วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 09:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
...
หากเป็นกรณีที่ผู้ปฏิบัติธรรม(1)รู้จักการคลายรอบของอนุสัย(ใจ)และอาสวะ(กาย)แล้ว มวลของจิตจะเบาบางไปเรื่อยๆจึงเกิดความแตกต่างของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติที่คลายรอบของอนุสัย และอาสวะได้น้อยกว่า(2) บุคคลที่2 จึงมีมวลของจิตของจิตมากกว่าหรือหนาแน่นกว่า มวลจิตที่หนาแน่นของบุคคลที่ 2 จึงไหลเข้าไปสัมผัสจิตของบุคคลที่1 บุคคลที่ 1จึงรู้ถึงใจของบุคคลที่2

อืมม :b1:


ตอนที่อ่านใจคนอื่นได้ ท่านรู้สึกอย่างไร

ตอนที่มีความรู้ในเรื่องพวกนี้
เอกอนเห็น การเกิดขึ้นของ ผัสสะ
และ เห็นการที่ ผัสสะ คือ กรรม
เพราะเมื่อผัสสะปรากฎ ก็คือ รับรู้
เมื่อ รับรู้ ก็รู้สึก เมื่อรู้สึกก็จะเห็นการปรากฎกระแส เจตนา

เอกอนเคยเปรียบเปรย ผัสสะ กรรม เหมือน การเล่นสนุกเกอร์
ที่ ทุกผัสสะ มันจะส่งวัตถุไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเสมอ

จึงเกิดแง่มุมขึ้นในใจ ว่า เราสามารถที่จะไม่ไหลไปตาม ผัสสะ ได้หรือไม่
อย่างไร

เพราะ สิ่งนั่นมี สิ่งนี้จึงมี ได้อ่านคำนี้ ทุกความอัศจรรย์ที่ปรากฎ
จึงทอนลงเหลือแค่ เพราะ สิ่งนั่นมี เท่านั้น
เราไม่ได้เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วดาษดื่น
มันคือ ทะเลแห่งสังสารวัฏ มันปรากฎและไม่ปรากฎ นั่นเป็นความประจวบกันของ ผัสสะ
คิดไม่ถึงว่า ตลอดเวลาเราเป็นผู้มี กรรม(ผัสสะ) แล้วยังไม่พอ
ยังเที่ยวแสวงหา กรรม(ผััสสะ)มาเพิ่มพูน

นี่เป็นแง่ ที่ทำให้เอกอนเห็น สิ่งอัศจรรย์ทั้งหลาย คือ กรรม
กรรมที่ทำให้คนเรานั้น แวกว่ายวนเวียนอยู่กับ ทะเลเพลิง
และ เมื่อปัจจัยประกอบกับการการปรากฎนั่นเปลี่ยนไป
ก็จริงแฮะ ผัสสะ ยังเกิด แต่ความรู้สึกที่จะส่งไปสู่กระแสเจตนาเปลี่ยนไป

สายตาเอกอน เมื่อเห็นไฟกองนี้
ไฟที่ปรากฎในกาย นั่นก็เหมือนกับ ไฟที่ได้กำลังลุกไหม้อยู่แล้ว
แต่ ไฟที่เป็นเชื้อ ไฟที่เป็นต้นเพลิง ไฟที่มันละลุกลามต่อไปได้นั้น
มันเหมือนพระสูตรที่เกี่ยวกับ ไฟไหม้ฟาง

ไฟ พระพุทธองค์มักจะนำมากล่าวเป็นอุปมาอุปไมยเสมอ
เพราะ เป็นแค่อุปมาอุปไมย
หรือ เพราะพระพุทธองค์ทรงเห็นเช่นนั้น จริง ๆ

กรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านนี้ ก็มาอีกแนว จิตมีมวล :b1: :b16:

มังกร น้อย ...จะแวะข้างทาง เก็บดอกหญ้า อีกนานไหม :b9:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 12:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ท่านนี้ ก็มาอีกแนว จิตมีมวล :b1: :b16:

มังกร น้อย ...จะแวะข้างทาง เก็บดอกหญ้า อีกนานไหม :b9:


คร๊าบบบบบป๋ม

รับทราบแล้วคร๊าบบบบบ

เห็นเอกอนทำท่านั่งยอง ๆ
ทำทีกินหน๋มจีน(หาบ) แล้วหมั่นเขี้ยว
อยากเตะก้นล่ะจิ่ อิอิ

:b3: :b3: :b3:

smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:

คับป๋ม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คร๊าบบบบบป๋ม

รับทราบแล้วคร๊าบบบบบ

เห็นเอกอนทำท่านั่งยอง ๆ
ทำทีกินหน๋มจีน(หาบ) แล้วหมั่นเขี้ยว
อยากเตะก้นล่ะจิ่ อิอิ

:b3: :b3: :b3:

smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:

คับป๋ม
[/quote]

เอิ๊กๆ
นั่งเล่นข้างทางอยู่ได้ สักป้าปปป คงจะดี คริคริ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 14:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


วุฏฐานสูตร
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการออกจากสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๘๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการ
ออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดใน
การตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาด
ในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็น
ประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นม
ส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๓.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๗๕๖ - ๖๗๖๖. หน้าที่ ๓๐๑.
กัลลิตสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๘๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความ
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่น
ในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวก
นั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ นับว่า
เป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบ
เหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๔.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๗๖๗ - ๖๗๗๗. หน้าที่ ๓๐๑ - ๓๐๒.

๕. อารัมมณสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดใน
อารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการ
ตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการ
ตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประ
ธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้ม
เกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๕.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๗๗๘ - ๖๗๘๘. หน้าที่ ๓๐๒.
โคจรสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในโคจรในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๑. บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดใน
การตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ที่ได้ฌานฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้
ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๖.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ ๖๗๘๙ - ๖๗๙๘. หน้าที่ - ๓๐๓.

อภินีหารสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการ
น้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นใน
สมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๗.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บร ๖๗๙๙ - ๖๘๐๙. หน้าที่ ๓๐๓.

สักกัจจการีสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและกระทำความเคารพในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพใน
สมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคน
ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิต
มั่นในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการ
ตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุด เป็นประธาน
สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจาก
นมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๘.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๘๑๐ - ๖๘๒๐. หน้าที่ ๓๐๓ - ๓๐๔.
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
สาตัจจการีสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความ
เพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดใน
การตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็น
ไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ
ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความเพียร
เป็นไปติดต่อในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้
ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๙.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๘๒๑ - ๖๘๓๑. หน้าที่ ๓๐๔.
สัปปายการีสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและกระทำความสบายในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่กระทำความ
สบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดใน
การตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาด
ในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. นับว่าเป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็น
ประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
ผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิเป็นต้น นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการตั้งอยู่ใน
สมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และที่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ.
นับว่าเป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน ทั้ง ๔ จำพวกนั้น
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจาก
สมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด
ในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในการ
ออกจากสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔
จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็น
ผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดใน
การเข้าสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิและฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็น
ประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ใน
สมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด
ในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในอารมณ์
ในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔
จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๕๙๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔
จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปใน
สมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ
และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุดและ
ดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๑] พระนครสาวัตถี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความเคารพใน
สมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำ
ความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความ
เคารพในสมาธิ นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌาน
๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็น
ไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้า
สมาธิ ๑ บางคนไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่กระทำความสบายใน
สมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในการเข้าสมาธิ และไม่กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
กระทำความสบายในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และกระทำ
ความสบายในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้
ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออก
จากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการออกสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดใน
การตั้งอยู่ในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และ
ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และ
ฉลาดในการออกจากสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่า
ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๕] พระนครสาวัตถีฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความ
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจาก
สมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ และไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการออกจากสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการออกจากสมาธิ และฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือน
นมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความเป็นฉลาดในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดใน
อารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาด
ในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่
ฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด
เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจร
ในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาด
ในอารมณ์ในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และฉลาด
ในโคจรในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และฉลาดในโคจร
ในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔
จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๐๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิต
ไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑. บางคน
ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. บางคนฉลาดในโคจรใน
สมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในโคจรใน
สมาธิ และฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน
สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจาก
นมสด ฯลฯ
[๖๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ แต่ไม่กระทำ
ความเคารพในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปใน
สมาธิ ๑. บางคนไม่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และไม่กระทำความเคารพในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ ๑. ใน ๔ จำพวกนั้น
ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ และกระทำความเคารพในสมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสด
เกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๑๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเคารพในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียร
เป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่กระทำความ
เคารพในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเคารพในสมาธิ และไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ
ในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ ๑.
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเคารพในสมาธิ และกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อใน
สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวก
นั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
[๖๑๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็น
ไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ แต่ไม่
กระทำความสบายในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความสบายในสมาธิ แต่ไม่กระทำความเพียรเป็นไป
ติดต่อในสมาธิ ๑. บางคนไม่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และไม่กระทำความสบาย
ในสมาธิ ๑. บางคนกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ ๑.
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายใน
สมาธิ. นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวก
นั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใส
เกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสเขากล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่
กระทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ และกระทำความสบายในสมาธิ. ก็นับว่าเป็นผู้เลิศ
ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
(สูตรอีก ๕๐ สูตร พึงให้พิสดารโดยนัยนี้)
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ สมาธิสังยุต.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. สมาธิสมาปัตติสูตร ๖. โคจรสูตร
๒. ฐิติสูตร ๗. อภินีหารสูตร
๓. วุฏฐานสูตร ๘. สักกัจจการีสูตร
๔. กัลลิตสูตร ๙. สาตัจจการีสูตร
๕. อารัมมณสูตร ๑๐. สัปปายการีสูตร.
จบ ขันธวารวรรคสังยุต.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 17:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สติปัฎฐาน 4 มรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางปฎิบัติเพื่อดับเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ความทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจที่ถูกเพลิงกิเลสเผา กายนี้มีสภาพการเกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การดับของเซลล์ย่อมปลดปล่อยพลังงานความร้อน ของแต่ละเซลล์อย่างมากมาย แต่ทำไมเราถึงไม่รับรู้ ซึ่งเราจะรับรู้ได้ในเวลาเจ็บป่วยความร้อนทำให้กระสับกระส่าย
หรือเมื่อสภาพร่างกายที่แก่และเจ็บป่วยใกล้ความตาย ความดับของเซลล์มีมากกว่าความเกิด จะพบว่าร่างกายผู้นั้นจะทุรนทุรายเหมือนถูกไฟเผา(ธาตุไฟ) จิตใจก็ถูกเพลิงของ โลภ โกรธ หลง บีบคั้นเผาผลาญอย่างรุนแรง
แต่สำหรับผู้ปฎิบัติวิปัสสนาถึงแม้ร่างกายสมบูรณ์ดี แต่เมื่อปฎิบัติจนผ่านญาณที่เห็นอนิจจัง สู่สภาพทุกขังเข้าถึงวิปัสสนาญาณที่ 6-10
6 ภยญาณ เห็นภัยของขันธ์
7 อาทีนญาณ เห็นโทษของขันธ์
8 นิพพิทาญาณ เบื่อหน่าย
9 มุญจิกัมยตาญาณ อยากหนี
10 ปฎิสังขารญาณ การเห็นสภาพธรรม6-9 กลับไปมาอย่างต่อเนื่อง
ผู้ปฎิบัติจะเห็นทุกข์ของร่างกายและจิตใจที่ชัดเจน จึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ปารถนาความหลุดพ้น
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2011, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
มีผู้ถามว่าหากยังไม่เคยปฏิบัติวิปัสสนามาก่อน หรือเคยปฏิบัติแต่รู้สึกยังไม่ก้าวหน้า จะเริ่มต้นอย่างไร

1.ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ที่กล่าวถึง การปฏิบัติวิปัสสนา ดังนี้
1.1 อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค จึงเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา องค์ความรู้ที่เป็น ทุกข์ สมุทัย อยู่ในร่างกายและจิตใจหรือซึ่กาย เวทนา จิต ธรรม ใช้เป็นฐานที่ตั้งของการเข้าไปรู้ คือสติปัฎฐาน 4 ผลความดับทุกข์(นิโรธ) เกิดแต่เหตุ จึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญของเหตุแห่งทุกข์ (มรรค) สำหรับมรรคมีองค์ 8 มรรค 2 ข้อที่สำคัญซึ่งเป็นองค์ของปัญญาคือ สัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ ว่าผลทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ ผลทุกข์เกิดจากเหตุทุกข์ เมื่อเหตุดับผลจึงดับ และสัมมาสังกัปปะคือการพิจารณาชอบ โดยใช้การตามรู้สภาวธรรมของกายและใจที่สัมพันธ์ เกิดต่อเนื่องกัน การตามรู้จัดเป็นสัมปชัญญะ ขณะตามรู้จะมีการหลงลืม เกิดความคิดนึกปรุงแต่ง เมื่อภายหลังจึงรู้สึกตัวและรู้ว่าเผลอไป(ระลึกรู้)จัดเป็น สติ
1.2 มัชฌิมาปฏิปทา (ภิกษุไม่ควรติดในสองส่วนคืออัตถกิลมถานุโยคกับกามสุขัลลิกานุโยค) สำหรับการดำเนินกามสุขัลลิกานุโยคเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับผู้ปฎิบัติที่เพ่งเพียรแต่ขาดความรู้เรื่องวิปัสสนาจัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค รวมถึงผู้ปฎิบัติวิปัสสนาแต่มีสมถนำหน้า ถึงแม้จะกำหนดรูปและนามเป็นอารมณ์แต่ด้วยการวางจิตที่ไม่เป็นกลาง มีการเพ่งอารมณ์ หรือแนบแน่นในการเพ่งรูป ถึงแม้จะอยู่กับขณะ แต่ไม่รู้ถึงความเป็นจริงของสภาวะธรรมของรูปและนามที่ปรากฎในแต่ละขณะ แต่อย่างไรก็ตามหากจะถามผู้ปฎิบัติว่าเพ่งหรือตั้งใจมากหรือไม่ผู้ปฎิบัติก็ มักตอบว่าเป็นปกติ แต่เมื่อถามถึงสภาวะที่รู้สึกจะได้รับคำตอบว่ารู้สึกอึดอัด มึนศรีษะ หรือจุกท้อง ซึ่งชี้วัดได้ว่าการรู้ไม่เป็นปัจุบัน การแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่การวางใจคือทำเล่นๆ หรือที่พระอาจารย์คำเขียนท่านบอกว่ารู้ซื่อๆ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2011, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
สมถ วิปัสสนา ได้ยินบ่ิอยๆ
แต่มักจะได้ยินคนพูดบ่อยๆ เรื่องวิปัสสนา
ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ


คุณจะทำอย่างไรก็ได้ คุณจะ สมถะอย่างเดียวก็ได้ คุณจะไม่วิปัสสนาก็ย่อมได้ แต่ถ้าคุณจะวิปัสสนา คุณก็ต้องมี สมถะ ซะก่อน หรือคุณจะวิปัสสนาเลยก็ได้ แต่ระวังจะกลายเป็นคนวิกลจริตควบคุมตัวเองไม่ได้ก็แค่นั้น มันเป็นความต้องการของบุคคล ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ใจว่าง้้นเถอะ
เอาแค่นี้นะขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2011, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
สมถ วิปัสสนา ได้ยินบ่ิอยๆ
แต่มักจะได้ยินคนพูดบ่อยๆ เรื่องวิปัสสนา
ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ


คุณจะทำอย่างไรก็ได้ คุณจะ สมถะอย่างเดียวก็ได้ คุณจะไม่วิปัสสนาก็ย่อมได้ แต่ถ้าคุณจะวิปัสสนา คุณก็ต้องมี สมถะ ซะก่อน หรือคุณจะวิปัสสนาเลยก็ได้ แต่ระวังจะกลายเป็นคนวิกลจริตควบคุมตัวเองไม่ได้ก็แค่นั้น มันเป็นความต้องการของบุคคล ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ใจว่าง้้นเถอะ
เอาแค่นี้นะขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2011, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณ flame สภาวธรรมของคุณมีความหลากหลาย เนื่องจากอดีตมีความสนใจในหลายศาสตร์ หากจะสนทนากัน น่าจะสนทนาผ่าน e-mail ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว ติดต่อที่ kung_ss@hotmail.com :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2011, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2011, 20:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นก่อนได้ดวงตาเห็นธรรม ผู้ปฏิบัติจะพบสภาวะที่เป็นความจริงของจักรวาล กล่าวคือทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ จะตกอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของมวลที่ใหญ่สุดคือดวงอาทิตย์กระทำต่อทุกมวลภายในวงโคจร แรงดึงจะดึงเข้าและมีแรงผลักออก ทุกๆหนึ่งวินาที (ตึ้บๆ)แรงที่กระทำต่อโลกเราเรียกเส้นแรงแม่เหล็กโลก แรงนี้ทำให้เกิดเวลา และความเสื่อม(เกิดดับ)เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ร่างกายของเราก็เป็นมวลที่ตกอยู่ภายใต้กฎนี้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีแรงอีกส่วนหนึ่งคือตัณหาซึ่งเป็นแรงดึงกระทำต่อใจ เมื่อผู้ปฏิบัติได้คลายสังขารจากหยาบสู่ละอียดแล้ว และเห็นไตรลักษณ์ ในส่วนสุดท้ายคือความเป็นอนัตตา(สังขารุเบกขาญาณ)ในขั้นนี้การรู้สภาวะรูปนามจะเป็นไปเอง ผู้ปฏิบัติจะสังเกตพบว่ามีแรงตึ้บๆกระทุ้งต่อจิตเบาๆ ให้ผู้ปฏิบัติรู้สภาวะตึ้บๆนี้ รู้และปล่อยและรู้ต่อกันไป เมื่อถึงความพร้อมสมดุลแล้ว จิตจะรวมลงตัดกระแสเข้าสู่สภาวะพระนิพพาน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2011, 20:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
ทำไมผู้ปฎิบัติวิปัสสนาต้องมีญาณรู้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ในรูปนาม ไตรลักษณ์เป็นตัว indicator ที่ชี้วัดให้ทราบว่าผู้ปฏิบัติได้รู้ถึงความจริงของรูปนามตามความเป็นจริง รวมถึงแสดงให้เห็นว่าอินทรีย์ของผู้นั้นมีความแก่กล้าแล้ว สภาวะที่รูปนามแสดงความเป็นอนิจจังหรือความเกิดดับ มีหลายระดับตั้งแต่ การงูบหรือวูบ การผงะ ซึ่งการเกิดดับทั้ง 2 ดังกล่าวยังเป็นความเกิดดับที่ยังหยาบอยู่ ความเกิดดับที่ละเอียดขึ้นไปอีกจะรู้สึกถึงความรู้สึกที่ขาดออกจากกัน มีลักษณะเหมือนการวูบแต่เบากว่า ละเอียดกว่า ความเกิดดับระดับ ที่ละเอียดขึ้นไปอีกจะเป็นความสั่นสะเทือนในเรือนกาย ทุกความเกิดดับไม่ว่าหยาบหรือละเอียด จะไปทำให้ตัณหาและอาสวะคลายออกมาทั้งระดับตื้นและระดับลึกด้วย ซึ่งก็คือลักษณะของทุกขังนั่นเอง และสภาวะทุกขังก็มีระดับตื้นลึกเช่นเดียวกัน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2011, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


Suttiyan
อ้างคำพูด:
หากเป็นกรณีที่ผู้ปฏิบัติธรรม(1)รู้จักการคลายรอบของอนุสัย(ใจ)และอาสวะ(กาย)แล้ว มวลของจิตจะเบาบางไปเรื่อยๆจึงเกิดความแตกต่างของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติที่คลายรอบของอนุสัย และอาสวะได้น้อยกว่า(2) บุคคลที่2 จึงมีมวลของจิตของจิตมากกว่าหรือหนาแน่นกว่า มวลจิตที่หนาแน่นของบุคคลที่ 2 จึงไหลเข้าไปสัมผัสจิตของบุคคลที่1 บุคคลที่ 1จึงรู้ถึงใจของบุคคลที่2


กรณีดังกล่าว สำหรับผู้ปฏิบัติใกล้ครูบาอาจารย์ ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนี้
เพราะครูบาอาจารย์ จะกระแทกกิเลส กระเทาะความเหลวไหล ของลูกศิษย์ได้ตรงๆ
และจะปรับแก้ ชี้แนะ ให้เดินตรงทาง

เมื่อปฏิบัติอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ก็จะรู้ความก้าวหน้าของตัวเองได้ชัดเจน

:b8: สาธุค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
จากที่เคยกล่าวถึงการล่วงรู้ใจของบุคคลและสัตว์ มาจากหลักความแตกต่างของมวลจิตของ 2 แหล่งแล้ว การมองเห็นเหตุการณ์ที่ผ่านมา หรือสิ่งละเอียดที่มีความถี่เกินกว่าสายตามนุษย์ สิ่งที่ซ่อนเร้น หรือสิ่งที่อยู่ไกลเกินกว่าสายตามนุษย์ ล้วน เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นเดียวกัน โดยจากหลักการเดียวกับการฉายภาพยนตร์ กล่าวคือการละอนุสัยและอาสวะอย่างหยาบสู่ความละเอียด ได้ระดับหนึ่งแล้ว สมาธิจะพัฒนาสู่ระดับฌานจิต ซึ่งส่วนใหญ่การมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว จะใช้สมาธิ ระดับฌานที่ 3 หากมีผู้ถามว่าสมาธิระดับฌานที่ 2 ใช้ได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าพอใช้ได้แต่ไม่เสถียร เนื่องจากแสงของจิตที่เกิดในฌานที่ 2 ยังมีการสั่นสะเทือนสูง(ยังไม่นิ่งพอ ) เมื่อจิตอยู่ในสมาธิในฌานที่ 3 อยู่นั้นกิเลสที่ที่ห่อหุ้มจิตอยู่คลายออกไป จิตเดิมที่มีแสงในตัวจึงไม่มีอะไรห่อหุ้ม จึงเปล่งแสงออกมาเปรียบเสมือนเครื่องฉาย และสำหรับจิตที่มีความสงบระดับนี้ เรื่องราวหรือสิ่งที่ผ่านมาในความทรงจำในอดีตจะคลายตัวออกมาเปรียบเสมือนฟิลม์ เมื่อแสงจากจิตส่องผ่านฟิลม์ จึงเกิดเป็นภาพขึ้น ซึ่งภาพจะชัดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้มและความนิ่งของแสง :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร