วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ลัทธิไม่มีตัวตน s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 21:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบยังไงก็ไม่ตรงและยังงงต่อไปถ้าไม่ทำ อย่ามัวเสียเวลากับการหาคำตอบ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็เพียงพอคำตอบก็อยู่ในนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2011, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รถ ประกอบขึ้นจาก อะไหล่ชิ้นต่างๆ
สัตว์ บุคคล ประกอบขึ้นจากขันธ์5

สัตว์ บุคคล เป็นเพียงสมมุติบัญญัติ
ตัวจริง เนื้อแท้ของสัตว์ บุคคล คือ ขันธ์5

แม้ขันธ์5 เอง ก็ประกอบขึ้นจาก ส่วนปลีกย่อยอีกมากมาย
เรียกเป็นกองๆ ก็คือ
กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ

แม้ขันธ์5 จะมีจริง แต่ไม่ชื่อว่า มีตัวตน เป็นตัวเป็นตน แต่อย่างใด

เพราะขันธ์5 มีสภาพ เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อย่างรวดเร็วสืบเนื่องไปตลอดเวลา
จากมี ไปสู่ความไม่มี จากไม่มี ไปสู่ความมี อยู่ตลอดเวลา

เชื่อกันว่า ขันธ์5 ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เมื่อดับไปแล้วไม่มีอะไรเหลืออยู๋เลย หมดจริงๆ
และเชื่อกันว่า ขันธ์5 ที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นผลสืบเนื่องจากขันธ์5 ตัวที่เพิ่งดับไป
เป็นสิ่งใหม่จริงๆ แต่ประกอบด้วยส่วนประกอบแบบอันเก่าราวcopyมา .....อันนี้ผมว่าเอง

แต่มองให้ลึกจริงๆ มันเป็นการสืบเนื่องแบบวิถี ไม่ใช่แบบเดื่ยวๆ
เช่น ช่วงวิถี กับช่วงพ้นวิถี
ขันธ์5 มันเกิดดับ สลับกัน โดยมีองค์ประกอบแตกต่างกัน
ช่วงวิถี มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของขันธ์5 หลายครั้งหลายครา
ช่วงพ้นวิถี มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของขันธ์5 มากมายหลายครั้ง หรือมากกว่าเดิม ด้วยจำนวนที่ไม่แน่นอน

อธิบาย แล้วงงดีมั๊ยครับ การอธิบายการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของขันธ์5 แบบละเอียดนั้น
ต้องอาศัยเนื้อหา กึ่งหนึ่งของพระไตรปิฏก ทีเดียว
จึงจะมองเห็นภาพรวม

สรุป ก็แล้วกันว่า

ขันธ์5 ตอนเป็นปุถุชน กับ ขันธ์5 ตอนเป็นอรหันต์ นั้นต่างกัน
ขันธ์5 ตอนเป็นปุถุชน กับ ขันธ์5 ตอนนิพพาน นั้นต่างกัน

การเข้าสู่นิพพาน คือ การที่ขันธ์5 แปรสภาพไป นั่นเอง
ไม่มีตัวตนใดๆ เข้านิพพาน
รูปเปลี่ยนไป
เวทนาเปลี่ยนไป
สัญญาเปลี่ยนไป
สังขารเปลี่ยนไป
วิญญาณเปลี่ยนไป

ขันธ์ กลายเป็น วิสุทธิขันธ์


นี่คือการเข้าสู่นิพพาน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2011, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน เป็นขันธวิมุตติ ไม่ใช่หรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2011, 17:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
อยากสอบถามความเห็นของผู้ปฏิบัติทุกท่านว่าเมื่อไม่มีตัวตนแล้วใครเล่า เข้าสู่นิพพาน หวังจะได้รับคำวิสัชชนาอันลึกซึ้งจากทุกท่าน :b8: :b8: :b8:


ขอแสดงความโง่เขลาของตัวเอง อย่างไม่ลวดลาย :b16: :b16:
แบบไม่ได้อิงตำรา เน้อ
ของลองตอบแบบคนสิ้นคิด
หรือจะว่าเป็นคนไม่มีปัญญาจะคิดก็ได้ ก็ตาม

และคาดว่าคำตอบก็ไม่ได้มีความลึกซึ้งอะไรเลย
เป็นความเห็นที่มาจากทัศนะโง่ ๆ ... :b12:

เมื่อไม่มีตัวตนแล้ว(เมื่อวางอัตตาลงได้)
ความว่างที่ปรากฎ จะเป็นความว่างที่ว่าง ไร้แม้หนทาง ไร้แม้เงาของตัวเอง
ก็จะไม่มีตัวตนใด(อัตตาใด)ที่ปราถนานิพพาน(ระลึกที่จะแสวงหานิพพาน)
เมื่อไม่มีตัวตนที่ปราถนานิพพาน
นิพพานที่เคยปรากฎอยู่ในความเห็นก็จะหายไป จากครองความนึกคิด

นิพพานนั้นหายไปไหน ก็นั่นไง นิพพาน


ความเห็นในคำถามนี้ของคนเห่ย ๆ เป็นเช่นนี้ล่ะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2011, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของจิต เป็นลักษณะ 0 มิติ ไม่มีขนาด พื้นที่ หรือทิศทาง

เมื่อจักรวาลเกิดขึ้น (กามภพ) จิตที่มีกิเลส (สังโยชน์) ก็ยึดมั่นในจักรวาลนั้น ยึดเอาสสารมาเป็น เจตสิก และเวียนว่ายอยู่ในกามภพ (วัฎสงสาร) เกิดดับในภพภูมิต่างๆ ผ่านการยึดมั่นในเจตสิกนั้น

จิตจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องมีคือ การเห็นว่าการเกิดนั้นเป็นทุกข์

เมื่อเห็นว่าเป็นทุกข์ จึงเพียรพยายาม ละ ความยึดมั่นในกิเลสประการต่างๆ หากละได้ทั้ง 10 ประการ จิตขาดความยึดมั่นโดยสิ้นเชิง
เมื่อจิตขาดความยึดมั่น เจตสิกก็ไม่เกิด เมื่อเจตสิกไม่เกิด อุปทานก็ไม่มี เมื่ออุปทานไม่มี ภพชาติก็ขาด... จิตจะเป็นจิตดั้งเดิม (มีศัพท์เรียกกันหลายอย่าง)
สภาวะนั้น เราเรียกว่า นิพพาน

อนึ่ง มีจิตจำนวนหนึ่งที่อยู่นอกกามภพ และเคยเชื่อกันว่า ภูมิจิตนั้นคือการหลุดพ้นแล้ว นั่นคือ พรหม
จนเมื่อมีผู้บรรลุโพธิญาณบังเกิดในโลก จึงรู้กันว่า พรหมนั้น แม้อยู่เหนือกามภพ มีลักษณะ 0 มิติ แต่จิตพรหมนั้น ก็ยังไม่ใช่นิพพาน เพราะยังเหลือกิเลสบางเบา (สังโยชน์ 5 ประการสุดท้าย หรือเทียบเป็นอริยะชั้น อนาคามี)

แม้จะอยู่ในสภาวะ 0 มิติเหมือนนิพพาน แต่ก็ไม่ใช่นิพพาน
สภาวะนิพพานและพรหม ต่างกันที่ พรหมยังไม่พ้นการเวียนว่าย แม้จะนานจนนับไม่ได้ แต่ก็ต้องถึงวันดับและเกิด
แม้พรหม-นิพพาน จะรวมกันเป็นหนึ่ง แต่ในที่สุด พรหมก็จะแยกออกมา

คำถามของเจ้าของกระทู้ จึงไม่มีคำตอบ... เพราะไม่มีจิตใดเข้าสู่นิพพาน
จิตไม่มีตัวตน แต่จิตยึดมั่นในตัวตน เมื่อจิตละความยึดมั่นในตัวตน จิตนั้นก็อยู่ในสภาวะนิพพาน
จิตที่ละความยึดมั่นในตัวตน แต่ยังมีตัวตน เราเรียกจิตนั้นว่าเป็น พระอรหันต์
จิตที่ละความยึดมั่นในตัวตน ในภูมิที่ไม่มีตัวตน เช่นอนาคามีในชั้นพรหม เมื่อสิ้นกิเลสก็จะนิพพาน ณ ที่นั้น...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2011, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สวัสดีครับ คุณ flame

อธิบายดังนี้ครับ

ปริมัตถธรรม 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

จิต เป็นขันธ์
เจตสิก เป็นขันธ์
รูป เป็นขันธ์
นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ .................... ขันธวิมุตติ (พ้นจากขันธ์)

ทำไมจึงชื่อว่า เป็นขันธ์........... ก็คือมันมีอะไรที่มากกว่า 1 นั่นเอง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2011, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานเป็นขันธวิมุตติ ขันธ์ใดใดก็ตั้งอยู่ไม่ได้ในนิพพาน ไม่ว่าจะหยาบหรือละเอียดก็ตาม
รูปก็เป็นสิ่งว่างเปล่า
เวทนาก็ว่างเปล่า
สัญญาก็ว่างเปล่า
สังขารก็ว่างเปล่า
วิญญาณก็ว่างเปล่า

ขันธ์ทั้งหลายไม่ใช่สิ่งที่มีจริงๆ และไม่ใช่ทั้งไม่มี เป็นเพียงภาพมายา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2011, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
คำว่าขันธ์ที่แปลว่า กอง นี้มีความหมายว่า ธรรมที่เป็นไปได้ ๑๑ กอง หรือมีได้ทั้ง ๑๑ ประเภท หรือจัดได้ทั้ง ๑๑ อย่าง จึงจะเรียกธรรมนั้นได้ว่าเป็นขันธ์
จิต เจตสิก และรูปนั้นเป็นได้ มีได้ จัดได้ครบ ๑๑ กอง จึงเรียกว่าเป็นขันธ์ได้
ส่วนนิพพานเป็นได้ไม่ครบ ๑๑ กอง จึงไม่เป็นขันธ์ เรียกว่าพ้นจากขันธ์ เป็นขันธวิมุตติ

๑๑ กอง ๑๑ ประเภท หรือ ๑๑ อย่างนั้น คือ
๑. อดีต
๒. ปัจจุบัน
๓. อนาคต จิต เจตสิก รูป เป็นไปในกาลทั้ง ๓ นี้ได้ เพราะจิต เจตสิก รูป มีการเกิดขึ้น มีการดำรงคงอยู่ แล้วก็มีการดับไป ที่ดับไปแล้วนั้นเป็นอดีต ที่กำลังดำรงคงอยู่เป็นปัจจุบัน และที่จะเกิดต่อไปภายหน้าเป็นอนาคต ส่วนนิพพานเป็นธรรมที่เที่ยงอยู่เป็นนิจนิรันดร ไม่มีการเกิดดับ ซึ่งไม่มีกาลทั้ง ๓ นี้ พ้นจากกาลทั้ง ๓ นี้ เรียกว่าเป็น กาลวิมุตติ
๔. อัชฌัตตะ
๕. พหิทธะ จิต เจตสิก รูป ที่เป็น อัชฌัตตะ คือเป็นภายในก็มี เป็นพหิทธะคือเป็นภายนอกก็มี ส่วนนิพพานที่เป็นธรรมภายในนั้นไม่มี นิพพานเป็นธรรมภายนอกอย่างเดียวเท่านั้น
๖. โอฬาริกะ
๗. สุขุมะ จิต เจตสิก รูป ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี แต่นิพพานไม่ใช่ธรรมที่หยาบ เป็นธรรมที่สุขุมอย่างเดียว
๘. หีนะ
๙. ปณีตะ จิต เจตสิก รูป ที่ต่ำทรามก็มี ที่ประณีตก็มี ส่วนนิพพานไม่ใช่ธรรมที่ต่ำทราม แต่เป็นธรรมที่ประณีตยิ่ง
๑๐. สันติเก
๑๑. ทูเร จิต เจตสิก รูป ที่ใกล้ก็มี ที่ไกลก็มี ส่วนนิพพานไม่ใช่ธรรมที่ใกล้ แต่เป็นธรรมที่ไกล
เพราะเหตุว่านิพพานเป็นได้ไม่ครบทั้ง ๑๑ กอง จึงเป็นขันธ์ไม่ได้ ก็พ้นจากความเป็นขันธ์ไป ได้ชื่อว่าเป็นขันธวิมุตติ(และเป็นกาลวิมุตติด้วย)


จากอภิธัมมัตถสังคหะครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2011, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำว่า ปรมัตถสัจจะ ถูกแปลว่า เป็นสิ่งที่มีจริงโดยปรมัตถ

สิ่งที่มีจริง เหล่านี้คือ

จิต เป็นสิ่งที่มีจริง
เจตสิก เป็นสิ่งที่มีจริง
รูป เป็นสิ่งที่มีจริง
นิพพาน เป็นสิ่งที่มีจริง

สิ่งที่มีจริง ในที่นี้ อาจ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสัน สัมผัสจำต้องไม่ได้ ไม่มองเห็นได้

แต่เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่จริง ดับไปจริง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2011, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูป เป็นรูปธรรม และ เป็นรูปขันธ์ด้วย
จิต และ เจตสิก เป็นอรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูปและธรรมที่ไม่มีรูป จึงมี ชื่อว่า เป็น นามธรรม และเป็นนามขันธ์ด้วย
นิพพาน ก็เป็น อรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูป เป็นธรรมที่ไม่มีรูปเหมือน กัน และก็เป็นนามธรรมเช่นเดียวกัน แต่นิพพาน ไม่เป็นนามขันธ์ เพราะ
ธรรมที่จะขึ้นชื่อว่าขันธ์ หรือที่จัดเป็นขันธ์ จะต้องสามารถมีลักษณะได้เป็น ๑๑ กอง หรือ ๑๑ อย่าง คือ
ขันธ์ เป็นได้ในกาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่วนนิพพานนั้น พ้นจากกาลทั้ง ๓ จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง อัชฌัตตะ ภายใน และพหิทธะ ภายนอก ส่วนนิพพานเป็น พหิทธะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง โอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด ส่วนนิพพานเป็น สุขุมะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง หินะ เลว และ ปณีตะ ประณีต ส่วนนิพพานเป็นปณีตะแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง สันติเก ใกล้ และทูเร ไกล ส่วนนิพพานเป็นทูเร ไกลแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
เมื่อ นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ จึงเรียกว่าเป็น ขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์ และ นิพพาน พ้นจากกาลทั้ง ๓ ด้วย จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลวิมุตติ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2011, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
คำว่า ปรมัตถสัจจะ ถูกแปลว่า เป็นสิ่งที่มีจริงโดยปรมัตถ

สิ่งที่มีจริง เหล่านี้คือ

จิต เป็นสิ่งที่มีจริง
เจตสิก เป็นสิ่งที่มีจริง
รูป เป็นสิ่งที่มีจริง
นิพพาน เป็นสิ่งที่มีจริง

สิ่งที่มีจริง ในที่นี้ อาจ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสัน สัมผัสจำต้องไม่ได้ ไม่มองเห็นได้

แต่เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่จริง ดับไปจริง



หากจิต เจตสิก และรูปจะเป็นสิ่งที่มีจริง ก็ต้องมีสภาพเที่ยงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อมโทรม
เช่นหากบอกว่าขณะนี้รูปมีจริง แต่ด้วยไม่นานรูปก็ดับไปไม่มีเสียแล้ว
คำกล่าวนี้จึงไม่ใช่สัจจะ
รูปปรากฎได้ก็เพราะมีเหตุปัจจัย และดับเพราะเหตุปัจจัย

ก็เพราะความคิดว่ารูปมีอยู่ เวทนามีอยู่ สัญญามีอยู่ สังขารมีอยู่ วิญญาณมีอยู่ จึงได้ปรารภขันธ์เกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้น ไม่ว่าจะสุดโต่งไปทางอัตตาเที่ยงแท้หรือขาดสูญก็ตาม

พระพุทธเจ้าท่านจึงบอกว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
พระพุทธเจ้าท่านเคยบอกว่ารูปมีจริง เวทนามีจริง สัญญามีจริง สังขารมีจริง วิญญาณมีจริงสักครั้งมั้ยหล่ะครับ ท่านมีแต่บอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นมายา เป็นความว่างเปล่า เป็นของสูญ เป็นของหนัก เป็นกองทุกข์ เป็นดุจพยับแดด.....

นิพพานเท่านั้นจึงเป็นสิ่งที่มีจริง


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 26 ก.ย. 2011, 00:02, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2011, 20:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ ทั้ง 5

มีจริง...แต่ไม่ใช่ความจริง

ความจริง...คือ..สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สาระที่จะเข้าไปยึดไปถือ

เมื่อไม่ยึดไม่ถือ...ก็จะเข้าถึง....ความจริง

เมื่อนั้น..ความจริง...มีอยู่...แล้วก็รู้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2011, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขันธ์5 เกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่จริง ดับไปจริง

จิต เกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่จริง ดับไปจริง .......................ไม่ได้หรือ
เจตสิก เกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่จริง ดับไปจริง.................... ไม่ได้หรือ
รูป เกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่จริง ดับไปจริง ....................... ไม่ได้หรือ

สิ่งที่มีอำนาจ ไปรู้ ไปเห็น ว่ามีอะไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป คือ จิต

จิต ย่อมมีอำนาจ รู้ จิต รู้เจตสิก รู้รูป
เจตสิก มีอำนาจ รู้ จิต รู้เจตสิก รู้รูป
รูป ไม่มีอำนาจ รู้อะไรเลย

จิต เจตสิก เป็นนามธรรม มีลักษณะ รู้
รูป เป็นรูปธรรม มีลักษณะ ไม่รู้ รูป รู้อะไรไม่ได้เลย

รูปธรรม และ นามธรรม ทั้งสิ้นทั้งปวง แม้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปจริง ..... แต่ไม่ใช่ตัวตน

ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

นามธรรม ที่ไม่เกิด ไม่ดับ คือ นิพพาน ....มีจริง.................... แต่ไม่ใช่ตัวตน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2011, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รูป เป็นรูปธรรม และ เป็นรูปขันธ์ด้วย
จิต และ เจตสิก เป็นอรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูปและธรรมที่ไม่มีรูป จึงมี ชื่อว่า เป็น นามธรรม และเป็นนามขันธ์ด้วย
นิพพาน ก็เป็น อรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูป เป็นธรรมที่ไม่มีรูปเหมือน กัน และก็เป็นนามธรรมเช่นเดียวกัน แต่นิพพาน ไม่เป็นนามขันธ์ เพราะ
ธรรมที่จะขึ้นชื่อว่าขันธ์ หรือที่จัดเป็นขันธ์ จะต้องสามารถมีลักษณะได้เป็น ๑๑ กอง หรือ ๑๑ อย่าง คือ
ขันธ์ เป็นได้ในกาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่วนนิพพานนั้น พ้นจากกาลทั้ง ๓ จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง อัชฌัตตะ ภายใน และพหิทธะ ภายนอก ส่วนนิพพานเป็น พหิทธะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง โอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด ส่วนนิพพานเป็น สุขุมะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง หินะ เลว และ ปณีตะ ประณีต ส่วนนิพพานเป็นปณีตะแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
ขันธ์ เป็นได้ทั้ง สันติเก ใกล้ และทูเร ไกล ส่วนนิพพานเป็นทูเร ไกลแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
เมื่อ นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ จึงเรียกว่าเป็น ขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์ และ นิพพาน พ้นจากกาลทั้ง ๓ ด้วย จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลวิมุตติ


นิพพานเป็นนามธรรม ไม่ทราบมาจากตำราเล่มใด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 123 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร