วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilig ... 82546.html

การเจริญฌาณ คล้ายๆ การนอนหลับ
เจริญมากๆ ก็คล้ายกับหลับยาว
เจริญน้อยๆ ก็คล้ายกับหลับๆ ตื่นๆ
แต่คนนอนมาก ก็ยังไม่เกิดปัญญาอยู่ดี

การวิปัสสนา คือ การพิจารณาสิ่งต่างๆ ทั้งในและนอกตัวเอง

ถ้าฝึกสมาธิ การพิจารณา จะทำได้ต่อเนื่องตลอดสาย
คิดหาคำตอบไปได้เรื่อยๆ เพราะใจมีสมาธิ
แต่ถ้าไม่ฝึกสมาธิ ก็จะฟุ้งซ่าน แตกกระจายได้หลายทาง
แล้วจะหาคำตอบไม่พบ

การเจริญฌาณ จะมีประโยชน์ เพราะเกิดสมาธิที่แน่วแน่
เอามาพิจารณาได้อย่างมีกำลัง
แต่ถ้าไม่นำมาวิปัสสนา คือ ไม่เอามาพิจารณาความเป็นจริง
ก็เท่ากับนอนหลับลึกแล้วตื่นขึ้นมาใหม่ๆ คือยังไม่เกิดปัญญา


แต่สิ่งที่ได้รับจากฌาณ ก็คือ ความสุขอันเกิดจากความสงบ

ต้องควบคู่กันไป
ถ้าฝึกแต่ฌาณ ก็ได้แต่สงบ แต่ยังไม่เกิดปัญญา
แต่ถ้าเอาฌาณมาใช้พิจารณา ก็จะเกิดปัญญาง่ายขึ้น
..

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนำหลักให้ดูพร้อมความหมายคำว่า เอกัคคตา,องค์ธรรม,องค์ฌาน สังเกตดู

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=940.15


เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง

คำว่า องค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบอยู่เป็นประจำในฌานนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น ไม่ใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น ความจริงองค์ธรรมอื่นๆที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น

ฌานสูงขึ้นๆ สติสัมปชัญญะ จะยิ่งแจ่มชัดขึ้นด้วย พิจาณาดู

ในพระสูตร ระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษอีก เช่น ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นกัน และในจตุตถฌานย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน (ตัดอ้างอิงออก)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดมา เืพื่อให้ดูว่าพระพุทธเจ้าหลังจากเสวยกระยาหารจนร่างกายสมบูรณ์แล้วอาศัยฌานใดแล้วบรรลุอาสวขยญาณ

หลังจากที่พระโพธิสัตว์ (สิทธัตถะ) บำเพ็ญตะบะ (ทุกรกิริยา) ทรมานตนตามวิธีของนิครนถ์ จนร่างกายผ่ายผอมก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเกิดความคิดใหม่ คือ กลับมาเสวยอาหาร

"เรานั้นไ้ด้มีความคิดดังนี้ว่า การที่บุคคล ผู้มีร่า่งกายผ่ายผอมเหลือเกิดอย่างนี้ จะบรรลุความสุขอย่างนั้น มิใช่จะทำได้ง่ายเลย ถ้ากระไรเราพึงบริโภคอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก และขนมสดเถิด"

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเสวยอาหารหยาบ จนมีกำลังขึ้นแล้ว ทรงบำเพ็ญฌานจนบรรลุจตุตถฌาน และได้ตรัสรู้"

ม.ม.13/488-508/443-461

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูหลักครับ ตัดเอาตอนที่เมื่อพระพุทธเจ้าเลิกทำทุกรกิริยากลับมาเสวยอาหาร

"ครั้นเราบริโภคอาหาร มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่"

ม.มู.12/317-326/317-333ฯลฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น

การสอนว่าควรใช้สมาธิเพียงเล็กน้อย แล้วใช้วิธีวิปัสสนา หรือใครจะเรียกรูปแบบใดๆก็ตาม ไม่อาจบรรลุนิพพานได้อย่างที่อ้าง

เพราะแม้พระพุทธเจ้าก็ยังต้องนำเพ็ญธรรมสมาธิถึงจตุตถฌาณจึงตรัสรู้

นอกจากผู้ที่เป็นขิปปาภิญญา

หมายถึงว่า ได้บำเพ็ญสมาธิมาแต่ชาติก่อน ก่อนที่จะจุติ มาปฏิสนธิในชาตินี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ
จบพาลวรรคที่ ๓

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้าฌาณไม่จำเป็นต้องหลับตา

ในขณะลืมตา หรือ กำลังเดินจงกรมก็เข้าฌาณได้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ถ้าฝึกแต่ฌาณ ก็ได้แต่สงบ แต่ยังไม่เกิดปัญญา
แต่ถ้าเอาฌาณมาใช้พิจารณา ก็จะเกิดปัญญาง่ายขึ้น
..




คุณ mes :b8:


ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนความรู้กันนะคะ

จะถามว่า ที่ว่านำฌานมาใช้พิจรณานั้น ใช้พิจรณาแบบไหนหรือคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
จะนำหลักให้ดูพร้อมความหมายคำว่า เอกัคคตา,องค์ธรรม,องค์ฌาน สังเกตดู

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=940.15


เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง

คำว่า องค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบอยู่เป็นประจำในฌานนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น ไม่ใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น ความจริงองค์ธรรมอื่นๆที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น

ฌานสูงขึ้นๆ สติสัมปชัญญะ จะยิ่งแจ่มชัดขึ้นด้วย พิจาณาดู

ในพระสูตร ระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษอีก เช่น ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นกัน และในจตุตถฌานย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน (ตัดอ้างอิงออก)





คุณ mes ช่วยอธิบายให้เป็นรูปธรรมที่เห็นชัดกว่าตั้วหนังสือได้ไหมคะ

ที่ว่าเน้น สติ สัมปชัญญะ ในแต่ละองค์ฌานนั้น เน้นอย่างไร และจะดูรู้ได้อย่างไรคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ดังนั้น

การสอนว่าควรใช้สมาธิเพียงเล็กน้อย แล้วใช้วิธีวิปัสสนา หรือใครจะเรียกรูปแบบใดๆก็ตาม ไม่อาจบรรลุนิพพานได้อย่างที่อ้าง

เพราะแม้พระพุทธเจ้าก็ยังต้องนำเพ็ญธรรมสมาธิถึงจตุตถฌาณจึงตรัสรู้

นอกจากผู้ที่เป็นขิปปาภิญญา

หมายถึงว่า ได้บำเพ็ญสมาธิมาแต่ชาติก่อน ก่อนที่จะจุติ มาปฏิสนธิในชาตินี้





อยากให้คุณ mes ศึกษาเรื่องการเจริญสติเพิ่มน่ะค่ะ

เพราะคำว่า วิปัสสนา กับ การเจริญสติ ต่างกันที่พยัญชนะ แต่สภาวะตัวเดียวกันน่ะค่ะ

แต่ตามสำนักต่างๆ นิยมเรียกการเจริญสติว่า วิปัสสนา เพื่อง่ายในการสื่อสาร

แล้วเหตุที่สอนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ที่สอนนั้น ทำถนัดแบบไหน เข้าใจแค่ไหน ย่อมสอนได้แค่นั้น

ลองหาไฟล์ของหลวงพ่อพุธฟังดูนะคะ ท่านจะเทศน์เรื่องสภาวะได้ชัดเจน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
การเข้าฌาณไม่จำเป็นต้องหลับตา

ในขณะลืมตา หรือ กำลังเดินจงกรมก็เข้าฌาณได้




พอจะอธิบายสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะที่กำลังเดินหรือนั่ง แล้วเข้าฌานนั้น สภาวะที่เกิดขึ้น รู้ได้จากอะไรคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ละหัวข้อที่ถามคุณ mes ไปนั้น กรุณาช่วยตอบทีละหัวข้อนะคะ เพราะมันคนละสภาวะกัน จะได้แยกหัวข้อสนทนาออกไป เพื่อความสะดวกในการสนทนา :b12: :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
mes เขียน:
ถ้าฝึกแต่ฌาณ ก็ได้แต่สงบ แต่ยังไม่เกิดปัญญา
แต่ถ้าเอาฌาณมาใช้พิจารณา ก็จะเกิดปัญญาง่ายขึ้น
..




คุณ mes :b8:


ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนความรู้กันนะคะ

จะถามว่า ที่ว่านำฌานมาใช้พิจรณานั้น ใช้พิจรณาแบบไหนหรือคะ


คุณวลัยพร

ครับแลกเปลี่ยนความรู้กัน ความเห็นตรงกันหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

จะได้ช่วยกันค้นคว้าให้กว้างขึ้น


อ้างคำพูด:
จะถามว่า ที่ว่านำฌานมาใช้พิจรณานั้น ใช้พิจรณาแบบไหนหรือคะ


เป็นการกล่าวของเจ้าของกระทู้ที่ผมเจอมาตามลิงค์ จึงไม่ขอตอบ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ช่วยอธิบายให้เป็นรูปธรรมที่เห็นชัดกว่าตั้วหนังสือได้ไหมคะ

ที่ว่าเน้น สติ สัมปชัญญะ ในแต่ละองค์ฌานนั้น เน้นอย่างไร และจะดูรู้ได้อย่างไรคะ?


เข้าไปตามลิงค์ครับ

ผมนำมาจากท่านที่อยู่ตามลิงค์ครับ


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=940.15 ตามนี้ครับ เข้าไปสนทนาได้ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อยากให้คุณ mes ศึกษาเรื่องการเจริญสติเพิ่มน่ะค่ะ

เพราะคำว่า วิปัสสนา กับ การเจริญสติ ต่างกันที่พยัญชนะ แต่สภาวะตัวเดียวกันน่ะค่ะ

แต่ตามสำนักต่างๆ นิยมเรียกการเจริญสติว่า วิปัสสนา เพื่อง่ายในการสื่อสาร

แล้วเหตุที่สอนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ที่สอนนั้น ทำถนัดแบบไหน เข้าใจแค่ไหน ย่อมสอนได้แค่นั้น

ลองหาไฟล์ของหลวงพ่อพุธฟังดูนะคะ ท่านจะเทศน์เรื่องสภาวะได้ชัดเจน


ขอน้อมรับด้วยตวามเต็มใจครับ

ท่านหลวงพ่อพุทธเป็นอีกท่านหนึ่งที่ผมศรัทธา

โดยเฉพาะเรื่อง นิมิตร ผมได้ศึกษาจากท่าน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 97 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร