อยู่ในกฏที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้คือไตรลักษณ์นั่นเอง
อนิจจัง สังขารขันธ์ไม่เที่ยง ทุกขัง สังขารขันธ์เป็นทุกข์ อนัตตา สังขารขันธ์ไม่ใช่ตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้
ทุกคนจะต้องประสบกับสิ่งนั้นและจะเห็นไตรลักษณ์ได้จากความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ภายใต้กฎที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้นั่นเอง

ผมแนะนำครับ คุณไปทำความเข้าใจกับสมมุติบัญญัติว่า สังขารขันธ์เสียใหม่
อยากรู้จริงๆครับไอ้สังขารขันธ์อะไรของคุณครับ
ทำไมมันเกิดแก่ เจ็บตายได้ด้วย ผมว่าค่อยคิดแล้วจึงแสดงความเห็นน่ะครับ

FANTASIA เขียน:
หากจะกล่าวถึงสังขารในปฏิจสมุปบาทภายใต้กฏใต้ลักษณ์ก็จะเป็นไปในทำนองเดียวกัน

โอโฮเห๊ะ! คุณเล่นพระธรรมเสียป่นปี้เลย
มันอะไรกันครับ ปฏิจสมุบาทภายใต้กฎไตรลักษณ์ มันใช่หรือครับ
กฎแห่งไตรลักษณ์มันก็เป็นส่วนหนึ่งในวงปฏิจสมุบาท เพียงแต่บางคนไม่เห็น
การจะทำให้มีให้เห็นเราต้องไปหาในส่วนของอวิชา คือการไปหาวิชชาในส่วนนี้
FANTASIA เขียน:
นอกจากพระอรหันต์แล้วทุกคนก็จะต้องประสบกับความไม่เที่ยงของจิตสังขารอยู่ตลอดเวลา
และจะเห็นไตรลักษณ์ได้เมื่อเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของจิตสังขารนั่นเอง

ผมบอกแล้วว่าค่อยคิดก่อนแล้วจึงแสดงความเห็น แบบนี้มันรีบเสียจนมั่วไปหมดแล้วครับ
ดูแล้วพูดก็ตามสคริปแถมผิดหลักการของธรรมอีก
มันใช่หรือครับที่ว่านอกจากพระอรหันต์แล้ว ทุกคนต้องประสบ
กับความไม่เที่ยงของจิตสังขาร พูดผิดพูดใหม่ได้นะครับ
มันมีแต่พระอรหันต์หรือพระอริยะเท่านั้นครับ ที่ประสบความไม่เที่ยง
ของจิตสังขาร ปุถุชนไม่ได้ประสบครับ มันจึงเกิดการปรุงแต่งไปมากมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


โฮฮับ เขียน:
ดังนั้นเราต้องกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์เป็นนิจจัง เที่ยงตรงต่อสัจจะธรรม
การเกิดแล้วแก่ก็เที่ยง การแก่แล้วเจ็บก็เที่ยง เจ็บแล้วต้องตายก็เที่ยงครับ


สรุปก็คือ คุณ โฮฮับ เข้าใจว่าการเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องของสัจธรรมหรือเรียกให้ฟังดูยากเข้าไปอีกนิดก็คือ ความไม่เที่ยงของสังขารบนความ
เที่ยงของสัจธรรม
หรือ อนิจจังบนความนิจจัง อันนี้ผมเข้าใจถูกรึยังครับ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


FANTASIA เขียน:
:b1: เท่าที่คุณอธิบาย "สังขาร" มานั้นยังไม่เข้าร่องเข้ารอยเลยค่ะ
เอาสังขารขันธ์และสังขารในปฏิจสมุปบาทมาบนเปกันจนตนก็ยังสับสนอยู่เนืองๆ


โห เห็นคุณ FANTA นิ่งๆอย่างนี้ พอมาทีปั่นซะเครื่องร้อนเลย อ่านแทบไม่ทัน
มาทีเป็น 10กระทู้ อิอิอิ

FANTASIA เขียน:
คุณโฮฮับมีความรู้มากอยู่ก็จริงแต่ความเข้าใจยังมีน้อยเหลือเกินค่ะ
และเพราะว่าความเข้าใจยังไม่สมดุลกับความรู้ที่มีอยู่นี้เอง
ทำให้ไม่สามารถนำความรู้มาใช้ให้ถูกทางได้

:b1: ดังนั้นควรพิจารณาตนเองให้ถี่ถ้วนก่อนดีกว่าค่ะ

รักษาดวงตาของคุณให้หายดีเสียก่อนจะได้มองอะไรๆ ได้ชัดเจนและถูกทางมากขึ้น
เท่าที่คุณทำอยู่ตอนนี้ก็ไม่ได้ต่างจากคนตาเขที่พยายามลากจูงคนตาบอดเท่าไหร่เลย

เมื่อความรู้ความเข้าใจเต็มที่แล้วค่อยนำมาชี้แนะผู้อื่นก็ยังไม่สายนะคะ
tongue ดิฉันชี้แนะให้ด้วยความปรารถนาดีจากใจจริงค่ะ ^^


ผมก็ว่าคุณ FANTASIA เป็นผู้ที่มีความรู้อยู่มากและเข้าใจอะไรได้ค่อนข้างดี
แต่ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปเองหรือเปล่า เพราะตอนท้ายของกระทู้หลายๆอันนะพอ
คุณตอบเสร็จแล้วคุณมักจะทิ้งทวนด้วยคำพูดแปลกๆ ที่ผมมองทีไรก็ทำให้คิดว่า
คุณกำลังเกทับคนอื่นหรือเปล่า เช่นที่ยกตัวอย่างมา

หรือไม่ก็ชอบเอาไม้ไปเขี่ยๆ ให้เขาคันเล่น เช่น
FANTASIA เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
จะไปหวังหลุดพ้นหรอ แค่รู้ขันธ์ที่อยู่ในยังหมดสิทธิ์!ทำกุศลฌาณให้ได้ก่อนเหอะ


:b16: ความเข้าใจของเขามีอยู่แค่ไหน เขาก็หวังได้แค่นั้นนั่นแหละนะคะ
เรื่องแบบนี้บังคับบัญชากันไม่ได้หรอกค่ะ ^^


ถ้าใช่ก็อย่าไปยั่วเขาเลยครับ สงสารเขา

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 12:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
eragon_joe เขียน:
เพราะ เอกอนเห็นเอกอนท่องไป....พบปะกับธรรมต่าง ๆ มากมาย
เพราะ เอกอนมี... จึงปรากฎเอกอนท่องไป
และถ้า เอกอนไม่มี... จะปรากฎ...อะไร
และ ปัจจัยใด... ทำให้เอกอน ไม่ปรากฎ


tongue ปรากฏว่ามีเอกอนไหลตามสังขารคิดไปเสียแล้วละค่ะ

eragon_joe เขียน:
อวิชชา คือ การไม่รู้ในขันธ์ตามความเป็นจริง (สัจจะแห่งขันธ์)
ทำให้เกิดการเข้าไปยึดมั่นขันธ์ อันเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็น
วิญญาณที่เข้าไปครอบครอง ปรากฎเป็นก้อนรูป-นามที่มีการถือครอง
ซึ่งจริง ๆ แล้ว............ :b10: :b10:


:b1: จริงๆ แล้ว........อวิชชานั่นแหละเป็นตัวแม่ของขันธ์ทั้งหมด
ยิ่งกว่านั้นยังเป็นบรรพบุรุษของปฏิจจมุปบาทตลอดทั้งสายเลยละค่ะ

น้องเอกอนอาจจะสับสนระหว่าง สังขารในปฏิจจสมุปบาท กับ สังขารในขันธ์ ๕ อยู่นะคะ


tongue tongue

ค่ะ เหงี๋ยว เหงี๋ยว :b20: :b20: :b9: :b9:

ใช่ค่ะ ยังสับสนจริง ๆ ค่ะ
เวลาที่พิจารณา มันก็เข้าใจ แต่ก็มีส่วนที่คลุมเครือ น่ะค่ะ
รบกวนพี่ แฟนต้า :b17: :b17: อธิบายให้เอกอนมองเห็นภาพทีชัดเจนได้มั๊ยคะ

tongue tongue

:b34: :b34: :b34:

ขอโทษค่ะ เอกอนถามไม่ดูตาม้าตาเรือ
เมื่อเอกอนย้อนกลับไปอ่านที่พี่ แฟนต้า ตอบในส่วนอื่น ๆ
เอกอน เหมือนจะเห็นว่าพี่แฟนต้า ได้ตอบข้อสงสัยของเอกอนแย๊ววววว
tongue tongue tongue

ขอเอกอนย้อนกลับไปทบทวน นะค๊ะ

tongue tongue tongue


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 16 ก.ย. 2011, 13:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ดังนั้นเราต้องกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์เป็นนิจจัง เที่ยงตรงต่อสัจจะธรรม
การเกิดแล้วแก่ก็เที่ยง การแก่แล้วเจ็บก็เที่ยง เจ็บแล้วต้องตายก็เที่ยงครับ


สรุปก็คือ คุณ โฮฮับ เข้าใจว่าการเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องของสัจธรรมหรือเรียกให้ฟังดูยากเข้าไปอีกนิดก็คือ ความไม่เที่ยงของสังขารบนความ
เที่ยงของสัจธรรม
หรือ อนิจจังบนความนิจจัง อันนี้ผมเข้าใจถูกรึยังครับ

มันไม่ใช่ครับ อย่างนี้ครับก่อนอื่นคุณต้องลบภาพว่า ร่างกายของเราเป็นสังขารออกไปจากความคิดเสียก่อน เพราะสังขารไม่ใช่ร่างกาย สังขารมันอยู่ในส่วนของจิตที่มาอาศัยร่างกายครับ

และคำว่าอนิจจังมันเป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ มันเป็นการเห็นหรือรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
สืบต่อกัน และเกิดบ่อยครั้งที่จิตของเรา พูดง่ายๆก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยและสมำเสมอครับ
ส่วนการเกิดแก่เจ็บตายมันเกิดกับร่างกายนี่เพียงครั้งเดียว

สภาพที่ไม่เที่ยงมันเป็นสภาพเกิดๆดับๆหลายๆครั้งหลายๆหน จึงเรียกว่าไม่เที่ยง

แต่การเกิดแค่ครั้งเดียวและไม่ซ้ำซาก อย่างนี้ครับเรียกว่าเที่ยงตรง

สมมุติตัวอย่างง่ายให้ดูครับ ถ้าคุณเคยรักผู้หญิงอยู่หนึ่งแล้วเลิกรักไป
ไปพบรักกับคนใหม่เป็นแบบนี้เรื่อย คนเขาจะเรียกความรักของคุณว่า
มีความรักไม่เที่ยง

แต่ถ้าคุณมีความรักกับผู้หญิงคนเดียวไปตลอดชีวิต แบบนี้เรียกว่า
ความรักของคุณเที่ยงตรงรักเดียวใจเดียวครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
:b1: คุณโฮฮับกล่าวเช่นนี้ยิ่งแสดงให้เห็นถึงปริมาณความเข้าใจว่ายังไม่ถึงที่สุดค่ะ
เพราะยังเป็นการมองเพียงแง่เดียวมุมเดียวต่อให้อธิบายอย่างไรก็ไม่ครอบคลุมทั้งหมด
หากแต่ละฝ่ายยังดึงดันยืนยันความคิดของตนอยู่อย่างนี้ก็จะมีเรื่องให้ถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด

มุมหนึ่งมองว่าชีวิตเที่ยงตรงต่อสัจธรรม ต้องเกิดแก่เจ็บตายเพราะเป็นสิ่งแน่นอนของชีวิต

อีกมุมหนึ่งมองว่าชีวิตไม่เที่ยงนั้นเป็นสัจธรรม เกิดแล้วแก่แล้วเจ็บแล้วตายเพราะชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน

จริงๆ แล้วก็ถูกทั้งคู่แต่เมื่อต่างยังติดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งจึงทำให้ไม่รู้แจ้งเห็นแจ้งทั้งหมดค่ะ

จะบอกให้ครับตัวผมเองมีมุมมองหลายมุมครับ ไม่ใช่มุมเดียวแบบคุณว่าเลย
ผมว่าเป็นคุณเสียล่ะมากกว่า ที่มีมุมมองมุมเดียว นั้นก็คือการเอากฎแห่ง
ไตรลักษณ์กับกฎแห่งสัจจะธรรมมามองเป็นมุมเดียว ซึ่งผมว่ามันผิดครับ

เรื่องใครจะดึงดันความคิดตัวเองไม่แปลกครับ
แต่ขอให้มีคำอธิบายในความคิดความเห็นของตนด้วย
ไม่ใช่มาพูดจาซ้ำซากชนิดหัวชนฝา เหมือนกับใครบ้างคน
ที่ชอบว่า ให้อยู่กับพุทโธ ถามพุทโธคืออะไรก็ว่าตัวรู้
ถามตัวรู้คืออะไรก็ว่าคือพุทโธ คนแบบนี้ต่างหากครับมันเป็นลักษณะที่คุณกล่าวมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
tongue คุณโฮฮับยังสับสนเรื่องสังขารอยู่นะคะ

การละทิ้งการปรุงแต่งแห่งจิตที่มีต่อกายนั้นๆ ก็ยังอยู่ในข่ายของสังขารที่เป็นร่างกายอยู่นั่นเองค่ะ

หากคุณจะกล่าถึงการละทิ้งสังขารจิตแล้วจะต้องสลัดทิ้งตั้งแต่ตัวจิตที่คิดปรุงแต่งนั่นเลยทีเดียว
เพราะผู้ที่มีความเข้าใจในสังขารจิตจริงๆ นั้นจะหมดความสำคัญมั่นหมายที่มีต่อร่างกายไปอักโขแล้วละค่ะ

ผมจะยกตัวอย่างให้คุณไปคิดครับ คนที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งที่อวัยวะส่วนใด
ส่วนหนึ่งจนมันเน่าฟอนเฟะ หมอให้ตัดทิ้ง คุณว่าคนไข้จะยังดื้อดึงเอาอวัยวะนั้นไว้มั้ย
เช่นเดียวกันร่างกายที่รอวันเน่าเหม็น จิตยังสำคัญมั่นหมายกับร่างนั้นมั้ย
ที่ผมกล่าวมันเป็นเรื่องของจิตปุถุชน สภาวะที่ละทิ้งสังขาร มันเกิดตามเหตุปัจจัย

คุณอย่าเอาจิตอริยะลงมามั่วแบบนี้ซิครับ อย่าลืมครับเคยกล่าวหาผมว่า
มองอะไรแค่มุมเดียว สิ่งที่คุณกล่าวมามันมีกี่มุมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติพี่แฟนต้า
เอกอนขอเอาสาระที่ได้จากพี่แฟนต้า มาเรียบเรียงไว้ด้วยกันก่อนนะคะ

พระอรหันต์ที่ยังต้องรับผลแห่งกรรมที่ได้เคยกระทำแล้วในอดีตนั้น
แท้จริงแล้วยังมีจิตของพระอรหันต์ที่ต้องมารองรับของพรรค์นั้นอยู่จริงหรือ

และสุดท้าย.......

พระอรหันต์ประเภทไหนกันที่ยังมีอาการทางจิตตลอดวันตลอดคืน :b14:


smiley smiley smiley

การกล่าวถึง อวิชา ถ้าไม่มีการอ้างถึงผู้ที่ดับอวิชา ได้แล้ว
การทำความเข้าใจในเรื่องนี้ คงจะเห็นภาพตามได้ยาก

smiley smiley smiley

FANTASIA เขียน:
สวัสดีค่ะ

คุณจางบางฯ ยกอริยสัจจ์จากพระโอษฐ์มา ดิฉันขออนุโมทนาค่ะ

กับคำถามว่า ความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ทำให้มีสังขารสามได้อย่างไร
และสังขารสามทำให้มี วิญญาณทางอายตนหกได้อย่างไร

ดิฉันขอตอบเท่าที่รู้อยู่นะคะ

ข้อแรก : ความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ทำให้มีสังขารสามได้อย่างไร

ข้อนี้คุณคงจะพอรู้แล้วว่าอริยสัจจ์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ได้แก่
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค นั้นเป็นความจริงสี่ประการที่มีอยู่

อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจจ4 ก็คือความหลงที่มีอยู่นั่นเอง

เพราะความหลงมีอยู่จึงไม่รู้ว่าอะไรคือทุกข์ แม้กำลังทุกข์ก็ไม่รู้ว่าตนทุกข์
เพราะความหลงมีอยู่จึงไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์ แม้รู้ว่าตนกำลังทุกข์แต่หาสาเหตุไม่เจอจึงดับทุกข์ไม่ได้
เพราะไม่มีความหลงเหลืออยู่อีกเลยจึงดับทุกข์สิ้นเชิง
เพราะรู้ว่าอะไรคือหนทางแห่งความดับทุกข์ เมื่อจิตหวั่นไหวก็มีสติรู้ว่าเป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้
เนื่องจากความหลงเป็นเหตุทำให้หวั่นไหว ดังนั้นมรรคจึงต้องดับที่ต้นตอก็คืออวิชชาความหลงนั่นเอง

และข้อต่อมา : สังขารสามทำให้มี วิญญาณทางอายตนหกได้อย่างไร

ขอตอบว่า........สังขารในปฏิจจสมุปบาทเป็นความปรุ่งแต่งแห่งจิตค่ะ
ต่างจากสังขารในขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นความปรุ่งแต่แห่งธาตุ

ความปรุงแต่งแห่งจิตก็คือความคิดความรู้สึกแม้ไม่มีร่างกายก็มีอยู่ได้
ความปรุงแต่งแห่งธาตุขันธ์ก็คือร่างกายอันประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดินน้ำไฟลมนั่นเอง

คำว่า "สังขารสามทำให้มี วิญญาณทางอายตนหก" อาจไม่ค่อยถูกต้องนัก
หากไล่ดูตามวงจรปฏิจสมุปบาทแล้วจะเห็นว่า วิญญาณเกิดก่อนสฬายตนะ
เพราะมีวิญญาณจึงมีนามรูปก่อนแล้วจึงค่อยมีสฬายตนะตามลำดับค่ะ

สังขารทำให้มีวิญญาณได้อย่างไร

......เมื่อมีการปรุงแต่ง(จิตสังขาร)เกิดขึ้นแล้ว
ธาตุรู้ย่อมรู้อยู่ว่ามีการรับรู้ถึงสิ่งที่ถูกความหลงปรุงแต่งขึ้นมา
การรับรู้นั้นเรียกว่าวิญญาณหมายถึงผู้รับรู้
(บางท่านอาจจะสับสนระหว่างวิญญาณธาตุกับธาตุรู้)
จากนั้นวิญญาณจึงเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปหรือกายกับจิต
นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ.........ตามลำดับดังนี้ค่ะ

สรุปข้อนี้ได้ว่าวิญญาณเกิดก่อนที่จะมีอายตนหก
ดังนั้นอาตนหกจึงมีวิญญาณครองด้วยประการฉะนี้ค่ะ


smiley smiley smiley

คำตอบที่พี่ตอบท่านจาง เห็นภาพได้ชัดขึ้นอีกค่ะ

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ค่ะ เอกอนสับสนตรงช่วงนี้ล่ะค่ะ
ที่พี่แฟนต้าได้ตอบให้ฟังแล้ว
:b9: :b9:

ขอตอบว่า........สังขารในปฏิจจสมุปบาทเป็นความปรุ่งแต่งแห่งจิตค่ะ
ต่างจากสังขารในขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นความปรุ่งแต่แห่งธาตุ

ความปรุงแต่งแห่งจิตก็คือความคิดความรู้สึกแม้ไม่มีร่างกายก็มีอยู่ได้
ความปรุงแต่งแห่งธาตุขันธ์ก็คือร่างกายอันประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดินน้ำไฟลมนั่นเอง

คำว่า "สังขารสามทำให้มี วิญญาณทางอายตนหก" อาจไม่ค่อยถูกต้องนัก
หากไล่ดูตามวงจรปฏิจสมุปบาทแล้วจะเห็นว่า วิญญาณเกิดก่อนสฬายตนะ
เพราะมีวิญญาณจึงมีนามรูปก่อนแล้วจึงค่อยมีสฬายตนะตามลำดับค่ะ

สังขารทำให้มีวิญญาณได้อย่างไร

......เมื่อมีการปรุงแต่ง(จิตสังขาร)เกิดขึ้นแล้ว
ธาตุรู้ย่อมรู้อยู่ว่ามีการรับรู้ถึงสิ่งที่ถูกความหลงปรุงแต่งขึ้นมา
การรับรู้นั้นเรียกว่าวิญญาณหมายถึงผู้รับรู้
(บางท่านอาจจะสับสนระหว่างวิญญาณธาตุกับธาตุรู้)
จากนั้นวิญญาณจึงเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปหรือกายกับจิต
นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ.........ตามลำดับดังนี้ค่ะ

สรุปข้อนี้ได้ว่าวิญญาณเกิดก่อนที่จะมีอายตนหก
ดังนั้นอาตนหกจึงมีวิญญาณครองด้วยประการฉะนี้ค่ะ


:b9: :b9: ขอบคุณค่ะ
ตรงนี้ล่ะ เอกอนเคยพยายามแคะยังไง ก็แคะไม่ออกบอกไม่ถูกสักที
ตอนนี้ พี่แฟนต้า ทำให้เอกอนเริ่มมองเห็นภาพความเป็นมาเป็นไปแล้วค่ะ

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


หากจะอธิบายสังขารในปฏิจสมุปบาทก็ไม่ใช่ทั้งรูปและนามนะคะ

พี่แฟนต้าจ๋า .... อันนี้บังเอิญจริง ๆ
เอกอนเพิ่งเห็นความคิดอันนี้เข้ามาในหัวเมื่อตอนแปรงฟันตอนเช้า อิอิ
ปรากฎแง่นี้ขึ้นมา แต่ก็คิดต่อไม่ออกค่ะ ว่าทำไมถึงไม่ใช่ทั้ง รูป และ นาม คะ

จริง ๆ ตอนเช้าเอกอน ตรึก ๆ อยู่ว่า สังขารในปฏิจ... ตรงนั้น
ไม่น่าจะใช่รูป หง่ะ
แต่ ถ้าไม่ใช่รูป มันก็น่าจะต้องเป็น นาม แต่...ก็ หงึ :b10: :b10:
ยังคลุมเคลือค่ะ
ซึ่งพี่มากล่าวว่า ไม่ใช่ทั้งรูป และ นาม หง่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 89 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร