วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2011, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "อวิชชา"นั้น หมายถึง ความไม่รู้ ในหลักอริยสัจสี่ คือ ไม่รู้ว่า อะไรคือ ทุกข์,อะไรคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์,อะไรคือเหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์,อะไรคือหนทางแห่งความดับทุกข์
คำว่าไม่รู้ หรือ อวิชชา ตามหลัก พระไตรปฺิฎก นั้น ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่หัวข้อ แต่ไม่รู้ในรายละเอียดทั้งหลายซึ่งมีมากมายหลายอย่างหลายชนิด
ความไม่รู้ ในหลักอริยสัจสี่ ถ้ามองให้ลึกซึ้ง แล้ว ก็คือไม่รู้ว่า การปรุงแต่ง (สังขาร)เป็นทุกข์ ความไม่รู้(อวิชชา)จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดการปรุงแต่ง(สังขาร)
การปรุงแต่ง (สังขาร) มีปัจจัยเกิดจาก จิตวิญญาณ(การรับรู้อารมณ์หรือธรรมชาติรับรู้อารมณ์) ดังนั้น จิตวิญญาณ จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิด การปรุงแต่ง ด้วยเช่นกัน
จิตวิญญาณ(การรับรู้อารมณ์หรือธรรมชาติรับรู้อารมณ์) เกิดจากปัจจัยคือการได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอกโดยอายตนะภายใน ดังนั้นอายตนะภายนอก และอายตนะภายในจึงเป็นปัจจัยทำให้เกิด จิตวิญญาณ
อายตนะภายนอกมีรูปทั้งหลายเป้นปัจจัย เมื่อกระทบกับอายตนะภายใน จึงก่อให้เกิดเป้นนามรูป และนามรูปก็เกิดจากปัจจัย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร จิตวิญญาณ
นามรูป เกิดจากปัจจัย อีกชนิดหนึ่ง ก็คือ เจตสิก (ธรรมหรือความรู้ที่ประกอบอยู่ในจิต) เจตสิก เกิดจากปัจจัย คือการได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก โดยอายตนะภายใน และแปรเปลี่ยนเป็น เวทนา สัญญา สังขาร จิตวิญญาณ ดังนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร จิตวิญญาณ จึงเกิดจากปัจจัยคือ เจตสิก เจตสิก ก็เกิดจากปัจจัย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร จิตวิญญาณ เช่นกัน
อ่านแล้วอย่าสับสน เรื่อง ธรรมดา ง่ายๆ จะเรียกว่า "วัฏฏจักร" หรือ"วัฏฏสงสาร"ก็ย่อมได้เช่นกัน

อนึ่ง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์,เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์,หนทางแห่งความดับทุกข์ ก็สามารถอธิบายได้ในหลักการแบบเดียวกัน

เขียนโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๗ สิงหาคม ๒๕๕๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2011, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
นอกจาก กายสังขาร วจีสังขาร และ มโนสังขาร แล้ว
ปุญญาภิสังขาร
กับอปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร
สังขารเหล่านี้ มีเพราะอวิชชา เป็นปัจจัย ด้วยใช่หรือไม่
ปรากฏในพระไตรปิฏก ด้วย ใช่หรือไม่
เพราะมีคน กล่าวถึงเช่นกัน ว่า อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขารเหล่านี้
ถามท่านเช่นนั้น ต่อครับ

สวัสดีครับ คุณ Govit2552
ในพระไตรปิฏก แสดงเพียงดังนี้ ครับ
พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า ...
Quote Tipitaka:
“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่
เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้า
ถึงบาป ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา ฯ....”


ซึ่งโดยนัยยะแล้ว เป็นการจำแนกให้ถึงสังขาร 3 คือกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ให้ละเอียดลงไปอีก
จึงเป็นการแสดงว่า อวิชชา เป็นปัจจัย สังขารเหล่านี้จึงมี คือ
ปุญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร
อเนญชาภิสังขาร

อภิสังขาร ทั้ง 3 นี้ มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
ตามพระสูตร ปริวีมังสนสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=2166&Z=2278&pagebreak=0

เพราะกายกับใจ ของสัตว์บุคคลนี้ที่เรียกว่า อัตตภาพนี้ คือสังขารสิ่งผสมปรุงแต่ง
โดยมี กายสังขาร เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ฯลฯ เป็นเครื่องปรุงแต่งกาย
วจีสังขาร อันมีความตรึก ความตรอง วิตกวิจาร เป็นเครื่องปรุงแต่ง
และ มีจิตตสังขาร คือ สัญญา และเวทนา ซึ่งหากปราศจาก สัญญา และเวทนา แล้ว ความคิดปรุง วิตก วิจาร ก็ไม่ปรากฏ

แต่เพราะมีสังขาร 3 คือ กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร เหล่านี้
อัตตภาพนี้จึงยังมีลมหายใจเข้าออก มีวิตก มีวิจาร มีสัญญา มีเวทนา
มีการปรุงคิดให้ทำดีได้ ให้ทำชั่วได้ ให้ทำสมาธิได้ นั่นก็คือ ทำอภิสังขารได้

ดังนั้น แม้ บุญ แม้บาป หรือ สมาธิ(อเนญชา) จึงเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง
ต้องปรุงต้องแต่ง คือต้องทำให้เป็นบุญ ทำให้เป็นบาป หรือทำให้เป็นสมาธิขี้นมา
(มีต่อ)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2011, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)
ดังนั้น แม้ บุญ แม้บาป หรือ สมาธิ(อเนญชา) จึงเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง
ต้องปรุงต้องแต่ง คือต้องทำให้เป็นบุญ ทำให้เป็นบาป หรือทำให้เป็นสมาธิขี้นมา
สังขาร หรืออัตตภาพ นี้มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เมื่อมีอวิชชา จึงมีการผสมปรุงแต่ง
คือ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร มีขันธ์ 5 ครบบริบูรณ์ จึงทำบุญ ทำบาป ทำอเนญช(สมาธิ) เช่นปฎิบัติอบรรมจิตเจริญมรรคปฏิปทา มีองค์ 8 ได้

ซึ่งถ้าดับอวิชชาได้แล้ว ก็ไม่ต้องทำบุญ ทำบาป อีกต่อไป
การทำบุญมี เพราะมีบาปมีอวิชชาที่จะต้องละต้องทำ และจะต้องทำสมาธิกันคือทำบุญเพื่อละกิเลส

เพราะเมือยังมีอวิชชา ก็คือยังมีกิจที่จะต้องทำคือ ต้องอบรมจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา กันไปจนกว่าจะสิ้นความติดใจยินดี สิ้นกิเลส ดับกองทุกข์ให้หมดสิ้น
คือจิตถึงวิสังขาร คือธรรมะที่ปราศจากการปรุงแต่ง อันหมายถึงนิพพาน ก็เป็นอันว่าจิตนี้หยุดการปรุงแต่ง เพราะละอวิชชาได้ เป็นจิตที่ประกอบด้วยวิชชาแจ่มแจ้งตามเป็นจริง เป็นจิตที่วิมุตติ คือรู้พ้น รู้ทุกอย่างตามเป็นจริง ไม่ปรุงแต่งบุญ ไม่ปรุงแต่งบาป ไม่ปรุงแต่งอเนญชา คืออยู่กับ รู้ และ พ้น อยู่กับวิบากขันธ์ที่ยังคงอยู่ (จึงต้องมีกายสังขารอยู่ จนกว่าจะหมดอายุขัย แตกทำลายไปตามกาล)

เช่นนั้น ฟังมาอย่างนี้ จึงอธิบายตามที่เข้าใจ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2011, 04:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


smiley ขอบคุณครับ ท่านเช่นนั้น
แม้ผมอ่านแล้ว ยังไม่ทะลุปรุโปร่ง
แต่ก็เปิดวิสัยทัศน์ พอสมควรครับ
เรื่อง อเนญชา ว่าคือสมาธิ.................. เพิ่งทราบจริงๆ ครับ
เดิมไม่ทราบมาก่อน

ก็ต้อง นำคำกล่าวของท่านเช่นนั้น ไปทำความเข้าใจ ต่อไปครับ :b8:

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2011, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


กท.นี้เก่าดีนะคับ :b40:
ต้องได้มนุษย์สมบัติที่ครบถ้วนเสียก่อน จากนั้นคิดดี ทำดี พูดดี แล้วทำสมาธิเป็น จิตสงบเสียก่อน
จะเอาข้างบนเรยแต่ข้างล่างยังทำไม่ได้ พื้นๆคือจิตสงบยังไม่ได้เลย ก้คงยากอยู่

http://jarun.org/V7_2011/th/dhamma03.php#17


จากลิงค์ข้างบน
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีประโยชน์มากมาย เหลือที่จะนับประมาณได้ จะยกมาแสดง ตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก สักเล็กน้อยดังนี้ คือ

สัตตานัง วิสุทธิยา ทำกายวาจาใจ ของสรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์ หมดจด
โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ ดับความเศร้าโศก ปริเทวนาการต่าง ๆ
ทุกขะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ ดับความทุกข์กาย ดับความทุกข์ใจ
ญาณัสสะ อะธิคะมายะ เพื่อบรรลุมรรคผล
นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง


และยังมีอยู่อีกมาก เช่น

* ๑. ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท
* ๒. ชื่อว่าเป็นผู้ได้ป้องกันภัยในอบายภูมิทั้งสี่
* ๓. ชื่อว่าได้บำเพ็ญไตรสิกขา
* ๔. ชื่อว่าได้เดินทางสายกลาง คือ มรรค ๘
* ๕. ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยการบูชาอย่างสูงสุด
etc.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2011, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ขอถามคุณ perish ครับ

ที่ว่าแนวปฏิบัติ: มหายาน เป็นอย่างไร
แล้วงานอดิเรก : ทรงพระสูตร ทรงพระสูตรอย่างไรครับ


คือ คำว่า ทรงพระสูตร คือการมีสติระลึกมั่นในธรรมะทั้งหลาย
แนวปฏิบัติทางมหายานคือปราถนาพุทธภูมิ

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2011, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

คำว่าสังขารในที่นี้ ไม่ใช่สังขารธรรม ไม่ใช่สังขารขันธ์ แต่....

สังขารในที่นี้ หมายถึง เจตนา หรือกรรมภพ

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำต่างๆ (สังขาร)


ทั้งหมดนี่ลอกมาครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2011, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

คำว่าสังขารในที่นี้ ไม่ใช่สังขารธรรม ไม่ใช่สังขารขันธ์ แต่....

สังขารในที่นี้ หมายถึง เจตนา หรือกรรมภพ

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำต่างๆ (สังขาร)


ทั้งหมดนี่ลอกมาครับ


:b12: ครับ สังขารในที่นี้ หมายถึง เจตนา หรือกรรมภพ
เมื่อเป็นกรรมภพ ย่อมมีการเข้าถึง อุปัตติภพ คือชาติ
เมื่อมีชาติ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลอันเป็นเบื้องปลาย ย่อมปรากฎ

เช่นนั้น ก็ฟังมาแบบนี้ล่ะครับ :b12:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2011, 04:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เพราะหลง จึงได้กระทำกรรม

เพราะอวิชชา จึงได้มีสังขาร

หลงกระทำกรรม จึงมีวิญญาณ

อวิชชามี จึงมีสังขาร เพราะมีสังขาร จึงมีวิญญาณ

เพราะหลงกระทำกรรม จึงมีวิญญาณ มีนามรูป(ขันธ์) เพื่อมารับผลแห่งกรรมที่ได้กระทำแล้ว

อวิชชามี จึงมีสังขาร มีวิญญาณ มีนามรูป

พระอรหันต์ นั้นตัดความหลง เสียได้ ไม่กระทำกรรม อีกต่อไป
สิ่งที่พระอรหันต์กระทำ จัดเป็นกิริยา ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล

ก่อนจะเป็นพระอรหันต์ ก็เป็นปุถุชนมาก่อน ได้เกิดแล้วเป็นทารก ได้มีวิญญาณ นามรูปแล้ว

เมื่อตัดความหลงเสียได้ วิญญาณ นามรูปนั้น หายไปด้วยไหม .....ไม่ได้ดับไปทันที
ยังไม่หาย ......................พระอรหันต์ยังมีวิญญาณ นามรูป

แต่วิญญาณเปลี่ยน

นามรูปเปลี่ยน

วิญญาณบางอย่าง(วิญญาณมีมากมาย)...........ไม่บังเกิดอีกแล้ว
นามรูป ก็เปลี่ยน (นามรูปมีมากมาย) .........นามรูปบางอย่าง ไม่บังเกิดอีกแล้ว

ขันธ์5 ถูกเปลี่ยน เป็น วิสุทธิขันธ์

วิญญาณ ฝ่าย กุศล ฝ่ายอกุศล ในแบบปุถุชน ...........ไม่เกิดอีกแล้ว
ที่เหลือจะเกิดได้คือ วิญญาณประเภทวิบาก และวิญญาณประเภทกิริยา

นามรูป (ในที่นี้ คือ เจตสิก และรูป)
มาดูในส่วนนาม คือเจตสิก(แยกย่อยคือ เวทนา สัญญา สังขาร)

เวทนา ......... เปลี่ยน .................โทมนัสเวทนาไม่บังเกิด
สัญญา.......... เปลี่ยน ..........อย่างน้อยก็ ไม่สัญญาวิปลาศ แบบปุถุชน
สังขาร........เปลี่ยน .....คือตัณหา อุปาทาน โลภะ โทสะ โมหะ... ไม่เกิด

นี่คือ การเปลี่ยนแปลง ในขันธ์ทั้้งหลาย ของพระอรหันต์

แม้แต่รูป ก็ได้ยินว่า ความเป็นหญิง เป็นชาย ได้เปลี่ยนด้วย...... คือไม่มีเพศ

พระอรหันต์ ไม่ได้ชื่อว่าเป็นเพศชาย หรือเพศหญิงอีกต่อไป

สรุป ก็คือ กิเลส ในขันธ์5 ไม่มี
อุปาทาน ในขันธ์5 ไม่มี
มานะ ในขันธ์5 ไม่มี
อวิชชา ในขันธ์5 ไม่มี

ตัณหา ในขันธ์5 ไม่มี

.................ไม่มีการสร้างภพในใจ อีกต่อไป ...........

คนธรรมดา มีการสร้างภพ อยู่ทุกครั้ง ที่มีผัสสะ

ตามวงจรนี้

ผัสสะ ทำให้มีเวทนา ทำให้มีตัณหา ทำให้มีอุปาทาน ทำให้มีภพ

พระอรหันต์ ไร้ซึ่งตัณหา และอุปาทาน....... จึง


ผัสสะ ทำให้มีเวทนา ............แล้วไม่มีภพ

มีผัสสะ ทำให้มีเวทนา(ขาดเสียซึ่งโทมนัสเวทนา) ......แล้วไม่มีภพ


วาระสุดท้าย ของพระอรหันต์ จิตสุดท้าย ไม่มีภพ

เมื่อนามรูปสุดท้ายดับ .................ก็ไม่มีปฏิสนธิจิต เกิดได้ที่ภพไหนๆ

เมื่อไม่มีภพ ก็ไม่มีชาติ คือความเกิด นั่นเอง

เมื่อตัดตัณหา อุปาทาน อวิชชา ได้ ..........ก็กล่าวได้ว่า
ภพสิ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ...............กล่าวได้เช่นนั้น

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2011, 11:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้น

ทำไมคนถึงยึดมั่นกับสิ่งต่างๆ เพราะเรามักจะนึกว่าสภาพการณ์ต่างๆ
เป็นความจริงไม่จอมปลอม ดังนั้นเห็นรูปลักษณ์จึงยึดติดรูปลักษณ์นั้น
ไม่สามารถจะหลุดจากการยึดติดนั้นได้ แล้วก็ปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นชักนำพาไป
เมื่อพบกับสิ่งที่สมดังปรารถนาก็ดีใจมีความสุข
พบเจอกับอุปสรรคขัดขวาง ก็เจ็บปวดและเป็นทุกข์
ปล่อยให้จิตเป็นไปตามความรู้สึกได้หรือเสียตามสภาพการณ์ที่เกิดและดับไป

สิ่งที่ได้มาก็กลัวจะสูญเสียไป สิ่งที่สูญเสียไปก็อยากได้กลับคืนมา
เมื่อได้มาแล้วก็ยิ่งทวีความโลภอยากได้อีก เมื่อสูญเสีย ก็เกิดความโกรธแค้นชิงชัง
ไม่ว่าจะได้หรือเสีย ในจิตก็เกิดความโลภและโกรธเพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่เคยหยุดยั้ง
ความทุกข์กังวลในจิตก็เพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่เคยหยุดเช่นกัน
ความไม่รู้ก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็พาตนเองเข้าสู่หลุมพรางแห่ง
ความเศร้าทุกข์กังวลอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ปล่อยให้ตัวเองถูกทรมานแล้วทรมานอีก

คิดไปทุกข์ไป ทุกข์ไปทุกเวลาทุกนาที จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี
จนชั่วชีวิต ทุกภพทุกชาติ ไหลเวียนวนอยู่ในวัฏสงสาร

เรายังอยากใช้ชีวิตอย่างนี้อีกหรือเปล่า? เรายังอยากมีชีวิตอย่างนี้อีกหรือเปล่า?
ไม่ว่าจะโง่ขนาดไหน ก็ต้องมีวันหนึ่งที่ตื่นขึ้นมามีสติ หรือว่าโชคดีที่เกิดมา
ได้มีโอกาสพบพระพุทธศาสนา ยังไม่รู้สึกว่าได้ตื่นขึ้นมาอีก?

แล้วทำอย่างไรถึงจะหลุดพ้น?
ก่อนอื่นต้องรู้ถึงรูปลักษณ์ที่ประกอบขึ้นมาของสิ่งต่างๆ
สภาพการณ์ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัยประชุมประกอบขึ้นมา
เหตุและปัจจัยพร้อมมูลก็จะทำให้มีการ”เกิด”
เหตุปัจจัยสลายไปย่อมทำให้เกิดการ”ดับ”

เหมือนกับฝนตก เมื่อถึงพร้อมด้วยปัจจัย ฝนย่อมตกลงมา
เมื่อหมดเหตุปัจจัยฝนก็หยุด เมื่อไม่มีเหตุปัจจัย ฝนย่อมตกเองไม่ได้

เมื่อเปรียบเทียบกับคน มีวาสนาถึงได้พานพบ หมดวาสนาก็แยกย้ายจากกันไป
จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเป็นห่วง หากเข้าใจเหตุปัจจัยและหลักการของการพบและจาก
ก็จะสามารถปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามครรลองและวิถีทางของมัน
แล้วเราก็จะมีชีวิตอย่างเป็นสุขและอิสระ

สภาพการณ์ทุกอย่าง ย่อมมีเกิดและดับ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่เคยเกิดหรือดับ
หากรู้แจ้งถึงหลักการนี้ ก็จะหลุดจากสภาพการณ์ต่างๆไม่มีการเกิดและดับ

สุดท้าย หากใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ เมื่อพบกับสภาวะต่างๆ แล้วพิจารณา
ลงสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งไม่สามารถคงทนอยู่ได้ เหตุการณ์เมื่อผ่านไปก็
ไม่เหมือนเป็นความจริง เหมือนกับเมื่อเราฝัน ทุกเรื่องราวเหมือนเป็นความจริง
แต่เมื่อตื่นขึ้นมา ก็รู้ว่า ไม่มีเรื่องราวเหล่านั้นเกิดขึ้น

หากสามารถมองลึกเข้าไปถึงหลักการอันนี้ ก็จะไม่เกิดรักโลภยึดติดอยากได้
และก็จะไม่เกิดความโลภโกรธหลง และเมื่อทุกอย่างดำเนินไปในทางสายกลาง
ก็จะไม่ถูกการผูกมัดจากสิ่งต่างๆ ก็จะหลุดพ้นและเป็นอิสระ


ขอขอบคุณบีจีจาก คุณตะวันสีชมพู

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?i ... 1&gblog=18

ขอบคุณ บทความจาก Blog งาม ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2011, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คือ คำว่า ทรงพระสูตร คือการมีสติระลึกมั่นในธรรมะทั้งหลาย


ถ้ามีสติระลึกมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่ใช่เพียงแค่การทรงพระสูตรแล้วครับ
หากนี่คืองานอดิเรกของคุณ perish จริงๆ ผมอนุโมทนาครับ

อ้างคำพูด:
แนวปฏิบัติทางมหายานคือปราถนาพุทธภูมิ


เพียงแค่ปรารถนาก็สำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิแล้วหรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2011, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลาย เอ๋ย
อย่าได้นำเอาคำที่เกี่ยวกับการยึดมั่นถือมั่นมาสอนแบบบิดเบือนหลักธรรมคำสอนเลยขอรับ
พวกท่านทั้งหลาย มีความรู้เพียงน้อยนิด ไม่คิดคำนึงถึงหลักความจริง ดีแต่เพ้อเจ้อไม่เข้าที ที่กล่าวไปนี้ไม่ใช่การดูหมิ่นเหยียดหยามนะขอรับ แต่เตือนสติพวกท่าน
พวกท่านทั้งหลาย คิดกันบ้างไหมว่า การยึดมั่นถือมั่นนั้น ทุกคน จำเป็นต้องยึดมั่นถือมั่น แต่เป็นการยึดมั่นถือมั่นในทางที่ถูกในทางที่ควร ในทางที่ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ถ้าพวกท่านไม่ยึดมั่นถือมั่น พวกท่านก็เป็นได้แค่พวกคนป่าบ้าใบ้ ไร้ศาสนา ไร้การศึกษา ไร้ธรรมะ เพราะพวกท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเลย ลองใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาดูให้ดี
บางคน บางท่าน ก็สอนให้ปล่อยวาง อย่าถือไว้บ้าง ปล่อยวางอย่างไรไม่เคยบอก ไม่เคยสอน คนสอนรู้หรือไม่ว่า การปล่อยวางนั้น ปล่อยวางอะไร ปล่อยวางอย่างไร
ข้าพเจ้ายังปล่อยวางไม่ได้ เพราะข้าพเจ้ายึดถือในหลักธรรมและธรรมชาติทั้งหลาย แต่ข้าพเจ้าขจัดอาสวะให้ออกจากร่างกายได้
ถ้าจะสอนว่า อย่าคิดมาก คิดในสิ่งที่ดี ฯลฯ ตามหลักธรรมคำสอน อริยมรรค อันมีองค์ ๘ ก็น่าจะดีกว่า ใช้ศัพท์ภาษาที่ไม่ควรนำมาใช้ เช่น ปล่อยวางอารมณ์ โลภ โกรธ หลง ,ใครจะปล่อยวางได้ ไม่มีใครปล่อยวางได้ เพราะมันไม่มีรูป มันเป็นคลื่นความคิด เป็นคลื่นอารมณ์ เป็นคลื่นความรู้สึก ที่อยู่ภายในร่างกาย
ถ้าไม่คิด ย่อมไม่เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้าคิดในทางที่ดี ในทางที่จะทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทุเลา เบาบางลง อย่างนี้ถูกต้อง
จึงขอเตือนท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น พระสงฆ์ ฆราวาส ผู้เกี่ยวข้องกับการเขียน การพูด เพื่อบรรยาย เพื่อสอนให้กับผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา ได้สำเหนียก ได้ปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อย่าสอนกันผิดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2011, 12:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าท่านต้องทำ นั้นคือ ท่านยังไม่บรรลุ
แต่หากเมื่อท่านบอกว่า ท่านไม่ต้องทำ
ก็คงต้องย้อนถามท่านว่า แล้วท่านทนนิ่งอยู่กับการไม่ต้องทำนั้นได้รึเปล่าล่ะ


:b16: :b16: :b16:

เมื่อเป็นสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ก็จงวางมันซะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2011, 19:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 130 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร